Search results

186 results in 0.27s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเจริญอภิณหปัจจเวกขณ์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเสริมสร้างการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ 3) เพื่อบูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “บูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า อภิณหปัจจเวกขณ์ คือ ธรรมที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เพื่อให้จิตยอมรับความจริงที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตทุกคน เพื่อให้ใจเกิดความคุ้นเคย เกิดสติปัญญา เห็นเข้าใจ และยอมรับความเป็นจริงของชีวิต จนนำไปสู่การปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ยิ่งพิจารณาได้มากหรือบ่อยเท่าใด จิตก็ยิ่งปล่อยวางได้มากเท่านั้น เมื่อเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตแล้ว จะดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท การเสริมสร้างสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยการพิจารณาเรื่องธรรมดา 5 ด้าน คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักและการมีกรรมเป็นของ ๆ ตน เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นยอมรับและกล้าเผชิญสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต พิจารณาจนเกิดเป็นสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เป็นการสร้างสติอีกรูปแบบหนึ่ง สติที่ได้จากการพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์จะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีจิตมั่นคง มีจิตใจสงบ ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท ทั้งยังก่อให้เกิดคุณค่าต่อตนเอง ต่อสังคมและพระพุทธศาสนา การบูรณาการการเจริญสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยพิจารณาว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เรามีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นและเรามีกรรมเป็นของตน เราต้องได้รับผลของกรรมนั้น โดยใช้สติปัญญาพิจารณา เกิดการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เกิดความเข้าใจ ทำให้เกิดความไม่ประมาท รูปแบบบูรณาการการเสริมสร้างสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ ทำให้ดำเนินชีวิตอยู่ โดยอาศัยสติปัญญาเป็นเครื่องนำทางจนเข้าถึงความจริงของชีวิต เกิดปัญญานำพาชีวิตให้มีความสุขจากการเข้าใจถึงหลักธรรมชาติ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้คือ NSKTA MODEL
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเจริญอภิณหปัจจเวกขณ์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเสริมสร้างการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ 3) เพื่อบูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “บูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า อภิณหปัจจเวกขณ์ คือ ธรรมที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เพื่อให้จิตยอมรับความจริงที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตทุกคน เพื่อให้ใจเกิดความคุ้นเคย เกิดสติปัญญา เห็นเข้าใจ และยอมรับความเป็นจริงของชีวิต จนนำไปสู่การปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ยิ่งพิจารณาได้มากหรือบ่อยเท่าใด จิตก็ยิ่งปล่อยวางได้มากเท่านั้น เมื่อเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตแล้ว จะดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท การเสริมสร้างสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยการพิจารณาเรื่องธรรมดา 5 ด้าน คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักและการมีกรรมเป็นของ ๆ ตน เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นยอมรับและกล้าเผชิญสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต พิจารณาจนเกิดเป็นสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เป็นการสร้างสติอีกรูปแบบหนึ่ง สติที่ได้จากการพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์จะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีจิตมั่นคง มีจิตใจสงบ ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท ทั้งยังก่อให้เกิดคุณค่าต่อตนเอง ต่อสังคมและพระพุทธศาสนา การบูรณาการการเจริญสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยพิจารณาว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เรามีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นและเรามีกรรมเป็นของตน เราต้องได้รับผลของกรรมนั้น โดยใช้สติปัญญาพิจารณา เกิดการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เกิดความเข้าใจ ทำให้เกิดความไม่ประมาท รูปแบบบูรณาการการเสริมสร้างสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ ทำให้ดำเนินชีวิตอยู่ โดยอาศัยสติปัญญาเป็นเครื่องนำทางจนเข้าถึงความจริงของชีวิต เกิดปัญญานำพาชีวิตให้มีความสุขจากการเข้าใจถึงหลักธรรมชาติ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้คือ NSKTA MODEL
The objectives of this dissertation are: 1) to study the contemplation of Abhinhapaccavekkhana in Buddhism, 2) to strengthen mindfulness by contemplation of Abhinhapaccavekkhana, 3) to integrate the mindfulness strengthening by contemplation of Abhinha-paccavekkhana, and 4) to propose a model of a body of knowledge on “Integration of mindfulness strengthening by contemplation of Abhinhapaccavekkhana”. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, documents, research works concerned and in-depth interviews with 12 experts. The data were analyzed by content analysis. The results of the study were found that: Abhinhapaccavekkhana is ideas or facts which should be contemplated again and again in order to accept the facts of life that can occur to everyone. When the mind is accustomed to those facts, the one will understand life and accept the truth so that they can reach detachment in life. The more a person contemplates Abhinhapaccavekkhana, the more he can have detachment. When the ones understand the facts of life, they will live a life with earnestness. To strengthen mindfulness by contemplation of Abhinhapaccavekkhana is to contemplate 5 facts; old age, sickness, death, separation from the beloved, and owning of one’s deed. When the ones realize the truth and accept it, they will dare to confront with whatever happens in their life. When it is practiced regularly and completely, it is a way to create mindfulness. The mindfulness obtained from contemplation of Abhinhapaccavekkhana can result to calmness, firmness, and peacefulness of mind. The ones having these mental qualities will live a life with carefulness and create values to themselves, Buddhism and society. The integration of mindfulness strengthening by contemplation of Abhinhapaccavekkhana is to contemplate that we are subject to decay and we cannot escape it; we are subject to disease and we cannot escape it; we are subject to death and we cannot escape it; there will be separation from all that are dear to us and beloved; and we are owners of our deed, whatever deed we do, we shall become heir to it. The comparison of results and impacts of the deed by contemplation with mindfulness and wisdom will lead to understanding and carelessness. The NSKTA MODEL is the model of Integration of mindfulness strengthening by contemplation of Abhinhapaccavekkhana that can lead to the truth of life based on mindfulness and wisdom and happiness in life based on understanding in the natural law.
หนังสือ

    การศึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง สุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม” ดุษฎีนิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูล เนื้อหาจากหนังสือ ตำรา บทความวิจัย หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ในด้านสุนทรียภาพ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพุทธศาสนา จำนวน 10 รูป/คน และสำรวจพื้นที่ 114 ห้องพักอาศัยจาก 5 โครงการ หลังจากนั้นนำมาถอดรหัสและบูรณาการสู่รูปแบบสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สุนทรียภาพที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความดี และความงามของสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธก่อให้เกิดความสมดุลบนทางสายกลาง นำมาซึ่งความสงบ ร่มเย็นทางร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ สร้างความสมดุลระหว่างศาสตร์ ศิลปะ และธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความเป็นอยู่ของสภาพแวดล้อมภายในได้อย่างมีคุณภาพภายใต้บริบทของความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ และประหยัด 2) หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาซึ่งแนวทางการจัดพื้นที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย สัดส่วนแห่งความพองาม ผังพื้นแห่งความพอเพียง และโซนแห่งความพอดี รวมถึงการจัดวางเครื่องเรือนเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย ที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณ งดงาม คุณค่า สารัตถะ 3) การบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม นำมาสู่การสร้างคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยภายใต้องค์ประกอบของ พื้นที่ว่าง แสงธรรมชาติ บรรยากาศ และผิวสัมผัส (SLAT) ดังปรากฏอยู่ใน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องเตรียมอาหาร และห้องน้ำ (SLPT) 4) สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ได้เป็นความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ ประหยัดที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณ งดงาม คุณค่า สารัตถะ และมีความหมายดังสมการ SAFE & SAVE ภายใต้โมเดลสุนทรียภาพสมดุล โดยองค์ความรู้ที่ได้รับจากผลการวิจัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการสร้างสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดคุณภาพการอยู่อาศัยได้อย่างสมดุล เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต
การศึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง สุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม” ดุษฎีนิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูล เนื้อหาจากหนังสือ ตำรา บทความวิจัย หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ในด้านสุนทรียภาพ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพุทธศาสนา จำนวน 10 รูป/คน และสำรวจพื้นที่ 114 ห้องพักอาศัยจาก 5 โครงการ หลังจากนั้นนำมาถอดรหัสและบูรณาการสู่รูปแบบสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สุนทรียภาพที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความดี และความงามของสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธก่อให้เกิดความสมดุลบนทางสายกลาง นำมาซึ่งความสงบ ร่มเย็นทางร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ สร้างความสมดุลระหว่างศาสตร์ ศิลปะ และธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความเป็นอยู่ของสภาพแวดล้อมภายในได้อย่างมีคุณภาพภายใต้บริบทของความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ และประหยัด 2) หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาซึ่งแนวทางการจัดพื้นที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย สัดส่วนแห่งความพองาม ผังพื้นแห่งความพอเพียง และโซนแห่งความพอดี รวมถึงการจัดวางเครื่องเรือนเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย ที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณ งดงาม คุณค่า สารัตถะ 3) การบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม นำมาสู่การสร้างคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยภายใต้องค์ประกอบของ พื้นที่ว่าง แสงธรรมชาติ บรรยากาศ และผิวสัมผัส (SLAT) ดังปรากฏอยู่ใน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องเตรียมอาหาร และห้องน้ำ (SLPT) 4) สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ได้เป็นความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ ประหยัดที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณ งดงาม คุณค่า สารัตถะ และมีความหมายดังสมการ SAFE & SAVE ภายใต้โมเดลสุนทรียภาพสมดุล โดยองค์ความรู้ที่ได้รับจากผลการวิจัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการสร้างสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดคุณภาพการอยู่อาศัยได้อย่างสมดุล เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต
The objectives of this research entitled “Aesthetic of Home Interior Environment according to Sufficiency Economy Philosophy in Buddhist Approach” were as follows: 1. To study the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy, 2. To study the principles of Buddhadhamma enhancing the Sufficiency Economy Philosophy, 3. To integrate the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy in Buddhist approach and 4. To propose guidelines in creating new knowledge regarding “the model of integrating the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy in Buddhist approach”. The data of this qualitative research were collected from books, text books, research articles, the Tipittaka, the Commentaries, and in-depth interviews with 10 experts in Aesthetic, Sufficiency Economy Philosophy and Buddhism and from site survey in 114 rooms from 5 projects. After that, the data were decoded and integrated into Interior environment. The results of the study indicated that: 1) The aesthetic base on the truth, virtue and beauty of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy in the balance of middle way leads to peacefulness in body, mind and soul. It also creates the balance between science, art and nature that cause the quality of living on simple, applicable, functional and economy basis (SAFE). 2) The Buddhist principles that enhance the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy lead to the principle of beauty proportion, moderate zoning and sufficient layout planning including furniture as much as necessary of living environment associate with spirit, aesthetic, value and essence (SAVE). 3) The integrating of Buddhist principles into the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy lead to the quality of space, light, atmosphere and texture (SLAT) in the area of sleeping, living, pantry and toilet (SLPT). 4) The new knowledge from the integrating of Buddhist principles into the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy in Buddhist approach can be synchronized into simplicity, applicability, function and economy as in the SAFE & SAVE Model.. The results of this research can be applied into the aesthetic of home interior environment of living in different types suitable to the contexts of Thai society in now and then.
หนังสือ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้า ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้ามี 6 ด้าน มี 64 ตัวแปร มีแนวการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้าคือ 1) ด้านการวางแผนรับนักศึกษาและการผลิตบัณฑิต เป้าหมายจำนวนรับนักศึกษาการวางแผนรับนักศึกษาใหม่ต้องมีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สนใจปฏิบัติธรรม โดยการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การปฏิบัติการจะคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ปรับรูปแบบกิจกรรมมุ่งสู่วิถีชีวิตแนวใหม่ 3) ด้านการประเมินผล ประเมิน ต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ชัดเจน สมเหตุสมผล เชื่อถือได้ มีความโปร่งใส และมีมาตรฐานเดียวกัน 4) ด้านการเรียนรู้ ที่เน้นการบูรณาการหลายศาสตร์ และประยุกต์พุทธธรรมกับศาสตร์สมัยใหม่ เน้นสาระเนื้อหาพระพุทธศาสนาที่สนองตอบและสามารถนำไปประยุกต์รับใช้สังคมมากขึ้น 5) ด้านการประกันคุณภาพการเรียนการสอน ส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ เน้นการปฏิบัติงานวิจัย การให้บริการวิชาการ การจัดการเรียนการสอน ที่เป็นระบบผสมผสาน และ6) ด้านการพัฒนาปรับปรุงการบริหารวิชาการ การบริหารวิชาการมหาวิทยาลัยสงฆ์ต้องมีความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและสังคม
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้า ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้ามี 6 ด้าน มี 64 ตัวแปร มีแนวการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้าคือ 1) ด้านการวางแผนรับนักศึกษาและการผลิตบัณฑิต เป้าหมายจำนวนรับนักศึกษาการวางแผนรับนักศึกษาใหม่ต้องมีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สนใจปฏิบัติธรรม โดยการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การปฏิบัติการจะคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ปรับรูปแบบกิจกรรมมุ่งสู่วิถีชีวิตแนวใหม่ 3) ด้านการประเมินผล ประเมิน ต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ชัดเจน สมเหตุสมผล เชื่อถือได้ มีความโปร่งใส และมีมาตรฐานเดียวกัน 4) ด้านการเรียนรู้ ที่เน้นการบูรณาการหลายศาสตร์ และประยุกต์พุทธธรรมกับศาสตร์สมัยใหม่ เน้นสาระเนื้อหาพระพุทธศาสนาที่สนองตอบและสามารถนำไปประยุกต์รับใช้สังคมมากขึ้น 5) ด้านการประกันคุณภาพการเรียนการสอน ส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ เน้นการปฏิบัติงานวิจัย การให้บริการวิชาการ การจัดการเรียนการสอน ที่เป็นระบบผสมผสาน และ6) ด้านการพัฒนาปรับปรุงการบริหารวิชาการ การบริหารวิชาการมหาวิทยาลัยสงฆ์ต้องมีความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและสังคม
The purpose of this study was to study the future image of academic administration of Buddhist Universities in the next decade, using Ethnographic Delphi Futures Research. The used tools were questionnaires and in-depth interviews. The data were analyzed by using median, baseline, interquartile range, using packaged programs and content analysis. The results showed that: The future vision of academic administration of Buddhist universities in the next decade consisted of 6 aspects with 64 variables. There were guidelines for academic administration of Buddhist universities in the next decade, namely: 1) In terms of planning for student admissions and producing graduates, the target number of student admissions planning for new students should have a variety of target groups, such as the elderly, group of people interested in dharma practice by creating a short course; 2) In terms of teaching and learning activities, the non-formal education system, and informal education operations would mainly take into account the target audience, and adjust the activities to lead to a new way of life; 3) In terms of assessment, there should be clear, reasonable, reliable, transparent rules and procedures. and have the same standards; 4) In terms of learning, there would focus on the integration of multiple sciences and apply Buddhism to modern science, and emphasis on the content of Buddhism that is responsive and can be applied to serve society; 5) In terms of teaching and learning quality assurance, there should promote, develop and evaluate the operational efficiency of the quality assurance system, and emphasis on research practice academic service teaching management which was a mixed system; and 6) the development and improvement of academic administration academic administration of university disciplines required economic and social flexibility
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้ในญาณวิทยา 2) เพื่อศึกษาความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1.ความรู้ในญาณวิทยา คือความรู้ที่ได้มาจากการค้นหาคำตอบเรื่องความรู้ที่แท้จริงคืออะไรความรู้ที่แท้จริงมีหรือไม่ อาจกล่าวได้ว่าความรู้เกิดจากแหล่งต่าง ๆ 3 แหล่งคือประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส การคิดหาเหตุผล และการหยั่งรู้ภายใน แนวคิดทางวัตถุนิยมถือว่า ความรู้เกิดจากประสาทสัมผัสคือการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และการสัมผัสสิ่งภายนอก แนวคิดทางจิตถือว่า ความรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องคิด คือเกิดกระบวนการทางจิตจึงจะรู้ว่า เห็นอะไร ได้ยินเสียงอะไร ได้กลิ่นอะไร เป็นต้น ประสาทสัมผัสเป็นแต่เพียงอุปกรณ์ของจิตเท่านั้น 2. ความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท ต้องอาศัยการจำได้หมายรู้ ซึ่งทำให้เกิดการคิดพิจารณาและสามารถลงมือทำหรือพิสูจน์ด้วยตนเอง บุคคลธรรมดาทั่วไปยังต้องอาศัยการศึกษา การฟังจากผู้อื่น ถึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงได้ยกเว้นคนที่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างพระพุทธเจ้าที่สามารถค้นพบสัจธรรมที่ไม่เคยมีคนค้นพบด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้ใครสั่งสอน 3. วิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่าสามารถแบ่ง 3 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบสอดคล้องกัน 2.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบเห็นต่างกัน 3.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบเห็นสอดคล้องกันในหลักการแต่แตกต่างกันในรายละเอียด
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้ในญาณวิทยา 2) เพื่อศึกษาความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1.ความรู้ในญาณวิทยา คือความรู้ที่ได้มาจากการค้นหาคำตอบเรื่องความรู้ที่แท้จริงคืออะไรความรู้ที่แท้จริงมีหรือไม่ อาจกล่าวได้ว่าความรู้เกิดจากแหล่งต่าง ๆ 3 แหล่งคือประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส การคิดหาเหตุผล และการหยั่งรู้ภายใน แนวคิดทางวัตถุนิยมถือว่า ความรู้เกิดจากประสาทสัมผัสคือการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และการสัมผัสสิ่งภายนอก แนวคิดทางจิตถือว่า ความรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องคิด คือเกิดกระบวนการทางจิตจึงจะรู้ว่า เห็นอะไร ได้ยินเสียงอะไร ได้กลิ่นอะไร เป็นต้น ประสาทสัมผัสเป็นแต่เพียงอุปกรณ์ของจิตเท่านั้น 2. ความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท ต้องอาศัยการจำได้หมายรู้ ซึ่งทำให้เกิดการคิดพิจารณาและสามารถลงมือทำหรือพิสูจน์ด้วยตนเอง บุคคลธรรมดาทั่วไปยังต้องอาศัยการศึกษา การฟังจากผู้อื่น ถึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงได้ยกเว้นคนที่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างพระพุทธเจ้าที่สามารถค้นพบสัจธรรมที่ไม่เคยมีคนค้นพบด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้ใครสั่งสอน 3. วิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่าสามารถแบ่ง 3 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบสอดคล้องกัน 2.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบเห็นต่างกัน 3.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบเห็นสอดคล้องกันในหลักการแต่แตกต่างกันในรายละเอียด
The objectives of the thesis entitled “An Analytical Study of Epistemological Knowledge in Theravada Buddhist Philosophy” are as follows: 1) to study knowledge in Epistemology, 2) to study knowledge in Theravada Buddhist Philosophy, and 3) to analyze the epistemological knowledge in Theravada Buddhist Philosophy. The results of the study were found that: 1. The knowledge in Epistemology is the knowledge obtained from the search for the answers in what the true knowledge is and whether there is the true knowledge. It can be said that the knowledge is originated from 3 sources: sensual experiences, reasonable thinking, and intuition. In the concept of Materialism, the knowledge occurs from senses through seeing, hearing, smelling, tasting and touching. In Spiritualism, the knowledge is originated from thinking or thinking process that leads to what to see, what to hear, what to smell etc. Senses function as mental instrument only. 2. The knowledge in Theravada Buddhist Philosophy depends on memory, recognition, consideration and action by oneself. Individuals in general have to study and listen to the others to gain wisdom and realization. The exception is only for the one with special qualifications as the Buddha who is able to attain the ultimate truth without any guidance from the others. 3. The analysis of the epistemological knowledge in Theravada Buddhist Philosophy can be concluded into 3 aspects: 1) Two types of knowledge in Epistemology and in Theravada Buddhist Philosophy are consistent, 2) Two types of knowledge in Epistemology and in Theravada Buddhist Philosophy are different, and 3) Two types of knowledge in Epistemology and in Theravada Buddhist Philosophy are consistent in the main principles but different in details.
หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน ระดับประถมศึกษา จำนวน 56 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน 4 ฝ่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รวม 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบตรวจสอบรายการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน พบว่า ได้องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ และ 66 ตัวแปร 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การบริหารงานโรงเรียน 2) กิจกรรมโรงเรียน 3) ไตรสิกขา 4) บรรยากาศโรงเรียน และ 5) การปฏิบัติตนของผู้บริหารโรงเรียน 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 100
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน ระดับประถมศึกษา จำนวน 56 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน 4 ฝ่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รวม 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบตรวจสอบรายการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน พบว่า ได้องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ และ 66 ตัวแปร 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การบริหารงานโรงเรียน 2) กิจกรรมโรงเรียน 3) ไตรสิกขา 4) บรรยากาศโรงเรียน และ 5) การปฏิบัติตนของผู้บริหารโรงเรียน 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 100
The purposes of this research were as follows : 1) to study the components of the Elementary school administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools, 2) to create an elementary school administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools, and 3) to evaluate and affirm the elementary school administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected by questionnaires with reliability at 0.92, structural interviews and checklist forms from 448 samples consisting of school directors, heads of department, board of basic Education schools and the teachers responsible for the project in 56 royal award Buddhist oriented schools. The data were collected from January 2021 to February 202and then analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis. 1. The components of the Elementary School Administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools consist of 5 components and 66 variables. 2. The elementary school administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools from exploratory factor analysis (EFA) has 5 main components; 1) School Administration, 2) School Activities, 3) Tri-Sikkha, 4) School Atmosphere, and 5) Behavior of School Administrators. 3. The evaluation and confirmation of the model from experts in its were at 100 % verification of acceptable range of accuracy, suitability, possibility, and practicality.
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 จำนวน 140 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) เมื่อพบข้อแตกต่างเป็นรายคู่จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe (Post Hoc) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสมานัตตตา อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทาน ด้านปิยวาจา และด้านอัตถจริยา อยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบ พบว่า พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4ของพนักงานธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีข้อเสนอแนะดังนี้1) ด้านทาน หากต้องการให้ช่วยเหลืออะไร เต็มใจและทำให้ได้เสมอ ยกเว้นเรื่องที่ผิด เสียสละเวลาส่วนตัวสอนงาน และให้ความรู้ใหม่ ๆ แก่พนักงานเสมอ และเวลาเพื่อนร่วมงานไม่เข้าใจในเรื่องงาน ก็จะคอยบอกและแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง 2) ด้านปิยวาจา การพูดจาให้รู้จักสุภาพ อ่อนน้อม เพื่อให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ด้วยวาจาที่สุภาพในการทำงานร่วมกัน และ พูดจาสุภาพต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน 3) ด้านอัตถจริยา ช่วยเหลือลูกค้าและเพื่อนพนักงาน เท่าที่ทำได้และไม่ผิดระเบียบปฏิบัติ เมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหา ควรให้ความช่วยเหลือ ไม่นิ่งเฉย และทุกคนควรมีน้ำใจต่อกันและกัน และ 4) ด้านสมานัตตตา ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในองค์กร ปฏิบัติตัวเสมอต้นเสมอปลาย เคารพผู้อาวุโส ให้เกียรติเพื่อนร่วมงานทุกคน และให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในกิจกรรมต่าง ๆ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 จำนวน 140 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) เมื่อพบข้อแตกต่างเป็นรายคู่จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe (Post Hoc) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสมานัตตตา อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทาน ด้านปิยวาจา และด้านอัตถจริยา อยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบ พบว่า พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4ของพนักงานธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีข้อเสนอแนะดังนี้1) ด้านทาน หากต้องการให้ช่วยเหลืออะไร เต็มใจและทำให้ได้เสมอ ยกเว้นเรื่องที่ผิด เสียสละเวลาส่วนตัวสอนงาน และให้ความรู้ใหม่ ๆ แก่พนักงานเสมอ และเวลาเพื่อนร่วมงานไม่เข้าใจในเรื่องงาน ก็จะคอยบอกและแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง 2) ด้านปิยวาจา การพูดจาให้รู้จักสุภาพ อ่อนน้อม เพื่อให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ด้วยวาจาที่สุภาพในการทำงานร่วมกัน และ พูดจาสุภาพต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน 3) ด้านอัตถจริยา ช่วยเหลือลูกค้าและเพื่อนพนักงาน เท่าที่ทำได้และไม่ผิดระเบียบปฏิบัติ เมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหา ควรให้ความช่วยเหลือ ไม่นิ่งเฉย และทุกคนควรมีน้ำใจต่อกันและกัน และ 4) ด้านสมานัตตตา ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในองค์กร ปฏิบัติตัวเสมอต้นเสมอปลาย เคารพผู้อาวุโส ให้เกียรติเพื่อนร่วมงานทุกคน และให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในกิจกรรมต่าง ๆ
The objectives of this research were: 1) to study the use of 4 principles of Sangahavutthu of Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45, 2) to compare the use of 4 principles of Sangahavutthu of Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45 based on their gender, age and years of employment, and 3) to analyze suggestions regarding the use of 4 principles of Sangahavutthu of Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45. The samples of the study were 140 officers of Kasikorn Bank in the Office of Service and Marketing 45 obtained by simple random sampling. The sample size (n = 220) was determined by using Krejcie and Morgan’s (1970) table of sample sizes, specifying a 5% margin of error. The experimental data were collected by questionnaire and summarized with descriptive statistics; frequency, percentage, mean and standard deviation, and compared groups by using independent-sample t-tests, F-tests and one-way analysis of variance (ANOVA). If the statistically significant difference between study groups was found (P< 0.05), it would be then tested by Scheffe (Post Hoc). All of the data was analyzed by statistics software. The results of the study were found that:: 1) The use of 4 principles of Sangahavutthu of Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45 was at a high level totally. When considering by aspects in descending order, the highest level was on Samanattata, followed by Dana, Piyavaca, and Atthacariya respectively. 2) In comparative studies, the statistically significant difference at 0.05 level in using the 4 principles of Sangahavatthu was not found among Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45 who had different gender, age, and years of employment. 3) The suggestions obtained from the study were as follows: 1) In giving; if there is something in need, they are ready to provide help willingly, except for the wrong doing, and they devote their personal time to supervise and teach employees and colleagues when they need, 2) In kindly speech; they use polite, humble and respectful expressions to each other, and they provide helpful advice to clients and colleagues, 3) In useful conduct; they help customers and fellow employees as much as possible in the scope of the organization regulations. When any colleague has a problem, they are helpful, not passive, and express hospitality to each other, and 4) In even and equal treatment; they help each other in the organization, behave consistently respect to the elderly, treat all colleagues honorably and cooperate and assist in various activities.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา 2) เพื่อศึกษาเกสปุตตสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัย พบว่า 1. การทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา เป็นการใช้สิ่งที่ไม่ใช่เหตุผลมาอ้างเป็นเหตุผล เป็นความบกพร่องในการอ้างเหตุผล แต่มิใช่ความบกพร่องที่เกิดจากเหตุผลไม่สมบูรณ์ หากแต่เป็นความบกพร่องที่เกิดจากการทิ้งเหตุผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. การทิ้งเหตุผลด้วยภาษา 2. การทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ 3. การทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา และ 4. การทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา 2. เกสปุตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้านำเอาหลักความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ปรากฏในสังคมอินเดียในสมัยนั้น มาตรัสเพื่อเตือนสติแก่ชาวกาลามชนในแคว้นโกศลสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อนั้น ไม่ได้แปลว่าไม่ให้เชื่อในหลักความเชื่อแบบดั้งเดิม 10 ประการแต่ก่อนที่จะปลงใจเชื่อควรใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนหรือยกย่อง ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นอกุศล ไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนก็ควรละเสีย แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นกุศล มีประโยชน์ บัณฑิตยกย่องก็ให้ถือปฏิบัติสืบต่อไป 3. การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร เป็นการให้ละทิ้งการอ้างสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุผลเพราะการอ้างสิ่งต่าง ๆ เพียงส่วนเดียวเป็นเหตุผลนั้นก็ดูจะเป็นการเชื่อที่เข้าหลักการทิ้งเหตุผลอย่างหนึ่ง เช่น การเชื่อตำรา การเชื่อด้วยการคิดตามแนวเหตุผล ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลด้วยภาษา การเชื่อด้วยเหตุผลทางตรรกะ การเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ การเชื่อด้วยการฟังตามกันมา การเชื่อการอนุมานการเชื่อเพราะมองจากรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องการทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา การเชื่อประเพณีการเชื่อการเล่าลือ การเชื่อเพราะเห็นเป็นครูอาจารย์ ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา 2) เพื่อศึกษาเกสปุตตสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัย พบว่า 1. การทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา เป็นการใช้สิ่งที่ไม่ใช่เหตุผลมาอ้างเป็นเหตุผล เป็นความบกพร่องในการอ้างเหตุผล แต่มิใช่ความบกพร่องที่เกิดจากเหตุผลไม่สมบูรณ์ หากแต่เป็นความบกพร่องที่เกิดจากการทิ้งเหตุผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. การทิ้งเหตุผลด้วยภาษา 2. การทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ 3. การทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา และ 4. การทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา 2. เกสปุตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้านำเอาหลักความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ปรากฏในสังคมอินเดียในสมัยนั้น มาตรัสเพื่อเตือนสติแก่ชาวกาลามชนในแคว้นโกศลสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อนั้น ไม่ได้แปลว่าไม่ให้เชื่อในหลักความเชื่อแบบดั้งเดิม 10 ประการแต่ก่อนที่จะปลงใจเชื่อควรใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนหรือยกย่อง ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นอกุศล ไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนก็ควรละเสีย แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นกุศล มีประโยชน์ บัณฑิตยกย่องก็ให้ถือปฏิบัติสืบต่อไป 3. การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร เป็นการให้ละทิ้งการอ้างสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุผลเพราะการอ้างสิ่งต่าง ๆ เพียงส่วนเดียวเป็นเหตุผลนั้นก็ดูจะเป็นการเชื่อที่เข้าหลักการทิ้งเหตุผลอย่างหนึ่ง เช่น การเชื่อตำรา การเชื่อด้วยการคิดตามแนวเหตุผล ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลด้วยภาษา การเชื่อด้วยเหตุผลทางตรรกะ การเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ การเชื่อด้วยการฟังตามกันมา การเชื่อการอนุมานการเชื่อเพราะมองจากรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องการทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา การเชื่อประเพณีการเชื่อการเล่าลือ การเชื่อเพราะเห็นเป็นครูอาจารย์ ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา
The objectives of this thesis were: 1) to study abandoning reason according to logic, 2) to study Kesaputta Sutta, and 3) to analyze abandoning reason in Kesaputta Sutta. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, and related documents and then analyzed and summarized into the findings. The results of the study were found that : 1. Abandoning reasons according to logic is the use of irrational things as reasons and is a defect in reasoning but not a defect caused by incomplete reasons. but by discarding reasons, which are divided into 4 types as follows: 1. Linguistic fallacy, 2. Formal or logical fallacy, 3. Material fallacy, and 4. Psychological fallacy. 2. Kesaputta Sutta is the sutta in which the Buddha brought the belief in ancient Indian society to remind the people in Kalama village of Kosala state. The Buddha did not forbid them from the belief as their ancestors did, but the Lord reminded them to consider that belief with wisdom whether that was wholesome or unwholesome, praised or condemned by the sages. If it is unwholesome and condemned be the sages, it should be discarded, and if it is wholesome and praised by the sages, it should be continued to practice. 3. Abandoning reason in Kesaputta Sutta is referred to discarding reasons based on things. It can be concluded into a kind of abandoning reason. A belief in texts and logical thinking is relevant to linguistic fallacy. A belief in logical reasoning and theoretical reason is in line with formal or logical fallacy. A belief up on repeated hearing and up on axiom is similar to material fallacy. A belief up on tradition and teachers is relevant to psychological fallacy.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกัน 3. เพื่อสัมภาษณ์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) จำนวน 196 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)ผู้ที่มีบทบาทสำคัญจำนวน 6 คน (Key Informants) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean; ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, S.D.) และทดสอบสมมติฐาน T-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 ลำดับ ได้ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, บทบาทการส่งเสริมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง รองลงมาคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีอายุและระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ผลจากการสัมภาษณ์แนวทางส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ความคิดเห็นสอดคล้องกันส่วนมาก คือ บทบาทการส่งเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนท้องถิ่นเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น, รองลงมาได้แก่บทบาทการส่งเสริมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง เรื่องได้มีการจัดให้ชุมชนเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น รองลงมาคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เรื่องแหล่งท่องเที่ยวยังคงอนุรักษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เรื่อง มีการจัดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวมีความปลอดภัยและเพียงพอต่อนักท่องเที่ยว
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกัน 3. เพื่อสัมภาษณ์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) จำนวน 196 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)ผู้ที่มีบทบาทสำคัญจำนวน 6 คน (Key Informants) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean; ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, S.D.) และทดสอบสมมติฐาน T-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 ลำดับ ได้ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, บทบาทการส่งเสริมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง รองลงมาคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีอายุและระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ผลจากการสัมภาษณ์แนวทางส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ความคิดเห็นสอดคล้องกันส่วนมาก คือ บทบาทการส่งเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนท้องถิ่นเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น, รองลงมาได้แก่บทบาทการส่งเสริมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง เรื่องได้มีการจัดให้ชุมชนเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น รองลงมาคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เรื่องแหล่งท่องเที่ยวยังคงอนุรักษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เรื่อง มีการจัดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวมีความปลอดภัยและเพียงพอต่อนักท่องเที่ยว
The objectives of this thesis are as follows: 1.To study the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province, 2. To compare the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province in the opinion of people with different gender, age, and educational level, and 3. To collect suggestions on ways to promote the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province. The mixed research method was used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 196 samples obtained by Taro Yamane’s formula. The qualitative data were collected by in-depth interviews with6 key informants. The statistics used in the research were frequency distribution, percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.), and hypothesis testing T-test, and F-test or ANOVA statistical value. The results showed that: 1. The role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province in all 4 aspects was at a high level. When considering each aspect, it was found that every aspect was at a high level. Sorted in 3-descending order from highest to lowest were as follows: the role of promoting natural resources and environment, the role of promoting social culture and security, followed by the role of promoting the physical environment, and the role of the promotion of facilities respectively. 2.The comparison resolts Personnel with different gender, age, education level and work experiences have different levels of opinions on the role of local governments in promoting tourism in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province with significantly statistic figure at the 0.05 level. The personnel with different age and educational levels have opinions on the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province indifferently. 3. Results from the most interviews on the guidelines for promoting the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province were on the role of promoting natural resources and the environment in the aspect of tourism made local communities more valued about the environment, followed by the role of promoting social, cultural and security in the aspect of arranging the community to attend a meeting to discuss environmental problems, the role of promoting the physical environment in the aspect that the tourist attraction is still preserved and it is a sustainable tourist destination, and the role in the promotion of facilities in the aspect of arrangement of tourist attractions with safety and sufficiency for tourists.
หนังสือ

    วิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช 2. เพื่อศึกษาการปกครองแบบธรรมวิชัย และ 3. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าและประโยชน์การปกครองตามแบบธรรมวิชัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ตำรา และงานเขียนทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงนำหลักการปกครองและแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นกุศโลบายในการปกครอง เพื่อสร้างความชอบธรรมและดำรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองให้มีเสถียรภาพมากที่สุด เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี จะต้องอาศัยธรรมเป็นหลักในการปกครอง สร้างบุคคลให้มี ธรรมราชาในจิตใจมีภาวะผู้นำทางการเมืองกับความเป็นธรรมราชามุ่งเน้นพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมือง คือ มุ่งพัฒนาตน ได้แก่ พัฒนาตัวของผู้นำเอง โดยใช้หลักแห่งความเข้าใจ และการมีฐานแห่งความเป็นธรรมที่สถิตอยู่ในใจ เป็นต้น มุ่งพัฒนาผู้ใต้การปกครอง คือด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ และด้านสติปัญญา พัฒนาองค์รวมของสังคม โดยยึดกรอบศีลธรรมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็กำหนดกฎหมายเป็นเครื่องส่งเสริมสนับสนุนศีลธรรม โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวคิดหลักในการปกครองบ้านเมือง มุ่งเน้นหลักปฏิบัติ โดยนำหลักธรรมดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติ เผยแผ่ สั่งสอน ประชาชนทั่วไป 2. การปกครองแบบธรรมวิชัย พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองบ้านเมืองโดย ใช้หลักพรหมวิหารธรรม 4 ไม่ขาดและไม่ทำลาย เป็นตัวอย่างแก่ผู้นำบริษัทและเจ้าขุนมูลนายทั้งสมัยโบราณกาลและสมัยปัจจุบันอย่างยิ่ง เป็นมหาราชในอุดมคติ พระองค์ทรงใช้ หลัก"ธรรมราชา"คือการปกครองบ้านเมืองโดยธรรม “ธรรมวิชัย”เป็นหลักการปกครอง พระมหากษัตริย์ต่างเมืองต่างประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบันได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง ทรงปกครองอาณา ประชาราษฎร์ประดุจ พ่อปกครองลูก หรือทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม ส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ สวัสดิการสังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การจัดบริการสาธารณประโยชน์ และสังคมสงเคราะห์ สร้างศิลาจารึกสื่อสารเสริมธรรม ประกาศหลักการแห่งเสรีภาพ แถลงเรื่องที่เป็นนโยบายของรัฐในทางธรรม ที่จะให้ผู้บริหารปกครองท้องถิ่นนำไปสั่งสอนประชาชน แต่งตั้ง ธรรมมหาอำมาตย์ เป็นทูตแห่งธรรมในการเผยแผ่ พระธรรม โดยพระองค์ก็เสด็จธรรมยาตราไปยัง พุทธสถานทุกแห่ง เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พบว่า บทบาทด้านทาน ทรัพย์และอำนาจเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ทำความดีงามและประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ตลอดจนให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงโปรดให้สร้างอารามวิหารไว้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 84,000 แห่ง และจารึก 3.
วิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช 2. เพื่อศึกษาการปกครองแบบธรรมวิชัย และ 3. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าและประโยชน์การปกครองตามแบบธรรมวิชัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ตำรา และงานเขียนทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงนำหลักการปกครองและแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นกุศโลบายในการปกครอง เพื่อสร้างความชอบธรรมและดำรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองให้มีเสถียรภาพมากที่สุด เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี จะต้องอาศัยธรรมเป็นหลักในการปกครอง สร้างบุคคลให้มี ธรรมราชาในจิตใจมีภาวะผู้นำทางการเมืองกับความเป็นธรรมราชามุ่งเน้นพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมือง คือ มุ่งพัฒนาตน ได้แก่ พัฒนาตัวของผู้นำเอง โดยใช้หลักแห่งความเข้าใจ และการมีฐานแห่งความเป็นธรรมที่สถิตอยู่ในใจ เป็นต้น มุ่งพัฒนาผู้ใต้การปกครอง คือด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ และด้านสติปัญญา พัฒนาองค์รวมของสังคม โดยยึดกรอบศีลธรรมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็กำหนดกฎหมายเป็นเครื่องส่งเสริมสนับสนุนศีลธรรม โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวคิดหลักในการปกครองบ้านเมือง มุ่งเน้นหลักปฏิบัติ โดยนำหลักธรรมดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติ เผยแผ่ สั่งสอน ประชาชนทั่วไป 2. การปกครองแบบธรรมวิชัย พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองบ้านเมืองโดย ใช้หลักพรหมวิหารธรรม 4 ไม่ขาดและไม่ทำลาย เป็นตัวอย่างแก่ผู้นำบริษัทและเจ้าขุนมูลนายทั้งสมัยโบราณกาลและสมัยปัจจุบันอย่างยิ่ง เป็นมหาราชในอุดมคติ พระองค์ทรงใช้ หลัก"ธรรมราชา"คือการปกครองบ้านเมืองโดยธรรม “ธรรมวิชัย”เป็นหลักการปกครอง พระมหากษัตริย์ต่างเมืองต่างประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบันได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง ทรงปกครองอาณา ประชาราษฎร์ประดุจ พ่อปกครองลูก หรือทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม ส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ สวัสดิการสังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การจัดบริการสาธารณประโยชน์ และสังคมสงเคราะห์ สร้างศิลาจารึกสื่อสารเสริมธรรม ประกาศหลักการแห่งเสรีภาพ แถลงเรื่องที่เป็นนโยบายของรัฐในทางธรรม ที่จะให้ผู้บริหารปกครองท้องถิ่นนำไปสั่งสอนประชาชน แต่งตั้ง ธรรมมหาอำมาตย์ เป็นทูตแห่งธรรมในการเผยแผ่ พระธรรม โดยพระองค์ก็เสด็จธรรมยาตราไปยัง พุทธสถานทุกแห่ง เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พบว่า บทบาทด้านทาน ทรัพย์และอำนาจเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ทำความดีงามและประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ตลอดจนให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงโปรดให้สร้างอารามวิหารไว้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 84,000 แห่ง และจารึก 3.
วิเคราะห์คุณค่าและประโยชน์การปกครองตามแบบธรรมวิชัย พบว่า พระองค์ทรงใช้ระบอบประชาธิปไตยเต็มที่ แต่เอนไป ทางด้านปิตาธิปไตย คือ ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ประดุจพ่อปกครองลูก และพระองค์ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม ทรงส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ สวัสดิการ สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การจัดบริการสาธารณประโยชน์ และสังคมสงเคราะห์ เช่น บ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง ปลูกสวน สงวนป่า ตั้งโอสถศาลา หรืออาโรคยาศาลา โรงพยาบาล สำหรับคนและสัตว์ทรงให้ขุดบ่อน้ำ ปลูกต้นไม้ สร้างถนนหนทางเชื่อมต่อให้กว้างขวางทั่วถึง สร้าง ที่พักคนเดินทาง สร้างอ่างเก็บน้ำ สร้างสถานพยาบาลคนและสัตว์ ให้การศึกษาแก่ประชาชน ทำศิลาจารึกประกาศธรรม แถลงเรื่องที่เป็นนโยบายของรัฐในทางธรรม ที่จะให้ผู้บริหารปกครอง ท้องถิ่นนำไปสั่งสอนประชาชน ด้วยการไม่เข่นฆ่าล้างผลาญสังหารเพื่อนมนุษย์ ตั้งตนอยู่ในธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัด แต่ตั้งธรรมมหาอำมาตย์เป็นทูตแห่งธรรมในการ เผยแผ่ พระธรรมคำ สั่งสอน โดยพระองค์ก็เสด็จ “ธรรมยาตรา” ไปยังพุทธสถานทุกหนทุกแห่งเพื่อศึกษา สืบค้น และเผยแผ่พระธรรมด้วยพระองค์เอง โดยมีข้าราชบริพาร มุขมนตรี และประชาชนจำนวน มากโดยเสด็จกันเป็นขบวนใหญ่อย่างเอิกเกริกอย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นราชประเพณีที่กษัตริย์ฝ่ายพุทธทุกพระองค์ทรงเจริญรอยตาม
The objectives of this research are as follows: 1. To study the governance of King Asoka the Great, 2.To study the Dharmavijaya governance, and 3.To analyze the values and benefits of the Dhammavijaya governance. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, supreme supplications, textbooks and academic writings on Buddhism. The data were analyzed by content analysis and the study results were presented in a descriptive method. The study results showed that: 1. King Asoka the Great integrated the principles of governance and Buddhist concepts as a means of governing in order to create legitimacy and to maintain the most stable power of governance. The governance of the country must have the qualities of a good leader, rely on dharma as the principle of governance, create a person to have Dhammaraja in the mind, and have political leadership with fairness. Developing political leadership is to focus on self-improvement, i.e., the development of the leader himself, using the principles of understanding and having a foundation of justice in the heart. The aims to develop those under the ruling are to develop their behaviors, psychology, and intellectual. To develop the holistic society is by adhering to the moral framework. At the same time, the law was established to promote morality. By relying on the principles of Buddhism as the main idea of governing the country, focus was on bringing the aforementioned principles into practice, propagating and teaching the general public. 2. Dhammavijaya style of government that King Asoka the Great used to rule the country was based on Brahmavihara Dhamma. It is a great example for company leaders and lords in both ancient and modern times. An ideal maharaja He used was the principles of "Dhammaraja", to govern the country with justice, and Dhammavijaya" as the principle of governance. Foreign monarchs in foreign countries, both past and present, have followed him until their countries were prosperous. King Ashoka the Great ruled the kingdom like fathers and children or ruled the land with righteousness, promoted public utilities, social welfare, preserved arts and culture, public benefits, organization and social work, and built a stone inscription for communication to enhance the Dhamma. He declared the principle of liberty, stated the state's policy in a moral way by allowing local administrators to teach people as ambassadors of Dhamma. The king himself travelled to the holy places to study and practice Dhamma. The Dhammavijaya style of King Asoka the Great indicated that the role of alms, wealth and power is a tool for creating good deeds and benefiting the people.\ as well as giving patronage to Buddhism. King Asoka the Great ordered the construction of monasteries to contain 84,000 Buddha relics and inscriptions. 3. Analyzing the values and benefits of governance according to the Dhammavijaya style, it was found that His Highness fully utilized the democratic regime, but leaned towards the patriarchy, which was to rule the kingdom like a father and son and he ruled the land with righteousness. His Majesty promoted public utilities and social welfare, and preserved arts and culture, public benefits, organization and social welfare; such as wells, shelters for travelers, planting gardens, forest reserves, setting up medicine pavilion or Arogaya pavilion, hospitals for people and animals, to dig wells, plant trees, build extensive roads, build shelters for travelers, build reservoirs and hospitals for people and animals, educate people, make stone inscriptions, and proclaim the Dhamma. The king stated the state policy in a moral way by letting the administrators in the locals to teach people, not slaughtering and killing the fellow humans, set oneself in Dhamma, supporting Buddhism by building temples and set up the Dhamma patriarch as an ambassador of Dhamma in propagating the Dharma and teachings. His Highness went "Dhammayatra" to Buddhist places to study, search and propagate the Dhamma by himself accompanied by vassals, chief ministers and a number of people with great formal pomp which gave rise to a royal tradition which every Buddhist king has followed in his footsteps.
หนังสือ

    การวิจัย เรื่องการศึกษาสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อศึกษาสิทธิของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน 3.เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาสิทธิของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ต้องขังภายในเรือนจำกลางคลองเปรม จำนวน 364 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามโดยอธิบายเหตุผลและวิธีการตอบและรับแบบสอบถามกลับคืนมาเพื่อทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติทางคอมพิวเตอร์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentages) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติอนุมาน หรืออ้างอิง (Inferential Statistics) ได้แก่ ค่ t-test และ One -Way ANOVA โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู๋ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ ด้านสิทธิในการติดต่อสื่อสารมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา คือ ด้านสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยอยู่ และด้านสิทธิในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ต้องขังที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพก่อนต้องโทษที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการศึกษาสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานครโดยรวมทั้ง 3 ด้านได้แก่ 1.สิทธิได้รับการรักษาพยาบาล 2.สิทธิในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจและ3.สิทธิในการติดต่อสื่อสาร ไม่แตกต่างกัน 3) ผู้ต้องขังได้เสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1.สิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ควรเพิ่มบุลคากรทางการแพทย์เพื่อลดระยะเวลาการเข้าพบแพทย์ 2.สิทธิในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจ ควรเพิ่มกิจกรรมและฝึกอบรมทางศาสนาให้มากขึ้น 3.สิทธิในการติดต่อสื่อสาร ควรเพิ่มระยะเวลาในการเยี่ยมญาติผ่าน video conference 25-30 นาที ต่อ/คน
การวิจัย เรื่องการศึกษาสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อศึกษาสิทธิของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน 3.เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาสิทธิของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ต้องขังภายในเรือนจำกลางคลองเปรม จำนวน 364 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามโดยอธิบายเหตุผลและวิธีการตอบและรับแบบสอบถามกลับคืนมาเพื่อทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติทางคอมพิวเตอร์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentages) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติอนุมาน หรืออ้างอิง (Inferential Statistics) ได้แก่ ค่ t-test และ One -Way ANOVA โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู๋ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ ด้านสิทธิในการติดต่อสื่อสารมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา คือ ด้านสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยอยู่ และด้านสิทธิในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ต้องขังที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพก่อนต้องโทษที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการศึกษาสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานครโดยรวมทั้ง 3 ด้านได้แก่ 1.สิทธิได้รับการรักษาพยาบาล 2.สิทธิในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจและ3.สิทธิในการติดต่อสื่อสาร ไม่แตกต่างกัน 3) ผู้ต้องขังได้เสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1.สิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ควรเพิ่มบุลคากรทางการแพทย์เพื่อลดระยะเวลาการเข้าพบแพทย์ 2.สิทธิในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจ ควรเพิ่มกิจกรรมและฝึกอบรมทางศาสนาให้มากขึ้น 3.สิทธิในการติดต่อสื่อสาร ควรเพิ่มระยะเวลาในการเยี่ยมญาติผ่าน video conference 25-30 นาที ต่อ/คน
Research on the study of the rights of inmates in the Klong Prem Central Prison Bangkok It is a quantitative research. (Quantitative Research) with the following objectives: 1. To study the rights of inmates in Klong Prem Central Prison. Bangkok 2. To compare the opinions of inmates in the Klong Prem Central Prison Bangkok with gender, age, education level and different professions 3. To suggest solutions to the problem of the rights of inmates in the Klong Prem Central Prison Bangkok The sample group used in this research was 364 inmates in the Klong Prem Central Prison, which determined the sample size. with Krejcie & Morgan's ready-made table opening method and multi-stage random sampling was used. Tools used for data collection were questionnaires by explaining reasons and methods of answering and receiving questionnaires back in order to verify the integrity of the data and then analyze them. to be processed using a computer statistical package. and the statistics used in the analysis These were descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing. with inferential statistics, such as t-test and One-Way ANOVA, with the following details. research results 1) A study on the rights of inmates in the Khlong Prem Central Prison Bangkok Overall, it is at a moderate level. When considering each aspect, it was found that It was at a moderate level in all aspects, namely, the right to communicate with the highest average, followed by the right to receive medical care with an average. and the right to religious and religious practice had the lowest average respectively. 2) The results of comparison revealed that the inmates with sex, age, education level and the pre-occupation with different penalties Opinions on the education of inmates in the Klong Prem Central Prison Bangkok, including 3 aspects: 1. Rights to receive medical treatment 2. The right to practice religion and practice and 3. The right to communicate. no different. 3) Inmates made recommendations on the rights of inmates in the Klong Prem Central Prison. Bangkok as follows: 1. The right to receive medical treatment More medical personnel should be added to reduce the time of visits to the doctor. 2. The right to practice religion and practice religion More religious activities and training should be added. 3. The right to communicate Should increase the time to visit relatives via video conference 25-30 minutes perperson / person
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการปกครอง 3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการปกครองไทย งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอในลักษณะพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) การปกครองของไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันถูกแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน กล่าวคือ 1. การปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ใช้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีลักษณะการปกครองเหมือนการปกครองในยุคอยุธยาตอนปลาย 2. ปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนกลางเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบอบบริหารราชการ และได้นำวิทยาศาสตร์ความรู้ในด้านการปกครองและด้านต่าง ๆ นำมาใช้พัฒนาประเทศ 3. การปกครองในยุคประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลง และปัญหาหลัก ๆ ในแต่ละยุคสมัย 2) หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย คือ 1. หลักทศพิธราชธรรม ที่ว่าด้วยหลักแห่งการพัฒนาคนผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง 2. สัปปุริสธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาบ้านเมืองมุ่งเน้นที่ความเข้าใจและการส่งเสริมบุคคลให้มีประสิทธิภาพโดยเริ่มต้นจากผู้นำ 3. อปริหานิยธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำความเข้าใจกันพูดคุยและให้เกียรติในสิทธิของคน 4. สังคหวัตถุธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการสร้างความสามัคคีให้แก่กัน 3) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปกครองของไทย การปกครองในรัตนโกสินทร์ทั้ง 3 ยุค โดยพบปัญหา 4 ด้าน คือ 1.ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพในระบอบการปกครอง 2. ปัญหาพัฒนาการกระจายอำนาจ 3. ปัญหาการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตย และ4. ปัญหาการขาดความสามัคคีของประชาชนโดยยึดหลักธรรมทั้ง 4 ข้อดังต่อไปนี้ 1. หลักทศพิธราชธรรม 2. สัปปุริสธรรม 3. อปริหานิยธรรม 4. สังคหวัตถุธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแต่ละด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและความสามัคคีในการปกครองไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการปกครอง 3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการปกครองไทย งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอในลักษณะพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) การปกครองของไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันถูกแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน กล่าวคือ 1. การปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ใช้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีลักษณะการปกครองเหมือนการปกครองในยุคอยุธยาตอนปลาย 2. ปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนกลางเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบอบบริหารราชการ และได้นำวิทยาศาสตร์ความรู้ในด้านการปกครองและด้านต่าง ๆ นำมาใช้พัฒนาประเทศ 3. การปกครองในยุคประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลง และปัญหาหลัก ๆ ในแต่ละยุคสมัย 2) หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย คือ 1. หลักทศพิธราชธรรม ที่ว่าด้วยหลักแห่งการพัฒนาคนผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง 2. สัปปุริสธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาบ้านเมืองมุ่งเน้นที่ความเข้าใจและการส่งเสริมบุคคลให้มีประสิทธิภาพโดยเริ่มต้นจากผู้นำ 3. อปริหานิยธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำความเข้าใจกันพูดคุยและให้เกียรติในสิทธิของคน 4. สังคหวัตถุธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการสร้างความสามัคคีให้แก่กัน 3) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปกครองของไทย การปกครองในรัตนโกสินทร์ทั้ง 3 ยุค โดยพบปัญหา 4 ด้าน คือ 1.ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพในระบอบการปกครอง 2. ปัญหาพัฒนาการกระจายอำนาจ 3. ปัญหาการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตย และ4. ปัญหาการขาดความสามัคคีของประชาชนโดยยึดหลักธรรมทั้ง 4 ข้อดังต่อไปนี้ 1. หลักทศพิธราชธรรม 2. สัปปุริสธรรม 3. อปริหานิยธรรม 4. สังคหวัตถุธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแต่ละด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและความสามัคคีในการปกครองไทย
The objectives of this research were as follows: 1) to study Thai governance, 2) to study Buddhist principles used in governance, and 3) to apply Buddhist principles to Thai governance. This research is a qualitative research which focuses on document research by studying the Tipitaka and documents related to the governance. The data were analyzed by content analysis and presented in a descriptive manner. The results of the research were found that: 1) Thai governance from the Rattanakosin era to present is divided into 3 periods, namely: 1. The governance in the early Rattanakosin period that used an absolute monarchy regime and looked like the governance in the late Ayutthaya period. 2. The rule in the central Rattanakosin period had a major change in the bureaucratic regime and had brought science and knowledge in governance and various fields to develop the country. 3. Governance in the democratic era with the King was as Head of State since 1932 onwards by studying the changes and main problems in each period. 2) Buddhist principles related to Thai governance are: 1. Rajadhamma; the principles for development of people who are ruled and the rulers, 2. Sappurisadhamma; the principles of development of the country to be prosperous with the emphasis on understanding and effectiveness of people, starting with the leaders, 3. Aparihaniyadhamma; the principles for development of the country to be prosperous with the emphasis on understanding and empowering people to be effective, starting with the leaders, and 4. Raja-sangahavatthu; the principles for building unity. 3) The problems found from application of Buddhist principles in Thai governance in Rattanakosin period in 4 areas are as follows: 1. Instability in the regime, 2. Decentralization of power, 3. Democratic system development, and 4. Lack of unity of the people. These problems cam be solved by application of the following Dhamma principles: 1. Rajadhamma, 2. Sappurisadhamma, 3.Aparihaniya dhamma, and 4. Raja-sangahavatthu.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ที่มีเพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี จากจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาทั้ง 11 โรงเรียน ได้จำนวนประชากรทั้งหมด 4,698 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่า t – test (Independent Deviation) เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรอิสระที่มีจำนวนสองกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 6 คน ได้แก่ ตัวแทนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi – structure Interview) และโทรศัพท์มือถือ (mobile phone) เพื่อใช้บันทึกภาพ และเสียงระหว่างสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งห้าด้าน 2) ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอ ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ด้านคุณสมบัติของผู้สอน ปัญหา : พระสอนศีลธรรมพูดตรงเกินไปเวลาสอน ไม่ค่อยระมัดระวังคำพูด แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง และมักแอบสูบบุหรี่ในสถานศึกษา ข้อเสนอแนะ : ควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน และไม่ยุ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด (2) ด้านความสามารถในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมไม่สามารถกำหนดโครงสร้างหลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ที่มีเพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี จากจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาทั้ง 11 โรงเรียน ได้จำนวนประชากรทั้งหมด 4,698 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่า t – test (Independent Deviation) เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรอิสระที่มีจำนวนสองกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 6 คน ได้แก่ ตัวแทนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi – structure Interview) และโทรศัพท์มือถือ (mobile phone) เพื่อใช้บันทึกภาพ และเสียงระหว่างสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งห้าด้าน 2) ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอ ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ด้านคุณสมบัติของผู้สอน ปัญหา : พระสอนศีลธรรมพูดตรงเกินไปเวลาสอน ไม่ค่อยระมัดระวังคำพูด แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง และมักแอบสูบบุหรี่ในสถานศึกษา ข้อเสนอแนะ : ควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน และไม่ยุ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด (2) ด้านความสามารถในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมไม่สามารถกำหนดโครงสร้างหลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
ยังใช้หลักสูตรของเดิมที่ไม่มีการพัฒนาให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน ข้อเสนอแนะ : ควรพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน (3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมยังขาดความรู้ ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสอน หรือใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการอธิบายเนื้อหาวิชาที่สอน ข้อเสนอแนะ : ควรมีการศึกษา และทำความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการอธิบายเนื้อหาวิชาที่สอน (4) ด้านทุนทรัพย์ในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมต้องทำรายงานการสอนในแต่ละเดือนจึงจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งบางครั้งต้องรอการอนุมัติเป็นรอบไตรมาส หรือเป็นรอบปีการศึกษา ซึ่งทำให้ไม่มีทุนทรัพย์ที่จะใช้ในการผลิตสื่อการสอนในระหว่างปีการศึกษา ข้อเสนอแนะ : สถาบันการศึกษาควรให้การสนับสนุนทุนทรัพย์บางส่วนเพื่อใช้ในการผลิตสื่ออุปกรณ์การสอนสำหรับเสริมทักษะการเรียนรู้ในแต่ละภาคการศึกษาของผู้เรียน และ (5) ด้านประโยชน์ที่ได้รับในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมขาดทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และไม่มีเทคนิคการสอนแบบหลากหลาย เนื้อหาในการเรียนมีมากไม่สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ทำการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะ : ควรเน้นการเรียนรู้ควบคู่กับการนำพาผู้เรียนปฏิบัติจริง เพื่อช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดสติ รู้จักควบคุมอารมณ์ และจิตใจของตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน
The objectives of this mixed method thesis are as follows: 1) to study the expectations of the state policy in Buddhist propagation among secondary school students in Si Maha Phot district of Prachinburi province, 2) to compare the expectations of the state policy of Buddhist propagation of secondary school students in Si Maha Phot district of Prachinburi province with different genders, ages, education level, residences and incomes, and 3) to suggest the development of state policies for Buddhist propagation in Si Maha Phot District of Prachinburi Province. The population and samples used in the research were secondary school students in 11 secondary schools in Si Maha Phot district of Prachinburi province. The total populations were 4,698, and the sample size obtained by using the formula of "Taro Yamane" was 400 people. The research instrument is a five – level estimation scale query. The total reliability value is 0.94. The statistics used in the data analysis are frequency, percentage, mean, and standard deviation, and test statistics, namely independent deviation, to test the differences of two groups of independent variables using a ready – made program. The qualitative data were collected by in – depth interviews with 6 key – Informants, selected by a purposive selection, including representatives of secondary school students in Si Maha Phot district, Prachinburi province. The instruments used in the interview were semi – structured interviews and mobile phones to record images and sounds during interviews. The results showed that: 1) expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha phot high schools in Prachinburi province were at a high level overall and in aspects. 2) The results of the hypothetical research test showed that people of different genders had different expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha Phot high schools of Prachinburi province with statistically significant figure at the 0.05 level, which was intertwined with the hypothesis. People of different ages, education levels, residences and incomes had expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha Phot high schools in Prachinburi province as a whole indifferently, which was irrelevant to the hypothesis. 3) The recommendations for development that obtained from the study include: (1) In qualifications of instructors, the problems are teacher – monks speak too direct when teaching, rarely careful with words, express aggressive behavior, lack of maturity to control their emotions, and often smoke in schools. The suggestion is to behave as a role model for youths and not being involved in any kind of addiction. (2) In missionary Ability, the problems are teacher – monks cannot define the curriculum structure in accordance with the goal of student – center – learning, and they use the curriculum that has not been developed to match the modern day. The suggestion is that the teaching process should be developed according to the curriculum structure that has been modernized to the current situation. (3) In the field of propagation materials, the problems are teacher – monks lack knowledge, and ability to apply technological media used in teaching or as an accessory for describing the contents of the subjects taught. The suggestion is that they should be educated and trained in the use of technology as an accessory for describing the subject contents taught. (4) Missionary Funding, the problems are teacher – monks must report their teaching loads each month to receive state support, which sometimes requires approval around quarters or around the academic year, and it causes the shortage of funding to be used to produce teaching materials during the academic year. (5) Benefits of missionary, the problems are teacher – monks lack knowledge transfer skills and do not have a wide range of teaching techniques. The contents of the study are very inconsistent with the time it takes to do the instruction. The suggestion is to focus on learning along with practicality of the learners to help make sure that the learners are conscious and to control their emotions and mind in their daily lives.
หนังสือ

    การศึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ 3) เพื่อบูรณาการหลักธรรมการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารวิชาการ หนังสือ งานวิจัยต่าง ๆ รวมถึงหลักธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการจัดทำเสวนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพระพุทธศาสนา ด้านสุขภาพจิตและจิตวิทยา ด้านสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ ด้านสังคมวิทยา และตัวแทนผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 17 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : 1) แนวคิดการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุเป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความนึกคิดและพฤติกรรม เพื่อจัดการต่อสิ่งเร้า เป็นการใช้กลวิธีที่มีจุดมุ่งหมาย และเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องด้วยการใช้สติปัญญาในประเมิน การควบคุมอารมณ์ และปฏิกิริยาการตอบสนองด้านร่างกาย เพื่อลดความรุนแรงของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุจะเป็นแบบมุ่งแก้ไขปัญหาและแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ ใช้ทักษะ 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างทักษะการรับรู้การตอบสนองต่อความเครียดของตนเอง 2) การตรวจสอบความเครียดกับความเป็นจริง (การตั้งสติเพื่อการคิดใคร่ครวญ) 3) การหาวิธีจัดการความเครียดหรือแก้ไขปัญหา (การคิดพิจารณาหาสาเหตุ) เพื่อการสร้างสุขและสมดุลชีวิตของผู้สูงอายุ 2) หลักธรรมในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ จะเป็นหลักธรรมที่เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาตามระบบแห่งเหตุผล โดยนำเอาหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เป็นหลักธรรมสำหรับการปรับตัวทั้งภายนอก (ร่างกาย) และภายใน (จิตใจ) ซึ่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ ที่สอดคล้องกับหลักการข้างต้น ได้แก่ หลักไตรลักษณ์ หลักอริยสัจ หลักโยนิโสมนสิการและหลักสติปัฏฐาน เป็นหลักธรรมที่สร้างปัญญา มีสติรู้เท่าทัน และมีการจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม 3) การบูรณาการหลักธรรมการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านพฤติกรรม และด้านปัจจัยแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย การปรับพฤติกรรมส่วนบุคคล การสื่อสาร การเรียนรู้ ด้านสัมพันธภาพของครอบครัว การสร้างเศรษฐกิจและสังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม ผลการบูรณาการ พบว่า การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแนวพระพุทธศาสนา ใช้หลักการ คือ การยอมรับความจริง (เห็นชอบด้วยหลักไตรลักษณ์) การรับรู้สิ่งเร้าที่เกิดขึ้นด้วยความคิดที่สมเหตุสมผล (การรับรู้ด้วยหลักโยนิโสมนสิการ) กระบวนการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ แก้ปัญหาให้ตรงเหตุ (การตรวจสอบด้วยหลักอริยสัจ) และการปฏิบัติด้วยสติรู้เท่าทัน (การจัดการด้วยหลักสติปัฏฐาน) โดยมีกระบวนการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยหลักการทบทวน (Reskill) ปรับปรุง (Upskill) เปลี่ยนแปลง (New skill)
การศึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ 3) เพื่อบูรณาการหลักธรรมการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารวิชาการ หนังสือ งานวิจัยต่าง ๆ รวมถึงหลักธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการจัดทำเสวนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพระพุทธศาสนา ด้านสุขภาพจิตและจิตวิทยา ด้านสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ ด้านสังคมวิทยา และตัวแทนผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 17 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : 1) แนวคิดการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุเป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความนึกคิดและพฤติกรรม เพื่อจัดการต่อสิ่งเร้า เป็นการใช้กลวิธีที่มีจุดมุ่งหมาย และเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องด้วยการใช้สติปัญญาในประเมิน การควบคุมอารมณ์ และปฏิกิริยาการตอบสนองด้านร่างกาย เพื่อลดความรุนแรงของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุจะเป็นแบบมุ่งแก้ไขปัญหาและแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ ใช้ทักษะ 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างทักษะการรับรู้การตอบสนองต่อความเครียดของตนเอง 2) การตรวจสอบความเครียดกับความเป็นจริง (การตั้งสติเพื่อการคิดใคร่ครวญ) 3) การหาวิธีจัดการความเครียดหรือแก้ไขปัญหา (การคิดพิจารณาหาสาเหตุ) เพื่อการสร้างสุขและสมดุลชีวิตของผู้สูงอายุ 2) หลักธรรมในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ จะเป็นหลักธรรมที่เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาตามระบบแห่งเหตุผล โดยนำเอาหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เป็นหลักธรรมสำหรับการปรับตัวทั้งภายนอก (ร่างกาย) และภายใน (จิตใจ) ซึ่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ ที่สอดคล้องกับหลักการข้างต้น ได้แก่ หลักไตรลักษณ์ หลักอริยสัจ หลักโยนิโสมนสิการและหลักสติปัฏฐาน เป็นหลักธรรมที่สร้างปัญญา มีสติรู้เท่าทัน และมีการจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม 3) การบูรณาการหลักธรรมการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านพฤติกรรม และด้านปัจจัยแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย การปรับพฤติกรรมส่วนบุคคล การสื่อสาร การเรียนรู้ ด้านสัมพันธภาพของครอบครัว การสร้างเศรษฐกิจและสังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม ผลการบูรณาการ พบว่า การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแนวพระพุทธศาสนา ใช้หลักการ คือ การยอมรับความจริง (เห็นชอบด้วยหลักไตรลักษณ์) การรับรู้สิ่งเร้าที่เกิดขึ้นด้วยความคิดที่สมเหตุสมผล (การรับรู้ด้วยหลักโยนิโสมนสิการ) กระบวนการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ แก้ปัญหาให้ตรงเหตุ (การตรวจสอบด้วยหลักอริยสัจ) และการปฏิบัติด้วยสติรู้เท่าทัน (การจัดการด้วยหลักสติปัฏฐาน) โดยมีกระบวนการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยหลักการทบทวน (Reskill) ปรับปรุง (Upskill) เปลี่ยนแปลง (New skill)
เพื่อนำไปสู่การสร้างความสุขและสมดุลของชีวิต และมีวิถีการดำเนินชีวิตตามความเหมาะสมของวัยที่เรียกว่า สุขสมวัย 4) องค์ความรู้เกี่ยวกับ “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” คือ “เห็นชอบ รับรู้ ตรวจสอบ จัดการ” ที่เรียกว่า “ARAM MODEL” คือ A = APPROVE, R = RECOGNIZE , A = ASSESSMENT, M = MANAGEMENT
Dissertation on “ Management on stress of the elderly in Surat Thani province base on Buddhism” The objectives of research were as follows : 1) To study the concept of stress management in the elderly 2) To study the Dhamma principles of stress management in the elderly 3) To integrate the ethical principles for managing stress among the elderly in Surat Thani province according to Buddhism 4) to present the body of knowledge about “Management on stress of the elderly in Surat Thani province base on Buddhism” This dissertation is qualitative research, research using analytical research methods, Synthesize content from academic documents, books, research works, including Dharma principles from the Tripitaka and commentaries. There were in-depth interviews and focus groups from experts in Buddhism, mental health and psychology mental health in the elderly group, sociology, and representatives of the elderly in Surat Thani province totally 17 persons. The results of the study indicated that : 1) The elderly stress management concept is an attempt to change thoughts and behaviors to manage stimuli. It is an objective strategy and a continuous process with the use of intelligence to assess. regulating emotions and physical responses to reduce the severity of stress-inducing factors.The stress management of the elderly is a problem-solving and emotional-correcting approach. It uses three skills: 1) Building self-awareness skills in response to stress (awareness, perception) 2) Stress Verification and Reality (mindfulness for contemplation) 3) Finding ways to manage stress or solve problems (Thinking about the cause) for the creation of happiness and life balance of the elderly. 2)The principle of stress management in the elderly is the principle of wisdom. which proceeds to solve problems according to the system of reason by taking advantage of the truth that exists in nature. It is the principle for both external (body) and internal (mental) adaptation. Which Buddhist principles used to manage stress of the elderly Consistent with the above principles, namely the Tilakkhana principle, the Four Noble Truths principles, the Yonisomanasika ̅ra principle and the Satipatthana principles. It is a principle that builds wisdom. Being aware and able to deal with problems appropriately. 3) Integration of Dharma Principles for Management on stress of the elderly in Surat Thani province base on Buddhism, It is divided into 2 issues: behavioral aspect and environmental factor aspect, which consists of personal behavior modification, communication, learning, family relationship building economy and society and environment. The results of the integration revealed that management on stress of the elderly in Surat Thani province base on Buddhism was based on the principle of accepting the truth. (consent with the Tilakkhana principle) Perceived stimuli that occur with rational thinking. (perceived by the principle of Yonisomanasika ̅ra principle) The process of dealing with problems that occur systematically. Solve the problem exactly (Examination with the Four Noble Truths principle) and practicing with awareness (Management with the principle of Satipatthana). There is a process of connection with each other through the principles of Reskill, Upskill and New skill to lead on happiness and balance of life and has a lifestyle that is appropriate for the age known as happiness. 4) The body of knowledge about “Management on Stress of the Elderly in Surat Thani Province Based on Buddhism” known as "ARAM MODEL" A = APPROVE, R = RECOGNIZE, A = ASSESSMENT, M = MANAGEMENT.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง แตกต่างกัน และ 3. เพื่อสัมภาษณ์ข้อเสนอแนะและแนวทางส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (T-test ) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA ) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) และวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงบรรยาย ผลของวิจัยพบว่า 1. บุคลากรทางการศึกษาในเขตบางแคที่มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง รองลงมาด้านความภราดรภาพ ด้านสิทธิเสรีภาพ และด้านความเสมอภาค อยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ 2. บุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ต่างกัน มีทัศนคติการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีทัศนคติต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3. จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 4 ด้าน ดังนี้ คนทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความภารดรภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการดำรงชีวิตของตนเอง มีสิทธิที่จะปกป้องตัวเองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของตนได้ มีสิทธิที่จะออกเสียงในการกระทำต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของตนและส่วนรวม ได้อยู่ภายใต้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของตนและกระทำการต่าง ๆ ได้ตามกฎหมายกำหนด สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขไม่มีปัญหาขัดแย้งต่อกันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง แตกต่างกัน และ 3. เพื่อสัมภาษณ์ข้อเสนอแนะและแนวทางส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (T-test ) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA ) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) และวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงบรรยาย ผลของวิจัยพบว่า 1. บุคลากรทางการศึกษาในเขตบางแคที่มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง รองลงมาด้านความภราดรภาพ ด้านสิทธิเสรีภาพ และด้านความเสมอภาค อยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ 2. บุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ต่างกัน มีทัศนคติการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีทัศนคติต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3. จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 4 ด้าน ดังนี้ คนทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความภารดรภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการดำรงชีวิตของตนเอง มีสิทธิที่จะปกป้องตัวเองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของตนได้ มีสิทธิที่จะออกเสียงในการกระทำต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของตนและส่วนรวม ได้อยู่ภายใต้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของตนและกระทำการต่าง ๆ ได้ตามกฎหมายกำหนด สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขไม่มีปัญหาขัดแย้งต่อกันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
The objectives of this thesis are as follows: 1.To study the opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok towards democracy, 2. To compare the opinions towards democracy of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok with different gender, age, education level and position, and 3. To collect recommendations and guidelines for promoting democracy according to the opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok. The mixed research methods were used in the study. The sample group used in this research was 288 educational personnel in Bang Khae district of Bangkok. The data were collected by questionnaire and in-depth interviews with 9 key-informants. The statistics used in the data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and value. (T-test), one-way variances test (F-test or One-way ANOVA). If differences were found, test individually by Scheffé method. The interview data were analyzed by content analysis. The research results were found that: 1. The opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok towards democracy in all 4 aspects were at a low level. When considering each aspect, the highest average level was on political participation, followed by fraternity, rights and liberties, and equality respectively. 2. The educational personnel in Bang Khae district of Bangkok with different gender, education level and position had different opinions towards democracy with significantly statistic figure at the 0.05 level. There was no difference in opinion level among those with different age. 3. The results from the in-depth interviews are 4 as follows: Everyone has rights, liberties, equality, fraternity, political participation in their own life. Everyone has the rights to protect oneself from the infringement of others' rights; has the rights to vote in any action for the benefit of oneself and the public; is under the law that protects their rights and can act in accordance with the law, able to live together in society peacefully and happily.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการปกครอง 2) เพื่อศึกษาการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่า และประโยชน์ของพุทธวิธีการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรม สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา ในเรื่องพุทธวิธีการปกครองกับหลัก อปริหานิยธรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอเชิงพรรณาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธวิธีการปกครอง เป็นการปกครอง ควบคุม ดูแลหมู่คณะ โดยใช้หลักการหรือแนวคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของหมู่หรือของสังคมนั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก 2) อปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่เป็นนักปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร เมื่อนำมาใช้ในการปกครองคณะสงฆ์ จะสามารถดำเนินไปในทิศทางที่ดีไม่มีเสื่อม มีแต่ความเจริญก้าวหน้า 3) คุณค่าและประโยชน์ของพุทธวิธีการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ ได้แก่ การประชุมกันเนืองนิตย์ การประชุมพร้อมเพรียงกัน เมื่อเลิกประชุมก็เลิกพร้อมเพรียงกัน และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ การไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติไว้ และไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ด้วยการประพฤติมั่นอยู่ในธรรมครั้งโบราณ ตามที่ท่านบัญญัติไว้ในพุทธวิธีการปกครอง การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหลาย และให้ความสำคัญต่อถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนจึงเชื่อฟังในพุทธวิธีการปกครอง การไม่ข่มขืน บังคับปกครองสตรี ตามอำนาจของกิเลสตัณหา การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ สถานที่ควรเคารพ ทั้งภายในและภายนอก และไม่ลบล้างพิธีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้และเคยทำ และการถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ทะนุบำรุงผู้ทรงศีล หรือพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้ เช่น เกิดความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คณะ, คนที่อยู่รวมกัน ไม่กินแหนงแคลงใจกัน จะทำงานอะไรก็สำเร็จได้, บ้านเมืองสงบสุข, ความปกติสุขของชีวิต และอัตลักษณ์, เป็นความเจริญทั้งแก่ตนเองและหมู่คณะลดอัตตาความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง และได้รับมรดกทางภูมิปัญญาไม่เกิดความเสื่อมของสังคมยังความเจริญให้กับครอบครัว และประเทศช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของหมู่คณะสร้างความศรัทธา และความน่าเชื่อถือให้กับสถานที่ยังกุศล และความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น, ทำให้อรหันต์ที่ยังไม่มายังให้มา และ แก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้โดยง่าย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการปกครอง 2) เพื่อศึกษาการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่า และประโยชน์ของพุทธวิธีการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรม สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา ในเรื่องพุทธวิธีการปกครองกับหลัก อปริหานิยธรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอเชิงพรรณาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธวิธีการปกครอง เป็นการปกครอง ควบคุม ดูแลหมู่คณะ โดยใช้หลักการหรือแนวคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของหมู่หรือของสังคมนั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก 2) อปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่เป็นนักปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร เมื่อนำมาใช้ในการปกครองคณะสงฆ์ จะสามารถดำเนินไปในทิศทางที่ดีไม่มีเสื่อม มีแต่ความเจริญก้าวหน้า 3) คุณค่าและประโยชน์ของพุทธวิธีการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ ได้แก่ การประชุมกันเนืองนิตย์ การประชุมพร้อมเพรียงกัน เมื่อเลิกประชุมก็เลิกพร้อมเพรียงกัน และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ การไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติไว้ และไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ด้วยการประพฤติมั่นอยู่ในธรรมครั้งโบราณ ตามที่ท่านบัญญัติไว้ในพุทธวิธีการปกครอง การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหลาย และให้ความสำคัญต่อถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนจึงเชื่อฟังในพุทธวิธีการปกครอง การไม่ข่มขืน บังคับปกครองสตรี ตามอำนาจของกิเลสตัณหา การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ สถานที่ควรเคารพ ทั้งภายในและภายนอก และไม่ลบล้างพิธีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้และเคยทำ และการถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ทะนุบำรุงผู้ทรงศีล หรือพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้ เช่น เกิดความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คณะ, คนที่อยู่รวมกัน ไม่กินแหนงแคลงใจกัน จะทำงานอะไรก็สำเร็จได้, บ้านเมืองสงบสุข, ความปกติสุขของชีวิต และอัตลักษณ์, เป็นความเจริญทั้งแก่ตนเองและหมู่คณะลดอัตตาความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง และได้รับมรดกทางภูมิปัญญาไม่เกิดความเสื่อมของสังคมยังความเจริญให้กับครอบครัว และประเทศช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของหมู่คณะสร้างความศรัทธา และความน่าเชื่อถือให้กับสถานที่ยังกุศล และความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น, ทำให้อรหันต์ที่ยังไม่มายังให้มา และ แก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้โดยง่าย
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the Buddhist method of government 2) to study the rule of the abyss 3) to analyze the values and benefits of the Buddhist method of government according to the abysmal rule fair This thesis is a qualitative research. which focuses on document research by studying the Tripitaka and from documents related to Buddhism in the matter of Buddhism, methods of governance and the principle of aparihaniyadhamma by analyzing the content in context and then presenting it descriptively. The results of the research were found that: The results showed that 1) Buddhist methods of government It is the governance, control and supervision of the group by using principles or teachings in Buddhism in order to lead to the goals of that group or society for the benefit and happiness of the masses. teach Discipline is an order”, including the teachings of the Buddha called "Phra Dhamma Winai" is the rule of the Buddhist company, that is, His Highness gives decision-making power to the Sangha to consider. Judging in the management of the group or giving greatness to the Sangha by adhering to the principles of democracy 2) The principle of aparihaniyadhamma was found to be 7 principles that the Licchawi King brought to the constitution to rule the country. Dharma in Buddhism which the Supreme Lord Buddha taught when he came to Vajji for the first time According to the invocation of Chao Licchavi named Mahali, it is a principle related to those who are rulers of both the kingdom and the Buddhachakra. when used in the administration of the clergy will be able to proceed in a good direction without deterioration only progress. 3) Values and benefits of the Buddhist way of government according to the seven principles of paranoid dharma; meeting in unison At the end of the meeting, it was canceled at the same time. and ready to help each other do the things that should be done Failure to enact things that have not yet been stipulated and not withdraw what you have ordained with adherence to the Dharma of ancient times as he ordained in the Buddhist way of government, to pay homage to, to respect, to venerate, to worship the elders and gave importance to the words of those people as words of their own so they obeyed in the Buddhist way of governing, not rape, forced to rule over women According to the power of passion, worship, respect, revere, worship a stupa, a place to be respected inside and outside and does not negate the righteous rites that have been given and performed and offering protection, protection, and maintenance of the precepts or all arahants as well which has the following benefits, such as justice, unity among the group, people who live together Do not worry about each other Any work can be accomplished, the country is peaceful, the normalcy of life. and identity, being a prosperous one for oneself and a group, reducing ego Self-confidence and, inherited wisdom, does not cause the decline of society, promotes prosperity for the family and the country, helps to hold the minds of the group, builds faith and credibility to the place, benevolence and credibility to arise, make the Arhat who have not yet come yet to come and solve the problems of the country easily
หนังสือ

    สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีที่มีต่อเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอปัญหาและแนะแนวทางการสร้างความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แก่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนในพื้นที่เทศบาลเมืองปากแพรก (ใช้สูตรของท่าโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)) จำนวน 394 คน โดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบสอบถาม (Reliability) หรือค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Co-efficient) ตามวิธีของ ครอนบาค (Cronbach) ผลการทดสอบ ได้ค่าความเชื่อมั่นของทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความพึงพอใจใช้ t-test และ F-test (One-way ANOVA) โดยใช้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความพึงพอใจต่อนโยบายป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมทั้ง 4 นโยบาย อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ (1) นโยบายและมาตรการช่วยเหลือประชาชนและรองรับผู้ติดเชื้อ (2) นโยบายและมาตรการในการสวมหน้ากากอนามัย (3) นโยบายและมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในเขตชุมชน และ(4) นโยบายและมาตรการการปฏิบัติของเจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมุติฐานการวิจัยพบว่า ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อนโยบายป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี ระดับการศึกษาและอาชีพ มีความพึงพอใจต่อนโยบายป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างความพึงพอใจต่อนโยบายป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จากประชาชน พบว่า ควรให้เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก ตั้งจุดบริการคัดกรองโรคระบาดโควิด-19 ให้มากขึ้นหรืออาจเป็นการตั้งจุดบริการประจำหมู่บ้าน ใช้คำพูดที่สื่อสารเข้าใจได้ง่ายที่มีความสุภาพ ไพเราะ อ่อนหวาน เพิ่มการรณรงค์ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยไม่ประมาทกับโรคระบาด โควิด-19 และความช่วยเหลือประชาชนอย่างสม่ำเสมอจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีที่มีต่อเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอปัญหาและแนะแนวทางการสร้างความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แก่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนในพื้นที่เทศบาลเมืองปากแพรก (ใช้สูตรของท่าโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)) จำนวน 394 คน โดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบสอบถาม (Reliability) หรือค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Co-efficient) ตามวิธีของ ครอนบาค (Cronbach) ผลการทดสอบ ได้ค่าความเชื่อมั่นของทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความพึงพอใจใช้ t-test และ F-test (One-way ANOVA) โดยใช้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความพึงพอใจต่อนโยบายป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมทั้ง 4 นโยบาย อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ (1) นโยบายและมาตรการช่วยเหลือประชาชนและรองรับผู้ติดเชื้อ (2) นโยบายและมาตรการในการสวมหน้ากากอนามัย (3) นโยบายและมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในเขตชุมชน และ(4) นโยบายและมาตรการการปฏิบัติของเจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมุติฐานการวิจัยพบว่า ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อนโยบายป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี ระดับการศึกษาและอาชีพ มีความพึงพอใจต่อนโยบายป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างความพึงพอใจต่อนโยบายป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จากประชาชน พบว่า ควรให้เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองปากแพรก ตั้งจุดบริการคัดกรองโรคระบาดโควิด-19 ให้มากขึ้นหรืออาจเป็นการตั้งจุดบริการประจำหมู่บ้าน ใช้คำพูดที่สื่อสารเข้าใจได้ง่ายที่มีความสุภาพ ไพเราะ อ่อนหวาน เพิ่มการรณรงค์ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยไม่ประมาทกับโรคระบาด โควิด-19 และความช่วยเหลือประชาชนอย่างสม่ำเสมอจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
The objectives of this thesis were as follows 1) to study the people's satisfaction with the Covid-19 epidemic prevention policy. According to the Sangkhahawat 4 of Pak Phraek municipal officials, Mueang District, Kanchanaburi Province 2) To compare the people's satisfaction with the Covid-19 epidemic prevention policy according to the Sangkhahawat 4 of Pak Phraek municipal officials, Mueang District, Kanchanaburi Province at It is related to gender, age, education level, occupation and monthly income. different and 3) to propose problems and suggest ways to create satisfaction among the people in the Covid-19 epidemic prevention policy. According to Sangkhahawat 4 of Pak Phraek municipal officials, Muang district, Kanchanaburi province to Pak Phraek Municipality, Muang District, Kanchanaburi Province sample group these including people who are representatives in the Pak Phraek municipality area (Using the formula of Taro Yamane (Taro Yamane)) of 394 people randomly. The instrument used for data collection was a 5-level, 16-item questionnaire on the 5-level estimation scale, and to determine the confidence in the whole questionnaire. (Reliability) or Alpha Co-efficient (Alpha Co-efficient) according to the method of Cronbach (Cronbach) test results, the reliability of the whole copy is 0.96. The statistics used in the data analysis were: Frequency Percent Mean Standard Deviation Comparison of satisfaction using t-test and F-test (One-way ANOVA) using a ready-made computer program. The results of research were found that: 1) People are satisfied with the Covid-19 epidemic prevention policy. According to Sangkhahawat 4 of Pak Phraek municipal officials, Muang district, Kanchanaburi province, including the 4 policies, were at a high level. and when classified by aspect, it was found that it was at a high level in every aspect. Can be sorted according to the average from highest to lowest as follows: (1) Policies and measures to help people and support infected people. (2) policies and measures for wearing masks, (3) policies and measures to control and prevent the spread of epidemic in the community, and (4) policies and operational measures of officials and officials, respectively. 2) The research hypothesis test found that People in Pak Phraek municipality, Muang district, Kanchanaburi province with different gender, age and monthly income. Satisfied with the Covid-19 epidemic prevention policy According to Sangkhahawat 4 of Pak Phraek municipal officials, Muang district, Kanchanaburi province no different The people who have Education and career level Satisfied with the Covid-19 epidemic prevention policy According to Sangkhahawat 4 of Pak Phraek municipal officials, Muang district, Kanchanaburi province, different. 3) Suggestions for ways to create satisfaction with the Covid-19 epidemic prevention policy According to Sangkhahawat 4 of Pak Phraek municipal officials, Muang district, Kanchanaburi province, from the people, it was found that Pak Phraek municipal officials should Set up a screening point for Covid-19 epidemic or may be to set up a service point for the village Use easy-to-understand words that are polite, sweet, and sweet. Increase campaigns for people to wear masks to avoid the epidemic. COVID-19 and regular assistance to the people until the situation resolves.
หนังสือ

หนังสือ

    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the local administration according to the 4 principles of Iddhipada of Tha Sai Subdistrict Administrative Organization in Mueang Samut Sakhon district of Samut Sakhon province, 2) to compare the local administration according to the 4 principles of Iddhipada of Tha Sai Subdistrict Administrative Organization in Mueang Samut Sakhon district of Samut Sakhon province of people with different gender, age, education level, occupation and monthly income, and 3) To propose guidelines for promoting the local administration according to the 4 principles of Iddhipada of Tha Sai Subdistrict Administrative Organization in Mueang Samut Sakhon district of Samut Sakhon province. The research instrument was a questionnaire. The statistics used in the data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and inferential statistics one-way variance test (F-test/One-Way ANOVA). If the mean difference is found individually, it is tested by LSD (Least Significant Difference) method. The results of the study found that: 1) The opinions of people towards the local administration according to the 4 principles of Iddhipada of Tha Sai Subdistrict Administrative Organization in Mueang Samut Sakhon district of Samut Sakhon province in all 3 aspects were at a high level overall and in aspects. When sorted by descending average level, the highest was on management and conservation of natural resources and environment, followed by quality of life promotion, and infrastructure respectively. 2) The comparison results found that people with different occupations had opinions towards the local administration according to the 4 principles of Iddhipada of Tha Sai Subdistrict Administrative Organization in Mueang Samut Sakhon district of Samut Sakhon province in 3 aspects differently with statistically significant figure at the 0.05 level. The significantly different level was not found with the people having different gender, age and education level. 3) Guidelines for promoting local administration according to the 4 principles of Iddhipada of Tha Sai Subdistrict Administrative Organization in Mueang Samut Sakhon district of Samut Sakhon province found that personnel should be encouraged to have exchanged knowledges, opinions, and work experiences, work skills including methods of action together. In Chanda; they must choose to have faith and trust in their duty and performance beneficial to themselves and others. It is important to keep checking that faith whether it is good for oneself and others. If both are good, then strive to do it with intention. Working with good faith would give good results both for self and society. In Viriya; they have to be patient and effort with the negative feelings and hardships and hope to overcome all obstacles. With Viriya as a tool in mind, one dares to challenge all obstacles in order to achieve the goal of success. In Citta; whenever ones do things with thoughtfulness and intension, it can be said that they have followed both religious principles and social principles. Vimamsa; after self-reflection and organization reflection have been done, the weaknesses should be eradicated and the strengths should be improved regularly.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 368 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ จำนวน 15 องค์ประกอบ และ 86 ตัวแปร 2. ผลพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ (1) กระบวนการบริหารจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียน (2) การส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน (3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ (4) การควบคุมคุณภาพผู้เรียน มีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 2.466, dF = 4, P-value = .651, GFI = .999, AGFI = .973 และ RMSER = .000 แสดงได้ว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินและรับรองรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 (X ̅ = 4.62) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 368 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ จำนวน 15 องค์ประกอบ และ 86 ตัวแปร 2. ผลพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ (1) กระบวนการบริหารจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียน (2) การส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน (3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ (4) การควบคุมคุณภาพผู้เรียน มีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 2.466, dF = 4, P-value = .651, GFI = .999, AGFI = .973 และ RMSER = .000 แสดงได้ว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินและรับรองรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 (X ̅ = 4.62) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
The purposes of this research were as follows : 1) to study the components of an Educational Management to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, 2) to create an of the An Educational Management Model to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, and 3) to evaluate and affirm the of An Educational Management Model to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok. The mixed research methodology was used in the study. The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires and confirmation or certification forms through 5-rating scale questionnaires by IOC; 0.6-1.0 discriminatory power equal to 0.33-0.89 with reliability at 0.986, The data were consisting of school directors, vice-directors, and teachers in 92 schools. The analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis. The results of this research found that: 1. The components of an Educational Management to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, general education department consist of 15 components and 86 variables. 2. The an Educational Management Model to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, general education department from confirmatory factor analysis (CFA) indicated that the highest value was on (1) Student Quality Management Process (2) Promote the quality of learners (3) Quality Development of Learners and (4) Control the quality of learners. has a chi-square value = 2.466, DF = 4, P-value = .651, GFI = .999, AGFI = .973, and RMSER = .000. This result indicates that the model is consistent with the empirical data. 3. The evaluation and confirmation of the model from experts in its propriety, accuracy, feasibility, and utility is at 4.62 (X ̅ = 4.62), higher than the set criteria at  = 3.51. That means the model is approved.
หนังสือ

หนังสือ

    สารนิพนธ์เรื่อง “ทัศนคติของภิกษุสามเณรที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 266 รูป ซึ่งได้จากการกาหนดโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติของภิกษุสามเณรที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางศิลปวัฒนธรรม ค่าเฉลี่ย 4.59 รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์ทางการศึกษา ค่าเฉลี่ย 4.54 ด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครอง ค่าเฉลี่ย 4.53 ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ค่าเฉลี่ย 4.53 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ค่าเฉลี่ย 4.51 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า พระภิกษุสามเณรที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนอกนั้นไม่พบความแตกต่าง ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ข้อเสนอแนะทัศนคติของภิกษุสามเณรที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา ด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครอง อยากให้รับฟังความคิดเห็นของบุคลากรที่ทำหน้าที่และทำงานร่วมกันระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในการกำหนดนโยบายและการสนับสนุนต่าง ๆ ให้ทั่วถึงมากกว่าเดิม และให้มีการสนับสนุนและส่งเสริมความก้าวหน้าของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ มีการสนับสนุนงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ส่งเสริมกิจกรรมโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความสัมพันธ์ทางการศึกษา มีการใช้งบประมานและสื่อเทคโนโลยีในการขยายการศึกษาให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และด้านความสัมพันธ์ทางศิลปวัฒนธรรม มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้มากขึ้น
สารนิพนธ์เรื่อง “ทัศนคติของภิกษุสามเณรที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 266 รูป ซึ่งได้จากการกาหนดโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติของภิกษุสามเณรที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางศิลปวัฒนธรรม ค่าเฉลี่ย 4.59 รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์ทางการศึกษา ค่าเฉลี่ย 4.54 ด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครอง ค่าเฉลี่ย 4.53 ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ค่าเฉลี่ย 4.53 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ค่าเฉลี่ย 4.51 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า พระภิกษุสามเณรที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนอกนั้นไม่พบความแตกต่าง ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ข้อเสนอแนะทัศนคติของภิกษุสามเณรที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในประเทศกัมพูชา ด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครอง อยากให้รับฟังความคิดเห็นของบุคลากรที่ทำหน้าที่และทำงานร่วมกันระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรในการกำหนดนโยบายและการสนับสนุนต่าง ๆ ให้ทั่วถึงมากกว่าเดิม และให้มีการสนับสนุนและส่งเสริมความก้าวหน้าของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ มีการสนับสนุนงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ส่งเสริมกิจกรรมโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความสัมพันธ์ทางการศึกษา มีการใช้งบประมานและสื่อเทคโนโลยีในการขยายการศึกษาให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และด้านความสัมพันธ์ทางศิลปวัฒนธรรม มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้มากขึ้น
This thematic paper ́€œThe Attitude of Monk and Novices toward the Relationship between the religion and The Kingdom in Cambodiဝ has the following objectives: 1) to study toward the Relationship between the religion and The Kingdom in Cambodia, 2) to compare the toward the Relationship between the religion and The Kingdom in Cambodia, and 3) to study the problems and suggestions on the toward the Relationship between the religion and The Kingdom in Cambodia. The data of this quantitative research were collected from 266 samples obtained by using the Taro Yamane formula. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, mean (̧‘ÆÌ…), standard deviation (S.D.), and inferential statistics such as t-test, one-way variance test (F-test or One-Way ANOVA). If a statistically significant difference is found at the 0.05 level, the mean difference is tested individually by the LSD (Least Significant Difference) method. The results showed that: 1. The Attitude of Monk and Novices toward the Relationship between the religion and The Kingdom in Cambodia in all 5 aspects was at a high level. When considering each aspect in descending order of mean from highest to lowest, it was found that the aspect with the highest mean was the Arts and Culture relations of 4.59, followed by the Education relations of 4.54, the Political and administrative relations of 4.53, and Social relations of 4.53, and the aspect with the least mean was Economic relations with an average of 4.51. 2. Comparison results found that monks and novices with different ages had significant difference in opinions on the toward the Relationship between the religion and The Kingdom in Cambodia. at the 0.05 level. The difference other than that was not found in accordance with the hypothesis set. 3. Recommendations for The Attitude of Monk and Novices toward the Relationship between the religion and The Kingdom in Cambodia are as follows: The Political and administrative relations the opinions of personnel should be included in policy making, cooperation toward the Relationship between the religion and The Kingdom should be supported and promoted the progress of the personnel involved. Economic relations Increased budget support Social relations Promote activities using information technology media Education relations Budget and technology media are used to expand education more thoroughly and the Arts and Culture relations More cultural activities are organized.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารสินทรัพย์ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารการบัญชี ด้านการตรวจสอบติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ด้านการจัดสรรงบประมาณ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r = .684) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารสินทรัพย์ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารการบัญชี ด้านการตรวจสอบติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ด้านการจัดสรรงบประมาณ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r = .684) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The objectives of this research were: 1) to study the school administrators’ leadership under the secondary educational service area office Bangkok 1, 2) to study the efficiency budget management in schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 and 3) to study the school administrators’ leadership and the efficiency budget management in schools under the secondary educational service area office Bangkok 1. A sample of 16 schools 352 people comprising. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’ simple correlation coefficient. The results of the research ware as follows: 1) the school administrators’ leadership under the secondary educational service area office Bangkok 1 in overall was at a high level. The ranging by the average from high to low that aspect of having an ideological influence, inspiring and in regards to individuality respectively. 2) the efficiency budget management in schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 in overall was at a high level The ranging by the average from high to low that financial management, Asset Management and the preparation and proposing of the budget respectively. 3) the school administrators’ leadership and the efficiency budget management in schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 overall was at a high level was statistically significant at the 0.01 level. The correlation coefficient 0.684 was statistically significant at the 0.01 level.
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีงานสังคมสงเคราะห์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ และ 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. งานสังคมสงเคราะห์ เป็นการปฏิบัติงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคล ชุมชน และสังคมที่กำลังประสบปัญหาและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยใช้หลักการ วิธีการ และกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีเป็นเครื่องมือในการอธิบายถึงสภาพปัญหาสังคม พฤติกรรมและความต้องการของมนุษย์ และนักสังคมสงเคราะห์ที่ดีต้องมีจรรยาบรรณเป็นแนวทางในการประพฤติให้ดำรงตนอยู่ในความดีงาม 2. พุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติที่ดีงามซึ่งถูกค้นพบโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานสังคมสงเคราะห์ คือ สังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรม 6 และอคติ 4 การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนย่อมทำให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาทางจิตใจและพุทธจริยศาสตร์ยังมีเกณฑ์การตัดสินที่ชี้ขาดลงไปถึงการกระทำของมนุษย์ 3.การประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์ หลักพุทธจริยศาสตร์มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่องานสังคมสงเคราะห์ เพราะนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ที่มีบทบาท ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการและกลุ่มเป้าหมายในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม ซึ่งหลักพุทธจริย-ศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหา และนำไปพัฒนาสังคมเพื่อสร้างสวัสดิภาพและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีงานสังคมสงเคราะห์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ และ 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. งานสังคมสงเคราะห์ เป็นการปฏิบัติงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคล ชุมชน และสังคมที่กำลังประสบปัญหาและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยใช้หลักการ วิธีการ และกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีเป็นเครื่องมือในการอธิบายถึงสภาพปัญหาสังคม พฤติกรรมและความต้องการของมนุษย์ และนักสังคมสงเคราะห์ที่ดีต้องมีจรรยาบรรณเป็นแนวทางในการประพฤติให้ดำรงตนอยู่ในความดีงาม 2. พุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติที่ดีงามซึ่งถูกค้นพบโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานสังคมสงเคราะห์ คือ สังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรม 6 และอคติ 4 การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนย่อมทำให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาทางจิตใจและพุทธจริยศาสตร์ยังมีเกณฑ์การตัดสินที่ชี้ขาดลงไปถึงการกระทำของมนุษย์ 3.การประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์ หลักพุทธจริยศาสตร์มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่องานสังคมสงเคราะห์ เพราะนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ที่มีบทบาท ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการและกลุ่มเป้าหมายในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม ซึ่งหลักพุทธจริย-ศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหา และนำไปพัฒนาสังคมเพื่อสร้างสวัสดิภาพและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
The objectives of this thesis were; 1) to study the concept and theory of social work, 2) to study Buddhist ethics, and 3) to apply the principles of Buddhist ethics in social work. The data of this documentary research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, and related documents and then analyzed and summarized into the findings. The results of the study were found that: 1. Social work is to help people, community and society in troubles which cannot be able to help themselves by using the principle, method and social work process as well as concept and theory as the tools to explain the social problems, human behavior and human needs. Good social workers must have the ethics as their guideline in order to behave themselves in a good path. 2. Buddhist ethics is the doctrine in Buddhism concerning good behavior which was discovered by Lord Buddha. The ethics can be used to prevent and solve problems at the individual, community and social levels. The doctrines that can be applied in social work are four principles of Sangahavatthu, six principles of Saraniya Dhamma and four principles of Agati. Moreover, to follow the Buddhist ethics, human beings can improve their mental quality. The Buddhist ethics has judging criteria of human action. 3. The Buddhist ethics principles are necessary and important to social work because social workers play an important role in helping to their service recipients and target group as the individual, community and society levels. The Buddhist ethics can be applied in social work as the guideline in assisting people who have problems and in developing the community to create welfare and fairness in society.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนด้วยการรวมพลังเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีของโรงเรียนมัธยมตอนปลายสงฆ์ วัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผู้ร่วมวิจัยด้วยความสมัครรใจ จำนวน 35 รูป/คน ดำเนินการ 2 ภาคเรียน ในปีการศึกษา 2562 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ (1) เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดครู การจัดกิจกรรมการสอนของครู และคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับนักเรียน (2) เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติในตัวผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และครูทั้งโรงเรียน และ (3) เกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในลักษณะเป็นทฤษฎีฐานรากในบริบทเฉพาะของโรงมัธยมตอนปลายสงฆ์แห่งนี้ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยแสดงระดับการปฏิบัติของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระดับผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และระดับคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่ได้รับผลจากการดำเนินโครงการการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการปฏิบัติวงจรที่ 1 และหลังวงจรที่ 2 สูงขึ้นจากก่อนการปฏิบัติ 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประเด็น คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการทำงาน การสะท้อนผลจากการปฏิบัติ และการทำงานเป็นทีมอย่างครบวงจร 3) องค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในงานวิจัยนี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงผลลัพธ์ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น แนวคิดและกลยุทธ์ที่นำมาใช้เป็นพลังขับเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และการเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีรายละ เอียดของแต่ละประเด็นที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 หรือนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตามแนวคิดใหม่ในด้านอื่น ๆ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนด้วยการรวมพลังเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีของโรงเรียนมัธยมตอนปลายสงฆ์ วัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผู้ร่วมวิจัยด้วยความสมัครรใจ จำนวน 35 รูป/คน ดำเนินการ 2 ภาคเรียน ในปีการศึกษา 2562 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ (1) เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดครู การจัดกิจกรรมการสอนของครู และคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับนักเรียน (2) เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติในตัวผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และครูทั้งโรงเรียน และ (3) เกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในลักษณะเป็นทฤษฎีฐานรากในบริบทเฉพาะของโรงมัธยมตอนปลายสงฆ์แห่งนี้ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยแสดงระดับการปฏิบัติของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระดับผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และระดับคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่ได้รับผลจากการดำเนินโครงการการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการปฏิบัติวงจรที่ 1 และหลังวงจรที่ 2 สูงขึ้นจากก่อนการปฏิบัติ 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประเด็น คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการทำงาน การสะท้อนผลจากการปฏิบัติ และการทำงานเป็นทีมอย่างครบวงจร 3) องค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในงานวิจัยนี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงผลลัพธ์ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น แนวคิดและกลยุทธ์ที่นำมาใช้เป็นพลังขับเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และการเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีรายละ เอียดของแต่ละประเด็นที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 หรือนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตามแนวคิดใหม่ในด้านอื่น ๆ
This research aimed to improve the quality of students by joining forces A Development of 21st Century Learning Skills of Students in Wat Maha Buddha Vongsa Palouang Sangha Upper Secondary School, Vientiane Capital. by participative action research methodology. There were 35 voluntary participants, managed 2 semesters in the academic year 2019, by expecting results from 3 developments as follows: (1) There was a change for the better according to the indicators defined by the teachers, teaching activities of teachers and student characteristics; (2) learning from practice in the researcher, co-researcher, and school- teachers; and (3) knowledge gained from practice as the foundation theory in the specific context of the Sangha Upper Secondary School. The results of the research were as follows: 1) The mean showed the level of teachers' performance in developing the 21st century learning Skills, the level of results of teachers’ teaching activities in developing the 21st century learning Skills, and the level of characteristics occurring with students who received the results from an implementing the 21st century learning Skills development project after practicing the first circle and after the second circle were higher than before. 2) The researcher and co-researcher learned from many issues of the practice, namely; the awareness of the importance of participation in working, reflection from practicing and working as a comprehensive team 3) The knowledge gained from the practice of this research was an indicator of the expected outcome, the concepts, and strategies that were used to be the driving forces to make some changing, anti-changing, and overcoming the resistance to change which had details of each issue could be used as the model for developing the students' learning Skills in the 21st century, or applied to the development of new ideas in other parts.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ของครู สู่การพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียน” โดยระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้วยแนวคิด พัฒนาครูให้มีความรู้แล้วกระตุ้นให้นำความรู้เหล่านั้นสู่การปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดพลัง ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู และโครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน จากผลการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 10 รายและนักเรียน 60 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองดีไซน์การทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา ในโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามสมมติฐานการวิจัย คือ ครูมีผลการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ครูมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการรู้ดิจิทัล หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่มือเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการนำไปปฏิบัติของครูประกอบโครงการในโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกโรงทั่วประเทศ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ของครู สู่การพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียน” โดยระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้วยแนวคิด พัฒนาครูให้มีความรู้แล้วกระตุ้นให้นำความรู้เหล่านั้นสู่การปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดพลัง ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู และโครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน จากผลการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 10 รายและนักเรียน 60 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองดีไซน์การทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา ในโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามสมมติฐานการวิจัย คือ ครูมีผลการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ครูมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการรู้ดิจิทัล หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่มือเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการนำไปปฏิบัติของครูประกอบโครงการในโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกโรงทั่วประเทศ
This study aimed at employing Research and Development Methodology (R&D) to create an “Online Program to Empower Teacher Learning to Develop Students’ Digital Literacy Skills,” which was based on the notions that “Knowledge and Action are Power” and “Students are the Ultimate Goal of Any Educational Management.” The study consisted of projects focusing on Teacher learning development and a project, in which teachers could use learning outcomes to help the students to make progress. As a result of the R1 & D1 to R4 & D4 stages, six sets of teacher learning manuals and one workshop manual were created so that the instructors could apply learning outcomes to student development. The results were obtained from experimenting with manuals in the R5 & D5 stage with 10 teachers and 60 students using a one group pre-test/post-test design experimental research in schools that are representative of educational opportunity expansion schools under the Office of the Basic Education Commission. It was found that the developed manuals had been effective according to the research hypothesis : 1) the Teachers had test results of learning outcomes that had met the standard criteria of 90/90, 2) the Teachers’ post-test results had been significantly higher than the pre-test results, and 3) the students’ post-test results had been significantly higher than the pre-test results. These factors demonstrated that the manuals for learning and implementation for the teachers in the developed online program had been effective and could be disseminated across the country for the benefit of the population of educational opportunity expansion schools under the Office of the Basic Education Commission.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่ การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียน โดยระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ด้วยแนวคิด “พัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู แล้วครูนำผลการเรียนรู้ ไปพัฒนานักเรียน” ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู และโครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน จากผลการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 157 รายและนักเรียน 2,613 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองดีไซน์การทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา ในโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามสมมติฐานการวิจัย คือ ครูมีผลการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ครูมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการรู้สารสนเทศหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่มือเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการนำไปปฏิบัติของครูประกอบโครงการในโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกโรงทั่วประเทศ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่ การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียน โดยระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ด้วยแนวคิด “พัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู แล้วครูนำผลการเรียนรู้ ไปพัฒนานักเรียน” ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู และโครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน จากผลการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 157 รายและนักเรียน 2,613 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองดีไซน์การทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา ในโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามสมมติฐานการวิจัย คือ ครูมีผลการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ครูมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการรู้สารสนเทศหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่มือเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการนำไปปฏิบัติของครูประกอบโครงการในโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกโรงทั่วประเทศ
“Online Program to Enhance Teacher Learning to Develop Students' Information Literacy Skills” was an expected result from Research and Development implementation under the concept of “It begins with teacher learning development. Teachers then incorporate the learning outcomes into student development.” First, as a result of implementing the R1&D1 to R4&D4 process, six sets of Teacher Learning Manuals and one Teacher Workshop Manual for Implementing the Learning Outcomes in Student Development have been created. Then, in the R5&D5 phase, the manuals were tested with 157 teachers and 2,613 students using a one-group pretest-posttest experimental model in the school affiliated with the Office of the Basic Education Commission. The experiment results revealed that the teachers’ scores on the post-experimental test met the standard of 90/90, and the mean scores were statistically significantly higher than the pre-experimental test. Furthermore, the findings in implementing teacher’s learning outcomes in student development illustrated that their post-experimental mean score in the Information Literacy Skills assessment was statistically significantly higher than the pre-experimental score. Taken together, these findings confirmed that the developed online program was proven to be effective according to the established research hypotheses. Moreover, the study results also demonstrated that the developed online program could be distributed to schools under the Office of the Basic Education Commission.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษานิติปรัชญาเกี่ยวกับการทำลายชีวิตมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาตติยปาราชิกกัณฑ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์นิติปรัชญาในตติยปาราชิกกัณฑ์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) นิติปรัชญาว่าด้วยการทำลายชีวิตมนุษย์ในแง่มุมอภิปรัชญานั้นประกอบไปด้วยทั้งมโนทัศน์ตามแนวนิติธรรมชาตินิยมและปฏิฐานนิยม เช่นเดียวกันกับในแง่มุมของจริยศาสตร์ก็ประกอบไปด้วยมโนทัศน์ตามแนวทางจริยศาสตร์แบบอันตวิทยาและกรณียธรรม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปในทางที่เกิดประโยชน์สูงสุด 2) ตติยปาราชิกกัณฑ์รวมทั้งพระวินัยทั้งหมดมีคุณสมบัติเป็นชุดปทัสถาน โดยตติยปาราชิกกัณฑ์นั้นเป็นระบบของการวินิจฉัยความประพฤติที่สมบูรณ์ในตัวดังที่พบเจอในระบบวินิจฉัยของกฎหมาย ดังนั้นแม้ว่าตติยปาราชิกกัณฑ์จะเป็นส่วนหนึ่งของตัวบททางศาสนาซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นตัวบทเรื่องเล่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีธรรมชาติเป็นตัวบททางกฎหมายด้วยเช่นกัน 3) มีมโนทัศน์ในทางนิติปรัชญาที่คล้ายคลึงกันระหว่างตติยปาราชิกกัณฑ์และกฎหมายที่บังคับใช้จริง ดังนั้นแล้วทั้งกฎหมายว่าด้วยการห้ามฆ่ามนุษย์และตติยปาราชิกกัณฑ์จึงมีข้อความคิดที่ใกล้เคียงกันมากไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมอภิปรัชญา แง่มุมจริยศาสตร์ แนวคิดเรื่องมนุษยนิยม เป็นต้น การศึกษายังพบอีกว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างระบบกฎหมายและพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่ยินยอมให้มีการฆ่าบางแบบได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษานิติปรัชญาเกี่ยวกับการทำลายชีวิตมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาตติยปาราชิกกัณฑ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์นิติปรัชญาในตติยปาราชิกกัณฑ์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) นิติปรัชญาว่าด้วยการทำลายชีวิตมนุษย์ในแง่มุมอภิปรัชญานั้นประกอบไปด้วยทั้งมโนทัศน์ตามแนวนิติธรรมชาตินิยมและปฏิฐานนิยม เช่นเดียวกันกับในแง่มุมของจริยศาสตร์ก็ประกอบไปด้วยมโนทัศน์ตามแนวทางจริยศาสตร์แบบอันตวิทยาและกรณียธรรม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปในทางที่เกิดประโยชน์สูงสุด 2) ตติยปาราชิกกัณฑ์รวมทั้งพระวินัยทั้งหมดมีคุณสมบัติเป็นชุดปทัสถาน โดยตติยปาราชิกกัณฑ์นั้นเป็นระบบของการวินิจฉัยความประพฤติที่สมบูรณ์ในตัวดังที่พบเจอในระบบวินิจฉัยของกฎหมาย ดังนั้นแม้ว่าตติยปาราชิกกัณฑ์จะเป็นส่วนหนึ่งของตัวบททางศาสนาซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นตัวบทเรื่องเล่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีธรรมชาติเป็นตัวบททางกฎหมายด้วยเช่นกัน 3) มีมโนทัศน์ในทางนิติปรัชญาที่คล้ายคลึงกันระหว่างตติยปาราชิกกัณฑ์และกฎหมายที่บังคับใช้จริง ดังนั้นแล้วทั้งกฎหมายว่าด้วยการห้ามฆ่ามนุษย์และตติยปาราชิกกัณฑ์จึงมีข้อความคิดที่ใกล้เคียงกันมากไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมอภิปรัชญา แง่มุมจริยศาสตร์ แนวคิดเรื่องมนุษยนิยม เป็นต้น การศึกษายังพบอีกว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างระบบกฎหมายและพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่ยินยอมให้มีการฆ่าบางแบบได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
The objectives of this thesis were: 1) to study philosophy of law about destruction of human life, 2) to study Tatiya Parajika, and 3) to analyze philosophy of law in Tatiya Parajika. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, and related documents and then analyzed and summarized into the findings. The results of the study were found that: 1) Philosophy of law about destruction of human life, in the metaphysical aspect, is comprised of both legal naturalism concept and legal positivism concept and also comprised of both teleological concept and deontological concept in ethical aspect, in the most useful way. 2) Tatiya Parajika together with the whole Vinaya Pitaka has quality of norm. Tatiya Parajika is a complete diagnostic conduct system which can be found in legal diagnostic system. Although Tatiya Parajika is a part of religious text, which is narrative in general, but it also has a legal textual nature. 3) There are similar concepts in philosophy of law similar to Tatiya Parajika and positive law. So, the laws about destruction of human life and Tatiya Parajika share very close idea to each other in metaphysical aspect, ethical aspect, humanism idea etc. The study also found that there is no any conflict between legal system and Buddhism on the consent of some types of killing by law.
หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมพลังความรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะความร่วมมือของนักเรียน โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ด้วยแนวคิด “พัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู แล้วครูนำผลการเรียนรู้ไปพัฒนานักเรียน” ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ครูเกี่ยวกับทักษะความร่วมมือ และ 2) โครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างทักษะความร่วมมือ ให้กับนักเรียน โครงการแรกมีคู่มือเพื่อใช้พัฒนาครูด้วยหลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง 6 ชุด คือ คู่มือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับนิยาม ความสำคัญ ลักษณะ แนวการพัฒนา ขั้นตอนการพัฒนา และการประเมินทักษะความร่วมมือ โครงการที่สองมีคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อเป็นแนวทางให้ครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน ผลการทดลองใช้โปรแกรมออนไลน์ ดังกล่าวในโรงเรียนปริยัติธรรมที่กำหนดเป็นพื้นที่ทดลอง พบว่า หลังการพัฒนาครูตามโครงการแรก ครูมีผลการเรียนรู้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และมีผลการเรียนรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังการพัฒนานักเรียนตามโครงการที่สอง นักเรียนมีผลการประเมินทักษะความร่วมมือ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าโปรแกรมออนไลน์ ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาจากการวิจัยนี้มีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้กับโรงเรียนปริยัติธรรมแห่งอื่นได้
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมพลังความรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะความร่วมมือของนักเรียน โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ด้วยแนวคิด “พัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู แล้วครูนำผลการเรียนรู้ไปพัฒนานักเรียน” ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ครูเกี่ยวกับทักษะความร่วมมือ และ 2) โครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างทักษะความร่วมมือ ให้กับนักเรียน โครงการแรกมีคู่มือเพื่อใช้พัฒนาครูด้วยหลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง 6 ชุด คือ คู่มือเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับนิยาม ความสำคัญ ลักษณะ แนวการพัฒนา ขั้นตอนการพัฒนา และการประเมินทักษะความร่วมมือ โครงการที่สองมีคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อเป็นแนวทางให้ครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน ผลการทดลองใช้โปรแกรมออนไลน์ ดังกล่าวในโรงเรียนปริยัติธรรมที่กำหนดเป็นพื้นที่ทดลอง พบว่า หลังการพัฒนาครูตามโครงการแรก ครูมีผลการเรียนรู้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และมีผลการเรียนรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังการพัฒนานักเรียนตามโครงการที่สอง นักเรียนมีผลการประเมินทักษะความร่วมมือ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าโปรแกรมออนไลน์ ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาจากการวิจัยนี้มีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้กับโรงเรียนปริยัติธรรมแห่งอื่นได้
This research aims to develop and implement an online program to empower teachers’ knowledge in students’ collaborative skills development using Research and Development (R&D) methodology. It is based on the concept of “Develop teacher’s learning, and implement the outcomes into student development”. It consists of two projects as follows: 1) Collaborative skills learning for the teacher development project, and 2) Implementing teacher’s collaborative skills learning outcomes with a student project. The first project includes a set of six-manual for teacher development, including definition, importance, characteristics, development approaches, development steps, and evaluation of collaborative skills manuals. The second project comes with the workshop manual for implementing the teacher’s learning outcomes in student development. The online program was examined in a Pariyattidhamma School selected as a research site. The findings reveal that after completing the first teacher development project, the teachers had learning outcomes according to the standard of 90/90. In addition, learning outcomes after the development project were statistically significantly higher than attending the project. Moreover, after the second project, the students’ collaborative skills assessment results were statistically significantly higher than before. Therefore, the online program produced in this study is an educational innovation that is effective and should be beneficial for other Pariyattidhamma schools’ learning.
หนังสือ

    งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการ เรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักเรียน” ใช้แนวคิดที่ว่า “พัฒนาครู แล้วครูพัฒนานักเรียน” ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาครู มีคู่มือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของครู 6 ชุด และ 2) โครงการครูพัฒนานักเรียน มีคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด จากผลการทดลองใช้โปรแกรมออนไลน์กับครู 25 รายและนักเรียน 146 รายในโรงเรียนที่สุ่มให้เป็นตัวแทนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ คือ เมื่อนำไปทดลองใช้แล้วส่งผลให้ครูมีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียนก็มีผลการประเมินทักษะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่เป็นประชากรเป้าหมายแห่งอื่นได้
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการ เรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักเรียน” ใช้แนวคิดที่ว่า “พัฒนาครู แล้วครูพัฒนานักเรียน” ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาครู มีคู่มือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของครู 6 ชุด และ 2) โครงการครูพัฒนานักเรียน มีคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด จากผลการทดลองใช้โปรแกรมออนไลน์กับครู 25 รายและนักเรียน 146 รายในโรงเรียนที่สุ่มให้เป็นตัวแทนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ คือ เมื่อนำไปทดลองใช้แล้วส่งผลให้ครูมีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียนก็มีผลการประเมินทักษะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่เป็นประชากรเป้าหมายแห่งอื่นได้
The objective of this study was to create an “Online Program to Enhance Teacher Learning to Develop Students’ Self-Directed Learning Skills” under the following concepts : “Develop the teacher so that they will develop their students”, “successful teachers, successful students”, and “Knowledge is not power; knowledge plus action equals power.” This study employed the Research and Development (R&D) methodology. The created online program included 1) Teachers’ learning development project with six guidelines, and 2) Teachers develop students project with one action guideline. The created online program was examined with 25 teachers and 146 students in the randomly selected school representing the Pariyattidhamma Schools in the general education section, under National Office of Buddhism. The results validated that the created online program was effective. The findings illustrated that the post-development test for teachers met the standard of 90/90 criteria, and the mean score was statistically significantly higher than before the development. In addition, the students’ mean score on self-directed learning skills assessment after the development was statistically significantly higher than before the development. This indicated that the created online program can be disseminated for educational use in other Pariyattidhamma schools with the similar target population.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 264 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์หาค่า t-test และ F-test (One-way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) โดยใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. นักศึกษามีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการเปิดรับสื่อ รองลงมาคือ ด้านการใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวิเคราะห์สื่อ และด้านการประเมินสื่อ 2. แสดงผลการเปรียบเทียบ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ จำแนกตามเพศ ชั้นปี และสาขาวิชา พบว่า นักศึกษามีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ คือ ควรรู้จักกลั่นกรองสิ่งที่ดี เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ วิเคราะห์แยกแยะข้อมูลด้วยเหตุและผล ใช้ความรู้ ในการสร้างสรรค์และตีความหมายของสื่ออย่างมีเหตุผล
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 264 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์หาค่า t-test และ F-test (One-way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) โดยใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า : 1. นักศึกษามีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการเปิดรับสื่อ รองลงมาคือ ด้านการใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวิเคราะห์สื่อ และด้านการประเมินสื่อ 2. แสดงผลการเปรียบเทียบ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ตามหลักโยนิโสมนสิการ จำแนกตามเพศ ชั้นปี และสาขาวิชา พบว่า นักศึกษามีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ คือ ควรรู้จักกลั่นกรองสิ่งที่ดี เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ วิเคราะห์แยกแยะข้อมูลด้วยเหตุและผล ใช้ความรู้ ในการสร้างสรรค์และตีความหมายของสื่ออย่างมีเหตุผล
The objectives of this thesis were ; 1) to study the awareness of political information through online media of students of Mahamakut Buddhist University, Isan Campus according to the principle of Yonisomanasikara, 2) to compare the awareness of political information through online media of students of Mahamakut Buddhist University, Isan Campus according to the principle of Yonisomanasikara principles and 3) to study the suggestions about the awareness of political information through online media of students of Mahamakut Buddhist University, Isan Campus according to the principle of Yonisomanasikara principles. The researcher collected the data from 264 sampling respondents, and analyzed the data by percentage, mean, standard deviation, T-test and F-test. While finding the differences of mean average, the researcher analyzed with LSD with 0.05 significant statistic. The findings were as follows; 1. The overall students’ political news perception in 5 aspects was at high mean level. while considering in each aspect, it was found that the aspect of news exposure was at highest mean level, the second highest mean was using the media as benefit, and the lowest mean levels were news analysis and news measurement. 2. The overall result of the awareness of political information through online media of Mahamakut Buddhist University, Isan Campus according to the principle of Yonisomanasikara principles classified by sex, grade and majors was not different. It contradicted with the hypothesis. 3. The were some suggestions from this study; to scrutinize the news as the guideline to practice, to analyze and classify with the rational thinking and to create and interpret the online social media with the rational thinking.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน 2) เพื่อศึกษาความเชื่อและอานิสงส์การตักบาตรเที่ยงคืน 3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์การตักบาตรเที่ยงคืนของวัดในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย เจ้าอาวาส มัคนายก ผู้จัดพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน พระภิกษุสงฆ์ที่ออกบิณฑบาต ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน และผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา รวมทั้งหมด 21 รูป/คน ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1) พิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน มาจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา และคัมภีร์อโศกาวทาน เรื่องพระอุปคุต ว่าเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ในครั้งที่พระเจ้าอโศกได้อาราธนามาคุ้มครองงานสมโภชสถูป พระเจ้าอโศกได้เสด็จลงน้ำอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นมาบนฝั่ง จึงเป็นที่มาของการอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นจากน้ำเพื่อมาเป็นองค์ประธานในพิธีกรรมตักบาตรเที่ยงคืน 2) ความเชื่อและอานิสงส์การตักบาตรเที่ยงคืน เชื่อว่าพระอุปคุตเป็นพระอรหันต์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์และเชื่อว่าท่านยังไม่นิพพานมีสภาวะเป็นทิพย์ ถ้าได้ตักบาตรกับพระอุปคุตแล้วจะทำให้เกิดอานิสงส์คือประสบความสำเร็จตามที่ตนปรารถนา 3) แนวทางการอนุรักษ์การตักบาตรเที่ยงคืน ได้มีการประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร โดยใช้สื่อมัลติมีเดียเข้ามาประกอบซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ที่สามารถให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน 2) เพื่อศึกษาความเชื่อและอานิสงส์การตักบาตรเที่ยงคืน 3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์การตักบาตรเที่ยงคืนของวัดในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย เจ้าอาวาส มัคนายก ผู้จัดพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน พระภิกษุสงฆ์ที่ออกบิณฑบาต ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมพิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน และผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา รวมทั้งหมด 21 รูป/คน ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1) พิธีกรรมการตักบาตรเที่ยงคืน มาจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา และคัมภีร์อโศกาวทาน เรื่องพระอุปคุต ว่าเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ในครั้งที่พระเจ้าอโศกได้อาราธนามาคุ้มครองงานสมโภชสถูป พระเจ้าอโศกได้เสด็จลงน้ำอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นมาบนฝั่ง จึงเป็นที่มาของการอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นจากน้ำเพื่อมาเป็นองค์ประธานในพิธีกรรมตักบาตรเที่ยงคืน 2) ความเชื่อและอานิสงส์การตักบาตรเที่ยงคืน เชื่อว่าพระอุปคุตเป็นพระอรหันต์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์และเชื่อว่าท่านยังไม่นิพพานมีสภาวะเป็นทิพย์ ถ้าได้ตักบาตรกับพระอุปคุตแล้วจะทำให้เกิดอานิสงส์คือประสบความสำเร็จตามที่ตนปรารถนา 3) แนวทางการอนุรักษ์การตักบาตรเที่ยงคืน ได้มีการประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร โดยใช้สื่อมัลติมีเดียเข้ามาประกอบซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ที่สามารถให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว
The objectives of this thesis were as follows 1) to study ritual of midnight alms-round, 2) to study faith and benefits of midnight alms-round, and 3) to offer guidelines for preserving midnight alms-round in Muang district, Chiang Mai province by studying related documents and interview to find in-depth information from target group 21 people with specific selection that consisted of 3 abbots whose temples organized midnight alms-round ceremony, 3 ceremonial laymen who managed midnight alms-round ceremony, 3 monks who walked for alms-round, 10 people who participated in midnight alms-round ceremony and 2 Buddhist learned people in Muang district, Chiang Mai province. The tools used to collect data were in -depth interviews, and data were analyzed in descriptive manner. The results of research were found that: 1. Midnight alms-round ceremony was inherited from Samantapasidhika, the Theravada Buddhist scripture, and Asokavadana, the Mahayana Buddhist scripture. The story told that Phra upakut was a powerful arahant with great perfections who had prowess to defeat devil in the time that king Asoka invited him to safeguard celebration of 84,000 pagodas of Buddha’s relics and the ceremony to honor the Buddha's pagodas in which he traveled through water. Then king Asoka went down the water to hold him to the shore. This became the source of carrying Phra Upakut from the water to be the ceremony in the midnight alms-round ceremony. 2. Faith and benefits of midnight alms-round ceremony were that Phra Upakut was a powerful monk and that he had not yet attained nirvana and held a divine or sacred state. Giving alms to Phra Upakut would cause benefits such as a successful ambition as wished, prosperity and progress in work. 3. Guidelines for preserving midnight alms-round should involved public information for participants to take part in the ceremony and the news report of the ceremony by using multi-media media such as facebook and line which were public information that could be widely expanded for people to receive clear information.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 4,998 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 371 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F - test (One - way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า: 1. แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) ด้านนิสสยสัมปันโน (มนุษยสัมพันธ์) และด้านวิธุโร (การจัดการ) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) ผู้บริหารเทศบาลควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ ด้านวิธุโร (การจัดการ) ควรมีการจัดการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการหรือการตัดสินใจ และด้านนิสสยสัมปันโน (มนุษยสัมพันธ์) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่เทศบาลควรมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือประชาชน
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 4,998 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 371 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F - test (One - way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า: 1. แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) ด้านนิสสยสัมปันโน (มนุษยสัมพันธ์) และด้านวิธุโร (การจัดการ) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของเทศบาลตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) ผู้บริหารเทศบาลควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ ด้านวิธุโร (การจัดการ) ควรมีการจัดการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการหรือการตัดสินใจ และด้านนิสสยสัมปันโน (มนุษยสัมพันธ์) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่เทศบาลควรมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือประชาชน
The objectives of the research were 1) to study the approaches for local development based on the Three Virtues for Achievement of Wang Luang Municipality, Selaphum District, Roi Et Province, 2) to compare the samples’ opinions about the said approaches, classified by gender, age, education level, and profession and 3) to survey the recommendations related to the approaches for development of municipality as mentioned. The samples used in this research were people, totally 371 in number. The instrument used for data collection was a five scale rating questionnaire with content validity of 0.67-1.00, and reliability of 0.96. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation and independent t-test and F-test (One-way ANOVA) and descriptive analysis. The research results were as follows: 1) The approaches for local development based on the Three Virtues for Achievement of Wang Luang Municipality, Selaphum District, Roi Et Province, was found in both overall and individual aspects to stand at a ‘MUCH’ level. Raking in terms of percentage, the aspect that prevailed on top of the scale was Cakkhuma (Vision), followed by Nissayasampanno (Human relations) and Vidhuro (Management skills), respectively. 2) The comparison of the residents’ opinions about the said local development, classified by gender and age, was found to show no statistically significant difference, whereas the comparison classified by education and profession was found to display a statistically significant difference at the 0.05 level. 3) The related suggestions recommended by the responses comprised the following: (1) In the case of Cakkhuma (Vision), the administrator should have a wide and long-range vision, and be ready to accept new knowledge and technology and keep pace with the ever-changing situation. (2) In the matter of Vidhuro (Management skills), the administrator should provide an opportunity for the public participation in policy and decision making and the management of any projects that would be likely to affect a large number of the people. (3) In the issue of Nissayasampanno (Human relations), both administrator and staff members should be always active and ready to provide any kind of help to the citizens.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการ บริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 171 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Independent และค่า F - test (One - way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า : 1. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านความโปร่งใส และด้านหลักคุณธรรม 2. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3.
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการ บริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 171 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Independent และค่า F - test (One - way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า : 1. การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านความโปร่งใส และด้านหลักคุณธรรม 2. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3.
ผลการศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า 3.1 ด้านหลักนิติธรรม การออกกฎหมายข้อบังคับ ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และต้องมุ่งให้เกิดความเป็นธรรม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และการใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2 ด้านหลักคุณธรรม ผู้บริหารและบุคลากรของเทศบาลควรยึดหลักหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง และปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มาทำงานตรงต่อเวลา และผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร และผู้ร่วมงาน ด้วยความเป็นธรรม และมีใจเป็นกลาง 3.3 ด้านความโปร่งใส ควรปรับปรุงกลไกการทำงาน และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีความโปร่งใส ควรมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน และควรมีกระบวนการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สามารถชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย 3.4 ด้านหลักการมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจ ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผล หลังจากได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรม เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และควรให้ประชาชนมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมสภาเทศบาล และร่วมสังเกตการณ์การประชุมสภาเทศบาล 3.5 ด้านหลักความรับผิดชอบ ควรตระหนักในหน้าที่และสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจปัญหาสาธารณะของท้องถิ่น ควรมีความกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และควรแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3.6 ด้านหลักความคุ้มค่า ควรบริหารจัดการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม และควรสร้างความตระหนักในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
The objectives of this study were 1) to study the level of application of the good governance principles to the administration of Selaphum Sub-District Municipality, Selaphum District, Roi Et Province 2) to compare application of the good governance principles to the administration as mentioned classified by, classified by gender, age, and education level 3) to survey the recommendations related to the application of the good governance principles as mentioned. The samples were the citizens living in the Selaphum Sub-District Municipality, totally 171 in number. The instrument used for data collection was a five scale rating questionnaire with content validity of 0.67-1.00, and reliability of 0.98. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, Independent t-test and F-test (One-way ANOVA) and descriptive analysis. The research results were as follows: 1) The level of applying good governance principles in the administration of Selaphum Sub-District Municipality, Selaphum District, Roi Et Province was found, in an overall aspect, to stand at a ‘MUCH’ level. In an individual aspect, it was found that the item that stood on top of the scale was rule of law, followed by accountability, participation, cost-coverage, transparency and morality, respectively. 2) The comparison of the samples’ opinions about the said application, classified by gender, age and education, was found in both overall and individual aspects to show no statistically significant difference. 3) The related suggestions recommended by the responses comprised the following: (1) In the case of the rule of law, the issuance of rules and regulations was advised to comply with the main law and aim to protect public equity and interests, and their enforcement should be implemented without discrimination but in respect of public freedom. (2) In the matter of morality, the administration should be carried out with honesty, fairness and neutrally-minded acceptance of different views and opinions. (3) In the issue of transparency, there should be an improvement of documentary filing system to be accessible and able to be investigated in case of inquiry. (4) As for the matter of participation, the opportunity for the public to participate in policy-and-decision making in any projects and valuation after famishment, and the opportunity for the people to join meeting as well as observing the meetings should be provided. (5) Regarding accountability, the administration functions and duties should be undertaken with dedication and sacrifice and be always active and ready to resolve the problems that affect the public life and the mutual goal already set had to be achieved without any reluctance. (6) As regards the matter of cost coverage, the spirit to maximize the minimized resources and the sense of economy in consumption of resources should be kept in mind while in the duration of administration.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่น ตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 123,416 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและแบบปลายเปิด มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า f - test หรือ One - way ANOVA และการนำเสนอข้อมูลของผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านสีลสามัญญตา (รักษาและปฏิบัติให้มีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน) ด้านสาธารณโภคี (มีความเสมอภาค ไม่เห็นแก่ส่วนตัว) ด้านเมตตากายกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันทางการกระทำ) ด้านทิฏฐิสามัญญตา (มีความเห็นชอบร่วมกัน) ด้านเมตตาวจีกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันทางวาจา) และด้านเมตตามโนกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันอย่างจริงใจ) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่น ตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 123,416 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและแบบปลายเปิด มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า f - test หรือ One - way ANOVA และการนำเสนอข้อมูลของผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านสีลสามัญญตา (รักษาและปฏิบัติให้มีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน) ด้านสาธารณโภคี (มีความเสมอภาค ไม่เห็นแก่ส่วนตัว) ด้านเมตตากายกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันทางการกระทำ) ด้านทิฏฐิสามัญญตา (มีความเห็นชอบร่วมกัน) ด้านเมตตาวจีกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันทางวาจา) และด้านเมตตามโนกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันอย่างจริงใจ) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่นตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.
ผลการศึกษาข้อเสนอแนะบทบาทด้านการปกครองท้องถิ่น ตามหลักสาราณียธรรม 6 ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า 1) ด้านเมตตากายกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันทางการกระทำ) ควรลงพื้นที่สม่ำเสมอเพื่อรับทราบปัญหาของประชาชน เพื่อนำมาแก้ไขให้ทันท่วงที 2) ด้านเมตตาวจีกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันทางวาจา) ควรรักษาคำพูดมีสัจจะพูดจริงทำจริง 3) ด้านเมตตามโนกรรม (การมีไมตรีจิตต่อกันอย่างจริงใจ) ควรยึดถือผลประโยชน์สวนรวมมาก่อนประโยชน์ส่วนตน ให้เกียรติประชาชน 4) ด้านสาธารณโภคี (มีความเสมอภาค ไม่เห็นแก่ส่วนตัว) ควรจัดสรรแบ่งปันประโยชน์ต่าง ๆ ที่ชุมชนสมควรได้ให้เสมอภาคเท่าเทียมกัน คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก 5) ด้านสีลสามัญญตา (รักษาและปฎิบัติให้มีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน) ควรประพฤติตนให้ดีงาม อยู่ในระเบียบวินัย 6) ด้านทิฏฐิสามัญญตา (มีความเห็นชอบร่วมกัน) ยอมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำมาแก้ไขปรับปรุงตามสภาพจริง
The objectives of the research were 1) to study the role of local administration based on the Six Buddhist Principles of Saraniyadhamma (Conciliation) in Mueang District, Roi Et Province, 2) to compare the residents’ opinions about the said role, classified by gender, age, education level, and profession and 3) to survey the recommendations related to the role of local administration as mentioned. The samples were the people who adopt a voting right and are registered as citizens of Mueng District, Roi Et Province, totally 400 in number. The instrument used for data collection was a five scale rating questionnaire with content validity of 0.67-1.00, and reliability of 0.90. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, and independent t-test and F-test (One-way ANOVA) and descriptive analysis. The research results were as follows: 1) The role of local administration based on the six Buddhist principles of Saraniyadhamma (Conciliation) in Mueang District, Roi Et Province, was found in both overall and individual aspects to stand at a ‘MUCH’ level. Raking in terms of percentage, the aspect that prevailed on top of the scale was Sila-samannata (Equality in observance of Precept or Sila), followed by Sadharanabhogi (Equality in consumption of public property), Metta-kayakamma (Physical action with loving-kindness to one and another), Ditthi-samannata (Equality in views with one and another), Metta-vacikamma (Verbal action with loving-kindness to one and another), and Metta-manokamma (Mental action with loving-kindness to one and another), respectively. 2) The comparison of the residents’ opinions about the said administration, classified by gender and age, was found to show no statistically significant difference, whereas the comparison classified by education and profession was found to display a statistically significant difference at the 0.05 level. 3) The related suggestions recommended by the responses comprised the following: (1) In the case of Metta-kayakamma, a regular visit should be practiced to realize the problems and resolve them urgently. (2) In the matter of Metta-vacikamma, any promise that had ever been given should be materialized accordingly. (3) In the issue of Metta-manokamma, the common interests should be taken into account before personal interests, and the people’s opinions should be respected. (4) As for Sadharanabhogi, the public benefits should be allocated and shared equally, and the interests of the people should be taken as top priority. (5) Regarding Sila-samannata, a good manner and conduct should be behaved and a disciplinary code should be observed. (6) As regards Ditthi-samannata, public opinions should be accepted and brought into practice for the development and betterment of local administration.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพิษภัยในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ป้องกันพิษภัยในพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวทางป้องกันพิษภัยในพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงเอกสาร และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๖ รูป/คน การนำเสนอด้วยวิธีการวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า พิษภัยในพระพุทธศาสนานั้นหมายเอาความอันตรายที่เกิดขึ้นมาจากพิษ ไม่ว่าจะเป็นพิษจากภายนอก ได้แก่ สิ่งที่เป็นพิษต่าง ๆ หรือพิษจากภายใน ได้แก่ กิเลสตัณหาต่าง ๆ ก็ตาม พิษนั้นทั้งหมดย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายและจิตใจของบุคคล หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันพิษภัย ทั้งหลักการและวิธีการ ได้แก่ หลักอัปปมาทธรรม หลักอปัณณกธรรม หลักศีล และหลักโยนิโสมนสิการ หลักทั้ง ๔ ประการนี้สามารถใช้ป้องกันและรักษาพิษภัยได้ทั้งภายนอกและภายในเพื่อทำให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างมีความสุข แนวทางปฏิบัติการดำรงชีวิตให้ปลอดภัยด้วยสติถือว่าเป็นรากฐานของการไม่ประมาททั้งมวล เป็นเหตุทำให้ชีวิตไม่ผิดพลาดเสียหาย การรู้จักระมัดระวังพิษภัยที่จะเกิดขึ้น รู้จักฝึกฝนจิตใจให้เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวต่อพิษภัยที่เข้ามากระทบ รู้จักรักษาสัมพันธภาพระหว่างกันและกันให้ดีย่อมป้องกันพิษภัยที่จะเกิดขึ้นและระงับพิษภัยที่เกิดขึ้นแล้วได้ การมีความคิดรอบคอบ คิดเป็นระบบ ระเบียบแบบแผน อาศัยเหตุผลในการไตร่ตรองเชื่อมโยงให้เห็นกระบวนการ รู้จักปลุกเร้ากุศลธรรมให้เกิด ไม่ปล่อยให้ความคิดลบเกิดขึ้น คิดแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดที่ทำลงไปแล้วเป็นแนวทางในการทำชีวิตให้ปลอดภัยได้
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพิษภัยในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ป้องกันพิษภัยในพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวทางป้องกันพิษภัยในพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงเอกสาร และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๖ รูป/คน การนำเสนอด้วยวิธีการวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า พิษภัยในพระพุทธศาสนานั้นหมายเอาความอันตรายที่เกิดขึ้นมาจากพิษ ไม่ว่าจะเป็นพิษจากภายนอก ได้แก่ สิ่งที่เป็นพิษต่าง ๆ หรือพิษจากภายใน ได้แก่ กิเลสตัณหาต่าง ๆ ก็ตาม พิษนั้นทั้งหมดย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายและจิตใจของบุคคล หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันพิษภัย ทั้งหลักการและวิธีการ ได้แก่ หลักอัปปมาทธรรม หลักอปัณณกธรรม หลักศีล และหลักโยนิโสมนสิการ หลักทั้ง ๔ ประการนี้สามารถใช้ป้องกันและรักษาพิษภัยได้ทั้งภายนอกและภายในเพื่อทำให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างมีความสุข แนวทางปฏิบัติการดำรงชีวิตให้ปลอดภัยด้วยสติถือว่าเป็นรากฐานของการไม่ประมาททั้งมวล เป็นเหตุทำให้ชีวิตไม่ผิดพลาดเสียหาย การรู้จักระมัดระวังพิษภัยที่จะเกิดขึ้น รู้จักฝึกฝนจิตใจให้เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวต่อพิษภัยที่เข้ามากระทบ รู้จักรักษาสัมพันธภาพระหว่างกันและกันให้ดีย่อมป้องกันพิษภัยที่จะเกิดขึ้นและระงับพิษภัยที่เกิดขึ้นแล้วได้ การมีความคิดรอบคอบ คิดเป็นระบบ ระเบียบแบบแผน อาศัยเหตุผลในการไตร่ตรองเชื่อมโยงให้เห็นกระบวนการ รู้จักปลุกเร้ากุศลธรรมให้เกิด ไม่ปล่อยให้ความคิดลบเกิดขึ้น คิดแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดที่ทำลงไปแล้วเป็นแนวทางในการทำชีวิตให้ปลอดภัยได้
The objectives of this thesis are: 1) to study the concept of danger in Buddhism, 2) to study the Dhamma principles to prevent dangers in Buddhism, 3) to analyze the prevention of dangers in Buddhism. This research was a documentary qualitative research and included in-depth interviews with 6 key-informants. The narrative analysis is used in the thesis. The results showed that: Dangers in Buddhism refer to dangers occurred from external dangers, i.e. toxic objects and internal dangers meant defilements and desires. Those dangers are dangerous to life, body and mind of individuals. Dhamma principles in Buddhism that can be used to prevent dangers both in principles and methods are the principle of Appamadadhamma, Apannakadhamma, Sila, and Yonisomanasikara. These four principles can prevent and cure internal and external dangers, and then make the life go on happily. The guidelines for living a safe life are to live with mindfulness. Mindfulness is considered the foundation of all heedfulness and makes life without mistakes. Carefulness on dangers to be occurred, training one’s mind to be calm and strong, confidence to effects of the dangers, and keeping relation of each other can prevent dangers to be occurred and can cure the happened dangers. Careful thinking, systematic thinking, rules and regulations, consideration with reasons relating to process, wholesome cultivation, positive thinking and mistake correction are the guidelines for making the life safe.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ที่คาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ ดังนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์ที่คาดหวังและไม่คาดหวังจากการปฏิบัติ (2) การเรียนรู้จากการปฏิบัติในตัวผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษา และ (3) องค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) จากการปฏิบัติในบริบทเฉพาะของ Department of Electronics, Nong Han Industrial and Community Education College ผลการวิจัย พบว่า 1) มีการเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์ทั้งที่คาดหวังและไม่คาดหวังที่ดีขึ้น ทั้งกรณีการนำแนวการพัฒนาที่ร่วมกันกำหนดไปสู่การปฏิบัติ และกรณีลักษณะของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษาเกิดการเรียนรู้ร่วมกันถึงความตระหนักถึงความมีประสิทธิภาพจากการทำงานแบบร่วมกัน (Collaboration) ที่ทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพจากการทำงานแบบต่างคนต่างทำในอดีตที่ผ่านมา และ 3) เกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับพลังขับที่นำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และแนวทางเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ที่คาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ ดังนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์ที่คาดหวังและไม่คาดหวังจากการปฏิบัติ (2) การเรียนรู้จากการปฏิบัติในตัวผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษา และ (3) องค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) จากการปฏิบัติในบริบทเฉพาะของ Department of Electronics, Nong Han Industrial and Community Education College ผลการวิจัย พบว่า 1) มีการเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์ทั้งที่คาดหวังและไม่คาดหวังที่ดีขึ้น ทั้งกรณีการนำแนวการพัฒนาที่ร่วมกันกำหนดไปสู่การปฏิบัติ และกรณีลักษณะของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษาเกิดการเรียนรู้ร่วมกันถึงความตระหนักถึงความมีประสิทธิภาพจากการทำงานแบบร่วมกัน (Collaboration) ที่ทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพจากการทำงานแบบต่างคนต่างทำในอดีตที่ผ่านมา และ 3) เกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับพลังขับที่นำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และแนวทางเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
This research aims to develop a learning environment through Participatory Action Research (PAR) methodology in a specific context of the Department of Electronics, Nong Han Industrial and Community Education College. Three development outcomes are expected: (1) changes in expected and non-expected outcomes of action; (2) action-based learning in the researcher, co-researchers and educational institution and (3) knowledge from the grounded theory. The results are as the followings: 1) positive changes in both expected and unexpected outcomes consisting of the implementation of the co-defined development approaches and the nature of the expected learning environment, 2) researchers, co-researchers and educational institution learn together about the awareness of the efficiency of working together (collaboration) that makes all parties realize the inefficiency of working independently in the past, and 3) a body of knowledge gained from action describes the relationship between the expected changes, and the driving force and change resistance as well as ways to overcome the resistance.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของนักศึกษา” ที่ประกอบด้วยคู่มือเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์ และคู่มือเพื่อเป็นแนวการปฏิบัติสำหรับอาจารย์พัฒนานักศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ซึ่งผลจากการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์ 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด และจากขั้นตอนที่ R5&D5 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบการทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา กับอาจารย์ 15 ราย และนักศึกษา 324 ราย ในคณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ที่ได้รับการสุ่มให้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขตอื่น ๆ พบว่า โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้อาจารย์มีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักศึกษามีผลการประเมิน ทักษะการปรับตัว หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขตแห่งอื่นได้
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาอาจารย์สู่การเสริมสร้างทักษะการปรับตัวของนักศึกษา” ที่ประกอบด้วยคู่มือเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์ และคู่มือเพื่อเป็นแนวการปฏิบัติสำหรับอาจารย์พัฒนานักศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ซึ่งผลจากการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์ 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด และจากขั้นตอนที่ R5&D5 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบการทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา กับอาจารย์ 15 ราย และนักศึกษา 324 ราย ในคณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ที่ได้รับการสุ่มให้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขตอื่น ๆ พบว่า โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้อาจารย์มีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักศึกษามีผลการประเมิน ทักษะการปรับตัว หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขตแห่งอื่นได้
This research aimed to develop an online program for the development of the teachers' skills to enhance the students' adaptability. The research materials consisted of the teacher's learning manuals and a practical student development guide for teachers. After the implication of the R1 and D1 and the R4 and D4 steps of the Research and Development (R&D) methodology, six sets of teacher's learning manuals and one workshop manual were obtained. Then the R5 and D5, the one group pretest-posttest experimental research methodology, were used with 15 teachers and 324 students in the Faculty of Education of Mahamakut Buddhist University, Isan Campus. These groups of samples were randomized to adequately represent the population of Mahamakut Buddhist University and its other campuses. It was observed that the online lessons developed for this research could significantly increase the teacher's post-test scores with the statistical standard of 90/90. As for the students, their post-test scores on the adaptability skills were significantly higher than the scores observed in the pre-test. This shows that the online programs developed in this research are effective educational innovations. Therefore, it can be disseminated for the benefit of the target population from all campuses of Mahamakut Buddhist University.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาครูสู่การเสริมสร้างทักษะเชิงนวัตกรรมของนักเรียน” ที่ประกอบด้วยคู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู และคู่มือเพื่อเป็นแนวการปฏิบัติสำหรับครูพัฒนานักเรียน โดยใช้ Research and Development (R&D) methodology ซึ่งผลจากการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 11 ราย และนักเรียน 204 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบ one group pretest-posttest ในโรงเรียนที่สุ่มให้เป็นตัวแทนของโรงเรียนปริยัติธรรม สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ คือ โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากครูมีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียนก็มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินทักษะเชิงนวัตกรรม หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งอื่นได้
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาครูสู่การเสริมสร้างทักษะเชิงนวัตกรรมของนักเรียน” ที่ประกอบด้วยคู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู และคู่มือเพื่อเป็นแนวการปฏิบัติสำหรับครูพัฒนานักเรียน โดยใช้ Research and Development (R&D) methodology ซึ่งผลจากการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 11 ราย และนักเรียน 204 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบ one group pretest-posttest ในโรงเรียนที่สุ่มให้เป็นตัวแทนของโรงเรียนปริยัติธรรม สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ คือ โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากครูมีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียนก็มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินทักษะเชิงนวัตกรรม หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งอื่นได้
This research aims to develop an “Online Program to Develop Teachers to Enhance Innovation Skills of Students” that consists of teacher learning manuals and a practice manual for teachers to develop students. This study adopted the Research and Development (R&D) methodology. As a result of the implementation of R1&D1 to R4&D4, 6 sets of teacher learning manuals and 1 practice manual were obtained. Additionally, utilizing the one group pretest-posttest experimental paradigm, the outcomes of employing the manuals in the R5&D5 stage with 11 teachers and 204 students in the school chosen at random to represent the Division of Buddhist Studies the National Buddhism Office determined that the research findings were consistent with the assumptions made. The results demonstrated that the developed online program was effective because the post-development test for teachers met the standard of 90/90, and the mean scores were statistically significantly higher than before the development. Moreover, the students’ mean score on innovation skills assessment after the development was statistically significantly higher than before the development. The results proved that the designed online program was effective and that it may be distributed to additional Prapariyattidhamma Schools for their benefit.