Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence, 2) to study Gharâvâsadhamma in Buddhism, 3. to integrate activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence with Gharâvâsadhamma, and 4) to propose guidance and knowledge about " a model of a proceeding activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence integrated with Gharâvâsadhamma.” The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 63 samples that had undergone rehabilitation follow up the treatment for 3 months after discharge. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and comparing differences used Independent t-test. The qualitative data were obtained by in-depth interviews with 15 alcoholic dependence patients, who had undergone rehabilitation with 3-month follow-up treatments after discharge and not being addicted, and with 13 key informants in multidisciplinary teams at the rehabilitation by unstructured interviews. The data were analyzed by inductive analysis. The results of the research were follows 1. the implementation of rehabilitation activities for alcoholic dependence patients has a variety of forms and Buddhist principles are applied to the rehabilitation, 2. Gharâvâsadhamma in Buddhism is for lay-people to live together, and 3. the implement of rehabilitation activities integrated with Gharâvâsadhamma for patients with alcohol dependence indicated that the non-addicted sample group had a score of overall practice of Gharâvâsadhamma significantly higher than the relapse alcohol sample at the level of 0.05. This result revealed that non- relapse patients could follow Gharâvâsadhamma and have behavioral change positively. To follow Gharâvâsadhamma for self-care and non-relapse was based on intention, commitment, and tolerance to alcohol withdrawal symptoms. To escape from a bad feeling, the patients must depend on conscious thinking, reasonable consideration, self-control and family support. The rehabilitation activities for alcoholic dependence patients integrated with the Gharâvâsadhamma could be concluded into “SCB-SA-SC-SD Model”. The activities of rehabilitation for alcoholic dependence patients must be supported by society, family, staff, and fellow patients. All that could help change the patients’ cognition and behaviors into a positive way and assist them to have self-awareness or mindfulness and concentration, self-control or precepts and self-development or wisdom, and to help them quit drinking alcohol in a longer time.