Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตและกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องกายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต 3) เพื่อศึกษากายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า : ทักษะชีวิตและกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต พบว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นผู้แพร่คำว่า “ทักษะชีวิต” (Life Skill) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยมีองค์ประกอบ 10 ด้านคือ 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์3) ทักษะด้านการตระหนักรู้ในตน 4) ทักษะด้านการเข้าใจผู้อื่น 5) ทักษะด้านการตัดสินใจ 6) ทักษะด้านการแก้ปัญหา 7) ทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 8) ทักษะด้านการจัดการกับความเครียด 9) ทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ และ 10) ทักษะด้านการจัดการกับความเครียด โดยมีแนวทางแห่งการพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาด้านกายภาพ 2) การพัฒนาด้านศีลธรรม 3) การพัฒนาด้านจิตใจหรืออารมณ์ 4) การพัฒนาทางสติปัญญา กายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต พบว่า กายคตาสติ เป็นกรรมฐานเพื่อพัฒนาสติโดยใช้พิจารณาองค์ประกอบของร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นของไม่สะอาด ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นหลักทำให้เกิดทักษะ 4 ด้าน คือ 1) ทักษะด้านการตระหนักรู้ในตน 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ 4) ทักษะด้านการแก้ปัญหา กายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ พบว่า การปฏิบัติกายคตาสติทำให้เกิดปัญญาเห็นความเป็นจริงในกฏไตรลักษณ์ของกายและใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาทักษะชีวิต 2 ประการคือ พัฒนาด้านกาย และพัฒนาด้านจิตใจ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตและกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องกายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต 3) เพื่อศึกษากายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า : ทักษะชีวิตและกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต พบว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นผู้แพร่คำว่า “ทักษะชีวิต” (Life Skill) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยมีองค์ประกอบ 10 ด้านคือ 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์3) ทักษะด้านการตระหนักรู้ในตน 4) ทักษะด้านการเข้าใจผู้อื่น 5) ทักษะด้านการตัดสินใจ 6) ทักษะด้านการแก้ปัญหา 7) ทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 8) ทักษะด้านการจัดการกับความเครียด 9) ทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ และ 10) ทักษะด้านการจัดการกับความเครียด โดยมีแนวทางแห่งการพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาด้านกายภาพ 2) การพัฒนาด้านศีลธรรม 3) การพัฒนาด้านจิตใจหรืออารมณ์ 4) การพัฒนาทางสติปัญญา กายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต พบว่า กายคตาสติ เป็นกรรมฐานเพื่อพัฒนาสติโดยใช้พิจารณาองค์ประกอบของร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นของไม่สะอาด ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นหลักทำให้เกิดทักษะ 4 ด้าน คือ 1) ทักษะด้านการตระหนักรู้ในตน 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ทักษะด้านการจัดการกับอารมณ์ 4) ทักษะด้านการแก้ปัญหา กายคตาสติในฐานะเป็นกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแนวพุทธ พบว่า การปฏิบัติกายคตาสติทำให้เกิดปัญญาเห็นความเป็นจริงในกฏไตรลักษณ์ของกายและใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาทักษะชีวิต 2 ประการคือ พัฒนาด้านกาย และพัฒนาด้านจิตใจ
The objectives of this thesis are: 1) to study life skills and life skills reinforcement processes, 2) to study the doctrine of mindfulness with regard to the body as a life skills reinforcement process, and 3) to study mindfulness with regard to the body as a Buddhist life skills reinforcement process. The data were collected from textbooks, documents and related research papers and then analyzed for conclusion. The results of the research showed that: "Life Skills" was publicized by The World Health Organization with the aim to provide people to take care of themselves physically, mentally and emotionally. There are 10 components as follows: 1) Critical thinking skills, 2) Creative thinking skills, 3) Self-awareness, 4) Understanding others, 5) Decision making skills, 6) Problem solving skills, 7) Effective communication skills, 8) Interpersonal relationship building skills, 9) Emotional management skills, and 10) Stress management skills divided into 4 areas: 1) physical development, 2) moral development, 3) Mental or emotional development, and 4) Intellectual development. The mindfulness with regard to the body as the reinforcement process in life skills indicates that it is the practice of concentration on body components as hair on the head, hair on the body, nails, teeth, skin, etc. as unclean, should not be attached to, but should feel boredom on it. They are the practices to create 4 skills: 1) self-awareness skills, 2) reflection skills, 3) emotional management skills, and 4) problem solving skills. Physical consciousness as a process in enhancing Buddhist life skills indicates that the practice of physical consciousness can originate wisdom in realizing body and mind according to the Three Common Characteristics and it is in line with 2 methods in life skills development; physical development and mental development.