Search results

89 results in 0.3s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปรัชญาปฏิรูปนิยม 2. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3. เพื่อเปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปรัชญาปฏิรูปนิยม สรุปว่า ปรัชญาปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการแนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมีปรัชญาว่า ปฏิรูปสังคม เพื่อชีวิตที่ชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของตนเองดีขึ้น 2. ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกระบวนการให้และการรับความรู้ ประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติการสร้างจิตสำนึก สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีปรัชญาว่า ชีวิตที่สุขเกษมดีงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่สมดุล ในสังคมที่สันติสุข 3. เปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปได้ดังนี้ 1) เปรียบเทียบหลักสูตรโดยทั้งสองปรัชญามุ่งเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางในด้านสังคม 2) เปรียบเทียบการบริหารการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาครูเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน 3) เปรียบเทียบบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารเป็นสำคัญ 4) เปรียบเทียบการจัดการสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นให้สถาบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 5) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสอนที่สอดคล้องกับสังคม 6) เปรียบเทียบทรัพยากรทางการศึกษา ปรัชญาทั้งสองลัทธิมุ่งเน้นทรัพยากรในการบริหารและทรัพยากรการศึกษาเป็นหลักสำคัญ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปรัชญาปฏิรูปนิยม 2. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3. เพื่อเปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปรัชญาปฏิรูปนิยม สรุปว่า ปรัชญาปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการแนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมีปรัชญาว่า ปฏิรูปสังคม เพื่อชีวิตที่ชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของตนเองดีขึ้น 2. ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกระบวนการให้และการรับความรู้ ประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติการสร้างจิตสำนึก สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีปรัชญาว่า ชีวิตที่สุขเกษมดีงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่สมดุล ในสังคมที่สันติสุข 3. เปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปได้ดังนี้ 1) เปรียบเทียบหลักสูตรโดยทั้งสองปรัชญามุ่งเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางในด้านสังคม 2) เปรียบเทียบการบริหารการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาครูเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน 3) เปรียบเทียบบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารเป็นสำคัญ 4) เปรียบเทียบการจัดการสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นให้สถาบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 5) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสอนที่สอดคล้องกับสังคม 6) เปรียบเทียบทรัพยากรทางการศึกษา ปรัชญาทั้งสองลัทธิมุ่งเน้นทรัพยากรในการบริหารและทรัพยากรการศึกษาเป็นหลักสำคัญ
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study Reconstructionism, 2) to study education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto), and 3) to compare Reconstructionism and education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto). The data of this documentary qualitative study were collected from the primary and secondary sources concerned. The results of the study found that: 1) The Reconstructionism is originated from the combination of pragmatism and progressivism by placing a focus on education for society. Its slogan is social reform for intellectual life and better environment. 2) The education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto) is the process of giving and receiving experiences, attitude adjustment and building awareness in order to live a life in society appropriately. Its slogan is a good and happy life in balanced nature in a peaceful society. 3) It can be concluded from the comparison as follows: (1) In curriculum, both concepts place a focus on a specific excellence in society, (2) In educational administration, both concepts aim to develop teachers for problem solving in communities, (3) In educational personnel, education administrators are specially emphasized, (4) In educational institution management, both concepts accept educational institutes are the learning sources of communities, (5) In teaching and learning process and technology, student-centered learning and learning relevant to social contexts are focused, and (6) In educational resources, both philosophies emphasize administrative resources as well as educational resources.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1. กระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง วิธีการที่ทำให้พระพุทธสาวิกาบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบไปด้วย ลักษณะของการบรรลุธรรม คือลักษณะอาการที่จิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี 2 ลักษณะ คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เหตุแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ประการคือ 1)การฟังธรรม 2)การแสดงธรรม 3)การสาธยายธรรม 4)การพิจารณาธรรม 5)การภาวนา หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ได้ แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 องค์ประกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบด้วยบุคคลผู้ที่จะบรรลุธรรมจะต้องไม่เป็นอภัพบุคคล 6 ประเภท เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถแนะนำได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม คือ หลักสังโยชน์ หลักอริยสัจ 4 และหลักอายตนะ 12 วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม มี 3 วิธี คือวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า และ สมถะที่มีวิปัสสนาควบคู่กันไป ระดับของการบรรลุธรรมแบ่งออกเป็นระดับมรรค ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติมรรค 2) สกทาคามีมรรค 3) อนาคามิมรรค 4) อรหัตตมรรค ระดับผลแบ่ง ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติผล 2) สกทาคามีผล 3) อนาคามิผล 4) อรหัตตผล ประเภทของพระอรหันต์ 4 ประเภทคือ 1)สุกขวิปัสสโก 2)เตวิชโช 3)ฉฬภิญโญ 4)ปฏิสัมภิทัปปัตโต และผลของการบรรลุธรรม คือคุณวิเศษที่บรรลุ มี วิชชา 3 อภิญญา 6 2. กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาทนี้ได้นำเรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านมาศึกษาเป็นรายบุคคลมีจำนวน 8 ท่านคือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระภัททากัจจานาเถรี พระรูปนันทาเถรี พระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระเขมาเถรี และพระอัฑฒกาสีเถรี ทำให้ทราบว่ากระบวนการบรรลุธรรมของแต่ละท่านแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริต สถานะภาพ บุญบารมีที่สร้างสมมา และเรื่องราวชีวิตของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน 3.
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1. กระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง วิธีการที่ทำให้พระพุทธสาวิกาบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบไปด้วย ลักษณะของการบรรลุธรรม คือลักษณะอาการที่จิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี 2 ลักษณะ คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เหตุแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ประการคือ 1)การฟังธรรม 2)การแสดงธรรม 3)การสาธยายธรรม 4)การพิจารณาธรรม 5)การภาวนา หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ได้ แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 องค์ประกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบด้วยบุคคลผู้ที่จะบรรลุธรรมจะต้องไม่เป็นอภัพบุคคล 6 ประเภท เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถแนะนำได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม คือ หลักสังโยชน์ หลักอริยสัจ 4 และหลักอายตนะ 12 วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม มี 3 วิธี คือวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า และ สมถะที่มีวิปัสสนาควบคู่กันไป ระดับของการบรรลุธรรมแบ่งออกเป็นระดับมรรค ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติมรรค 2) สกทาคามีมรรค 3) อนาคามิมรรค 4) อรหัตตมรรค ระดับผลแบ่ง ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติผล 2) สกทาคามีผล 3) อนาคามิผล 4) อรหัตตผล ประเภทของพระอรหันต์ 4 ประเภทคือ 1)สุกขวิปัสสโก 2)เตวิชโช 3)ฉฬภิญโญ 4)ปฏิสัมภิทัปปัตโต และผลของการบรรลุธรรม คือคุณวิเศษที่บรรลุ มี วิชชา 3 อภิญญา 6 2. กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาทนี้ได้นำเรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านมาศึกษาเป็นรายบุคคลมีจำนวน 8 ท่านคือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระภัททากัจจานาเถรี พระรูปนันทาเถรี พระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระเขมาเถรี และพระอัฑฒกาสีเถรี ทำให้ทราบว่ากระบวนการบรรลุธรรมของแต่ละท่านแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริต สถานะภาพ บุญบารมีที่สร้างสมมา และเรื่องราวชีวิตของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน 3.
วิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้นำกระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาทั้ง 8 ท่านมาศึกษาวิเคราะห์เป็นรายบุคคล พบว่า ถึงแม้ว่ากระบวนการบรรลุธรรมของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านจะแตกต่างกันก็ตาม แต่กระบวนการบรรลุธรรมของทุกท่านก็เป็นไปตามกระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท มีความเหมือนและแตกต่างกันในบางประเด็นคือ ลักษณะของการบรรลุธรรม และ ระดับของการบรรลุธรรม มีความเหมือนกัน คือ บรรลุเจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ และ ความเป็นพระอรหัตตผลประเภท ปฏิสัมภิทัปปัตโต ส่วนที่แตกต่างกันคือ เหตุแห่งการบรรลุธรรม หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม และผลของการบรรลุธรรม ประโยชน์และคุณค่าของกระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท นอกจากความรู้จากการศึกษาถึงกระบวนการบรรลุธรรมที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติและแนะนำแก่ผู้สนใจเพื่อการดับทุกข์พ้นทุกข์แล้ว ยังสามารถนำคุณค่าด้านคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความซื่อสัตย์ ความมีสติมีปฏิภาณ และความเสมอภาค
The objectives of this thesis were:1) to study the wisdom attainment process in Theravāda Buddhist Philosophy, 2) to study the wisdom attainment process of female disciples in Theravāda Buddhist Philosophy, and 3) to analyze the wisdom attainment process of female disciples in Theravāda Buddhist Philosophy. The data of this qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, and the related documents. The results of study were shown as follows: 1. The wisdom attainment process in Theravada Buddhist Philosophy means a method for female disciples attaining the Arahantship. The wisdom attainment process is the liberation of mind from defilements. There are 2 types; deliverance of mind and liberation through wisdom. There are 5 causes for attaining Dhamma: 1) Listening to Dhamma, 2) Teaching Dhamma, 3) Reciting Dhamma, 4) Reflecting Dhamma, and 5) Meditating. The Principles that leads to the attainment of Dhamma are known as The Thirty-seven Qualities Contributing to Enlightenment consisting of The Four Foundations of Mindfulness, The Four Great Efforts, The Four Paths of Accomplishment, The Five Faculties, The Five Powers, The Seven Factors of Enlightenment, and The Nobel Eightfold Path. The elements and procedures related to the attainment process consist of the person who will attain Dhamma must not be 6 types of wrong individuals and they must be wise enough to be taught. The Principles that promote the attainment of the Dhamma are The Ten Fetters, the Four Noble Truths and The Twelve Spheres. There are 3 methods of attaining Dhamma, namely Vipassana meditation led by Samatha meditation, Samatha meditation led by Vipassana meditation, and Samatha meditation in parallel with Vipassana meditation. The level of attainment of the Dhamma can be divided into 4 levels of Paths; 1) The Path of Stream Entrance, 2) The Path of Once Returning, 3) The Path of Never Returning and 4) The Path of Arahatship. The Fruition levels can be divided into 4 levels; 1) The Fruit of Stream Entry, 2) The Fruit of Once Returning, 3) The Fruit of Never Returning, and 4) The Fruit of the Worthy One. There are four types of the Worthy Ones; 1) Bare-insight worker, 2) One with the Threefold Knowledge, 3) One with the Sixfold Super-knowledge knowledge, and 4) One having attained the Analytic Insights. 2. The wisdom attainment process of 8 female disciples; Pajapatigotami, Bhaddhagaccana, Rupananda, Kisagotami, Patacara, Upalavanna, Khema, and Atthakasi, was different depending one each one’s characteristic behavior, status, perfection, and life background. 3. From analyzing of the process of attaining Dhamma of the 8 female disciples, although the process of wisdom attaining of each female disciple was different but it was in accordance with the process of wisdom attaining in Theravada Buddhist Philosophy. There were similarities in characteristics of the wisdom attainment process and the level of wisdom. They all attained deliverance of mind and liberation through wisdom. The dissimilarities were the causes of wisdom attainment, the Dhamma principles leading to the wisdom attainment, the Dhamma principles supporting the wisdom attainment, the practices for wisdom attainment, and the results of wisdom attainment. The benefits and values of the wisdom attainment process of female disciples in Theravada Buddhist philosophy were the knowledge in the process of attaining Dhamma that the practitioners can put into practice and advise those who were interested to follow to reduce and eradicate suffering. The principles of humility, honest, consciousness and equality can be applied in living a life.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า 3) เพื่อเปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า ได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเเละเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ความรู้ที่อาศัยการฟัง การคิดพิจารณา จนตกผลึกเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความรู้ที่สามารถหาเหตุผลได้โดยผ่านการไตร่ตรองหรือวิเคราะห์ มาอย่างดี เป็นความรู้ที่ชัดเจน เเจ่มเเจ้ง ไม่งมงาย โดยสามารถนำไปลงมือพิสูจน์ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง 2. ญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า ความรู้ที่สอดคล้องตามวิถีทางธรรมชาติ เป็นความรู้ ที่ปราศจากการปรุงเเต่งจากตัณหาของมนุษย์ เป็นความรู้ที่อยู่เหนือความคิดเเละการกระทำทั้งปวง ของมนุษย์ ปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ระดับปรมัตถสัจจะด้วยการไม่กระทำสิ่งที่ขัดเเย้งต่อวิถีทางธรรมชาติ ไม่ใช่ความรู้ที่พยายามจะเปลี่ยนเเปลงโลก ควบคุมธรรมชาติ เเต่เป็นความรู้เพื่อความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ 3. เปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า พุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับความรู้ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ หลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยการลงมือภาวนาจนเกิดปัญญารู้เเจ้ง ส่วนปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ที่สามารถทำให้เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ คือการปฏิบัติตามหลักการที่สอดคล้องต่อวิถีธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำที่ไม่เอื้อต่อวิถีธรรมชาติ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า 3) เพื่อเปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า ได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเเละเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ความรู้ที่อาศัยการฟัง การคิดพิจารณา จนตกผลึกเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความรู้ที่สามารถหาเหตุผลได้โดยผ่านการไตร่ตรองหรือวิเคราะห์ มาอย่างดี เป็นความรู้ที่ชัดเจน เเจ่มเเจ้ง ไม่งมงาย โดยสามารถนำไปลงมือพิสูจน์ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง 2. ญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า ความรู้ที่สอดคล้องตามวิถีทางธรรมชาติ เป็นความรู้ ที่ปราศจากการปรุงเเต่งจากตัณหาของมนุษย์ เป็นความรู้ที่อยู่เหนือความคิดเเละการกระทำทั้งปวง ของมนุษย์ ปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ระดับปรมัตถสัจจะด้วยการไม่กระทำสิ่งที่ขัดเเย้งต่อวิถีทางธรรมชาติ ไม่ใช่ความรู้ที่พยายามจะเปลี่ยนเเปลงโลก ควบคุมธรรมชาติ เเต่เป็นความรู้เพื่อความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ 3. เปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า พุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับความรู้ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ หลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยการลงมือภาวนาจนเกิดปัญญารู้เเจ้ง ส่วนปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ที่สามารถทำให้เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ คือการปฏิบัติตามหลักการที่สอดคล้องต่อวิถีธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำที่ไม่เอื้อต่อวิถีธรรมชาติ
The objectives of this thesis are; 1) to study epistemology in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study epistemology in Taoist Philosophy, and 3) to compare epistemology in Theravada Buddhist Philosophy and epistemology in Taoist Philosophy. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The result of the research found that: 1. Epistemology in Theravada Buddhist Philosophy means listening-based knowledge through consideration and reflection to understanding. It is a knowledge that can be reasoned through careful reflection or realization without credulity, and it can be proven and implemented for the ultimate goal or totally liberation from desire. 2. Epistemology in the Taoist philosophy means knowledge relevant to the natural path, knowledge without the composition of human desire, and knowledge transcendent all human thoughts and actions. Taoist philosophy accepts knowledge of absolute truth by not violating the natural path. It is the knowledge to change or to control the world, but to be unity with the nature. 3. The comparison of epistemology in Theravada Buddhist philosophy and epistemology in Taoist philosophy can be concluded that Theravada Buddhist philosophy accepts knowledge that can liberate suffering in Samsara, or liberation from all defilements through practice until attaining the realization. The Taoist philosophy accepts the knowledge that can unite with nature by the practice consistent with the natural way without any actions violating to the natural way.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
The objectives of this thesis were; 1) to study development of life quality, 2) to study the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze development of life quality with Atthacariya principles in Theravada Buddhist philosophy. The data of this documentary qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks, documents and research works concerned. The results of the study found that: 1) The development of life quality is physical, mental and social development because the quality of life starts from self-development and struggle for everything by oneself. Social development is to make oneself honor, recognize, be a part of society and respect. The thinking development is to obtain a wish to learn and understand things, to have creative thinking and to find ways for problem solution in order to have ability in life development and push themselves to a desirable goal. 2) The principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy explains behaviors and ways of living that reveal goodness and benefits for others. Atthacariya is a decoration of life and it helps raise the life higher through action, speech and clothing. Although some people may not have wealth and property, but they have their internal goodness and ideal. So, they can be called the real wealthy. They emphasize learning themselves and others, and become the givers. Giving creates unity and reconciliation in living together. This is the process for self-refining, self-learning and creating wisdom. 3) The development of life quality with the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy is beneficial to oneself and others. It is also beneficial to religion, tradition, custom, values and beliefs. The four principles of Atthacariya consist of; (1) Saddhasampada, to accomplish with the right faith, (2) Silasampada, to accomplish with good behaviors, (3) Cagasampada, to accomplish with charity and sacrifice, and (4) Pannasampada, to accomplish with wisdom. The aim of these principles is to encourage human beings live in sublime life and live together happily and peacefully. The life quality must be developed physically and mentally in order to achieve the success in education, occupation, family and living a life in society.
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
The objectives of this research were; 1) to study human resource development by Bunniyom or Puññist system or meritorious system of Asoka community, 2) to study human resource development according to Buddhism, 3) to integrate the Buddhist principles in human resource development with bunniyom system of Asoka Community, and 4) to propose approaches and knowledge body on "The Model of Human Resource Development by Bunniyom system of Asoka Community in Buddhist Integrated Approach". The data of this documentary qualitative research were collected from in-depth interviews with 10 experts and from focus group discussion with 5 experts. The results of the study indicated as follows: 1.Human resource development by Bunniyom system of Asoka Community has 4 important components: 1) Meanings and essences of 19 meritorious items, 2) 11 definitions of bunniyom, 3) The theory of profit-loss of civilized people, and 4) The Noble Eightfold Path of Samana Bodhi Rak. 2.The Buddhist principles used in the human resource development process of the Asoka community are the Threefold Training principles (Precept, Concentration, and Wisdom) and the Buddhist principles supporting human resource development. They are the 10 items of meritorious action or Puññakiriyavatthu, 6 principles of Saraniyadhamma, and 7 principles of Aparihaniyadhamma. 3.Integration of Buddhist principles with the Bunniyom system of Asoka Community is a process of human resource development in both matter and abstract to achieve the success in the same direction. The good results occurring from the practice of Asoka people for defilement eradication are in 4 sides; Self-development for the freedom in the whole community, Community development for integrity across the community, Culture for having peace across the community, and Economics for creating fraternity across the community. 4.The new body of knowledge gained from the study is the model of human resource development by the Bunniyom system of Asoka Community in the Buddhist Integrated Approach called the "FIPF" Model. It means the four forms Bunniyom; freedom, integrity, peace, and fraternity.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครอง ๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำการปกครอง ผู้นำที่ดีต้องมีความตื่นตัว มีความสามารถในการตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง มีความสามารถในการจูงใจคน มีความรับผิดชอบและมีความฉลาดรอบรู้ทันโลกทันเหตุการณ์และมีความสามารถในการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีความสามารถในการตัดสินใจ มีเหตุผลฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาก้าวหน้ามีความยุติธรรม มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการคัดเลือกและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความสามัคคี มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริตใจ ๒) ภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา ควรเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางธรรม และทางโลก เพื่อสร้างศรัทธาที่ดีให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นสัญลักษณ์แบบอย่างที่ดีขององค์กร ผู้นำจึงควรเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรหรือสังคมที่ตนนำหรือปกครองอยู่ ธรรมจึงเป็นเครื่องเสริมสร้างคุณสมบัติของผู้นำให้มี วุฒิภาวะสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมขององค์กรให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายด้วยดี ด้วยเหตุนี้ผู้นำต้องเป็นผู้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนที่ต้องรับผิดชอบ และรู้จักวิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรดำเนินกิจกรรมขององค์กร หน่วยงานหรือสังคม ตลอดจนถึงประเทศชาติให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างมั่นคงต่อไป ๓) จากการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา สรุปได้ว่าผู้นำที่สมบูรณ์แบบในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ปวงชนหรือหมู่คณะ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีศักยภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถ และคุณภาพด้านจิตใจก็มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักปฏิบัติในการ ควบคุม และพัฒนาอารมณ์ให้มีความฉลาดทางอารมณ์มากยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับ นับถือ ศรัทธาของคนทั่วไป ตามกฎระเบียบแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสงบสุข ความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในยุคโลกาภิวัตน์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครอง ๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำการปกครอง ผู้นำที่ดีต้องมีความตื่นตัว มีความสามารถในการตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง มีความสามารถในการจูงใจคน มีความรับผิดชอบและมีความฉลาดรอบรู้ทันโลกทันเหตุการณ์และมีความสามารถในการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีความสามารถในการตัดสินใจ มีเหตุผลฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาก้าวหน้ามีความยุติธรรม มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการคัดเลือกและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความสามัคคี มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริตใจ ๒) ภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา ควรเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางธรรม และทางโลก เพื่อสร้างศรัทธาที่ดีให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นสัญลักษณ์แบบอย่างที่ดีขององค์กร ผู้นำจึงควรเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรหรือสังคมที่ตนนำหรือปกครองอยู่ ธรรมจึงเป็นเครื่องเสริมสร้างคุณสมบัติของผู้นำให้มี วุฒิภาวะสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมขององค์กรให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายด้วยดี ด้วยเหตุนี้ผู้นำต้องเป็นผู้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนที่ต้องรับผิดชอบ และรู้จักวิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรดำเนินกิจกรรมขององค์กร หน่วยงานหรือสังคม ตลอดจนถึงประเทศชาติให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างมั่นคงต่อไป ๓) จากการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา สรุปได้ว่าผู้นำที่สมบูรณ์แบบในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ปวงชนหรือหมู่คณะ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีศักยภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถ และคุณภาพด้านจิตใจก็มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักปฏิบัติในการ ควบคุม และพัฒนาอารมณ์ให้มีความฉลาดทางอารมณ์มากยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับ นับถือ ศรัทธาของคนทั่วไป ตามกฎระเบียบแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสงบสุข ความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในยุคโลกาภิวัตน์
The objectives of this research were as follows; 1) to study the government leadership, 2) to study the government leadership according to Buddhism, and 3) to analyze benefits and values of the desirable government leadership in globalization according to the Buddhist approach. This research was a qualitative research collecting the data from the Tipitaka and related documents. The results of the research were found that: 1) In the government leadership, a good leader must consist of alertness, quick and right decision, motivation, responsibility, up-to-date knowledge, problem solution, decision making ability, open-mind, support the subordinates, selection and development, unity building, hospitality, honesty, and sincerity. 2) The government leadership in Buddhism should consist of both monastic and secular knowledge in order to build trust to the subordinates and to be a good model of the organization. The leaders should understand Buddhist principles concerning the leaders and leadership for the application to their organizations or society appropriately. Dhamma is the tool to support and improve quality of leadership, which are the important factors in administration and management of organization to achievement. The leaders have to understand their role and duty, and at the same time, have to know how to motivate and convince the organization members to bring the organizations to sustainable prosperity and achievement. 3) The study analysis can be concluded that the leaders, who accomplish with virtues and ethics and work for the advantages of people and public without any hidden agenda, are qualified, potential, acceptable, and respectful. They can lead the organizations to the target progress and peacefulness in the globalization.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
This thesis has the objectives as follows: 1) to study the principles of wrong view in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy, 3) to analyze the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy. The study is a documentary qualitative research. The results of the study indicated that: 1. The wrong view in Buddhism means to adhere with a wrong view or with ignorance that it is me, mine and myself. Furthermore, it is believed that giving is fruitless, worship is fruitless, sacrifice is fruitless, there are no results of action, there is no this world, there is next world, there is father, there is mother, there are no beings who were dead and born, there are no recluses and Brahmans who have a good practice, there are no recluses and Brahmans who obtained the realization with their wisdom and then revealed it to the others. 2. The wrong view individuals in Theravada Buddhists philosophy mean the individuals having their views different from or other than the righteousness and their views can deflect the attainment to the noblemanship. There are 4 types of the wrong view individuals depending their backgrounds and characteristics; 1) Individuals with self-mortification, 2) Individuals with self-indulgence, 3) Individuals with belief in eternalism, and 4) Individuals with belief in annihilation. 3. The wrong view individuals in Theravada Buddhist philosophy can be analyzed as follows: 1) The causes that make individuals have the wrong view are both internal and external. The internal causes consist of attachment at the Five Aggregates, attachment to internal sense, ignorance, contact, memory, worry and uncritical reflection. The external causes consist of external sense, accompany with false friends or Paratoghosa causing belief and consideration without critical reflection. 2) The results of being the wrong view individuals can cause the wrong practice from the principles of Buddhism to 2 extreme practices called “anta’; (1) Self-indulgence, and (2) Self-mortification. 3) The Buddhist principles that can withdraw the wrong view of each group are that; 1) Majjhimapatipada, Anattalakkhana Sutta, and Moneyapatipada are for the wrong view individuals with self-mortification, 2) Anupubbikatha, Asubhakammatthana, and Appamada Dhamma are for the wrong view individuals with self-indulgence, 3) The Three Common Characteristics, Anupandana, and Tacapanca Kammatthana are for the wrong view individuals with eternalism, and 4) Adittatapariyaya Sutta, Paticcasamuppada, and Yonosomanasokara are for the wrong view individuals with annihilation.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๓) เพื่อบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก” โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. การป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ สามารถแบ่งออกมาเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำ ๒) ด้านข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ๓) ด้านประชาชน และ ๔) ด้านพระสงฆ์หรือนักบวช ๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมในบทบาทหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านผู้นำ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านผู้นำประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ๒. ด้านข้าราชการ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านข้าราชการ ประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักอธิปไตย อคติ ๔ หลักทิศ ๖ คาราวะ ๖ มงคล ๓๘ หมวดที่ ๗ และ อปริหานิยธรรม ๗ และหลักธรรมาภิบาล ๖ ๓. ด้านประชาชน หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านประชาชน ประกอบด้วย เบญจศีล - เบญจธรรม หลักทิศ ๖ สมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม สังคหวัตถุ อิทธิบาท พหูสูต ๔. ด้านพระสงฆ์ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย จตุปาริสุทธิศีล ๔ กถาวัตถุ ๑๐ สมณสัญญา ๓ และหลักสันโดษ ๓. เมื่อนำเอาหลักพุทธธรรมไปบูรณาการกับบทบาทและการทำหน้าที่ของบุคคลในแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้านก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้รู้จักอบรมตน มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติดี และ มีคุณธรรมจริยธรรม ๔. องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE MODEL P = Personnel Quality หมายถึง การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม R = Responsibility Roles หมายถึง มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่อยู่ร่วมกับสังคม C = Cultivation Ethics หมายถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างค่านิยมที่ดี E = Effort exertion Development หมายถึง หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักปธาน ๔
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๓) เพื่อบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก” โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. การป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ สามารถแบ่งออกมาเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำ ๒) ด้านข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ๓) ด้านประชาชน และ ๔) ด้านพระสงฆ์หรือนักบวช ๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมในบทบาทหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านผู้นำ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านผู้นำประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ๒. ด้านข้าราชการ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านข้าราชการ ประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักอธิปไตย อคติ ๔ หลักทิศ ๖ คาราวะ ๖ มงคล ๓๘ หมวดที่ ๗ และ อปริหานิยธรรม ๗ และหลักธรรมาภิบาล ๖ ๓. ด้านประชาชน หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านประชาชน ประกอบด้วย เบญจศีล - เบญจธรรม หลักทิศ ๖ สมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม สังคหวัตถุ อิทธิบาท พหูสูต ๔. ด้านพระสงฆ์ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย จตุปาริสุทธิศีล ๔ กถาวัตถุ ๑๐ สมณสัญญา ๓ และหลักสันโดษ ๓. เมื่อนำเอาหลักพุทธธรรมไปบูรณาการกับบทบาทและการทำหน้าที่ของบุคคลในแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้านก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้รู้จักอบรมตน มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติดี และ มีคุณธรรมจริยธรรม ๔. องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE MODEL P = Personnel Quality หมายถึง การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม R = Responsibility Roles หมายถึง มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่อยู่ร่วมกับสังคม C = Cultivation Ethics หมายถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างค่านิยมที่ดี E = Effort exertion Development หมายถึง หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักปธาน ๔
The objective of this dissertation were : 1) to study the prevention of social deterioration as depicted in the Mahasupina Jatak, 2) to study the Dhamma principles for enhancement of effective prevention of social deterioration depicted in the Mahasupina Jatak, 3) to integrate the prevention of social deterioration depicted in the Mahasupina Jatak with the Buddhist principles, and 4) to propose guidelines and knowledge regarding “The model of integration of Buddhadhamma in protection of social deterioration as depicted in the Mahasupina Jataka”. The data of this documentary qualitative research were collected from the primary sources, secondary sources and in-depth interviews with 24 experts. The data were analyzed, synthesized and classified to cope with the objectives of the study. The results of the study were found that : 1. The protection of social deterioration in Mahasupina Jataka had 16 items divided into 4 groups ; 1) Leader, 2) state servants or workers, 3) People, and 4) monks or Recluses. 2. The Buddhist principles to support the prevention of social deterioration as depicted in Mahasupina Jataka were as follows : 2.1 The Buddhist principles supporting the leaders are Brahmavihara Dhamma, Dasaraja Dhamma, Cakkavatti Dhamma, and Sangahavatthu Dhamma. 2.2 The Buddhist principles supporting the state servants are Sappurisa Dhamma, Adhipateya, Agati, Disa, Garava, item 7 of Mangala, Apahaniya Dhamma, and Dhammabhipala. 2.3 The Buddhist principles supporting the people are the Five Precepts and the Five Virtues, Disa, Samajivita, Gharavasa Dhamma, Sangaha vatthu Dhamma, Iddhipada, and Bahusutta. 2.4 The Buddhist principles supporting the monks are Catuparisuddhisila, Kathavatthu, Samanasanna, and Santosa. 3. The integration of Buddhadhamma with the role and duty performance of individuals in each group can result to the desirable qualifications ; self-improvement, responsibility, good behaviors, and establishment on morality and ethics. 4. The body of knowledge obtained from the study can be concluded in PRCE Model. P = Personnel Quality, R = Responsibility Roles, C = Cultivation Ethics, and E = Effort Development.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสมณะในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์สมณภาวะในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาทวิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research)และการสัมภาษณ์ (Interview) โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ งานวิจัย แยกประเภทแล้วนำบทสัมภาษณ์มาจัดรวมลงในบทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น เป็นการออกไปจากตระกูลไม่ใช้ชีวิตแบบชาวโลก ต้องหมั่นทำจิตใจให้ออกจากกามกิเลสทั้งหลาย ด้วยการงดเว้นจากสิ่งที่เป็นโทษต่อกุศล การบวชมีอยู่ 3 ประเภท คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา, ติสรณคมนูปสัมปทา และญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการบวช ก็คือการพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน สมณภาวะในพระพุทธศาสนาเถรวาทหมายถึง ผู้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันเป็นต้นไป เป็นผู้สงบ เป็นผู้ฝึกตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งมีกาย วาจา ใจ สงบแล้วจากบาป ดำรงตนอยู่บนเส้นทางแห่งพระนิพพาน สมณะเป็นคำเรียกนักบวชในลัทธิอื่นๆเช่นกัน คุณลักษณะของสมณภาวะ คือ สมณคุณ เป็นคุณธรรมของความเป็นสมณะ สมณวัตร เป็นหน้าที่หรือกิจที่พึงทำของสมณะ สมณวิสัย เป็นวิสัยของสมณะหรือลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ เป็นผู้ที่มีวิถีชีวิตและแนวทางของการปฏิบัติที่บ่งบอกถึงความเป็นสมณะ สมณสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสมณะอยู่ และสมณสารูป เป็นความประพฤติอันสมควรของสมณะ สมณภาวะในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามี 5 มิติ คือ 1) มิติทางสัญลักษณ์ 2) มิติของผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษ 3) มิติของผู้นำทางจิตวิญญาณ 4) มิติของนักพัฒนาสังคม และ 5) มิติของผู้นำสู่ความพ้นทุกข์ แม้บทบาทของพระภิกษุสงฆ์ผู้นับว่าเป็นผู้ที่มีสมณภาวะซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์แล้วยังได้ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาไปด้วย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสมณะในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์สมณภาวะในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาทวิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research)และการสัมภาษณ์ (Interview) โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ งานวิจัย แยกประเภทแล้วนำบทสัมภาษณ์มาจัดรวมลงในบทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น เป็นการออกไปจากตระกูลไม่ใช้ชีวิตแบบชาวโลก ต้องหมั่นทำจิตใจให้ออกจากกามกิเลสทั้งหลาย ด้วยการงดเว้นจากสิ่งที่เป็นโทษต่อกุศล การบวชมีอยู่ 3 ประเภท คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา, ติสรณคมนูปสัมปทา และญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการบวช ก็คือการพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน สมณภาวะในพระพุทธศาสนาเถรวาทหมายถึง ผู้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันเป็นต้นไป เป็นผู้สงบ เป็นผู้ฝึกตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งมีกาย วาจา ใจ สงบแล้วจากบาป ดำรงตนอยู่บนเส้นทางแห่งพระนิพพาน สมณะเป็นคำเรียกนักบวชในลัทธิอื่นๆเช่นกัน คุณลักษณะของสมณภาวะ คือ สมณคุณ เป็นคุณธรรมของความเป็นสมณะ สมณวัตร เป็นหน้าที่หรือกิจที่พึงทำของสมณะ สมณวิสัย เป็นวิสัยของสมณะหรือลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ เป็นผู้ที่มีวิถีชีวิตและแนวทางของการปฏิบัติที่บ่งบอกถึงความเป็นสมณะ สมณสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสมณะอยู่ และสมณสารูป เป็นความประพฤติอันสมควรของสมณะ สมณภาวะในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามี 5 มิติ คือ 1) มิติทางสัญลักษณ์ 2) มิติของผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษ 3) มิติของผู้นำทางจิตวิญญาณ 4) มิติของนักพัฒนาสังคม และ 5) มิติของผู้นำสู่ความพ้นทุกข์ แม้บทบาทของพระภิกษุสงฆ์ผู้นับว่าเป็นผู้ที่มีสมณภาวะซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์แล้วยังได้ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาไปด้วย
The objectives of this research were: 1) to study the ordination in Theravāda Buddhism, 2) to study monks in the Theravāda Buddhism, and 3) to analyze the monkhood in Theravāda Buddhism. The data of this qualitative were collected from the Tipitaka, concerned documents and in-depth interviews. The data were analyzed, synthesized and classified into chapters. The results of the research showed that: Ordination in Theravāda Buddhism means renouncing from family and not living in the way of the worldly life. The ordained ones must control their mind from all defilements by abstaining from things and activities that are harmful to the wholesome. There are 3 types of ordination; Ehibhikkhu Upasampada (permitted directly by the Lord Buddha), Tisaranagamanupasampada (To accept the Triple Gems as a refuge) and Ñatticatutthakamma (permitted by the Sangha motion). The ultimate goal of ordination is to enter to Nirvana. In Theravāda Buddhism, monkhood or recluse-hood means those who are the stream enterers onwards. They are calm and peaceful from sins, trained themselves by precepts, concentration, wisdom, and live their lives on the path to Nirvana. The word ‘monk’ is also used in other religions. The characteristics of monks are Samanaguna or virtues and practices necessary to monks, Samanavisaya or vision and the way of life of monks, Samanasañña or recognition and indication of themselves as monks, and Samanasarupa or behaviors and conducts suitable to monks. From the analysis of the monkhood in Theravāda Buddhism, there are 5 dimensions; 1) Symbolism, 2) Unusual Virtue Holding, 3) Spiritual Leadership, 4) Social Development Leadership, and 5) Leadership in overcome the suffering. However, even the ultimate role of monks is to eradicate suffering for themselves, but they also carry on the duty to prolong the Buddha's teachings.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียน จำนวน 121 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 460 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จากการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2561) ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่าน โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ วิชาภาษาไทยวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ ตามลำดับ 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.607 (R = 0.607) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ร้อยละ 36.8 (R^2= 0.368) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียน จำนวน 121 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 460 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จากการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2561) ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่าน โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ วิชาภาษาไทยวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ ตามลำดับ 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.607 (R = 0.607) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ร้อยละ 36.8 (R^2= 0.368) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
The objectives of this research were: 1) to study academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2, 2) to study learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2, and 3) to study academic affairs administration of administrators affecting the learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2. The data were collected from 460 informants from 92 schools out of 121 schools by using questionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple regressions. The results of the study were found that: 1) The academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 was at a high level overall. In ranging order, the highest level was on learning innovation and technology development, followed by internal quality assurance assessment, evaluation, measurement and transfer of credits, curriculum development, learning process development, education supervision, and educational quality development research respectively. 2) The learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 from National Institute of Educational Testing Service (2561) was at a passed level in total. The highest average level was on Thai language, followed by Science, English and Mathematics respectively. 3) The academic affairs administration of administrators affecting the learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 was at a statistic significant level at 0.01. The most significant level was on educational quality development research and learning process development with a statistic figure at 0.01 and multiple correlation coefficient at 0.607 (R = 0.607) which can explain the variance of academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 at 36.8% (R^2= 0.368). It can be written in predicting equations as follows: The predicting equation of raw score (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) The predicting equation of standard score (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
หนังสือ

    การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) ศึกษามาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive Research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน รวมทั้งหมด 366 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านมนุษย์ ด้านความคิดรวบยอด ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความรู้ความคิด และด้านเทคนิค ตามลำดับ 2.มาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการบริหาร และการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล และด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ 3.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 คือ ด้านเทคนิค ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความคิดรวบยอด และด้านมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 72.20 (R2 = 0.722) สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปของสมการทำนายได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ = 0.869 + 0.282(TB) + 0.248(TC) + 0.173(TE) + 0.124(TD) (R2 = 0.722) สมการคะแนนมาตรฐาน =0.306 (ZTB) + 0.290(ZTC) + 0.212(ZTE) + 0.138 (ZTD) (R2 = 0.722) สำหรับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความรู้ความคิด (TA) ไม่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา เพราะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติจึงไม่ถูกคัดเลือกเข้าสมการ
การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) ศึกษามาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive Research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน รวมทั้งหมด 366 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านมนุษย์ ด้านความคิดรวบยอด ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความรู้ความคิด และด้านเทคนิค ตามลำดับ 2.มาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการบริหาร และการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล และด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ 3.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 คือ ด้านเทคนิค ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความคิดรวบยอด และด้านมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 72.20 (R2 = 0.722) สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปของสมการทำนายได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ = 0.869 + 0.282(TB) + 0.248(TC) + 0.173(TE) + 0.124(TD) (R2 = 0.722) สมการคะแนนมาตรฐาน =0.306 (ZTB) + 0.290(ZTC) + 0.212(ZTE) + 0.138 (ZTD) (R2 = 0.722) สำหรับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความรู้ความคิด (TA) ไม่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา เพราะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติจึงไม่ถูกคัดเลือกเข้าสมการ
The objectives of the research were; 1) to study school administrators’ administrative skills under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2, 2) study the educational standards in schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2ม and 3) to study school administrators’ administrative skills affecting the educational standards in schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2. The data of this predictive research were collected from 368 samples consisting of School Director or Deputy School Director Academic heads and teachers under the Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2. The questionnaires used in data collecting consisted of the administrative skills of school administrators with a confidence value at 0.97 and the standard of education within the school with a confidence value at 0.98. The statistic instruments used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis by using the package software. The results of the study found that: 1.The level of administrative skills of school administrators under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2 in 5 aspects was high overall. When considering the average in each aspect, it was also at a high level. When arranging by order, the highest was on Human Skills, followed by Conceptual Skills, Education and teaching Skills, Knowledge, and Technical Skills respectively. 2.The level of educational standards within the schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2 in 4 aspects was high totally and in aspect. When considering the average in each aspect, the highest level was on Administrative Process and Management, followed by Student-centered Teaching and Learning Process, Internal Quality Assurance Systems, and Learners’ Quality respectively. 3.The administrative skills of school administrators affecting the educational standards within the schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2 were technical skills, educational and teaching skills. Conceptual skills, and the human skills with statistical significance at the level of .01, a prediction coefficient or a predictive power of 72.20 percent (R2 = 0.722). The relationships can be written in the form of predictions as follows: Raw score equation = 0.869 + 0.282(TB) + 0.248(TC) + 0.173(TE) + 0.124(TD) (R2 = 0.722) Standard score equation =0.306 (ZTB) + 0.290(ZTC) + 0.212(ZTE) + 0.138 (ZTD) (R2 = 0.722) Among administrative skills of school administrators, Knowledge (TA) does not affect the educational standards within the school. Since it does not have statistical significance, it has not been selected into the equation.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการสอนธรรมศึกษา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่ารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ โดยค้นคว้าวิจัยจากเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างรายงานวิจัยเชิงพรรณนาที่เป็นข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การสอนธรรมศึกษา เป็นการสอนในรูปแบบบูรณาการกับหลักสูตรของโรงเรียน โดยพระสงฆ์สอนพระพุทธศาสนา โดยแบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ธรรมศึกษาตรี ธรรมศึกษาโท และธรรมศึกษาเอก 2) รูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี มีการเรียนการสอนธรรมศึกษา มีพระสอนศีลธรรม สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และจัดการเรียนการสอน 2 ลักษณะ คือ แบบบรรยาย และแบบให้ลงมือปฏิบัติ 3) ผลวิเคราะห์คุณค่ารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีคุณค่าด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ธรรมศึกษาของนักเรียน มีคุณค่าด้านการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านศีลธรรมแก่นักเรียน และมีคุณค่าด้านการเรียนรู้ศีลธรรมด้วยตนเอง องค์ความรู้จากการวิจัย จึงได้รูปแบบ C-P-M-S MODEL
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการสอนธรรมศึกษา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่ารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ โดยค้นคว้าวิจัยจากเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างรายงานวิจัยเชิงพรรณนาที่เป็นข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การสอนธรรมศึกษา เป็นการสอนในรูปแบบบูรณาการกับหลักสูตรของโรงเรียน โดยพระสงฆ์สอนพระพุทธศาสนา โดยแบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ธรรมศึกษาตรี ธรรมศึกษาโท และธรรมศึกษาเอก 2) รูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี มีการเรียนการสอนธรรมศึกษา มีพระสอนศีลธรรม สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และจัดการเรียนการสอน 2 ลักษณะ คือ แบบบรรยาย และแบบให้ลงมือปฏิบัติ 3) ผลวิเคราะห์คุณค่ารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีคุณค่าด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ธรรมศึกษาของนักเรียน มีคุณค่าด้านการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านศีลธรรมแก่นักเรียน และมีคุณค่าด้านการเรียนรู้ศีลธรรมด้วยตนเอง องค์ความรู้จากการวิจัย จึงได้รูปแบบ C-P-M-S MODEL
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study the Dharma Studies Teaching, 2) to study the Dharma Studies Teaching in Kongkaram School, Phetchaburi Province, and 3) to analyze the value of the Model of Dharma Studies Teaching in Kongkaram School, Phetchaburi Province. The thesis was the documentary qualitative research works focused on documentaries, studies mainly on the Tipitaka, relating documentaries and relevant researches together with the interviews of the related persons. All of the data, collected during December 2019 – February 2020, were then analyzed by content analysis and analytic induction, classified into system, concluded and presented in descriptive analysis. The results of research were found as follows: 1) The Dharma Studies Teaching was an integrated teaching model with the regular school syllabus of the Buddhism monk teaching developing from the Dharma course by dividing the class into 3 levels including Basic Dharma Studies, Medium Dharma Studies and Advance Dharma Studies learning the four subjects as follows; (1) essay and editing the Dharma, (2) Dharma course, (3) Buddhist history (including disciples’ history and ordinances) and (4) Dharma discipline. 2) The Model of Dharma Studies Teaching in Kongkaram School, Phetchaburi Province had Dharma education in 3 levels in the separation from Buddhism learning by the monk teachers helping to teach Dharma Studies in the school for not less than 11 hours per week and organizing with 2 types of teaching and learning activities including the Dharma lecture and the pupil meditation real practice. 3) The analytical results of the value for the Model of Dharma Studies Teaching in Kongkaram School, Phetchaburi Province were found as follows; (1) The value aspect for increasing the efficiency of the pupil Dharma Studies learning, (2) The value aspect for the creation of moral immunity for the pupils, (3) The value aspect for the moral self learning by inducing the Buddhist Dharma principles to the pupil way of life. Therefore the knowledge from researches on the model of Dharma Studies in Kongkaram School, Phetchaburi province was shown as the C-P-M-S MODEL.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างความสำเร็จในชีวิต 2) เพื่อศึกษาการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสำเร็จในชีวิต หมายถึง การได้สิ่งที่ต้องการตามที่ตั้งไว้แล้วเกิดความสุขโดยใช้วิธีการ คือ การสร้างความสำเร็จตามหลักพุทธธรรม ตามกฎธรรมชาติ และหลักและแนวทางในการสร้างความสำเร็จ เช่น การค้นหาความเป็นตัวของตัวเองและอย่าจมอยู่กับความทุกข์ในอดีต 2. หลักอธิษฐานธรรม หมายถึง หลักธรรมที่ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1) ปัญญาธิษฐาน 2) สัจจาธิษฐาน 3) จาคาธิษฐาน และ 4) อุปสมาธิษฐาน โดยใช้วิธีการตามหลักจักรธรรม 4 คือ 1) ปฏิรูปเทสวาสะ 2) สัปปุริสูปสังเสวะ 3) อัตตสัมมาปณิธิ และ 4) ปุพเพกตปุญญตา 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม พบว่า 1) มีคุณค่าในด้านการพัฒนามนุษย์ คือ จะทำให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ความคิด และเรียนรู้จนทำให้เข้าใจในเหตุและผล 2) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาสังคม คือ ทำให้มีความสัมพันธ์และมีความสามัคคีกับผู้อื่น ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และ 3) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาจิตใจ คือ ทำให้มีจิตใจแน่วแน่ เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็จะทำจนกว่าจะประสบผลสำเร็จ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างความสำเร็จในชีวิต 2) เพื่อศึกษาการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสำเร็จในชีวิต หมายถึง การได้สิ่งที่ต้องการตามที่ตั้งไว้แล้วเกิดความสุขโดยใช้วิธีการ คือ การสร้างความสำเร็จตามหลักพุทธธรรม ตามกฎธรรมชาติ และหลักและแนวทางในการสร้างความสำเร็จ เช่น การค้นหาความเป็นตัวของตัวเองและอย่าจมอยู่กับความทุกข์ในอดีต 2. หลักอธิษฐานธรรม หมายถึง หลักธรรมที่ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1) ปัญญาธิษฐาน 2) สัจจาธิษฐาน 3) จาคาธิษฐาน และ 4) อุปสมาธิษฐาน โดยใช้วิธีการตามหลักจักรธรรม 4 คือ 1) ปฏิรูปเทสวาสะ 2) สัปปุริสูปสังเสวะ 3) อัตตสัมมาปณิธิ และ 4) ปุพเพกตปุญญตา 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม พบว่า 1) มีคุณค่าในด้านการพัฒนามนุษย์ คือ จะทำให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ความคิด และเรียนรู้จนทำให้เข้าใจในเหตุและผล 2) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาสังคม คือ ทำให้มีความสัมพันธ์และมีความสามัคคีกับผู้อื่น ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และ 3) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาจิตใจ คือ ทำให้มีจิตใจแน่วแน่ เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็จะทำจนกว่าจะประสบผลสำเร็จ
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the creating of the success in life, 2) to study the creating of the success in life according to Adhitthānadhamma Principle and 3) to analyze the value for the creating of the success in life according to Adhitthānadhamma Principle. This research was a qualitative study, focused on the documentary studies, mainly in the Tipitaka, the relating research documentaries and the Buddhist scholars’ works. All the data were classified into the system, concluded and presented in the descriptive analysis. The results of the research were found as follows:- 1. The success in life means getting the wanted and intended things achieving happiness by means of the creation of the success according to the Buddha Dharma Principle, the natural law principle, and the principles and guidelines for creating the success such as searching for the own personality and not immersing oneself in the past suffering. 2. The Adhitthānadhamma Principle means the Dharma Principle creating the success in life with consist of 4 reasons as follows 1) Panyatisathan (wisdom intention), 2) Sajjatisathan (truth intention), 3) Jakatisathan (sacrifice intention) and 4) Ubasamatisathan (non defilement intention) with the application method of Chakra Dharma (prosperity virtues) 4 as follows; 1) Patiroop Devasawada (suitable environment), 2) Sapapurasu Sangsewa (good people association), 3) Atta Sammapanithi (right way direction), and 4) Puppekata Punyata (good background deeds). 3. The analytical results of the value for the creation of the success in life according to Adhitthānadhamma Principle were included as follows; (1) Human development aspect regarding to be knowledgeable people with creative thinking ability and cause-effect understanding, (2) Social development aspect including the relationship and unity with others for the social happiness, (3) Mind development aspect concerning a resolute mind for doing the intended things until success.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์จัดระบบเป็นหมวดหมู่ แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักการพัฒนาชุมชนมีแนวคิด ปรัชญา หลักการและวิธีการที่ชัดเจน แต่แนวทางและรายละเอียดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โอกาส ข้อเท็จจริง และปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละชุมชนเป็นหลัก ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาคนให้มีความสุขและเพื่อก่อให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้ 2. กระบวนการการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล ได้รับความร่วมมือจาก บ้าน วัด รัฐ (โรงเรียน) ในการดำเนินการความร่วมมือ มีการประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชน หาวิธีร่วมกัน เปิดกว้างทางความคิดในการเจรจาตกลง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี มีความคิดไปในทางเดียวกัน ผู้นำที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน มีการบริหารงานเพื่อส่วนรวม ร่วมกันรับผิดชอบและรับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยใช้หลักบวร หลักประชาธิปไตย หลักสาราณียธรรม 6 หลักอปริหานิยธรรม 7 และหลักสังคหวัตถุ 4 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล พบว่า มีคุณค่าด้านการสาธารณะสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีคุณค่าด้านการสร้างความสามัคคี คือ การร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันตัดสินใจ และมีคุณค่าด้านการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณี คือ การรักษาฟื้นฟู ภาษา ประเพณี และพิธีทางศาสนา
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์จัดระบบเป็นหมวดหมู่ แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักการพัฒนาชุมชนมีแนวคิด ปรัชญา หลักการและวิธีการที่ชัดเจน แต่แนวทางและรายละเอียดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โอกาส ข้อเท็จจริง และปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละชุมชนเป็นหลัก ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาคนให้มีความสุขและเพื่อก่อให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้ 2. กระบวนการการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล ได้รับความร่วมมือจาก บ้าน วัด รัฐ (โรงเรียน) ในการดำเนินการความร่วมมือ มีการประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชน หาวิธีร่วมกัน เปิดกว้างทางความคิดในการเจรจาตกลง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี มีความคิดไปในทางเดียวกัน ผู้นำที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน มีการบริหารงานเพื่อส่วนรวม ร่วมกันรับผิดชอบและรับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยใช้หลักบวร หลักประชาธิปไตย หลักสาราณียธรรม 6 หลักอปริหานิยธรรม 7 และหลักสังคหวัตถุ 4 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล พบว่า มีคุณค่าด้านการสาธารณะสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีคุณค่าด้านการสร้างความสามัคคี คือ การร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันตัดสินใจ และมีคุณค่าด้านการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณี คือ การรักษาฟื้นฟู ภาษา ประเพณี และพิธีทางศาสนา
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the principle of the community development 2) to study the creative process of the collaboration according to Boworn Principle for the Development of Wat Ban Rai Charoenpol Community and 3) to analyze the value of the creation of the collaboration according to Boworn Principle for the Development of Wat Ban Rai Charoenpol Community. This research was a qualitative study, focused on the documentary studies, mainly in the Tipitaka, the relating research documentaries and the Buddhist scholars’ works. All the data were classified into the system, concluded and presented in the descriptive analysis. The results of the research were found as follows:- 1. There was not the definite principle for the community development because of the detailed pathway of the operation for the community development would depend on mainly the situation, opportunity and specific data of the community not concerning with the principle or concept idea. The highest target of the community development is the development of the people happiness in order to creating the strong community with self-organization. 2. The creative process of the collaboration according to Boworn Principle for the Development of Wat Ban Rai Charoenpol Community have to be co-operated each other of all the sectors in the community including houses temples and schools in order to meeting for setting the target together, collecting the community member ideas for the best community operation by democracy method and open mind negotiation for the good relationship in the organization to build the principle idea in the same way as the community leader for creating the management objective for the society to share the benefit together with responsibility and be happy to accept all of the innovation for houses temples and schools. 3. The value of the creation of the collaboration according to Boworn Principle for the Development of Wat Ban Rai Charoenpol Community are as follows: (1) the value of the public welfare including financial support for buildings and education funds, (2) the value of the harmony creation concerning the meeting for the idea sharing between the community leader school leader and religion leader to solve all of the problems in the community, and (3) the value of the art and culture supports regarding the co-operation between houses temples and schools for the art and culture conservation especially for religious ceremony.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 3) ประเมินและรับรองรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาคเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methoods Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำนวน 368 คน เครื่องมือวิจัยใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค จากแนวคิดทฤษฎีและการสัมภาษณ์ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ 51 ตัวแปร มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยเรียงลำดับ 9 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 2) ผลการประเมินรูปแบบผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค-สแควร์ (X)2 หรือ (P≤ 0.05) เท่ากับ 0.562 ค่า GFI = 0.93, และค่า RMSEA = 0.034 ได้องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ จำแนกได้ดังนี้ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 3) ผลการประเมินและรับรองผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.68 – 4.77) และผ่านเกณฑ์ในการรับรองตามที่กำหนด และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 3) ประเมินและรับรองรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาคเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methoods Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำนวน 368 คน เครื่องมือวิจัยใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค จากแนวคิดทฤษฎีและการสัมภาษณ์ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ 51 ตัวแปร มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยเรียงลำดับ 9 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 2) ผลการประเมินรูปแบบผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค-สแควร์ (X)2 หรือ (P≤ 0.05) เท่ากับ 0.562 ค่า GFI = 0.93, และค่า RMSEA = 0.034 ได้องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ จำแนกได้ดังนี้ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 3) ผลการประเมินและรับรองผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.68 – 4.77) และผ่านเกณฑ์ในการรับรองตามที่กำหนด และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
This dissertation has the following objective; 1. to study the composition of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration, 2. to develop the model of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration, and 3. to evaluate and certify the charismatic leadership model of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration. The samples of this mixed method research were 368 personnel in schools under the Secondary Educational Service Area 29. The research tools were semi-stuctured interviews and questionnaires. The data were analyzed by percentage, frequency, standard deviation, statistics software packages and composition analysis. The research results were found that: 1. The charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration consists of 9 sketch components and 51 variables. The nine components are; 1) visionary, 2) decisive, 3) self-confidence, 4) performance oriented, 5) inspiration, 6) intellectual stimulating, 7) fair, 8) integrity, and 9) humane. 2. The development model of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration was relevant to the empirical data with Chi-square (X)2 or (P≤ 0.05) = 0.562, GFI = 0.93, and RMSEA = 0.034. That resulted to 9 main components; 1) visionary, 2) decisive, 3) self-confidence, 4) performance oriented, 5) inspiration, 6) intellectual stimulating, 7) fair, 8) integrity, and 9) humane. 3. The model of development of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration was evaluated and certified by 23 experts in Accuracy, Propriety, Feasibility, and Utility at the highest level overall (4.68-4.77). The evaluation result was above the certified criteria and the result of focus group discussions was also in the same direction.
หนังสือ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการปีการศึกษา 2561 จำนวน 438 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฎิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2561 และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ และ 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบ วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีมี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 5พฤติกรรมบ่งชี้ 3) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ องค์ประกอบการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ใช้เทคโนโลยีเป็นกิจวัตรประวัติ มี 2 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนางาน มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้องค์ประกอบการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) มีการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการส่งเสริมการสอนออนไลน์ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้และองค์ประกอบการบูรณาการเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1)มีความเชื่อในเทคโนโลยี มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี มี 4 พฤติกรรมบ่งชี้3) มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้และทุกองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือตํ่ากว่า 20% จำนวน 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ 2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมากพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 37.541 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 32 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.230 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.986 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.967 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ0.20 องค์ประกอบมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้ 3.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการปีการศึกษา 2561 จำนวน 438 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฎิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2561 และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ และ 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบ วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีมี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 5พฤติกรรมบ่งชี้ 3) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ องค์ประกอบการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ใช้เทคโนโลยีเป็นกิจวัตรประวัติ มี 2 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนางาน มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้องค์ประกอบการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) มีการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการส่งเสริมการสอนออนไลน์ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้และองค์ประกอบการบูรณาการเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1)มีความเชื่อในเทคโนโลยี มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี มี 4 พฤติกรรมบ่งชี้3) มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้และทุกองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือตํ่ากว่า 20% จำนวน 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ 2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมากพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 37.541 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 32 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.230 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.986 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.967 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ0.20 องค์ประกอบมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้ 3.
ตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้ทรงคุณที่มีประสบการณ์ผู้นำทางด้านการบริหารและผู้นำทางเทคโนโลยีเพื่อประเมินความคิดเห็นต่อองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครพบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ ทุกตัวบ่งชี้มีอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this study were to study the technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration, to test the harmoniousness of technology leadership structure model developed with empirical data of administrators in schools under Bangkok Metropolitan and to asses the appropriateness, accuracy, and feasibility of technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration. The data were collected in 2018 by questionnaires from 438 school administrators. The indicators were checked and certified by 17 experts. The data were analyzed by mean, standard deviation, distribution coefficient, and factor analysis through computerized statistics program The research results found that: 1.leadership Indicators Of Technological Executives In Schools Under The Bangkok Metropolitan Administration consist of 4 main components, 12 indicators and 55 behavioral indicators that can be classified as follows: Main component in technological vision has 3 indicators; 1) 6 behavioral indicators in creating technological vision, 2) 5 behavioral indicators in dissemination of information technology, and 3) 6 behavioral indicators in compliance with technological vision. There are 3 indicators in the use of information technology in administration;1) 2 behavioral indicators in a history routine, 2) 7 behavioral indicators in work development, and 3) 3 behavioral indicators in professional advancement. There are 3 indicators in promoting the use of technological in teaching and learning; 1) 3 behavioral indicators in encouragement of computer-assisted instruction, 2) 3 behavioral indicators in online teaching promotion, and 3) 6 behavioral indicators in promoting teaching and learning through social network online. There are 3 2.main indicators in integration of information technology; 1) 3 behavioral indicators in the trust in technology, 2) 4 behavioral indicators in information technology readiness, and 3) 7 behavioral indicators in computer literate. All the main components have average and distribution coefficients for selection in the structural relationship model of technological leadership indicator of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration are in accordance with the criteria set forth; an average value of or above 3.00 and a coefficient distribution is equal to or less than 20% of 55 behavioral indicators. 2. The model is consistent with empirical data, considering from the chi - square value (c 2) = 37.541, Free degrees (df) = 32, Statistical significance (P-value) = 0.230, the consistency index (GFI) = 0.986, a revised consistency index (AGFI) = 0.967, and parameter estimation error (RMSEA) = 0.20. The main component has a component weight greater than the threshold 0.50 in all components. The Sub-elements and the indicators have higher weight than 0.30. in every element and every indicator. 3. Assessment results of the appropriateness, possibility, accuracy and feasibility of technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration were at a highest level.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียน 59 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มย่อยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sample) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและครู รวมทั้งหมด 354 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์หาค่าความเที่ยง (Reliability) โดยภาพรวม เท่ากับ .981และรายด้าน เท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ตามหลักอิทธิบาท, ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลตามหลักอิทธิบาท, ด้านการสร้างแรงบันดาลใจตามหลักอิทธิบาทและด้านการกระตุ้นทางปัญญาตามหลักอิทธิบาท ตามลำดับ 2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร มีคะแนนค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ยกเว้น ด้านการมีแบบแผนทางความคิด อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากสูงสุดไปต่ำสุด คือด้านความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล, ด้านการสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม, ด้านการคิดเชิงระบบและด้านการมีแบบแผนทางความคิด ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 61.8 (R2 = .618) สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ y ̂ = .740+.460 (x4) + .217 (x3) + .148 (x2) (R2 = .618) สมการคะแนนมาตรฐาน Z ̂ Y = .454 (x4) +.231 (x3) + .156 (x2) (R2 = .618
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียน 59 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มย่อยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sample) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและครู รวมทั้งหมด 354 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์หาค่าความเที่ยง (Reliability) โดยภาพรวม เท่ากับ .981และรายด้าน เท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ตามหลักอิทธิบาท, ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลตามหลักอิทธิบาท, ด้านการสร้างแรงบันดาลใจตามหลักอิทธิบาทและด้านการกระตุ้นทางปัญญาตามหลักอิทธิบาท ตามลำดับ 2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร มีคะแนนค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ยกเว้น ด้านการมีแบบแผนทางความคิด อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากสูงสุดไปต่ำสุด คือด้านความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล, ด้านการสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม, ด้านการคิดเชิงระบบและด้านการมีแบบแผนทางความคิด ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 61.8 (R2 = .618) สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ y ̂ = .740+.460 (x4) + .217 (x3) + .148 (x2) (R2 = .618) สมการคะแนนมาตรฐาน Z ̂ Y = .454 (x4) +.231 (x3) + .156 (x2) (R2 = .618
The objectives of the study were: 1) to study transformational leadership according to Iddhipāda of school administrators of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration, 2) to study the learning organization of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration, and 3) to study transformational leadership according to Iddhipa ̅da of school administrators resulting to the learning organization of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration. The data were collected through questionnaires, administrators and teachers of South Krungthon Group Schools 354 samples in 59 schools by stratified and simple random sampling. The overall reliability was at .981 and at .977 in aspects. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The results of the study found that: 1. The average value of transformational leadership according to Iddhipa ̅da of school administrators of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration was at a highest level in total. In aspects, the highest level was on Idealized Influence, followed by Individualized Consideration, Inspiration Motivation, and Intellectual Stimulation respectively. 2. The average value of learning organization of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration was at a highest level in total and in aspects. The highest level was on Personal Mastery, followed by Building and Sharing Vision, Team Learning, Systematic Thinking, and Mental Model respectively. 3. Transformational Leadership according to Iddhipāda of school administrators resulting to the learning organization of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration with a significantly statistic figure at .01. The most significance was on Individualized Consideration, followed by Intellectual Stimulation, and Inspiration Motivation respectively. The predictive coefficient or the predictive power of being a learning organization was 61.8% (R2 = .618). It can be written in regression equation as follows; Raw Score Equation y ̂ = .740+.460 (x 4) + .217 (x3) + .148 (x2) (R2 = .618) Standard Equation Z ̂ Y = .454 (x 4) +.231 (x3) + .156(x2) (R2 = .618)
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 434 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่าระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.ระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ได้แก่ P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN และ LSR ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกค่า 4.ปัจจัยเบญจธรรมมีค่าอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่ออิทธิบาท เท่ากับ 0.98 และมีค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านอิทธิบาทไปยังภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและมยปัญญา เท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ปัจจัยอิทธิบาทมีค่าอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 434 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่าระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.ระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ได้แก่ P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN และ LSR ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกค่า 4.ปัจจัยเบญจธรรมมีค่าอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่ออิทธิบาท เท่ากับ 0.98 และมีค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านอิทธิบาทไปยังภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและมยปัญญา เท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ปัจจัยอิทธิบาทมีค่าอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่อมยปัญญาและภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธเท่ากับ 0.96 และ 0.81 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยมยปัญญาไม่มีค่าอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ ทั้งนี้ ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งสามตัวร่วมกันอธิบายภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ ได้ร้อยละ 0.96
The objectives of this research were: 1) to study and compare the level of moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University, 2) to study and compare the level of behaviors in factors influencing moral and ethical leadership based on Buddhism of the administrators in Mahamakut Buddhist University, 3) to examine the consistence of the developed structural equation model of moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University and the empirical data, and 4) to study the size of influence of casual factors affecting moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University. This research was used by the quantitative research method. The 434 samples used in the study were obtained by simple random sampling. The instrument used to collect data was the questionnaire with the rating scale of leadership and causal factors having reliability coefficient at 0.97 and 0.98 respectively. The statistics used for data analysis were descriptive and inferential statistic analyzing by SPSS and LISREL Programs. The research results found that: 1. The mean of moral and ethical leadership based on Buddhism was in a high level. The comparison classified by the statuses of key informants showed the indifferent level of moral and ethical leadership based on Buddhism. However, the key informants with equal or under 35 and over 46 years old reflected that administrators showed the different levels of behaviors with statistical significance at 0.05. 2. The levels of behaviors in factors influencing the moral and ethical leadership based on Buddhism were as follows; Pañca-dhamma factor (five ennobling virtues) Iddhipāda factor (path of accomplishment) and Mayapaññā factor (wisdom that has a way to arise) found a mean value at a high level. The comparison classified by the statuses of key informants showed the indifference with statistical significance. However, the key informants with equal or under 35 and over 46 years old reflected that the administrators showed the different levels of behaviors in Pañca-dhamma factor, InIddhipāda factors and Mayapaññā factors with statistical significance at 0.05. 3. The developed Structural Equation Model of Moral and Ethical Leadership Based on Buddhism was congruent with empirical data as specified criteria of fit indices as follows: P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN and LSR. 4. Pañca-dhamma factor showed the highest level of total influence on the moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.93 with statistical significance at 0.01. The Pañca-dhamma factor showed the direct influence on Iddhipāda at 0.98, and showed indirect influence via Iddhipāda to the moral and ethical leadership based on Buddhism and Mayapaññā at 0.83 and 0.94 respectively with statistical significance at 0.01. The second order, Iddhipāda factor showed the level of total influence on moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.85 with statistical significance at 0.01. The Iddhipāda factor showed the direct influence on Mayapaññā and moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.96 and 0.81 respectively with statistical significance at 0.01. As for Mayapaññā factor showed no influence on the moral and ethical leadership based on Buddhism. All of 3 causal factors jointly explained the moral and ethical leadership based on Buddhism for 96 %.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่ ๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่ ๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
The objectives of this dissertation were: 1) to study leadership of Buddhist missionary monks in Thailand, 2) to study Buddhadhamma reinforcing the leadership of Buddhist missionary monks , 3) to develop the leadership of Buddhist missionary monks with Buddhadhamma, and 4) to propose a model and knowledge in leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with Buddhadhamma. The data of this documentary research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 10 expert-monks. The data were analyzed, synthesized and presented in a descriptive method. The results of the study were found that: 1) The leadership of Buddhist missionary monks in Thailand is complied with Ovadapatimokkha or The Principal Teaching. That means the missionary monks have to dare not to do any evil, to do good, and to purify the mind. 2) The Buddhist principles for leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand are Sappurisa Dhamma, Kalyanamitta Dhamma, Brahmavihara Dhamma, and 8 qualifications, i.e. to be a good listener, to be a good speaker, to be learned, to have good memory, to be comprehensive, to be able to clarify, to be wise in leadership, and not to create quarrels and problems. 3) The leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with the Buddhist principles are that; (1) to integrate Kalyanamitta Dhamma in searching for knowledge sources and good companions, (2) to integrate Sappurasa Dhamma in building discipline in one’s own life development, work creation and performance, self-training, living a life based on causality and carefulness, and (3) to integrate Brahmavihara Dhamma in duty performance with proper attention. 4) The leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with Buddhadhamma can be concluded in LDMBW Model.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร กลุ่มข้อมูลที่นำใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2562 – มีนาคม 2563 และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 5 รูป/คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม เป็นศิลปะความสามารถในการชักจูงให้ผู้อื่นยินดีที่จะร่วมมือค้นหาหนทางบรรลุเป้าหมายด้วยความเต็มใจ ทฤษฎีภาวะผู้นำที่โดดเด่น คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถใช้พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาขององค์กรได้ 2. คุณสมบัติและคุณลักษณะของภาวะผู้นำในมหาโคปาลสูตร คือ การรู้จักศักยภาพของตนเอง เพียรละทัศนคติในทางที่ไม่ดีสำรวมระวังการคิดพูดทำ การรู้จักการเลือกคบผู้ที่มีความรู้ สามารถบูรณาการความรู้ให้กับบุคลากร ฉลาดเลือกที่จะเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเลือกสถานที่ประกอบอาชีพ รู้จักประมาณในการใช้สอยและให้ความเคารพผู้ที่มีประสบการณ์ วิธีการสร้างภาวะผู้นำ คือ จักร 4 ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ข้อที่ 2 และมงคลสูตร ข้อที่ 30 3. ผลวิเคราะห์คุณค่าการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร พบว่า ด้านการบริหาร คือ การทำให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารตนเองและผู้อื่น มีความฉลาดในการเลือกคบคน ด้านการป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้น คือ การตั้งตนไว้ชอบ ใช้ความคิดที่ถูกวิธีสามารถครองตนอยู่ในทางแห่งความเจริญ ด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับความดีกับผู้อื่น ทำให้เป็นผู้มีความกตัญญู รู้จักเคารพผู้อาวุโสและต่อบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางสังคม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร กลุ่มข้อมูลที่นำใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2562 – มีนาคม 2563 และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 5 รูป/คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม เป็นศิลปะความสามารถในการชักจูงให้ผู้อื่นยินดีที่จะร่วมมือค้นหาหนทางบรรลุเป้าหมายด้วยความเต็มใจ ทฤษฎีภาวะผู้นำที่โดดเด่น คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถใช้พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาขององค์กรได้ 2. คุณสมบัติและคุณลักษณะของภาวะผู้นำในมหาโคปาลสูตร คือ การรู้จักศักยภาพของตนเอง เพียรละทัศนคติในทางที่ไม่ดีสำรวมระวังการคิดพูดทำ การรู้จักการเลือกคบผู้ที่มีความรู้ สามารถบูรณาการความรู้ให้กับบุคลากร ฉลาดเลือกที่จะเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเลือกสถานที่ประกอบอาชีพ รู้จักประมาณในการใช้สอยและให้ความเคารพผู้ที่มีประสบการณ์ วิธีการสร้างภาวะผู้นำ คือ จักร 4 ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ข้อที่ 2 และมงคลสูตร ข้อที่ 30 3. ผลวิเคราะห์คุณค่าการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร พบว่า ด้านการบริหาร คือ การทำให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารตนเองและผู้อื่น มีความฉลาดในการเลือกคบคน ด้านการป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้น คือ การตั้งตนไว้ชอบ ใช้ความคิดที่ถูกวิธีสามารถครองตนอยู่ในทางแห่งความเจริญ ด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับความดีกับผู้อื่น ทำให้เป็นผู้มีความกตัญญู รู้จักเคารพผู้อาวุโสและต่อบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางสังคม
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the leadership 2) to study the method for creating the leadership according to Mahāgopālasutta and 3) to create the leadership according to Mahāgopālasutta. This research was a qualitative study, focused on the documentary studies, mainly in the Tipitaka, the relating research documentaries and the Buddhist scholars’ works together with the interview of 5 key informants related persons were included as a sample collecting between June 2019 and March 2020. All the data were classified into the system, concluded and presented in the descriptive analysis. The results of the research were found as follows:- 1. The leadership was the relationship between the leaders and the followers concerning their art capability to induce the others for the co-operation of searching for the path to achieve the desired target with willingness. The outstanding theory of leadership was the integrated leadership theory because of its using to develop or solve the complex problems of the organization. 2. The qualities and characteristics of leadership in Mahāgopālasutta was consisted of knowing one’s own potential, choosing to associate with the people, perseverance to eliminate the bad attitude, carefully thinking speaking and doing, having the ability to give knowledge knowing how to find the knowledgeable people, knowing how to integrate the knowledge for the personnel, ingenuity choosing to learn and implement, being smart to choose a workplace, estimating the usage and respecting for the experienced people. The method of creating leadership consists of 4 Chakras for the development of the second Right View and the 30th Mangalasutta. 3. The analytical results for creating the leadership according to Mahāgopālasutta were included as follows 1) Administrative aspect regarding become a person with the ability to the management of himself and others together with being intelligent to choose the people for the association, 2) Crisis prevention aspect Including right establishing oneself, using the right ideas to be able to control in a way of prosperity, 3) Social and cultural aspect concerning discussion and exchanging the knowledge about goodness with others, creating a gratitude person, respecting for the elders and the different types of people for the social relationspis.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ 2) เพื่อศึกษาการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาวิเคราะห์จัดระบบหมวดหมู่แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้มีเป้าหมาย โดยการฝึกฝนพัฒนา ให้มีความขยันหมั่นเพียร มีระเบียบวินัย อันจะเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียน และการงาน 2. การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี หมายถึง ความขยัน ความหมั่นเพียรพยายาม จะทำให้เยาวชนมีความตั้งใจทำจริง เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ มีความอดทนต่ออุปสรรคต่าง ๆ ทำให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมประกอบไปด้วย อิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย์ 5 บารมี 10 และ โพชฌงค์ 7 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี พบว่า 1) คุณค่าด้านการสร้างชาติ คือ การทำให้ประเทศชาติที่เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน 2) คุณค่าด้านการบรรลุเป้าหมายในชีวิต คือ การทำให้ชีวิตประสบกับความสำเร็จตามเป้าหมาย และ 3) คุณค่าด้านการเป็นต้นแบบแก่เยาวชนรุ่นต่อไป คือ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะเติบโตไปในโลกแห่งวิวัฒนาการและมีพุทธิปัญญาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ 2) เพื่อศึกษาการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาวิเคราะห์จัดระบบหมวดหมู่แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้มีเป้าหมาย โดยการฝึกฝนพัฒนา ให้มีความขยันหมั่นเพียร มีระเบียบวินัย อันจะเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียน และการงาน 2. การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี หมายถึง ความขยัน ความหมั่นเพียรพยายาม จะทำให้เยาวชนมีความตั้งใจทำจริง เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ มีความอดทนต่ออุปสรรคต่าง ๆ ทำให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมประกอบไปด้วย อิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย์ 5 บารมี 10 และ โพชฌงค์ 7 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี พบว่า 1) คุณค่าด้านการสร้างชาติ คือ การทำให้ประเทศชาติที่เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน 2) คุณค่าด้านการบรรลุเป้าหมายในชีวิต คือ การทำให้ชีวิตประสบกับความสำเร็จตามเป้าหมาย และ 3) คุณค่าด้านการเป็นต้นแบบแก่เยาวชนรุ่นต่อไป คือ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะเติบโตไปในโลกแห่งวิวัฒนาการและมีพุทธิปัญญาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน
The objectives of this thesis were as follows 1) to study the creation of the new generation youth, 2) to study the creation of the new generation youth according to the Viriyapāramī Practice, and 3) to analyze the value of the creation of the new generation youth according to the Viriyapāramī Practice. The thesis was the documentary qualitative research works focused on documentaries, studies mainly on the Tipitaka, relating documentaries and relevant researches together with the interviews of the related experts. All of the data were then analyzed by content analysis, classified into system, concluded and presented in descriptive analysis The results of research were found as follows: 1. The creation of a new youth was the development of the quality of life for the new generation of youth to have the goals by practicing to develop diligence and discipline to be the ladder of success in life for both in education and work. 2. The creation of a new generation of youth according to the principles of the Viriyapāramī Practice means the acts of diligence and perseverance to make the younger generation truly determined and appreciating the things that were done having patience with various obstacles to achieve the life goals following the promoted Dharma principles consisting of Iddhipada 4 (basis for success), Sammappadhana 4 (right exertions), Indriya 5 (controlling facility), Parami 10 (perfections) and Bojjhanga 7 (enlightenment factors). 3. The analytical results for the value of the creation of the new generation youth according to the Viriyapāramī Practice were as follows: 1) the value of creating a nation was to make the nation for sustainable progress, 2) The value of achieving life goals
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาเวสสันดรชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หลักจริยศาสตร์เป็นหลักจริยธรรมแห่งความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความดี ความชั่วความถูก ความผิด หรือเรื่องของความสมควรหรือไม่สมควรประพฤติ เป็นหลักที่ว่าด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิต และเกณฑ์มาตรฐานความดีและความชั่ว เป็นหลักในการดำเนินชีวิตรวมทั้งข้อปฏิบัติที่จะทำให้เราเจริญขึ้นมีความก้าวหน้าในชีวิตตามสมควร เพื่อให้ชีวิตของเรามีระเบียบ มีจิตใจสูง เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่เห็นด้วยปัญญาแล้วว่ามีประโยชน์ เป็นไปเพื่อความดีและความสุข 2) เวสสันดรชาดก เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา หรือเรียกว่า มหาชาติ มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ คือ 1) กัณฑ์ทศพร 2) กัณฑ์หิมพานต์ 3) กัณฑ์ทานกัณฑ์ 4) กัณฑ์วนประเวสน์ 5) กัณฑ์ชูชก 6) กัณฑ์จุลพน7) กัณฑ์มหาพน 8) กัณฑ์กุมาร 9) กัณฑ์มัทรี 10) กัณฑ์สักกบรรพ 11) กัณฑ์มหาราช 12) กัณฑ์ฉกษัตริย์ และ 13) กัณฑ์นครกัณฑ์ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติในทางจริยศาสตร์และคุณค่าแห่งความดี 3) หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ผู้วิจัยได้วิเคราะห์คุณค่าทาง จริยศาสตร์ 2 ด้าน คือคุณค่าด้านจิตใจและสังคม คุณค่าด้านจิตใจนั้นจะช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยาผู้กัน มีจิตใจที่เป็นกุศล เมื่อมีอารมณ์โลภ โกรธ หลง ก็สามารถระงับได้ และเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท คุณค่าด้านสังคม จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมมีความเป็นอยู่อย่างสันติสุข ทุกคนเข้าใจในหน้าที่ของตนเอง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น เมื่อใครทำผิดก็มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีเป็นที่ตั้ง สังคมมีความเข็มแข็ง ปัญหาทางครอบครัวลดน้อยลงและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาเวสสันดรชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หลักจริยศาสตร์เป็นหลักจริยธรรมแห่งความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความดี ความชั่วความถูก ความผิด หรือเรื่องของความสมควรหรือไม่สมควรประพฤติ เป็นหลักที่ว่าด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิต และเกณฑ์มาตรฐานความดีและความชั่ว เป็นหลักในการดำเนินชีวิตรวมทั้งข้อปฏิบัติที่จะทำให้เราเจริญขึ้นมีความก้าวหน้าในชีวิตตามสมควร เพื่อให้ชีวิตของเรามีระเบียบ มีจิตใจสูง เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่เห็นด้วยปัญญาแล้วว่ามีประโยชน์ เป็นไปเพื่อความดีและความสุข 2) เวสสันดรชาดก เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา หรือเรียกว่า มหาชาติ มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ คือ 1) กัณฑ์ทศพร 2) กัณฑ์หิมพานต์ 3) กัณฑ์ทานกัณฑ์ 4) กัณฑ์วนประเวสน์ 5) กัณฑ์ชูชก 6) กัณฑ์จุลพน7) กัณฑ์มหาพน 8) กัณฑ์กุมาร 9) กัณฑ์มัทรี 10) กัณฑ์สักกบรรพ 11) กัณฑ์มหาราช 12) กัณฑ์ฉกษัตริย์ และ 13) กัณฑ์นครกัณฑ์ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติในทางจริยศาสตร์และคุณค่าแห่งความดี 3) หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ผู้วิจัยได้วิเคราะห์คุณค่าทาง จริยศาสตร์ 2 ด้าน คือคุณค่าด้านจิตใจและสังคม คุณค่าด้านจิตใจนั้นจะช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยาผู้กัน มีจิตใจที่เป็นกุศล เมื่อมีอารมณ์โลภ โกรธ หลง ก็สามารถระงับได้ และเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท คุณค่าด้านสังคม จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมมีความเป็นอยู่อย่างสันติสุข ทุกคนเข้าใจในหน้าที่ของตนเอง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น เมื่อใครทำผิดก็มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีเป็นที่ตั้ง สังคมมีความเข็มแข็ง ปัญหาทางครอบครัวลดน้อยลงและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
The objectives of this thesis were; 1) to study the principles of ethics, 2)to study Vessantara Jataka, and 3) to analyze the ethics in Vessantara Jataka. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, and related documents and then analyzed and summarized into the findings. The results of the study were found that: 1) Ethics is the principle of human behavior in relation to goodness, badness, righteousness, wrongfulness, or appropriate or inappropriate behaviors. It is the principle of pursuing the value of life and the benchmark of goodness and badness. It is the principle of living a life, including practices that will allow us to grow, progress, to be orderly, and to raise the mental level in accordance with the rules of society that are perceived as useful for the sake of goodness and happiness. 2) Vessantara Jataka is a well-known Buddhist literature. It is sometimes referred to as Mahajati or the Great Birth Story. There are 13 volumes altogether: 1) Dasavara, 2) Himavanta, 3) Dana, 4) Vanapavesa, 5) Jujaka, 6) Julavana, 7) Mahavana, 8) Kumara, 9) Maddariya, 10) Sakkabap, 11) Maharaja, 12) Cha-kasattariya, and 13) Nagara. All of these volumes consist of ethical practices and values of goodness. 3) Principles of ethics found in the 13 volumes of Vessantara Jataka were classified into two aspects; spiritual value and social value. The spiritual value helps develop the mind to loving-kindness, generosity, meritorious mind, and non-jealousy. When greed, anger, or delusion occurs in their mind, one can understand and control it. In social value, it helps coexistence in society peacefully. Each individual understands their duty, without causing trouble to oneself and others. The society based on forgiveness and unity is strong, which results to the reduction of family problems. Living in the society like this is peaceful.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทย 2) เพื่อศึกษาศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1) ปรากฏการณ์ความศรัทธาหรือความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาของคนไทยมีรากฐานมาจาก เชื่อผี เชื่อบรรพบุรุษ เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ การผสมผสานความเชื่อโดยขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของศรัทธา ทำให้ความเชื่อต่อศาสนาเคลื่อนออกห่างจากหลักศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ส่งผลให้เกิดความงมงายเชื่อทุกอย่างที่พึ่งพาหาประโยชน์ได้ บางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของศรัทธา เพราะเป็นศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา 2) กระบวนการเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ เรียงโดยลำดับได้ดังนี้ (1) ระดับการเข้าสู่ศรัทธาในเบื้องต้นโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในเกสปุตตสูตร (2) ระดับการใช้เหตุผลโดยใช้หลักตรรกะชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในอริยสัจจ์ 4 และ (3) ระดับปัญญาโดยใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีปรากฏในศรัทธา 4 3) ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยจำแนกตามความเชื่อได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ศรัทธาในการรักษาโรค ศรัทธาในความสุข ศรัทธาในด้านความรัก และศรัทธาในเรื่องของกรรม สามารถนำมา ศึกษา วิเคราะห์ ตามหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ดังนี้ ด้านการรักษาโรคใช้หลักอริยสัจจ์ 4 ด้านความสุขใช้หลักสุขของคฤหัสถ์ สุขของบรรพชิต ด้านความรักใช้หลักสมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหารธรรม กรรมใช้หลักศรัทธา 4
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทย 2) เพื่อศึกษาศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1) ปรากฏการณ์ความศรัทธาหรือความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาของคนไทยมีรากฐานมาจาก เชื่อผี เชื่อบรรพบุรุษ เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ การผสมผสานความเชื่อโดยขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของศรัทธา ทำให้ความเชื่อต่อศาสนาเคลื่อนออกห่างจากหลักศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ส่งผลให้เกิดความงมงายเชื่อทุกอย่างที่พึ่งพาหาประโยชน์ได้ บางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของศรัทธา เพราะเป็นศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา 2) กระบวนการเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ เรียงโดยลำดับได้ดังนี้ (1) ระดับการเข้าสู่ศรัทธาในเบื้องต้นโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในเกสปุตตสูตร (2) ระดับการใช้เหตุผลโดยใช้หลักตรรกะชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในอริยสัจจ์ 4 และ (3) ระดับปัญญาโดยใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีปรากฏในศรัทธา 4 3) ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยจำแนกตามความเชื่อได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ศรัทธาในการรักษาโรค ศรัทธาในความสุข ศรัทธาในด้านความรัก และศรัทธาในเรื่องของกรรม สามารถนำมา ศึกษา วิเคราะห์ ตามหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ดังนี้ ด้านการรักษาโรคใช้หลักอริยสัจจ์ 4 ด้านความสุขใช้หลักสุขของคฤหัสถ์ สุขของบรรพชิต ด้านความรักใช้หลักสมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหารธรรม กรรมใช้หลักศรัทธา 4
The objectives of this thesis are: 1) to study the phenomena of faith of Thai people, 2) to study faith in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the phenomena of faith of Thais in accordance with Theravada Buddhist philosophy. It is a documentary qualitative study which the data from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The results of the study were shown as follows: 1) The faith phenomena or the faith in religion of Thai people were originated from the belief in ghosts, ancestors, sacred objects, deity, and occultism without the understanding of faith principles. Those beliefs weakened and moved far away from the faith principles in Theravada philosophy. That resulted to the blind faith and sometimes became the tool of faith without wisdom. 2) The process of faith in Buddhism could be divided into 3 levels as follows; (1) Fundamental faith based on Yonisomanasikara as specified in Kesaputta Sutta, (2) Reasoning faith based on logic principles as mentioned in the Four Noble Truths, and (3) Intellectual faith based on the principles of Threefold Training as appeared in the 4 principles of Saddha. 3) The faith phenomena of Thai people could be classified into 4 groups; the faith in disease healing and curing, the faith in happiness, the faith in love, and the faith in Kamma. When it was brought to study and analyze according to the principles of Theravada Buddhist philosophy, it could be concluded that; the faith in disease healing and curing was based on the principles of the Four Noble Truths, the faith in love based on the principles of house-life happiness and chaste life happiness, the faith in love based on Samajivita Dhamma, Gharavasa Dhamma, and brahmavihara Dhamma, and the faith in Kamma based on the 4 principles of Saddha.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร มีการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนำสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นการจัดการความทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นสภาพที่ทำให้ความทุกข์ทุเลาลง ความทุกข์จำแนกออกเป็นทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ แนวทางในการบรรเทาทุกข์มีทั้งการบรรเทาทุกข์ทั่วไป คือ การจัดการความทุกข์อย่างไม่ท้อถอยด้วยความไม่ประมาท มี 2 แบบ คือ การบรรเทาทุกข์ด้วยตนเอง และการบรรเทาทุกข์ด้วยผู้อื่น คือ การแก้ไขความทุกข์โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) หลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท คือ คำสอนและแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ คือ ความไม่รู้ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เข้าใจสรรพสิ่งตามสภาพที่เป็นจริง และคลายความยึดมั่นในรูปนาม เมื่อหาสาเหตุถึงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์พบ และรู้จักวิธีปฏิบัติอย่างรู้เท่าทัน จะทำให้ความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจบรรเทาลง 3) วิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า อายุสสธรรม เป็นหลักประพฤติที่ประกอบด้วยการมีสติปัญญาตลอดเวลาในทุกกิจกรรมของชีวิตช่วยให้อายุยืน มี 5 ประการ คือ 1.สัปปายการี 2.สัปปาเย มัตตัญญู 3.ปณิตโภชี 4.กาลจารี 5.พรหมจารี และมีหลักอริยสัจ 4 ที่ช่วยให้เข้าใจถึงทุกข์และสาเหตุซึ่งเกิดจากอวิชชาและมีแนวทางปฏิบัติสายกลางในการดำรงชีวิต หลักธรรมทั้ง 2 นี้ สอนให้แก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ เมื่อผู้สูงอายุนำสู่การปฏิบัติจะช่วยให้ความทุกข์บรรเทาลงได้จริงและมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณค่า
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร มีการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนำสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นการจัดการความทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นสภาพที่ทำให้ความทุกข์ทุเลาลง ความทุกข์จำแนกออกเป็นทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ แนวทางในการบรรเทาทุกข์มีทั้งการบรรเทาทุกข์ทั่วไป คือ การจัดการความทุกข์อย่างไม่ท้อถอยด้วยความไม่ประมาท มี 2 แบบ คือ การบรรเทาทุกข์ด้วยตนเอง และการบรรเทาทุกข์ด้วยผู้อื่น คือ การแก้ไขความทุกข์โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) หลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท คือ คำสอนและแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ คือ ความไม่รู้ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เข้าใจสรรพสิ่งตามสภาพที่เป็นจริง และคลายความยึดมั่นในรูปนาม เมื่อหาสาเหตุถึงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์พบ และรู้จักวิธีปฏิบัติอย่างรู้เท่าทัน จะทำให้ความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจบรรเทาลง 3) วิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า อายุสสธรรม เป็นหลักประพฤติที่ประกอบด้วยการมีสติปัญญาตลอดเวลาในทุกกิจกรรมของชีวิตช่วยให้อายุยืน มี 5 ประการ คือ 1.สัปปายการี 2.สัปปาเย มัตตัญญู 3.ปณิตโภชี 4.กาลจารี 5.พรหมจารี และมีหลักอริยสัจ 4 ที่ช่วยให้เข้าใจถึงทุกข์และสาเหตุซึ่งเกิดจากอวิชชาและมีแนวทางปฏิบัติสายกลางในการดำรงชีวิต หลักธรรมทั้ง 2 นี้ สอนให้แก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ เมื่อผู้สูงอายุนำสู่การปฏิบัติจะช่วยให้ความทุกข์บรรเทาลงได้จริงและมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณค่า
The objectives of this thesis are as follows; 1) to study the suffering mitigation of the elders, 2) to study the Dhamma principles for suffering mitigation in accordance with Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the suffering mitigation of the elders in accordance with Theravada Buddhist philosophy. This study is a documentary qualitative research. The data were collected, analyzed, and summarized into the findings. The study results were as follows: 1) The suffering relief of the elderly was the management in the suffering reduction. The suffering was classified into physical suffering and mental suffering. In general, the suffering relief approaches consisted of 2 types: suffering relief by oneself with mindfulness. And the other one was the suffering relief by others; the solution to suffering with the help of the people nearby or related sectors. 2) The Dhamma principles for suffering mitigation in accordance with Theravada Buddhist philosophy are the teachings and practices to eradicate the root cause of suffering; ignorance. The practice is based on the firm and neutral mind to understand things as they really are, and then the attachment to mind and matter can be declined. When the cause and process of the occurrence and the end of suffering were found and realized, both physical suffering and mental suffering could be alleviated. 3) In analysis of suffering mitigation of the elders according to Theravada Buddhist Philosophy, It was found that Ayussadhamma is the principle consisting of the constant mindfulness and wisdom in life activities and it can prolong the life. Ayussadhamma consists of 5 items: 1. Sappayakari, 2. Sapapayemattannu, 3. Panitabhoji, 4. Kalacari, and 5. Brahmacari. The Four Noble Truths help understand the sufferings with their causes occurred from ignorance, and then provide the middle paths for life. Both groups of these teachings point out how to solve the suffering from the root causes. When the elderly put it into practice, their suffering can be alleviated and they can live longer with a valuable life.
หนังสือ

    งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
The researcher entitled “Sexual Diversity and the Realization in Theravãda Buddhist Philosophical Perspective” has the objectives as follows : 1) to study concepts and theories of sexual diversity, 2) to study the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, 3) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, and 4) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy.The data of this documentary qualitative research were collected from the concerned primary and secondary sources. The results of the study were found that the concepts and theories of sexual diversity are the set of knowledge that covers 3 aspects ; sex, gender, and sexuality. The realization in the absolute truth in Theravada Buddhist philosophy is the principle and practical guideline to attain the ultimate truth. The analytical results found that : 1) Sexuality did not obstruct the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy. Men and women were equal on the base of truth. When their potential was developed until they could understand the Three Common Characteristics, they could further develop themselves to obtain wisdom and to realize the truth in the end. 2) Sexuality was not the obstacle to the realization in Theravada Buddhist philosophy since both monks and lay-people had their own potential to attain the absolute truth equally. 3) Sexuality was only a condition, a restriction, a prohibition, and a precaution for lay-people and monks who adheres to the celibacy with the aim to achieve the realization of absolute truth. Thus, the gender diversity had the potential in realization on the absolute truth indifferently. The concept of gender diversity in Theravada Buddhist Philosophy was above the paradigm of gender diversity from conventional truth to absolute truth that was beyond time and all paradigms.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
The objectives of this research were as follows: 1)to study the conditions of criminal juvenile delinquency of children and adolescents; and theories of cognitive behavior modification, 2) to study Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara, 3) to integrate behavior modification of children and adolescents in criminal juvenile delinquency with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara, and 4)to present a body of knowledge on “Behavior Modification of Children and Adolescents in Criminal Juvenile Delinquency with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara.The research relied on qualitative method and in-depth interviews. The results of this research showed that: 1) The reasons why children and adolescents committed a crime were caused from internal factors or covert behaviors, such as understanding, belief, values, attitudes or intellectual behaviors which affected external behaviors or overt behavior. 2) Cognitive behavior modification with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara is a thinking process in problem solution consisting of the Right View as a key, which will help children and adolescents live with mindfulness. 3) The integration of cognitive behavior modification with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara consists of 4 steps in thinking practice for problem solution; 1) Identify problems, 2) Identify goals or targets, 3) Implement the plan to achieve the goals or targets, and 4) Repetition. All these steps are to help create positive thinking. 4) The body of knowledge obtained from the study is to have thinking practice in problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara. The problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara leads to desirable external behavior and creates Buddhist internal intelligence. This is served as an everlasting immunity for children and adolescents to live a suitable life in the present situations.
หนังสือ

    The objectives of this dissertation were; 1) to study the 21st century lifestyle, 2) to study the Buddhist Aesthetics, 3) to integrate the 21st century lifestyle with Buddhist aesthetics, and 4) to propose a new body of knowledge on “The 21st Century Lifestyle based on Buddhist Aesthetics”. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 20 experts. The results of the study were presented in a descriptive method. The results of research were found that: The 21st century lifestyle is industrial lifestyle, capitalism, consumerism, materialism, and information technology. The modern scientific knowledge was implemented for the better quality of life, but the consumption was not in line with technological purpose because human lacked of realization of the true side and lacked of analytical thinking. There are 5 major problems nowadays; Moral Issue, Social Issue, Economic Issue, Environmental Issue, and Technological Issue. Buddhist Aesthetics is a Buddhist teaching concerning beauty. There are 2 dimensions of beauty; mundane beauty and virtuous beauty. Mundane beauty is the beauty which people normally perceive and concern with. This kind of beauty can be categorized as subjective since it is created under an influence of defilement. The virtuous beauty is the beauty resulting from practice Dhamma and it reflects on acceptable behaviors. This beauty is considered as objective since it is the beauty of Anattatã. The Buddhist teachings on Khanti and Soracca,Tilakkhan, Ditthadhammikattha, Kalayãṇamittatã, and Yonisomanasikãra are considered as the Buddhist Aesthetics because they make the beautiful life when putting into practice. The 5 major problems integrated with the 5 Buddhist teachings result to the beauty as follows; 1) Khanti and Soracca make the mind calm and clear, gain wisdom in cause and effect, and result to a graceful mind. 2) Tilakkhaṇa is to comprehend things as they really are, to gain detachment, hospitality, non-selfishness, and results to a graceful society, 3) Ditthadhammikattha is to work with carefulness, choose to accompany with friends and colleagues, and administrate the finance, which leads to a graceful economy, 4) Kalayãṇamittatã is to be friendly to environment by cherish its value, and conserving the nature, which results to balance and a graceful environment. 5) Yonisomanasikãra is to compromise technology and humanity in the right view, which leads to the true value with the knowledge of civilized people and to a graceful technology. The integration of the major problems with the Buddhist Aesthetics results to the GRACE Model. The model of a beautiful life occurred from virtuous beauty, good behavior, good mind, good wisdom, good thought, good speech, and good action.
The objectives of this dissertation were; 1) to study the 21st century lifestyle, 2) to study the Buddhist Aesthetics, 3) to integrate the 21st century lifestyle with Buddhist aesthetics, and 4) to propose a new body of knowledge on “The 21st Century Lifestyle based on Buddhist Aesthetics”. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 20 experts. The results of the study were presented in a descriptive method. The results of research were found that: The 21st century lifestyle is industrial lifestyle, capitalism, consumerism, materialism, and information technology. The modern scientific knowledge was implemented for the better quality of life, but the consumption was not in line with technological purpose because human lacked of realization of the true side and lacked of analytical thinking. There are 5 major problems nowadays; Moral Issue, Social Issue, Economic Issue, Environmental Issue, and Technological Issue. Buddhist Aesthetics is a Buddhist teaching concerning beauty. There are 2 dimensions of beauty; mundane beauty and virtuous beauty. Mundane beauty is the beauty which people normally perceive and concern with. This kind of beauty can be categorized as subjective since it is created under an influence of defilement. The virtuous beauty is the beauty resulting from practice Dhamma and it reflects on acceptable behaviors. This beauty is considered as objective since it is the beauty of Anattatã. The Buddhist teachings on Khanti and Soracca,Tilakkhan, Ditthadhammikattha, Kalayãṇamittatã, and Yonisomanasikãra are considered as the Buddhist Aesthetics because they make the beautiful life when putting into practice. The 5 major problems integrated with the 5 Buddhist teachings result to the beauty as follows; 1) Khanti and Soracca make the mind calm and clear, gain wisdom in cause and effect, and result to a graceful mind. 2) Tilakkhaṇa is to comprehend things as they really are, to gain detachment, hospitality, non-selfishness, and results to a graceful society, 3) Ditthadhammikattha is to work with carefulness, choose to accompany with friends and colleagues, and administrate the finance, which leads to a graceful economy, 4) Kalayãṇamittatã is to be friendly to environment by cherish its value, and conserving the nature, which results to balance and a graceful environment. 5) Yonisomanasikãra is to compromise technology and humanity in the right view, which leads to the true value with the knowledge of civilized people and to a graceful technology. The integration of the major problems with the Buddhist Aesthetics results to the GRACE Model. The model of a beautiful life occurred from virtuous beauty, good behavior, good mind, good wisdom, good thought, good speech, and good action.
TOC:
  • การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธสุนทรียศาสตร์ ๓) เพื่อบูรณาการการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยหลักพุทธสุนทรียศาสตร์ ๔) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยหลักพุทธสุนทรียศาสตร์” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารทางวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธสุนทรียศาสตร์จากพระไตรปิฎก อรรถกถา และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๐ รูป/คน และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นยุคอุตสาหกรรม วัตถุนิยม บริโภคนิยม ระบบดิจิตอล และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำคุณภาพชีวิตให้ดี แต่การบริโภคไม่ตรงตามจุดประสงค์ที่แท้จริงของเทคโนโลยีย่อมให้โทษ ทำให้เกิดปัญหา ๕ ด้าน คือ จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี เพราะมนุษย์ขาดการพิจารณาตามความเป็นจริงและการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง พุทธสุนทรียศาสตร์ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความงาม มีอยู่ ๒ มิติ คือ ความงามมิติทางโลกและความงามมิติทางธรรม ความงามมิติทางโลกเป็นความงามที่ชาวโลกสมมติขึ้น จัดเป็นจิตพิสัย เพราะเป็นความงามที่เกิดภายใต้อำนาจของกิเลส ส่วนความงามมิติทางธรรมเป็น ความงามจากการปฏิบัติธรรมแสดงออกทางพฤติกรรมทำให้งดงาม จัดเป็นวัตถุพิสัยเพราะเป็นความงามลักษณะอนัตตา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา คือ ขันติ โสรัจจะ ไตรลักษณ์ ทิฏฐธัมมิกัตถะ กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ หลักธรรมเหล่านี้เป็นพุทธสุนทรียศาสตร์ เมื่อปฏิบัติแล้วย่อมเกิดความงามเป็นผลเสมอ เรียกว่า ชีวิตงาม นำหลักธรรมทั้ง ๕ มาบูรณาการกับปัญหา ๕ ด้าน ทำให้เกิดความงาม คือ ๑) ขันติ โสรัจจะ อดทนอย่างมีสติทำให้จิตใจสงบนิ่ง ไม่ขุ่นมัว เกิดปัญญาเห็นเหตุปัจจัยและโสรัจจะเกิดตามเกื้อกูลทำให้จิตใจงาม ๒) ไตรลักษณ์ การเข้าถึงองค์ความรู้ เห็นตามความเป็นจริงว่าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง คลายความยึดมั่น เกิดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่เห็นแก่ตัวทำให้สังคมงาม ๓) ทิฏฐธัมมิกัตถะ กิจกรรมในชีวิต อยู่ที่การทำงานมากที่สุดจึงต้องสร้างคุณธรรมควบคู่กับงาน ไม่ประมาท ฉลาดในการคบเพื่อน การบริหารเงินถูกต้อง มีการเงินมั่นคงทำให้เศรษฐกิจงาม ๔) กัลยาณมิตร การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการเห็นคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์ เกิดดุลยภาพต่อกัน ทำให้สิ่งแวดล้อมงาม และ ๕) โยนิโสมนสิการ หล่อหลอมเทคโนโลยีกับมนุษย์ด้วยการคิดถูก รู้คุณค่าแท้เป็นความรู้แห่งอารยชน ทำให้เทคโนโลยีงาม จากผลของความงามทั้ง ๕ ทำให้เกิด GRACE MODEL โมเดลแห่งความงดงามแห่งความดี เกิดพฤติกรรม จิตใจ และปัญญางดงาม ด้วยการคิด พูด ทำ ทุกการกระทำเป็นไปอย่างดี จริง และมีประโยชน์ คือ การดำเนินชีวิตที่งดงาม
หนังสือ

    รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
Note: รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้พิพากษาที่เป็นผู้บริหารระดับอธิบดี/รองอธิบดี และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ/ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จำนวน 442 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 3) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การนำองค์การ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การนำองค์การ และ 1.2) การกำกับดูแลองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การจัดทำยุทธศาสตร์ และ 2.2) การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) สารสนเทศผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3.2) การสร้างความผูกพัน 4) การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1) การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการของสถาบัน 4.2) การจัดการความรู้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 5.1) ความผูกพันของบุคลากร และ 5.2 สภาพแวดล้อมด้านบุคลากร 6) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 6.1) กระบวนทำงาน และ 6.2) ประสิทธิผลการปฏิบัติการ และ 7) ผลลัพธ์การบริหาร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 7.1) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและการบรรลุพันธกิจ 7.2) ผลลัพธ์ด้านงบประมาณการเงินและการเติบโต 7.3) ผลลัพธ์ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7.4) ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล 7.5) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (คุณภาพประสิทธิภาพต้นทุน) และ 7.6) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 2.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้พิพากษาที่เป็นผู้บริหารระดับอธิบดี/รองอธิบดี และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ/ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จำนวน 442 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 3) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การนำองค์การ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การนำองค์การ และ 1.2) การกำกับดูแลองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การจัดทำยุทธศาสตร์ และ 2.2) การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) สารสนเทศผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3.2) การสร้างความผูกพัน 4) การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1) การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการของสถาบัน 4.2) การจัดการความรู้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 5.1) ความผูกพันของบุคลากร และ 5.2 สภาพแวดล้อมด้านบุคลากร 6) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 6.1) กระบวนทำงาน และ 6.2) ประสิทธิผลการปฏิบัติการ และ 7) ผลลัพธ์การบริหาร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 7.1) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและการบรรลุพันธกิจ 7.2) ผลลัพธ์ด้านงบประมาณการเงินและการเติบโต 7.3) ผลลัพธ์ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7.4) ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล 7.5) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (คุณภาพประสิทธิภาพต้นทุน) และ 7.6) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 2.
ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า รูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องเป็นรูปแบบเชิงระบบสามด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.1) หลักไตรสิกขา 1.2) หลักพรหมวิหาร และ 1.3 หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น 2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก โดยเรียงลำดับตามน้ำหนักความสำคัญ ได้แก่ 2.1) การมุ่งเน้นบุคลากร 2.2) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ 2.3) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 2.4) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วน 2.5) การนำองค์การ และ 2.6) การวางแผนยุทธศาสตร์ 3) ด้านผลลัพธ์การบริหาร มี 1 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผลลัพธ์การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.64) ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
The purposes of this study were: 1) to study the administrative factors of the Judicial Training Institute for developing chief judges, 2) to develop the administrative model of the Judicial Training Institute for developing chief judges, and 3) to assess and validate the developed administrative model of the Judicial Training Institute for developing chief judges. The mixed research methods were used in the study. The 442 samples of this study included chief justices, deputy chief justices, presiding judges and chief judges. The research instruments used for data collection consisted of; 1) structured interview form, 2) questionnaire, and 3) assessment and validation form. The data were collected in 2019 and then analzyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA), and content analysis by Lisrel Program. The results were shown as follows: 1. The administrative elements for developing chief judges of the Judicial Training Institute have 7 fundamental related elements; 1) organizational leadership, composed of 2 subelements; 1.1) leadership and 1.2) organizational supervision and social responsibility, 2) strategic planning, composed of 2 subelements; 2.1) strategic thinking and 2.2) strategy implementation, 3) customer and stake-holder focus, composed of 2 subelements; 3.1) information of the customerand stake-holder and 3.2) customer engagement, 4) measurement, analysis and knowledge management, composed of 2 subelements; 4.1) measurement, analysis and improvement of organizational performance and 4.2) management of information knowledge and technology, 5) workforce focus, composed of 2 subelements; 5.1) workforce engagement and 5.2) workforce environment, 6) operation focus, composed of 2 subelements; 6.1) work processes and 6.2) operational effectiveness, and 7) results based management, composed of 6 subelements; 7.1) operation effectiveness, 7.2) budget and growth, 7.3) customer and stake-holder focus, 7.4) organizational leadership and supervision, 7.5) process effectiveness and supply chain management (quality, efficiency, and cost), and 7.6) workforce focus. 2. The development results of the administrative model of the Judicial Training Institution for developing chief judges showed that the developed model conformed with empirical data and was a systematic model comprised of; 1) input, containing 3 elements; 1.1) The Threefold Training, 1.2) Four Sublime States of Mind, 1.3) Executive Judges in Trial Court Course, 2) process, containing 6 elements listed in order of significance as follows: 2.1) workforce focus, 2.2) operating system focus, 2.3) measurement, analysis, and knowledge management, 2.4) customer and stake-holder focus, 2.5) organizational leadership, 2.6) strategic planning, and 3) output containing administrative output of the Judicial Training Institution. 3. The result of model assessment showed that the total average mean was at the highest level (x ̅ = 4.64), which passed the specified criterion. Thus, it can be concluded that the developed model was approved and certified by the experts.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) คือ ใช้วิธีวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ได้แก่ สถานศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 67 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ 3) แบบประเมินรูปแบบ ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอยย่อย ดังนี้ องค์ประกอบหลักที่ 1. ด้านการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 งานวิชาการ 1.2 งบประมาณ 1.3 งานบุคคล และ 1.4 งานทั่วไป และองค์ประกอบหลักที่ 2. ด้านหลักกัลยาณธรรม ของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 น่ารัก 2.2 น่าเคารพ 2.3 น่ายกย่อง 2.4 รู้จักพูดให้ได้ผล 2.5 อดทนต่อถ้อยคำ 2.6 อธิบายเรื่องล้ำลึกได้ และ 2.7 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล 2. ผลการพัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ โดยการนำหลักกัลยาณธรรม 7 เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่จะนำไปสู่พัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, ได้ร้อยละ 78.00 และการบริหารตามหลักกัลยาณธรรม ได้ร้อยละ 99.1 สามารถอธิบายความแปรปรวนในการบริหารได้ทุกองค์ประกอบ 1. ผลลัพธ์ด้านองค์ประกอบหลักด้านการบริหาร (𝜆=0.780) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 การบริหารบุคคล (𝜆=0.862) 1.2 การบริหารทั่วไป (𝜆=0.792) 1.3 การบริหารวิชาการ (𝜆=0.761) 1.4 การบริหารงบประมาณ (𝜆=0.705) 2. ผลลัพธ์องค์ประกอบหลักด้านหลักกัลยาณธรรม (𝜆=0.991) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การอดทนต่อถ้อยคำ (𝜆=0.943) 2.2 รู้จักพูดให้เหตุผล (𝜆=0.942) 2.3 ทำตนให้น่ายกย่อง (𝜆=0.933) 2.4 สามารถอธิบายเรื่องล้ำลึก (𝜆=0.871) 2.5 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล (𝜆=0.820) 2.6 มีความน่ารัก (𝜆=0.741) กับคนรอบตัว และ 2.7 เป็นที่เคารพ (𝜆=0.630) ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 3.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) คือ ใช้วิธีวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ได้แก่ สถานศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 67 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ 3) แบบประเมินรูปแบบ ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอยย่อย ดังนี้ องค์ประกอบหลักที่ 1. ด้านการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 งานวิชาการ 1.2 งบประมาณ 1.3 งานบุคคล และ 1.4 งานทั่วไป และองค์ประกอบหลักที่ 2. ด้านหลักกัลยาณธรรม ของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 น่ารัก 2.2 น่าเคารพ 2.3 น่ายกย่อง 2.4 รู้จักพูดให้ได้ผล 2.5 อดทนต่อถ้อยคำ 2.6 อธิบายเรื่องล้ำลึกได้ และ 2.7 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล 2. ผลการพัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ โดยการนำหลักกัลยาณธรรม 7 เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่จะนำไปสู่พัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, ได้ร้อยละ 78.00 และการบริหารตามหลักกัลยาณธรรม ได้ร้อยละ 99.1 สามารถอธิบายความแปรปรวนในการบริหารได้ทุกองค์ประกอบ 1. ผลลัพธ์ด้านองค์ประกอบหลักด้านการบริหาร (𝜆=0.780) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 การบริหารบุคคล (𝜆=0.862) 1.2 การบริหารทั่วไป (𝜆=0.792) 1.3 การบริหารวิชาการ (𝜆=0.761) 1.4 การบริหารงบประมาณ (𝜆=0.705) 2. ผลลัพธ์องค์ประกอบหลักด้านหลักกัลยาณธรรม (𝜆=0.991) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การอดทนต่อถ้อยคำ (𝜆=0.943) 2.2 รู้จักพูดให้เหตุผล (𝜆=0.942) 2.3 ทำตนให้น่ายกย่อง (𝜆=0.933) 2.4 สามารถอธิบายเรื่องล้ำลึก (𝜆=0.871) 2.5 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล (𝜆=0.820) 2.6 มีความน่ารัก (𝜆=0.741) กับคนรอบตัว และ 2.7 เป็นที่เคารพ (𝜆=0.630) ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 3.
ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x =4.58) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (¯x =3.51 ขึ้นไป) ส่วนการรับรองรูปแบบพบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นรับรองร้อยละ 90.80 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study the components of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, 2) to develop an educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, and 3) to assess and certify the educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected from 402 samples in 67 schools by; 1) structural interviews, 2) rating-scale questionnaire, and 3) assessment form. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory analysis, and content analysis. The results of the study were found that: 1. The components of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration consist of 2 main components and 11 sub-components. The first main component consists of 4 sub-components; 1) Academic Administration, 2) Budget Administration, 3) Personnel Administration, and 4) General Administration. The second main component consists of 7 sub-components; 1) Lovely, 2) Respectful, 3) Praiseful, 4) Reasonable, 5) Verbal Tolerance, 6) Able to explain complicated topics and 7) To avoid frivolous talk. 2. The results of the development of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration by using 7 principles of Kalyana Dhamma as the components had harmony and relevance with empirical data. The model validity can be concluded that Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, 78.00% and the administration based on Kalyana Dhamma principles = 99.1%. That can be used to explain every component of administration variance; 1. Results of main components in administration (̧œ†=0.780) consist of 4 sub-components; 1.1 Personnel Administration (̧œ†=0.862) 1.2 General Administration (̧œ†=0.792) 1.3 Academic Administration (̧œ†=0.761) 1.4 Budget Administration (̧œ†=0.705) 2. Results of main components in Kalyana Dhamma principles (̧œ†=0.991) consist of 7 sub-components; 2.1 Verbal Tolerance (̧œ†=0.943), 2.2 Reasonable (̧œ†=0.942), 2.3 Praiseful (̧œ†=0.933), 2.4 Able to explain complicated topics (̧œ†=0.871), 2.5 To avoid frivolous talk (̧œ†=0.820), 2.6 Lovely for colleagues and companions (̧œ†=0.741), and 2.7 Respectful for students, teachers, and parents (̧œ†=0.630). 3. The assessment results of the educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration were at the high level overall (℗¯x =4.58) above the set criteria at (℗¯x =3.51+). The model was certified by the experts at 90.80% above the set criteria at 70.00%
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความตาย 2) เพื่อศึกษาความตายตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของความตาย ตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรัชญาตะวันตก มีแนวคิดที่ชัดเจนว่าเชื่อในชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตนิรันดร์ แต่จะมีการให้คุณค่าความตายและภาวะหลังความตายมากขึ้น ในมุมมองของปรัชญาชีวิต เช่น เมื่อเราหนีความตายไม่พ้น ทำไมเราไม่ทำความเข้าใจอย่างกล้าหาญต่อความตายนั้นเล่า นักปรัชญาตะวันออก จะมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน มีความแตกต่างไปบ้าง อย่างเช่นปรัชญาอินเดีย มีทั้งเชื่อเรื่องของชีวิตนิรันดร์ และเชื่อว่าตายแล้วสูญ ปรัชญาจีน เชื่อในเรื่องของชีวิตนิรันดร์อย่างแน่นแฟ้น แต่เมื่อผ่าน การหล่อหลอมจากปรัชญาสายอื่น ก็มีความเชื่อเรื่องของสังสารวัฏเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างทางด้านศาสนาต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เชื่อว่ามีชีวิตนิรันดร์หลังความตาย ขึ้นอยู่กับว่าจะตีความคำว่าชีวิตนิรันดร์นั้นไปในทิศทางใด อาจจะเป็นชีวิตนิรันดร์ไปอยู่บนสรวงสวรรค์พร้อมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือชีวิตนิรันดร์ในฐานะของผู้บรรลุพระนิพพาน สิ้นกิเลส 2) พุทธปรัชญาเชื่อว่า ชีวิตมีอยู่ เป็นอยู่ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบกันอย่างเหมาะสม และปัจจัยสำคัญก็คือ ขันธ์ 5 จากความเชื่อนี้ ความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นการประกอบส่วนที่ผิดเพี้ยนไปอันเกิดจากความไม่เที่ยงและความไม่มีตัวตนของปัจจัยเหล่านั้น นี่เป็นหลักกว้าง ๆ ที่อิงอยู่กับหลักธรรมเรื่อง ไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ที่ว่าด้วยความเป็นเหตุเป็นผลแบบอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย ทำนองว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับไปความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น คือ สิ้นอายุขัย (อายุกขยมรณะ) สิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) สิ้นทั้งอายุและกรรม (อุภยักขยมรณะ) และมีเหตุหรือกรรมอย่างอื่นมาตัดรอน (อุปัจเฉทมรณะ) 3) คุณค่าแห่งการหลุดพ้นเวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธปรัชญาเถรวาท นั่นคือการเข้าถึงความหลุดพ้นหรือนิพพาน ซึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทเชื่อว่ามนุษย์ปุถุชนทุกรูปทุกนาม ล้วนแล้วแต่เป็นชีวิตที่มีปัญหาและถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่มนุษย์สามารถเอาชนะความทุกข์ได้อย่างแท้จริง เมื่อนั้นก็สามารถหลุดพ้นหรือนิพพานได้ และวิธีการที่จะเข้าถึงนิพพานนั้น จะต้องอาศัยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หรืออย่างย่อเรียกว่า ไตรสิกขาซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ อันจะพาให้เข้าถึงนิพพานอันเป็นภาวะสูงสุดและเป็นความสงบสุขที่จีรังยั่งยืน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความตาย 2) เพื่อศึกษาความตายตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของความตาย ตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรัชญาตะวันตก มีแนวคิดที่ชัดเจนว่าเชื่อในชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตนิรันดร์ แต่จะมีการให้คุณค่าความตายและภาวะหลังความตายมากขึ้น ในมุมมองของปรัชญาชีวิต เช่น เมื่อเราหนีความตายไม่พ้น ทำไมเราไม่ทำความเข้าใจอย่างกล้าหาญต่อความตายนั้นเล่า นักปรัชญาตะวันออก จะมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน มีความแตกต่างไปบ้าง อย่างเช่นปรัชญาอินเดีย มีทั้งเชื่อเรื่องของชีวิตนิรันดร์ และเชื่อว่าตายแล้วสูญ ปรัชญาจีน เชื่อในเรื่องของชีวิตนิรันดร์อย่างแน่นแฟ้น แต่เมื่อผ่าน การหล่อหลอมจากปรัชญาสายอื่น ก็มีความเชื่อเรื่องของสังสารวัฏเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างทางด้านศาสนาต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เชื่อว่ามีชีวิตนิรันดร์หลังความตาย ขึ้นอยู่กับว่าจะตีความคำว่าชีวิตนิรันดร์นั้นไปในทิศทางใด อาจจะเป็นชีวิตนิรันดร์ไปอยู่บนสรวงสวรรค์พร้อมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือชีวิตนิรันดร์ในฐานะของผู้บรรลุพระนิพพาน สิ้นกิเลส 2) พุทธปรัชญาเชื่อว่า ชีวิตมีอยู่ เป็นอยู่ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบกันอย่างเหมาะสม และปัจจัยสำคัญก็คือ ขันธ์ 5 จากความเชื่อนี้ ความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นการประกอบส่วนที่ผิดเพี้ยนไปอันเกิดจากความไม่เที่ยงและความไม่มีตัวตนของปัจจัยเหล่านั้น นี่เป็นหลักกว้าง ๆ ที่อิงอยู่กับหลักธรรมเรื่อง ไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ที่ว่าด้วยความเป็นเหตุเป็นผลแบบอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย ทำนองว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับไปความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น คือ สิ้นอายุขัย (อายุกขยมรณะ) สิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) สิ้นทั้งอายุและกรรม (อุภยักขยมรณะ) และมีเหตุหรือกรรมอย่างอื่นมาตัดรอน (อุปัจเฉทมรณะ) 3) คุณค่าแห่งการหลุดพ้นเวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธปรัชญาเถรวาท นั่นคือการเข้าถึงความหลุดพ้นหรือนิพพาน ซึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทเชื่อว่ามนุษย์ปุถุชนทุกรูปทุกนาม ล้วนแล้วแต่เป็นชีวิตที่มีปัญหาและถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่มนุษย์สามารถเอาชนะความทุกข์ได้อย่างแท้จริง เมื่อนั้นก็สามารถหลุดพ้นหรือนิพพานได้ และวิธีการที่จะเข้าถึงนิพพานนั้น จะต้องอาศัยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หรืออย่างย่อเรียกว่า ไตรสิกขาซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ อันจะพาให้เข้าถึงนิพพานอันเป็นภาวะสูงสุดและเป็นความสงบสุขที่จีรังยั่งยืน
The objective of this study is 1) to study the theory of death 2) To study the conceptual death in Theravada Buddhist philosophy 3) To analyze the conceptual thinking in Theravada Buddhist philosophy The research has collected data from Tripitaka, commentary, textbooks and related research. The results of the study were shown as follows: 1) Western philosophy has a clear philosophy that believes in the afterlife But there will be help for victims and many complications from the philosophical point of view Why don't we bravely understand death, telling scholars of many different philosophies, such as Indian philosophy Believe that to die and lose. Chinese philosophy firmly believes in matters of life But when passed on from other philosophies, there is a belief about the pontiff All foreigners believe that how to live in the near future to occur in the near future to occur in the future. Wan with God or eternal life as the person who attained Nirvana 2) Buddhist philosophy believes that life exists because there are different parts to it. Appropriate and an important ratio is the Bahamas. 5. From this belief, death is not something that comes from the damage caused by their injuries. The identity of those supports is a broad principle based on principles. About the trinity and the doctrine of the Bath, the Bath, or Itam, the eye on the sense of reason Become living beings that coexist with living organisms, regardless of how this happened Death is another thing that does not occur because the loss of those attacks is the death. (Salvage independence)) and there is a reason or something else to cut (Death) 3) The process of liberation from what has happened is something that happens a lot and is something that has been destroyed a lot or that Nirvana is what actually happened. Victory all the time, whenever humans can overcome great suffering, when they can be liberated or nirvana and how to In order to do nicotine, it is necessary to adhere to the Noble Eightfold Path or the threefold process, with many steps and money to help the victims.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
This dissertation has the following objectives;1) to study the propagation philosophy of Buddhism in the Tipitaka, 2) to study the propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern times, 3) to integrate the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, and 4) to present the model of Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, documents, research works, and purposive in-depth interviews with 13 key-informants consisting of DhammadutaBhikkhus from foreign countries, Buddhism's experts, and officers of the National Office of Buddhism. The data were analyzed,categorized, synthesized, and presented in adescriptive method. The results of the research showed that; 1) The basic philosophy of Buddhist propagation in the Tipitaka is the 3 principles, the 4 ideologies and the 6 methods which are derived from the Principal Teaching. Without these principles, ideologies, and methods, Buddhist propagation will cause problems and not lead to the end of suffering. The 3 principles are: (1) Not to do any evils, (2) To do good, and (3) To purify the mind. The 4 ideologies are; (1) Patience, (2) Non-violence, (3) Peace, (4) Nibbana orientation, The 6 methods include; (1) not do evil in word, (2) not do evil in body, (3) restraint with regard to the monastic disciplinary code, (4) moderation in eating, (5) residing in a peaceful place, and (6) purifying the mind. 2) The propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern timewas studied from the propagation philosophy of Theravada Buddhism in 5 countries; Thailand, Cambodia, Myanmar, Laos, and Sri Lanka. The study found that every country relied on individuals and organizations to propagate Buddhism.From the past to the present,monarchs, royal relatives, nobles, government officials, academics, monks, DhammadutaBhikkhus, Buddhist Universities, government, temples, and religious places had an important role in propagating Buddhism. Nowadays, digital technology is also used in Buddhist propagation. 3) Integrating Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade can be divided into 2 parts; (1) Organization, there should be social, cultural, educational, Dhammaduta monks, online propagation, administrative, and legal policies in line with Ovadapapatimokkha principles, and (2) Individual, the propagation should be based on the 3 principles, the 4 ideologies, and the 6 methods. 4) The new body of knowledge obtained from this research is called the PGV Model.It is a form of the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, derived from the Principal Teaching which consists of 3 principles, 4 ideologies, and 6methods. Even it is the original teaching for Buddhist propagation, but it can be applied and integrated with the changing society because it is universal and life-quality oriented development.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาบริบทสังคมไทยในอดีตและการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอดีต ๒) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยยุคปัจจุบันและการปกครองคณะสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันและ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการปกครองคณะสงฆ์พระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๑๔ รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในอดีตนั้นส่งผลต่อการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเพราะพระสงฆ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในบริบทสังคม จึงจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปบริบทสังคมด้วย เป็นการอนุวัติตามด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแต่ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่หลักในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ๒. บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้มีการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยจากเหตุปัจจัยทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจจากโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบเดิมที่มีชนชั้นปกครอง ชนชั้นใต้การปกครอง แม้การบริหารประเทศและการเมืองการปกครองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นก็ถูกสลายไปทำให้ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแม้คณะสงฆ์จะมีการปรับเปลี่ยนนอกจากปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้วก็มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมาบังคับใช้นับเป็นอนุวัติตามระบอบการปกครองในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ๓. กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันจะมีการบริหารจัดการโดยผ่านกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านมีด้านการปกครอง, ด้านการศาสนศึกษา, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่,ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์อันเป็นไปตามการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ๔. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน”ในครั้งนี้ได้แก่“SPEE Model”
การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาบริบทสังคมไทยในอดีตและการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอดีต ๒) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยยุคปัจจุบันและการปกครองคณะสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน๓) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันและ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการปกครองคณะสงฆ์พระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๑๔ รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมในอดีตนั้นส่งผลต่อการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเพราะพระสงฆ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในบริบทสังคม จึงจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปบริบทสังคมด้วย เป็นการอนุวัติตามด้วยการปรับตัวให้เข้ากับบริบทสังคมแต่ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่หลักในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ๒. บริบทของสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้มีการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยจากเหตุปัจจัยทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจจากโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบเดิมที่มีชนชั้นปกครอง ชนชั้นใต้การปกครอง แม้การบริหารประเทศและการเมืองการปกครองที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นก็ถูกสลายไปทำให้ชนชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแม้คณะสงฆ์จะมีการปรับเปลี่ยนนอกจากปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้วก็มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมาบังคับใช้นับเป็นอนุวัติตามระบอบการปกครองในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน ๓. กระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบันจะมีการบริหารจัดการโดยผ่านกิจการคณะสงฆ์ ๖ ด้านมีด้านการปกครอง, ด้านการศาสนศึกษา, ด้านการศึกษาสงเคราะห์, ด้านการเผยแผ่,ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์อันเป็นไปตามการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองของคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ๔. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ“รูปแบบกระบวนทัศน์การปกครองคณะสงฆ์ไทยในบริบทสังคมไทยยุคปัจจุบัน”ในครั้งนี้ได้แก่“SPEE Model”
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to study the context of the Thai society in the past and the Thai Sangha administration in the past, 2) to study the context of modern Thai society and the Thai Sangha administration, 3) to study the paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society, and 4) to present the model of the paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, academic documents and in-depth interviews with 14 experts. The data were analyzed and synthesized in order to obtain the paradigm model of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society. The results of the study indicated as follows:- 1. Changes in social contexts in the past influenced the Sangha administration in the past because monkswere a part of the social context and they had to adjust themselves in accordance with the social context as well, but they still maintained their main duty in observing the Dhamma and Vinaya. 2. The context of modern Thai society had changes in social, political, and economical structures. Feudalism was declined and replaced by educated middle class and democracy. Thai people were under the constitution. The changes also had impacts to the Sangha administration. Other than to follow the principles of Dhamma and Vinaya, monks had to follow the Sangha Act. This practice was to follow the current Thai social context. 3. Paradigm of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society was through 6 Sangha affairs; government, religious studies, educational welfare, propagation, public facilities, and the public welfare. The paradigm of the Thai Sangha administrationwas in accordance withthe Thai Sangha Act with the implementation of the Supreme Sangha Council. 4. The new knowledge about “Paradigm model of the Thai Sangha administration in the context of modern Thai society” is “SPEE Model”.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 135 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2)แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 3) แบบบันทึกข้อเสนอแนะ และ 4) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “MSMM Model” โดยเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างและวิธีการบริหารงานตามขอบข่ายและภารกิจด้านการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม ตามแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 135 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2)แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 3) แบบบันทึกข้อเสนอแนะ และ 4) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “MSMM Model” โดยเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างและวิธีการบริหารงานตามขอบข่ายและภารกิจด้านการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม ตามแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 10 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study components of moral school management for school administrators under the primary educational service area office, 2) to create a model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office, and 3) to evaluate and to affirm the moral school management model for school administrators under the primary educational service area office. The mixed research methodology is used in the study. The data were collected from 540 samples consisting of school directors, heads of department, the teachers responsible for the project, and teachers in 135 moral schools with 3- star level. The research instrument consisted of : 1) semi-structured interviews, 2) 5-rating scale questionnaires with reliability at 0.89, 3) recording form for suggestions, and 4) evaluation forms. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and CFA. The results of this research revealed that: 1) The components of moral school management for school administrators under the primary educational service area office consisted of 3 main components and 10 minor components. 2) A model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office was known as “MSMM Model.” It was an administrative form and method based on scope and mission of moral school administration concept, Lokapàla-dhamma, and school administration. The moral school administration consisted of 3 main components and 10 minor components. The component weight values in descending order started with Moral School Concepts, followed by Lokapàla-dhamma, and School Administration. 3) The evaluation results of model of moral school management for school administrators under the primary educational service area office in propriety, accuracy, feasibility and utility were at 4.67 level overall that was higher than the evaluation criteria. The model was affirmed by the experts.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้างรูปแบบและประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสุจริตต้นแบบระดับประถมศึกษา จำนวน 127โรงเรียนโดยมีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 508 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .837 และ 3) แบบประเมิน ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักและ11 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “SPG Model”โดยเป็นรูปแบบเชิงบูรณาการตามแนวคิดมาตรฐานโรงเรียนสุจริต แนวคิดการบริหารงานโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต ซึ่งมีโครงสร้างความเกี่ยวข้องระหว่างองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงความสัมพันธ์หรือเหตุผลซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยให้เข้าใจข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ในการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 11 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ มาตรฐานโรงเรียนสุจริต การบริหารโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในด้านความถูกต้องความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนด จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้างรูปแบบและประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสุจริตต้นแบบระดับประถมศึกษา จำนวน 127โรงเรียนโดยมีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 508 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .837 และ 3) แบบประเมิน ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักและ11 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “SPG Model”โดยเป็นรูปแบบเชิงบูรณาการตามแนวคิดมาตรฐานโรงเรียนสุจริต แนวคิดการบริหารงานโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต ซึ่งมีโครงสร้างความเกี่ยวข้องระหว่างองค์ประกอบที่สำคัญในเชิงความสัมพันธ์หรือเหตุผลซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยให้เข้าใจข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ในการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 11 องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ มาตรฐานโรงเรียนสุจริต การบริหารโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในด้านความถูกต้องความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนด จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
The objectives of this research were to study components, create a model, and evaluate and affirm an Upright School Management Model for the primary schools under the Office of the Basic Education Commission. The data of this mixed method research were collected from 508 samples in 127 upright schools. The research instruments were 1) structured interview form, 2) questionnaire (with reliability at 0.84), and 3) evaluation form. The data were collected in 2019, and then analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis: CFA by using statistical package, and content analysis. The results of the research found that: 1) The components of Upright School Management of the primary school administrators under Office of the Basic Education Commission were composed of 3 main components and 11 sub-components. 2) The model of the Upright School Management for the primary school administrators under the Office of the Basic Education Commission was called “SPG Model”. It was the integrative model based on the concept of upright school standard, PIE Cycle School Administration Principles, and Good Conduct Principles. The structure of component relation in upright school administration consisted of 3 main components and 11 minor components. The component weight values in descending order started with Upright School standard, followed by PIE Cycle School Administration, and Good Conduct Principles. 3) The evaluation and affirmation results of the moral school management model for upright school administration of primary school administrators in propriety, accuracy, feasibility and utility were at 4.80 level overall that was higher than the evaluation criteria. The model was approved by the experts.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษยนิยม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อบูรณาการมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง “มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน” ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ บูรณาการระหว่างคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร และ คุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เอกสารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ รวมทั้งเอกสารอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง และ บทสัมภาษณ์ โดยศึกษาการบูรณาการแนวคิด มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท กับการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 4 ประเด็นคือ 1)คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2) สิทธิเสรีภาพ 3) ความเสมอภาค 4) ภราดรภาพ เพื่อส่งผลให้เกิดคุณค่าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ของมนุษยชาติที่อยู่ร่วมกันในสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิด มนุษยนิยม เป็นแนวคิด ที่ให้มนุษย์ยอมรับ เคารพนับถือในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้อยู่เหนือกว่าและมีความสำคัญกว่าสิ่งอื่นใดเป็นทัศนะ และ ความรู้สึกสำนึกของจิตใจที่มีจุดสูงสุดอยู่ที่มนุษย์ และ ผลประโยชน์ของมนุษย์ ที่ถือเป็นหลักการของแนวคิดในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย 2.แนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทนำเสนอแนวคิดในเรื่องที่เน้นให้มนุษย์ได้ตระหนักรู้ในตนเองในการกระทำของมนุษย์แต่ละคนมนุษย์จึงสามารถกำหนดชะตาชีวิตตามเจตจำนงเสรีของตนเอง กฏแห่งกรรม หรือกฎแห่งการกระทำ จึงเป็นอำนาจที่มนุษย์กำหนดได้เองและเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง 3.ผลของการนำหลักแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท มาบูรณาการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ใน 4 ประเด็น คือ 1. ประเด็นคุณค่า และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2. ประเด็นสิทธิเสรีภาพ 3. ประเด็นความเสมอภาค 4. ประเด็นภราดรภาพ ทำให้เกิดให้เกิดคุณค่าในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ของมนุษยชาติ ทำให้มนุษยชาติ มีแนวทางในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีการเคารพ ในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคารพในสิทธิเสรีภาพ เคารพในความเสมอภาค และมีภราดรภาพ มาใช้เป็นหลักแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษยชาติที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม 4. แนวทาง และ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน”คือ รูปแบบ (Model) K N R D U อนึ่ง การนำรูปแบบ (Model) K N R D U นี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในระดับปฏิบัติการ หมายถึง การเริ่มต้นการปฏิบัติที่ระดับของปัจเจกบุคลก่อนจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ระดับ ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และ ระดับสหประชาชาติในที่สุด
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษยนิยม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อบูรณาการมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง “มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน” ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ บูรณาการระหว่างคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร และ คุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เอกสารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ รวมทั้งเอกสารอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง และ บทสัมภาษณ์ โดยศึกษาการบูรณาการแนวคิด มนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท กับการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 4 ประเด็นคือ 1)คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2) สิทธิเสรีภาพ 3) ความเสมอภาค 4) ภราดรภาพ เพื่อส่งผลให้เกิดคุณค่าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ของมนุษยชาติที่อยู่ร่วมกันในสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิด มนุษยนิยม เป็นแนวคิด ที่ให้มนุษย์ยอมรับ เคารพนับถือในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้อยู่เหนือกว่าและมีความสำคัญกว่าสิ่งอื่นใดเป็นทัศนะ และ ความรู้สึกสำนึกของจิตใจที่มีจุดสูงสุดอยู่ที่มนุษย์ และ ผลประโยชน์ของมนุษย์ ที่ถือเป็นหลักการของแนวคิดในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย 2.แนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทนำเสนอแนวคิดในเรื่องที่เน้นให้มนุษย์ได้ตระหนักรู้ในตนเองในการกระทำของมนุษย์แต่ละคนมนุษย์จึงสามารถกำหนดชะตาชีวิตตามเจตจำนงเสรีของตนเอง กฏแห่งกรรม หรือกฎแห่งการกระทำ จึงเป็นอำนาจที่มนุษย์กำหนดได้เองและเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง 3.ผลของการนำหลักแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท มาบูรณาการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ใน 4 ประเด็น คือ 1. ประเด็นคุณค่า และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2. ประเด็นสิทธิเสรีภาพ 3. ประเด็นความเสมอภาค 4. ประเด็นภราดรภาพ ทำให้เกิดให้เกิดคุณค่าในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ของมนุษยชาติ ทำให้มนุษยชาติ มีแนวทางในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีการเคารพ ในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคารพในสิทธิเสรีภาพ เคารพในความเสมอภาค และมีภราดรภาพ มาใช้เป็นหลักแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษยชาติที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม 4. แนวทาง และ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการแนวคิดมนุษยนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน”คือ รูปแบบ (Model) K N R D U อนึ่ง การนำรูปแบบ (Model) K N R D U นี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในระดับปฏิบัติการ หมายถึง การเริ่มต้นการปฏิบัติที่ระดับของปัจเจกบุคลก่อนจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ระดับ ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และ ระดับสหประชาชาติในที่สุด
Dissertation title Humanistic Buddhism's philosophy in solving human rights problems. The objectives of the study were 1) to study the concept of humanism and 2) to study the concept of humanism in Theravada Buddhist Philosophy 3) integrated humanism in Buddhism's philosophy to solve human rights problems 4) to present the opinion. know about "Humanistic Buddhism's philosophy in solving human rights problems" This dissertation is a qualitative research. Integration between quality research and documentation, qualitative interviews. The instrument used in the research is to document both the primary and secondary as well as other documents. Related studies and interviews by integrating concepts. Buddhism's philosophy of humanism the solution to the human rights violations in four issues: 1) the value and dignity 2) freedom 3) equal to 4) to the Brotherhood resulted in valuable social, economic, political. Of humanity who live together in society. The results showedthat 1.Humanism is a concept that is accepted by humans. Respect for human values and dignity to be superior to and to be more important than anything else, it is the view and sense of the mind that is at its highest on human and human interests. Which is also a principle of the concept of the Universal Declaration of Human Rights 2. Humanism in Theravada Buddhist Philosophy presents the concept of self-awareness among human beings. In the actions of each human being Human beings can determine their destiny. According to one's free will, the law of karma or the law of action It is an autonomous power and that of the individual being responsible for his or her actions. 3.Effects of the application of humanism in Theravada Buddhist philosophy. To be integrated to solve problems of human rights violations in 4 issues: 1. Value and human dignity issues 2. Issues of rights and freedom 3. Equality issues 4. Brotherhood issues Cause values in the social, economic, political, governance of humanity. There are guidelines for living together in society. With respect for human values and dignity Respect the rights and freedoms Respect for equality and fraternity as a guide to life in a multicultural society of mankind 4.guidance and knowledge about. “Format, integrating the concept of humanism in Buddhism's philosophy to solve the problem of human rights” is a model K N RD U leadership model K N RD U use this to solve the problem of human rights violations. In a class action meant to start operating at the level of individual persons will be brought into action at the level of family, community, society and the United Nations.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
The purposes of this research were: 1) to study the elements of strategic management for the disabled in special education schools, 2) to establish a strategic management model for the disabled in special education schools, and 3) to assess and certify the strategic management model for the disabled in special education schools. The mixed research method was used in the study. The data were collected from 340 samples of 125 special education schools. The samples consisted of school directors, deputy directors and officials. The research instrument was a 5-level semi-structured questionnaire with confidential level at 0.98. The data were analyzed by descriptive statistics including frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis (EFA) and confirmatory factor analysis (CFA) through statistical computer package. The results of this research revealed that: 1.The elements of strategic management for the disabled in special education schools collected from concepts, theories, papers, texts, research works and related sources and then analyzed by Exploratory Factor Analysis (EFA) could be concluded into five main components; 1) strategic planning, 2) strategic plan analysis, 3) implementation of the strategic plan, 4) control of the strategic plan, and 5) evaluation of the strategic plan. 2. The results of establishing a strategic management model for the disabled in special education schools analyzed by Confirmatory Factor Analysis (CFA) found that the factor loading was 0.89-1.00, in descending order of element weight: 1) the implementation of the strategic plan was 1.00, 2) the strategic plan analysis was 0.99, 3) strategic plan control was 0.96, 4) evaluation and certification was 0.90, and 5) strategic planning was 0.89 respectively. The established model was consistent with the empirical data. 3. The results of assessment and approval of the model in terms of accuracy, suitability, possibility and benefits from 17 experts were at a high level with a figure at 4.27 (= 4.27). It could be concluded that the model was above the specified criteria and approved.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทศชาติชาดก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์ศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก ผลการวิจัย พบว่า 1) ทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในพระชาติต่าง ๆ เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เพื่อทรงบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ เพื่อเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหนุนนำให้ได้บรรลุซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองกิเลสกองทุกข์ทั้งปวง 2) ความประพฤติที่จัดเป็นความดีที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายกุศล สามารถนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ความประพฤติที่จัดเป็นความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายอกุศล สามารถนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ซึ่งเกณฑ์ที่นำมาตัดสินความดี-ความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นเป็นเกณฑ์ตัดสินทางจริยศาสตร์ของกลุ่มสัมบูรณนิยม กลุ่มปฏิบัตินิยม กลุ่มประโยชน์นิยม และเกณฑ์ตัดสินในทางพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายของชีวิตที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นมีประโยชน์ 3 ด้าน คือ ประโยชน์เพื่อตนเอง อันได้แก่ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์อย่างสูงสุดคือพระนิพพาน ประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ สามารถสร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ผู้อื่นทั้งทางกายและทางจิตใจ และประโยชน์เพื่อส่วนรวมและสังคม คือ สามารถสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมได้ 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก เป็นคุณค่าที่มีต่อจิตใจ คุณค่าที่มีต่อการดำเนินชีวิต คุณค่าที่มีต่อสังคม และคุณค่าที่มีต่อการปฏิบัติธรรม เป็นคุณค่าที่สร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ตนเอง ให้แก่คนอื่น และให้แก่สังคมส่วนรวม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทศชาติชาดก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์ศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก ผลการวิจัย พบว่า 1) ทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในพระชาติต่าง ๆ เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เพื่อทรงบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ เพื่อเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหนุนนำให้ได้บรรลุซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองกิเลสกองทุกข์ทั้งปวง 2) ความประพฤติที่จัดเป็นความดีที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายกุศล สามารถนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ความประพฤติที่จัดเป็นความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายอกุศล สามารถนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ซึ่งเกณฑ์ที่นำมาตัดสินความดี-ความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นเป็นเกณฑ์ตัดสินทางจริยศาสตร์ของกลุ่มสัมบูรณนิยม กลุ่มปฏิบัตินิยม กลุ่มประโยชน์นิยม และเกณฑ์ตัดสินในทางพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายของชีวิตที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นมีประโยชน์ 3 ด้าน คือ ประโยชน์เพื่อตนเอง อันได้แก่ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์อย่างสูงสุดคือพระนิพพาน ประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ สามารถสร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ผู้อื่นทั้งทางกายและทางจิตใจ และประโยชน์เพื่อส่วนรวมและสังคม คือ สามารถสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมได้ 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก เป็นคุณค่าที่มีต่อจิตใจ คุณค่าที่มีต่อการดำเนินชีวิต คุณค่าที่มีต่อสังคม และคุณค่าที่มีต่อการปฏิบัติธรรม เป็นคุณค่าที่สร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ตนเอง ให้แก่คนอื่น และให้แก่สังคมส่วนรวม
The purposes of this thesis include; 1) to study the ten birth-stories of the Buddha, 2) to study the ethical concepts in the ten birth-stories of the Buddha, and 3) to analyze the values of the ethical concepts in the ten birth-stories of the Buddha. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, books, and research works related. Research results were found that: 1) The ten birth-stories of the Buddha retell the past lives of the Buddha when he was still a Bodhisattva who was born either a human or a deva in order to perform meritorious acts which could help him reach his ultimate goal and become the Buddha in his final life to teach all beings to free themselves from desires and sufferings. 2) The good actions found in those stories are the wholesome that can bring benefits and happiness to practitioners, others and society as well. Meanwhile, the evil deeds in the stories are considered unwholesome because they can bring sufferings and troubles to the doers, others and society. The good deeds and the bad deeds in the ten birth-stories of the Buddha were decided by the ethical criteria set by the groups of absolutism, pragmatism, utilitarianism, and Buddhism. There are 3 types of benefits in the life goals found in the ten birth-stories of the Buddha; 1) benefits to oneself in the present life, in the following lifetimes, and the supreme benefit or achieving enlightenment; 2) benefits to other people in both physical and mental ways; and 3) public benefits referring to creating peace and happiness to community and society. 3) The ethical values in the ten birth-stories of the Buddha are for mentality, living a life, society and Dhamma practicing. These values can build and bring benefits and happiness to oneself, others and society.