Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
The objectives of this research were; 1) to study human resource development by Bunniyom or Puññist system or meritorious system of Asoka community, 2) to study human resource development according to Buddhism, 3) to integrate the Buddhist principles in human resource development with bunniyom system of Asoka Community, and 4) to propose approaches and knowledge body on "The Model of Human Resource Development by Bunniyom system of Asoka Community in Buddhist Integrated Approach". The data of this documentary qualitative research were collected from in-depth interviews with 10 experts and from focus group discussion with 5 experts. The results of the study indicated as follows: 1.Human resource development by Bunniyom system of Asoka Community has 4 important components: 1) Meanings and essences of 19 meritorious items, 2) 11 definitions of bunniyom, 3) The theory of profit-loss of civilized people, and 4) The Noble Eightfold Path of Samana Bodhi Rak. 2.The Buddhist principles used in the human resource development process of the Asoka community are the Threefold Training principles (Precept, Concentration, and Wisdom) and the Buddhist principles supporting human resource development. They are the 10 items of meritorious action or Puññakiriyavatthu, 6 principles of Saraniyadhamma, and 7 principles of Aparihaniyadhamma. 3.Integration of Buddhist principles with the Bunniyom system of Asoka Community is a process of human resource development in both matter and abstract to achieve the success in the same direction. The good results occurring from the practice of Asoka people for defilement eradication are in 4 sides; Self-development for the freedom in the whole community, Community development for integrity across the community, Culture for having peace across the community, and Economics for creating fraternity across the community. 4.The new body of knowledge gained from the study is the model of human resource development by the Bunniyom system of Asoka Community in the Buddhist Integrated Approach called the "FIPF" Model. It means the four forms Bunniyom; freedom, integrity, peace, and fraternity.