Search results

5,166 results in 0.18s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาการจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาการจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) การจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) การจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 2547
Note: ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 2547
หนังสือ

หนังสือ

    การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence, 2) to study Gharâvâsadhamma in Buddhism, 3. to integrate activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence with Gharâvâsadhamma, and 4) to propose guidance and knowledge about " a model of a proceeding activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence integrated with Gharâvâsadhamma.” The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 63 samples that had undergone rehabilitation follow up the treatment for 3 months after discharge. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and comparing differences used Independent t-test. The qualitative data were obtained by in-depth interviews with 15 alcoholic dependence patients, who had undergone rehabilitation with 3-month follow-up treatments after discharge and not being addicted, and with 13 key informants in multidisciplinary teams at the rehabilitation by unstructured interviews. The data were analyzed by inductive analysis. The results of the research were follows 1. the implementation of rehabilitation activities for alcoholic dependence patients has a variety of forms and Buddhist principles are applied to the rehabilitation, 2. Gharâvâsadhamma in Buddhism is for lay-people to live together, and 3. the implement of rehabilitation activities integrated with Gharâvâsadhamma for patients with alcohol dependence indicated that the non-addicted sample group had a score of overall practice of Gharâvâsadhamma significantly higher than the relapse alcohol sample at the level of 0.05. This result revealed that non- relapse patients could follow Gharâvâsadhamma and have behavioral change positively. To follow Gharâvâsadhamma for self-care and non-relapse was based on intention, commitment, and tolerance to alcohol withdrawal symptoms. To escape from a bad feeling, the patients must depend on conscious thinking, reasonable consideration, self-control and family support. The rehabilitation activities for alcoholic dependence patients integrated with the Gharâvâsadhamma could be concluded into “SCB-SA-SC-SD Model”. The activities of rehabilitation for alcoholic dependence patients must be supported by society, family, staff, and fellow patients. All that could help change the patients’ cognition and behaviors into a positive way and assist them to have self-awareness or mindfulness and concentration, self-control or precepts and self-development or wisdom, and to help them quit drinking alcohol in a longer time.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกพระภิกษุ10 รูป สามเณร 10 รูป รวม 20 รูป ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย สามเณรคือเหล่ากอแห่งสมณะ ในยุคพุทธกาลสามเณรมีบทบาทช่วยรักษาพระศาสนา สืบต่อและเผยแผ่พระธรรมวินัย ปัจจุบันสามเณรมีบทบาทช่วยและปฏิบัติตามสิกขาบท 10 ข้อ พร้อมเสขิยวัตร ธรรมเนียม และกฏหมาย ศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา รวมถึงระดับปริญญา รักษา ปกป้อง เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนในจังหวัดเลยตัดสินใจเข้ามาบรรพชา คือ แรงผลักดันจากผู้ปกครอง การเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การบวชตามประเพณีการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ความยากจน การปลอดภัยจากพิษภัยของยาเสพติด ปัญหาพ่อแม่หย่าร้าง การขาดโอกาสทางการศึกษา การช่วยขัดเกลาพฤติกรรม และบวชตอบแทนพระคุณพ่อแม่ บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย คือ การศึกษาเล่าเรียนการสนองงานครูอาจารย์และคณะสงฆ์ผู้ช่วยพระภิกษุ ทำกิจวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชนการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย พบว่า มีบทบาทโดยภาพรวมแล้ว ได้แก่ 1. เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เมื่อมีความรู้ทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญ รวมถึงระดับปริญญาแล้ว ย่อมจะทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง แม้จะลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ทำการรักษาพระพุทธศาสนาในหน้าที่ของตน 2. เพื่อสังคม เช่น การเผยแผ่พระศาสนา ทำหน้าที่เป็นพระภิกษุสืบไป เป็นต้น 3. เพื่อสถาบันสงฆ์ไทย พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะปกครองทุกระดับชั้นล้วนเคยบรรพชามาตั้งแต่เป็นสามเณร จึงเอื้อต่อสถาบันพระพุทธศาสนาต่อไป
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกพระภิกษุ10 รูป สามเณร 10 รูป รวม 20 รูป ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย สามเณรคือเหล่ากอแห่งสมณะ ในยุคพุทธกาลสามเณรมีบทบาทช่วยรักษาพระศาสนา สืบต่อและเผยแผ่พระธรรมวินัย ปัจจุบันสามเณรมีบทบาทช่วยและปฏิบัติตามสิกขาบท 10 ข้อ พร้อมเสขิยวัตร ธรรมเนียม และกฏหมาย ศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา รวมถึงระดับปริญญา รักษา ปกป้อง เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนในจังหวัดเลยตัดสินใจเข้ามาบรรพชา คือ แรงผลักดันจากผู้ปกครอง การเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การบวชตามประเพณีการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ความยากจน การปลอดภัยจากพิษภัยของยาเสพติด ปัญหาพ่อแม่หย่าร้าง การขาดโอกาสทางการศึกษา การช่วยขัดเกลาพฤติกรรม และบวชตอบแทนพระคุณพ่อแม่ บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย คือ การศึกษาเล่าเรียนการสนองงานครูอาจารย์และคณะสงฆ์ผู้ช่วยพระภิกษุ ทำกิจวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชนการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย พบว่า มีบทบาทโดยภาพรวมแล้ว ได้แก่ 1. เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เมื่อมีความรู้ทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญ รวมถึงระดับปริญญาแล้ว ย่อมจะทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง แม้จะลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ทำการรักษาพระพุทธศาสนาในหน้าที่ของตน 2. เพื่อสังคม เช่น การเผยแผ่พระศาสนา ทำหน้าที่เป็นพระภิกษุสืบไป เป็นต้น 3. เพื่อสถาบันสงฆ์ไทย พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะปกครองทุกระดับชั้นล้วนเคยบรรพชามาตั้งแต่เป็นสามเณร จึงเอื้อต่อสถาบันพระพุทธศาสนาต่อไป
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the roles of the novices in the Theravada Buddhism 2) to study the roles of the novices in Loei Province 3) to analyze the roles of the novices in Loei Province. The derived information and data were: Tripitaka commentary, related textbooks, data and in-depth interviews from 10 monks and 10 novices. The total numbers of the interviewees were 20 persons. The derived data was contentedly analyzed and inductive conclusion was structurally formed. The results of research were found that: Novices are clans of the monks. In the Buddhist era, the novices’ roles were to preserve the religion, be successor to religion and propagate the Dharma disciplines. At present, the novices have roles in helping and following the 10 centipede, Se Khiyawat, traditions and laws. They study Pariyati Dharma including Dharma Department, Pali Department and Department of General Education and Bachelor Degree levels. They keep, protect and propagate Buddhism. Factors that the youths in Loei Province decided to ordinate were the motivation from their parents, ordination according to tradition, alleviating the burden of parents, problems of poverty, staying away from drugs, problems of divorced parents, lack of educational opportunities, refining behavior and ordaining to pay grace to parents. The duty of the novices in Loei are: studying, serving their teachers and clergy, being the monks’ assistants, doing the routine, being a good image to the Buddhists, renewing Buddhism and propagating Buddhism. After analyzing the roles of the novice in Loei Province, it was found that when picture their overall roles; their roles are: 1) for the stability of Buddhism, they have knowledge in 3 parts, Dharma, Pali and general education. This also includes the degree’s levels. The knowledge can stable Buddhism. Even when they leave the monkhood and become laymen, they preserve Buddhism in their duty. 2) For social duty such as propagation Buddhism as being monks. 3) For Thai monks Institute, the monks who become primates governing all levels used to be ordained as the novices. Then they contribute to the Buddhist Institute.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดพุทธปรัชญาการปกครองให้ทัศนะอันเป็นหลักการที่ประกอบด้วย คุณธรรม โดยกำหนดจุดมุ่งหมายไว้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของมหาชนตลอดทั้งเทวดา เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์โลก และสิ่งแวดล้อม พุทธปรัชญาเถรวาทให้ความสำคัญกับผู้ปกครองที่มีศีลธรรม ผู้ปกครองที่ดีจะต้องประพฤติปฏิบัติและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณะชน 2. การปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต ให้ทัศนะว่าการปกครองที่ดีที่สุด คือการบริหารจัดการหรือการปกครองอันเป็นกิจการสาธารณะ (The Republic) เพื่อประโยชน์สุข สันติ สงบ ของผู้ใต้ปกครอง ผู้ปกครองมีใจเป็นธรรม มีความยุติธรรม จากการปกครองโดยราชาผู้เป็นปราชญ์ 3. แนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต พบว่า มีลักษณะที่เหมือนกันในหลายแง่มุม คือ 1) มีลักษณะสังคมอุดมคติ 2) มีเป้าหมายทางการเมือง 3) ยึดหลักของประโยชน์สุขให้กับสังคมและคนหมู่มาก 4) สังคมที่ดีงามต้องใช้คุณธรรมและศีลธรรมเป็นรากฐานในการกำหนดคุณค่าสังคม 5) อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดพุทธปรัชญาการปกครองให้ทัศนะอันเป็นหลักการที่ประกอบด้วย คุณธรรม โดยกำหนดจุดมุ่งหมายไว้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของมหาชนตลอดทั้งเทวดา เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์โลก และสิ่งแวดล้อม พุทธปรัชญาเถรวาทให้ความสำคัญกับผู้ปกครองที่มีศีลธรรม ผู้ปกครองที่ดีจะต้องประพฤติปฏิบัติและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณะชน 2. การปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต ให้ทัศนะว่าการปกครองที่ดีที่สุด คือการบริหารจัดการหรือการปกครองอันเป็นกิจการสาธารณะ (The Republic) เพื่อประโยชน์สุข สันติ สงบ ของผู้ใต้ปกครอง ผู้ปกครองมีใจเป็นธรรม มีความยุติธรรม จากการปกครองโดยราชาผู้เป็นปราชญ์ 3. แนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต พบว่า มีลักษณะที่เหมือนกันในหลายแง่มุม คือ 1) มีลักษณะสังคมอุดมคติ 2) มีเป้าหมายทางการเมือง 3) ยึดหลักของประโยชน์สุขให้กับสังคมและคนหมู่มาก 4) สังคมที่ดีงามต้องใช้คุณธรรมและศีลธรรมเป็นรากฐานในการกำหนดคุณค่าสังคม 5) อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the concept of ruling in Theravada Buddhist philosophy. 2) to study the philosophy of the state of Plato. 3) to analyze the concepts of ruler ship in Theravada Buddhist philosophy and the state-based philosophy of Plato. The Result of this research were found as follows: 1. The concept of Buddhist philosophy of government has shown the views and practices that are the principles that comprise the rule of law. The purpose is for the happiness of the public. Theravada Buddhist Philosophy Focuses on Moral Guardians Good parents must behave. And control of their own behavior to the acceptance of the public. 2. The Rule of the State of Plato is the management or administration of the state (The Republic) to benefit the peace of the people. to be just to be fair and to be happiness from the philosopher king by the wise. 3. The concept of ruling in Theravada Buddhist philosophy and the philosophy of the state administration of Plato. 1) There is a social ideal. 2) It has a political purpose. 3) It is based on the principle of happiness for society and people. 4) A good society requires. Morality and morality are the foundation of a balanced. 5) Under natural rules.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นระเบียบดําเนินการเพื่อความสําเร็จไม่ใช่วิธีกอใหเกิดอํานาจพิเศษดลบันดาลให้สำเร็จตามที่หวังเพียงแต่เป็นสื่อก่อให้เกิดผลด้านกาย วาจา จิต ปัญญา และสังคม มีการกระทำแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ช่วยรักษาพระธรรมวินัยอีกแนวทางหนึ่ง การสาธยายธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการท่อง การกล่าวธรรม การสวด การทรงพระธรรมวินัย มีลักษณะการเปล่งเสียงออกมาเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ จิตเป็นสมาธิ เป็นพหูสูต ไม่เป็นมลทิน เป็นบริขารของจิต ยินดีในบุญกุศล เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่มีเวรไม่มีภัย ละความง่วง ผู้ได้ฟังบรรลุธรรมได้ เป็นผู้อยู่ในธรรม ผู้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใส ย่อมได้รับความสรรเสริญ และเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมคณะสงฆ์จะทำพิธีกรรมต้องมีการสาธยายธรรมก่อนทั้งสิ้น พิธีกรรมกับคุณค่าการสาธยายธรรมในงานสวดพระอภิธรรม และการสาธยายธรรมก่อให้เกิดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานอวมงคล เช่น งานศพ การทำวัตรเช้า-เย็นของพุทธบริษัท เป็นต้น ก่อให้เกิดพิธีกรรมทั้งของพระสงฆ์ เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น ส่วนคฤหัสถ์ เช่น สาธยายธรรมข้ามปี เป็นต้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นระเบียบดําเนินการเพื่อความสําเร็จไม่ใช่วิธีกอใหเกิดอํานาจพิเศษดลบันดาลให้สำเร็จตามที่หวังเพียงแต่เป็นสื่อก่อให้เกิดผลด้านกาย วาจา จิต ปัญญา และสังคม มีการกระทำแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ช่วยรักษาพระธรรมวินัยอีกแนวทางหนึ่ง การสาธยายธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการท่อง การกล่าวธรรม การสวด การทรงพระธรรมวินัย มีลักษณะการเปล่งเสียงออกมาเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ จิตเป็นสมาธิ เป็นพหูสูต ไม่เป็นมลทิน เป็นบริขารของจิต ยินดีในบุญกุศล เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่มีเวรไม่มีภัย ละความง่วง ผู้ได้ฟังบรรลุธรรมได้ เป็นผู้อยู่ในธรรม ผู้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใส ย่อมได้รับความสรรเสริญ และเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมคณะสงฆ์จะทำพิธีกรรมต้องมีการสาธยายธรรมก่อนทั้งสิ้น พิธีกรรมกับคุณค่าการสาธยายธรรมในงานสวดพระอภิธรรม และการสาธยายธรรมก่อให้เกิดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานอวมงคล เช่น งานศพ การทำวัตรเช้า-เย็นของพุทธบริษัท เป็นต้น ก่อให้เกิดพิธีกรรมทั้งของพระสงฆ์ เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น ส่วนคฤหัสถ์ เช่น สาธยายธรรมข้ามปี เป็นต้น
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the rituals in Theravada Buddhism 2) to study the Chanting in Theravada Buddhism and 3) to analyze the rituals and the Dharma Chanting in Theravada Buddhism. The used documents are Tripitaka, commentary, textbooks and related researches. This study is a Qualitative research. The derived document and information were analyzed of the contents and the Inductive conclusion forms. The results of research were found that: Rituals in Theravada Buddhism are orderly proceeded in order to achieve certain goals which are not the creation of special power inspiring any successes. They are used as a media to fulfill the better of body, speech, mind, wisdom and society. The actions are for individual or in groups. This is another way to maintain the Dharma discipline. The chanting has begun from the age of the Buddhist era. It is a chanting, telling the Dharma, praying, and reserving of Buddhist discipline. It is an utterance for the benefits of oneself and the public. It is useful for the commitment to the Buddha. It is used as a tool to reach a liberation, meditated mind, be a scholar and have clean mind. It is for non-persecution, no harm, lethargy and attaining the Dharma. The one who listens Dharma will become faithful, receive praise, protection, self-keeping, Protection and live pleasantly. Rituals and Dharma chanting of Thai monks will start from the chanting first. In the funeral, rituals and the value of chanting cause merit and gratitude. chanting is also held in holy activities such as new house cerebration and auspicious events. Even in misfortune events, like a funeral, they play an important part of the events. When the laymen do morning and evening chanting, the monks also do the same. In the New Year days, the laymen chanting the Dharma over the years.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปรัชญาปฏิรูปนิยม 2. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3. เพื่อเปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปรัชญาปฏิรูปนิยม สรุปว่า ปรัชญาปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการแนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมีปรัชญาว่า ปฏิรูปสังคม เพื่อชีวิตที่ชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของตนเองดีขึ้น 2. ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกระบวนการให้และการรับความรู้ ประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติการสร้างจิตสำนึก สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีปรัชญาว่า ชีวิตที่สุขเกษมดีงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่สมดุล ในสังคมที่สันติสุข 3. เปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปได้ดังนี้ 1) เปรียบเทียบหลักสูตรโดยทั้งสองปรัชญามุ่งเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางในด้านสังคม 2) เปรียบเทียบการบริหารการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาครูเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน 3) เปรียบเทียบบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารเป็นสำคัญ 4) เปรียบเทียบการจัดการสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นให้สถาบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 5) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสอนที่สอดคล้องกับสังคม 6) เปรียบเทียบทรัพยากรทางการศึกษา ปรัชญาทั้งสองลัทธิมุ่งเน้นทรัพยากรในการบริหารและทรัพยากรการศึกษาเป็นหลักสำคัญ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปรัชญาปฏิรูปนิยม 2. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3. เพื่อเปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปรัชญาปฏิรูปนิยม สรุปว่า ปรัชญาปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการแนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมีปรัชญาว่า ปฏิรูปสังคม เพื่อชีวิตที่ชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของตนเองดีขึ้น 2. ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกระบวนการให้และการรับความรู้ ประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติการสร้างจิตสำนึก สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีปรัชญาว่า ชีวิตที่สุขเกษมดีงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่สมดุล ในสังคมที่สันติสุข 3. เปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปได้ดังนี้ 1) เปรียบเทียบหลักสูตรโดยทั้งสองปรัชญามุ่งเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางในด้านสังคม 2) เปรียบเทียบการบริหารการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาครูเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน 3) เปรียบเทียบบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารเป็นสำคัญ 4) เปรียบเทียบการจัดการสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นให้สถาบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 5) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสอนที่สอดคล้องกับสังคม 6) เปรียบเทียบทรัพยากรทางการศึกษา ปรัชญาทั้งสองลัทธิมุ่งเน้นทรัพยากรในการบริหารและทรัพยากรการศึกษาเป็นหลักสำคัญ
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study Reconstructionism, 2) to study education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto), and 3) to compare Reconstructionism and education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto). The data of this documentary qualitative study were collected from the primary and secondary sources concerned. The results of the study found that: 1) The Reconstructionism is originated from the combination of pragmatism and progressivism by placing a focus on education for society. Its slogan is social reform for intellectual life and better environment. 2) The education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto) is the process of giving and receiving experiences, attitude adjustment and building awareness in order to live a life in society appropriately. Its slogan is a good and happy life in balanced nature in a peaceful society. 3) It can be concluded from the comparison as follows: (1) In curriculum, both concepts place a focus on a specific excellence in society, (2) In educational administration, both concepts aim to develop teachers for problem solving in communities, (3) In educational personnel, education administrators are specially emphasized, (4) In educational institution management, both concepts accept educational institutes are the learning sources of communities, (5) In teaching and learning process and technology, student-centered learning and learning relevant to social contexts are focused, and (6) In educational resources, both philosophies emphasize administrative resources as well as educational resources.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1. กระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง วิธีการที่ทำให้พระพุทธสาวิกาบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบไปด้วย ลักษณะของการบรรลุธรรม คือลักษณะอาการที่จิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี 2 ลักษณะ คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เหตุแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ประการคือ 1)การฟังธรรม 2)การแสดงธรรม 3)การสาธยายธรรม 4)การพิจารณาธรรม 5)การภาวนา หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ได้ แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 องค์ประกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบด้วยบุคคลผู้ที่จะบรรลุธรรมจะต้องไม่เป็นอภัพบุคคล 6 ประเภท เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถแนะนำได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม คือ หลักสังโยชน์ หลักอริยสัจ 4 และหลักอายตนะ 12 วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม มี 3 วิธี คือวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า และ สมถะที่มีวิปัสสนาควบคู่กันไป ระดับของการบรรลุธรรมแบ่งออกเป็นระดับมรรค ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติมรรค 2) สกทาคามีมรรค 3) อนาคามิมรรค 4) อรหัตตมรรค ระดับผลแบ่ง ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติผล 2) สกทาคามีผล 3) อนาคามิผล 4) อรหัตตผล ประเภทของพระอรหันต์ 4 ประเภทคือ 1)สุกขวิปัสสโก 2)เตวิชโช 3)ฉฬภิญโญ 4)ปฏิสัมภิทัปปัตโต และผลของการบรรลุธรรม คือคุณวิเศษที่บรรลุ มี วิชชา 3 อภิญญา 6 2. กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาทนี้ได้นำเรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านมาศึกษาเป็นรายบุคคลมีจำนวน 8 ท่านคือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระภัททากัจจานาเถรี พระรูปนันทาเถรี พระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระเขมาเถรี และพระอัฑฒกาสีเถรี ทำให้ทราบว่ากระบวนการบรรลุธรรมของแต่ละท่านแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริต สถานะภาพ บุญบารมีที่สร้างสมมา และเรื่องราวชีวิตของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน 3.
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1. กระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง วิธีการที่ทำให้พระพุทธสาวิกาบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบไปด้วย ลักษณะของการบรรลุธรรม คือลักษณะอาการที่จิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี 2 ลักษณะ คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เหตุแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ประการคือ 1)การฟังธรรม 2)การแสดงธรรม 3)การสาธยายธรรม 4)การพิจารณาธรรม 5)การภาวนา หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ได้ แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 องค์ประกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบด้วยบุคคลผู้ที่จะบรรลุธรรมจะต้องไม่เป็นอภัพบุคคล 6 ประเภท เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถแนะนำได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม คือ หลักสังโยชน์ หลักอริยสัจ 4 และหลักอายตนะ 12 วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม มี 3 วิธี คือวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า และ สมถะที่มีวิปัสสนาควบคู่กันไป ระดับของการบรรลุธรรมแบ่งออกเป็นระดับมรรค ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติมรรค 2) สกทาคามีมรรค 3) อนาคามิมรรค 4) อรหัตตมรรค ระดับผลแบ่ง ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติผล 2) สกทาคามีผล 3) อนาคามิผล 4) อรหัตตผล ประเภทของพระอรหันต์ 4 ประเภทคือ 1)สุกขวิปัสสโก 2)เตวิชโช 3)ฉฬภิญโญ 4)ปฏิสัมภิทัปปัตโต และผลของการบรรลุธรรม คือคุณวิเศษที่บรรลุ มี วิชชา 3 อภิญญา 6 2. กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาทนี้ได้นำเรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านมาศึกษาเป็นรายบุคคลมีจำนวน 8 ท่านคือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระภัททากัจจานาเถรี พระรูปนันทาเถรี พระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระเขมาเถรี และพระอัฑฒกาสีเถรี ทำให้ทราบว่ากระบวนการบรรลุธรรมของแต่ละท่านแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริต สถานะภาพ บุญบารมีที่สร้างสมมา และเรื่องราวชีวิตของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน 3.
วิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้นำกระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาทั้ง 8 ท่านมาศึกษาวิเคราะห์เป็นรายบุคคล พบว่า ถึงแม้ว่ากระบวนการบรรลุธรรมของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านจะแตกต่างกันก็ตาม แต่กระบวนการบรรลุธรรมของทุกท่านก็เป็นไปตามกระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท มีความเหมือนและแตกต่างกันในบางประเด็นคือ ลักษณะของการบรรลุธรรม และ ระดับของการบรรลุธรรม มีความเหมือนกัน คือ บรรลุเจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ และ ความเป็นพระอรหัตตผลประเภท ปฏิสัมภิทัปปัตโต ส่วนที่แตกต่างกันคือ เหตุแห่งการบรรลุธรรม หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม และผลของการบรรลุธรรม ประโยชน์และคุณค่าของกระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท นอกจากความรู้จากการศึกษาถึงกระบวนการบรรลุธรรมที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติและแนะนำแก่ผู้สนใจเพื่อการดับทุกข์พ้นทุกข์แล้ว ยังสามารถนำคุณค่าด้านคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความซื่อสัตย์ ความมีสติมีปฏิภาณ และความเสมอภาค
The objectives of this thesis were:1) to study the wisdom attainment process in Theravāda Buddhist Philosophy, 2) to study the wisdom attainment process of female disciples in Theravāda Buddhist Philosophy, and 3) to analyze the wisdom attainment process of female disciples in Theravāda Buddhist Philosophy. The data of this qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, and the related documents. The results of study were shown as follows: 1. The wisdom attainment process in Theravada Buddhist Philosophy means a method for female disciples attaining the Arahantship. The wisdom attainment process is the liberation of mind from defilements. There are 2 types; deliverance of mind and liberation through wisdom. There are 5 causes for attaining Dhamma: 1) Listening to Dhamma, 2) Teaching Dhamma, 3) Reciting Dhamma, 4) Reflecting Dhamma, and 5) Meditating. The Principles that leads to the attainment of Dhamma are known as The Thirty-seven Qualities Contributing to Enlightenment consisting of The Four Foundations of Mindfulness, The Four Great Efforts, The Four Paths of Accomplishment, The Five Faculties, The Five Powers, The Seven Factors of Enlightenment, and The Nobel Eightfold Path. The elements and procedures related to the attainment process consist of the person who will attain Dhamma must not be 6 types of wrong individuals and they must be wise enough to be taught. The Principles that promote the attainment of the Dhamma are The Ten Fetters, the Four Noble Truths and The Twelve Spheres. There are 3 methods of attaining Dhamma, namely Vipassana meditation led by Samatha meditation, Samatha meditation led by Vipassana meditation, and Samatha meditation in parallel with Vipassana meditation. The level of attainment of the Dhamma can be divided into 4 levels of Paths; 1) The Path of Stream Entrance, 2) The Path of Once Returning, 3) The Path of Never Returning and 4) The Path of Arahatship. The Fruition levels can be divided into 4 levels; 1) The Fruit of Stream Entry, 2) The Fruit of Once Returning, 3) The Fruit of Never Returning, and 4) The Fruit of the Worthy One. There are four types of the Worthy Ones; 1) Bare-insight worker, 2) One with the Threefold Knowledge, 3) One with the Sixfold Super-knowledge knowledge, and 4) One having attained the Analytic Insights. 2. The wisdom attainment process of 8 female disciples; Pajapatigotami, Bhaddhagaccana, Rupananda, Kisagotami, Patacara, Upalavanna, Khema, and Atthakasi, was different depending one each one’s characteristic behavior, status, perfection, and life background. 3. From analyzing of the process of attaining Dhamma of the 8 female disciples, although the process of wisdom attaining of each female disciple was different but it was in accordance with the process of wisdom attaining in Theravada Buddhist Philosophy. There were similarities in characteristics of the wisdom attainment process and the level of wisdom. They all attained deliverance of mind and liberation through wisdom. The dissimilarities were the causes of wisdom attainment, the Dhamma principles leading to the wisdom attainment, the Dhamma principles supporting the wisdom attainment, the practices for wisdom attainment, and the results of wisdom attainment. The benefits and values of the wisdom attainment process of female disciples in Theravada Buddhist philosophy were the knowledge in the process of attaining Dhamma that the practitioners can put into practice and advise those who were interested to follow to reduce and eradicate suffering. The principles of humility, honest, consciousness and equality can be applied in living a life.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า 3) เพื่อเปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า ได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเเละเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ความรู้ที่อาศัยการฟัง การคิดพิจารณา จนตกผลึกเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความรู้ที่สามารถหาเหตุผลได้โดยผ่านการไตร่ตรองหรือวิเคราะห์ มาอย่างดี เป็นความรู้ที่ชัดเจน เเจ่มเเจ้ง ไม่งมงาย โดยสามารถนำไปลงมือพิสูจน์ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง 2. ญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า ความรู้ที่สอดคล้องตามวิถีทางธรรมชาติ เป็นความรู้ ที่ปราศจากการปรุงเเต่งจากตัณหาของมนุษย์ เป็นความรู้ที่อยู่เหนือความคิดเเละการกระทำทั้งปวง ของมนุษย์ ปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ระดับปรมัตถสัจจะด้วยการไม่กระทำสิ่งที่ขัดเเย้งต่อวิถีทางธรรมชาติ ไม่ใช่ความรู้ที่พยายามจะเปลี่ยนเเปลงโลก ควบคุมธรรมชาติ เเต่เป็นความรู้เพื่อความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ 3. เปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า พุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับความรู้ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ หลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยการลงมือภาวนาจนเกิดปัญญารู้เเจ้ง ส่วนปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ที่สามารถทำให้เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ คือการปฏิบัติตามหลักการที่สอดคล้องต่อวิถีธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำที่ไม่เอื้อต่อวิถีธรรมชาติ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า 3) เพื่อเปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า ได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเเละเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ความรู้ที่อาศัยการฟัง การคิดพิจารณา จนตกผลึกเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความรู้ที่สามารถหาเหตุผลได้โดยผ่านการไตร่ตรองหรือวิเคราะห์ มาอย่างดี เป็นความรู้ที่ชัดเจน เเจ่มเเจ้ง ไม่งมงาย โดยสามารถนำไปลงมือพิสูจน์ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง 2. ญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า ความรู้ที่สอดคล้องตามวิถีทางธรรมชาติ เป็นความรู้ ที่ปราศจากการปรุงเเต่งจากตัณหาของมนุษย์ เป็นความรู้ที่อยู่เหนือความคิดเเละการกระทำทั้งปวง ของมนุษย์ ปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ระดับปรมัตถสัจจะด้วยการไม่กระทำสิ่งที่ขัดเเย้งต่อวิถีทางธรรมชาติ ไม่ใช่ความรู้ที่พยายามจะเปลี่ยนเเปลงโลก ควบคุมธรรมชาติ เเต่เป็นความรู้เพื่อความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ 3. เปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า พุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับความรู้ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ หลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยการลงมือภาวนาจนเกิดปัญญารู้เเจ้ง ส่วนปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ที่สามารถทำให้เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ คือการปฏิบัติตามหลักการที่สอดคล้องต่อวิถีธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำที่ไม่เอื้อต่อวิถีธรรมชาติ
The objectives of this thesis are; 1) to study epistemology in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study epistemology in Taoist Philosophy, and 3) to compare epistemology in Theravada Buddhist Philosophy and epistemology in Taoist Philosophy. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The result of the research found that: 1. Epistemology in Theravada Buddhist Philosophy means listening-based knowledge through consideration and reflection to understanding. It is a knowledge that can be reasoned through careful reflection or realization without credulity, and it can be proven and implemented for the ultimate goal or totally liberation from desire. 2. Epistemology in the Taoist philosophy means knowledge relevant to the natural path, knowledge without the composition of human desire, and knowledge transcendent all human thoughts and actions. Taoist philosophy accepts knowledge of absolute truth by not violating the natural path. It is the knowledge to change or to control the world, but to be unity with the nature. 3. The comparison of epistemology in Theravada Buddhist philosophy and epistemology in Taoist philosophy can be concluded that Theravada Buddhist philosophy accepts knowledge that can liberate suffering in Samsara, or liberation from all defilements through practice until attaining the realization. The Taoist philosophy accepts the knowledge that can unite with nature by the practice consistent with the natural way without any actions violating to the natural way.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
The objectives of this thesis were; 1) to study development of life quality, 2) to study the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze development of life quality with Atthacariya principles in Theravada Buddhist philosophy. The data of this documentary qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks, documents and research works concerned. The results of the study found that: 1) The development of life quality is physical, mental and social development because the quality of life starts from self-development and struggle for everything by oneself. Social development is to make oneself honor, recognize, be a part of society and respect. The thinking development is to obtain a wish to learn and understand things, to have creative thinking and to find ways for problem solution in order to have ability in life development and push themselves to a desirable goal. 2) The principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy explains behaviors and ways of living that reveal goodness and benefits for others. Atthacariya is a decoration of life and it helps raise the life higher through action, speech and clothing. Although some people may not have wealth and property, but they have their internal goodness and ideal. So, they can be called the real wealthy. They emphasize learning themselves and others, and become the givers. Giving creates unity and reconciliation in living together. This is the process for self-refining, self-learning and creating wisdom. 3) The development of life quality with the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy is beneficial to oneself and others. It is also beneficial to religion, tradition, custom, values and beliefs. The four principles of Atthacariya consist of; (1) Saddhasampada, to accomplish with the right faith, (2) Silasampada, to accomplish with good behaviors, (3) Cagasampada, to accomplish with charity and sacrifice, and (4) Pannasampada, to accomplish with wisdom. The aim of these principles is to encourage human beings live in sublime life and live together happily and peacefully. The life quality must be developed physically and mentally in order to achieve the success in education, occupation, family and living a life in society.
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
The objectives of this research were; 1) to study human resource development by Bunniyom or Puññist system or meritorious system of Asoka community, 2) to study human resource development according to Buddhism, 3) to integrate the Buddhist principles in human resource development with bunniyom system of Asoka Community, and 4) to propose approaches and knowledge body on "The Model of Human Resource Development by Bunniyom system of Asoka Community in Buddhist Integrated Approach". The data of this documentary qualitative research were collected from in-depth interviews with 10 experts and from focus group discussion with 5 experts. The results of the study indicated as follows: 1.Human resource development by Bunniyom system of Asoka Community has 4 important components: 1) Meanings and essences of 19 meritorious items, 2) 11 definitions of bunniyom, 3) The theory of profit-loss of civilized people, and 4) The Noble Eightfold Path of Samana Bodhi Rak. 2.The Buddhist principles used in the human resource development process of the Asoka community are the Threefold Training principles (Precept, Concentration, and Wisdom) and the Buddhist principles supporting human resource development. They are the 10 items of meritorious action or Puññakiriyavatthu, 6 principles of Saraniyadhamma, and 7 principles of Aparihaniyadhamma. 3.Integration of Buddhist principles with the Bunniyom system of Asoka Community is a process of human resource development in both matter and abstract to achieve the success in the same direction. The good results occurring from the practice of Asoka people for defilement eradication are in 4 sides; Self-development for the freedom in the whole community, Community development for integrity across the community, Culture for having peace across the community, and Economics for creating fraternity across the community. 4.The new body of knowledge gained from the study is the model of human resource development by the Bunniyom system of Asoka Community in the Buddhist Integrated Approach called the "FIPF" Model. It means the four forms Bunniyom; freedom, integrity, peace, and fraternity.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครอง ๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำการปกครอง ผู้นำที่ดีต้องมีความตื่นตัว มีความสามารถในการตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง มีความสามารถในการจูงใจคน มีความรับผิดชอบและมีความฉลาดรอบรู้ทันโลกทันเหตุการณ์และมีความสามารถในการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีความสามารถในการตัดสินใจ มีเหตุผลฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาก้าวหน้ามีความยุติธรรม มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการคัดเลือกและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความสามัคคี มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริตใจ ๒) ภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา ควรเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางธรรม และทางโลก เพื่อสร้างศรัทธาที่ดีให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นสัญลักษณ์แบบอย่างที่ดีขององค์กร ผู้นำจึงควรเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรหรือสังคมที่ตนนำหรือปกครองอยู่ ธรรมจึงเป็นเครื่องเสริมสร้างคุณสมบัติของผู้นำให้มี วุฒิภาวะสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมขององค์กรให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายด้วยดี ด้วยเหตุนี้ผู้นำต้องเป็นผู้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนที่ต้องรับผิดชอบ และรู้จักวิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรดำเนินกิจกรรมขององค์กร หน่วยงานหรือสังคม ตลอดจนถึงประเทศชาติให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างมั่นคงต่อไป ๓) จากการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา สรุปได้ว่าผู้นำที่สมบูรณ์แบบในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ปวงชนหรือหมู่คณะ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีศักยภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถ และคุณภาพด้านจิตใจก็มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักปฏิบัติในการ ควบคุม และพัฒนาอารมณ์ให้มีความฉลาดทางอารมณ์มากยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับ นับถือ ศรัทธาของคนทั่วไป ตามกฎระเบียบแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสงบสุข ความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในยุคโลกาภิวัตน์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครอง ๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำการปกครอง ผู้นำที่ดีต้องมีความตื่นตัว มีความสามารถในการตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง มีความสามารถในการจูงใจคน มีความรับผิดชอบและมีความฉลาดรอบรู้ทันโลกทันเหตุการณ์และมีความสามารถในการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีความสามารถในการตัดสินใจ มีเหตุผลฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาก้าวหน้ามีความยุติธรรม มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการคัดเลือกและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความสามัคคี มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริตใจ ๒) ภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา ควรเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางธรรม และทางโลก เพื่อสร้างศรัทธาที่ดีให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นสัญลักษณ์แบบอย่างที่ดีขององค์กร ผู้นำจึงควรเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรหรือสังคมที่ตนนำหรือปกครองอยู่ ธรรมจึงเป็นเครื่องเสริมสร้างคุณสมบัติของผู้นำให้มี วุฒิภาวะสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมขององค์กรให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายด้วยดี ด้วยเหตุนี้ผู้นำต้องเป็นผู้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนที่ต้องรับผิดชอบ และรู้จักวิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรดำเนินกิจกรรมขององค์กร หน่วยงานหรือสังคม ตลอดจนถึงประเทศชาติให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างมั่นคงต่อไป ๓) จากการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา สรุปได้ว่าผู้นำที่สมบูรณ์แบบในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ปวงชนหรือหมู่คณะ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีศักยภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถ และคุณภาพด้านจิตใจก็มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักปฏิบัติในการ ควบคุม และพัฒนาอารมณ์ให้มีความฉลาดทางอารมณ์มากยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับ นับถือ ศรัทธาของคนทั่วไป ตามกฎระเบียบแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสงบสุข ความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในยุคโลกาภิวัตน์
The objectives of this research were as follows; 1) to study the government leadership, 2) to study the government leadership according to Buddhism, and 3) to analyze benefits and values of the desirable government leadership in globalization according to the Buddhist approach. This research was a qualitative research collecting the data from the Tipitaka and related documents. The results of the research were found that: 1) In the government leadership, a good leader must consist of alertness, quick and right decision, motivation, responsibility, up-to-date knowledge, problem solution, decision making ability, open-mind, support the subordinates, selection and development, unity building, hospitality, honesty, and sincerity. 2) The government leadership in Buddhism should consist of both monastic and secular knowledge in order to build trust to the subordinates and to be a good model of the organization. The leaders should understand Buddhist principles concerning the leaders and leadership for the application to their organizations or society appropriately. Dhamma is the tool to support and improve quality of leadership, which are the important factors in administration and management of organization to achievement. The leaders have to understand their role and duty, and at the same time, have to know how to motivate and convince the organization members to bring the organizations to sustainable prosperity and achievement. 3) The study analysis can be concluded that the leaders, who accomplish with virtues and ethics and work for the advantages of people and public without any hidden agenda, are qualified, potential, acceptable, and respectful. They can lead the organizations to the target progress and peacefulness in the globalization.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า : หลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ ละชั่ว ทำดี ทำให้ใจให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 คือ อดทนอดกลั้น ไม่เบียดเบียน สงบสันติ และนิพพาน วิธีการ 6 คือ ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมระวังในศีล รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในสถานที่อันสงบ และชำระจิตให้มีคุณภาพ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 นี้ เป็นสาระสำคัญอันยิ่งยวดของหลักการเผยแผ่พุทธศาสนา เพราะเป็นหลักการที่ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นท่าทีอันเป็นรูปแบบของการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท หลักการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ใช้หลักกถาวัตถุ 10 คือ เป็นผู้มักน้อย มีปกติสันโดษ ชอบสถานที่สงัดวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้ง 10 นี้ เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระปุณณมันตานีบุตรที่สอนศิษย์ในสำนัก 500 รูป เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ศิษย์ในสำนึกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยหลักการสอนอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างไรก็สอนอย่างนั้น เป็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้และความประพฤติที่เรียกว่า วิชชาจรณสัมปันโน รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณะมันตานีบุตรเถระ คือ เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถภาพ สารัตถภาพ นิรุตติภาพ ปฏิภาณภาพ ด้วยวิธีการอธิบายให้เห็นชัดเจน จูงใจให้เห็นจริง ชวนให้ยอมรับและปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้าอุตสาหะ ชโลมใจให้แช่มชื่นไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง ด้วยรูปแบบ การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) ด้วยการถามตอบปัญหา (ธัมมฉากัจฉา) ด้วยการอบรมสั่งสอน (โอวาท) ด้วยการกล่าวคาถา (คาถา)
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า : หลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ ละชั่ว ทำดี ทำให้ใจให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 คือ อดทนอดกลั้น ไม่เบียดเบียน สงบสันติ และนิพพาน วิธีการ 6 คือ ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมระวังในศีล รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในสถานที่อันสงบ และชำระจิตให้มีคุณภาพ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 นี้ เป็นสาระสำคัญอันยิ่งยวดของหลักการเผยแผ่พุทธศาสนา เพราะเป็นหลักการที่ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นท่าทีอันเป็นรูปแบบของการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท หลักการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ใช้หลักกถาวัตถุ 10 คือ เป็นผู้มักน้อย มีปกติสันโดษ ชอบสถานที่สงัดวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้ง 10 นี้ เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระปุณณมันตานีบุตรที่สอนศิษย์ในสำนัก 500 รูป เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ศิษย์ในสำนึกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยหลักการสอนอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างไรก็สอนอย่างนั้น เป็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้และความประพฤติที่เรียกว่า วิชชาจรณสัมปันโน รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณะมันตานีบุตรเถระ คือ เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถภาพ สารัตถภาพ นิรุตติภาพ ปฏิภาณภาพ ด้วยวิธีการอธิบายให้เห็นชัดเจน จูงใจให้เห็นจริง ชวนให้ยอมรับและปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้าอุตสาหะ ชโลมใจให้แช่มชื่นไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง ด้วยรูปแบบ การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) ด้วยการถามตอบปัญหา (ธัมมฉากัจฉา) ด้วยการอบรมสั่งสอน (โอวาท) ด้วยการกล่าวคาถา (คาถา)
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the principles of Dharma propagation of Theravada Buddhism 2) to study the propagation of Dharma of Phra Punnamantaniputta Thera and 3) Study and analyze the propagation of the Dharma of Phra Punnamantaniputta Thera. The researcher collected and studied from Tripitaka, commentary, textbooks and related researches, and analyzed the contents by the Deductive form. The results of research were found that: Principles of Dharma propagation of Theravada Buddhism consisting of Principle 3 is Evil, Do Good, Make your heart shine. Ideology 4 is tolerance, tolerance, non-persecution, peace and nirvana Method 6 is not to say badly, not to hurt, to be careful in the precepts. Know about food consumption in a peaceful place and pay attention to quality. Principle 3, ideology 4, method 6, this is a great essence of Buddhism propagation principles because it is the principle that appears clearly in the Tripitaka, which is considered as a form of propagation of Theravada Buddhism. Principles of Dharma propagation of Phra Punnamantaniputta Use the principle of the 10 objects, which are usually small, normal, solitary, like being quiet, not being confused with the group. Foreword, perseverance, complete with canon, meditation, wit, liberation, liberation perception, Tuscany these 10 teachings and practices How to teach How to teach it. All 10 of these are the doctrines and practices of Phra Punnamantaniputta. Who teaches 500 disciple. Is a form of teaching that gives disciples in a strict sense of practice with the principle of teaching how to do that How to teach it Is the perfection of knowledge and behavior called The propagation of Dharma of Phra Punnamantaniputta is a master of wisdom. On the issue, In essence, In language, In wisdom With clear explanations Convince the truth Persuade to accept and practice Inspiring to be brave Feeling cheerful, not bored and full of hope. With a form of Dhamma (sermon) with questions and answers (Dhamma conversation) with training (obedience) with a spells (spells)
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาวิชาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาวิชาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา-มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา-มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัตสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549
ฉบับอัตสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
This thesis has the objectives as follows: 1) to study the principles of wrong view in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy, 3) to analyze the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy. The study is a documentary qualitative research. The results of the study indicated that: 1. The wrong view in Buddhism means to adhere with a wrong view or with ignorance that it is me, mine and myself. Furthermore, it is believed that giving is fruitless, worship is fruitless, sacrifice is fruitless, there are no results of action, there is no this world, there is next world, there is father, there is mother, there are no beings who were dead and born, there are no recluses and Brahmans who have a good practice, there are no recluses and Brahmans who obtained the realization with their wisdom and then revealed it to the others. 2. The wrong view individuals in Theravada Buddhists philosophy mean the individuals having their views different from or other than the righteousness and their views can deflect the attainment to the noblemanship. There are 4 types of the wrong view individuals depending their backgrounds and characteristics; 1) Individuals with self-mortification, 2) Individuals with self-indulgence, 3) Individuals with belief in eternalism, and 4) Individuals with belief in annihilation. 3. The wrong view individuals in Theravada Buddhist philosophy can be analyzed as follows: 1) The causes that make individuals have the wrong view are both internal and external. The internal causes consist of attachment at the Five Aggregates, attachment to internal sense, ignorance, contact, memory, worry and uncritical reflection. The external causes consist of external sense, accompany with false friends or Paratoghosa causing belief and consideration without critical reflection. 2) The results of being the wrong view individuals can cause the wrong practice from the principles of Buddhism to 2 extreme practices called “anta’; (1) Self-indulgence, and (2) Self-mortification. 3) The Buddhist principles that can withdraw the wrong view of each group are that; 1) Majjhimapatipada, Anattalakkhana Sutta, and Moneyapatipada are for the wrong view individuals with self-mortification, 2) Anupubbikatha, Asubhakammatthana, and Appamada Dhamma are for the wrong view individuals with self-indulgence, 3) The Three Common Characteristics, Anupandana, and Tacapanca Kammatthana are for the wrong view individuals with eternalism, and 4) Adittatapariyaya Sutta, Paticcasamuppada, and Yonosomanasokara are for the wrong view individuals with annihilation.