Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษา ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ มีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 294 รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปร ปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการปกครองวัดแบบบูรณาการตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการปกครองตามพระธรรมวินัยตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระภิกษุที่มี วุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุที่มีระดับ อายุ พรรษา และวุฒิการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เห็นว่า เจ้าอาวาสเป็นผู้มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา กำกับดูแล แนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณรและฆราวาสผู้อยู่ในวัดให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงามถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคมและจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล การบำรุงรักษาวัด การจัดกิจการของวัดตามหน้าที่ผู้ปกครองวัดและหน้าที่จัดกิจการแทนวัดในฐานะผู้แทนนิติบุคคล การดูแลรักษา การใช้จ่าย การจัดทรัพย์สินของวัด ทั้งส่วนที่เป็นศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนสมบัติของวัดที่ตนเป็นเจ้าอาวาส ให้เป็นไปด้วยดี และต้องปฏิบัติภารกิจของพระพุทธศาสนาซึ่งจะช่วยส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงและช่วยสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้นเจ้าอาวาสจะต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารและการจัดการ โดยเฉพาะภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสมีหน้าที่ในดูแล พระภิกษุ สามเณร ภายในวัดให้เกิดความเรียบร้อยดีงาม เจ้าอาวาสนอกจากจะมีความรู้ความ สามารถ มีบารมี และคุณธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีแล้ว จะต้องมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสามเณร ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายอมรับนับถือ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษา ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ มีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 294 รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปร ปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการปกครองวัดแบบบูรณาการตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการปกครองตามพระธรรมวินัยตามหลักพรหมวิหาร อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระภิกษุที่มี วุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุที่มีระดับ อายุ พรรษา และวุฒิการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการปกครองของเจ้าอาวาสตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เห็นว่า เจ้าอาวาสเป็นผู้มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา กำกับดูแล แนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณรและฆราวาสผู้อยู่ในวัดให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงามถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคมและจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล การบำรุงรักษาวัด การจัดกิจการของวัดตามหน้าที่ผู้ปกครองวัดและหน้าที่จัดกิจการแทนวัดในฐานะผู้แทนนิติบุคคล การดูแลรักษา การใช้จ่าย การจัดทรัพย์สินของวัด ทั้งส่วนที่เป็นศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนสมบัติของวัดที่ตนเป็นเจ้าอาวาส ให้เป็นไปด้วยดี และต้องปฏิบัติภารกิจของพระพุทธศาสนาซึ่งจะช่วยส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงและช่วยสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้นเจ้าอาวาสจะต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารและการจัดการ โดยเฉพาะภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสมีหน้าที่ในดูแล พระภิกษุ สามเณร ภายในวัดให้เกิดความเรียบร้อยดีงาม เจ้าอาวาสนอกจากจะมีความรู้ความ สามารถ มีบารมี และคุณธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีแล้ว จะต้องมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสามเณร ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายอมรับนับถือ
โดยการนำหลักพรหมวิหารธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการปกครอง เพื่อให้กิจการคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งจะทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองถาวรมั่นคง เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธศาสนาสืบไป
The objectives of this research were: 1) to study the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province, 2) to compare the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province according to their ages, years in the monkhood and educational levels, and 3) to study the guidelines of the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province. The data were collected from 294 samples by questionnaire and interview forms and then analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and LSD. The results of the study showed that: 1) The opinion of the samples towards the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province was at a high level overall. In descending order, the highest level was on administration integrated with Brahmavihara Dhamma, followed by administration based on the Sangha Acts integrated with Brahmavihara Dhamma, and administration based on Dhamma and Vinaya integrated with Brahmavihara Dhamma respectively. 2) From the comparison, the samples with different levels in Dhamma study had different opinion levels towards the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province with a statistically significant figure at 0.05. But the samples with different ages, years in monkhood and general education levels showed levels of their opinions indifferently. 3) The guidelines of the administration based on Brahmavihara Dhamma of the abbots in Mueang district of Nakhon Pathom province indicate that the duty of the abbots is to administrate, govern, monitor, supervise, and teach and train monks, novices and lay-people according to Dhamma, Vinaya, law, rules, regulations and Sangha Acts. The abbots have to provide facilities to people in making merit, take care of religious properties and religious estate, and maintain faith and belief of Buddhists in Buddhism. The abbots have to use arts and sciences in their administration. They should also have knowledge, morality, virtues, human relations and leadership in administration. All these qualifications based on Brahmavihara Dhamma will result to the acceptance of their subordinates, achievement of the Buddhist affairs and the establishment of Buddhism in the long run.