Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
The objectives of this thesis were; 1) to study development of life quality, 2) to study the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze development of life quality with Atthacariya principles in Theravada Buddhist philosophy. The data of this documentary qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks, documents and research works concerned. The results of the study found that: 1) The development of life quality is physical, mental and social development because the quality of life starts from self-development and struggle for everything by oneself. Social development is to make oneself honor, recognize, be a part of society and respect. The thinking development is to obtain a wish to learn and understand things, to have creative thinking and to find ways for problem solution in order to have ability in life development and push themselves to a desirable goal. 2) The principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy explains behaviors and ways of living that reveal goodness and benefits for others. Atthacariya is a decoration of life and it helps raise the life higher through action, speech and clothing. Although some people may not have wealth and property, but they have their internal goodness and ideal. So, they can be called the real wealthy. They emphasize learning themselves and others, and become the givers. Giving creates unity and reconciliation in living together. This is the process for self-refining, self-learning and creating wisdom. 3) The development of life quality with the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy is beneficial to oneself and others. It is also beneficial to religion, tradition, custom, values and beliefs. The four principles of Atthacariya consist of; (1) Saddhasampada, to accomplish with the right faith, (2) Silasampada, to accomplish with good behaviors, (3) Cagasampada, to accomplish with charity and sacrifice, and (4) Pannasampada, to accomplish with wisdom. The aim of these principles is to encourage human beings live in sublime life and live together happily and peacefully. The life quality must be developed physically and mentally in order to achieve the success in education, occupation, family and living a life in society.