Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์จากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงาน โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนจูงใจให้บุคลากรมีความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์จากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงาน โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนจูงใจให้บุคลากรมีความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
The objective of this thesis were as follows; 1) to study the application of Sanghavatthu in work performance of the Local Administrative Organization Personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province in 3 areas: infrastructure, quality of life promotion, and management and conservation of natural resources and environment 2) to compare the application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel Phuttamonthon district Nakhon Pathom province based on their sex age educational level and work experience, and 3) to propose a guidance on the application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province. The quantitative data were collected from 196 samples by questionnaires and analyzed by frequency, mean, percentage, standard deviation, T-test, F-test, One-way ANOVA and LSD method. The qualitative data were collected by in-depth interview with 5 administrators of Local Administrative Organization in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province. The results of the study found that: 1) The application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province in 3 areas was at a high level overall. In details, the highest level was on management and conservation of natural resources and environment, followed by quality of life promotion, and infrastructure respectively. 2) From the hypothesis testing, the personnel with different sexes, ages, educational levels, and work experiences had no different levels in the application of Sangkhahawatthu in their performance. 3) The guidelines on the application of Sanghahavatthu in work performance of the local Administrative organization personnel in Phuttamonthon district of Nakhon Pathom province are that the personnel should be encouraged and supported in opinion exchange in work, in hospitality to each other, and in work motivation and responsibility.