Search results

104 results in 0.49s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตและกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องกายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต 3) เพื่อศึกษากายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า : ทักษะชีวิตและกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต พบว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นผู้แพร่คำว่า “ทักษะชีวิต” (Life Skill) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยมีองค์ประกอบ 10 ด้านคือ 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์3) ทักษะด้านการตระหนักรู้ในตน 4) ทักษะด้านการเข้าใจผู้อื่น 5) ทักษะด้านการตัดสินใจ 6) ทักษะด้านการแก้ปัญหา 7) ทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 8) ทักษะด้านการจัดการกับความเครียด 9) ทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ และ 10) ทักษะด้านการจัดการกับความเครียด โดยมีแนวทางแห่งการพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาด้านกายภาพ 2) การพัฒนาด้านศีลธรรม 3) การพัฒนาด้านจิตใจหรืออารมณ์ 4) การพัฒนาทางสติปัญญา กายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต พบว่า กายคตาสติ เป็นกรรมฐานเพื่อพัฒนาสติโดยใช้พิจารณาองค์ประกอบของร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นของไม่สะอาด ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นหลักทำให้เกิดทักษะ 4 ด้าน คือ 1) ทักษะด้านการตระหนักรู้ในตน 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ 4) ทักษะด้านการแก้ปัญหา กายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ พบว่า การปฏิบัติกายคตาสติทำให้เกิดปัญญาเห็นความเป็นจริงในกฏไตรลักษณ์ของกายและใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาทักษะชีวิต 2 ประการคือ พัฒนาด้านกาย และพัฒนาด้านจิตใจ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตและกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องกายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต 3) เพื่อศึกษากายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า : ทักษะชีวิตและกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต พบว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นผู้แพร่คำว่า “ทักษะชีวิต” (Life Skill) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยมีองค์ประกอบ 10 ด้านคือ 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์3) ทักษะด้านการตระหนักรู้ในตน 4) ทักษะด้านการเข้าใจผู้อื่น 5) ทักษะด้านการตัดสินใจ 6) ทักษะด้านการแก้ปัญหา 7) ทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 8) ทักษะด้านการจัดการกับความเครียด 9) ทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ และ 10) ทักษะด้านการจัดการกับความเครียด โดยมีแนวทางแห่งการพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาด้านกายภาพ 2) การพัฒนาด้านศีลธรรม 3) การพัฒนาด้านจิตใจหรืออารมณ์ 4) การพัฒนาทางสติปัญญา กายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต พบว่า กายคตาสติ เป็นกรรมฐานเพื่อพัฒนาสติโดยใช้พิจารณาองค์ประกอบของร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นของไม่สะอาด ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นหลักทำให้เกิดทักษะ 4 ด้าน คือ 1) ทักษะด้านการตระหนักรู้ในตน 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ 4) ทักษะด้านการแก้ปัญหา กายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ พบว่า การปฏิบัติกายคตาสติทำให้เกิดปัญญาเห็นความเป็นจริงในกฏไตรลักษณ์ของกายและใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาทักษะชีวิต 2 ประการคือ พัฒนาด้านกาย และพัฒนาด้านจิตใจ
The objectives of this thesis are: 1) to study life skills and life skills reinforcement processes, 2) to study the doctrine of mindfulness with regard to the body as a life skills reinforcement process, and 3) to study mindfulness with regard to the body as a Buddhist life skills reinforcement process. The data were collected from textbooks, documents and related research papers and then analyzed for conclusion. The results of the research showed that: "Life Skills" was publicized by The World Health Organization with the aim to provide people to take care of themselves physically, mentally and emotionally. There are 10 components as follows: 1) Critical thinking skills, 2) Creative thinking skills, 3) Self-awareness, 4) Understanding others, 5) Decision making skills, 6) Problem solving skills, 7) Effective communication skills, 8) Interpersonal relationship building skills, 9) Emotional management skills, and 10) Stress management skills divided into 4 areas: 1) physical development, 2) moral development, 3) Mental or emotional development, and 4) Intellectual development. The mindfulness with regard to the body as the reinforcement process in life skills indicates that it is the practice of concentration on body components as hair on the head, hair on the body, nails, teeth, skin, etc. as unclean, should not be attached to, but should feel boredom on it. They are the practices to create 4 skills: 1) self-awareness skills, 2) reflection skills, 3) emotional management skills, and 4) problem solving skills. Physical consciousness as a process in enhancing Buddhist life skills indicates that the practice of physical consciousness can originate wisdom in realizing body and mind according to the Three Common Characteristics and it is in line with 2 methods in life skills development; physical development and mental development.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประชากรได้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรทั้งหมด 2,800 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie&Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลําดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหาร (วิธูโร) ส่วน ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงาน ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คือ ควรเพิ่มการจัดให้มีการอบรมเพื่อเติมความรู้และเพิ่มประสบการณ์ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ผู้บริหารควรพบปะพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของพนักงานให้เข้าใจเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประชากรได้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรทั้งหมด 2,800 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie&Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลําดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการบริหาร (วิธูโร) ส่วน ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามความคิดเห็นของพนักงาน ที่มี เพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คือ ควรเพิ่มการจัดให้มีการอบรมเพื่อเติมความรู้และเพิ่มประสบการณ์ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ผู้บริหารควรพบปะพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของพนักงานให้เข้าใจเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the Buddhist leadership of executives of Kasikornbank Public Company Limited, 2) to compare the Buddhist leadership of executives of Kasikornbank Public Company Limited based on opinions of the employees working in Rat Burana Head Office with different genders, ages, work-durations, education levels and monthly incomes, and 3) to study suggestions about the problems and guidelines for solving leadership according to Buddhism of executives of Kasikornbank Public Company Limited. The populations used in the study were 2800 employees working in the Rat Burana Headquarters, in Rat Burana sub-district, Rat Burana District of Bangkok. 338 samples were obtained by using Krejcie and Morgan tables. The data were collected by questionnaire and analyzed by a ready-made computer program. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and the LSD method. The results reveal that: 1) The opinion of employees on the leadership according to the Buddhist concept of executives of Kasikornbank Public Company Limited in all three areas was at a high level. When considering in details with descending order, the vision (Cakkhuma) was at the highest level, followed by management (Vidhuro) and interpersonal relations (Nissayasampanno) respectively. 2) The results of comparison, the employees with different genders, ages, employments, education levels and monthly incomes had no different opinions with statistically significant figure at the .05 level. 3) The suggestions for solving the problems and the solutions in leadership according to Buddhism of executives of Kasikornbank Public Company Limited are that; the executives should be trained, re-skilled and up-skilled in administration, the meetings between the executives and employees should be arranged regularly to build a good relationship to each other, listen to problems in work and seek for cooperation and participation, and the employees should be allowed to share their opinions and participate in organization development.

... 2564

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 295 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการเข้าสังคม ด้านการประสานงาน ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ด้านการมีความคิดริเริ่ม และด้านการโน้มน้าวจิตใจ ตามลำดับ 2) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ด้านการประสานงานด้านการมีความคิดริเริ่ม ด้านการเข้าสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.992 (R = 0.992) ซึ่งตัวแปรทั้งสี่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้ร้อยละ 98.4 (R^2 = 0.984) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 0.052 + 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 295 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการเข้าสังคม ด้านการประสานงาน ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ด้านการมีความคิดริเริ่ม และด้านการโน้มน้าวจิตใจ ตามลำดับ 2) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ด้านการประสานงานด้านการมีความคิดริเริ่ม ด้านการเข้าสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.992 (R = 0.992) ซึ่งตัวแปรทั้งสี่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้ร้อยละ 98.4 (R^2 = 0.984) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 0.052 + 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984)
The objectives of this research were: 1) to study the Leadership of school administrators under the Pathum Thani primary educational service area office 2, 2) to study the committee’s participation in fundamental education under the Pathum Thani primary educational service area office 2 and, 3) to study the school administrators’ leadership affecting the committee’s participation in fundamental education under the Pathum Thani primary educational service area office 2. A sample was collected from 295 informants from 59 schools including director, the committee of fundamental education and teachers. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple regressions. The results of the research ware as follows: 1) The leadership of school administrators under the Pathum Thani primary educational service area office 2 in overall was at a high level. The ranging by the average from high to low that respect, assistance, socializing, co-ordination, knowing improve, initiatives and mental persuasion respectively. 2) The committee’s participation in fundamental education under the Pathum Thani primary educational service area office 2 in overall was at a high level. The ranging by the average from high to low that participation in evaluation, participation in decision making, participation in benefits and participation in operations respectively. 3) The administrators leadership affecting the committee’s participation in fundamental education under the Pathum Thani primary educational service area office 2 was statistically significant at the 0.01 level. The most significant level was on knowing improve, co-ordination, initiatives, socializing was statistically significant at the 0.01 level and multiple correlation coefficient at 0.992 (R = 0.992) which can explain the variance of the school administrators’ leadership under the Pathum Thani primary educational service area office 2 at 98.4% (R^2 = 0.984). It can be written in predicting equations as follows: The predicting equation of raw score (Y) Y= 0.052 + 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984) The predicting equation of standard score (Zy) Zy= 0.852 (x2) + 0.139 (x6) + - 0.055 (x1) + 0.852 (x7) (R^2= 0.984)
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาสุขภาวะของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารกิจกรรมลูกเสือที่ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านบุคลากร และด้านการติดตามประเมินผล ตามลำดับ 2) สุขภาวะของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสุขภาวะทางกาย ด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ด้านสุขภาวะทางจิต และด้านสุขภาวะทางสังคม ตามลำดับ 3) การบริหารกิจกรรมลูกเสือส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ ด้านการบริหารทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.763 (R = 0.0.763) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารกิจกรรมลูกเสือ ได้ร้อยละ 58.3 (R^2= 0.583) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 2.316 + 0.379 (x3) + 0.126 (x1) (R^2= 0.583) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.59 (x3) + 0.187 (x1) (R^2= 0.583)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาสุขภาวะของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารกิจกรรมลูกเสือที่ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านบุคลากร และด้านการติดตามประเมินผล ตามลำดับ 2) สุขภาวะของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสุขภาวะทางกาย ด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ด้านสุขภาวะทางจิต และด้านสุขภาวะทางสังคม ตามลำดับ 3) การบริหารกิจกรรมลูกเสือส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ ด้านการบริหารทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.763 (R = 0.0.763) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารกิจกรรมลูกเสือ ได้ร้อยละ 58.3 (R^2= 0.583) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 2.316 + 0.379 (x3) + 0.126 (x1) (R^2= 0.583) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.59 (x3) + 0.187 (x1) (R^2= 0.583)
The objectives of this research were: 1) to study the conditions of administration boy scouts activities in schools under the secondary educational service area office 4, Pathum Thani Province, 2) to study the conditions of the students in schools under the secondary educational service area office 4, Pathum Thani Province and, 3) to study the administration of boy scout activities in school affecting health for student under the secondary educational service area office 4, Pathum Thani Province. The 327 informants’ cases were included as a sample. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and Multiple Linear Regression by Stepwise Regression. The results of the research ware as follows: 1) The administration boy scout activities in schools under the secondary educational service area office 4, Pathum Thani Province in overall was at a medium level. The ranging by the average from high to low that supporting and promoting scout activities, general administration, personnel, and monitoring evaluation respectively. 2) the conditions of the students in schools under the secondary educational service area office 4, Pathum Thani Province in overall was at a high level The ranging by the average from high to low that physical health conditions, Spiritual health conditions, mental health conditions and social health conditions respectively. 3) The administration of boy scout activities in school affecting health for student under the secondary educational service area office 4, Pathum Thani province was statistically significant at the 0.01 level.The most significant level was on supporting and promoting scout activities and general administration was statistically significant at the 0.01 level and multiple correlation coefficient at 0.763 (R = 0.0.763) which can explain the variance of the conditions of administration boy scout activities in schools at 58.3% (R^2= 0.583). It can be written in predicting equations as follows: The predicting equation of raw score (Y) Y= 2.316 + 0.379 (x3) + 0.126 (x1) (R^2= 0.583) The predicting equation of standard score (Zy) Zy= 0.59 (x3) + 0.187 (x1) (R^2= 0.583)
หนังสือ

    งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทย, 2) เพื่อศึกษาพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เกี่ยวกับการศึกษาภาษาบาลีให้ประสบความสำเร็จ, 3) เพื่อวิเคราะห์การศึกษาภาษาบาลีให้ประสบความสำเร็จตามแนวพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นวิจัยเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนรวม 7 รูป/คน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เป็นการศึกษาเพื่อรักษาและสืบทอด คำสอนทางพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการศึกษาพิเศษที่สำนักเรียนแต่ละสำนักสามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง แต่พอถึงเวลาสอบวัดผลก็สามารถเข้าสอบได้พร้อมกันทั้งหมด ผู้สอบผ่านจะได้เข้ารับการตั้งเปรียญธรรมตามที่กำหนดไว้ และใบประกาศนียบัตรเทียบเท่าระบบสามัญศึกษาและอุดมศึกษาตามแต่ละชั้นได้ สามารถนำไปต่อยอดการศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ ได้ด้วย แนวพระดำริที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงวางไว้ในการศึกษาภาษาบาลี คือ 1. ใช้เวลาเรียนน้อย 2. ได้ความรู้มาก 3. นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งพระองค์ก็ทรงจัดวิธีการศึกษาแบบใหม่ โดยมีการจัดชั้นเรียนที่ชัดเจน ระบุวันสอบและสถานที่สอบที่ชัดเจน และมีการกำหนดคะแนนสอบได้ สอบตก เปลี่ยนจากการแปลด้วยปากเปล่ามาเป็นวิธีเขียน ทำให้ผู้เข้าสอบมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น การศึกษาภาษาบาลีนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงประสงค์ให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาตามลำดับหลักสูตร มีการเข้าชั้นเรียน กำหนดเวลาเรียนให้เกิดความชัดเจน แล้วทำการวัดผลสอบในชั้นเรียน เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ความสามารถพระภิกษุสามเณรก่อนเข้าสอบบาลีสนามหลวงจริง ซึ่งผู้ศึกษาจะได้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ตนศึกษาและสามารถนำเอาผลของการศึกษาไปใช้ในทางปฏิบัติ จนทำให้มีผู้สำเร็จการศึกษามากยิ่งขึ้น พระองค์ทรงปรีชาสามารถในการจัดการศึกษา นับว่าเป็นพระอัจฉริยภาพอย่างยิ่งของพระองค์ท่านโดยแท้
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทย, 2) เพื่อศึกษาพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เกี่ยวกับการศึกษาภาษาบาลีให้ประสบความสำเร็จ, 3) เพื่อวิเคราะห์การศึกษาภาษาบาลีให้ประสบความสำเร็จตามแนวพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นวิจัยเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนรวม 7 รูป/คน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เป็นการศึกษาเพื่อรักษาและสืบทอด คำสอนทางพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการศึกษาพิเศษที่สำนักเรียนแต่ละสำนักสามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง แต่พอถึงเวลาสอบวัดผลก็สามารถเข้าสอบได้พร้อมกันทั้งหมด ผู้สอบผ่านจะได้เข้ารับการตั้งเปรียญธรรมตามที่กำหนดไว้ และใบประกาศนียบัตรเทียบเท่าระบบสามัญศึกษาและอุดมศึกษาตามแต่ละชั้นได้ สามารถนำไปต่อยอดการศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ ได้ด้วย แนวพระดำริที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงวางไว้ในการศึกษาภาษาบาลี คือ 1. ใช้เวลาเรียนน้อย 2. ได้ความรู้มาก 3. นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งพระองค์ก็ทรงจัดวิธีการศึกษาแบบใหม่ โดยมีการจัดชั้นเรียนที่ชัดเจน ระบุวันสอบและสถานที่สอบที่ชัดเจน และมีการกำหนดคะแนนสอบได้ สอบตก เปลี่ยนจากการแปลด้วยปากเปล่ามาเป็นวิธีเขียน ทำให้ผู้เข้าสอบมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น การศึกษาภาษาบาลีนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงประสงค์ให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาตามลำดับหลักสูตร มีการเข้าชั้นเรียน กำหนดเวลาเรียนให้เกิดความชัดเจน แล้วทำการวัดผลสอบในชั้นเรียน เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ความสามารถพระภิกษุสามเณรก่อนเข้าสอบบาลีสนามหลวงจริง ซึ่งผู้ศึกษาจะได้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ตนศึกษาและสามารถนำเอาผลของการศึกษาไปใช้ในทางปฏิบัติ จนทำให้มีผู้สำเร็จการศึกษามากยิ่งขึ้น พระองค์ทรงปรีชาสามารถในการจัดการศึกษา นับว่าเป็นพระอัจฉริยภาพอย่างยิ่งของพระองค์ท่านโดยแท้
The objectives of this thesis were as follows: 1. to study the Pali language study in Thailand, 2. to study the view of Somdej Phramahasamanachao Kromphrayavajirayanavaroros in the Pali language study, and 3. to analyze the success in study of Pali according to the view of Somdet Phramahasamanachao Kromphrayavajirayanavaroros. The data of this qualitative research were collected from documents and in-depth interviews with 7 experts and then analyzed in a descriptive way. The results of research were found that: The Pali language study in Thailand today is to preserve and transfer the Buddhist teachings. It is also a special education system that each school can operate its study but they have to send their students to take the examination-pool once a year. Those who passed in the examination will be certified as ones versed in Pali or Pariandham. The certificate of Pali study in a specific level is equivalent to the level in general and higher education system. The certificate can be used to apply for further study in other disciplines as well. The views of Somdej Phramahasamanachao Kromphrayavajirayanavaroros in the Pali study were as follows; 1. It takes a little time to learn, 2. The learners gain a lot of knowledge, 3. It can be used for real benefit. In his time, a new educational system was set up; class arrangement, examination schedule and examination criteria were clearly specified; and the oral examination was changed to written examination. In the Pali language study, Somdej Phramahasamanachao Kromphrayavajirayanavaroros wished students study according to the course order, regularly attend class, and do the classroom quizzes to assess their knowledge and understanding in Pali before attending the examination. By this way, students of Pali study can understand the Pali language and can apply their knowledge in work and practice. All these improvements confirmed and showed capability and genius of His Highness in educational management.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประขาคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ของประชาคม ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประขาคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ ประชาคมในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 5,656 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ (Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 374 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า (One–Way ANOVA or F–test) และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD. ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาคมมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ส่วนด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ของประชาคม ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยเรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย พบว่า ด้าน การมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา มีความถี่มากที่สุด คือ ท่านมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสนอปัญหาแผนงานหรือโครงการด้านการพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น ถนนและไฟฟ้า เป็นต้นเพียงใด รองลงมา ด้าน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือ ท่านมีส่วนร่วมในการคิดตัดสินใจและกำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประขาคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ของประชาคม ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประขาคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ ประชาคมในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 5,656 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ (Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 374 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า (One–Way ANOVA or F–test) และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD. ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาคมมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ส่วนด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ของประชาคม ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยเรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย พบว่า ด้าน การมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา มีความถี่มากที่สุด คือ ท่านมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสนอปัญหาแผนงานหรือโครงการด้านการพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น ถนนและไฟฟ้า เป็นต้นเพียงใด รองลงมา ด้าน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือ ท่านมีส่วนร่วมในการคิดตัดสินใจและกำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น
This thesis has the following objectives: 1) to study the community participation in the local development plan in Sam Phran District 2) to compare the participation of local people in the development of local development plans in Sampran district Nakhon Pathom province of the community that has different gender, age, education level, status and monthly income. 3) To suggest the participation of the community in formulating the local development plan in Sampran district. Nakhon Pathom province, namely Parachakham in Sam Phran district Nakhon Pathom Province, amount 5,656 people. Determine the size of the samples using the formula of Taro. Yamane received a sample of 385 people. The tools used to collect data were questionnaires. Closed-end and open-ended type Data analysis was done by using a computer program. Statistics for data analysis LSD, frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA or F-test and the Least Significant Difference LSD. The findings were as follows; 1) The community participates in the development of the local administrative organization development plan. In the district of Sam Phran Nakhon Pathom Province, in all 5 areas, at the highest level When looking at each aspect, sorted in descending average order, it was found that the participation of There was the highest average, followed by participation in monitoring and evaluation. As for participation, receiving benefits Have the lowest mean respectively When classified by sex, age, educational level, occupation status and monthly income, overall was the highest. 2) The results of comparison of participation in the development plan of the local government organization. In the district of Sam Phran Nakhon Pathom Province of the community with different sex, age, education level, occupation status and monthly income were found to be statistically significant difference at 0.05 level. 3) Suggestions on guidelines for promoting community participation in the development of the local administrative organization development plan. In the district of Sam Phran Nakhon Pathom Province The results were found in descending order of frequency. How often are you involved with the local government organization in proposing problems, plans or projects in the area of utility development such as roads and electricity, etc. Make decisions and formulate development solutions to address local problems.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางญาณวิทยา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ตามแนวญาณวิทยา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธปฏิมาที่พบรอบองค์พระปฐมเจดีย์มีทั้งสิ้น 80 ปาง และมีจำนวน 67 ปาง ที่มีเอกลักษณ์ในการแสดงพระหัตถ์ที่เรียกว่าการแสดงมุทราตามพุทธประวัติแต่ละตอน จึงทำให้พุทธปฏิมามีท่าทางไม่เหมือนกัน แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะได้เป็นอิริยาบถหลัก ๆ 4 อิริยาบถ คือ อิริยาบถยืน 24 ปาง อิริยาบถเดิน 2 ปาง อิริยาบถนั่ง 37 ปาง อิริยาบถนอน 5 ปาง อาการกิริยาที่เห็นต่างนี้เกิดจากช่างปั้นและช่างหล่อจินตนาการสร้างสรรค์งานตามเนื้อหาของพุทธประวัติ 2) ญาณวิทยา เป็นวิชาที่ว่าด้วยทฤษฎีความรู้ ที่มีขอบข่ายของความรู้กว้างขวางตามแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลายของนักญาณวิทยาหรือนักปรัชญา มีทั้งแนวคิดที่ตรงกันและขัดแย้งกัน สำหรับในบริบทนี้ได้สรุปแนวคิดทฤษฎีออกเป็น 4 ประเด็น คือ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และความสมเหตุสมผลของความรู้ 3) วิเคราะห์คุณค่าพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ตามแนวญาณวิทยาในอิริยาบถ ทั้ง 4 คือ อิริยาบถยืน ได้แก่ ปางโปรดพุทธบิดา อิริยาบถเดิน ได้แก่ ปางจงกรมแก้ว อิริยาบถนั่ง ได้แก่ ปางปฐมเทศนา และอิริยาบถนอน ได้แก่ ปางปรินิพพาน วิเคราะห์ตามขอบข่ายของญาณวิทยาทั้ง 4 ประการ คือ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และความสมเหตุสมผล ของความรู้ คุณค่าของพุทธปฏิมาทั้ง 4 ปาง แสดงให้เห็นถึงบ่อเกิดของความรู้นั้นเกิดขึ้นได้ใน ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็สามารถทำให้เกิดความรู้ได้ ด้านขอบเขตของความรู้ มีตั้งแต่ความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป จนถึงความรู้สูงสุดคือ การหลุดพ้นจากกิเลสด้านธรรมชาติของความรู้นั้นความรู้มีธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์มีความรู้ตั้งแต่การดำเนินชีวิต และความรู้สูงสุดคือ ทำลายความไม่รู้คือ อวิชชาได้ ด้านความสมเหตุสมผลของความรู้นั้นสามารถพิสูจน์ได้ใน ทุกขณะในทุกเวลาไม่ขึ้นอยู่กับกาล ที่เรียกว่า “อกาลิโก” ความรู้ทั้งหลายมีปรากฏอยู่ในพุทธปฏิมา ต้องวิเคราะห์แยกแยะด้วยปัญญา โดยการพิจารณาโดยแยบคายจึงจะเข้าถึงองค์ความรู้ในพุทธปฏิมา
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางญาณวิทยา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ตามแนวญาณวิทยา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธปฏิมาที่พบรอบองค์พระปฐมเจดีย์มีทั้งสิ้น 80 ปาง และมีจำนวน 67 ปาง ที่มีเอกลักษณ์ในการแสดงพระหัตถ์ที่เรียกว่าการแสดงมุทราตามพุทธประวัติแต่ละตอน จึงทำให้พุทธปฏิมามีท่าทางไม่เหมือนกัน แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะได้เป็นอิริยาบถหลัก ๆ 4 อิริยาบถ คือ อิริยาบถยืน 24 ปาง อิริยาบถเดิน 2 ปาง อิริยาบถนั่ง 37 ปาง อิริยาบถนอน 5 ปาง อาการกิริยาที่เห็นต่างนี้เกิดจากช่างปั้นและช่างหล่อจินตนาการสร้างสรรค์งานตามเนื้อหาของพุทธประวัติ 2) ญาณวิทยา เป็นวิชาที่ว่าด้วยทฤษฎีความรู้ ที่มีขอบข่ายของความรู้กว้างขวางตามแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลายของนักญาณวิทยาหรือนักปรัชญา มีทั้งแนวคิดที่ตรงกันและขัดแย้งกัน สำหรับในบริบทนี้ได้สรุปแนวคิดทฤษฎีออกเป็น 4 ประเด็น คือ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และความสมเหตุสมผลของความรู้ 3) วิเคราะห์คุณค่าพุทธปฏิมารอบองค์พระปฐมเจดีย์ตามแนวญาณวิทยาในอิริยาบถ ทั้ง 4 คือ อิริยาบถยืน ได้แก่ ปางโปรดพุทธบิดา อิริยาบถเดิน ได้แก่ ปางจงกรมแก้ว อิริยาบถนั่ง ได้แก่ ปางปฐมเทศนา และอิริยาบถนอน ได้แก่ ปางปรินิพพาน วิเคราะห์ตามขอบข่ายของญาณวิทยาทั้ง 4 ประการ คือ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และความสมเหตุสมผล ของความรู้ คุณค่าของพุทธปฏิมาทั้ง 4 ปาง แสดงให้เห็นถึงบ่อเกิดของความรู้นั้นเกิดขึ้นได้ใน ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็สามารถทำให้เกิดความรู้ได้ ด้านขอบเขตของความรู้ มีตั้งแต่ความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป จนถึงความรู้สูงสุดคือ การหลุดพ้นจากกิเลสด้านธรรมชาติของความรู้นั้นความรู้มีธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์มีความรู้ตั้งแต่การดำเนินชีวิต และความรู้สูงสุดคือ ทำลายความไม่รู้คือ อวิชชาได้ ด้านความสมเหตุสมผลของความรู้นั้นสามารถพิสูจน์ได้ใน ทุกขณะในทุกเวลาไม่ขึ้นอยู่กับกาล ที่เรียกว่า “อกาลิโก” ความรู้ทั้งหลายมีปรากฏอยู่ในพุทธปฏิมา ต้องวิเคราะห์แยกแยะด้วยปัญญา โดยการพิจารณาโดยแยบคายจึงจะเข้าถึงองค์ความรู้ในพุทธปฏิมา
The objectives of this thesis are 1) to study the Buddha images around Phra Pathom Chedi, 2) to study the concept of epistemology, and 3) to analyze the values of Buddha images around Phra Pathom Chedi according to the epistemology. The data of this documentary qualitative study were from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The results of the study were shown as follows 1) There are 80 attitudes of the Buddha images around Phra Pathom Chedi and 67 Buddha images have a unique attitude with the hand posture called Mudra. According to the Buddha's history, each episode makes the Buddha image a different posture. But when considering overall, there are 4 postures; 24 standing attitudes, 2 walking attitudes, 37 seated attitudes, and 5 reclining attitudes. These attitudes were created by potters’ or casters’ imagination according to the contents of the Buddha’s life story. 2) Epistemology is the theory of knowledge with a wide range of knowledge according to various theoretical concepts of epistemologists or philosophers. The concepts may be corresponding and contrasting. The theory can be summarized into 4 main points; the source of knowledge, scope of knowledge, nature of knowledge and reasonability of knowledge. 3) Analyze the values of the Buddha images around Phra Pathom Chedi according to the epistemology of the four gestures: Standing posture in Preaching His father, Walking postures in walking meditation, Sitting posture in Preaching the First Sermon, and Reclining posture in entering to Nibbana. The analysis was done in the framework of the four concepts in epistemology; the source of knowledge, the scope of knowledge, the nature of knowledge, and the reasonability of knowledge. The values of the four Buddha image postures show that the origin of knowledge that can be occurred in every posture. The scope of knowledge is varied from the basic knowledge in daily life to the highest knowledge for liberation from passion. The nature of knowledge is from knowledge in living a life to the ultimate knowledge in destroying ignorance. The reasonability of knowledge can be proven at any moment without space and time called Akaliko”. The knowledge embedded in the Buddha images can be achieved by considerably analyzing and synthesizing with wisdom.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 และ 3) เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนจำนวน 61 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 56 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 392 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ แบบที่ 5 ผู้บริหารมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจและแก้ปัญหา แบบที่ 4 ผู้บริหารชี้ข้อจำกัดแล้วให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการตัดสินใจภายในขอบเขตนั้น แบบที่ 3 ผู้บริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอวิธีการแก้ปัญหาแล้วนำมาพิจารณาตัดสินใจ แบบที่ 1 ผู้บริหารตัดสินใจด้วยตนเอง และแบบที่ 2 ผู้บริหารตัดสินใจแล้วขอความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับ 2. ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านลักษณะงาน ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านเพื่อนร่วมงาน ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านผู้บังคับบัญชา ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านโอกาสก้าวหน้า และความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านค่าตอบแทนตามลำดับ 3. การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ แบบที่ 1 ผู้บริหารตัดสินใจด้วยตนเอง แบบที่ 3 ผู้บริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอวิธีการแก้ปัญหาแล้วนำมาพิจารณาตัดสินใจ แบบที่ 4 ผู้บริหารชี้ข้อจำกัดแล้วให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการตัดสินใจภายในขอบเขตนั้น และแบบที่ 5 ผู้บริหารมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจและแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.745 (R = 0.745) ซึ่งตัวแปรได้ร่วมกันอภิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ได้ร้อยละ 55.6 (R2 = 0.556) ซึ่งเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y = 1.097 + 0.300 (x3)+ 0.152 (x4)+ 0.121 (x1)+ 0.145 (x5) (R2 = 0.556) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy = 0.374 (x3)+ 0.183 (x4)+ 0.122 (x1)+ 0.186 (x5) (R2 = 0.556)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 และ 3) เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนจำนวน 61 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 56 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 392 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ แบบที่ 5 ผู้บริหารมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจและแก้ปัญหา แบบที่ 4 ผู้บริหารชี้ข้อจำกัดแล้วให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการตัดสินใจภายในขอบเขตนั้น แบบที่ 3 ผู้บริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอวิธีการแก้ปัญหาแล้วนำมาพิจารณาตัดสินใจ แบบที่ 1 ผู้บริหารตัดสินใจด้วยตนเอง และแบบที่ 2 ผู้บริหารตัดสินใจแล้วขอความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับ 2. ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านลักษณะงาน ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านเพื่อนร่วมงาน ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านผู้บังคับบัญชา ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านโอกาสก้าวหน้า และความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนด้านค่าตอบแทนตามลำดับ 3. การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ แบบที่ 1 ผู้บริหารตัดสินใจด้วยตนเอง แบบที่ 3 ผู้บริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอวิธีการแก้ปัญหาแล้วนำมาพิจารณาตัดสินใจ แบบที่ 4 ผู้บริหารชี้ข้อจำกัดแล้วให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการตัดสินใจภายในขอบเขตนั้น และแบบที่ 5 ผู้บริหารมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจและแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.745 (R = 0.745) ซึ่งตัวแปรได้ร่วมกันอภิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ได้ร้อยละ 55.6 (R2 = 0.556) ซึ่งเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y = 1.097 + 0.300 (x3)+ 0.152 (x4)+ 0.121 (x1)+ 0.145 (x5) (R2 = 0.556) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy = 0.374 (x3)+ 0.183 (x4)+ 0.122 (x1)+ 0.186 (x5) (R2 = 0.556)
The objectives of this research were: 1) to study decision making of school administrators under the secondary educational service area office 9, 2) to study satisfaction of subordinates in schools under the secondary educational service area office 9 and, 3) to study decision making of school administrators affecting satisfaction of subordinates in schools under the secondary educational service area office 9. The data were collected from 392 informants from 56 schools out of 61 schools including administrators and teachers. The study was a quantitative research. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple regressions. The results of the research ware as follows: 1) The decision making of school administrators under the secondary educational service area office 9 in overall was at a high level. The ranging by the average from high to low that the type 5; administrators entrust subordinates to make decisions and solve problems, type 4; administrators point out the constraint and have subordinates make decisions within area, type 3; administrators let their subordinates propose solutions and take into account decisions, type 1; administrators make decisions by themselves, and type 2; administrators make decisions and ask for the opinion of the subordinates respectively. 2) The satisfaction of subordinates in schools under the secondary educational service area office 9 in overall was at a high level. The ranging by the average from high to low that satisfaction of school subordinates in work itself, co-worker, administrators, promotion opportunity, and satisfaction of school subordinates in payment respectively. 3) The decision making of school administrators affecting satisfaction of subordinates in schools under the secondary educational service area office 9 was statistically significant at the 0.01 level. The most significant level was on type 1; administrators make decisions by themselves, type 3; administrators let their subordinates propose solutions and take into account decisions, type 4; administrators point out the constraint and have subordinates make decisions within area and, type 5; administrators entrust subordinates to make decisions and solve problems was statistically significant at the 0.01 level and multiple correlation coefficient at 0.745 (R = 0.745) which can explain the variance of decision making of school administrators under the secondary educational service area office 9 at 55.6% (R2 = 0.556). It can be written in predicting equations as follows: The predicting equation of raw score (Y) Y = 1.097 + 0.300 (x3)+ 0.152 (x4)+ 0.121 (x1)+ 0.145 (x5) (R2 = 0.556) The predicting equation of standard score (Zy) Zy = 0.374 (x3)+ 0.183 (x4)+ 0.122 (x1)+ 0.186 (x5) (R2 = 0.556)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2)เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 3)เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมจำนวน 1,897 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโรยามาเน่(Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 330คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า (One–Way ANOVA or F–test) และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD. ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมโดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนา ส่วนด้านฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมของบุคลากร ที่มีเพศ อายุระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมของบุคลากร ที่มี สถานภาพ พบว่าโดยรวมทั้ง 3 ด้านไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านนอกนั้นไม่แตกต่างกัน
วิทยานิพนธ์นี้วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2)เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 3)เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมจำนวน 1,897 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโรยามาเน่(Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 330คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า (One–Way ANOVA or F–test) และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD. ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมโดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนา ส่วนด้านฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมของบุคลากร ที่มีเพศ อายุระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมของบุคลากร ที่มี สถานภาพ พบว่าโดยรวมทั้ง 3 ด้านไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านนอกนั้นไม่แตกต่างกัน
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the human resource development of local government organizations in Sam Phran district of Nakhon Pathom Province, 2) to compare human resource development of local government organizations in Sam Phran district of Nakhon Pathom Province, and 3) to suggest guidelines on human resource development of the local government organization in Sam Phran district of Nakhon Pathom Province. The data were collected by questionnaire from 330 samples out of 1,897 people in Sam Phran district. The sampling size was determined by using the formula of Taroyamane (Yamane). The data were analyzed by a computer program with frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test, (One – Way ANOVA or F – test), and testing of the mean scores for each pair using the LSD method (Least Significant Difference). The findings were as follows: 1) The opinion on the human resource development of the local government organization in Sam Phran district of Nakhon Pathom Province in all 3 areas was at a high level. When considering each aspect, sorted by average descending order, education had the highest average, followed by development and training respectively. 2) In the results of comparison of opinions on the human resource development of the local government organization in Sam Phran district of Nakhon Pathom Province, the personnel with different sex, age, education level, and monthly income had no different level of opinions. In the results of comparing opinions towards the human resource development of local government organizations in Sam Phran district of Nakhon Pathom Province, the personnel with different marital status had no different level in 3 aspects. When considered in aspects, it was found that the personnel with different education level had different level of opinions with a statistically significant level at 0.05, while the difference was not found in other qualifications.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์จากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงาน โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนจูงใจให้บุคลากรมีความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์จากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงาน โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนจูงใจให้บุคลากรมีความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
The objective of this thesis were as follows; 1) to study the application of Sanghavatthu in work performance of the Local Administrative Organization Personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province in 3 areas: infrastructure, quality of life promotion, and management and conservation of natural resources and environment 2) to compare the application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel Phuttamonthon district Nakhon Pathom province based on their sex age educational level and work experience, and 3) to propose a guidance on the application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province. The quantitative data were collected from 196 samples by questionnaires and analyzed by frequency, mean, percentage, standard deviation, T-test, F-test, One-way ANOVA and LSD method. The qualitative data were collected by in-depth interview with 5 administrators of Local Administrative Organization in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province. The results of the study found that: 1) The application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province in 3 areas was at a high level overall. In details, the highest level was on management and conservation of natural resources and environment, followed by quality of life promotion, and infrastructure respectively. 2) From the hypothesis testing, the personnel with different sexes, ages, educational levels, and work experiences had no different levels in the application of Sangkhahawatthu in their performance. 3) The guidelines on the application of Sanghahavatthu in work performance of the local Administrative organization personnel in Phuttamonthon district of Nakhon Pathom province are that the personnel should be encouraged and supported in opinion exchange in work, in hospitality to each other, and in work motivation and responsibility.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง การคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ และรายได้ แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีคือเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก(In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมี พริตตี้ ในกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean; X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, S.D.) และทดสอบสมมติฐาน T-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA จำนวน 150 คน ผลการวิจัยพบว่า : 1. การคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้สร้างสรรค์ ด้านการคุ้มครองสิทธิในเรื่องของสุขภาพ การคุ้มครองสิทธิการถ่ายภาพ และด้านการละเมิดสิทธิทางเพศ ตามลำดับ 2.ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กรุงเทพมหานคร ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ และรายได้ ไม่แตกต่างกัน 3.ข้อเสนอแนะของพริตตี้ที่มีความคิดเห็นต่อ การคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กรุงเทพมหานคร สรุปผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานพริตตี้ 5 ท่าน ตามความคิดเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ สรุปได้ว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนมากมีความคิดเห็นสอดคล้องกันส่วนมาก คือ ด้านการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล “ผู้ประกอบอาชีพพริตตี้มีศักยภาพและแรงจูงใจมีผู้ติดตาม เป็นเหตุให้ถูกละเมิดข้อมูลส่วนตัวได้” รองลงมาได้แก่ ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้สร้างสรรค์ เรื่อง “ท่านคิดว่าการคุ้มครองสิทธิในการสร้างสรรค์มีประโยชน์ต่ออาชีพพริตตี้มากน้อยเพียงใด การคุ้มครองสิทธิในเรื่องการสร้างสรรค์ เป็นการป้องกันการถูกละเมิดสิทธิได้” เรื่อง ด้านการคุ้มครองสิทธิในเรื่องของสุขภาพ เรื่อง “ท่านเคยใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิในเรื่องของสุขภาพ รองลงมาคือ ท่านคิดว่าสังคมไทยในปัจจุบันมองอาชีพ พริตตี้ในเชิงลบเสี่ยงต่อสภาพจิตใจหรือปัญหาสุขภาพของอาชีพพริตตี้มากน้อยเพียงใด” ด้านการคุ้มครองสิทธิการถ่ายภาพ เรื่อง “อาชีพพริตตี้เป็นอาชีพเสี่ยงต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ในการถ่ายภาพ เพราะลักษณะการทำงานและการแต่งตัวที่ล่อแหลม”และน้อยที่สุด ด้านการละเมิดสิทธิทางเพศ เรื่อง “กระแสวัตถุนิยมในสังคมไทยเป็นสาเหตุทำให้อาชีพพริตตี้ถูกละเมิดทางเพศโดยวิธีการหลายรูปแบบ
การวิจัยเรื่อง การคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ และรายได้ แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีคือเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก(In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมี พริตตี้ ในกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean; X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, S.D.) และทดสอบสมมติฐาน T-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA จำนวน 150 คน ผลการวิจัยพบว่า : 1. การคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้สร้างสรรค์ ด้านการคุ้มครองสิทธิในเรื่องของสุขภาพ การคุ้มครองสิทธิการถ่ายภาพ และด้านการละเมิดสิทธิทางเพศ ตามลำดับ 2.ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กรุงเทพมหานคร ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ และรายได้ ไม่แตกต่างกัน 3.ข้อเสนอแนะของพริตตี้ที่มีความคิดเห็นต่อ การคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ กรุงเทพมหานคร สรุปผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานพริตตี้ 5 ท่าน ตามความคิดเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ สรุปได้ว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนมากมีความคิดเห็นสอดคล้องกันส่วนมาก คือ ด้านการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล “ผู้ประกอบอาชีพพริตตี้มีศักยภาพและแรงจูงใจมีผู้ติดตาม เป็นเหตุให้ถูกละเมิดข้อมูลส่วนตัวได้” รองลงมาได้แก่ ด้านการคุ้มครองสิทธิผู้สร้างสรรค์ เรื่อง “ท่านคิดว่าการคุ้มครองสิทธิในการสร้างสรรค์มีประโยชน์ต่ออาชีพพริตตี้มากน้อยเพียงใด การคุ้มครองสิทธิในเรื่องการสร้างสรรค์ เป็นการป้องกันการถูกละเมิดสิทธิได้” เรื่อง ด้านการคุ้มครองสิทธิในเรื่องของสุขภาพ เรื่อง “ท่านเคยใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิในเรื่องของสุขภาพ รองลงมาคือ ท่านคิดว่าสังคมไทยในปัจจุบันมองอาชีพ พริตตี้ในเชิงลบเสี่ยงต่อสภาพจิตใจหรือปัญหาสุขภาพของอาชีพพริตตี้มากน้อยเพียงใด” ด้านการคุ้มครองสิทธิการถ่ายภาพ เรื่อง “อาชีพพริตตี้เป็นอาชีพเสี่ยงต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ในการถ่ายภาพ เพราะลักษณะการทำงานและการแต่งตัวที่ล่อแหลม”และน้อยที่สุด ด้านการละเมิดสิทธิทางเพศ เรื่อง “กระแสวัตถุนิยมในสังคมไทยเป็นสาเหตุทำให้อาชีพพริตตี้ถูกละเมิดทางเพศโดยวิธีการหลายรูปแบบ
The objectives of this research are as follows: 1) to study opinions on the rights protection of pretty professionals, 2) to compare opinions on the rights protection of pretty professionals with different gender, age, education level, experience and income, and 3) to provide suggestions on problems and guidelines for the protection of pretty professionals. The quantitative and qualitative research methods were used in the study. The qualitative data were collected by in-depth interviews with 11 pretty professionals, and the quantitative data were collected by questionnaires from 150 samples obtained by purposive sampling. The data were analyzed frequency distribution, Percentage, Mean; x ̅ Standard deviation s.D., T-test and F-test. The research found that: 1. The rights protection under the Act of Pretty Occupation in Bangkok in all 5 areas is at a high level. When considering each side in descending order of mean, the highest is on protection of personal rights, followed by protection of creators' rights, protection of rights in matters of health, protection of photography, and protection of rights in sexual violations respectively. 2. The results of a comparison of opinions on the protection of the rights of pretty professionals in Bangkok of respondents with different gender, age, education level, work experience and income are not different. 3. The suggestions with comments on Rights protection under the Act of Pretty Professionals in Bangkok can be summarized that: Most of the interviewees have consistent opinions and are on the protection of privacy. “Pretty professionals have potential and motivation. It can cause personal information to be violated. Followed by on the protection of the rights of creators, “How do you think protecting the rights to creativity has the benefit of pretty careers?, protection of the rights to creativity can prevent rights violations. On the protection of the rights in the area of health with the question “How vulnerable is pretty negative to the psychological or professional health problems?”, “Pretty is a career that is vulnerable to copyright infringement in photography because of their precarious behavior and dress, and minimal sexual rights violation: "Materialism in Thai society is the cause of the pretty career and the pretty professionals were sexually abused by many means.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษา ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ มีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 294 รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปร ปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการปกครองวัดแบบบูรณาการตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการปกครองตามพระธรรมวินัยตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระภิกษุที่มี วุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุที่มีระดับ อายุ พรรษา และวุฒิการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เห็นว่า เจ้าอาวาสเป็นผู้มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา กำกับดูแล แนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณรและฆราวาสผู้อยู่ในวัดให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงามถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคมและจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล การบำรุงรักษาวัด การจัดกิจการของวัดตามหน้าที่ผู้ปกครองวัดและหน้าที่จัดกิจการแทนวัดในฐานะผู้แทนนิติบุคคล การดูแลรักษา การใช้จ่าย การจัดทรัพย์สินของวัด ทั้งส่วนที่เป็นศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนสมบัติของวัดที่ตนเป็นเจ้าอาวาส ให้เป็นไปด้วยดี และต้องปฏิบัติภารกิจของพระพุทธศาสนาซึ่งจะช่วยส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงและช่วยสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้นเจ้าอาวาสจะต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารและการจัดการ โดยเฉพาะภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสมีหน้าที่ในดูแล พระภิกษุ สามเณร ภายในวัดให้เกิดความเรียบร้อยดีงาม เจ้าอาวาสนอกจากจะมีความรู้ความ สามารถ มีบารมี และคุณธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีแล้ว จะต้องมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสามเณร ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายอมรับนับถือ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษา ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ มีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 294 รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปร ปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการปกครองวัดแบบบูรณาการตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการปกครองตามพระธรรมวินัยตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระภิกษุที่มี วุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุที่มีระดับ อายุ พรรษา และวุฒิการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เห็นว่า เจ้าอาวาสเป็นผู้มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา กำกับดูแล แนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณรและฆราวาสผู้อยู่ในวัดให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงามถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคมและจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล การบำรุงรักษาวัด การจัดกิจการของวัดตามหน้าที่ผู้ปกครองวัดและหน้าที่จัดกิจการแทนวัดในฐานะผู้แทนนิติบุคคล การดูแลรักษา การใช้จ่าย การจัดทรัพย์สินของวัด ทั้งส่วนที่เป็นศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนสมบัติของวัดที่ตนเป็นเจ้าอาวาส ให้เป็นไปด้วยดี และต้องปฏิบัติภารกิจของพระพุทธศาสนาซึ่งจะช่วยส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงและช่วยสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้นเจ้าอาวาสจะต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารและการจัดการ โดยเฉพาะภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสมีหน้าที่ในดูแล พระภิกษุ สามเณร ภายในวัดให้เกิดความเรียบร้อยดีงาม เจ้าอาวาสนอกจากจะมีความรู้ความ สามารถ มีบารมี และคุณธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีแล้ว จะต้องมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสามเณร ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายอมรับนับถือ
โดยการนำหลักพรหมวิหารธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการปกครอง เพื่อให้กิจการคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งจะทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองถาวรมั่นคง เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธศาสนาสืบไป
The objectives of this research were: 1) to study the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province, 2) to compare the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province according to their ages, years in the monkhood and educational levels, and 3) to study the guidelines of the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province. The data were collected from 294 samples by questionnaire and interview forms and then analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and LSD. The results of the study showed that: 1) The opinion of the samples towards the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province was at a high level overall. In descending order, the highest level was on administration integrated with Brahmavihara Dhamma, followed by administration based on the Sangha Acts integrated with Brahmavihara Dhamma, and administration based on Dhamma and Vinaya integrated with Brahmavihara Dhamma respectively. 2) From the comparison, the samples with different levels in Dhamma study had different opinion levels towards the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province with a statistically significant figure at 0.05. But the samples with different ages, years in monkhood and general education levels showed levels of their opinions indifferently. 3) The guidelines of the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province indicate that the duty of the abbots is to administrate, govern, monitor, supervise, and teach and train monks, novices and lay-people according to Dhamma, Vinaya, law, rules, regulations and Sangha Acts. The abbots have to provide facilities to people in making merit, take care of religious properties and religious estate, and maintain faith and belief of Buddhists in Buddhism. The abbots have to use arts and sciences in their administration. They should also have knowledge, morality, virtues, human relations and leadership in administration. All these qualifications based on Brahmavihara Dhamma will result to the acceptance of their subordinates, achievement of the Buddhist affairs and the establishment of Buddhism in the long run.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ เพื่อศึกษาการใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด เพื่อเปรียบเทียบการใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัดที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพทางครอบครัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้แบบการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ นักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัดจำนวน 400 คน ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 196 คน และแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า (One-Way ANOVA or F-test) และทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัดใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนที่ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านฉันทะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา ส่วนด้านวิริยะ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด พบว่า ด้านจิตตะมีความถี่มากที่สุด คือ ควรเอาใจใส่ในการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ควรตั้งใจศึกษาเรียนรู้ในวิชาที่เรียนจดบันทึกข้อมูลการเรียนไว้เพื่อนำมาทบทวนได้ ควรมาเรียนให้ตรงต่อเวลา ควรตั้งใจเรียนและรับผิดชอบในงานที่คุณครูมอบหมายงานให้ทำงานให้ดีและสำเร็จ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ เพื่อศึกษาการใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด เพื่อเปรียบเทียบการใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัดที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพทางครอบครัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้แบบการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ นักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัดจำนวน 400 คน ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 196 คน และแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า (One-Way ANOVA or F-test) และทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัดใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนที่ศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านฉันทะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา ส่วนด้านวิริยะ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด พบว่า ด้านจิตตะมีความถี่มากที่สุด คือ ควรเอาใจใส่ในการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ควรตั้งใจศึกษาเรียนรู้ในวิชาที่เรียนจดบันทึกข้อมูลการเรียนไว้เพื่อนำมาทบทวนได้ ควรมาเรียนให้ตรงต่อเวลา ควรตั้งใจเรียนและรับผิดชอบในงานที่คุณครูมอบหมายงานให้ทำงานให้ดีและสำเร็จ
The objectives of this thesis are to study the application of Iddhipada of students in Bangphlad Vocational Training Center, to compare the application of Iddhipada of students in Bangphlad Vocational Training Center who have different sex, age, education level, family status and monthly income, and to suggest the application of Iddhipada in the study of students in Bangphlad Vocational Training Center. The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 196 samples of 400 students. The qualitative data were collected by in-depth interviews with 5 officials in Bangphlad Vocational Training Center. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and (One-Way ANOVA or F-test). LSD was used to analyze with a computer program for statistical data. The suggestion section was analyzed by content analysis. The results of the research were as follows: 1) Students of Bangphlad Vocational Training Center applied the principles of iddhipada in their study in 4 areas at a high level overall. In details with descending order, the highest level was on Chanda, followed by Citta, Vimamsa and Viriya respectively. 2) The results of comparison in application of Iddhipada in the study, the students with different sex, age, educational level, marital status and monthly income apllied Iddhipada in their study differently with the statistically significant figure at .05 level. 3) Suggestions in the application of Iddhipada in the study indicated that the most frequency was on Citta. Students should pay attention to both theoretical and practical lessons, should take notes for later review, should be punctual and be responsible to the assignments.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการเดินและการสวมรองเท้าที่สอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติ ๒) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธที่สอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติบนฐานการคิดเชิงออกแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาข้อมูลเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการณ์ ออกแบบต้นแบบและนำต้นแบบไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ในสมัยพุทธกาลจริยวัตรของภิกษุทั้งการเดินบิณฑบาต การเดินจงกรมและการเดินธุดงค์ ล้วนเดินด้วยเท้าเปล่า ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ต่อมาได้มีการบัญญัติพระวินัยขึ้นทั้งข้ออนุญาตและข้อห้ามในการสวมรองเท้าจากกรณีปัญหาสุขภาพเท้ามูลเหตุจากพระโสณโกฬิวิสะ ปัจจุบันกลุ่มตัวอย่าง ๒๐ รูป/คน เห็นด้วยกับการไม่ใส่รองเท้าขณะเดินจงกรม คิดเป็น ๙๐% และขณะบิณฑบาต คิดเป็น ๖๐% ตามลำดับ แต่เห็นด้วยกับการใส่รองเท้าขณะเดินธุดงค์ คิดเป็น ๖๕% ยกเว้นกรณีอาพาธที่เท้าให้ใส่รองเท้าในทุกกรณี ๒) ปัญหาสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธเกิดจากโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ประมาณ ๙๐% สาเหตุจากพฤติกรรมการบริโภค การไม่ออกกำลังกาย มีโรคประจำตัว และอุบัติเหตุที่เท้า ๑๐% ตามลำดับ การป้องกันควรใช้ ๕ ป. ได้แก่ ปรับทัศนคติ เปลี่ยนค่านิยมประชาชน ปลุกจิตสำนึกการออกกำลังกาย เปิดช่องทางให้ความรู้ และประดิษฐ์รองเท้าเพื่อสุขภาพ ๓) รูปแบบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธบนฐานการคิดเชิงออกแบบ จะต้องสอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติ เป็นรองเท้าชั้นเดียว สีน้ำตาล สวมใส่สบาย กระชับ ระบายอากาศได้ดี ทำจากยางพาราหรือวัสดุที่เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ถูกสุขอนามัยและความปลอดภัย มีแผ่นรองที่มีปุ่มกระตุ้นจุดเส้นประสาทที่เท้าและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ได้รับการยอมรับจากประชาชน ด้วยการระบุสัญลักษณ์วงกลมเครื่องหมาย รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการเดินและการสวมรองเท้าที่สอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติ ๒) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธที่สอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติบนฐานการคิดเชิงออกแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาข้อมูลเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตการณ์ ออกแบบต้นแบบและนำต้นแบบไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ในสมัยพุทธกาลจริยวัตรของภิกษุทั้งการเดินบิณฑบาต การเดินจงกรมและการเดินธุดงค์ ล้วนเดินด้วยเท้าเปล่า ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ต่อมาได้มีการบัญญัติพระวินัยขึ้นทั้งข้ออนุญาตและข้อห้ามในการสวมรองเท้าจากกรณีปัญหาสุขภาพเท้ามูลเหตุจากพระโสณโกฬิวิสะ ปัจจุบันกลุ่มตัวอย่าง ๒๐ รูป/คน เห็นด้วยกับการไม่ใส่รองเท้าขณะเดินจงกรม คิดเป็น ๙๐% และขณะบิณฑบาต คิดเป็น ๖๐% ตามลำดับ แต่เห็นด้วยกับการใส่รองเท้าขณะเดินธุดงค์ คิดเป็น ๖๕% ยกเว้นกรณีอาพาธที่เท้าให้ใส่รองเท้าในทุกกรณี ๒) ปัญหาสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธเกิดจากโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ประมาณ ๙๐% สาเหตุจากพฤติกรรมการบริโภค การไม่ออกกำลังกาย มีโรคประจำตัว และอุบัติเหตุที่เท้า ๑๐% ตามลำดับ การป้องกันควรใช้ ๕ ป. ได้แก่ ปรับทัศนคติ เปลี่ยนค่านิยมประชาชน ปลุกจิตสำนึกการออกกำลังกาย เปิดช่องทางให้ความรู้ และประดิษฐ์รองเท้าเพื่อสุขภาพ ๓) รูปแบบนวัตกรรมเพื่อสุขภาพเท้าของภิกษุอาพาธบนฐานการคิดเชิงออกแบบ จะต้องสอดคล้องกับพระวินัยบัญญัติ เป็นรองเท้าชั้นเดียว สีน้ำตาล สวมใส่สบาย กระชับ ระบายอากาศได้ดี ทำจากยางพาราหรือวัสดุที่เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ถูกสุขอนามัยและความปลอดภัย มีแผ่นรองที่มีปุ่มกระตุ้นจุดเส้นประสาทที่เท้าและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ได้รับการยอมรับจากประชาชน ด้วยการระบุสัญลักษณ์วงกลมเครื่องหมาย รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
The objectives of this thesis were; 1) to study the code of discipline according to walking and footwares of monks, 2) to study the problems of foot health of sick monks, and 3) to propose a Buddhist innovative prototype for foot health of sick monks. The qualitative data were collected from primary source, secondary source, related research works, in-depth interviews, observation, prototype design and test. The results of research were found that: 1) In the Buddha’s time, bare-feet walking while going for arms-collecting, walking round for meditation and hike-walking were exercises that increased blood circulation. The codes of discipline on monks’ footwares were set forth because of the foot health problem of Venerable Sonakolivisa. In present day, 90% out of 20 samples agreed with monks walking bare-foot on round-meditation, and 60% while going for arms-collecting. But 65% agreed with wearing the footwares while hike-walking. And the sick monks should be exempted from this code in any occasions. 2) 90% of foot health problems of sick monks were from non-communicable diseases such as diabetes that caused from consumption behavior, lack of exercise, congenital disease and 10% from accidents respectively. The prevention could be done by adjusting the monk’s attitude, social perception, exercise motivation, knowledge channel and foot health innovation. 3) Innovative design thinking for foot health of sick monks is to comply with the code of discipline, user’s satisfactory, health and safety, and social acceptability. The proposed design is brown single-sole rubber sandals with blood circulation button and innovative materials with diabetes symbol on it.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง ความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีเพศ อายุ ระดับชั้นเรียน และอาชีพผู้ปกครอง ที่ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 252 เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดี่ยว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยที่สุด 3 ลำดับ ดั้งนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านหลักความเสมอภาค รองลงมา ได้แก่ ด้านหลักการถือเสียงข้างมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านหลักอำนาจอธิปไตย 2) ผลการเปรียบเทียมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีอายุ ระดับชั้นเรียน และอาชีพผู้ปกครองต่างกัน มีความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 5 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีเพศต่างกัน มีความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทาวการแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือ 1) ด้านหลักอำนาจอธิปไตย ควรส่งเสริมพัฒนาความเข้าใจในรายระเอียดของการปกครองให้ได้มากที่สุด 2) ด้านหลักเสรีภาพ ควรส่งเสริมพัฒนาสิทธิเสรีภาพ และไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่นให้ได้มากที่สุด 3) ด้านหลักความเสมอภาค ควรส่งเสริมพัฒนาให้ทุกคนเข้าถึงการบริการของรัฐในทุกรูปแบบอย่างเท่าเทียมกัน 4) ด้านหลักนิติธรรม ควรส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนกล้าแสดงออกในทุกมิติภายใต้กฎหมายแห่งรัฐ5) ด้านหลักการถือเสียงข้างมาก ควรส่งเสริมพัฒนาความเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติต่อเสียงข้างน้อยตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
วิทยานิพนธ์เรื่อง ความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีเพศ อายุ ระดับชั้นเรียน และอาชีพผู้ปกครอง ที่ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 252 เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดี่ยว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยที่สุด 3 ลำดับ ดั้งนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านหลักความเสมอภาค รองลงมา ได้แก่ ด้านหลักการถือเสียงข้างมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านหลักอำนาจอธิปไตย 2) ผลการเปรียบเทียมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีอายุ ระดับชั้นเรียน และอาชีพผู้ปกครองต่างกัน มีความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 5 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีเพศต่างกัน มีความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทาวการแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือ 1) ด้านหลักอำนาจอธิปไตย ควรส่งเสริมพัฒนาความเข้าใจในรายระเอียดของการปกครองให้ได้มากที่สุด 2) ด้านหลักเสรีภาพ ควรส่งเสริมพัฒนาสิทธิเสรีภาพ และไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่นให้ได้มากที่สุด 3) ด้านหลักความเสมอภาค ควรส่งเสริมพัฒนาให้ทุกคนเข้าถึงการบริการของรัฐในทุกรูปแบบอย่างเท่าเทียมกัน 4) ด้านหลักนิติธรรม ควรส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนกล้าแสดงออกในทุกมิติภายใต้กฎหมายแห่งรัฐ5) ด้านหลักการถือเสียงข้างมาก ควรส่งเสริมพัฒนาความเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติต่อเสียงข้างน้อยตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
Thesis on Understanding of Democracy of High School Students in Phrai Bueng District Sisaket Province The objectives are as follows: 1) To study the understanding of democratic governance of high school students in Phrai Bueng District. Sisaket Province 2) to study and compare the understanding of democratic governance of high school students in Phrai Bueng District Sisaket Province with gender, age, grade level 3) to suggest guidelines for promoting the understanding of democratic governance of high school students in Phrai Bueng District. Sisaket Province The sample consisted of 252 high school students in Phrai Bueng District, Sisaket Province. The research instruments were questionnaires and interviews. The statistics used for data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation. And t-test, F-test or One-way ANOVA, if differences were found, tested as a pair with the LSD method (Least Significant Difference). The results of research were found as follows : 1) Understanding of the democratic governance of high school students in Phrai Bueng District Sisaket Province, in all 5 areas, overall at a high level When considered individually, they were ordered from the average from the highest to the lowest of the three sequences. Therefore, the side that had the highest mean was the principle of equality, the second was the majority principle And the side with the least average was the principle of sovereignty 2) The comparative results of high school students in Phrai Bueng District, Sisaket Province with grade age And parents are different occupations There were statistically significant differences in the understanding of democratic governance in the five areas at 0.05 level. Understanding the democratic regime as a whole is no different. 3) Suggestions about problems and solutions that are important are 1) the principle of sovereignty. The understanding of the details of government should be promoted as much as possible. 2) Freedom principles Should promote the development of rights and freedoms And does not violate the rights of other persons as much as possible 3) the principle of equality It should promote and develop equal access to all forms of government services. 4) Rule of Law Students should be encouraged to be able to express themselves in all dimensions under state law. The understanding of the power and duties of the minority should be promoted in accordance with the constitutional framework.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 2) เพื่อศึกษาความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นสถานศึกษาในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งหมด 24 โรง จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ การให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน (หน้าที่รับผิดชอบ) การสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเข้ามาปฏิบัติงาน การพัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การส่งเสริมขวัญและกำลังใจสำหรับครูและบุคลากรในสถานศึกษา 2. ความผูกพันของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อย คือ ความผูกพันต่องาน และ ความผูกพันต่อองค์การ ตามลำดับ 3. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านการสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเข้ามาปฏิบัติงาน ด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน (หน้าที่รับผิดชอบ) ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา สามารถทำนายความผูกพันของครูด้านความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีสมการแสดงความสัมพันธ์ในรูปของสมการพยากรณ์คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ Y1 = .207 + .186 (X1) + 137 (X2) + .310 (X3) + .282 (X5) Z1 = .178 (ZX1) + .169 (ZX2) + .250 (ZX3) + .286 (ZX5) Y2 = 2.784 + .176 (X1) + .171 (X2) Z2 = .161 (ZX1) + 198 (ZX2)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 2) เพื่อศึกษาความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นสถานศึกษาในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งหมด 24 โรง จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ การให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน (หน้าที่รับผิดชอบ) การสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเข้ามาปฏิบัติงาน การพัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การส่งเสริมขวัญและกำลังใจสำหรับครูและบุคลากรในสถานศึกษา 2. ความผูกพันของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อย คือ ความผูกพันต่องาน และ ความผูกพันต่อองค์การ ตามลำดับ 3. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านการสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเข้ามาปฏิบัติงาน ด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน (หน้าที่รับผิดชอบ) ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา สามารถทำนายความผูกพันของครูด้านความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีสมการแสดงความสัมพันธ์ในรูปของสมการพยากรณ์คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ Y1 = .207 + .186 (X1) + 137 (X2) + .310 (X3) + .282 (X5) Z1 = .178 (ZX1) + .169 (ZX2) + .250 (ZX3) + .286 (ZX5) Y2 = 2.784 + .176 (X1) + .171 (X2) Z2 = .161 (ZX1) + 198 (ZX2)
The objectives of this study were: 1) to study the personnel management of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 8, 2) to study the teacher attachment in schools under the Secondary Educational Service Area Office 8 and, 3) to study the personnel management of school administrators that affect teacher attachment in school under the Secondary Educational Service Area Office 8. The sample of the study was 24 schools in Ratchaburi Province. There were 192 informants. The research tool was questionnaire. Data was analyzed using SPSS for Windows to analysis of basic statistics. Coefficient of correlation and Stepwise multiple regression analysis. The results of research were as follows: 1. The personnel management of school administrators in overall was high level, when considering in aspect was high level at all aspect. The maximum mean aspect was to advice and solve the problem about working for teachers and school personnel, then to manage the right people into the right job (duties and responsibilities), effective personnel recruitment for operation, improving teachers and personnel at schools to perform efficiently duties. In addition, the minimum mean aspect was encouragement for teachers and personnel at schools. 2. Teacher attachment at schools in overall was at high level, when considering each aspect by arranging maximum to minimum scores that work commitment and organizational commitment, respectively. 3. The personnel management of school administrators that affected teacher attachment in schools included the effective personnel recruitment for operation, manage the right people into the right job (duties and responsibilities), improving teachers and personnel in schools to perform efficiently duties and to advised and solved the problem about working for teachers and personnel in schools. It could predict teacher attachment about organizational commitment statistically significant at the 0.05 level. Where equation was shown the relationship as forecasting raw and standard scores as follows: Y1 = .207 + .186 (X1) + 137 (X2) + .310 (X3) + .282 (X5) Z1 = .178 (ZX1) + .169 (ZX2) + .250 (ZX3) + .286 (ZX5) Y2 = 2.784 + .176 (X1) + .171 (X2) Z2 = .161 (ZX1) + 198 (ZX2)
หนังสือ

    วิทยาพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จำนวน 9 วิทยาลัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู คณาจารย์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.385-0.857 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .980 ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานของผู้บริหาร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจัดองค์การ รองลงมาคือ ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม 2. ประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านคุณภาพผู้เรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านคุณภาพบุคลากร 3. วิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยความคิดเห็นของการบริหารงานของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาทุกด้าน โดยเรียงลำดับ การบริหารงานของผู้บริหาร ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาสูงสุดไปหาต่ำสุดตามลำดับ ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ ด้านการควบคุม ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ด้านการวางแผน ด้านการนำ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านที่มีความสัมพันธ์กันต่ำที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม 4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันภายในกับประสิทธิผลสถานศึกษา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ ด้านการควบคุม และด้านการสื่อสารและการจูงใจ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ภายใน จะมีความสัมพันธ์กันภายใน 3 ระดับตามลำดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 ได้แก่ การบริหารงานของผู้บริหาร ด้านการจัดองค์การ ระดับที่ 2 ได้แก่ การบริหารงานของผู้บริหารด้านการจัดองค์การ กับด้านควบคุม และระดับที่ 3 ได้แก่ การบริหารงานของผู้บริหาร ด้านการจัดองค์การ กับด้านการควบคุม กับด้านการสื่อสารและการจูงใจ
วิทยาพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จำนวน 9 วิทยาลัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู คณาจารย์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.385-0.857 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .980 ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานของผู้บริหาร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจัดองค์การ รองลงมาคือ ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม 2. ประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านคุณภาพผู้เรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านคุณภาพบุคลากร 3. วิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยความคิดเห็นของการบริหารงานของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาทุกด้าน โดยเรียงลำดับ การบริหารงานของผู้บริหาร ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาสูงสุดไปหาต่ำสุดตามลำดับ ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ ด้านการควบคุม ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ด้านการวางแผน ด้านการนำ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านที่มีความสัมพันธ์กันต่ำที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม 4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันภายในกับประสิทธิผลสถานศึกษา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ ด้านการควบคุม และด้านการสื่อสารและการจูงใจ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ภายใน จะมีความสัมพันธ์กันภายใน 3 ระดับตามลำดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 ได้แก่ การบริหารงานของผู้บริหาร ด้านการจัดองค์การ ระดับที่ 2 ได้แก่ การบริหารงานของผู้บริหารด้านการจัดองค์การ กับด้านควบคุม และระดับที่ 3 ได้แก่ การบริหารงานของผู้บริหาร ด้านการจัดองค์การ กับด้านการควบคุม กับด้านการสื่อสารและการจูงใจ
The objectives of this research were to 1) study the executive management of the schools under the Vocational Education Institute in the Northeastern Region 3, 2) study the effectiveness of the so-said schools and 3) analyze the relationship between the executive management and the effectiveness of schools as mentioned. The samples used in the research consisted of administrators and instructors of the 9 vocational education institutes in the Northeastern Region 3, totally 325 in number. The instrument used for data collection was a 5-rating scale questionnaire with discriminatory power of 0.385 – 0.857, and reliability of .980. The results of the research were as follows: 1.The executive management of the schools under the institute of vocational education in the Northeastern Region 3 was, in an overall aspect, found to exist at a high level, with the highest average revealed in the aspect of organization, followed by communication and motivation. The aspect that featured the lowest average was teamwork. 2. The effectiveness of the schools in mention was, in an overall aspect, found to stand at a high level, with the highest average shown in the field of management quality, followed by quality of learners. The aspect with the lowest average was personnel quality. 3. As for the analysis of information and opinions about the executive management and the effectiveness of the schools under the so-said institute, the opinions of the executive management were found to be related to educational effectiveness in all aspects, led by organization, control, communication and motivation, planning and leading, vision and achievement-orientation, respectively. The aspect that touched the bottom line was teamwork. 4. The analysis of relationship between the executive management and effectiveness of the schools under the Institute as mentioned displayed the internal correlation in 3 dimensions, namely, organization, control, and communication and motivation. The level of inner relationship could be also classified into 3 cascades as follows: The first level was the executive management itself. The second level was the executive administration in relation with organization and control. And the third level was the executive management in relation with organization, control and communication and motivation.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 295 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ ด้านขั้นตอนการดำเนินงาน ด้านการวางระบบและแผนดำเนินงาน ด้านการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผล และด้านปรับปรุงและพัฒนาเป็นนวัตกรรมของสถานศึกษา ตามลำดับ 2) คุณภาพผู้เรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผู้เรียนมีทักษะชีวิต ด้านผู้เรียนเป็นคนดี ด้านผู้เรียนมีความสามารถในการคิด และด้านผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร ตามลำดับ 3) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านปรับปรุงและพัฒนาเป็นนวัตกรรมของสถานศึกษาด้านกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ ด้านการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผล ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.673 (R = 0.673) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ได้ร้อยละ 45.2 (R^2= 0.452) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 1.620 + 0.538 (x5) + 0.236 (x1) + -0.192 (x4) (R^2= 0.452) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.677 (x5) + 0.275 (x1) + -0.245 (x4) (R^2= 0.452)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 295 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ ด้านขั้นตอนการดำเนินงาน ด้านการวางระบบและแผนดำเนินงาน ด้านการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผล และด้านปรับปรุงและพัฒนาเป็นนวัตกรรมของสถานศึกษา ตามลำดับ 2) คุณภาพผู้เรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผู้เรียนมีทักษะชีวิต ด้านผู้เรียนเป็นคนดี ด้านผู้เรียนมีความสามารถในการคิด และด้านผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร ตามลำดับ 3) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านปรับปรุงและพัฒนาเป็นนวัตกรรมของสถานศึกษาด้านกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ ด้านการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผล ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.673 (R = 0.673) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ได้ร้อยละ 45.2 (R^2= 0.452) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 1.620 + 0.538 (x5) + 0.236 (x1) + -0.192 (x4) (R^2= 0.452) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.677 (x5) + 0.275 (x1) + -0.245 (x4) (R^2= 0.452)
The objectives of the study were: 1) to study the administration of the student care system of the school administrators under Bangkok Metropolis of Southern Krungthon Group, 2) to study the quality of students in schools under Bangkok Metropolis of Southern Krungthon Group and, 3) to study the administration of the student care system of the school administrators that affect quality of students in schools under Bangkok Metropolis of southern Krungthon group. A sample was collected from 295 informants from 59 schools including director, leader of academic administration, teachers in charge of the student care and support system and teachers. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple linear regression by stepwise regression. The results of the research ware as follows: 1) The administration of the student care system of the school administrators under Bangkok Metropolis of Southern Krungthon group was at a high level in overall. The ranging by the average from high to low was that the direction and strategy, operational procedures,system planning and implementation plan, in-service monitoring and evaluation and improvement and development of school innovation respectively. 2) The quality of learners under Bangkok metropolis of southern Krungthon group was at a high level in overall. The ranging by the average from high to low was that the learner has life skills, the learner is good, the learner has the ability to think, and the learner has the ability to follow the curriculum respectively. 3) The administration of the student care system of school administrators Affecting to quality of students in schools under Bangkok Metropolis of southern Krungthon group was statistically significant at the 0.01 level. The most significant level was on improvement and development of school innovation, direction and strategy, supervision monitoring and evaluation was statistically significant at the 0.01 level and multiple correlation coefficient at 0.673 (R = 0.673) which can explain the variance of management of the student care and support system of school administrators under Bangkok metropolis of southern Krungthon group at 45.2% (R^2= 0.452). It can be written in predicting equations as follows: The predicting equation of raw score (Y) Y= 1.620 + 0.538 (x5) + 0.236 (x1) + -0.192 (x4) (R^2= 0.452) The predicting equation of standard score (Zy) Zy= 0.677 (x5) + 0.275 (x1) + -0.245 (x4) (R^2= 0.452)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักพละสี่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 2. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 3. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักพละสี่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 70 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครู รวมทั้งสิ้น 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีทั้งหมด 3 ตอน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักพละสี่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนเชิงบูรณาการหลักพละสี่ การควบคุมเชิงบูรณาการหลักพละสี่ การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักพละสี่ การจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการหลักพละสี่ และการนำเชิงบูรณาการหลักพละสี่ ตามลำดับ 2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ตามลำดับ 3. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักพละสี่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ตามลำดับ ได้แก่ ด้านการจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักพละสี่ ด้านการจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการหลักพละสี่ ด้านการควบคุมเชิงบูรณาการหลักพละสี่ และด้านการนำเชิงบูรณาการหลักพละสี่ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 89.50 (R2 = .895) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Yˆ = 0.269+ 0.346 การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X2) + 0.261 การจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X4) + 0.176 การควบคุมเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X5) + 0.148 การนำเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X3) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zˆ = 0.359 การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X2) + 0.268 การจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X4) + 0.183 การควบคุมเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X5) + 0.154 การนำเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X3)
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักพละสี่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 2. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 3. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักพละสี่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 70 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครู รวมทั้งสิ้น 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีทั้งหมด 3 ตอน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักพละสี่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนเชิงบูรณาการหลักพละสี่ การควบคุมเชิงบูรณาการหลักพละสี่ การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักพละสี่ การจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการหลักพละสี่ และการนำเชิงบูรณาการหลักพละสี่ ตามลำดับ 2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ตามลำดับ 3. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักพละสี่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ตามลำดับ ได้แก่ ด้านการจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักพละสี่ ด้านการจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการหลักพละสี่ ด้านการควบคุมเชิงบูรณาการหลักพละสี่ และด้านการนำเชิงบูรณาการหลักพละสี่ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 89.50 (R2 = .895) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Yˆ = 0.269+ 0.346 การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X2) + 0.261 การจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X4) + 0.176 การควบคุมเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X5) + 0.148 การนำเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X3) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zˆ = 0.359 การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X2) + 0.268 การจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X4) + 0.183 การควบคุมเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X5) + 0.154 การนำเชิงบูรณาการหลักพละสี่ (X3)
The objectives of the study were : 1) to study the 4 Bala principles of integrative administration of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 33, 2) to study academic administration in school under the Secondary Education Service Area Office 33 and, 3) to study the integrated management of the 4 Bala principles of the school administrators that affect to academic administration in the school under the Secondary Educational Service Area Office 33. The 280 personnel from 70 schools including school administration, academic leader, and teachers under the Secondary Educational Service Area Office 33 were used as the samples in the study. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The results of research were as follows : 1. Integrated management of the four Bala principles of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 33 in overall was at a high level. When considering each aspect was found at a high level in all aspects. The averages were sorted from highest to lowest as follows: integrated planning of the four Bala principles, the four Bala principles of integrative control, the four Bala principles of integrating organization, the four Bala principles of integrated human resource management, and the four Bala principles of integrating leader, respectively. 2. Academic administration in school under the Secondary Educational Service Area Office 33 in overall was at a high level. When considering each aspect was found at a high level in all aspects. The averages were sorted from highest to lowest as follows: academic planning, development of learning processes, measurement and evaluation, and transfer of learning outcomes, education supervision, development of internal quality assurance system and educational standards, curriculum development for school, development and use of media and technology for education and research to improve the quality of education in school, respectively. 3. Integrated administration of the four Bala principles of school administrations that affect to academic administration in school under the Secondary Educational Service Area Office 33, respectively as follows: the four Bala principles of integrating organization, the four Bala principles of integrated human resource management, the four Bala principles of integrative control and the four Bala principles of integrating leader with a predictive coefficient or forecasting power of 89.50 percent (R2 = .895) was statistically significant at the 0.01 level. The relationship can be written in the form of a forecast equation as follows. Forecast equations in raw score form Yˆ = 0.269+ 0.346 The Four Bala Principles Integrative Organization (X2) + 0.261 The Four Bala Principles Integrated Human Resource Management (X4) + 0.176 The Four Bala Principles Integrated Control (X5) + 0.148 Integrating the Four Bala Principles of Leadership (X3) Forecast equations in standard score form Zˆ = 0.359 The Four Bala Principles Integrative Organization (X2) + 0.268 The Four Bala Principles of Integrated Human Resource Management (X4) + 0.183 The Four Bala Principles Integrated Control (X5) + 0.154 The Four Bala Principles of Integrated of Leadership (X3)
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 2. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 3. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 70 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ 1 คน และครู 2 คน รวมทั้งสิ้น 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า : 1. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การอำนวยการเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การควบคุมเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ และการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ตามลำดับ 2. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการประเมินการบริหารแหล่งเรียนรู้ และด้านการปรับปรุงการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 3. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ด้านการอำนวยการเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ด้านการควบคุมเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 75.50 (R2 = .755) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Yˆ = 0.354 + 0.366 (x4) + 0.278 (x3) + 0.228 (x5) สมการคะแนนมาตรฐาน Zˆ = 0.376 (x4) + 0.283 (x3) + 0.239 (x5)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 2. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 3. เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 70 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ 1 คน และครู 2 คน รวมทั้งสิ้น 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า : 1. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การอำนวยการเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การควบคุมเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ การจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ และการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ตามลำดับ 2. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการบริหารแหล่งเรียนรู้ ด้านการประเมินการบริหารแหล่งเรียนรู้ และด้านการปรับปรุงการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 3. การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ด้านการอำนวยการเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ ด้านการควบคุมเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 75.50 (R2 = .755) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Yˆ = 0.354 + 0.366 (x4) + 0.278 (x3) + 0.228 (x5) สมการคะแนนมาตรฐาน Zˆ = 0.376 (x4) + 0.283 (x3) + 0.239 (x5)
The objectives of this research were : 1. to study the integrated administration of Sangahavatthu principles of school administrators under the Office of Secondary Education Service area 33, 2. to study the management of learning resources in school under the Office of Secondary Education Service area 33 and, 3. to study the integrated administration of Sangahavatthu of school administrators affecting the management of learning resources in schools under the Office of Secondary Education Service area 33. The sample group consisted of 70 schools under the Office of Secondary Education Service area 33. The data providers consisted of one school administrator, one academic group leader, and two teachers, totaling 280 persons. The research instrument was a questionnaire. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation. and stepwise multiple regression analysis. The results of research were as follows : 1. Integrated management of Sangahavatthu principles of school administrators under the Office of Secondary Education Service area 33 in overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that at a high level in all aspects. The averages were sorted from highest to lowest as follows: Integrated planning on Sangahavatthu principles, Integrated administration of Sangahavatthu principles, Integrative control of Sangahavatthu principles, Integrated Organizational on Sangahavatthu Principles and integrative coordination of Sangahavatthu principles, respectively. 2. Management of learning resources in school under the Office of Secondary Education Service area 33 in overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that at a high level in all aspects. The averages were sorted from highest to lowest as follows: planning of management of learning resources, management of learning resources, assessment of the management of learning resources and improvement in learning resource management, respectively. 3. Integrated management of Sangahavatthu principles of school administrators affects the management of learning resources in school under the Office of Secondary Education Service area 33, in order of priorities namely the aspect of integrated coordination on the Sangahahavatthu principle, Integrated administration of Sangahavatthu principles, Integrated control of Sangahavatthu principles with a predictive coefficient or predictive power of 75.50 percent (R2 = .755) statistically significant at the .01 level. The relationship can be written in the form of a forecast equation as follows : Raw score equation Yˆ = 0.354 + 0.366 (x4) + 0.278 (x3) + 0.228 (x5) The standard score equation Zˆ = 0.376 (x4) + 0.283 (x3) + 0.239 (x5)
หนังสือ

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 5 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ หัวหน้างานวัดผล ประเมินผล และครู รวมทั้งสิ้น จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Athematic Mean) x ̅ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) S.D. การทดสอบสมมุติฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการนิเทศการศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท และ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ตามลำดับ 2. คุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ตามลำดับ 3. การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ส่งผลโดยภาพรวม โดยมีค่าสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ (Ytot) = .731 +.108 (X1) +.153 (X2) +.272 (X4) +.028 (X5) +.276 (X6) +.220 (X7)
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 5 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ หัวหน้างานวัดผล ประเมินผล และครู รวมทั้งสิ้น จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Athematic Mean) x ̅ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) S.D. การทดสอบสมมุติฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการนิเทศการศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท และ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาท ตามลำดับ 2. คุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ตามลำดับ 3. การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ส่งผลโดยภาพรวม โดยมีค่าสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ (Ytot) = .731 +.108 (X1) +.153 (X2) +.272 (X4) +.028 (X5) +.276 (X6) +.220 (X7)
The objectives of this research were: 1) to study of integrated academic administration with Iddhipada of administrators under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1, 2) to study the quality of learners in school under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1 and, 3) to study of Integrated academic administration with Iddhipada of administrators affecting the quality of the students in the school under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1. It is a unit of analysis, a sample group of 59 places, 5 of each educational institution's information providers are school administrators, deputy director of academic group, head of evaluation and Teachers totaling 295 people. The instrument used in this study was questionnaires on integrated academic administration with Iddhipada of administrators affecting the quality of the students in the school. Data analysis uses software packages. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, athematic mean x ̅ , standard deviation, S.D. hypothesis test and a stepwise multiple regression analysis. The results of the study were as follows: 1. Integrated academic administration with Iddhipada of administrators under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1 in overall level was at the highest level, when considering each aspect was found at the highest level in all aspects. Sort from most to least as follows: supervision of integrated education with Iddhipada principles, integrated teaching and learning management with Iddhipada principles, development of internal quality assurance system and educational standards for integrating with Iddhipada principles, power development and use of media and technology for integrative education with Iddhipada principles, terms of measuring, evaluating, and conducting a comparison of transferring the results of integrated learning with Iddhipada principles, the research for inproving the quality of education in institutes integrated with Iddhipada principles and curricula development of institutes integrated with Iddhipada principles, respectively. 2. The quality of learners in school under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1 was found that the overall at the highest level. When considering each aspect was found at the highest level in all aspects. Sort from the arithmetic mean values were highest to lowest as follows: desirable characteristics and academic achievement of learners, respectively. 3. Integrated academic administration with Iddhipada principles affecting the quality of learners in educational institutions under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1, the overall effect with a positive correlation statistically significant at 0.01 level It can be written in predicting equations as follows: (Ytot) = .731 +.108 (X1) +.153 (X2) +.272 (X4) +.028 (X5) +.276 (X6) +.220 (X7)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ปีพุทธศักราช 2563 จำนวน 168 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานเชิงบูรณาการตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม ด้านการควบคุมงานเชิงบูรณาการ ด้านการวางแผนเชิงบูรณาการ และด้านการอำนวยการเชิงบูรณาการ 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการธำรงรักษา การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคคล ด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคคล และลำดับสุดท้าย ด้านการวางแผนกําลังบุคคล อยู่ในระดับมากตามลำดับ 3) การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา คือ ด้านการวางแผนเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X1) ด้านการจัดการองค์การเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X2) ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X4) และด้านการควบคุมงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X5) โดยสามารถพยากรณ์การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร่วมกันร้อยละ 66.40 (R2 = 0.664) สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y' = 0.659+.0.221 (X4) + 0.232 (X1) + 0.217 (X5) + 0.177 (X2) (R2 = 0.664) สมการคะแนนมาตรฐาน Zy′ = 0.267 (X4) + 0.249 (X1) + 0.263 (X5) + 0.186 (X2) (R2 = 0.664)
วิทยานิพนธ์นี้ วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ปีพุทธศักราช 2563 จำนวน 168 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานเชิงบูรณาการตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดองค์การเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม ด้านการควบคุมงานเชิงบูรณาการ ด้านการวางแผนเชิงบูรณาการ และด้านการอำนวยการเชิงบูรณาการ 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการธำรงรักษา การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคคล ด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคคล และลำดับสุดท้าย ด้านการวางแผนกําลังบุคคล อยู่ในระดับมากตามลำดับ 3) การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา คือ ด้านการวางแผนเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X1) ด้านการจัดการองค์การเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X2) ด้านการประสานงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X4) และด้านการควบคุมงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม (X5) โดยสามารถพยากรณ์การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร่วมกันร้อยละ 66.40 (R2 = 0.664) สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y' = 0.659+.0.221 (X4) + 0.232 (X1) + 0.217 (X5) + 0.177 (X2) (R2 = 0.664) สมการคะแนนมาตรฐาน Zy′ = 0.267 (X4) + 0.249 (X1) + 0.263 (X5) + 0.186 (X2) (R2 = 0.664)
The objectives of the study were: 1) to study the integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of Phrapariyti-Dhamma School administrators, department of general education, Nakhon Ratchasima Province, 2) to study the personnel management of Phrapariyti-Dhamma School, department of general education, Nakhon Ratchasima Province and, 3) to study the integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of administrators affecting the personnel management of Phrapariyti-Dhamma School, department of general education, Nakhon Ratchasima Province. A sample was selected from 168 persons in 2020 of administrators, deputy executive, the head of personnel management and, school teachers in Phrapariyti-Dhamma School, department of general education, Nakhon Ratchasima Province. The results of the study were as follows: 1) Integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of Phrapariyti-Dhamma School administrators, department of general education, Nakhon Ratchasima Province in overall was high level. The average from high to low was that Integrated organization management, Integrative coordination, integrated control, integrated planning, and Integrative director. 2) The personnel management of Phrapariyti-Dhamma School administrators, department of general education, Nakhon Ratchasima Province in overall was high level. The average from high to low was that the personnel maintenance, work performance evaluation, personnel development, personnel recruitment and appointment and, personnel planning was high level respective. 3) Integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of administrators affecting the personnel management of Phrapariyti-Dhamma School, department of general education, Nakhon Ratchasima Province namely Integrated planning of Sappurisa-Dhamma (X1), Integrated organization management of Sappurisa-Dhamma (X2), Integrative coordination of Sappurisa-Dhamma (X4) and, Integrated control of Sappurisa-Dhamma (X5) which predicted the Integrative administration according to the Sappurisa-Dhamma principle of administrators was statistically significant at 0.01 level, and the prediction power had together was 66.40% (R2 = 0.664). The prediction equation forms of raw score were as follows: The raw score: Y′ = 0.659+0.232X1 + 0.177X2 + 0.221X4 + 0.217X5 The standard equation: Z′y = 0.249ZX1 + 0.186ZX2 + 0.267ZX4 + 0.263ZX5
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ประชากรคือ เป็นสถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งหมด 29 โรง จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมุติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ประชากรคือ เป็นสถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งหมด 29 โรง จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมุติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were: 1) to study integrated academic administration with Iddhipada Dhamma of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom 2) to study teacher’s working motivation under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom and, 3) to study integrated academic administration with Iddhipada Dhamma of school administrators that affect teacher’s working motivation under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom. The sample was selected from 29 schools under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom in totally 203 respondents. The instrument used in this study was questionnaires. The data was analyzed using Package Program. The statistics used in data analyzing were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, hypothesis test used the analysis stepwise multiple regression analysis. The results of the research ware as follows: 1) The integrated academic administration with Iddhipada Dhamma of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom in overall was at a high level. In ranging order, the highest level was on learning process development with Iddhipada Dhamma (X2), evaluation, measurement and transfer of credits with Iddhipada Dhamma (X3), internal quality assurance assessment with Iddhipada Dhamma (X6), education supervision with Iddhipada Dhamma (X1), curriculum development, learning innovation and technology development with Iddhipada Dhamma(X7), and educational quality development research with Iddhipada Dhamma(X4), respectively. 2) Teacher’s working motivation under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom in overall was at a high level. In ranging order, the highest level was on work achievement, responsibility, nature of work, career path progress, acceptability, and career path progress in future. 3) Integrated academic administration with Iddhipada Dhamma of school administrators that affect teacher’s working motivation under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom in overall was statistical significance at 0.01 level.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการนิเทศเชิงบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 3) เพื่อศึกษาการบริหารการนิเทศเชิงบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ประชากรคือ สถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งหมด 29 โรง จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมุติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการนิเทศเชิงบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. การบริหารการนิเทศเชิงบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
วิทยานิพนธ์ นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการนิเทศเชิงบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 3) เพื่อศึกษาการบริหารการนิเทศเชิงบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ประชากรคือ สถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งหมด 29 โรง จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมุติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการนิเทศเชิงบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. การบริหารการนิเทศเชิงบูรณาการหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were: 1) to study supervision administration integrated with Kalyanamitta-Dhamma principles of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom, 2) to study teaching efficiency of teachers under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom and, 3) to study supervision administration integrated with Kalyanamitta-Dhamma principles of school administrators affecting to teaching efficiency of teachers under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom. The population is 29 schools under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom in totally 203 respondents. The instrument used in this study was questionnaires. The data was analyzed using Package Program. The statistics used in data analyzing were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, hypothesis test used the analysis stepwise multiple regression analysis. The results of this research were as follows: 1) The supervision administration integrated with Kalyanamitta-Dhamma principles of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom in overall was at a high level. 2) Teaching efficiency of teachers under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom in overall was at a high level. 3) The supervision administration integrated with Kalyanamitta-Dhamma principles of school administrators affecting to teaching efficiency of teachers under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Pathom in overall was statistical significance at 0.01 level.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี 2) เพื่อศึกษามาตรฐานวิชาชีพของนักเรียนสังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานอาชีวศึกษาศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อมาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน สังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี 4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน โดยใช้ประชากรวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี และ สถานประกอบการจำนวน 133 แห่ง จำนวนประชากร 446 คน เป็นสถานที่เก็บข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ครูนิเทศ ผู้บริหารสถานประกอบการ ครูฝึกในสถานประกอบการและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและการใช้วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1.การบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก 2.มาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน อยู่ในระดับมาก 3. ผลศึกษาการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อมาตรฐานวิชาชีพของนักเรียนนักศึกษา สังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้ Xtot = .393+.523 (Y1) +.275 (Y2) +.109 (Y3), Ytot = .380+.688 (X3) +.121 (X2) +.118 (X4) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน สังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี พบว่า 1. สถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันร่างข้อกำหนด คุณลักษณะ คุณสมบัติ สมรรถนะงาน สมรรถนะวิชาชีพ 2. สถานศึกษาจัดอบรมแนวทางการฝึกอาชีพ แนวทางการแก้ปัญหาอย่งเป็นระบบ และเกณฑ์การวัดและประเมินผลในสภาพจริง 3. สถานศึกษาสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้นักเรียน นักศึกษา โดยเน้นทักษะที่สถานประกอบการต้องการเป็นสำคัญ 4. สถานศึกษาควรจัดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี 2) เพื่อศึกษามาตรฐานวิชาชีพของนักเรียนสังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานอาชีวศึกษาศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อมาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน สังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี 4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน โดยใช้ประชากรวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี และ สถานประกอบการจำนวน 133 แห่ง จำนวนประชากร 446 คน เป็นสถานที่เก็บข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ครูนิเทศ ผู้บริหารสถานประกอบการ ครูฝึกในสถานประกอบการและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและการใช้วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1.การบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก 2.มาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน อยู่ในระดับมาก 3. ผลศึกษาการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อมาตรฐานวิชาชีพของนักเรียนนักศึกษา สังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้ Xtot = .393+.523 (Y1) +.275 (Y2) +.109 (Y3), Ytot = .380+.688 (X3) +.121 (X2) +.118 (X4) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน สังกัดวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี พบว่า 1. สถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันร่างข้อกำหนด คุณลักษณะ คุณสมบัติ สมรรถนะงาน สมรรถนะวิชาชีพ 2. สถานศึกษาจัดอบรมแนวทางการฝึกอาชีพ แนวทางการแก้ปัญหาอย่งเป็นระบบ และเกณฑ์การวัดและประเมินผลในสภาพจริง 3. สถานศึกษาสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้นักเรียน นักศึกษา โดยเน้นทักษะที่สถานประกอบการต้องการเป็นสำคัญ 4. สถานศึกษาควรจัดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
The purposes of this research were: 1) To study the bilateral system of vocational education administration of educational institution administrators Under the Pranburi Vocational College, 2) To study the professional standards of students Under the Pranburi Vocational College, 3) To study the bilateral vocational education administration of educational institute administrators. that affect the professional standards of students Under the Pranburi Vocational College, and 4) To find guidelines for developing students' professional standards The population of Pranburi Vocational College and 133 establishments with a population of 446 were used as data collection sites. Head of the Bilateral Vocational Education System, Informative Teacher, Administrator of the Establishment 210 teachers in the workplace and educational personnel. The research instrument was a questionnaire. and the data collected were analyzed by the computer program, with the basic statistic devices and stepwise multiple regression. The population is 103 schools under the Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office. The samples were selected from 86 schools under the Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in data analyzing were frequencies (Frequency), percent (Percentage), average (Mean), standard deviation (S.D.) and the correlation coefficient (rxy) of Pearson (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient). The results of this research were as follows: 1. The management of the bilateral vocational education system of the administrators was found to be at a “High” level. 2. The results of the study of professional standards of students was found to be at a “High” level. 3. The results of the study of the vocational administration, the associate system of the school administrators, affected the living standards of the students. with a statistically significant correlation at the 0.01 level. It can be written in the form of the regression analysis equation as follows: Xtot = .393+.523 (Y1) +.275 (Y2) +.109 (Y3), Ytot = .380+.688 (X3) +.121 (X2) +.118 (X4) 4) The results of the study of guidelines for the development of professional standards of students. were as follows : 1. Educational institutions and enterprises jointly draft requirements, characteristics, qualifications, job competencies, professional competences. systematic approach to problem solving and criteria for measuring and evaluating the results in real conditions. 3. Educational institutions support the development of labor skills for students and students by emphasizing the skills that enterprises need. 4. Educational institutions should provide a curriculum that meets their needs. labor market demand
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการความรู้เชิงบูรณาการหลักสาราณียธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการความรู้เชิงบูรณาการหลักสาราณียธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล และครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 92 โรงเรียน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 276 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ คำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการจัดการความรู้เชิงบูรณาการหลักสาราณียธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ตามลำดับ 3. การบริหารการจัดการความรู้เชิงบูรณาการหลักสาราณียธรรมของผู้บริหารโดยภาพรวมส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการความรู้เชิงบูรณาการหลักสาราณียธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการความรู้เชิงบูรณาการหลักสาราณียธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล และครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 92 โรงเรียน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 276 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ คำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการจัดการความรู้เชิงบูรณาการหลักสาราณียธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ตามลำดับ 3. การบริหารการจัดการความรู้เชิงบูรณาการหลักสาราณียธรรมของผู้บริหารโดยภาพรวมส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The objectives of this research were: 1) to study integrated learning management of Saraniyadhamma principles of school administrators under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, 2) to study personnel management of School Administrators under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 and, 3) to study integrated learning management of Saraniyadhamma principles of school administrators that affect personnel management in schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1. A sample was selected from 276 population of the managements of educational establishments i.e., directors, head of human resource management department, and teachers from 92 schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1. The instrument used in this study was a standard 5 rating scale questionnaire. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, standard deviation and multiple linear regression and using package program.  The results of research were as follows: 1. The Saraniyadhamma integrated knowledge management under the Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, the overall was at the highest level. and each aspect was at the highest level in every aspect by arranged in descending order. 2. The human resource management in schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 in overall was at the highest level and in each aspect was at the highest level. The averages were sorted in descending order such as human resource planning, disciplinary action and punishment, performance evaluation, government teacher and educational personnel development and recruitment and appointment, respectively. 3. The Saraniyadhamma integrated knowledge management of the administrators affected human resources management in school under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 was statistically significant at the 0.01 levels.
หนังสือ

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 226 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว(One – Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F – test ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รองลงมาคือด้านการวัด ประเมินผล และรายงานผลและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเพศที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย มีดังนี้ (1) ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (2) ควรจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาสุขภาพกายตามพัฒนาการช่วงอายุของนักเรียน และ (3) ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากของจริงและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง 4) แนวทางเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ (1) โรงเรียนจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (2) โรงเรียนจะต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมอง อายุ วุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ (3) โรงเรียนจะต้องส่งเสริมการผลิต จัดหาและพัฒนา สื่อ อุปกรณ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครู บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง (4) โรงเรียนจะต้องจัดประชุมผู้บริหาร ครู บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดปฏิทินการนิเทศ หรือแผนการนิเทศ กำกับ ติดตามที่เหมาะสม ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม และ (5) โรงเรียนจะต้องวางแผนการวัด ประเมินผล และรายงานผลการศึกษาระดับปฐมวัย อย่างเป็นระบบ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 226 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว(One – Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F – test ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รองลงมาคือด้านการวัด ประเมินผล และรายงานผลและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเพศที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย มีดังนี้ (1) ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (2) ควรจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาสุขภาพกายตามพัฒนาการช่วงอายุของนักเรียน และ (3) ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากของจริงและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง 4) แนวทางเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ (1) โรงเรียนจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (2) โรงเรียนจะต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมอง อายุ วุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ (3) โรงเรียนจะต้องส่งเสริมการผลิต จัดหาและพัฒนา สื่อ อุปกรณ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครู บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง (4) โรงเรียนจะต้องจัดประชุมผู้บริหาร ครู บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดปฏิทินการนิเทศ หรือแผนการนิเทศ กำกับ ติดตามที่เหมาะสม ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม และ (5) โรงเรียนจะต้องวางแผนการวัด ประเมินผล และรายงานผลการศึกษาระดับปฐมวัย อย่างเป็นระบบ
The objectives of the research were 1) to study the academic affairs administration of early childhood school administrators under Mahasarakham Elementary Educational Service Area Office 2, 2) to compare the academic affairs administration of early childhood classified by gender, age, work experience and school size, 3) to survey the suggestions and recommendations related to the academic affairs administration of early childhood and, 4) to find out the guidelines for the academic affairs administration of early childhood of the said schools. Samples were the administrators and teachers, totally 226 in number and 5 interviews. The tool for collecting the data was the questionnaire and quality-verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices consisted of frequency, percentage, mean (x), and standard deviation (S.D.). The hypothesis was tested with t-test, and One-way ANOVA F-test. The research results were as follows: 1) The academic affairs administration of early childhood school administrators under the Mahasarakham Elementary Educational Service Area Office 2, both in overall and individual aspects, was found to be at the ‘MUCH’ level. 2) The comparison of the academic affairs administration of early childhood school administrators classified by gender, age, work experience and school size, was found that the difference in age, work experience and school size showed no difference in both overall and individual aspects, except for the gender that featured the statistically significant difference at .05. 3) The suggestions and recommendations proposed by the respondents were as follows: (1) The learning experience provided should be integrated with morality, ethics and desirable traits. (2) The design of activities to develop physical health should take into account the variety of the children's age. (3) The learning experience arranged should allow children to learn from the real situation and take action by themselves.4) The guidelines for the academic affairs administration of early childhood of the said schools were as follows: (1) The school might be promoted and to give understanding the early childhood education curriculum B.E.2560 (2) The school might be offered Learning experience with children’s psychology, brain function, age, maturity, and growth levels in order for every child to be developed to his full potential. (3) The school might be keep on promoting production, provision and development of learning media, equipment, innovation and technology for teachers, staff members and related persons. (4) The school might be hold a regular meeting for the administrators, teachers, staff members and related persons to prescribe the supervision calendar or an appropriate, regular and concrete supervision and monitoring plans. (5) The school should have systematically plan, measure, evaluate and report the early childhood education performances.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริการที่ดี ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา มีความพากเพียรพยายามและตั้งใจทำงานให้ดี ให้บริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร เต็มใจต้อนรับ และสร้างความประทับใจอันดี มีความสามารถที่จะเป็นผู้นำตนเองได้ สามารถพัฒนาตนเองตรงตามสภาพเป็นจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกับทีม สร้างสรรค์จรรโลงสังคมให้ไปในทิศทางที่ปรารถนา
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริการที่ดี ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา มีความพากเพียรพยายามและตั้งใจทำงานให้ดี ให้บริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร เต็มใจต้อนรับ และสร้างความประทับใจอันดี มีความสามารถที่จะเป็นผู้นำตนเองได้ สามารถพัฒนาตนเองตรงตามสภาพเป็นจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกับทีม สร้างสรรค์จรรโลงสังคมให้ไปในทิศทางที่ปรารถนา
This thesis aimed to 1) study the core competencies in the digital age for Teachers in Schools 2) compare the core competencies in the digital age for teachers in schools, classified by gender, educational level, and work experience 3) study guideline for the development of the core competencies in the digital age for teachers in schools. The samples used in this research were 351 teachers schools under the Roi - Et elementary educational service area office 2. The tools used were a questionnaire, a five level estimation scale, with the content validity of 0.67–1.00. The confidence factor was .89, and the semi-structured interview form. The result of this research found that 1) the core competencies in the digital age for teachers in schools overall was at a high level, ranked from the areas with high averages to the low : teamwork, good service, self-development, focusing on the achievement in performance, ethical, and code of ethics of teaching profession 2) result of comparison the core competencies in the Digital Age for Teachers in Schools, classified by gender, educational level, and work experience overall and aspects, the difference was statistically significant at the .05 level 3) result of guideline for the development of the core competencies in the digital age for teachers in schools : have perseverance and work hard, serving with smile, friendly, willing to welcome and make impression, has the ability to lead himself, able to develop themselves according to their actual conditions, have unity with the team, build and sustain society in the desired direction.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย ๒) เพื่อศึกษาหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย และ ๓) เพื่อเปรียบเทียบหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับระบอบการปกครองประชาธิปไตย งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย ประกอบด้วย ๑. หลักธรรมในการปกครอง ได้แก่ หลักราชสังคหวัตถุ หลักสาราณียธรรม หลักนิติธรรม หลักจักรวรรดิวัตร หลักทศพิธราชธรรม หลักอปริหานิยธรรม หลักอคติ ๔ และหลักพรหมวิหาร ๒. หลักคุณธรรมของผู้ปกครอง ประกอบด้วย หลักโสภณธรรม หลักพหุปการธรรม หลักโลกปาลธรรม หลักสิกขาบุพพภาคธรรม หลักอุปัญญาตธรรม และหลักอัปปมาทธรรม และพระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ ๒) หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการให้ความสำคัญกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน หรือของคนส่วนมาก หรือการยึดมั่นต่อหลักการปกครองโดยเสียงข้างมากและให้ความสำคัญแก่เสียงข้างน้อย หลักการของความเสมอภาคทางการเมือง หรือ ความเสมอภาคโดยกฎหมายของประชาชนในประเทศนั้น หลักของสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งการพูด การพิมพ์ การเขียน และการรวมกลุ่ม ซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครอง หรือปกป้องจากกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน และหลักของความเป็นภราดรภาพของคนในสังคม ๓) เปรียบเทียบหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับระบอบประชาธิปไตย โดยยึดหลักพระพุทธศาสนากับหลักระบอบประชาธิปไตยเป็นของประชาชน หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักการปกครองโดยกฎหมาย และหลักเสียงข้างมากนั้น โดยรวมหลักอำนาจอธิปไตย เป็นหลักยึดในใจของตน ถือเป็นหลักธรรมใหญ่ที่สามารถทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันได้ในสังคม นอกจากนี้ ศีล ๕ ยังเป็นมูลฐาน ให้เกิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย และสร้างความมีเมตตาต่อกันในสังคมด้วย ดังนั้น หลักธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่คู่ควรแก่การนำไปปฏิบัติ ซึ่งบุคคลควรมีสิ่งเหล่านี้ประกอบ เพื่อส่งผลให้หลักการ วิธีการ กระบวนการบริหารในสังคมมีการพัฒนาไปในทางที่เจริญได้โดยง่าย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย ๒) เพื่อศึกษาหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย และ ๓) เพื่อเปรียบเทียบหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับระบอบการปกครองประชาธิปไตย งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย ประกอบด้วย ๑. หลักธรรมในการปกครอง ได้แก่ หลักราชสังคหวัตถุ หลักสาราณียธรรม หลักนิติธรรม หลักจักรวรรดิวัตร หลักทศพิธราชธรรม หลักอปริหานิยธรรม หลักอคติ ๔ และหลักพรหมวิหาร ๒. หลักคุณธรรมของผู้ปกครอง ประกอบด้วย หลักโสภณธรรม หลักพหุปการธรรม หลักโลกปาลธรรม หลักสิกขาบุพพภาคธรรม หลักอุปัญญาตธรรม และหลักอัปปมาทธรรม และพระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ ๒) หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการให้ความสำคัญกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน หรือของคนส่วนมาก หรือการยึดมั่นต่อหลักการปกครองโดยเสียงข้างมากและให้ความสำคัญแก่เสียงข้างน้อย หลักการของความเสมอภาคทางการเมือง หรือ ความเสมอภาคโดยกฎหมายของประชาชนในประเทศนั้น หลักของสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งการพูด การพิมพ์ การเขียน และการรวมกลุ่ม ซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครอง หรือปกป้องจากกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน และหลักของความเป็นภราดรภาพของคนในสังคม ๓) เปรียบเทียบหลักธรรมในพระพุทธศาสนากับระบอบประชาธิปไตย โดยยึดหลักพระพุทธศาสนากับหลักระบอบประชาธิปไตยเป็นของประชาชน หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักการปกครองโดยกฎหมาย และหลักเสียงข้างมากนั้น โดยรวมหลักอำนาจอธิปไตย เป็นหลักยึดในใจของตน ถือเป็นหลักธรรมใหญ่ที่สามารถทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันได้ในสังคม นอกจากนี้ ศีล ๕ ยังเป็นมูลฐาน ให้เกิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย และสร้างความมีเมตตาต่อกันในสังคมด้วย ดังนั้น หลักธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่คู่ควรแก่การนำไปปฏิบัติ ซึ่งบุคคลควรมีสิ่งเหล่านี้ประกอบ เพื่อส่งผลให้หลักการ วิธีการ กระบวนการบริหารในสังคมมีการพัฒนาไปในทางที่เจริญได้โดยง่าย
The objectives of this research are: 1) to study Buddhist principles relating to democracy, 2) to study the principles of democracy, and 3) to compare Buddhist principles and democratic sytem. The data of this qualitative documentary research were collected from the Tipitaka and related documents. The results of the research were found that: 1) Buddhist principles relating to democracy consist of; 1. Principles in government or administration are Rajasangahavatthu, Saraniyadhamma, Nitidhamma, Cakkavattidhamma, Dasabidharajadhamma, Aparihaniya dhamma, Agati and Brahmaviharadhamma, and 2.Moral principles of rulers or administrators are Sobhanadhamma, Bahupakaradhamma, Lokapala dhamma, Sikkhapubbabhagadhamma, Upannatadhamma and Appamadadhamma. Buddhism has a majority vote as a decision criterion called Yebhunnasika method. According to the majority vote, the party obtaining the majority support wins the game. 2) Demovratic principles emphasizes the sovereignty of the people or majority of people. It also adheres to the principle of majority rule and giving importance to the minority, the principle of political equality or equality by law of people in the country, principles of the natural freedoms of human beings, including speaking, typing, writing and assembling, which must be equally protected by law and the principles of brotherhood of people in society. 3) In the comparison of Buddhist principles and democratic sytem, Dharma principles in Buddhism, democratic principles, principles of liberty, principles of equality, rule of law, the majority principle, and the principle of sovereignty are the significant principle that enable people to coexist in society. Furthermore, the 5 precepts are also the foundation for democracy and create loving-kindness and compassion to each other in society. The Dhamma principles in Buddhism should be implemented and practiced in order to develop and mobilize principles, methods and processes in administration in society.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาการบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร โดยใช้สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จำนวน 44 แห่ง เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 6 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Athematic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการพัฒนาและฝึกอบรม ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านการวางแผนอัตรากำลัง ตามลำดับ 2. การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์กร ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ด้านระบบการให้ผลตอบแทน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ตามลำดับ 3. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการวางแผนอัตรากำลังและด้านการเลื่อนขั้นเงินเดือน ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายได้ร้อยละ 29.0 (R^2 = .290) สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอย ได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y_tot = 2.273 + .262(X_1) + .233(X_5) (R^2 = .290) สมการคะแนนมาตรฐาน Z ̂_y = .316(Z_x1) + .282(Z_x5) (R^2 = .290)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาการบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร โดยใช้สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จำนวน 44 แห่ง เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 6 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Athematic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการพัฒนาและฝึกอบรม ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านการวางแผนอัตรากำลัง ตามลำดับ 2. การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์กร ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ด้านระบบการให้ผลตอบแทน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ตามลำดับ 3. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการวางแผนอัตรากำลังและด้านการเลื่อนขั้นเงินเดือน ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายได้ร้อยละ 29.0 (R^2 = .290) สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอย ได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y_tot = 2.273 + .262(X_1) + .233(X_5) (R^2 = .290) สมการคะแนนมาตรฐาน Z ̂_y = .316(Z_x1) + .282(Z_x5) (R^2 = .290)
The purposes of this research were: 1) to study the integrative personnel management with Brahama Vihara Dhamma of school administrators in schools under the office of the Non-formal and Informal education Bangkok Metropolitan Administration, 2) to study the performance of teachers in schools under the office of the Non-formal and Informal education Bangkok Metropolitan Administration and, 3) to study the integrative personnel management with Brahama Vihara Dhamma of school administrators affecting to performance of teachers in schools under the office of the Non-formal and Informal education Bangkok Metropolitan Administration. The samples used as unit of analysis were selected from six informants as the directors of schools administrators, government teacher, teachers and educational personnel under the office of the Non-formal and Informal education Bangkok Metropolitan Administration of 44 schools totally number of 264 person. The research instruments used for data collection was a questionnaire. The statistics used in data analyzing were frequencies (Frequency), percent (Percentage), average (Mean), standard deviation (S.D.) and stepwise multiple regression analysis. The results of the research ware as follows: 1. The integrative personnel management with Brahama Vihara Dhamma of school administrators under the office of the Non-formal and Informal education Bangkok Metropolitan Administration in overall average was found as the ‘Most’ level by average from highest to lowest level that is the salary promotion, training and development, performance appraisal, recruitment and appointment, and human resource planning respectively. 2. The performance of teachers in schools under the office of the Non-formal and Informal education Bangkok Metropolitan Administration in overall average was found at a high level by average from highest to lowest level that is the influence employee organization relationships, advancement in the position and career, system of remuneration system, to be respected, the nature of the work performed, work environment, and success in work respectively. 3. The integrative personnel management with Brahama Vihara Dhamma of school administrators in the field human resource planning and salary promotion respectively influenced on; the performance of teachers in schools under the office of the Non-formal and Informal education Bangkok Metropolitan Administration was statistically significant at the 0.01 levels. The coefficient of prediction or power of prediction at 29.0 (R^2 = .290) and it can be written as a regression analysis equation as follows; The raw score Y ̂_tot = 2.273 + .262(X_1) + .233(X_5) (R^2 = .290) The standard equation Z ̂_y = .316(Z_x1) + .282(Z_x5) (R^2 = .290)
หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิกายวัชรยาน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสง์ 1) เพื่อศึกษาหลักคำสอนในนิกายวัชรยาน 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามแนวตันตระในนิการวัชรยาน 3) เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิการวัชรยาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักคำสอนในนิกายวัชรยาน พบว่าคำสอนในพุทธศาสนาวัชรยานไม่ว่าจะเป็นหลักพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎกไม่ได้มีความแตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาเถรวาทแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่ฝ่ายเถรวาทมี ฝ่ายวัชรยานก็มีเช่นกัน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พระพุทธศาสนาวัชรยานเกือบจะเป็นหนึ่งเดียว ในบรรดาพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบันที่ยังรักษาสมบัติอันมีค่ายิ่งแห่งตันตระประเพณีของพระพุทธศาสนาจากอินเดียไว้ได้ทั้งหมด ตันตระยานปรากฏขึ้นในช่วงสามของชีวิตพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป ซึ่งเน้นที่ตันตระวิธีและมันตระยาน นับเป็นมิติพิเศษที่รับรู้ทางรหัสนัยของวัชรยาน คือเน้นที่การปฏิบัติธรรมโดยพื้นฐานว่า พระพุทธเจ้าปรากฏพระองค์กับโยคาวจารอย่างเป็นจริงเป็นจริง ณ ขณะปฏิบัติธรรมนั้น นับเป็นวิธีที่สั่งสอนให้เข้าถึงพุทธภาวะในชาตินี้ หาไม่ก็ภายในอีกไม่กี่ชาติข้างหน้า นับเป็นการเร่งโพธิสัตว์มรรคาของวัชรยาน ที่ผู้ปฏิบัติธรรมอธิษฐานให้ความเป็นสามัญมนุษย์เข้าถึงพุทธภาวะ 2. การปฏิบัติตามแนวตันตระในนิกายวัชรยานพบว่าตันตระแม้จะมีเหตุผลนำไปสู่ความเชื่อและข้อปฏิบัติหลายอย่างที่ไม่เคยปรากฏในพระพุทธศาสนา หลาย ๆ อย่างเอื้อต่อความเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นของการละเมิดศีล (ดื่มน้ำเมา) การให้ความสำคัญกับเรื่องเพศ ตลอดจนการยอมรับให้พระชินพุทธเจ้าตลอดจนเทพทั้งหลายมีสัญลักษณ์ภาคคู่ที่เรียกว่า ศักติหรือเทวี ภาพพระชินพุทธเจ้ากำลังโอบกอดเทวีของพระองค์ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในงานศิลปะทิเบต แม้แต่ในมณฑลบ่อยครั้งที่เราจะเห็นภาพเช่นนี้อยู่เหมือนกัน ดังนั้นการศึกษาการปฏิบัติตันตระ เข้าใจจำเป็นที่เราจะต้องศึกษาความเชื่ออันแฝงอยู่ในสัญลักษณ์เหล่านั้นด้วย เป้าหมายของการปฏิบัติตันตระในเบื้องต้นมุ่งหวังเพื่อที่จะดึงความศรัทธาของประชาชนที่ส่วนใหญ่หันไปให้ความเคารพนับถือวิธีการของฮินดูตันตระให้กลับมานับถือพุทธศาสนาเหมือนเดิม แต่เป้าหมายหลักก็คือการนําเสนอหลักการใหม่เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นได้ง่ายกว่าและเร็วกว่าเดิม หากมองผิวเผินอาจดูว่ามีความแปลกประหลาด แต่ถ้าเข้าไปศึกษาการปฏิบัติของตันตระแล้วจะเห็นว่ายังคงมุ่งตรงสู่ความหลุดพ้น เหมือนกับนิกายอื่น ๆ เพียงแต่วิธีการเท่านั้นที่ดูต่างกัน 3. วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิกายวัชรยานพุทธศาสนิกชนชาวพุทธวัชรยานต่างมีวิถีชีวิตที่ยึดมั่นในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน วิถีชีวิตประจำวันของชาวพุทธวัชรยานจึงมีศาสนาเป็นเครื่องนำทาง ในทุก ๆ วันแทบทุกคนล้วนต้องมีพิธีกรรมทางตันตระเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่เช้าก่อนออกจากบ้าน ระหว่างทางเดินจนถึงที่ทำงาน ชาวพุทธวัชรยานบางคนจะกระทำพิธีกรรมทางศาสนาทั้งเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยการท่องมนต์ ทำสมาธิ นับลูกประคำและการแกว่งหรือหมุนกงล้อมนตรา จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมประจำชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
การวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิกายวัชรยาน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสง์ 1) เพื่อศึกษาหลักคำสอนในนิกายวัชรยาน 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามแนวตันตระในนิการวัชรยาน 3) เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิการวัชรยาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักคำสอนในนิกายวัชรยาน พบว่าคำสอนในพุทธศาสนาวัชรยานไม่ว่าจะเป็นหลักพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎกไม่ได้มีความแตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาเถรวาทแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่ฝ่ายเถรวาทมี ฝ่ายวัชรยานก็มีเช่นกัน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พระพุทธศาสนาวัชรยานเกือบจะเป็นหนึ่งเดียว ในบรรดาพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบันที่ยังรักษาสมบัติอันมีค่ายิ่งแห่งตันตระประเพณีของพระพุทธศาสนาจากอินเดียไว้ได้ทั้งหมด ตันตระยานปรากฏขึ้นในช่วงสามของชีวิตพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป ซึ่งเน้นที่ตันตระวิธีและมันตระยาน นับเป็นมิติพิเศษที่รับรู้ทางรหัสนัยของวัชรยาน คือเน้นที่การปฏิบัติธรรมโดยพื้นฐานว่า พระพุทธเจ้าปรากฏพระองค์กับโยคาวจารอย่างเป็นจริงเป็นจริง ณ ขณะปฏิบัติธรรมนั้น นับเป็นวิธีที่สั่งสอนให้เข้าถึงพุทธภาวะในชาตินี้ หาไม่ก็ภายในอีกไม่กี่ชาติข้างหน้า นับเป็นการเร่งโพธิสัตว์มรรคาของวัชรยาน ที่ผู้ปฏิบัติธรรมอธิษฐานให้ความเป็นสามัญมนุษย์เข้าถึงพุทธภาวะ 2. การปฏิบัติตามแนวตันตระในนิกายวัชรยานพบว่าตันตระแม้จะมีเหตุผลนำไปสู่ความเชื่อและข้อปฏิบัติหลายอย่างที่ไม่เคยปรากฏในพระพุทธศาสนา หลาย ๆ อย่างเอื้อต่อความเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นของการละเมิดศีล (ดื่มน้ำเมา) การให้ความสำคัญกับเรื่องเพศ ตลอดจนการยอมรับให้พระชินพุทธเจ้าตลอดจนเทพทั้งหลายมีสัญลักษณ์ภาคคู่ที่เรียกว่า ศักติหรือเทวี ภาพพระชินพุทธเจ้ากำลังโอบกอดเทวีของพระองค์ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในงานศิลปะทิเบต แม้แต่ในมณฑลบ่อยครั้งที่เราจะเห็นภาพเช่นนี้อยู่เหมือนกัน ดังนั้นการศึกษาการปฏิบัติตันตระ เข้าใจจำเป็นที่เราจะต้องศึกษาความเชื่ออันแฝงอยู่ในสัญลักษณ์เหล่านั้นด้วย เป้าหมายของการปฏิบัติตันตระในเบื้องต้นมุ่งหวังเพื่อที่จะดึงความศรัทธาของประชาชนที่ส่วนใหญ่หันไปให้ความเคารพนับถือวิธีการของฮินดูตันตระให้กลับมานับถือพุทธศาสนาเหมือนเดิม แต่เป้าหมายหลักก็คือการนําเสนอหลักการใหม่เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นได้ง่ายกว่าและเร็วกว่าเดิม หากมองผิวเผินอาจดูว่ามีความแปลกประหลาด แต่ถ้าเข้าไปศึกษาการปฏิบัติของตันตระแล้วจะเห็นว่ายังคงมุ่งตรงสู่ความหลุดพ้น เหมือนกับนิกายอื่น ๆ เพียงแต่วิธีการเท่านั้นที่ดูต่างกัน 3. วิถีชีวิตตามแนวตันตระในนิกายวัชรยานพุทธศาสนิกชนชาวพุทธวัชรยานต่างมีวิถีชีวิตที่ยึดมั่นในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน วิถีชีวิตประจำวันของชาวพุทธวัชรยานจึงมีศาสนาเป็นเครื่องนำทาง ในทุก ๆ วันแทบทุกคนล้วนต้องมีพิธีกรรมทางตันตระเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่เช้าก่อนออกจากบ้าน ระหว่างทางเดินจนถึงที่ทำงาน ชาวพุทธวัชรยานบางคนจะกระทำพิธีกรรมทางศาสนาทั้งเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยการท่องมนต์ ทำสมาธิ นับลูกประคำและการแกว่งหรือหมุนกงล้อมนตรา จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมประจำชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
This study is an analysis ofThe Way of Life According to Trantra Tradition in Vajrayana Buddhism. This study is qualitative research which aims of study about 1) To study the teaching of Vajrayana Buddhism, 2) To study the Tantra practices according to Vajranaya tradition and 3) To analyze the way of life according to the tantra tradition in Vajrayana Buddhism. The study shows that 1. Inrespect of Vajrayana teaching, Vajrayana followers view their school as not different from Theravada in terms of sharing the monastic codes (Vinaya), discourses (Sutta), and the higher doctrine (Abhidhamma). In addition, It can be said that Vajrayana has its own identity that can preserve the knowledge on Tantra transmitted from India. The esoteric practice of Vajrayana focuses on many aspects such as the Buddhas can reveal their bodies to the practitioners in meditation, while the enlightenment can also be reached in this very life. In consequence, the way of Bodhisattva can be accelerated, in which the practitioners can have determination to attain the Buddha-hood in the form of human beings. 2. Regarding the guideline of Vajranaya, various practices such as drinking alcohol, sexual conduct, and the acceptance of Buddha in the forms of deities (the Buddha embracing his spouse for example), can be assumed as irrational and distorted based on the Theravada idea. In fact, the purpose of Tantra practice is aimed to attract people who are interested in Hindu Tantra to Buddhism. However, according to the Buddhist Tanta in Vajrayana, though this kind of practice is odd, but it is the direct way to enlightenment, which is claimed to be faster and easier than the practices of other schools. Therefore, it still focuses on enlightenment, though the way is different, as can be found in other Buddhist schools. 3. In terms of the way of life according to Vajranaya, Vajranaya followers live their lives on the Vajranaya’s way. They practice Vajranaya in daily life, from waking to sleeping, including the time when they go to work. The rituals can be performed in the positions of standing, walking, sitting, and laying down, by chanting, meditating, counting the Mala, as well as turning around the mantra bells and prayer wheel. These practices ultimately become their culture and identity.
หนังสือ

    ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของชนเผ่าลาหู่ 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของชนเผ่าลาหู่ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ มีลักษณะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมีลักษณะเป็นภูเขาสลับพื้นราบประกอบอาชีพทำไร่และปลูกผักนานาชนิดและเลี้ยงสัตว์เลี้ยงไว้รับประทาน สถานที่สำคัญของชุมชนได้แก่ “หอแหย่” มีลักษณะคล้ายศาลาและมีบริเวณกว้าง สำหรับไว้ประกอบพิธีกรรมและการละเล่นต่างๆของชุมชน หลักพุทธปรัชญาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตของชนเผ่า ได้แก่ ศีล โดยเฉพาะศีล 5 ข้อที่เป็นหลักปฏิบัติต่อกันของคนในชุมชน สมาธิ คือการมุ่งมั่นแน่วแน่ในการประกอบอาชีพและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ปัญญา รู้และเข้าใจในการปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องความกตัญญูกตเวที การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าลาหู่ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการปลูกฝังให้ชุมชนประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่ได้สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ทั้งทางด้านภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ให้เป็นมรดกตกทอดสู่รุ่นต่อๆไป
ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของชนเผ่าลาหู่ 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของชนเผ่าลาหู่ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ มีลักษณะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมีลักษณะเป็นภูเขาสลับพื้นราบประกอบอาชีพทำไร่และปลูกผักนานาชนิดและเลี้ยงสัตว์เลี้ยงไว้รับประทาน สถานที่สำคัญของชุมชนได้แก่ “หอแหย่” มีลักษณะคล้ายศาลาและมีบริเวณกว้าง สำหรับไว้ประกอบพิธีกรรมและการละเล่นต่างๆของชุมชน หลักพุทธปรัชญาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตของชนเผ่า ได้แก่ ศีล โดยเฉพาะศีล 5 ข้อที่เป็นหลักปฏิบัติต่อกันของคนในชุมชน สมาธิ คือการมุ่งมั่นแน่วแน่ในการประกอบอาชีพและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ปัญญา รู้และเข้าใจในการปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องความกตัญญูกตเวที การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าลาหู่ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการปลูกฝังให้ชุมชนประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและปฏิบัติตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่ได้สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ทั้งทางด้านภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ให้เป็นมรดกตกทอดสู่รุ่นต่อๆไป
The objectives of this research were: 1) to study the lifestyle of the Lahu tribe, 2) to study the principles of Theravada Buddhist philosophy about living a life, and 3) to analyze the lifestyle of the Lahu tribe according to Theravada Buddhist philosophy. The population in this research were 7community leaders and village scholars in Mae Suai district of Chiang Rai Province. The research results were found as follows: The Lahu people live together in group on the mountainous area. They work on farm, plant vegetables and raise animals for food. The sacred place in community is called “Ho Yae” similar to a pavillian with wide space for performing rituals and activies of the people in community. The significant principle of Buddhist philosophy in living a life of Lahu people is Sila or precept, especially the five precepts, for interaction with each other in community, Samadhi to focus on their career and preserving the tribal traditions and cultures, and Panna or wisdom to realize and understand the ancestors’ ways of life on the principle of gratitude. The lifestyle of Lahu people according to Theravada Buddhist philosophy is to implant the Buddhist practice and the ancestors’ ways of life to younger generations on tribal language, tradition, custom and culture.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องเปรียบเทียบความจริงระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธปรัชญาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาความจริงในวิทยาศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาความจริงในพุทธปรัชญาเถรวาท 3.
วิทยานิพนธ์เรื่องเปรียบเทียบความจริงระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธปรัชญาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาความจริงในวิทยาศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาความจริงในพุทธปรัชญาเถรวาท 3.
เพื่อเปรียบเทียบความจริงระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธปรัชญาเถรวาท ผลของการวิจัย พบว่า ความจริงทางวิทยาศาสตร์มีวิวัฒนาการมาจากความสงสัยในปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ด้วยหลักการเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่าวิทยาศาสตร์คือความรู้ในความสงสัยในธรรมชาติ มีมาตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาอาศัยอยู่บนโลกนี้ แต่ตามที่มีหลักฐานทางวิชาการที่ปรากฏ ก็นับได้ว่าเริ่มต้นเมื่อราว 2,500 กว่าปี มาแล้ว ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ มาสมัยกรีกรุ่งเรือง จนมาถึงสมัยวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาทางดาราศาสตร์ย้อนหลังไปจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ของเอกภพ สรุปได้ว่า ในความว่างเปล่าอันเป็นอนันต์มีพลังงานดั้งเดิมอยู่ แล้วมีวิวัฒนาการจากพลังงานมาเป็นเอกภพ จักรวาล และโลก ทำให้เกิดมีสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์รวมถึงมาเป็นมนุษย์ที่ทรงภูมิปัญญามากกว่าสัตว์สายพันธุ์อื่น ต่อมาวิวัฒนาการของมนุษย์ทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ส่งสืบต่อมา จากความรู้ที่เป็นความจริงในช่วงเวลานั้นๆ ตราบที่ยังไม่มีความจริงอื่นมาหักล้างได้ จนในปัจจุบันที่เกิดทฤษฎีกลศาสตร์ฟิสิกส์สัมพัทธภาพ และทฤษฎีกลศาสตร์ฟิสิกส์ควอนตัม และประยุกต์มาเป็นทฤษฎีพลังงานจิต ที่ได้รวมเอาโครงสร้างพื้นฐานทางทฤษฎีทั้งสองดังกล่าวข้างต้น ที่ได้รวมเอาผู้สังเกตการณ์เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของทฤษฎี เพื่อมาอธิบายพฤติกรรมของสภาวะทางควอนตัม ที่อยู่ในรูปของ อนุภาค-คลื่น ที่มีพฤติกรรมเหมือนจิตใจของมนุษย์ จึงสรุปได้ว่า ความจริงทางวิทยาศาสตร์มี 2 สิ่ง คือ หนึ่ง ผู้สังเกตการณ์, ผู้มีส่วนร่วม, ผู้เห็นเหตุการณ์ หรือ คือจิตใจของมนุษย์ สอง คือ ปรากฏการณ์ ความจริงทางพุทธปรัชญาเถรวาทมีวิวัฒนาการมาจากความอยากรู้ในวัฏฏะสงสารของพระพุทธเจ้าเมื่อประมาณ 2,500 ปี กว่ามาแล้ว อันเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการของการเกิดขึ้นของศาสนา ที่มีเกิดขึ้นมาตั้งแต่มีมนุษย์อาศัยอยู่บนโลก ตามความนิยามที่ว่ามนุษย์กลัวในความไม่รู้ แต่จากหลักฐานทางวิชาการที่ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่า เมื่อทรงตรัสรู้แล้วทรงได้ประกาศและตั้งพระศาสนา มีพระสาวกในระดับต่างๆรู้แจ้งเห็นจริงตาม อันเป็นเครื่องยืนยันการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ว่ามนุษย์สามารถปฏิบัติได้ในชาตินี้ มีการเรียบเรียงจัดทำรวบรวมองค์ความรู้ในความจริงไว้ในพระไตรปิฎก มีการส่งต่อรักษาเพื่อคงความบริสุทธิ์ในคำสอนไว้ให้ได้มากและนานที่สุด จากการศึกษาพบว่าพระพุทธองค์ทรงใช้การปฏิบัติภาวนาทางจิต โดยทรงยึดหลักทางสายกลาง ทรงพิจารณาด้วยหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท แล้วจึงทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ สาวกที่รู้แจ้งตามเป็นไปได้หลากหลายเหตุปัจจัย และหลายหลักธรรมมิจำเป็นต้องเหมือนกันก็สามารถรู้แจ้งตามได้ การตรัสรู้หรือการบรรลุธรรมคือการเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ จึงสรุปได้ว่าความจริงทางพุทธปรัชญาเถรวาทมี 2 สิ่ง คือ หนึ่ง ผู้รู้, ธาตุรู้ หรือ คือจิตใจของมนุษย์ สอง คือ สภาวะธรรม หรือ ธรรมธาตุ จากการศึกษาเปรียบเทียบความจริงระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า ความจริงทั้งสองศาสตร์มีความตรงกัน ต่างกันเพียงรูปแบบการอธิบายทางภาษาวิชาการ ดังนี้ ความจริงทางวิทยาศาสตร์ มี 2 สิ่ง คือ หนึ่ง ผู้สังเกตการณ์, ผู้มีส่วนร่วม, สอง คือ ปรากฏการณ์ ส่วน ความจริงทางพุทธปรัชญาเถรวาท มี 2 สิ่ง คือ หนึ่ง ผู้รู้, ธาตุรู้ หรือ คือจิตใจของมนุษย์ สอง
คือ สภาวะธรรม หรือ ธรรมธาตุ
Thesis on a comparison facts in science and in Theravada Buddhist Philosophy It has 3 objectives: 1. to study the facts in science 2. to study the facts in Theravada Buddhist philosophy 3. to a comparison facts in science and in Theravada Buddhist Philosophy. The results of the research revealed that scientific facts have evolved from doubts about natural phenomena. With such a principle it can be said that science is the knowledge of nature's doubts. It has existed since human beings were born to live on this planet. But according to the academic evidence that appears It can be counted that it started at about more than 2,500 years have passed since ancient Greece. to the prosperous Greek era until the present day of science from the study of scientists who have studied astronomy dating back to observing the astronomical phenomena of the universe, it was concluded that in the infinite emptiness there exists primordial energy. Then evolved from energy to the universe, the universe and the world, resulting in the existence of both plants and animals as well as being human beings who are more intelligent than other animal species. Subsequently, human evolution has resulted in the creation of a body of knowledge that has been passed on. from the knowledge that was true at that time as long as there is no other truth to refute Until now, the theory of mechanics, physics, relativity. and the theory of quantum physics mechanics. and applied it to the theory of psychic energy that combines the above two theoretical infrastructures. that included the observer as an integral part of the theory. to explain the behavior of quantum states in the form of particles-waves that behaves like a human mind therefore, it can be concluded that there are two kinds of scientific truths: one is the observer, the participant, the eyewitness or the human mind; the second is the phenomenon. Over 2,500 years ago, it was part of the evolution of the emergence of religion. that have arisen since humans lived on earth by definition, humans are afraid of ignorance. But from the academic evidence that appears in the Tripitaka found that when he had enlightened, he proclaimed and established a religion. There are disciples of different levels, enlightened accordingly. Which confirms the Buddha's enlightenment that human beings can practice in this life It has been compiled and compiled to collect the body of knowledge in the truth in the Tripitaka. It has been passed on to preserve the purity of the teachings as much as possible for as long as possible. From the study, it was found that the Buddha used the practice of spiritual meditation. By adhering to the middle path his highness considered with the principle of supremacy and then he enlightened the four noble truths An enlightened disciple was possible for a variety of reasons. and many dharmas do not have to be the same, they can be enlightened accordingly. Enlightenment or enlightenment is access to the truth of nature. Thus, it can be concluded that there are two truths in Theravada Buddhist philosophy, namely, the one who knows, the knowledge element or the human mind, and the second is the dharma state or the dharma element. From a comparison facts in science and in Theravada Buddhist Philosophy, it was found that the truths of the two sciences were synonymous. The difference is only in the form of explanation in academic language as follows: Scientific truth has 2 things: one is an observer, participant, an eyewitness two is a phenomenon. One is the one who knows, the element knows or is the human mind; the second is the state of Dharma or the Dharma element.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ นี้มีวัตถุประสงค 1) เพื่อศึกษาจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 108 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน รวม 324 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวความคิดของ อาคม มากมีทรัพย์ และการบริหารงานวิชาการ ตามแนวความคิดของ กระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบวา 1. จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวม และรายดานทุกดานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่ามีการกระจายของข้อมูลน้อย แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขาคณิตจากมากไปน้อย พบว่า จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความซื่อสัตย์ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก ด้านความมีวินัย ด้านกัลยาณมิตร อยู่ในระดับมาก ด้านความเมตตา กรุณา อยู่ในระดับมาก ด้านความยุติธรรม อยู่ในระดับมาก และลำดับที่สุดท้ายด้านการเป็นผู้นำ อยู่ในระดับมากตามลำดับ 2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวม และรายดานทุกดานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่ามีการกระจายของข้อมูลน้อย แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขาคณิตจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ด้านการวัดผลประเมินผล อยู่ในระดับมาก ด้านสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก และลำดับที่สุดท้ายด้านการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมากตามลำดับ 3.
วิทยานิพนธ์ นี้มีวัตถุประสงค 1) เพื่อศึกษาจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 108 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน รวม 324 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวความคิดของ อาคม มากมีทรัพย์ และการบริหารงานวิชาการ ตามแนวความคิดของ กระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบวา 1. จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวม และรายดานทุกดานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่ามีการกระจายของข้อมูลน้อย แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขาคณิตจากมากไปน้อย พบว่า จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความซื่อสัตย์ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก ด้านความมีวินัย ด้านกัลยาณมิตร อยู่ในระดับมาก ด้านความเมตตา กรุณา อยู่ในระดับมาก ด้านความยุติธรรม อยู่ในระดับมาก และลำดับที่สุดท้ายด้านการเป็นผู้นำ อยู่ในระดับมากตามลำดับ 2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวม และรายดานทุกดานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่ามีการกระจายของข้อมูลน้อย แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขาคณิตจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ด้านการวัดผลประเมินผล อยู่ในระดับมาก ด้านสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก และลำดับที่สุดท้ายด้านการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมากตามลำดับ 3.
จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 คือ ด้านธรรมาภิบาล (X3) ด้านกัลยาณมิตร (X2) ด้านการเป็นผู้นำ (X6) และด้านความซื่อสัตย์ (X5) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) ในการทำนายภาพรวม (Ytot) เท่ากับ 0.879 ค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย ได้ร้อยละ 77.20 (R2 = 0.772) ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้ว (Adjusted R2) เท่ากับ 0.769 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย (Standard Error) เท่ากับ 0.091 ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ภาพรวม (Ytot) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y' = 1.625 + 0.583(X3) + -0.355(X2) + 0.247(X6) + 0.141(X5) (R2 = 0.772) สมการคะแนนมาตรฐาน Zy′ = 0.787(X3) + -0.435(X2) + 0.334(X6) + 0.175(X5) (R2 = 0.772)
The research aimed to: 1) study the ethics of school administrators under the Ratchaburi Primary Educational Service Area Office, 2 2)study the academic administration in schools under the Ratchaburi Primary Educational Service Area Office, 2 3) study the ethics of school administrators affecting to academic administration in schools under the Ratchaburi Primary Educational Service Area Office, 2 The results were found that: 1)Ethics of school administrators under the Ratchaburi Primary Educational Service Area Office, 2. Honesty, good governance, discipline, friend, mercy please, justice, and leadership. 2)Academic Administration in Schools Under the Ratchaburi Primary Educational Service Area Office, 2.Teaching management, Quality Assurance,curriculum development of educational institutions, supervision within educational institutions, evaluation, teaching materials, and classroom research. 3)Ethics of School Administrators Affecting to Academic Administration in Schools Under the Ratchaburi Primary Educational Service Area Office, 2.Good governance (X3) friend (X2) leadership (X6) and honesty (X5) with which the Ethics of School Administrators can be predicted with statistical significance at the level of .05, multiple correlation coefficient of 0.879, prediction coefficient of 77.20 (R2 = 0.772), Adjusted R2 of 0.769, and standard error of 0.091. The prediction equation in the form of raw score can be derived as follows: Y' = 1.625 + 0.583(X3) + -0.355(X2) + 0.247(X6) + 0.141(X5) (R2 = 0.772) And the prediction equation in the form of standardized score can be derived as follows: Zy′ = 0.787(X3) + -0.435(X2) + 0.334(X6) + 0.175(X5) (R2 = 0.772)
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) การบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1จำนวนทั้งสิ้น 58 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 5 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือหัวหน้างานหรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะผู้บริหารตามแนวคิดของเฮลรีเกล,แจ็คสัน และสโลคัม และการบริหารงานบุคคลตามแนวคิดของคาสเต็ทเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ สมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ สมรรถนะในการสื่อสาร สมรรถนะในการบริหารตนเอง สมรรถนะในการทำงานเป็นทีม สมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์ และสมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ 2. การบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปน้อยดังนี้การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การพัฒนา การวางแผนกำลังคน การให้ความยุติธรรม ความมั่นคงในงาน การนำเข้าสู่หน่วยงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้ข้อมูลข่าวสาร การคัดเลือก การให้ค่าตอบแทนหรือสิ่งจูงใจ การสรรหา และการเจรจาต่อรอง 3. สมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ สมรรถนะในการบริหารตนเอง และสมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนสมรรถนะในการสื่อสารและสมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์ ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) การบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1จำนวนทั้งสิ้น 58 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 5 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือหัวหน้างานหรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะผู้บริหารตามแนวคิดของเฮลรีเกล,แจ็คสัน และสโลคัม และการบริหารงานบุคคลตามแนวคิดของคาสเต็ทเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ สมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ สมรรถนะในการสื่อสาร สมรรถนะในการบริหารตนเอง สมรรถนะในการทำงานเป็นทีม สมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์ และสมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ 2. การบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปน้อยดังนี้การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การพัฒนา การวางแผนกำลังคน การให้ความยุติธรรม ความมั่นคงในงาน การนำเข้าสู่หน่วยงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้ข้อมูลข่าวสาร การคัดเลือก การให้ค่าตอบแทนหรือสิ่งจูงใจ การสรรหา และการเจรจาต่อรอง 3. สมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ สมรรถนะในการบริหารตนเอง และสมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนสมรรถนะในการสื่อสารและสมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์ ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
This research purposes were to determine 1) the administrator’s competencies of School in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1 2) the personnel administration of School in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1 and 3) the administrator’s competencies affecting personnel administration of School in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1. The samples were 58 private schools in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1. The 5 respondents of each school were; a licensee, a manager or a school director, adeputy school director, a head of department or an academic learning department’s head and three teachers, totally 290 respondents. The research instrument was a questionnaire concerning administrator’s competencies on Hellriegel, Jackson, and Slocum’s concept and personnel administration on Castetter’s concept. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows; 1. The administrator’s competencies of School in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1 as a whole, were at a high level. Ranking level with arithmetic mean from the highest to the lowest were; planning and administration competency, communication competency, self-management competency, teamwork competency, global awareness competency and strategic action competency. 2.The personnel administration of School in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1 as a whole, were at a high level. Ranking level with arithmetic mean from the highest to the lowest were; continuity, development, manpower planning, justice, induction, appraisal, information, selection, compensation, recruitment, and bargaining. 3. The administrator’s competencies affecting personnel administration of School in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1 were found that strategic action competency, self-management competency and planning and administration competency affected personnel administration of School in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1 as a whole. 0.05 level at statistical significance, but communication competency and global awareness competency affecting personnel administration of School in the Bangkok Secondary Educational Service Area 1
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวันของครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวันของครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ และ รายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวันของครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 191 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวัน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) 2) ด้านยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้) และ 3) ด้านยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวันโดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3) ครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและ แนวทางแก้ไขการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวัน มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ด้านยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้) มักจะกู้ยืมเพื่อซื้อทรัพย์สิน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ กระเป๋า เสื้อผ้า เกินฐานะหรือความเป็นอยู่ของตนเอง 2) ด้านยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) มีความต้องการอยากได้อยากมีในวัตถุสิ่งของบางอย่างที่เกินกำลังต้องการความหรูหราทางสังคมทำให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนเกินรายได้ที่หามาได้ และ 3) ด้านหลักสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) เพื่อนร่วมอาชีพครูมีภาพลักษณ์ด้านฐานะในสังคมดูดีเกินหน้า ทำให้ต้องใช้จ่ายเกินความสมควร
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวันของครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวันของครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ และ รายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวันของครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 191 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวัน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) 2) ด้านยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้) และ 3) ด้านยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวันโดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3) ครูในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและ แนวทางแก้ไขการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในชีวิตประจำวัน มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ด้านยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้) มักจะกู้ยืมเพื่อซื้อทรัพย์สิน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ กระเป๋า เสื้อผ้า เกินฐานะหรือความเป็นอยู่ของตนเอง 2) ด้านยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) มีความต้องการอยากได้อยากมีในวัตถุสิ่งของบางอย่างที่เกินกำลังต้องการความหรูหราทางสังคมทำให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนเกินรายได้ที่หามาได้ และ 3) ด้านหลักสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) เพื่อนร่วมอาชีพครูมีภาพลักษณ์ด้านฐานะในสังคมดูดีเกินหน้า ทำให้ต้องใช้จ่ายเกินความสมควร
The objectives of this research were: 1) to study the application of the solitude (santutthi) in daily life of teachers in Phasicharoen district of Bangkok, 2) to compare the application of the principle of solitude in daily life of teachers in Phasicharoen district of Bangkok based on their gender, age and income, and 3) to analyze suggestions regarding the problems and resolutions of the application of Solitude (Santutthi) of teachers in Phasicharoen district of Bangkok. 191 teachers in Phasicharoen district of Bangkok were the samples drawn randomly. The sample size (n = 380) was determined by using Krejcie and Morgan’s (1970) table of sample sizes, specifying a 5% margin of error. The experimental data was collected by questionnaire and summarized with descriptive statistics, such as frequency, percentage, mean and standard deviation, and compared groups by using independent-sample t-tests, F-tests and one-way analysis of variance (ANOVA). All of the data was analyzed by statistics software. The results of the study were found that: 1) The application of solitude (santutthi) in daily life of teachers in Phasicharoen district of Bangkok was at a high level in overall. When considering by each aspect, the mean was different and could be ranged from maximum to minimum as follows: 1) Yathabala Santutthi (Contentment with what one gets and deserves to get), 2) Yathalabha Santutthi (Contentment with what is within one’s capacity), and 3) Yathasaruppa Santutthi (Contentment with what is benefitting) respectively. 2) In comparison, there were no statistically significant difference in application of Santutthi of teachers in Phasicharoen district of Bangkok with different gender, age, education and monthly income. 3) The suggestions obtained were as follows: 1) Yathalabha Santutthi, they often borrow money from others to buy assets beyond their own status or livelihood, such as mobile phones, computers, bags, clothes, 2) Yathabala Santutthi, they desire to have something that exceeds their real need for social luxury, causing lavish spending that exceeds the income they earned, and 3) Yathasaruppa Santutthi, they want to keep up with their colleagues in image and luxury status in society, which cause them to spend more than their capacity.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1)เพื่อศึกษาการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 72.7 มีอายุระหว่าง 30-40 ปีจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 2) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม แตกต่างกัน ส่วนที่มีอายุ และระยะเวลาในการทำงาน แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้ (1) ด้านฉันทะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความภูมิใจในงานทำ (2) ด้านวิริยะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความเพียร มุมานะ ในการทำหน้าที่ (3) ด้านจิตตะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีการตั้งใจถ่ายทอดความรู้ในการทำงาน (4) ด้านวิมังสา ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ไตร่ตรองงานที่ทำด้วยความเข้าใจ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1)เพื่อศึกษาการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 72.7 มีอายุระหว่าง 30-40 ปีจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 2) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ ที่มี เพศ แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม แตกต่างกัน ส่วนที่มีอายุ และระยะเวลาในการทำงาน แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของพนักงานตัวแทนประกันชีวิตสู่ความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้ (1) ด้านฉันทะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความภูมิใจในงานทำ (2) ด้านวิริยะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีความเพียร มุมานะ ในการทำหน้าที่ (3) ด้านจิตตะ ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ มีการตั้งใจถ่ายทอดความรู้ในการทำงาน (4) ด้านวิมังสา ข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ไตร่ตรองงานที่ทำด้วยความเข้าใจ
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees, 2) to compare the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees with different gender, age and work period, and 3) to study the suggestions on the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees. 66 samples were used in this research. The data were collected by open-ended and close-ended questionnaires and analyzed by a ready-made computer program for frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results of the study revealed that: 1) 48 respondents or 72.7 percent were men. 26 respondents or 39.4 percent were 30-40 years of age, and 17 respondents or 25.8 percent worked with the life insurance for more than 10 years. 2) The application of Iddhipada in living a life of life insurance agent employees was at a high level overall. In details, the highest level was on Chanda, followed by Viriya, Citta, and Vimamsa respectively. 3) The results comparison of genders base of insurance agents who apply Iddhipada for the prosperity of livelihood, is resulting in a different outcome. Thus, by focusing on a gender factor, the overall adjustment of Iddhipada to daily life by insurance agents are differing. However, the results of lifetime duration and working duration of the insurance agents who apply Iddhipada for a prosperous livelihood are not distinguishingly varying at .05 level. 4) Suggestions regarding the application of Iddhipada in living a life to success of life insurance agent employees are as follows: (1) In Chanda, the most suggestion is pride in the work. (2) In Viriya, the most suggestion is on the persistence in performing duty. (3) In Citta, the most suggestion is on intentional transfer of knowledge in the work to others. (4) In Vimamsa, the most suggestion is to reflect on the work done with a critical understanding.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2.) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขากับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยใช้สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 72 แห่งเป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 6 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 419 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Athematic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correiation Coeffieiont) ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมจริยธรรม ตามลำดับ 2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ ด้านการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามลำดับ 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขากับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ด้านไตรสิกขา และด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมจริยธรรม ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายได้ร้อยละ 29.0 ในแต่ละด้านได้ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังอยู่ที่ 0.70 2) ด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมจริยธรรม อยู่ที่ 0.67 3)ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ที่ 0.68 และ 4) ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง อยู่ที่ 0.17
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2.) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขากับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยใช้สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 72 แห่งเป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 6 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 419 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Athematic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correiation Coeffieiont) ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมจริยธรรม ตามลำดับ 2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ ด้านการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามลำดับ 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขากับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ด้านไตรสิกขา และด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมจริยธรรม ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายได้ร้อยละ 29.0 ในแต่ละด้านได้ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังอยู่ที่ 0.70 2) ด้านการส่งเสริมวินัย คุณธรรมจริยธรรม อยู่ที่ 0.67 3)ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ที่ 0.68 และ 4) ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง อยู่ที่ 0.17
The objectives of this research were 1) to study the strategic management according to the tri-sikkha principles of educational institute administrators. Under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1 2.) To study personnel management of educational institution administrators. under the SamutPrakan Primary Educational Service Area Office 1 3) to analyze the relationship of the thri-sixkha strategic management with the personnel management of educational institution administrators. under the SamutPrakan Primary Educational Service Area Office 1, using the educational institutions Under the SamutPrakan Primary Educational Service Area Office 1. Zone 72 locations are the Unit of Analysis. Group Leader Government teachers and educational personnel totaling 419 people. The instrument used was a questionnaire. Data analysis uses software packages. The statistics used to analyze the data are frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation. The results showed that: 1. Strategic management according to the threefold principles of school administrators Under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1, the overall picture is at a high level. By sorting the arithmetic mean value from highest to lowest is the power rate planning aspect. Evaluation of the performance of recruitment and appointment and the promotion of discipline morality, ethics, respectively 2. Personnel administration in educational institutions Under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office. the overall picture is at a high level. By sorting the arithmetic mean values from highest to lowest as follows: Change of position to a higher position, transfer of government teacher and education personnel Promotion of academic assessment of government teacher and education personnel Performance evaluation Development of government teachers and educational personnel Discipline promotion Moral and Ethics for Government Teachers and Educational Personnel Actions related to salary advancement Promotion and honour Promotion of professional standards and professional ethics, respectively. 3. Analysis of the relationship of strategic management according to the trisikkha principles and personnel management of educational institution administrators Under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office, Region 1, tri-sikkha in the field of manpower planning Performance appraisal Nomination and Appointment and the promotion of discipline morality Affects personnel management in educational institutions Under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1, the statistical significance at the .01 level had a predictive coefficient of 29.0% in each aspect as follows: 1) the power rate planning aspect was at 0.70; 2) the promote discipline Moral and Ethics at 0.67 3) Performance Assessment at 0.68 and 4) Nomination and Appointment at 0.17

... 2564

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประชากร คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 103 โรง กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 86 โรง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ไม่แตกต่างกัน 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (X3) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X1) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (X4) โดยสามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร่วมกันร้อยละ 81.40 (R2=0.814) สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y' = .881 + 0.433(X3) + 0.209(X1) + 0.175 (X4) (R2 = 0.814) สมการคะแนนมาตรฐาน Zy′ = 0.449(X3) + 0.216(X1) + 0.204 (X4) (R2 = 0.814)
วิทยานิพนธ์ นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประชากร คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 103 โรง กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 86 โรง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ไม่แตกต่างกัน 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (X3) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X1) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (X4) โดยสามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร่วมกันร้อยละ 81.40 (R2=0.814) สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y' = .881 + 0.433(X3) + 0.209(X1) + 0.175 (X4) (R2 = 0.814) สมการคะแนนมาตรฐาน Zy′ = 0.449(X3) + 0.216(X1) + 0.204 (X4) (R2 = 0.814)
The research aimed to: 1) study the transformational leadership integrated with Sangahavatthu principles of school administrators under Samut Sakhon Primary Educational service area office 2) study the academic administration in schools under Samut Sakhon Primary Educational service area office 3) study the transformational leadership integrated with Sangahavatthu principles of school administrators affecting the academic administration in schools under Samut Sakhon Primary Educational service area office. The peoples were 103 schools. The samples were 86 schools. The instrument is questionnaire. The statistics use for data analysis were frequency, percentage, means, standard deviation, Pearson’s product moment correation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The results were found that: 1) Transformational leadership integrated with Sangahavatthu principles of school administrators affecting the academic administration in schools under Samut Sakhon Primary Educational service area office were a high level. When considering each aspect, it was found that it was at the high level. 2) The academic administration in schools under Samut Sakhon Primary Educational service area office were a high level, it not different. 3) Transformational leadership integrated with Sangahavatthu principles of school administrators affecting the academic administration in schools under Samut Sakhon Primary Educational service area office. Intellectual stimulation with Sangahavatthu principles (X3) Inspiration motivation with Sangahavatthu principles (X1) and Individualized consideration with Sangahavatthu principles (X4) with which the academic administration in schools under Samut Sakhon Primary Educational service area office can be predicted with statistical significance at the level of .05, and the prediction power they had together was 81.40 percent (R2 = 0.814). The prediction equation in the form of raw score can be derived as follows: Y' = .881 + 0.433(X3) + 0.209(X1) + 0.175 (X4) (R2 = 0.814) And the prediction equation in the form of standardized score can be derived as follows: Zy′ = 0.449(X3) + 0.216(X1) + 0.204 (X4) (R2 = 0.814)
หนังสือ

    วิทยาพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษา 9 แห่ง จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านประสิทธิภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการตอบสนอง 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นต้องเป็นไปด้วยเหตุส่วนดีและส่วนเสียและที่สำคัญต้องพยายามให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม มีการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่องร่วมตัดสินใจ มีการกระจายอำนาจ 4. ผลสัมภาษณ์ข้อคิดเห็นการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเน้นในเรื่อการประหยัดทรัพยากรในการบริหารจัดการ คุ้มค่า กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน ทุกคนมีส่วนร่วม
วิทยาพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษา 9 แห่ง จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านประสิทธิภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการตอบสนอง 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นต้องเป็นไปด้วยเหตุส่วนดีและส่วนเสียและที่สำคัญต้องพยายามให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อมุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม มีการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่องร่วมตัดสินใจ มีการกระจายอำนาจ 4. ผลสัมภาษณ์ข้อคิดเห็นการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเน้นในเรื่อการประหยัดทรัพยากรในการบริหารจัดการ คุ้มค่า กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน ทุกคนมีส่วนร่วม
The purposes of this study were to 1) study the Management condition of Good governance–based Administration of administrators in school under Vocational Institute of Northeast Region 3, 2) compare the Good governance–based Administration of administrators in school under Vocational Institute of Northeast Region 3, classified by gender, educational background, and work experience 3) gather Management recommendations of Good governance–based Administration of administrators in school under Vocational Institute of Northeast Region 3. The sample group in this research were 242 instructors form 9 institutes of Vocational Education Northeastern Region 3. The instrument used for data collection was a five-level estimation scale Questionnaire. The index of consistency between the questions and definations was between 0.67 – 1.00, and has a confidence of 0.95 The results of the research were as follows: 1. The overall state of management condition of the good governance – based Administration of administrators in school under Vocational Institute of Northeast Region 3 was at a high level. Ranked from high to low averages were morality, ethics, efficiency, and the side with the lowest mean is response side 2. Comparison of opinions on good governance – based administration of administrators classified by gender, educational background and work experience by overall. And in each aspect, there was a statistically significant difference at the .05 level. 3. Suggestions and opinions must be based on good and bad reasons. The most importantly, try to get everyone involved so as to focus on the benific of the public. There is ongoing consulation, decision making, and decentralized. 4. Interview results, opinions on good governance – based administration of administrators, emphasis on saving resources in management, worthy, clearly defined roles and responsibilities, everyone participates.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการที่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธ์ จำนวน 257 รูป โดยวิธีคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.817 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และ ค่า F-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. พระสังฆาธิการมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสามารถในการวิเคราะห์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. ผลเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามสังกัดคณะสงฆ์ พรรษา ระดับการศึกษาทางธรรม และตำแหน่งทางคณะสงฆ์โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นระดับการศึกษาทางโลกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ควรจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการวางแผนจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และควรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการที่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธ์ จำนวน 257 รูป โดยวิธีคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.817 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และ ค่า F-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. พระสังฆาธิการมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสามารถในการวิเคราะห์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. ผลเปรียบเทียบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามสังกัดคณะสงฆ์ พรรษา ระดับการศึกษาทางธรรม และตำแหน่งทางคณะสงฆ์โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นระดับการศึกษาทางโลกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ควรจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการวางแผนจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และควรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์
The objectives of this thesis were to 1) study the level of promotion of skills in using information technology of the administrative monks for Sangha governance of Kalasin Province 2) study and compare the promotion of skills in using information technology of the administrative monks for Sangha governance of Kalasin Province and 3) study the recommendations on the promotion of skills in using information technology of the administrative monks for Sangha governance of Kalasin Province. It is a quantitative research. The sample group was 257 monks in Kalasin province by method of calculating the sample size according to the Taro Yamane formula. The data collection tool was a questionnaire on a 5-level estimation scale of 30 items with a confidence level of 0.817. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, T-test and F-test. The statistical significance was set at the .05 level. The results of research were found that : 1. The administrative Sangha has promoted the use of information technology was found that the overall level was at a high level. When considering each aspect was found that the ability to analyze information technology media with the highest average, followed by the application of information technology, the use of information technology and in terms of management of information technology was the least average. 2. Comparative results of promoting skills in using information technology of administrative sangha in Sangha governance of Kalasin Province Classified by Sangha affiliation, age of monks, level of moral education and Sangha position were not statistically significantly different at the .05 level excepting secular education levels was statistically different at the .05 level. 3. Recommendations for promoting skills in using information technology of the administrative monks in Sangha governance of Kalasin Province as follow: Information technology budget should be allocated, there should be a plan to organize training on the use of information technology, there should have morals and ethics in the use of information technology media and there should apply information technology for public relations.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วิธีการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนที่อาศัยอยู่เขตเทศบาลเมืองศิลา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรอิสระตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ์อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ด้านเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ 1) การปกครอง พบว่า พระสงฆ์ควรให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินในการพัฒนาวัดในการปกครอง และในการปกครองควรมีคณะกรรมการชุมชนเข้าไปด้วย 2) การศาสนศึกษา พบว่า ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการศึกษาในการระดมทุนเพื่อการศึกษาให้กับภิกษุสามเณร และควรมีการจัดให้มีการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาให้กับภิกษุสามเณร 3) การเผยแผ่ พบว่า วัดควรมีการเผยแพร่ให้เกิดความทันสมัย เพื่อจูงใจเด็กและเยาวชนเข้าวัดให้มาก 4) การศึกษาสงเคราะห์ พบว่า วัดมีส่วนในการสงเคราะห์ชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งมีมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย 5) การสาธารณสงเคราะห์ พบว่า วัดมีส่วนในการสงเคราะห์ชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งมีมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย 6) การสาธารณูปการ พบว่า ทุกวัดควรมีลานกีฬาไว้ให้กับชุมชน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วิธีการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนที่อาศัยอยู่เขตเทศบาลเมืองศิลา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรอิสระตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ์อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัดในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ด้านเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ 1) การปกครอง พบว่า พระสงฆ์ควรให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินในการพัฒนาวัดในการปกครอง และในการปกครองควรมีคณะกรรมการชุมชนเข้าไปด้วย 2) การศาสนศึกษา พบว่า ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการศึกษาในการระดมทุนเพื่อการศึกษาให้กับภิกษุสามเณร และควรมีการจัดให้มีการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาให้กับภิกษุสามเณร 3) การเผยแผ่ พบว่า วัดควรมีการเผยแพร่ให้เกิดความทันสมัย เพื่อจูงใจเด็กและเยาวชนเข้าวัดให้มาก 4) การศึกษาสงเคราะห์ พบว่า วัดมีส่วนในการสงเคราะห์ชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งมีมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย 5) การสาธารณสงเคราะห์ พบว่า วัดมีส่วนในการสงเคราะห์ชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งมีมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย 6) การสาธารณูปการ พบว่า ทุกวัดควรมีลานกีฬาไว้ให้กับชุมชน
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the level of people's participation in the development of Sila Municipality; Mueang Khon Kaen District Khon Kaen Province 2) to compare the participation of people in the development of Sila Municipality Mueang Khon Kaen District and 3) to study the recommendations of people's participation in the development of Sila Municipality. Mueang Khon Kaen District Khon Kaen Province. The researcher studied the research by survey research method. Data were collected by using a questionnaire with people living in Mueang Sila Municipality. The sample group obtained by calculating the sample size according to the Taro Yamane formula was 396 people. The used tool for collecting data in this research was a questionnaire. Data were analyzed from questionnaires by using a package for social science research. The statistics of frequency, percentage, mean, standard deviation, and F-test were used by One Way ANOVA. ) in the case of three or more independent variables. When there is a difference, the difference is compared in pairs by means of (Least Significant Difference: LSD) by specifying the level with a statistical significance level of 0.05. The results of research were found that: 1. People have opinions on people's participation in the development of temples in Mueang Sila Municipality, Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen Province as a whole was at a high level. It was found that the people had opinions on the people's participation in the development of temples in Mueang Sila Municipality, Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen Province at a high level in all aspects 2. Comparison of people's opinions on people's participation in temple development in Mueang Sila Municipality, Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen Province Classified by personal factors such as gender, age, education level, occupation and average monthly income which are different according to the assumptions set, it was found that the people had opinions on the people's participation in the development of temples in the Sila Municipality, Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen Province, gender and average monthly income were no difference, age, education level and occupation were significantly different at 0.05 level. 3. Suggestions for people's participation in the development of Sila Municipality, Mueang Khon Kaen District, Khon Kaen Province: 1) Governance: It was found that monks should allow people to participate in decision-making in the development of temples in governance through a community committee. 2) Religious studies: It was found that an education committee should be established to raise funds for education for monks and novices and there should be an arrangement of robes for education for monks and novices. 3) Propagation: It was found that the temple should be disseminated to be modern to induce more children and youths to go to the temple. 4) Welfare education: It was found that the temple was already involved in helping the community which has since the grandparents. 5) Public Welfare: It was found that the temple was already involved in helping the community which has since grandparents. 6) Public utilities: It was found that every temple should have a sports field for the community.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษารัตนสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในรัตนสูตร วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร ผลงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หลักจริยศาสตร์นั้น ว่าด้วยเรื่องความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับความประพฤติของมนุษย์ และว่าด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิตว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของมนุษย์ เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป 2) รัตนสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงพระรัตนตรัย กล่าวคือ เป็นการพรรณนาสรรเสริญคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นที่พึ่งที่ระลึก ด้วยการนำเอาคุณของพระรัตนตรัย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เรียกว่า ไตรสิกขา ไปประพฤติปฏิบัติจนกระทั่งทำให้กายบริสุทธิ์ และจิตใจสงบ เป็นการพัฒนาชีวิตให้เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิต ทำให้ผู้ที่นำไปประพฤติปฏิบัติ มีชีวิตที่ประเสริฐ มีความสุขบริบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด ช่วยให้เกิดดวงตาเห็นธรรม จนกระทั่งเข้าถึงพระนิพพานหรือความพ้นทุกข์ในที่สุด 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในรัตนสูตร เป็นคุณค่าที่มีผลต่อทางร่างกายและจิตใจ คือ ช่วยการพัฒนาความประพฤติของมนุษย์ด้วยการรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เกิดความทุกข์ และสมบูรณ์ด้วยสมาธิและปัญญา ด้วยการทำจิตใจให้มีความหนักแน่นในคุณงามความดี ด้วยการเว้นจากความประพฤติชั่ว ประพฤติแต่ความดี เป็นการเตรียมจิตใจให้พร้อมที่จะใช้สมาธิเพื่อปัญญา ในการบําเพ็ญสมาธิให้จิตบริสุทธิ์ เป็นการสร้างคุณค่าด้วยหลักจริยศาสตร์ให้เป็นผู้มีชีวิตที่ประเสริฐ เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิต
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษารัตนสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในรัตนสูตร วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร ผลงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หลักจริยศาสตร์นั้น ว่าด้วยเรื่องความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับความประพฤติของมนุษย์ และว่าด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิตว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของมนุษย์ เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป 2) รัตนสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงพระรัตนตรัย กล่าวคือ เป็นการพรรณนาสรรเสริญคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นที่พึ่งที่ระลึก ด้วยการนำเอาคุณของพระรัตนตรัย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เรียกว่า ไตรสิกขา ไปประพฤติปฏิบัติจนกระทั่งทำให้กายบริสุทธิ์ และจิตใจสงบ เป็นการพัฒนาชีวิตให้เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิต ทำให้ผู้ที่นำไปประพฤติปฏิบัติ มีชีวิตที่ประเสริฐ มีความสุขบริบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด ช่วยให้เกิดดวงตาเห็นธรรม จนกระทั่งเข้าถึงพระนิพพานหรือความพ้นทุกข์ในที่สุด 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในรัตนสูตร เป็นคุณค่าที่มีผลต่อทางร่างกายและจิตใจ คือ ช่วยการพัฒนาความประพฤติของมนุษย์ด้วยการรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ด้วยการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เกิดความทุกข์ และสมบูรณ์ด้วยสมาธิและปัญญา ด้วยการทำจิตใจให้มีความหนักแน่นในคุณงามความดี ด้วยการเว้นจากความประพฤติชั่ว ประพฤติแต่ความดี เป็นการเตรียมจิตใจให้พร้อมที่จะใช้สมาธิเพื่อปัญญา ในการบําเพ็ญสมาธิให้จิตบริสุทธิ์ เป็นการสร้างคุณค่าด้วยหลักจริยศาสตร์ให้เป็นผู้มีชีวิตที่ประเสริฐ เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิต
The objectives of this thesis are as follows 1) to study the principles of ethics 2)to study the Ratanasutta 3)to analyze the ethics principles appearing in the Ratanasutta involved and then analyzed and summarized the research results. The results of study wer found that: 1) The ethics of human conduct is concerned with the criteria for judging good and evil as a standard for human conduct and on the pursuit of the value of life as to what is best. For human life is the development of a more complete human being. 2) The Ratana Sutra is a sutra that mentions the Triple Gem, which is to describe the virtues of the Buddha, the Dharma, and the Sangha, which are relied upon by bringing the virtues of the Triple Gems, which is the virtue of meditation and wisdom known as the Trisikkha, to practice until the body Purity and peace of mind is the development of life to create value for living, enabling those who practice it to live a noble life, full of happiness both physically and mentally, because these are the noble refuges, the highest refuges. The eyes are born to see the Dharma until finally attaining Nirvana or cessation of suffering. 3)The ethical value that appears in the Ratana Sutra is the value that affects the body and mind, that is, it helps the development of human conduct by keeping the body and speech in order without hurting oneself and others to cause suffering and complete with concentration and wisdom by strengthening the mind in virtue by abstaining from evil conduct but goodness is to prepare the mind to use concentration for wisdom to practice meditation, to purify the mind, to create value through ethics, to become a noble life to achieve the highest goal of life.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสาร (Documentary-Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธศิลป์ 2) เพื่อศึกษาพุทธศิลป์ที่ปรากฏในลัทธิตันตระ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธ์ศิลป์ที่ปรากฏในลัทธิตันตระ ผลการวิจัยพบว่า : พุทธศิลป์ เป็นศิลปะที่แฝงปรัชญาพุทธศาสนา เพื่อเป็นสื่อนำหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาหรือปริศนาธรรมให้ผู้พบเห็นเกิดศรัทธาในสิ่งดีงาม หรือน้อมใจให้เกิดความสงบ และมั่นคงในอุดมคติ ที่สามารถยกจิตสู่สภาวะเหนือโลกเหนือสามัญ (Transcendence) พุทธศิลป์มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยตามลักษณะบรรทัดฐานและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นในรูปแบบสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และวรรณกรรม อันเป็นเครื่องน้อมนำไปสู่การศึกษาและปฏิบัติธรรม พุทธศิลป์ที่ปรากฏในลัทธิตันตระ เป็นศิลปะที่สามารถสื่อปรัชญาคำสอนพุทธตันตระได้ตามวัตถุประสงค์ สถูปถูกสร้างขึ้นตามคติจำลองจักรวาล สะท้อนให้เห็นถึงการเทิดทูนสิ่งสำคัญที่สุด ณ จุดศูนย์กลาง เป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในช่วงพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า จิตรกรรมมันดาลา เป็นภาพแปลนของสถูปที่จำลองการกำเนิดภพภูมิต่าง ๆ ตามคติ “ไตรภูมิพระร่วง” จิตรกรรมทังกา เป็นสื่อนำจิตเข้าสู่สมาธิด้วย “การมอง” และ “การกระตุ้นเตือนจิตใจ” ปฏิมากรรมพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ สื่อความหมายทำให้ผู้คนเข้าใจในธรรมาธิษฐานของบุคลาธิษฐานนั้น และปรัชญาปารมิตาเป็นคำสอนแนวการปฏิบัติโยคะว่าด้วยเรื่องสุญญตา พุทธศิลป์ลัทธิตันตระแต่ละประเภทเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติโยคะและน้อมนำให้ผู้พบเห็นเข้าใจปรัชญาพุทธตันตระได้ง่ายขึ้น วิเคราะห์พุทธศิลป์ที่ปรากฏในลัทธิตันตระ ความกลมกลืนระหว่างสรรพสิ่งที่ตรงกันข้ามเป็นหนึ่งเดียวระหว่างผู้รู้ (Subject) และสิ่งที่ถูกรู้ (Object) ตามปรัชญาสหภาพนิยม (Unificationism) มีสภาวะสุญญตา เป็นสภาวะแห่งอัลติมะจิต ที่ไม่ยึดติดถือมั่นในรูปขันธ์และนามขันธ์ของบุคคลและสรรพสิ่งเป็นสาระ ดังนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติโยคะเพ่งพิจารณาพุทธศิลป์ยับยุมซึ่งเป็นอารมณ์รูปขันธ์ภายนอกจนเกิด ‘สุญญตาภายนอก’ แล้ว และพิจารณาขันธ์ห้าของตนจนเกิด ‘สุญญตาภายใน’ สะท้อนให้เห็น ‘ความว่าง’ ที่หมายความว่า ‘ว่างจากสวภาวะ เป็นความว่างจากการอิงอาศัยเหตุปัจจัยในการปรุงแต่งให้อุบัติขึ้น’
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสาร (Documentary-Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธศิลป์ 2) เพื่อศึกษาพุทธศิลป์ที่ปรากฏในลัทธิตันตระ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธ์ศิลป์ที่ปรากฏในลัทธิตันตระ ผลการวิจัยพบว่า : พุทธศิลป์ เป็นศิลปะที่แฝงปรัชญาพุทธศาสนา เพื่อเป็นสื่อนำหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาหรือปริศนาธรรมให้ผู้พบเห็นเกิดศรัทธาในสิ่งดีงาม หรือน้อมใจให้เกิดความสงบ และมั่นคงในอุดมคติ ที่สามารถยกจิตสู่สภาวะเหนือโลกเหนือสามัญ (Transcendence) พุทธศิลป์มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยตามลักษณะบรรทัดฐานและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นในรูปแบบสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และวรรณกรรม อันเป็นเครื่องน้อมนำไปสู่การศึกษาและปฏิบัติธรรม พุทธศิลป์ที่ปรากฏในลัทธิตันตระ เป็นศิลปะที่สามารถสื่อปรัชญาคำสอนพุทธตันตระได้ตามวัตถุประสงค์ สถูปถูกสร้างขึ้นตามคติจำลองจักรวาล สะท้อนให้เห็นถึงการเทิดทูนสิ่งสำคัญที่สุด ณ จุดศูนย์กลาง เป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในช่วงพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า จิตรกรรมมันดาลา เป็นภาพแปลนของสถูปที่จำลองการกำเนิดภพภูมิต่าง ๆ ตามคติ “ไตรภูมิพระร่วง” จิตรกรรมทังกา เป็นสื่อนำจิตเข้าสู่สมาธิด้วย “การมอง” และ “การกระตุ้นเตือนจิตใจ” ปฏิมากรรมพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ สื่อความหมายทำให้ผู้คนเข้าใจในธรรมาธิษฐานของบุคลาธิษฐานนั้น และปรัชญาปารมิตาเป็นคำสอนแนวการปฏิบัติโยคะว่าด้วยเรื่องสุญญตา พุทธศิลป์ลัทธิตันตระแต่ละประเภทเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติโยคะและน้อมนำให้ผู้พบเห็นเข้าใจปรัชญาพุทธตันตระได้ง่ายขึ้น วิเคราะห์พุทธศิลป์ที่ปรากฏในลัทธิตันตระ ความกลมกลืนระหว่างสรรพสิ่งที่ตรงกันข้ามเป็นหนึ่งเดียวระหว่างผู้รู้ (Subject) และสิ่งที่ถูกรู้ (Object) ตามปรัชญาสหภาพนิยม (Unificationism) มีสภาวะสุญญตา เป็นสภาวะแห่งอัลติมะจิต ที่ไม่ยึดติดถือมั่นในรูปขันธ์และนามขันธ์ของบุคคลและสรรพสิ่งเป็นสาระ ดังนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติโยคะเพ่งพิจารณาพุทธศิลป์ยับยุมซึ่งเป็นอารมณ์รูปขันธ์ภายนอกจนเกิด ‘สุญญตาภายนอก’ แล้ว และพิจารณาขันธ์ห้าของตนจนเกิด ‘สุญญตาภายใน’ สะท้อนให้เห็น ‘ความว่าง’ ที่หมายความว่า ‘ว่างจากสวภาวะ เป็นความว่างจากการอิงอาศัยเหตุปัจจัยในการปรุงแต่งให้อุบัติขึ้น’
The objectives of this documentary qualitative research are: 1) to study Buddhist arts, 2) to study Buddhist arts in Tantricism, and 3) to analyze the Buddhist arts in Tantricism. The results of the study were found that: Buddhist arts are the arts implying Buddhist philosophy to bring Buddhist teachings or Dhamma puzzle to viewers and lead them to goodness, mental peace and ideal stability until they can raise their mental level into transcendence. The Buddhist arts are adjusted and adapted to the local cultural criteria and ways of life in the form of architecture, painting, sculpture, and literature in order to lead to Dhamma learning and practice. The Buddhist arts in Tantricism are the arts able to convey Tantric philosophy. Stupas were built according to the concept of cosmology reflecting significant situations in the life of the Buddha. Mandala painting reflects stupa plan of birth and rebirth in planes of existence in the Three Worlds according to King Ruang. Painting is a media leading and prompting the mind into concentration by seeing. Sculpture of the Buddha or Bodhisatva can lead viewers to understand teachings with reference to ideas from personification. Paramita philosophy is the teaching method by yoga practice concerning Suññatā. Each of Buddhist arts in Tantricism is an instrument for yoga practice and leads the practitioners to understand Tantric Buddhist philosophy easier. The analysis of Buddhist arts in Tantricism, harmony of opposite things is unity between subject and object. According to Unificationism, the state of emptiness is the state of ultimate mind detaching from mind and matter of man and material. When the yoga practitioners concentrate and reflect Yabyum Buddhist art which is the sense object of external matter until they access external emptiness, then they continue consideration on one’s own five aggregates until achieving internal emptiness. The internal emptiness reflects the emptiness of existence without factors of causality.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าจาก คัมภีร์พระไตรปิฏก อรรถกถา วิทยานิพนธ์ หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเฉพาะเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในวิชาการทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า กิเลส เป็นต้นเหตุให้สัตว์โลก ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร อย่างไม่มีวันสิ้นสุด พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจ ด้วยหลัก ๓ ประการคือ ๑) ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๒) อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรคมีองค์ ๘ ๓) การเจริญกรรมฐาน คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน วิธีการดำเนินชีวิตเพื่อพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท มีดังนี้ คือ ๑) ด้วยการปฏิบัติธรรมให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมไม่ประพฤติล่วงละเมิดทางกาย วาจา และใจ ซึ่งกันและกัน ๒) พัฒนาจิตให้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอให้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยแยบคายด้วยความคิดอย่างถูกวิธี ๓) บรรลุธรรมที่เป็นอริยบุคคล จากการปฏิบัติในหนทางประเสริฐ หรือหนทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรคมีองค์ ๘ ๔) สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว ด้วยการปฏิบัติธรรม และรักษาคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ถาวรสืบไป
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓) เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าจาก คัมภีร์พระไตรปิฏก อรรถกถา วิทยานิพนธ์ หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเฉพาะเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในวิชาการทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า กิเลส เป็นต้นเหตุให้สัตว์โลก ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร อย่างไม่มีวันสิ้นสุด พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจ ด้วยหลัก ๓ ประการคือ ๑) ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๒) อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรคมีองค์ ๘ ๓) การเจริญกรรมฐาน คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน วิธีการดำเนินชีวิตเพื่อพ้นภัยในวัฏสงสารตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท มีดังนี้ คือ ๑) ด้วยการปฏิบัติธรรมให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมไม่ประพฤติล่วงละเมิดทางกาย วาจา และใจ ซึ่งกันและกัน ๒) พัฒนาจิตให้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอให้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยแยบคายด้วยความคิดอย่างถูกวิธี ๓) บรรลุธรรมที่เป็นอริยบุคคล จากการปฏิบัติในหนทางประเสริฐ หรือหนทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรคมีองค์ ๘ ๔) สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว ด้วยการปฏิบัติธรรม และรักษาคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ถาวรสืบไป
The objectives of this thesis were as follows: (1) to study the Danger of the Samsara (transmigration or rebirth cycle) in the Theravada Buddhism; (2) to study the release from the Danger of the Samsara as in the Theravada Buddhism view point and (3) to study the way of life that free from the Danger of the Samsara according to the Theravada Buddhism view point. This research is a qualitative study with framework in search of the Tipitaka, Atthakatha , books, relevant documents, and purposive in-depth interviews with key informants who have academic experiences in Buddhism. The results of research were found that: The defilement (Kilesa) is the cause that make every life revolve in the round of rebirth. According to the teaching of the Buddha, there are 3 ways to the gid rid of the defilement: (1) the Threefold Learning (Tri Sikkha) which were trained in morality, concentration and wisdom; (2) the Four Noble Truths, the ways to overcome dangers in the life circle were Dukkha (suffering), Dukkha-samudaya (the origin of suffering), Dukkha-nirodha (the cessation of suffering) and Dukkha-nirodha-gamini patipada (the path to the cessation of suffering) and (3) the 2 meditation principles were 1) Samatha-Kammatthana or the act of mind calming to bring the right concentration and 2) Vipassana-Kammatthana or the act of meditation or contemplation to raise the concentration that bring the wisdom to see everything in the true condition. The benefits of practice to free from the Danger of the Samsara according to the Theravada Buddhism view point: (1) By living with no violate in any way (body, speech or mind) to each other is to make peace. Living without any bias is an optimistic way of life. (2) For the mind develops, the Critical Reflection (Yonisomanasikara) is the way to apply the mind skillfully, or wise reflection leading to wiser decisions. Ultimately, it is the conscious use of thought to bring the mind to peace. (3) For being a noble one by living in the moderate practice (Mashima Patipata) or the Noble Eightfold Path (Atthangika-magga).(4) To extend the age of the Buddhism by practice with the Threefold Learning (Tri Sikkha). This way of living is not only make life happy, but also keep the teaching and prolong the Buddhism too.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์คุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ ในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 397 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามโดยใช้ค่า ไคสแควร์ (Chi - square) โดยใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความซื่อสัตย์ รองลงมาคือ ด้านความมีวินัย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านความรับผิดชอบ 2. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล อาชีพ มีความสัมพันธ์กับคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ คือ ผู้นำควรประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ทั้งตนเองและผู้อื่น และผู้นำควรมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์คุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ ในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 397 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามโดยใช้ค่า ไคสแควร์ (Chi - square) โดยใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความซื่อสัตย์ รองลงมาคือ ด้านความมีวินัย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านความรับผิดชอบ 2. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล อาชีพ มีความสัมพันธ์กับคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ คือ ผู้นำควรประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ทั้งตนเองและผู้อื่น และผู้นำควรมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
The objectives of this thesis are as follows: 1) the moralites and ethics of local leaders in Buddhist concept in Muang Sila Municipality, Muang Khon Kaen district, KhonKaen province, 2) the moralities and ethic relation of local leaders in Buddhist concept and 3) the suggestion and recommendation of local leaders to develop moralities and ethics in Buddhist concept in Muang Sila Municipality, Muang Khon Kaen district, KhonKaen Province. The researcher collected the data from 397 sampling Data were analyzed using descriptive statistics such as percentages respondents, mean, standard deviation statistics. The researcher tested the relation between independent variances and dependence variance with Chi-square statistics with 0.05 significant statistic. The results of research were found that: 1. People's opinions on morality and ethics of local leaders according to the Buddhist way of life, including 5 aspects, were at a high level. When considering each aspect, it was found that the side with the highest mean was Integrity, followed by discipline and the side with the lowest mean is Responsibility 2. From the test of personal factors with moralities and ethics in Buddhist concept of the local leaders, it was found that professionals had the relation with the moralities and ethics in Buddhist concept with significant level 0.05. 3. There were 2 suggestions form this study. the leaders should do benefits for oneself and others, and the leader should help other without reciprocal benefits.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานบริหารวิชาการ และครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า: 1. บทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการแต่งตั้งที่ปรึกษา หรือคณะอนุกรรมการ เพื่อการดำเนินงานตามระเบียบนี้ตามที่เห็นสมควร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและได้มาตรฐาน 2. การบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี 3. บทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 คือ ด้านการส่งเสริมให้มีการพิทักษ์สิทธิเด็ก ดูแลเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาสและเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ (X6) ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจนประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชนและมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น (X9) ด้านการเสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านวิชาการด้านงบประมาณด้านบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปของสถานศึกษา (X7) ด้านการให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ของสถานศึกษาก่อนเสนอต่อสาธารณชน (X10) และด้านการให้ความเห็นชอบในการจัดทำสาระหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น (X3) ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการคะแนนมาตรฐาน Z ̂tot = 0.257(Z6) + 0.128(Z9) + 0.177(Z7) + 0.194(Z10) + 0.128(Z3) สมการคะแนนดิบ Y ̂tot= 1.464 + 0.186(X6) + 0.103(X 9) + 0.112(X 7) + 0.152(X 10) + 0.041(X 3)
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานบริหารวิชาการ และครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า: 1. บทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการแต่งตั้งที่ปรึกษา หรือคณะอนุกรรมการ เพื่อการดำเนินงานตามระเบียบนี้ตามที่เห็นสมควร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและได้มาตรฐาน 2. การบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี 3. บทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 คือ ด้านการส่งเสริมให้มีการพิทักษ์สิทธิเด็ก ดูแลเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาสและเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ (X6) ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจนประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชนและมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น (X9) ด้านการเสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านวิชาการด้านงบประมาณด้านบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปของสถานศึกษา (X7) ด้านการให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ของสถานศึกษาก่อนเสนอต่อสาธารณชน (X10) และด้านการให้ความเห็นชอบในการจัดทำสาระหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น (X3) ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการคะแนนมาตรฐาน Z ̂tot = 0.257(Z6) + 0.128(Z9) + 0.177(Z7) + 0.194(Z10) + 0.128(Z3) สมการคะแนนดิบ Y ̂tot= 1.464 + 0.186(X6) + 0.103(X 9) + 0.112(X 7) + 0.152(X 10) + 0.041(X 3)
This thesis has the objectives 1) to study the role of participation in basic education committees. Under the Samutprakan Primary Educational Service Area Office, Region 1 2) to study academic administration Under the Samutprakan Elementary Education Service Area Office, Regions 1 and 3) to study the role of participation of basic education committees affecting academic administration. Under the Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1, the sample group used in this research was the school director. Head of Academic Administration and 315 teachers in educational institutions under Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1. The research instrument was a questionnaire. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. Finding the Pearson Correlation Coefficient and stepwise multiple regression analysis. The results of research were found that: 1. Role of participation of basic education committees under the Samutprakan primary Educational Service Area Office, Region 1 overall, at a high level. When considering each aspect, it was found that The aspect with the highest average was the appointment of consultants. or sub-committee for the implementation of this regulation as it deems appropriate and the aspect with the lowest average was the aspect of promoting and supporting all children in the service area to receive a thorough, quality and standard basic education. 2. Academic administration under the Samutprakan Primary Educational Service Area Office, Region 1 overall, at a high level. When considering each aspect, it was found that The side with the highest mean is in the development of learning processes The areas with the lowest averages were media development, innovation and technology. 3. The role of participation of the Board of Fundamental Education Institutions affecting Academic administration under the Samutprakan Primary Educational Service Area Office, Region 1 in promoting the protection of children's rights care for disabled children Underprivileged and gifted children to be developed to their full potential (X6) in enhancing the relationship between the school and the community as well as coordinating with the organization public and private sectors To make educational institutions as a source of knowledge for the community and take part in community and local development (X9) in offering guidelines and participating in academic management, budgeting, personnel management. and the general administration of educational institutions (X7). The approval of the annual performance report. of educational institutions before presenting them to the public (X10) and the approval of the preparation of curriculum contents in accordance with local needs (X3) affecting academic administration. Under the Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1, the statistical significance at the .01 level and the .05 level of the statistical significance can be written as follows: The Predictive Equation in Standardized score: Z ̂tot = 0.257(Z6) + 0.128(Z9) + 0.177(Z7) + 0.194(Z10) + 0.128(Z3) The Predictive Equation in Unstandardized score: Y ̂tot= 1.464 + 0.186(X6) + 0.103(X 9) + 0.112(X 7) + 0.152(X 10) + 0.041(X 3)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ ตำบลขี้เหล็กอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามหลักเบญจศีลในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะตามหลักเบญจศีลของผู้สูงอายุ ตำบล ขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้สูงอายุในตำบลขี้เหล็ก 15 คน นายกเทศบาลตำบลขี้เหล็ก กำนันตำบลขี้เหล็ก และนักพัฒนาชุมชน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: ผู้สูงอายุมีปัญหาในการสร้างเสริมสุขภาวะทั้งทางด้านร่างกายทางจิตใจ ทางสังคมและทางสติปัญญา อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายจิตใจสังคมและสติปัญญา ดีและแข็งแรง ภาวะเศรษฐกิจเป็นส่วนที่กระทบในการส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพได้ประโยชน์เกื้อกูลไม่เกิดโทษ อารมณ์ดีจิตใจดี สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นครอบครัวเพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงานและเพื่อนบ้านกรณีเจ็บป่วยช่วยให้ฟื้นตัวจากโรคภัยไข้เจ็บได้เร็วขึ้น มีความรู้ ความเห็น ความเข้าใจชีวิตและโลกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถอยู่กับความเป็นจริงของโลกและชีวิตได้อย่างปกติสุข การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในปัจจุบันทำให้ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตามหลักเบญจศีล เข้าใจชีวิตมากขึ้น พัฒนาตนเองให้เป็นคนทันสมัย ทันโลกทันเหตุการณ์ วางตัวให้เป็นที่น่าเคารพนับถือ มีศักยภาพไปช่วยชุมชน ไม่ปล่อยเวลาว่างให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ และผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างไม่ประมาท แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะตามหลักเบญจศีลของผู้สูงอายุ ยังต้องอาศัยหลักการดำเนินงานกิจกรรม/งานโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามคติความเชื่อของพระพุทธศาสนา รวมทั้งการดำเนินการตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อและวิถีชีวิตของชุมชน โดยอาศัยวัดเป็นสถานที่ดำเนินการ เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ รวมทั้งอาศัยวัฒนธรรมท้องถิ่นดำเนินกิจกรรม เช่น โครงการอบรมธรรมะ แก่อุบาสก อุบาสิกา และประชาชน ทั่วไป กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การสวดมนต์ข้ามปี การตักบาตรเที่ยงคืน โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ภาษาล้านนา ตำรายาสมุนไพร การปรุงและรับประทานอาหารพื้นเมือง การหัตถกรรม เป็นต้น การดำเนินกิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแนวทางส่งเสริมสุขภาวะที่ดีต่อผู้สูงอายุทั้งสิ้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ ตำบลขี้เหล็กอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามหลักเบญจศีลในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะตามหลักเบญจศีลของผู้สูงอายุ ตำบล ขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้สูงอายุในตำบลขี้เหล็ก 15 คน นายกเทศบาลตำบลขี้เหล็ก กำนันตำบลขี้เหล็ก และนักพัฒนาชุมชน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: ผู้สูงอายุมีปัญหาในการสร้างเสริมสุขภาวะทั้งทางด้านร่างกายทางจิตใจ ทางสังคมและทางสติปัญญา อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายจิตใจสังคมและสติปัญญา ดีและแข็งแรง ภาวะเศรษฐกิจเป็นส่วนที่กระทบในการส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพได้ประโยชน์เกื้อกูลไม่เกิดโทษ อารมณ์ดีจิตใจดี สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นครอบครัวเพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงานและเพื่อนบ้านกรณีเจ็บป่วยช่วยให้ฟื้นตัวจากโรคภัยไข้เจ็บได้เร็วขึ้น มีความรู้ ความเห็น ความเข้าใจชีวิตและโลกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถอยู่กับความเป็นจริงของโลกและชีวิตได้อย่างปกติสุข การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในปัจจุบันทำให้ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตามหลักเบญจศีล เข้าใจชีวิตมากขึ้น พัฒนาตนเองให้เป็นคนทันสมัย ทันโลกทันเหตุการณ์ วางตัวให้เป็นที่น่าเคารพนับถือ มีศักยภาพไปช่วยชุมชน ไม่ปล่อยเวลาว่างให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ และผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างไม่ประมาท แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะตามหลักเบญจศีลของผู้สูงอายุ ยังต้องอาศัยหลักการดำเนินงานกิจกรรม/งานโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามคติความเชื่อของพระพุทธศาสนา รวมทั้งการดำเนินการตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อและวิถีชีวิตของชุมชน โดยอาศัยวัดเป็นสถานที่ดำเนินการ เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ รวมทั้งอาศัยวัฒนธรรมท้องถิ่นดำเนินกิจกรรม เช่น โครงการอบรมธรรมะ แก่อุบาสก อุบาสิกา และประชาชน ทั่วไป กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การสวดมนต์ข้ามปี การตักบาตรเที่ยงคืน โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ภาษาล้านนา ตำรายาสมุนไพร การปรุงและรับประทานอาหารพื้นเมือง การหัตถกรรม เป็นต้น การดำเนินกิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแนวทางส่งเสริมสุขภาวะที่ดีต่อผู้สูงอายุทั้งสิ้น
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study problems in enhancing health of elderly in Khilek sub-district, Maetaeng district, Chiang Mai province, 2) to study observance of 5 precepts for enhancing health of the elderly in Khilek sub-district, Maetaeng district, Chiang Mai province, and 3) to propose guidelines for health enhancement according to 5 precepts of the elderly in Khilek sub-district, Maetaeng District, Chiang Mai province. The target group consisted of 15 elderly people in Khilek sub-district, mayor, sub-district headman and community developer by purposive selection from Senior School, Khilek sub-district, Maetaeng district, Chiang Mai province. Tool for data collection was in-depth interview and data were analyzed in descriptive manner. The results of research were found that: The elderly had problems in enhancing their physical and mental health, society and intellect .Food was essential in keeping body, mind, society and intellect healthy and strong. Economic condition played a role in promoting healthy consumption. Contacts related to the physical environment were beneficial and harmless. Good mood and happy mind enabled to live with others, family, friends colleagues and neighbors. In case of illness, they helped them recover from illness faster. The elderly gained knowledge, opinions and an accurate understanding of life and the world as they were and they were able to live normally with reality of the world and life. The practice of 5 precepts in enhancing health of elderly at present had made the elderly to practice the 5 precepts. They understood life better and developed themselves to be modern and kept up with the world. They were made respectful people with potential to help the community. They spent no free time in vain and they regularly exercised. The elderly could carefully spend the rest of their lives. Guidelines for enhancing health according to the 5 principles of the elderly still needed to rely on the principles of activities/projects related to Buddhist activities as mental anchor for participants in the activities according to their beliefs of Buddhism including the implementation of local culture that had been passed down as a mechanism in driving to be consistent with the beliefs and way of life of the community by relying on the temple as a place of operation. This was to develop and enhance the health of the elderly as well as relying on local culture to carry out activities such as Dhamma training programs for Buddhist laymen and the general public. Activities on important Buddhist days such as Buddhist chanting over the year and midnight alms by relying on local wisdom including learning Lanna language, herbal medicine textbook, cooking and eating local food, handicrafts and etc. as earlier mentioned became the guidelines to enhance good health for all elderly people.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติของพระอริยเวที (เขียน ฐิตฺสีโล) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักปฏิบัติของพระอริยเวที (เขียน ฐิตฺสีโล)งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร โดยสำรวจข้อมูลชั้นปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ และข้อมูลทุติยภูมิ จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: หลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนาเถรวาท ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นการปฏิบัติตามหลักของไตรสิกขา คือ สมถกัมมัฏฐาน วิปัสสนากัมมัฏฐาน และข้อปฏิบัติธุดงค์ เพื่อเข้าถึงประโยชน์สูงสุดในทางพระพุทธศาสนา คือ การบรรลุมรรคผลนิพพาน หลักปฏิบัติของพระอริยเวที (เขียน ฐิตฺสีโล) เน้นความเข้าใจปริยัติจากการศึกษาพระไตรปิฎก และการปฏิบัติจริงให้สมบูรณ์ในไตรสิกขาในรูปแบบของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน พร้อมข้อปฏิบัติธุดงค์ เพื่อให้เข้าถึงความสมบูรณ์พร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ถึงพร้อมแห่งวิปัสสนาญาณ กระทำโพธิปักขิธรรม 37 ประการให้บริบูรณ์ มีเป้าหมายสูงสุด คือ การบรรลุมรรคผลนิพพาน และ หลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับหลักปฏิบัติของพระอริยเวที (เขียน ฐิตฺสีโล) มีความสอดคล้องกัน และแตกต่างกัน ในการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน พร้อมข้อปฏิบัติธุดงค์
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติของพระอริยเวที (เขียน ฐิตฺสีโล) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักปฏิบัติของพระอริยเวที (เขียน ฐิตฺสีโล)งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร โดยสำรวจข้อมูลชั้นปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ และข้อมูลทุติยภูมิ จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: หลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนาเถรวาท ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นการปฏิบัติตามหลักของไตรสิกขา คือ สมถกัมมัฏฐาน วิปัสสนากัมมัฏฐาน และข้อปฏิบัติธุดงค์ เพื่อเข้าถึงประโยชน์สูงสุดในทางพระพุทธศาสนา คือ การบรรลุมรรคผลนิพพาน หลักปฏิบัติของพระอริยเวที (เขียน ฐิตฺสีโล) เน้นความเข้าใจปริยัติจากการศึกษาพระไตรปิฎก และการปฏิบัติจริงให้สมบูรณ์ในไตรสิกขาในรูปแบบของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน พร้อมข้อปฏิบัติธุดงค์ เพื่อให้เข้าถึงความสมบูรณ์พร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ถึงพร้อมแห่งวิปัสสนาญาณ กระทำโพธิปักขิธรรม 37 ประการให้บริบูรณ์ มีเป้าหมายสูงสุด คือ การบรรลุมรรคผลนิพพาน และ หลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนาเถรวาทกับหลักปฏิบัติของพระอริยเวที (เขียน ฐิตฺสีโล) มีความสอดคล้องกัน และแตกต่างกัน ในการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน พร้อมข้อปฏิบัติธุดงค์
The objectives of this qualitative research were 1) to study the practice of Buddhism, 2) to study the practice of Phra Ariyavedhí (Khian Thittasilo), and 3) to analyze the practice of Phra Ariyavedhí (Khian Thittasilo). Data were collected in two ways, namely; collecting primary source data by interviewing; and collecting secondary source data from the Tipitaka, commentaries, academic texts, documents and related research by documentary research method. The results of the research were found that: The practice of Theravada Buddhism is the practice of the Threefold Principles including Samatha meditation, Vipassanā meditation, and Dhutanga Meditation to achieve the ultimate goal, Nirvana; The practice of the Phra Ariyavedhí (Khian Thittasilo)emphasizes the understanding of the Buddhist scriptures from the study of the Tipitaka and the practice of the Threefold Principles in the form of Samatha meditation, Vipassanā meditation, and Dhutanga Meditation to attain the perfection of wholesome virtues, insight, Bodhipakkhiyā Dhammā 37, and attain Nirvana; and The practice of Theravada Buddhism and the practice of the Phra Ariyavedhí (Khian Thittasilo)are both consistent and different in the practice of Samatha meditation, Vipassanā meditation, and Dhutanga Meditation.
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 2) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ 3) การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน 94 แห่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 94 คน ข้าราชการครู จำนวน 282 คน บุคลากรในโรงเรียนจำนวน 94 คน รวมทั้งสิ้น 470 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistate Random) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.974 และ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า. 1. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ การรักษาวินัยในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การสรรหาในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การจัดสวัสดิการในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การวางแผนในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การพัฒนาบุคลากรในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ตามลำดับ 2. บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความรับผิดชอบงาน (Responsibility) โครงสร้างการปฏิบัติงาน (Structure) การสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Support) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) การมุ่งเน้นรางวัล (Reward orientation) ตามลำดับ 3. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การรักษาวินัยในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X4) การวางแผนในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X1) การจัดสวัสดิการในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X5) การสรรหาในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทํานายหรืออำนาจพยากรณ์ร้อยละ 73.70 (R2 = 0.737) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการรูปคะแนนดิบ "Y" ̂ = 0.524 + 0.305 (X4) + 0.225 (X1) + 0.202 (X5) + 0.147 (X2) สมการรูปคะแนนมาตรฐาน "Z" ̂ = 0.323 (X4) + 0.217 (X1) + 0.215 (X5) + 0.163 (X2)
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 2) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ 3) การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน 94 แห่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 94 คน ข้าราชการครู จำนวน 282 คน บุคลากรในโรงเรียนจำนวน 94 คน รวมทั้งสิ้น 470 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistate Random) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.974 และ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า. 1. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ การรักษาวินัยในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การสรรหาในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การจัดสวัสดิการในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การวางแผนในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การพัฒนาบุคลากรในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ตามลำดับ 2. บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความรับผิดชอบงาน (Responsibility) โครงสร้างการปฏิบัติงาน (Structure) การสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Support) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) การมุ่งเน้นรางวัล (Reward orientation) ตามลำดับ 3. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การรักษาวินัยในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X4) การวางแผนในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X1) การจัดสวัสดิการในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X5) การสรรหาในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทํานายหรืออำนาจพยากรณ์ร้อยละ 73.70 (R2 = 0.737) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการรูปคะแนนดิบ "Y" ̂ = 0.524 + 0.305 (X4) + 0.225 (X1) + 0.202 (X5) + 0.147 (X2) สมการรูปคะแนนมาตรฐาน "Z" ̂ = 0.323 (X4) + 0.217 (X1) + 0.215 (X5) + 0.163 (X2)
The objectives of this thesis were to study 1) Integrated Personnel Management in Sangahavattha Principles in schools under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2. 2) Organizational Atmosphere of schools under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2. and 3) Integrated Personnel Management in Sangahavattha Principles Affecting Organizational Atmosphere in Schools under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2. The sample consisted of 94 Schools under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2. The group of informants consisted of 94 school administrators, 282 government teachers, 94 school personnel, a total of 470 people, by multistate randomization. The instrument used was a questionnaire, a rating scale with a content validity index between 0.80–1.00 and a confidence index of 0.974 and 0.981. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The results of research were found that: 1. Integrated Personnel Management on Sangahavattha Principles in Schools Under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2, the overall is at a high level. When considering each aspect, it was at a high level in every aspect. The average is ranked from highest to lowest as follows: Maintaining discipline, Recruitment, Welfare, Planning and Development in personnel management according to Sangahavattha principles, respectively. 2. Organizational atmosphere of Schools Under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2, the overall is at a high level. When considering each aspect, it was at a high level in every aspect. The average is ranked from highest to lowest as follows: Responsibility, Structure, Performance Support, Standards, Reward orientation, respectively. 3. The integration of personnel management with Sangahavathu principles affecting organizational atmosphere in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2, The average is ranked from highest to lowest as follows: Maintaining discipline (X4), Planning (X1), Welfare (X5) and Recruitment (X2) in personnel management according to Sangahavattha principles. The predictive coefficient or predictive power of 73.70% (R2 = 0.737) was statistically significant at the .01 level. The relationship can be written in the form of a forecast equation as follows. Raw score form equation "Y" ̂ = 0.524 + 0.305 (X4) + 0.225 (X1) + 0.202 (X5) + 0.147 (X2). Standard score equation "Z" ̂ = 0.323 (X4) + 0.217 (X1) + 0.215 (X5) + 0.163 (X2).
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาแนวคิดระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย 2) ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ 3) วิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารแล้ววิเคราะห์ ประมวลผลเนื้อหาว่าระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยเป็นปัญหาเชิงพุทธจริยศาสตร์หรือไม่อย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. ลักษณะระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยมีลักษณะการกระทำในสองลักษณะคือ การกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยชอบด้วยกฎหมายและการกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 2. แนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ ถือหลักการว่าการจะตัดสินการกระทำใดเป็นสิ่งดีหรือไม่ดีใช้การกระทำหรือกรรมเป็นเครื่องชี้วัด และการกระทำที่จะถือว่าเป็นกรรมได้นั้น จักต้องเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงสภาพของจิตใจของผู้กระทำ สำนึกมโนธรรม หลักความสันโดษ ความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ ผลของการกระทำและหลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติศีล 3. เมื่อวิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทยโดยใช้หลักมูลเหตุอันเป็นการส่อถึงเจตนาที่เป็นกุศลมูลหรืออกุศลมูล หลักความสันโดษ หลักมโนธรรมสำนึก หลักการฟังความเห็นหรือพิจารณาความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ และหลักพิจารณาลักษณะและผลของการกระทำหรือดูผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พุทธศาสนา ไม่ยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อพิจารณาตามสภาวะว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ การกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ ส่วนการกระทำลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ เมื่อใช้หลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติของศีลในระดับโลกิยะธรรมคือ ศีล 5 พบว่าไม่ล่วงละเมิดศีล ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 อาจละเมิดศีลข้อที่ 4 และไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาแนวคิดระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย 2) ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ 3) วิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารแล้ววิเคราะห์ ประมวลผลเนื้อหาว่าระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยเป็นปัญหาเชิงพุทธจริยศาสตร์หรือไม่อย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. ลักษณะระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยมีลักษณะการกระทำในสองลักษณะคือ การกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยชอบด้วยกฎหมายและการกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 2. แนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ ถือหลักการว่าการจะตัดสินการกระทำใดเป็นสิ่งดีหรือไม่ดีใช้การกระทำหรือกรรมเป็นเครื่องชี้วัด และการกระทำที่จะถือว่าเป็นกรรมได้นั้น จักต้องเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงสภาพของจิตใจของผู้กระทำ สำนึกมโนธรรม หลักความสันโดษ ความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ ผลของการกระทำและหลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติศีล 3. เมื่อวิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทยโดยใช้หลักมูลเหตุอันเป็นการส่อถึงเจตนาที่เป็นกุศลมูลหรืออกุศลมูล หลักความสันโดษ หลักมโนธรรมสำนึก หลักการฟังความเห็นหรือพิจารณาความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ และหลักพิจารณาลักษณะและผลของการกระทำหรือดูผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พุทธศาสนา ไม่ยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อพิจารณาตามสภาวะว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ การกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ ส่วนการกระทำลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ เมื่อใช้หลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติของศีลในระดับโลกิยะธรรมคือ ศีล 5 พบว่าไม่ล่วงละเมิดศีล ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 อาจละเมิดศีลข้อที่ 4 และไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5
The objectives of this thesis were as follows 1) to study concept of patronage system in Thai bureaucracy, 2) to study concept of Buddhist ethics, and 3) to analyze problems in Buddhist ethics in patronage system of Thai government system. It was a documentary research with analysis and content assessment to find out how patronage system in Thai bureaucracy became Buddhist ethical problem. The data were analyzed in descriptive manner. The results of research were found that: 1. Characteristics of patronage system in Thai bureaucratic system were characterized by two types of actions; acts of lawful mutual benefit and acts of unlawful mutual benefit. 2. The concept of Buddhist ethics held the principle of deciding what action was good or bad by using actions or karma as a measure and the act that could be regarded as karma must be an act of intent. It also considered a state of mind of the doer, a sense of conscience, the principle of solitude, an acceptance of wise man or scholar, result of action and the principle of transgression of principles of precepts. 3. when analyzing Buddhist ethical problems in the patronage system of the Thai bureaucracy with the cause that implied wholesome ior unwholesome intention, principle of solitude, principle of conscience, principles of listening to opinions or considering the acceptance of wise man or scholar and the principle of considering nature and consequence of action or its effect on oneself and others whether it was acting in a manner that provided a legitimate interest or an unlawful benefit, these 2 characteristics were things that Buddhism did not accept and It was considered a bad thing. When considering according to the condition whether it was beneficial to the spiritual life or not, acting in a manner that benefited with law still couldn’t judge whether it was contributing to the spiritual life or not. As for the act of unlawful mutual benefit, it was considered unfavorable to one's life. When applying the principle of transgression of the precepts in the secular world, the 5 precepts, it was found that it did not violate the 1st precept, 2nd precept and the 3rd precept. But, it might violate the 4th precept and it again did not violate the 5th precept.
หนังสือ

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน 105 คน และผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกรุณา รองลงมาคือ ด้านอุเบกขา ด้านมุทิตา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านเมตตา 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมจำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้น ประสบการณ์การทำงาน ที่ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียน พระปริยัติธรรมได้แนวทาง ดังนี้ (1) การแสดงออกถึงความรักความปรารถนาดี ให้ความช่วยเหลือให้ทุกคนประสบแต่ประโยชน์และมีความสุขโดยทั่วกัน และยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม (2) หากการทำงานเกิดปัญหาหรืออุปสรรค สิ่งแรกที่หัวหน้าควรทำ คือการพูดคุย สอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมชี้แนะแนวทางการแก้ไขและพูดให้กำลังใจ โดยไม่ปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเผชิญปัญหาเพียงลำพัง (3) ความยินดี พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีได้รับความสำเร็จ มีความสุขมีความเจริญก้าวหน้า ยินดีในสิ่งที่ผู้อื่นได้รับ ไม่มีความอิจฉาริษยากันในความสำเร็จของผู้อื่นด้วยการพูดแสดงความยินดี (4) เมื่อประสบกับอุปสรรคในการทำงานใด ๆ ต้องให้ความช่วยเหลือให้ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ ไม่ซ้ำเติมด้วยการลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม ลงโทษโดยไร้เหตุผล
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน 105 คน และผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกรุณา รองลงมาคือ ด้านอุเบกขา ด้านมุทิตา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านเมตตา 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมจำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้น ประสบการณ์การทำงาน ที่ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียน พระปริยัติธรรมได้แนวทาง ดังนี้ (1) การแสดงออกถึงความรักความปรารถนาดี ให้ความช่วยเหลือให้ทุกคนประสบแต่ประโยชน์และมีความสุขโดยทั่วกัน และยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม (2) หากการทำงานเกิดปัญหาหรืออุปสรรค สิ่งแรกที่หัวหน้าควรทำ คือการพูดคุย สอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมชี้แนะแนวทางการแก้ไขและพูดให้กำลังใจ โดยไม่ปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเผชิญปัญหาเพียงลำพัง (3) ความยินดี พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีได้รับความสำเร็จ มีความสุขมีความเจริญก้าวหน้า ยินดีในสิ่งที่ผู้อื่นได้รับ ไม่มีความอิจฉาริษยากันในความสำเร็จของผู้อื่นด้วยการพูดแสดงความยินดี (4) เมื่อประสบกับอุปสรรคในการทำงานใด ๆ ต้องให้ความช่วยเหลือให้ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ ไม่ซ้ำเติมด้วยการลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม ลงโทษโดยไร้เหตุผล
The objectives of the research were 1) to study personnel management based on the Four Sublime States of Mind by administrators of the General Education Section of Phrapariyattidhamma School in Kalasin Province, 2) to compare the personnel management based on the Four Sublime States of Mind by administrators classified by gender, age and working experiences, and 3) to find out the guidelines for personnel management based on the Four Sublime States of Mind by administrators as mentioned. Population were the teachers, totally 105 in number and 5 interviews. The instrument for collecting the data was the five-rating scale questionnaire, with its reliability value at 0.98 and quality-verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested with t-test. The research results were as follows: 1) personnel management based on the Four Sublime States of Mind by administrators of the General Education Section of Phrapariyattidhamma School In Kalasin Province was found, in both overall and individual aspects, to stand at a 'MUCH' level. The leading aspect was that of compassion, followed by equanimity, sympathetic joy and loving-kindness, respectively. 2) The comparison of personnel management based on the Four Sublime States of Mind by administrators in mention classified by gender and age was found to show statistically significant difference of .05 in both overall and individual dimensions, with exception to the comparison in the aspect of working experiences that showed no difference. 3) The guidelines for application of the Four Sublime States of Mind to personnel administration by administrators as suggested by the responses were: (1) The participatory administration should be implemented and the expression of loving-kindness and compassion should be all-covering without discrimination. (2) In case there have been arisen either problems or obstacles, the administrator should help solve them by providing advices and solutions instead of leaving them to be redressed by the subordinates themselves. (3) The expression of congratulations or sympathetic joy should be performed in case of any rewards or success being received or achieved by some colleagues. (4) In case of wrongdoings committed by any staff members, the clear and fair investigation and probation should be undertaken in order to prevent unjust punishment.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ควรพัฒนาทั้ง 3 ด้าน คือการพัฒนาตนให้เป็นคนที่มีศักยภาพ มีความพร้อม มีความรู้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนา สมรรถนะอันจะนำไปสู่การพัฒนาคนในองค์กร การพัฒนาคนให้มีความพร้อมมีความสามารถในปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด มีความสุขในการทำงาน การพัฒนางานเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาตน และ พัฒนาคนในองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากการพัฒนาทั้ง 3 ด้านไปพร้อมกัน หลักพุทธปรัชญาเถรวาทสำหรับนำมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลักธรรมที่มุ่งพัฒนาตน ได้แก่เบญจศีล-เบญจธรรม หลักธรรมที่นำมาพัฒนาคนได้แก่ภาวนา 4 และหลักธรรมที่นำมาพัฒนางานได้แก่ อิทธิบาท 4 หลักธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาชีวิตของมนุษย์ที่เป็นขั้นเป็นตอนอย่างชัดเจน และมีความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ มีศักยภาพพร้อมในการปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะสมบูรณ์ได้ต้องพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน เพราะว่าการที่จะพัฒนาตนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลนั้นบุคคลจะต้องมีศีลธรรมก่อนด้วยการทำตนให้เป็นคนดี จึงจะนำไปสู่การพัฒนาคนอื่นได้ เมื่อบุคคลในองค์กรได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมาย ก็จะเกิดการพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จด้วยการใช้หลักพุทธปรัชญามาสนับส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเพราะ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญขององค์กรทุกองค์กร
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ควรพัฒนาทั้ง 3 ด้าน คือการพัฒนาตนให้เป็นคนที่มีศักยภาพ มีความพร้อม มีความรู้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนา สมรรถนะอันจะนำไปสู่การพัฒนาคนในองค์กร การพัฒนาคนให้มีความพร้อมมีความสามารถในปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด มีความสุขในการทำงาน การพัฒนางานเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาตน และ พัฒนาคนในองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากการพัฒนาทั้ง 3 ด้านไปพร้อมกัน หลักพุทธปรัชญาเถรวาทสำหรับนำมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลักธรรมที่มุ่งพัฒนาตน ได้แก่เบญจศีล-เบญจธรรม หลักธรรมที่นำมาพัฒนาคนได้แก่ภาวนา 4 และหลักธรรมที่นำมาพัฒนางานได้แก่ อิทธิบาท 4 หลักธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาชีวิตของมนุษย์ที่เป็นขั้นเป็นตอนอย่างชัดเจน และมีความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ มีศักยภาพพร้อมในการปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะสมบูรณ์ได้ต้องพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน เพราะว่าการที่จะพัฒนาตนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลนั้นบุคคลจะต้องมีศีลธรรมก่อนด้วยการทำตนให้เป็นคนดี จึงจะนำไปสู่การพัฒนาคนอื่นได้ เมื่อบุคคลในองค์กรได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมาย ก็จะเกิดการพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จด้วยการใช้หลักพุทธปรัชญามาสนับส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเพราะ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญขององค์กรทุกองค์กร
The objectives of this thesis are: 1) to study the development of human resources, 2) to study the Thevada Buddhist Philosophy in Human Resource Development, and 3) to analyze the development of human resources based on Theravada Buddhist philosophy. The data of this qualitative research were collected from documents. The results of the study were as follows: Human resource development should come together under 3 areas; developing oneself to be potential, ready, and knowledgeable for work, developing people to be ready and able to perform tasks according to the specified goals with happiness and satisfaction, and developing work that is a consequence of personal development and human development in the organization. This will lead to the achievement of development in all three areas simultaneously. Theravada Buddhist philosophy for human resource development in self-improvement is the Five Precepts and the Five Virtues, the four principles of Bhavana for human development, and Iddhipada for work development. All these Buddhist principles are suitable for human resources development because they have clear steps in human life development. Human resources development can be complete in both physical and mental development at the same time. Self- development can be effective with having morals first, and then the achievement of person development and work development will come along. The application of Buddhist philosophy in Human resource development is necessary because human resources are significant factors of organizations.
หนังสือ

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 338 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F – test หากพบว่าความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจะทําการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison Test) ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านจริยธรรม (Ethics) รองลงมาคือด้านจิตวิญญาณ (Spirituality) ด้านวิสัยทัศน์ (Vision) และด้านการใฝ่บริการ (Service Mind) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสมรรถนะ (Competency) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตำแหน่งประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้บริหารสร้างวิสัยทัศน์ต้องมีความชัดเจน เผยแพร่วิสัยทัศน์ให้บุคลากรและบุคคลภายนอกทราบ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (2) การให้เกียรติและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความจริงใจคอยให้ความช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมบริหารกิจกรรมนักเรียน (3) การให้ความรักและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมงาน ทุ่มเทเสียสละการทำงานในหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงออกทางกาย วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ (4) รับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการนำองค์กรไปสู่การพัฒนา มีความรอบรู้ รู้กว้าง รู้ไกล ช่างสังเกต รู้จักฟังอยู่เสมอ (5) ผู้บริหารต้องบริหารสถานศึกษาอย่างโปร่งใส ยึดถือคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน วางใจเป็นกลางเพื่อรักษาความยุติธรรม
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 338 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F – test หากพบว่าความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจะทําการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison Test) ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านจริยธรรม (Ethics) รองลงมาคือด้านจิตวิญญาณ (Spirituality) ด้านวิสัยทัศน์ (Vision) และด้านการใฝ่บริการ (Service Mind) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสมรรถนะ (Competency) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตำแหน่งประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้บริหารสร้างวิสัยทัศน์ต้องมีความชัดเจน เผยแพร่วิสัยทัศน์ให้บุคลากรและบุคคลภายนอกทราบ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (2) การให้เกียรติและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความจริงใจคอยให้ความช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมบริหารกิจกรรมนักเรียน (3) การให้ความรักและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมงาน ทุ่มเทเสียสละการทำงานในหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงออกทางกาย วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ (4) รับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการนำองค์กรไปสู่การพัฒนา มีความรอบรู้ รู้กว้าง รู้ไกล ช่างสังเกต รู้จักฟังอยู่เสมอ (5) ผู้บริหารต้องบริหารสถานศึกษาอย่างโปร่งใส ยึดถือคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน วางใจเป็นกลางเพื่อรักษาความยุติธรรม
The objectives of the research were 1) to study leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Surin, 2) to compare leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of school administrators classified by positions, education and working experiences and, 3) to find out the guidelines for development leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of the said schools. Samples were the administrators and teachers, totally 338 in number and 10 interviews. The instrument for collecting the data was the questionnaire, with its reliability value at 0.98 and quality-verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.) The hypothesis was tested with t-test and One-way ANOVA F-test. The research results were as follows: 1) The leadership based on the seven principles of Kalyanamittadhamma of school administrators under the Secondary Educational Service Office Surin was found, in both overall and individual aspects, to stand at a 'MUCH' level. The leading aspect was that of ethics, followed by spirituality, vision, service mind and competency, respectively. 2) The comparison of the leadership of the school administrator in mention classified by education was found to show no difference in both overall and individual dimensions. The statistically significant difference of .05 was found in the comparison in terms of position and job experiences. 3) The guidelines for developing the leadership as suggested by the responses were (1) The executive vision should be designed clearly, made own to the staff members and could be brought into practice. (2) The honor and merit system together with participatory management should be followed. (3) The administrators should be fair and sincere to colleagues, work hard and faithfully, and be a good example for the staff members to follow suit. (4) The administrators should always keep fresh his competency and knowledge to ensure the progressive development of the school. (5) The principle of transparency, integrity and honesty should be implemented in school management to maintain impartiality.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการทำบุญในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำบุญแซนโฎนตาของชาวจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำบุญแซนโฎนตาของชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า: ที่มาด้านความเชื่อของชุมชนที่มีต่อประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและพลังลึกลับ โดยเฉพาะความเชื่อต่อดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ว่ายังมีการวนเวียนและดูแลครอบครัวและสมาชิก และเชื่อว่าดวงวิญญาณของบรรพบุรุษนี้สามารถให้คุณและโทษได้แก่ครอบครัวและสมาชิกได้ และมีการยอมรับนับถือนี้ได้เป็นบ่อเกิดที่มาของประเพณีของชุมชนจนมาถึงปัจจุบัน พิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร ตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี เมื่อถึงช่วงเวลาสำคัญของประเพณี ครอบครัวและลูกหลาน พี่น้อง เครือญาติมักให้ความสำคัญกับการจัดพิธีแซน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) การจัดในบริเวณบ้านของตนเอง (2) การจัดในชุมชนเพื่อประกอบพิธีกรรม และ(3) การจัดการทำบุญในวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลตามแบบทางพระพุธศาสนามีขั้นตอน ได้แก่ (1) การสื่อสารถึงลูกหลานเพื่อบอกกล่าวล่วงหน้า (2) การกำหนดสถานที่ประกอบพิธี (3) เตรียมสิ่งของเพื่อเซ่นไหว้ (4) ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศล มีรูปแบบ ได้แก่ การเซ่นไหว้มักเป็นการรวมตัวกับสมาชิกครอบครัวและเครือญาติเพื่อประกอบพิธีกรรมในวัน เวลา ดังกล่าว และลักษณะในการประกอบพิธีกรรมและมีรูปแบบในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อทำบุญอุทิศตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะมีสมาชิกในครอบครัวร่วมกันไปทำบุญอุทิศ และทำพิธีกรรมชักผ้าบังสุกุลให้กับผู้ตาย มีความเชื่อว่าผลบุญที่ทำจะส่งถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษให้มีความสุขและปราศจากความหิวโหยและคุณค่าจากประเพณีแซนโฎนตา จะให้ความสำคัญทางด้านจิตใจ และการควบคุมจิตและประพฤติกรรมของชุมชนและสังคม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการทำบุญในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำบุญแซนโฎนตาของชาวจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำบุญแซนโฎนตาของชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า: ที่มาด้านความเชื่อของชุมชนที่มีต่อประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและพลังลึกลับ โดยเฉพาะความเชื่อต่อดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ว่ายังมีการวนเวียนและดูแลครอบครัวและสมาชิก และเชื่อว่าดวงวิญญาณของบรรพบุรุษนี้สามารถให้คุณและโทษได้แก่ครอบครัวและสมาชิกได้ และมีการยอมรับนับถือนี้ได้เป็นบ่อเกิดที่มาของประเพณีของชุมชนจนมาถึงปัจจุบัน พิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร ตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี เมื่อถึงช่วงเวลาสำคัญของประเพณี ครอบครัวและลูกหลาน พี่น้อง เครือญาติมักให้ความสำคัญกับการจัดพิธีแซน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) การจัดในบริเวณบ้านของตนเอง (2) การจัดในชุมชนเพื่อประกอบพิธีกรรม และ(3) การจัดการทำบุญในวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลตามแบบทางพระพุธศาสนามีขั้นตอน ได้แก่ (1) การสื่อสารถึงลูกหลานเพื่อบอกกล่าวล่วงหน้า (2) การกำหนดสถานที่ประกอบพิธี (3) เตรียมสิ่งของเพื่อเซ่นไหว้ (4) ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศล มีรูปแบบ ได้แก่ การเซ่นไหว้มักเป็นการรวมตัวกับสมาชิกครอบครัวและเครือญาติเพื่อประกอบพิธีกรรมในวัน เวลา ดังกล่าว และลักษณะในการประกอบพิธีกรรมและมีรูปแบบในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อทำบุญอุทิศตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะมีสมาชิกในครอบครัวร่วมกันไปทำบุญอุทิศ และทำพิธีกรรมชักผ้าบังสุกุลให้กับผู้ตาย มีความเชื่อว่าผลบุญที่ทำจะส่งถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษให้มีความสุขและปราศจากความหิวโหยและคุณค่าจากประเพณีแซนโฎนตา จะให้ความสำคัญทางด้านจิตใจ และการควบคุมจิตและประพฤติกรรมของชุมชนและสังคม
The objectives of this thesis were : 1) to study the beliefs and rituals of making merit in Buddhism, 2) to study the Sandonta merit-making of people in Surin Province and 3) to analyze the beliefs and rituals of Sandonta making of people in Surin Province. It was qualitative research by studying the Tipitaka, commentary, books, documents, and related research, collecting data and then presented the research results by descriptive analysis. The results of this research found that On the side of the community’s beliefs towards Sandota tradition of Thai -Khmer people which belief in supernatural and mystical powers. Especially the belief in ancestral spirits, there were still having a circulation of spirit and taking care of all members in the family. And it was also believed that this ancestral spirit can give you both of benefit and blame your family and members. This recognition has been the resource of community traditions until the present-day. Sandonta rituals of Thai -Khmer people is corresponds to the 14th of waning day on every year. When it comes to the important moment of the cultures, family, and relatives often attaches importance to the arrangement of the sanctuary, divided into 3 features: (1) arrangement in the area of your own home, (2) organizing in the community for ceremonies and (3) philanthropy in temple to dedicate a charity according to the Buddhist religion included of 4 steps as follows: (1) communicating to the descendants in advance notification, (2) determining the place of worship, (3) preparing items for worship, and (4) making merit at the temple to dedicate the merit as follows : offerings were usually a gathering with family members and relatives to perform ceremonies such date and time. Including the characteristics in performing rituals and having a form of organizing Buddhist activities to make merit in accordance with the Buddhist guidelines with having family members together to make merit and perform are requisition ceremony for the deceased. There was a belief that the good. There is a belief that the merit had done will send the souls of the ancestors to be happy and free from hunger together with the value of Sandonta rituals will pay attention to psychological, mental control and behavior of community and society.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่ง บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 2) ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่ง บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 2) ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
The objectives of this thesis were 1) to study the Buddhism-based leadership of administrators of the General Education Section Phrapariyattidhamma School in Kalasin province, 2) to compare the General Buddhism-based leadership of administrators of the school in mention, classified by gender, position, and work experiences and 3) to explore the suggestions and the leadership development guidelines for the administrators of the so-said schools in Kalasin province. The samples used in this research were 132 administrators and teachers of the schools as mentioned, together with 10 interviews. The tools used for data collection were a 5-rating scale questionnaire with content validity between 0.67-1.00 , and reliability at 0.94, and a semi-structured interviews. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. Statistics used to test the hypothesis were t-tests and One Way ANOVA using F-test statistics. The results found can be summarized as follows: 1) The Buddhism-Based Leadership of Administrators of the Education Section Section Phrapariyattidham School in Kalasin Province was in an overall dimension found to be at a high level. In terms of individual aspects as sorted from the highest to the lowest average, it was found that human relationship (Nissayasampanno) stood on top of the scale, followed by vision (Cakkhuma)), with the clearly fixed management goal (Vidhuro) being at the bottom. 2) The comparison of opinions about the Buddhism-based leadership of the administrators in the so-said schools, classified by gender, position and job experiences, was found that the comparison in terms of sex showed a statistically significant difference at the 0.5 level, while the comparison classified by position and work experiences displayed no statistically significant difference. 3) The suggestions as suggested by the respondents were as follows: 1) The administers should organize training plans or projects to implant discipline, morality, and ethics into students’ hearts so as to correct undesirable behaviors. 2) The strategies, missions and target should be established and brought into practiced effectively and efficiently. 3) The administrators were advised to realize the problems lying in the ways to achievement as well as their solutions. 4) The measures to encourage, promote and reward the saff members should be set up appropriately. 4) The leadership development guidelines as recommended by constructed interviews comprised:1) For vision (Jakkhuma), there should be a policy to encourage the staff members to work with dedication. 2) Regarding administrative technics (Vidhuro), the management goal should be mutually set up, and any plan for school administration should be relied on sufficient and reliable information. 3) As for human relationship (Nissayasampanno), information and communication technology should be implemented in order to achieve goals as set.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า : 1. ทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ (เมตตา) รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม (กรุณา) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางเทคโนโลยี และการใช้ดิจิทัล (กรุณา) 2. การเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม วางแผนจัดสรรงบประมาณ กำหนดแนวทาง การสืบค้นสื่อ การใช้สื่อ การพัฒนาและการส่งเสริมสื่อของครูให้ตรงกับตัวชี้วัด ใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยจากหลากหลาย ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างของเพื่อนร่วมทีม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า : 1. ทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ (เมตตา) รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม (กรุณา) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางเทคโนโลยี และการใช้ดิจิทัล (กรุณา) 2. การเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม วางแผนจัดสรรงบประมาณ กำหนดแนวทาง การสืบค้นสื่อ การใช้สื่อ การพัฒนาและการส่งเสริมสื่อของครูให้ตรงกับตัวชี้วัด ใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยจากหลากหลาย ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างของเพื่อนร่วมทีม
The objects of this thesis were 1) to study the administrative skills based on Four Sublime States of Mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakham 2) to compare the administrative skills based on four sublime states of mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakham, classified in educational level, work experience, and the size of the school 3) to suggest guidelines for Administrative Skill development based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham. The sample group used in this research was the 323 of school administrators and instructors of the secondary educational service area office Mahasarakham. The instruments used for data collection was a 5-level estimation scale questionnaire with content accuracy of 0.67 – 1.00, a confidence level of 0.89, and a semi-structured interview. The target group was 5 participants. The results showed that 1.Administrative skills based on four sublime states of mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakam. Overall, it was at a high level, considering from each side in order from the highest to the lowest average were human relations skills (merciful), followed by the team work skills (kindly), whereas the lowest was Technology skills and digital usage (kindly). 2.Comparison the Administrative skills based on four sublime states of mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakam, classified by educational level, work experience, and the size of the school. By overall was a statistically significant difference at the 0.05 level. 3.Guidelines for Administrative Skill development based on four sublime states of mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakam. Budget allocation planning, guideline determination for media search, media usage, developing and promoting teachers’ media to match the indicators, usage an up-to-date information from variety of sources, including accepting the different opinions of team works.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัย 2) การเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีการวางแผนกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและการแต่งตั้งบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่ต้องให้เป็นไปตามคำสั่ง สพฐ. สนับสนุนส่งเสริมในการทำงาน กำกับติดตามการนิเทศงาน ให้คำชี้แนะให้อยู่ในระเบียบวินัย ควรให้ความรู้การปฏิบัติงานตามระเบียบราชการ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัย 2) การเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีการวางแผนกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและการแต่งตั้งบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่ต้องให้เป็นไปตามคำสั่ง สพฐ. สนับสนุนส่งเสริมในการทำงาน กำกับติดตามการนิเทศงาน ให้คำชี้แนะให้อยู่ในระเบียบวินัย ควรให้ความรู้การปฏิบัติงานตามระเบียบราชการ
The objectives of this thesis were as follows 1) to study the levels of Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office 2) to compare the levels of Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office, classified by educational level, work experience, and school size 3) to study guidelines for Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office. The sample group used in this research was 342 of the secondary school instructors under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office. The instrument used for data collection was a 5-level estimation scale questionnaire with content accuracy of 0.67 – 1.00, a confidence level of 0.98, and interview. The results showed that: 1) The levels of Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office. Overall, it was at a high level, considering from each side in order from the highest to the lowest average. It was found that the highest average was enhancing operational efficiency (kindly), followed by the positioning planning (prosperity), whereas the lowest was the discipline and the maintenance of discipline (merciful), respectively. 2) A comparison of the levels of Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office, classified by educational level, work experience, and school size. There was a statistically significant difference at the 0.05 level. 3) Guidelines for Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office were Position planning, Personnel recruitment, and Personnel appointment to perform duties need to be in accordance with the Office of the Basic Education Commission Order (OBEC), work supporting and promoting, following up supervision, and giving advice about disciplined and providing knowledge of the operation according to government regulations.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษา พบว่า พญานาคเป็นสัตว์กึ่งเทพ เสวยทิพย์สมบัติบนสวรรค์วิมานดุจดั่งเทวดาถ้าปรากฏในลักษณะกึ่งเทพก็จะมีลักษณะเป็นมนุษย์ ถ้าปรากฏในลักษณะเป็นสัตว์ก็เป็นงูที่แผ่พังพานมีขนาดยาวใหญ่กว่างูธรรมดา มีกายสีต่างกันตามตระกูล เช่น ตระกูลวิรูปักษ์ เป็นนาคมีผิวกายสีทองเป็นราชาของนาคทั้งสี่ประเภท พญานาคแบ่งตามหน้าที่ออกเป็น 4 พวก คือ (1) นาคสวรรค์ มีหน้าที่เฝ้าวิมานของเทวดา (2) นาคกลางหาว มีหน้าที่ให้ลมให้ฝน (3) นาคโลกบาล มีหน้าที่รักษาแม่น้ำลำธาร และ (4) นาครักษาขุมทรัพย์ มีหน้าที่รักษาขุมทรัพย์ในดินและป่าไม้ พญานาคแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ (1) กามรูปีพญานาค พญานาคที่เสวยกามคุณ และ (2) อพามรูปีพญานาค พญานาคที่ไม่เสวยกามคุณ นอกจากนี้ยังได้แบ่งพญานาคออกเป็นตระกูลย่อยๆ ออกไปอีกถึง 1,024 ชนิด 2. ความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านด่านและประชาชนที่อาศัยในแถบลุ่มน้ำโขงเคารพบูชาพญานาคว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรให้ป้องกันภัย ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และขอโชคลาภ จากความเชื่อดังกล่าว ทำให้สังคมไทยแถบลุ่มน้ำโขง เกิดแนวคิดใหม่ในพิธีกรรม ศิลปกรรมประเพณีกรรม เช่น การปล่อยเรือไฟบูชาแม่น้ำและเจ้าแห่งน้ำ คือพญานาคพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวควบคู่กันไป พญานาคก็ยังคงเป็นสิ่งที่คนไทยเคารพเชื่อถือเป็นเครื่องร้อยรัดคนไทยเข้ากับความเชื่อที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด 3. วิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านด่าน เชื่อในความมีอยู่จริง และความมีอิทธิฤทธิ์ของพญานาค เพราะเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น รอยแยกตัวของผิวถนนขึ้น มีผู้ถ่ายภาพรอยถนนแยกไว้ เป็นภาพประหลาดคลายหลังพญานาค ปรากฏการณ์รอยประหลาดที่เกิดขึ้นริมฝั่งโขงและอีกรอยบนหน้ารถของชาวบ้านที่จอดหน้าวัดสุมังคลาราม บ้านด่าน ส่งผลให้ชาวบ้านด่านบูชาพญานาคเพื่อของฝนขอน้ำมาทำการเกษตรและบูชาเพื่อโชคลาภจากพญานาคตามสมัยนิยมในสังคมไทยปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านด่านเคารพพญานาคในฐานะของเทพผู้มีอิทธิฤทธิ์และบันดาลสิ่งที่พวกเขาต้องการให้สำเร็จได้ มากกว่าฐานะที่เป็นสัตว์เดรัจฉานกึ่งเทพที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดเช่นมนุษย์ และผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนายอมรับนับถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และค่อยดูแลปกป้องพระพุทธสาสนาตามหน้าที่ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษา พบว่า พญานาคเป็นสัตว์กึ่งเทพ เสวยทิพย์สมบัติบนสวรรค์วิมานดุจดั่งเทวดาถ้าปรากฏในลักษณะกึ่งเทพก็จะมีลักษณะเป็นมนุษย์ ถ้าปรากฏในลักษณะเป็นสัตว์ก็เป็นงูที่แผ่พังพานมีขนาดยาวใหญ่กว่างูธรรมดา มีกายสีต่างกันตามตระกูล เช่น ตระกูลวิรูปักษ์ เป็นนาคมีผิวกายสีทองเป็นราชาของนาคทั้งสี่ประเภท พญานาคแบ่งตามหน้าที่ออกเป็น 4 พวก คือ (1) นาคสวรรค์ มีหน้าที่เฝ้าวิมานของเทวดา (2) นาคกลางหาว มีหน้าที่ให้ลมให้ฝน (3) นาคโลกบาล มีหน้าที่รักษาแม่น้ำลำธาร และ (4) นาครักษาขุมทรัพย์ มีหน้าที่รักษาขุมทรัพย์ในดินและป่าไม้ พญานาคแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ (1) กามรูปีพญานาค พญานาคที่เสวยกามคุณ และ (2) อพามรูปีพญานาค พญานาคที่ไม่เสวยกามคุณ นอกจากนี้ยังได้แบ่งพญานาคออกเป็นตระกูลย่อยๆ ออกไปอีกถึง 1,024 ชนิด 2. ความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านด่านและประชาชนที่อาศัยในแถบลุ่มน้ำโขงเคารพบูชาพญานาคว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรให้ป้องกันภัย ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และขอโชคลาภ จากความเชื่อดังกล่าว ทำให้สังคมไทยแถบลุ่มน้ำโขง เกิดแนวคิดใหม่ในพิธีกรรม ศิลปกรรมประเพณีกรรม เช่น การปล่อยเรือไฟบูชาแม่น้ำและเจ้าแห่งน้ำ คือพญานาคพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวควบคู่กันไป พญานาคก็ยังคงเป็นสิ่งที่คนไทยเคารพเชื่อถือเป็นเครื่องร้อยรัดคนไทยเข้ากับความเชื่อที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด 3. วิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านด่าน เชื่อในความมีอยู่จริง และความมีอิทธิฤทธิ์ของพญานาค เพราะเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น รอยแยกตัวของผิวถนนขึ้น มีผู้ถ่ายภาพรอยถนนแยกไว้ เป็นภาพประหลาดคลายหลังพญานาค ปรากฏการณ์รอยประหลาดที่เกิดขึ้นริมฝั่งโขงและอีกรอยบนหน้ารถของชาวบ้านที่จอดหน้าวัดสุมังคลาราม บ้านด่าน ส่งผลให้ชาวบ้านด่านบูชาพญานาคเพื่อของฝนขอน้ำมาทำการเกษตรและบูชาเพื่อโชคลาภจากพญานาคตามสมัยนิยมในสังคมไทยปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านด่านเคารพพญานาคในฐานะของเทพผู้มีอิทธิฤทธิ์และบันดาลสิ่งที่พวกเขาต้องการให้สำเร็จได้ มากกว่าฐานะที่เป็นสัตว์เดรัจฉานกึ่งเทพที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดเช่นมนุษย์ และผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนายอมรับนับถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และค่อยดูแลปกป้องพระพุทธสาสนาตามหน้าที่ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา
The objectives of this thesis were as follows : 1) to study the belief on King Nagas according to the Theravada Buddhist philosophy, 2) to study the belief on King Nagas of Ban Dan villagers, Sam Yaek Sub-district, Loeng Nok Tha District, Yasothon Province and 3) to analyze the belief on King Nagas according to the Theravada Buddhist Philosophy of Ban Dan villagers, Sam Yaek Sub-district, Loeng Nok Tha District, Yasothon Province. This study was a qualitative research study and using the data obtained in inductive descriptive analysis. The results of research found that : 1. Belief in the Naga according to Theravada Buddhist Philosophy, The results of the study revealed that King Nagas were a semi-divine animal, eat the heavenly treasures like angels. When they appeared in a semi-divine form, they would look like human beings. When they appeared in the form of an animal, it would be a snake that spread a rooster with a length larger than a normal snake. Having a different body colors according to their species, such as the Virupaksa, a King Naga with a golden skin is the king of the four types of King Nagas. King Nagas were divided according to their duties into 4 groups: (1) the heavenly King Nagas were responsible for guarding the heavens of the deity, (2) King Nagas in the middle of the hail were responsible for the wind and rain, (3) the Nagalokaban Nagas were responsible for protecting rivers and streams and (4) the treasure preservation King Nagas were responsible for maintaining treasures in the soil and forests. King Nagas divided into 2 major types: (1) Kama Rupee Naga, having sensual for pleasures and (2) Apama Rupee King Naga who is without having sensual for pleasures. In addition, the King Nagas divided into sub-families of up to 1,024 species. 2. The results of a study on beliefs in the King Nagas of Ban Dan villagers found that the villagers of Ban Dan and people living in the Mekong region worship the King Nagas as sacred. Pray for safety from danger, abundance and fortune. From such beliefs, it was occurred a new idea for rituals traditional arts to Thai society in the Mekhong region such as light boat flowing to worship the river and lord of river, namely the King Nagas which evolved into tourism concurrently. The serpent is still something that Thai people respect and trust as a string tying the Thai people in line with the belief that has always occurred. 3. To analysis of beliefs in the King Nagas based on Theravada Buddhist Philosophy of Ban Dan villagers, Sam Yaek Sub-district, Loeng Nok Tha District, Yasothon Province. The results found that the villagers believed in the story of the King Nagas and their power cause of various events such as the fissure in the road which someone took them which looked like the King Nagas’ back. The phenomenon of strange occurred along the Mekong’s banks, and another marks on front of the villagers’car parked in front of Wat Sumangkhalaram, Ban Dan, Yasothon Province. As a result, villagers worship the King Nagas to request for rain for as to get some water for farming and worship for fortune from the King Nagas according to the current popular in Thai society. So Ban Dan villagers respected the King Naga as a magical powerful God which enable to inspire what they wanted to be accomplished rather than being a demigod that had to rebirth a human being, and those who believes in Buddhism, respecting the Triple Gem, took care and protected the Buddhism in accordance with the duties of those who believed in Buddhism.