Search results

127 results in 0.29s

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ความท้าทายใหม่ในยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง
  • ในรอยต่อของยุคเปลี่ยนผ่าน
  • จุดประกายทางความคิด พลิกฟื้นยุคดิจิทัล
  • สร้างเหตุปัจจัย นำไปฟื้นวัด
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ก่อร่างสร้างวัด จัดการบวชเรียน
  • ตรวจตราผลลัพธ์ บวชพระให้ถึงธรรม?
  • เจาะลึกกรณีศึกษา : ไตรสิกขาเปลี่ยนชีวิต
  • เปิดหลักสูตร : เรียนรู้อย่างบูรณาการ รอบด้าน ทุกมิติ
  • กระบวนการเรียนการสอนจากห้องเรียน สู่สังฆะ
  • ถอดบทเรียนรู้ : ปัจจัยสู่การบวชพระให้ถึงธรรม
  • บทสรุป : เก็บบทเรียน เป็นเทียนนำทาง
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • ความเป็นมา ก่อนจะคิดทิศทางใหม่
  • ทุนรากฐานเพื่อการต่อยอดธรรม
  • สำรวจบทเรียนเก่า ก่อนก้าวใหม่
  • การบริหารเส้นทางธรรมของ ศพอ. วัดนายโรง
  • จุดอ่อน จุดแข็ง แห่งการก้าวต่อ
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ ธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 795 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้คือ 1) ตัวบ่งชี้การวิจัย 60 ตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.23-4.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ระหว่าง 11.35-15.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงมีความเหมาะสมได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.86-1.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.73-1.02 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ ธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 795 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้คือ 1) ตัวบ่งชี้การวิจัย 60 ตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.23-4.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ระหว่าง 11.35-15.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงมีความเหมาะสมได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.86-1.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.73-1.02 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
The objectives of this research were to 1) study the appropriateness of the indicators for selection in the model, 2) test the fitness of the model developed from theory and research with the empirical data, and 3) verify the factor loading value of the major components, minor components and indicators. The data was collected by using the questionnaire for estimation from a sample of the administrators of the Office of Primary Education Area of 795 people which were obtained by multi-stage random sampling.Data analysis was done by statistical program. The results of the research were based on the research hypothesis : 1) The 60 indicators used have mean of 4.23-4.74 which meets the specified criteria as mean equal to or higher than 3.00 and the distribution coefficient is between 11.35-15.86. All were selected in the model. 2) Structural relationship model Indicator of Good Governance for Administrators of the Primary Educational Service Area Office, the development from theory and research are consisted of congruence with empirical data by the value of relative Chi-square (CMIN/DF), Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA), Goodness-of-Fit Index (GFI), Adjusted Goodness-of-Fit Index (AGFI), Comparative Fit Index (CFI), and Normed Fit Index (NFI), were In accordance with the criteria from both of the first order and the second order of confirmative factor analysis, and 3) the major components had factor loading ranged from 0.86-1.06, which is higher than criterion as 0.70 in all major factor. The minor components had factor loading between 0.73-1.02 and the indicator had factor loading ranged from 0.30-1.00, which are higher level than the criterion as 0.30.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 56 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายงานบริหาร ครูผู้สอน รวมทั้งหมด 280 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา และ การบริหารจัดการ ของสถานศึกษา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า : 1. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 10 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักภาระรับผิดชอบ ด้านหลักความเสมอภาค ด้านหลักประสิทธิผล ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านมุ่งเน้นฉันทามติ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักประสิทธิภาพ และด้านหลักการตอบสนอง ตามลำดับ 2. การบริหารจัดการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล ตามลำดับ 3. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านนิติธรรม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ได้ร้อยละ 64.00 (R2 = 0.640) สามารถเขียนเป็นรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ = 1.262+ 0.217 (ด้านหลักความโปร่งใส) + 0.258 (ด้านหลักการมีส่วนร่วม) + 0.254 (ด้านหลักนิติธรรม) สมการคะแนนมาตรฐาน = 0.257 (ด้านหลักความโปร่งใส) + 0.307 (ด้านหลักการมีส่วนร่วม) + 0.293 (ด้านหลักนิติธรรม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 56 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายงานบริหาร ครูผู้สอน รวมทั้งหมด 280 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา และ การบริหารจัดการ ของสถานศึกษา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า : 1. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 10 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักภาระรับผิดชอบ ด้านหลักความเสมอภาค ด้านหลักประสิทธิผล ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านมุ่งเน้นฉันทามติ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักประสิทธิภาพ และด้านหลักการตอบสนอง ตามลำดับ 2. การบริหารจัดการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล ตามลำดับ 3. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านนิติธรรม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ได้ร้อยละ 64.00 (R2 = 0.640) สามารถเขียนเป็นรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ = 1.262+ 0.217 (ด้านหลักความโปร่งใส) + 0.258 (ด้านหลักการมีส่วนร่วม) + 0.254 (ด้านหลักนิติธรรม) สมการคะแนนมาตรฐาน = 0.257 (ด้านหลักความโปร่งใส) + 0.307 (ด้านหลักการมีส่วนร่วม) + 0.293 (ด้านหลักนิติธรรม
The objectives of this research were: 1) to study good governance of administrators under Office of Secondary Educational Service Area 1, 2) to study school administration under Office of Secondary Educational Service Area 1, and 3) to study the good governance of administrators affecting school administration under Office of Secondary Educational Service Area 1. The data were collected by questionnaires from 280 samples in 56 schools consisting of school directors, heads of departments, and teachers. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple linear regressions in steps. The results of the study were found that: 1. The level of good governance of school administrators under Office of Secondary Educational Service Area 1 was high overall. In each aspect, the highest level started at rule of law, followed by cooperation, responsibility, equality, efficiency, decentralization, agreement, transparency, effectiveness, and responsiveness respectively. 2. The administration of schools under Office of Secondary Educational Service Area 1 was at a high level totally. In details, the highest mean was on general administration, followed by academic administration, budget administration, and personnel administration respectively. 3. The good governance of school administrators affected the administration of schools under Office of Secondary Educational Service Area 1 with a significantly statistical level at 0.01 starting from transparency, responsibility , and rule of law with coefficient or prediction power at 64.00% (R2 = 0.640) and it could be written in predictive patterns as follows; Raw score equation = 1.262+ 0.217(transparency) + 0.258 (responsibility) + 0.254 (rule of law) Standard score equation = 0.257 (transparency) + 0.307 (responsibility) + 0.293 (rule of law
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนวธรรมาภิบาลมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการ ๒. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๓. เพื่อบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๔. เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบ การบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ได้แก่ พระสังฆาธิการจำนวน ๔ รูป ผู้บริหารสำนักงานที่ใช้หลักธรรมาภิบาล ๑ คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาจำนวน ๑๐ รูป/คน เพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสำนักงานพระสังฆาธิการ พบปัญหาการบริหารมี ๔ ประการ คือ ๑. ปัญหาด้านบุคคลากร เช่น การบริหารงานของพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปกครองระดับสูงส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพมหานคร เช่น เจ้าคณะภาคบางรูปไม่ได้สังกัดวัดภายในภาคของตนทำให้การตรวจงานภายในภาคไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพ เพราะเจ้าคณะผู้ปกครองภายในภาคอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีสำนักงานบริหารที่ถาวร เมื่อเจ้าคณะพ้นสภาพจากความเป็นเจ้าคณะ เอกสารหลักฐานก็ขาดตอน เมื่อ มีเจ้าคณะใหม่ก็เริ่มงานใหม่ การบริหารจึงไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ และปัญหาการบริหารงานในส่วนภูมิภาค พบว่าการกระจายอำนาจทำได้เพียงแต่โครงสร้างเท่านั้น ๒. ปัญหางบประมาณ เนื่องจากสำนักงานไม่มีงบประมาณจากภาครัฐทำให้ต้องหางบประมาณดำเนินการเอง ๓. ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ เป็นปัญหาที่สืบเนืองมาจากงบประมาณทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ๔. ปัญหาด้านการจัดการ พบว่า การดำเนินงานของสำนักงานพระสังฆาธิการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดธรรมาภิบาลทำให้เกิดปัญหาในความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนและปัญหากฎหมายด้านอื่น ๆ การบริหารงานสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล เป็นการบริหารงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใสยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ และได้ศึกษาตัวอย่างสำนักงานที่ประสบความสำเร็จด้านธรรมาภิบาลเพื่อเป็นตัวอย่างในการนำมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหาของสำนักงานพระสังฆาธิการ การบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล พบว่า ๑. ด้านบุคคลากร มีกฎหมายจัดตั้งสำนักงานพระสังฆาธิการ ทำให้มีการบริหารเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ๒. ด้านงบประมาณ สำนักงานมีงบประมาณจากภาครัฐอย่างเพียงพอทำให้ต้องมีการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างโปร่งใส ๓. ด้านวัสดุอุปกรณ์ สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม ๔.
การศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนวธรรมาภิบาลมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการ ๒. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๓. เพื่อบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๔. เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบ การบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ได้แก่ พระสังฆาธิการจำนวน ๔ รูป ผู้บริหารสำนักงานที่ใช้หลักธรรมาภิบาล ๑ คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาจำนวน ๑๐ รูป/คน เพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสำนักงานพระสังฆาธิการ พบปัญหาการบริหารมี ๔ ประการ คือ ๑. ปัญหาด้านบุคคลากร เช่น การบริหารงานของพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปกครองระดับสูงส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพมหานคร เช่น เจ้าคณะภาคบางรูปไม่ได้สังกัดวัดภายในภาคของตนทำให้การตรวจงานภายในภาคไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพ เพราะเจ้าคณะผู้ปกครองภายในภาคอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีสำนักงานบริหารที่ถาวร เมื่อเจ้าคณะพ้นสภาพจากความเป็นเจ้าคณะ เอกสารหลักฐานก็ขาดตอน เมื่อ มีเจ้าคณะใหม่ก็เริ่มงานใหม่ การบริหารจึงไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ และปัญหาการบริหารงานในส่วนภูมิภาค พบว่าการกระจายอำนาจทำได้เพียงแต่โครงสร้างเท่านั้น ๒. ปัญหางบประมาณ เนื่องจากสำนักงานไม่มีงบประมาณจากภาครัฐทำให้ต้องหางบประมาณดำเนินการเอง ๓. ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ เป็นปัญหาที่สืบเนืองมาจากงบประมาณทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ๔. ปัญหาด้านการจัดการ พบว่า การดำเนินงานของสำนักงานพระสังฆาธิการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดธรรมาภิบาลทำให้เกิดปัญหาในความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนและปัญหากฎหมายด้านอื่น ๆ การบริหารงานสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล เป็นการบริหารงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใสยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ และได้ศึกษาตัวอย่างสำนักงานที่ประสบความสำเร็จด้านธรรมาภิบาลเพื่อเป็นตัวอย่างในการนำมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหาของสำนักงานพระสังฆาธิการ การบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล พบว่า ๑. ด้านบุคคลากร มีกฎหมายจัดตั้งสำนักงานพระสังฆาธิการ ทำให้มีการบริหารเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ๒. ด้านงบประมาณ สำนักงานมีงบประมาณจากภาครัฐอย่างเพียงพอทำให้ต้องมีการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างโปร่งใส ๓. ด้านวัสดุอุปกรณ์ สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม ๔.
ด้านการจัดการ สำนักงานมีหลักธรรมาภิบาลทั้ง ๖ ด้านทำให้เกิดการบริหารที่ดีเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผลการวิจัยสามารถสรุปเป็นโมเดลระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาลที่เรียกว่า MOGA Model ประกอบด้วย M = Management (การบริหารงาน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. บุคลากร ๒. งบประมาณ ๓. วัสดุอุปกรณ์ ๔. การจัดการ) O = office of Buddhist Ecclesiastical (สำนักงานพระสังฆาธิการ) G = good governance (ธรรมาภิบาล ๖ ด้าน ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า) A = Advantage (ประโยชน์ที่ได้รับจาการบริหารงานสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนว ธรรมาภิบาลมี ๒ นัย ได้แก่ นัยที่ ๑ คือ ๑. ประโยชน์ปัจจุบัน ๒. ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ในภพหน้า, ๓. ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน นัยที่ ๒ คือ ๑. ประโยชน์ตน ๒. ประโยชน์ผู้อื่น ๓.ประโยชน์ ทั้งสองฝ่าย
The objectives of the study on the management system of Buddhist Ecclesiastical office according to the good governance were; 1) To study the manage- ment system of buddhist ecclesiastical office. 2) To study the management system of office according to the good governance 3) To integrate the management system of the Buddhist ecclesiastical office according to the good governance 4) To propose a guideline and create new knowledge related to management system of the Buddhist ecclesiastical office according to the good governance This research is a qualitative research by using document research methodology and conducting in-depth interview, including 4 abbots, office administrators who use good governance 1 person and experts in Buddhism 10 monks/person to confirm this research results. The results of the study found that: There are 4 main problems of the management system of the Buddhist Ecclesiastical office 1. Personnel problems, such as the administration of monks who are high-level position, most of them live in Bangkok, some of the Lord Abbots of a Buddhist monastery, not belong to his region, may not affiliate with temples within his region, therefore, the inspection is unable to be done thoroughly, and effectively because the guardian within the region is in a remote area And there is no permanent administrative office When the Lord Abbot is retried, the Document evidence is disrupted. Whenever a new Lord Abbot start a new responsibility,: Therefore, management is not continuous and systematic And the administrative problems in the region found that decentralization can only be done in the structure. 2. Money problems due to the office does not have enough from the government sector, making it necessary to find a budget to operate. 3. Material problems due to the constraint budget, making it impossible to get equipment. 4.The management problems of the Buddhist Ecclesiastical Office in the 6 aspects : Administration, Education, Education welfare, Dissemination, Infrastructure, Public welfare, found that the lack of good governance, then make resulting in problems of faith in Buddhism and other legal issues. The management system of office according to good governance is the management of the organization which consists of the rule of law, morality, transparency, participation, responsibility, value for money make the organization strong, efficient, effective, transparent, fair and can be inspected. And also studied the successful office of good governance in order to be an example in the integration of the problems of the Buddhist Ecclesiastical office. The integration of the management system of the Office of the Buddhist Ecclesiastical with the office management system in accordance with the good governance found that: 1. Personnel, there is a law to establish the Buddhist Ecclesiastical Office will make management systematic and continuous 2. Money The office has sufficient budget from the government, which requires transparent examination of spending. 3. Materials and equipment can be purchased by correctly and fairly. 4. Management The Office 6 Principles of good government to ensure it internationally accepted performance. From the results of the research, it can be summarized as a model of the management system of the Buddhist Ecclesiastical Office according to the good governmance which called MOGA model M = Management, (1. Personnel, 2. Budget, 3. Materials, equipment 4. Manage- ment) O = Office of Buddhist Ecclesiastical G = Good governance, A = Advantage (2 aspects: 1. current benefits, benefits in the future, the greatest benefit is Nirvana and 2. Gain for Oneself, Gain for others, Gain both)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมา ภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารกิจ การคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ มีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 236 รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปร ปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ ด้านการเผยแผ่ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการสาธารณสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศาสนศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล และด้านการสาธารณูปการตามหลักธรรมาภิบาล ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระภิกษุที่มี พรรษา และวุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุที่มีระดับ อายุ และวุฒิการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เห็นว่า งานด้านการปกครองตามหลักธรรมาภิบาลเป็นงานที่ต้องใช้การควบคุม สอดส่องดูแล พระภิกษุ สามเณร รวมถึงศิษย์วัดให้ปฏิบัติตามกรอบพระธรรมวินัย กฏระเบียบมหาเถรสมาคม ส่วนด้านการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ภาพรวมส่วนใหญ่พระสังฆาธิการมีการส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม บาลี แผนกสามัญตามระเบียบของมหาเถรสมาคม ส่วนด้านศึกษาสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะการให้การสงเคราะห์ด้านการฝึกอบรมแก่พระภิกษุ สามเณร และการสงเคราะห์เยาวชนให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียนในลักษณะของการแจกทุนการศึกษาด้านการเผยแผ่ตามหลักธรรมาภิบาล เป็นการทำงานของคณะสงฆ์โดยรวม ที่เป็นไปเพื่อการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนทั้งในวัด นอกวัด ชื่อว่า เป็นภารกิจด้านการเผยแผ่ทั้งสิ้น ส่วนด้านสาธารณูปการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นการทำงานลักษณะการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทั้งการพัฒนาวัดในด้านวัตถุทุกอย่าง และการบำรุงดูแลรักษาถาวรวัตถุ หรือสาธารณสมบัติของวัด และด้านสาธารณสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล กิจการคณะสงฆ์ด้านนี้ เป็นภารกิจที่วัด หรือพระภิกษุ ดำเนินการช่วยเหลือสังคม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมา ภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารกิจ การคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ มีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 236 รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปร ปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ ด้านการเผยแผ่ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการสาธารณสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศาสนศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล และด้านการสาธารณูปการตามหลักธรรมาภิบาล ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระภิกษุที่มี พรรษา และวุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุที่มีระดับ อายุ และวุฒิการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เห็นว่า งานด้านการปกครองตามหลักธรรมาภิบาลเป็นงานที่ต้องใช้การควบคุม สอดส่องดูแล พระภิกษุ สามเณร รวมถึงศิษย์วัดให้ปฏิบัติตามกรอบพระธรรมวินัย กฏระเบียบมหาเถรสมาคม ส่วนด้านการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ภาพรวมส่วนใหญ่พระสังฆาธิการมีการส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม บาลี แผนกสามัญตามระเบียบของมหาเถรสมาคม ส่วนด้านศึกษาสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะการให้การสงเคราะห์ด้านการฝึกอบรมแก่พระภิกษุ สามเณร และการสงเคราะห์เยาวชนให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียนในลักษณะของการแจกทุนการศึกษาด้านการเผยแผ่ตามหลักธรรมาภิบาล เป็นการทำงานของคณะสงฆ์โดยรวม ที่เป็นไปเพื่อการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนทั้งในวัด นอกวัด ชื่อว่า เป็นภารกิจด้านการเผยแผ่ทั้งสิ้น ส่วนด้านสาธารณูปการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นการทำงานลักษณะการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทั้งการพัฒนาวัดในด้านวัตถุทุกอย่าง และการบำรุงดูแลรักษาถาวรวัตถุ หรือสาธารณสมบัติของวัด และด้านสาธารณสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล กิจการคณะสงฆ์ด้านนี้ เป็นภารกิจที่วัด หรือพระภิกษุ ดำเนินการช่วยเหลือสังคม
และผู้ประสบภัยพิบัติในลักษณะต่าง ๆ ดังนั้นกิจการคณะสงฆ์ทุกด้านต้องใช้คุณธรรมนำการบริหารให้คำปรึกษากับคณะสงฆ์เมื่อเกิดปัญหา จัดประชุมเปิดโอกาสให้พระสังฆาธิการมีส่วนร่วม แต่การทำงานก็ต้องนำหลักของกฎหมาย หลักความโปร่งใส คุ้มค่าตรวจสอบได้
The objectives of the thesis are: 1) to study Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province, 2) to compare Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province based on their different ages, years in monkhood, and educational backgrounds, and 3) to study guidelines of Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province. The data were collected from 236 monks in Nakhon Chaisi district through questionnaires and analyzed by frequency, percentile, mean, standard deviation, t-test, F-test or One-way ANOVA and Least Significant Difference test. (LSD.) The results of research were found that: 1) The opinion of monks on Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province was at a high level overall. The highest level was on Buddhist propagation according to Good Governance, followed by Public Welfare according to Good Governance, Religious study according to Good Governance, Government according to Good Governance, Educational welfare according to Good Governance, and Public Assistance according to Good Governance respectively. 2) The monks with different years in monkhood and Dhamma educational levels had different opinion levels towards Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province with a statistically significant figure at 0.05, but those with different ages and general education levels showed no different opinion level on Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province. 3) Recommendations and suggestions: On the government according to Good Governance, the duty is to administrate, monitor, and take care of monks and novices under the Dhammavinaya and regulations of the Sangha Council. On the education according to Good Governance, the administrative monks support and promote the study of Dhamma, Palia and general education. On Education Welfare according to Good Governance, the administrative monks provide trainings and funds in study for monks, novices and children. On Propagation according to Good Governance, the temple internal and external teachings and trainings of administrative monks are all included in religious propagation. On Public Assistance according to Good Governance, the work and duty cover the development, renovation, restoration and preservation of the temple buildings, properties and objects. And on Public Welfare according to Good Governance, it is the burden of monks and temples to provide assistances to society and victims of disaster. The Sangha’s affairs should be administrated based on virtue, cooperation, laws and regulations that can lead to transparency, worthiness, and accountability.
หนังสือ

    การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence, 2) to study Gharâvâsadhamma in Buddhism, 3. to integrate activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence with Gharâvâsadhamma, and 4) to propose guidance and knowledge about " a model of a proceeding activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence integrated with Gharâvâsadhamma.” The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 63 samples that had undergone rehabilitation follow up the treatment for 3 months after discharge. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and comparing differences used Independent t-test. The qualitative data were obtained by in-depth interviews with 15 alcoholic dependence patients, who had undergone rehabilitation with 3-month follow-up treatments after discharge and not being addicted, and with 13 key informants in multidisciplinary teams at the rehabilitation by unstructured interviews. The data were analyzed by inductive analysis. The results of the research were follows 1. the implementation of rehabilitation activities for alcoholic dependence patients has a variety of forms and Buddhist principles are applied to the rehabilitation, 2. Gharâvâsadhamma in Buddhism is for lay-people to live together, and 3. the implement of rehabilitation activities integrated with Gharâvâsadhamma for patients with alcohol dependence indicated that the non-addicted sample group had a score of overall practice of Gharâvâsadhamma significantly higher than the relapse alcohol sample at the level of 0.05. This result revealed that non- relapse patients could follow Gharâvâsadhamma and have behavioral change positively. To follow Gharâvâsadhamma for self-care and non-relapse was based on intention, commitment, and tolerance to alcohol withdrawal symptoms. To escape from a bad feeling, the patients must depend on conscious thinking, reasonable consideration, self-control and family support. The rehabilitation activities for alcoholic dependence patients integrated with the Gharâvâsadhamma could be concluded into “SCB-SA-SC-SD Model”. The activities of rehabilitation for alcoholic dependence patients must be supported by society, family, staff, and fellow patients. All that could help change the patients’ cognition and behaviors into a positive way and assist them to have self-awareness or mindfulness and concentration, self-control or precepts and self-development or wisdom, and to help them quit drinking alcohol in a longer time.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกพระภิกษุ10 รูป สามเณร 10 รูป รวม 20 รูป ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย สามเณรคือเหล่ากอแห่งสมณะ ในยุคพุทธกาลสามเณรมีบทบาทช่วยรักษาพระศาสนา สืบต่อและเผยแผ่พระธรรมวินัย ปัจจุบันสามเณรมีบทบาทช่วยและปฏิบัติตามสิกขาบท 10 ข้อ พร้อมเสขิยวัตร ธรรมเนียม และกฏหมาย ศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา รวมถึงระดับปริญญา รักษา ปกป้อง เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนในจังหวัดเลยตัดสินใจเข้ามาบรรพชา คือ แรงผลักดันจากผู้ปกครอง การเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การบวชตามประเพณีการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ความยากจน การปลอดภัยจากพิษภัยของยาเสพติด ปัญหาพ่อแม่หย่าร้าง การขาดโอกาสทางการศึกษา การช่วยขัดเกลาพฤติกรรม และบวชตอบแทนพระคุณพ่อแม่ บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย คือ การศึกษาเล่าเรียนการสนองงานครูอาจารย์และคณะสงฆ์ผู้ช่วยพระภิกษุ ทำกิจวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชนการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย พบว่า มีบทบาทโดยภาพรวมแล้ว ได้แก่ 1. เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เมื่อมีความรู้ทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญ รวมถึงระดับปริญญาแล้ว ย่อมจะทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง แม้จะลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ทำการรักษาพระพุทธศาสนาในหน้าที่ของตน 2. เพื่อสังคม เช่น การเผยแผ่พระศาสนา ทำหน้าที่เป็นพระภิกษุสืบไป เป็นต้น 3. เพื่อสถาบันสงฆ์ไทย พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะปกครองทุกระดับชั้นล้วนเคยบรรพชามาตั้งแต่เป็นสามเณร จึงเอื้อต่อสถาบันพระพุทธศาสนาต่อไป
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกพระภิกษุ10 รูป สามเณร 10 รูป รวม 20 รูป ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย สามเณรคือเหล่ากอแห่งสมณะ ในยุคพุทธกาลสามเณรมีบทบาทช่วยรักษาพระศาสนา สืบต่อและเผยแผ่พระธรรมวินัย ปัจจุบันสามเณรมีบทบาทช่วยและปฏิบัติตามสิกขาบท 10 ข้อ พร้อมเสขิยวัตร ธรรมเนียม และกฏหมาย ศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา รวมถึงระดับปริญญา รักษา ปกป้อง เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนในจังหวัดเลยตัดสินใจเข้ามาบรรพชา คือ แรงผลักดันจากผู้ปกครอง การเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การบวชตามประเพณีการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ความยากจน การปลอดภัยจากพิษภัยของยาเสพติด ปัญหาพ่อแม่หย่าร้าง การขาดโอกาสทางการศึกษา การช่วยขัดเกลาพฤติกรรม และบวชตอบแทนพระคุณพ่อแม่ บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย คือ การศึกษาเล่าเรียนการสนองงานครูอาจารย์และคณะสงฆ์ผู้ช่วยพระภิกษุ ทำกิจวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชนการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย พบว่า มีบทบาทโดยภาพรวมแล้ว ได้แก่ 1. เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เมื่อมีความรู้ทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญ รวมถึงระดับปริญญาแล้ว ย่อมจะทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง แม้จะลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ทำการรักษาพระพุทธศาสนาในหน้าที่ของตน 2. เพื่อสังคม เช่น การเผยแผ่พระศาสนา ทำหน้าที่เป็นพระภิกษุสืบไป เป็นต้น 3. เพื่อสถาบันสงฆ์ไทย พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะปกครองทุกระดับชั้นล้วนเคยบรรพชามาตั้งแต่เป็นสามเณร จึงเอื้อต่อสถาบันพระพุทธศาสนาต่อไป
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the roles of the novices in the Theravada Buddhism 2) to study the roles of the novices in Loei Province 3) to analyze the roles of the novices in Loei Province. The derived information and data were: Tripitaka commentary, related textbooks, data and in-depth interviews from 10 monks and 10 novices. The total numbers of the interviewees were 20 persons. The derived data was contentedly analyzed and inductive conclusion was structurally formed. The results of research were found that: Novices are clans of the monks. In the Buddhist era, the novices’ roles were to preserve the religion, be successor to religion and propagate the Dharma disciplines. At present, the novices have roles in helping and following the 10 centipede, Se Khiyawat, traditions and laws. They study Pariyati Dharma including Dharma Department, Pali Department and Department of General Education and Bachelor Degree levels. They keep, protect and propagate Buddhism. Factors that the youths in Loei Province decided to ordinate were the motivation from their parents, ordination according to tradition, alleviating the burden of parents, problems of poverty, staying away from drugs, problems of divorced parents, lack of educational opportunities, refining behavior and ordaining to pay grace to parents. The duty of the novices in Loei are: studying, serving their teachers and clergy, being the monks’ assistants, doing the routine, being a good image to the Buddhists, renewing Buddhism and propagating Buddhism. After analyzing the roles of the novice in Loei Province, it was found that when picture their overall roles; their roles are: 1) for the stability of Buddhism, they have knowledge in 3 parts, Dharma, Pali and general education. This also includes the degree’s levels. The knowledge can stable Buddhism. Even when they leave the monkhood and become laymen, they preserve Buddhism in their duty. 2) For social duty such as propagation Buddhism as being monks. 3) For Thai monks Institute, the monks who become primates governing all levels used to be ordained as the novices. Then they contribute to the Buddhist Institute.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นระเบียบดําเนินการเพื่อความสําเร็จไม่ใช่วิธีกอใหเกิดอํานาจพิเศษดลบันดาลให้สำเร็จตามที่หวังเพียงแต่เป็นสื่อก่อให้เกิดผลด้านกาย วาจา จิต ปัญญา และสังคม มีการกระทำแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ช่วยรักษาพระธรรมวินัยอีกแนวทางหนึ่ง การสาธยายธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการท่อง การกล่าวธรรม การสวด การทรงพระธรรมวินัย มีลักษณะการเปล่งเสียงออกมาเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ จิตเป็นสมาธิ เป็นพหูสูต ไม่เป็นมลทิน เป็นบริขารของจิต ยินดีในบุญกุศล เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่มีเวรไม่มีภัย ละความง่วง ผู้ได้ฟังบรรลุธรรมได้ เป็นผู้อยู่ในธรรม ผู้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใส ย่อมได้รับความสรรเสริญ และเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมคณะสงฆ์จะทำพิธีกรรมต้องมีการสาธยายธรรมก่อนทั้งสิ้น พิธีกรรมกับคุณค่าการสาธยายธรรมในงานสวดพระอภิธรรม และการสาธยายธรรมก่อให้เกิดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานอวมงคล เช่น งานศพ การทำวัตรเช้า-เย็นของพุทธบริษัท เป็นต้น ก่อให้เกิดพิธีกรรมทั้งของพระสงฆ์ เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น ส่วนคฤหัสถ์ เช่น สาธยายธรรมข้ามปี เป็นต้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นระเบียบดําเนินการเพื่อความสําเร็จไม่ใช่วิธีกอใหเกิดอํานาจพิเศษดลบันดาลให้สำเร็จตามที่หวังเพียงแต่เป็นสื่อก่อให้เกิดผลด้านกาย วาจา จิต ปัญญา และสังคม มีการกระทำแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ช่วยรักษาพระธรรมวินัยอีกแนวทางหนึ่ง การสาธยายธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการท่อง การกล่าวธรรม การสวด การทรงพระธรรมวินัย มีลักษณะการเปล่งเสียงออกมาเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ จิตเป็นสมาธิ เป็นพหูสูต ไม่เป็นมลทิน เป็นบริขารของจิต ยินดีในบุญกุศล เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่มีเวรไม่มีภัย ละความง่วง ผู้ได้ฟังบรรลุธรรมได้ เป็นผู้อยู่ในธรรม ผู้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใส ย่อมได้รับความสรรเสริญ และเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมคณะสงฆ์จะทำพิธีกรรมต้องมีการสาธยายธรรมก่อนทั้งสิ้น พิธีกรรมกับคุณค่าการสาธยายธรรมในงานสวดพระอภิธรรม และการสาธยายธรรมก่อให้เกิดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานอวมงคล เช่น งานศพ การทำวัตรเช้า-เย็นของพุทธบริษัท เป็นต้น ก่อให้เกิดพิธีกรรมทั้งของพระสงฆ์ เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น ส่วนคฤหัสถ์ เช่น สาธยายธรรมข้ามปี เป็นต้น
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the rituals in Theravada Buddhism 2) to study the Chanting in Theravada Buddhism and 3) to analyze the rituals and the Dharma Chanting in Theravada Buddhism. The used documents are Tripitaka, commentary, textbooks and related researches. This study is a Qualitative research. The derived document and information were analyzed of the contents and the Inductive conclusion forms. The results of research were found that: Rituals in Theravada Buddhism are orderly proceeded in order to achieve certain goals which are not the creation of special power inspiring any successes. They are used as a media to fulfill the better of body, speech, mind, wisdom and society. The actions are for individual or in groups. This is another way to maintain the Dharma discipline. The chanting has begun from the age of the Buddhist era. It is a chanting, telling the Dharma, praying, and reserving of Buddhist discipline. It is an utterance for the benefits of oneself and the public. It is useful for the commitment to the Buddha. It is used as a tool to reach a liberation, meditated mind, be a scholar and have clean mind. It is for non-persecution, no harm, lethargy and attaining the Dharma. The one who listens Dharma will become faithful, receive praise, protection, self-keeping, Protection and live pleasantly. Rituals and Dharma chanting of Thai monks will start from the chanting first. In the funeral, rituals and the value of chanting cause merit and gratitude. chanting is also held in holy activities such as new house cerebration and auspicious events. Even in misfortune events, like a funeral, they play an important part of the events. When the laymen do morning and evening chanting, the monks also do the same. In the New Year days, the laymen chanting the Dharma over the years.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า : หลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ ละชั่ว ทำดี ทำให้ใจให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 คือ อดทนอดกลั้น ไม่เบียดเบียน สงบสันติ และนิพพาน วิธีการ 6 คือ ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมระวังในศีล รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในสถานที่อันสงบ และชำระจิตให้มีคุณภาพ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 นี้ เป็นสาระสำคัญอันยิ่งยวดของหลักการเผยแผ่พุทธศาสนา เพราะเป็นหลักการที่ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นท่าทีอันเป็นรูปแบบของการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท หลักการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ใช้หลักกถาวัตถุ 10 คือ เป็นผู้มักน้อย มีปกติสันโดษ ชอบสถานที่สงัดวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้ง 10 นี้ เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระปุณณมันตานีบุตรที่สอนศิษย์ในสำนัก 500 รูป เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ศิษย์ในสำนึกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยหลักการสอนอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างไรก็สอนอย่างนั้น เป็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้และความประพฤติที่เรียกว่า วิชชาจรณสัมปันโน รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณะมันตานีบุตรเถระ คือ เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถภาพ สารัตถภาพ นิรุตติภาพ ปฏิภาณภาพ ด้วยวิธีการอธิบายให้เห็นชัดเจน จูงใจให้เห็นจริง ชวนให้ยอมรับและปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้าอุตสาหะ ชโลมใจให้แช่มชื่นไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง ด้วยรูปแบบ การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) ด้วยการถามตอบปัญหา (ธัมมฉากัจฉา) ด้วยการอบรมสั่งสอน (โอวาท) ด้วยการกล่าวคาถา (คาถา)
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า : หลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ ละชั่ว ทำดี ทำให้ใจให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 คือ อดทนอดกลั้น ไม่เบียดเบียน สงบสันติ และนิพพาน วิธีการ 6 คือ ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมระวังในศีล รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในสถานที่อันสงบ และชำระจิตให้มีคุณภาพ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 นี้ เป็นสาระสำคัญอันยิ่งยวดของหลักการเผยแผ่พุทธศาสนา เพราะเป็นหลักการที่ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นท่าทีอันเป็นรูปแบบของการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท หลักการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ใช้หลักกถาวัตถุ 10 คือ เป็นผู้มักน้อย มีปกติสันโดษ ชอบสถานที่สงัดวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้ง 10 นี้ เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระปุณณมันตานีบุตรที่สอนศิษย์ในสำนัก 500 รูป เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ศิษย์ในสำนึกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยหลักการสอนอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างไรก็สอนอย่างนั้น เป็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้และความประพฤติที่เรียกว่า วิชชาจรณสัมปันโน รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณะมันตานีบุตรเถระ คือ เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถภาพ สารัตถภาพ นิรุตติภาพ ปฏิภาณภาพ ด้วยวิธีการอธิบายให้เห็นชัดเจน จูงใจให้เห็นจริง ชวนให้ยอมรับและปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้าอุตสาหะ ชโลมใจให้แช่มชื่นไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง ด้วยรูปแบบ การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) ด้วยการถามตอบปัญหา (ธัมมฉากัจฉา) ด้วยการอบรมสั่งสอน (โอวาท) ด้วยการกล่าวคาถา (คาถา)
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the principles of Dharma propagation of Theravada Buddhism 2) to study the propagation of Dharma of Phra Punnamantaniputta Thera and 3) Study and analyze the propagation of the Dharma of Phra Punnamantaniputta Thera. The researcher collected and studied from Tripitaka, commentary, textbooks and related researches, and analyzed the contents by the Deductive form. The results of research were found that: Principles of Dharma propagation of Theravada Buddhism consisting of Principle 3 is Evil, Do Good, Make your heart shine. Ideology 4 is tolerance, tolerance, non-persecution, peace and nirvana Method 6 is not to say badly, not to hurt, to be careful in the precepts. Know about food consumption in a peaceful place and pay attention to quality. Principle 3, ideology 4, method 6, this is a great essence of Buddhism propagation principles because it is the principle that appears clearly in the Tripitaka, which is considered as a form of propagation of Theravada Buddhism. Principles of Dharma propagation of Phra Punnamantaniputta Use the principle of the 10 objects, which are usually small, normal, solitary, like being quiet, not being confused with the group. Foreword, perseverance, complete with canon, meditation, wit, liberation, liberation perception, Tuscany these 10 teachings and practices How to teach How to teach it. All 10 of these are the doctrines and practices of Phra Punnamantaniputta. Who teaches 500 disciple. Is a form of teaching that gives disciples in a strict sense of practice with the principle of teaching how to do that How to teach it Is the perfection of knowledge and behavior called The propagation of Dharma of Phra Punnamantaniputta is a master of wisdom. On the issue, In essence, In language, In wisdom With clear explanations Convince the truth Persuade to accept and practice Inspiring to be brave Feeling cheerful, not bored and full of hope. With a form of Dhamma (sermon) with questions and answers (Dhamma conversation) with training (obedience) with a spells (spells)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระ พุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ บรรพชิต 10 รูป ฆราวาส 10 คน (รวม 20 รูป/คน) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า : การเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยพระองค์เอง ต่อจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสาวกดำเนินเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ หลักประโยชน์ 3 หลักไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกันทั้งตนเองและผู้อื่น โดยพระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่พุทธศาสนิกชนจะได้รับเป็นหลักสำคัญที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธวิธีที่พระองค์ทรงสอนนั้นทรงเลือกใช้พุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลสถานที่กาลและกุศโลบายวิธี เพื่อให้ผู้ที่พระองค์ทรงสอนเกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิตประสบความสงบสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ดำเนินสู่มรรคผล คือ พระนิพพาน หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ มีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจนที่สุด คือ การแสดงธรรมเทศนา เพื่ออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์มีกุศโลบายในการสอนโดยสอดแทรกธรรมะผ่านวัตถุมงคลเรื่องคาถาต่างๆ เป้าหมายของการอบรมภาวนา คือ สอนวิธีทำใจให้สงบ ท่านไม่ได้สอนอะไรมากมายเพียงแต่สอนคนให้ภาวนาได้เท่านั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของใจการภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจต้องให้ใจสงบก่อนจึงจะก้าวสู่วิปัสสนาได้สมถะเป็นเหตุวิปัสสนาเป็นผล ท่านสอนให้เดินจิตให้ชำนาญให้คล่องตัวเกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออก เพื่อเป็นฐานของวิปัสสนาการพิจารณาค้นหาใจตนเองให้พบก่อนเป็นการค้นไปในจิตหากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่ และชำระสะสางออกไปจากจิตใจ ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะบรรยายอธิบายเรื่องทั้งหมดผ่านการแสดงธรรมตามวิธีสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ของพรโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ ไตรสิกขา อันหมายถึง การฝึกพฤติกรรมฝึกจิตใจและฝึกปัญญาผ่านรูปแบบการเจริญภาวนาด้วยทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญาโดยมีแนวทางที่เป็นสายกลาง คือ อริยมรรค มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ท่านได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งที่สร้างศรัทธาให้พุทธบริษัท และพุทธศาสนิกชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบการเผยแผ่ดังกล่าวและกุศโลบายต่างๆ นั้นเพื่อให้ได้เข้าถึงความดีงามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ด้วยตาคือ ผลงานด้านถาวรวัตถุ ทั้งที่แสดงให้เห็นด้วยใจ คือ แรงพลังศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนเข้าได้เข้ารับการอบรมสมาธิภาวนา มีทั้งแสดงให้เห็นด้วยปัญญา คือ หลักธรรมคำสอนที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดอันจะก่อเกิดความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง กล่าวคือมรรคผลนิพพาน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระ พุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ บรรพชิต 10 รูป ฆราวาส 10 คน (รวม 20 รูป/คน) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า : การเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยพระองค์เอง ต่อจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสาวกดำเนินเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ หลักประโยชน์ 3 หลักไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกันทั้งตนเองและผู้อื่น โดยพระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่พุทธศาสนิกชนจะได้รับเป็นหลักสำคัญที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธวิธีที่พระองค์ทรงสอนนั้นทรงเลือกใช้พุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลสถานที่กาลและกุศโลบายวิธี เพื่อให้ผู้ที่พระองค์ทรงสอนเกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิตประสบความสงบสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ดำเนินสู่มรรคผล คือ พระนิพพาน หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ มีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจนที่สุด คือ การแสดงธรรมเทศนา เพื่ออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์มีกุศโลบายในการสอนโดยสอดแทรกธรรมะผ่านวัตถุมงคลเรื่องคาถาต่างๆ เป้าหมายของการอบรมภาวนา คือ สอนวิธีทำใจให้สงบ ท่านไม่ได้สอนอะไรมากมายเพียงแต่สอนคนให้ภาวนาได้เท่านั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของใจการภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจต้องให้ใจสงบก่อนจึงจะก้าวสู่วิปัสสนาได้สมถะเป็นเหตุวิปัสสนาเป็นผล ท่านสอนให้เดินจิตให้ชำนาญให้คล่องตัวเกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออก เพื่อเป็นฐานของวิปัสสนาการพิจารณาค้นหาใจตนเองให้พบก่อนเป็นการค้นไปในจิตหากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่ และชำระสะสางออกไปจากจิตใจ ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะบรรยายอธิบายเรื่องทั้งหมดผ่านการแสดงธรรมตามวิธีสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ของพรโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ ไตรสิกขา อันหมายถึง การฝึกพฤติกรรมฝึกจิตใจและฝึกปัญญาผ่านรูปแบบการเจริญภาวนาด้วยทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญาโดยมีแนวทางที่เป็นสายกลาง คือ อริยมรรค มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ท่านได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งที่สร้างศรัทธาให้พุทธบริษัท และพุทธศาสนิกชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบการเผยแผ่ดังกล่าวและกุศโลบายต่างๆ นั้นเพื่อให้ได้เข้าถึงความดีงามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ด้วยตาคือ ผลงานด้านถาวรวัตถุ ทั้งที่แสดงให้เห็นด้วยใจ คือ แรงพลังศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนเข้าได้เข้ารับการอบรมสมาธิภาวนา มีทั้งแสดงให้เห็นด้วยปัญญา คือ หลักธรรมคำสอนที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดอันจะก่อเกิดความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง กล่าวคือมรรคผลนิพพาน
ตามหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างประโยชน์ที่เกิดกับสังคมและหมู่คณะสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่นอีกด้วย
This research had the objectives to study; 1) Theravada Buddhist propagation, 2) the propagation of Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako), and 3) to analyze the propagation principles of Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako). The researcher collected and studied from text books and related documents including in-depth interview from 10 Buddhist monks and 10 Buddhist laymen. The results were as follows: In the preliminary of Buddhist propagation, the Buddha went to teach and propagate by himself. When he had the disciples, he allowed them to teach and propagated Buddhism till now. The core of Buddhist propagation is Ovada Patimokkha, The Principle of Advantage, Threefold Training, and the Principle of Dependent Origination to cease from all evil, to do what is good, and to purify the mind. The Buddha and his disciples had proper methods to teach the people with the goal to leave from suffering and to reach enlightenment. For Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako), he applied the Buddha’ methods to teach the people with four principle; transparency, motivation, brave, and happiness. He described, discussed, and answered Buddhist principles. The principles that he used to teach were Dhana, Sila, Panya because there were the factors of Anapanasati. Also, it was the way to resolve the problems that brought the happiness and calm. For the analytical of Phrasophonvisutdhikhun’s propagation and teaching, he applied the Principles of Threefold Training, the Eightfold Path to teach the people to reach enlightenment. He acted as the model for the people to strongly believe in Buddhism by builds, Buddhist estates and meditation. He practiced following the Buddha’s teaching for the benefit of the people to relief suffering and reach enlightenment and for the benefit of the Sangha in Khonkaen province.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาทของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 รูป ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาทคือ หลักจักรวรรดิวัตร 12หลักมหาโคปาล 11 ทศพิธราชธรรม 10 กัลยาณมิตร 7 สัปปุริสธรรม 7จักรวรรดิวัตร 5 เวสารัชชกรณธรรม 5สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 ภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครอง ด้านการศึกษาด้านสาธารณะสงเคราะห์ด้านสาธารณูปการด้านศึกษาสงเคราะห์ และด้านการเผยแผ่ มีหลักการ คือ ยึดพระธรรมวินัย ส่งเสริม สนับสนุน รักษา อุปถัมภ์ มีพรหมวิหาร เผยแผ่ธรรมวินัย เกื้อกูลสังคม หลักธรรม คือ มีพระธรรมวินัย ศีล สัปปุริสธรรมอปริหานิยธรรมพรหมวิหาร อิทธบาท สันโดษ ธรรมกถึก วิธีการ คือ ทำตนให้เป็นแบบอย่างเป็นที่พึ่งของคนอื่นไม่ทำเกินกำลัง สร้างปัญญาให้สังคม ยึดทางสายกลาง ทำให้ต่อเนื่อง และรู้จักสอน หลักการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครองด้วยการยึดพระธรรมวินัยด้านศาสนศึกษาด้วยการส่งเสริมการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงรุก ด้านการเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติและทำกิจกรรม ด้านสาธารณูปการด้วยการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นพุทธศาสนา และด้านสาธารณสงเคราะห์ด้วยการพัฒนาวัตถุ และพัฒนาจิตใจด้วยหลักธรรมวินัย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาทของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 รูป ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาทคือ หลักจักรวรรดิวัตร 12หลักมหาโคปาล 11 ทศพิธราชธรรม 10 กัลยาณมิตร 7 สัปปุริสธรรม 7จักรวรรดิวัตร 5 เวสารัชชกรณธรรม 5สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 ภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครอง ด้านการศึกษาด้านสาธารณะสงเคราะห์ด้านสาธารณูปการด้านศึกษาสงเคราะห์ และด้านการเผยแผ่ มีหลักการ คือ ยึดพระธรรมวินัย ส่งเสริม สนับสนุน รักษา อุปถัมภ์ มีพรหมวิหาร เผยแผ่ธรรมวินัย เกื้อกูลสังคม หลักธรรม คือ มีพระธรรมวินัย ศีล สัปปุริสธรรมอปริหานิยธรรมพรหมวิหาร อิทธบาท สันโดษ ธรรมกถึก วิธีการ คือ ทำตนให้เป็นแบบอย่างเป็นที่พึ่งของคนอื่นไม่ทำเกินกำลัง สร้างปัญญาให้สังคม ยึดทางสายกลาง ทำให้ต่อเนื่อง และรู้จักสอน หลักการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครองด้วยการยึดพระธรรมวินัยด้านศาสนศึกษาด้วยการส่งเสริมการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงรุก ด้านการเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติและทำกิจกรรม ด้านสาธารณูปการด้วยการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นพุทธศาสนา และด้านสาธารณสงเคราะห์ด้วยการพัฒนาวัตถุ และพัฒนาจิตใจด้วยหลักธรรมวินัย
The objectives of this thesis are: 1) to study the principles of leadership development in Theravada Buddhism 2) to study the leadership of the district primates in Mahasarakham Province and 3) to analyze the principles’ leadership development in Theravada Buddhist Philosophy of the district primates in Mahasarakham Province. The document and information are Tripitaka, commentary, related textbooks, data and the in-depth interviews from all 8 district primates. The received data were content analysis and an analysis of inductive conclusion’s structure. The results of research were found that: The principles of leadership development in Theravada Buddhism are as follows: the Empire 12, MahaKopal 11, Dharma of the King 10, True Friends 7, Sappurisadharmma 7, Empire 5, Wasadatchakondharm 5, Sangkhawang 4 and Itthibat 4. The leadership of the district primates in Mahasarakham province are in government, education, public welfare, public assistance, education welfare and propagation. The principles are following the Dharma discipline, stimulating, supporting, securing, patronizing, subliming states of mind, propagation Dharma disciplines and supportingsociety.Dharma principles are having Dharma disciplines, canon, Suppurisadharm, Apirihaniyadharm, Brahma 4, Achievement, and Monastic. Means are good behaviors for reliability, not overloading, creation of wisdom for society, being in the middle path, being continuous and khowing how to teach Dharma. Principles in leadership development of the district primates in Mahasarakham Province are in governmental aspect by following the Dharma disciplines. In religious study, they support the education. In education welfare, they follow the proactive approach. In propagation the religion, they do activities. In public assistance, they maintain identity as the Buddhists and in public welfare, they develop mind and objects for the public
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง กับปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง จำนวน 393 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติไคสแคว์ (Chi – Square) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการตัดสินใจของประชาชนกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านนโยบายพรรค รองลงมาคือ ด้านคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และน้อยที่สุด คือ ด้านพรรคการเมือง ตามลำดับ 2) เพศ และอายุของประชาชนไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนระดับการศึกษาของประชาชนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) เสนอแนวทางการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน ดังนี้ 1) ด้านคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรคิดดีทำดีมีคุณธรรมและจริยธรรมชอบช่วยเหลือสังคม ไม่เคยมีประวัติเสีย และไม่เอาเปรียบผู้อื่น 2) ด้านพรรคการเมือง คือ พรรคการเมืองต้องมีความน่าเชื่อถือทำงานอย่างตรงไปตรงมา ยึดมั่นในศีลธรรม และไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก 3) ด้านนโยบายพรรค คือ นโยบายพรรคควรดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนผู้สูงอายุและคนว่างงานให้มีรายได้ ลดราคาสินค้าและค่าครองชีพ ควรมีการปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมและมลพิษ ช่วยให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย ไม่ควรจัดเก็บรายได้จากการเพิ่มภาษีจากประชาชน มีสวัสดิการช่วยเหลือผู้พิการ และส่งเสริมสินค้าไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง กับปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง จำนวน 393 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติไคสแคว์ (Chi – Square) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการตัดสินใจของประชาชนกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านนโยบายพรรค รองลงมาคือ ด้านคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และน้อยที่สุด คือ ด้านพรรคการเมือง ตามลำดับ 2) เพศ และอายุของประชาชนไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนระดับการศึกษาของประชาชนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) เสนอแนวทางการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน ดังนี้ 1) ด้านคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรคิดดีทำดีมีคุณธรรมและจริยธรรมชอบช่วยเหลือสังคม ไม่เคยมีประวัติเสีย และไม่เอาเปรียบผู้อื่น 2) ด้านพรรคการเมือง คือ พรรคการเมืองต้องมีความน่าเชื่อถือทำงานอย่างตรงไปตรงมา ยึดมั่นในศีลธรรม และไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก 3) ด้านนโยบายพรรค คือ นโยบายพรรคควรดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนผู้สูงอายุและคนว่างงานให้มีรายได้ ลดราคาสินค้าและค่าครองชีพ ควรมีการปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมและมลพิษ ช่วยให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย ไม่ควรจัดเก็บรายได้จากการเพิ่มภาษีจากประชาชน มีสวัสดิการช่วยเหลือผู้พิการ และส่งเสริมสินค้าไทย
This thematic paper had the following objectives: 1) to study the factors affecting voting decision for parliamentary members of people in Raikhing Municipality, Sam Phran District, Nakhon Pathom Province 2) to study the relationship between factors that affected the voting decision for parliamentary members of people in Raikhing Municipality and personal factors 3) to suggest guidelines for voting decision for parliamentary members of people in Raikhing Municipality. This research was a quantitative research. Sample groups included 393 residents in Raikhing Municipality, who had the right to vote at the age of 18 years. A simple random method was used by drawing lots. The used tools in the research were questionnaires with the reliability of 0.88 The statistics used for data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and testing of Chi-Square. The results of the research were found as follows : 1) The level of public decision making and the factors that affected the voting decision for the parliamentary members of the people in Raikhing Municipality including 3 aspects, were at a high level. When considering each aspect, it was at a high level in all aspects, with the average value in descending order as follows : the highest average value was the party policy, followed by the candidate's qualifications, and the least was the political party, respectively 2) Gender and age of the people did not correlate with the factors that affected the voting decision for parliamentary members. The educational level of the people was related to factors that affected the voting decision for parliamentary members, with statistical significance at the level of 0.05 3) Suggestions for guidelines for voting decision for parliamentary members were as follows : 1) The aspect of qualifications of candidates : Candidates should think well, do good, have morals and ethics, like to help society, never had a bad record, and not taking advantage of others. 2) The aspect of political party, a political party should be credible, work honestly, adhere to morality, and not be biased. 3) The aspect of the party policy, the political policy should be implemented to encourage people, the elderly and the unemployed to have income, to reduce product prices and cost of living, to improve the environment and pollution, to help people to have housing, not to collect income from tax increases from the people, to have welfare for the disabled and to promote Thai products.
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคการบริหารหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษานโยบายปฏิรูปประเทศไทยด้านการอุดมศึกษา 20 ปี 3) เพื่อศึกษาหลักการบริหารและการพัฒนาการอุดมศึกษาในอนาคต และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาที่สนองนโยบายปฏิรูปประเทศไทยระยะ 20 ปี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ประจำหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( xˉ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า การบริหารหลักสูตรด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดการหลักสูตร และด้านการบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ 2) นโยบายปฏิรูปประเทศไทยด้านการอุดมศึกษา 20 ปี จะมุ่งเน้นคุณภาพบัณฑิต คุณภาพการวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศระดับโลก สร้างความเสมอภาค โอกาสและความหลากหลายของผู้รับบริการ การพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาส และตอบสนองบทบาทที่เปลี่ยนแปลง โดยการปรับตัวในการผลิตบัณฑิตเข้าสู่ความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน การลดช่องว่างทักษะของบัณฑิตกับความต้องการของนายจ้าง การสร้างงาน การเป็นผู้ประกอบการและการมีงานทำ 3) หลักการบริหารและการพัฒนาการอุดมศึกษาในอนาคต ได้แก่ การสร้างพลเมืองคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อทําให้ผู้เรียนสามารถกําหนดแนวทางในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อสร้างคนที่ เป็น “คนไทย 4.0” การกระจายโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การบริหาร จัดการงบประมาณและทรัพยากรของอุดมศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 4) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษา ควรขับเคลื่อนตามแนวนโยบายมหาวิทยาลัย 4.0 โดยมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและวางแผนด้านอัตรากำลังของอาจารย์ประจําหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ปรับกลยุทธ์การรับเข้าเพื่อให้ได้ผู้เรียนตรงตามเป้าหมาย โดยการประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมาย สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อหาผู้เรียนในกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงวัย มีการเพิ่มช่องทางการรับเข้า เช่น จัดทําการตลาด (Marketing) การจัดกิจกรรม Open House เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร สร้างหลักสูตรให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้ พัฒนาหลักสูตรเชิงบูรณาการในลักษณะของสหกิจศึกษาเพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยมีพุทธศาสนาเป็นฐาน รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคการบริหารหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษานโยบายปฏิรูปประเทศไทยด้านการอุดมศึกษา 20 ปี 3) เพื่อศึกษาหลักการบริหารและการพัฒนาการอุดมศึกษาในอนาคต และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาที่สนองนโยบายปฏิรูปประเทศไทยระยะ 20 ปี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ประจำหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( xˉ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า การบริหารหลักสูตรด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดการหลักสูตร และด้านการบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ 2) นโยบายปฏิรูปประเทศไทยด้านการอุดมศึกษา 20 ปี จะมุ่งเน้นคุณภาพบัณฑิต คุณภาพการวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศระดับโลก สร้างความเสมอภาค โอกาสและความหลากหลายของผู้รับบริการ การพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาส และตอบสนองบทบาทที่เปลี่ยนแปลง โดยการปรับตัวในการผลิตบัณฑิตเข้าสู่ความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน การลดช่องว่างทักษะของบัณฑิตกับความต้องการของนายจ้าง การสร้างงาน การเป็นผู้ประกอบการและการมีงานทำ 3) หลักการบริหารและการพัฒนาการอุดมศึกษาในอนาคต ได้แก่ การสร้างพลเมืองคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อทําให้ผู้เรียนสามารถกําหนดแนวทางในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อสร้างคนที่ เป็น “คนไทย 4.0” การกระจายโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การบริหาร จัดการงบประมาณและทรัพยากรของอุดมศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 4) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษา ควรขับเคลื่อนตามแนวนโยบายมหาวิทยาลัย 4.0 โดยมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและวางแผนด้านอัตรากำลังของอาจารย์ประจําหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ปรับกลยุทธ์การรับเข้าเพื่อให้ได้ผู้เรียนตรงตามเป้าหมาย โดยการประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมาย สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อหาผู้เรียนในกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงวัย มีการเพิ่มช่องทางการรับเข้า เช่น จัดทําการตลาด (Marketing) การจัดกิจกรรม Open House เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร สร้างหลักสูตรให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้ พัฒนาหลักสูตรเชิงบูรณาการในลักษณะของสหกิจศึกษาเพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยมีพุทธศาสนาเป็นฐาน
Note: รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
หนังสือ

    โครงการวัดบันดาลใจ โดยความร่วมมือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันอาศรมศิลป์
Note: โครงการวัดบันดาลใจ โดยความร่วมมือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันอาศรมศิลป์
TOC:
  • ครุสติสถาน
  • แนวคิดการออกแบบ
  • การใช้งานอาคารและสถานที่
  • ศาลาส่วนกลาง
  • ห้องครัว
  • ที่พัก
  • ลู่เดินจงกรม
  • กุฏิพระสงฆ์
  • สิ่งที่น่าสนใจของครุสติสถาน
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการค้นคว้าทางการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การสั่งการ และการบริหาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา งานวิจัย และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กองช่าง มีด้วยกัน 5 ด้าน 1) งานด้านวิศวกรรม 2) งานด้านสาธารณูปโภค 3) งานด้านสวนสาธารณะ 4) งานด้านจัดสถานที่ 5) งานด้านการไฟฟ้าสาธารณะ สภาพการปฏิบัติงานนั้นต้องประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผนที่ดีเพื่อให้มีความสัมพันธ์กับการจัดวางโครงการซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดกรอบไว้ตามวัตถุประสงค์ และแผนการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า กำหนดอำนาจหน้าที่ชัดเจน โครงการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ความรับผิดชอบทางสายงานตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล การสั่งการในการดำเนินโครงการในแต่ละครั้งต้องมีแบบแผนปฏิบัติและต้องปฏิบัติตามแผน การแบ่งงานกันทำจึงจำเป็นอย่างยิ่ง กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและกิจกรรม การใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การบริหารจัดการแก่ประชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น 2. การปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุเป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว 4 ประการ คือ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก 3) อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ 4) สมานัตตตา การวางตนสม่ำเสมอ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กองช่าง ทาน ทำได้ด้วยการ มีใจเผื่อแผ่ ให้ทาน เอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ ให้ความรู้กับประชาชน ปิยวาจา ทำได้ด้วยการพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานวาจาเป็นที่รัก หรือวาจาซาบซึ้งใจพูดคำจริง มีเหตุผลได้สาระประโยชน์ และถูกกาลเทศะ ถนอมน้ำใจไม่ดุด่าหรือกล่าวคำหยาบคาย การแสดงออกทางกายที่สำรวม มีมารยาท สุภาพอ่อนน้อม อัตถจริยา ทำได้ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการของส่วนรวม ไม่มุ่งหวังว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทน สิ่งของหรือ คำชมเชย มีจิตสำนึกในการให้บริการแก่เพื่อนร่วมงาน ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ รวดเร็วและถูกต้อง ทำงานในหน้าที่โดยมีจิตสำนึกและหลักการ รักษาผลประโยชน์ของทางราชการและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน สมานัตตตา ทำได้ด้วยการวางตนให้เหมาะสมกับฐานะในสังคม ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อบุคคลอื่นหรือประชาชน ให้ความเสมอภาค ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเป็นกันเอง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รู้จักวางตนให้เหมาะสม ซื่อตรง อุทิศเวลาต่อหน้าที่ มีสัมพันธ์อันดีกับชุมชนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย 3.
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการค้นคว้าทางการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การสั่งการ และการบริหาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา งานวิจัย และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่กองช่าง มีด้วยกัน 5 ด้าน 1) งานด้านวิศวกรรม 2) งานด้านสาธารณูปโภค 3) งานด้านสวนสาธารณะ 4) งานด้านจัดสถานที่ 5) งานด้านการไฟฟ้าสาธารณะ สภาพการปฏิบัติงานนั้นต้องประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผนที่ดีเพื่อให้มีความสัมพันธ์กับการจัดวางโครงการซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดกรอบไว้ตามวัตถุประสงค์ และแผนการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า กำหนดอำนาจหน้าที่ชัดเจน โครงการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ความรับผิดชอบทางสายงานตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล การสั่งการในการดำเนินโครงการในแต่ละครั้งต้องมีแบบแผนปฏิบัติและต้องปฏิบัติตามแผน การแบ่งงานกันทำจึงจำเป็นอย่างยิ่ง กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและกิจกรรม การใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การบริหารจัดการแก่ประชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้น 2. การปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุเป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว 4 ประการ คือ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก 3) อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ 4) สมานัตตตา การวางตนสม่ำเสมอ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กองช่าง ทาน ทำได้ด้วยการ มีใจเผื่อแผ่ ให้ทาน เอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ ให้ความรู้กับประชาชน ปิยวาจา ทำได้ด้วยการพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานวาจาเป็นที่รัก หรือวาจาซาบซึ้งใจพูดคำจริง มีเหตุผลได้สาระประโยชน์ และถูกกาลเทศะ ถนอมน้ำใจไม่ดุด่าหรือกล่าวคำหยาบคาย การแสดงออกทางกายที่สำรวม มีมารยาท สุภาพอ่อนน้อม อัตถจริยา ทำได้ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการของส่วนรวม ไม่มุ่งหวังว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทน สิ่งของหรือ คำชมเชย มีจิตสำนึกในการให้บริการแก่เพื่อนร่วมงาน ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ รวดเร็วและถูกต้อง ทำงานในหน้าที่โดยมีจิตสำนึกและหลักการ รักษาผลประโยชน์ของทางราชการและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน สมานัตตตา ทำได้ด้วยการวางตนให้เหมาะสมกับฐานะในสังคม ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อบุคคลอื่นหรือประชาชน ให้ความเสมอภาค ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเป็นกันเอง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รู้จักวางตนให้เหมาะสม ซื่อตรง อุทิศเวลาต่อหน้าที่ มีสัมพันธ์อันดีกับชุมชนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย 3.
ข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ร่วมกันในสังคมมีความอนุเคราะห์ สงเคราะห์ แบ่งปันช่วยเหลือกันและกัน ทำให้อยู่ร่วมกันทำงานร่วมกัน เต็มใจช่วยเหลือเกื้อกูล ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ การมีหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจะทำให้รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่ช่วยเหลือกันมีความสามัคคีกันแบ่งปันกันไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายก็สามารถแก้ปัญหาและช่วยเหลือกัน ด้านรวมไปถึงด้านให้กำลังใจที่ส่งถึงกันเพื่อให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถมีทัศนคติใช้ปฏิบัติในทางที่ในการสนับสนุนและช่วยเหลือกัน เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจะทำให้รวมกันเป็นหมู่ คนในประเทศชาติประพฤติดีมีศีลธรรมรู้จักเกื้อกูลกันไม่ขัดแย้งแตกแยกกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกันเหนี่ยวน้ำใจของกัน จะประสานกลมเกลียวสอดคล้องกัน เพื่องานที่ทำบรรลุผลมีประโยชน์ หากร่วมมือกันในทุกฝ่ายแล้วย่อมสร้างความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงของประเทศชาติ
The objective of this thesis is 1) to study the working conditions. Of the Technician Division Lam Sam Kaew Municipality, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province 2) to study the work according to Sangahavatthu 4 principles of the Technician Division Lam Sam Kaew City Municipality, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province 3) To suggest the operational guidelines according to Sangahavatthu 4 principles of the Technician Division Lam Sam Kaeo Municipality, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province This research is a qualitative research by researching in-depth interviews. Those responsible for operations, commanding, and administration by studying from the Tripitaka, books, research textbooks and related academic documents The research found that 1. Operating conditions There are 5 aspects of the technician staff: 1) Engineering 2) Utilities 3) Public parks 4) Site management 5) Public electricity The operating conditions must consist of good planning procedures in order to relate to the project layout, which is a policy that is defined in accordance with the objectives. And work plans in advance Set clear authority. The project has a common goal. Responsibility in line with each individual's expertise and expertise. Each project operation order must have a pattern of action and must follow the plan. The division of work is therefore very necessary. Determine the relationship between workers and activities The use of organization resources for maximum efficiency. Management for the public has improved quality. 2. Performance according to the principles of Sanghavatthu 4, Sanghavatthaya is fair, the following are 4 things: 1) giving alms 2) giving the words to the words that are loved 3) the self-behavior, the behavior 4) the constant self-determination The duties of the staff of the Food Mechanics Division are made by generosity and generosity. To educate the people, to make words through speech with sweet, sweet words and beloved words. Or verbally spoken words Have reason and benefit And timely Be considerate and not curse or vulgar Comprehensive physical expression, courteous, polite, docile, attentive, can be achieved through service. Striving to help public affairs Not aiming to receive benefits in return Things or compliments Have a sense of service to colleagues People at full capacity Fast and accurate Work on duty with awareness and principles Maintain the government benefits and benefit the people. Samantha Tata can do by placing oneself appropriate to the status in society. Treat oneself consistently with other people or the public. Equality Treat colleagues with friendliness. Behave as a role model Knowing how to position oneself appropriately, honestly, devoting time to duty Have consistently good relations with the community 3. Suggestions on how to perform the work according to Sangahavatthu 4, coexist in society, provide assistance, share and help each other Make it together, work together Willing to help Solving problems for the benefit of bringing together peace Having the Sanghavatthu 4 principle as an anchor will make it a group. Be a group to help each other, to have unity and to share, no matter how bad events can solve problems and help each other Side, including the encouraging side sent to each other for the sake of the common good Can have an attitude and practice in a way that supports and helps one another As an anchor to make one together People in the nation are well behaved, morally, supportive, not conflict, divided. Encouraging each other to encourage each other Will harmonize harmoniously For work to be successful If collaborating in all parties, it will create prosperity and stability for the nation.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ที่ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ ประชาชน จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติการบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ("x" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่า (t–test) และ (One Way ANOVA/F–test) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์จากผู้บริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของนักศึกษา จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า: 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ด้านการรณรงค์ ทางการเมือง และด้านการร่วมการชุมนุมทางการเมือง ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้ (1) ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีส่วนร่วมทาง การเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า 1) ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ว่ามีการได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ให้รับรู้และรับทราบ ตรวจสอบข้อมูลตนเอง ได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนด 2) ด้านการรณรงค์ทางการเมือง เมื่อมีการเลือกตั้ง มีการแจ้งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากผู้นำ ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเองทำให้ประชาชนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตน ไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุด 3) ด้านการร่วมการชุมนุมทางการเมือง เป็นการประชุมมากกว่า มีการจัดอบรม ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อให้ผู้มีอำนาจหน้าที่เข้าไปแก้ปัญหาเหล่านั้น 4) ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ส่วนใหญ่ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ และข้อมูลข่าวสารจากผู้นำ รวมทั้งสื่อออนไลน์ การติดตามข่าวสารให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ที่ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ ประชาชน จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติการบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ("x" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่า (t–test) และ (One Way ANOVA/F–test) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์จากผู้บริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของนักศึกษา จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า: 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ด้านการรณรงค์ ทางการเมือง และด้านการร่วมการชุมนุมทางการเมือง ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้ (1) ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีส่วนร่วมทาง การเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า 1) ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ว่ามีการได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ให้รับรู้และรับทราบ ตรวจสอบข้อมูลตนเอง ได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนด 2) ด้านการรณรงค์ทางการเมือง เมื่อมีการเลือกตั้ง มีการแจ้งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากผู้นำ ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเองทำให้ประชาชนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตน ไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุด 3) ด้านการร่วมการชุมนุมทางการเมือง เป็นการประชุมมากกว่า มีการจัดอบรม ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อให้ผู้มีอำนาจหน้าที่เข้าไปแก้ปัญหาเหล่านั้น 4) ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ส่วนใหญ่ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ และข้อมูลข่าวสารจากผู้นำ รวมทั้งสื่อออนไลน์ การติดตามข่าวสารให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the political participation of people in Phrai Bueng Subdistrict Municipality, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province. 2) to compare the political participation of people in Phrai Bueng Subdistrict Municipality, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province classified by gender, age, educational level, occupation, and income, and 3) to propose the political participation of the people in Phrai Bueng Subdistrict Municipality, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province. The quantitative data were collected from 382 samples by questionnaires and the qualitative data were collected by interview forms from the 5 informants concerning political participation of students. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, value testing (t–test) and (One Way ANOVA/F–test). If statistically significant differences were found, LSD (Least Significant Difference) was used. The results of the research showed that: 1) Political participation of people in Phrai Bueng Subdistrict Municipality, Phrai Bueng district of Sisaket province was at a medium level overall. When considering in each aspect in order of average order from the highest to the least level, election voting was the first, followed by tracking political news, political campaigning, and the participation in political assembly respectively. 2) Comparison results; (1) People of different genders had political participation in 4 aspects indifferently which was not in accordance with the study hypothesis. (2) People with different educational backgrounds, occupations, and incomes had political participation in all 4 areas differently with statistically significant figure at the 0.05 level, which was in accordance with the study hypothesis. 3) Suggestions were as follows: 1) In exercising the right to vote; there was public relations to people to know, check and aware of their rights and duties under the constitution. 2) In political campaigns; in the election, there was public announcement about the election and people could obtain information from their leaders in making decision to their representatives, understand their roles and responsibilities for exercise the rights in voting. 3) in terms of political assembly; there were meeting, training, and knowledge sharing In order that the authority could help solve the problems. 4) In tracking political news; most people accessed information through television, radio, internet, newspapers and message from their leaders.
หนังสือ

    The purposes of this research were as follows; 1) to study the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province, 2) to compare the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province having different gender, monthly income, working experience, and positions in the village funds, and 3) to have interviews for the guideline in the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected from documents in the primary source and secondary source, in-depth interviews, and by using questionnaires. The research results found that 1. The administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province in 3 aspects was at a high level overall. In details, the highest level was on planning, followed by operation, and evaluation respectively. 2. The results of comparison, the administration of the village fund committee having different genders, monthly income, work experience, and position in the village funds in 3 aspects was not different. 3. The results of interviews regarding the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province indicated that: In Loving-kindness, the administrators should assign work and duty relevant to the ability and knowledge of the subordinates, should support them in developing knowledge and ability. The administrators should work fulltime as the sample of the subordinates, and should be kind, friendly, and justice to the subordinates. In Compassion, the administrators should collaborate with the subordinates to work, share work experiences and knowledge to them, and provide assistance to them when in need. In Sympathetic joy, the administrators should praise and reward the subordinates on their achievement in work and duty performance, support and publicize their work outcome sincerely. In Equanimity, the administrators should assign job and work to the subordinates according to their knowledge and ability without bias, support them to work together in team, and treat everyone equally with neutral mind
The purposes of this research were as follows; 1) to study the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province, 2) to compare the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province having different gender, monthly income, working experience, and positions in the village funds, and 3) to have interviews for the guideline in the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected from documents in the primary source and secondary source, in-depth interviews, and by using questionnaires. The research results found that 1. The administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province in 3 aspects was at a high level overall. In details, the highest level was on planning, followed by operation, and evaluation respectively. 2. The results of comparison, the administration of the village fund committee having different genders, monthly income, work experience, and position in the village funds in 3 aspects was not different. 3. The results of interviews regarding the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province indicated that: In Loving-kindness, the administrators should assign work and duty relevant to the ability and knowledge of the subordinates, should support them in developing knowledge and ability. The administrators should work fulltime as the sample of the subordinates, and should be kind, friendly, and justice to the subordinates. In Compassion, the administrators should collaborate with the subordinates to work, share work experiences and knowledge to them, and provide assistance to them when in need. In Sympathetic joy, the administrators should praise and reward the subordinates on their achievement in work and duty performance, support and publicize their work outcome sincerely. In Equanimity, the administrators should assign job and work to the subordinates according to their knowledge and ability without bias, support them to work together in team, and treat everyone equally with neutral mind
TOC:
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง การบริหารกองทุนหมู่บ้านของคณะกรรมการตามหลักพรหมวิหารธรรมอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม มี เพศ รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ในการทำงาน ตำแหน่งในกองทุนหมู่บ้าน ที่ต่างกัน และ 3) เพื่อสัมภาษณ์แนวทางการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านตามหลักพรหมวิหารธรรม เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) ที่ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเน้นวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ (Qualitative Research by interviews) เป็นการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิรวมทั้งสร้างแบบสอบถาม (Questionnaires) ผลการวิจัยพบว่า 1.บริหารของคณะกรรมการกองทุนของหมู่บ้านตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียง ด้านการวางแผนตามหลักพรหมวิหารธรรม ด้านการดำเนินงานตามหลักพรหมวิหารธรรม และด้านการประเมินผลตามหลักพรหมวิหารธรรม 2.ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยเปรียบเทียบการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่มีเพศ รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ ตำแหน่งในกองทุนหมู่บ้าน ไม่แตกต่างกัน มีการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3.ผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย พบว่า เมตตา คือ ควรมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคน ควรสนับสนุนบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ปฏิบัติงานให้เต็มเวลา เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ภายใต้ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า กรุณา คือ ร่วมแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องในการทำงานร่วมกัน ประสานงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ ถ่ายทอดถอดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้วยความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อน มุทิตา คือ ยกย่องชมเชยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความจริงใจด้วยการประกาศความดีความชอบ สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้บริหาร สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานที่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป อุเบกขา คือ แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชดเจน เหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ จัดจัดสรรผลประโยชน์แก่ผู้ร่วมงานอย่างเสมอภาค และส่งเสริม สนับสนุนให้ฝ่ายต่าง ๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ความวางใจเป็นกลางในส่วนของการจ่ายเงินของกองทุนเป็นการจ่ายตามลำดับอันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือ มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของ บุคลากร ที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. เพื่อเปรียบเทียบการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้กำหนดรูปแบบการ วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ประชากร ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 410 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง Krejeic และ Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 196 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่า t-test และหาค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ว่าการอำเภอ ชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย พบว่า ด้านวิมังสา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านฉันทะ ส่วนด้านจิตตะ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการเปรียบเทียบการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ว่าการ อำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติ งานของบุคลากรที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านฉันทะ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน จัดอบรม สัมมนาในองค์กรเพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันมากขึ้น ควรให้มีการมอบหมายงานให้ตรงกับตำแหน่งและประสบการณ์ของบุคลากร และเพิ่มค่าตอบแทนให้ตามความสามารถและตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้านวิริยะ จัดซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ให้แก่บุคลากรเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน การสร้างบรรยากาศในสถานที่ทำงานให้บุคลากรได้ผ่อนคลายขณะทำงาน สร้างแรงจูงใจด้านบวกให้บุคลากรเพื่อให้งานที่ปฏิบัตินั้นสำเร็จ และจัดอบรม สัมมนา สร้างความรู้ความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ และสร้างจิตสำนึกรักองค์กร ด้านจิตตะ ควรให้มีการอบรมสมาธิแก่บุคลากรเพื่อให้ทำงานอย่างมีสมาธิ จดจ่ออยู่กับงาน เสริมสร้างจิตสำนึกในการทำงานและให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และให้มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ ใส่ใจกับรายละเอียดต่าง ๆ ของงาน และด้านวิมังสา ให้เวลาในการทำงานที่ต้องการความรวดเร็ว เพื่อความถูกต้องของงาน และจะทำให้งานมีประสิทธิภาพ ให้มีการตรวจสอบงานที่ทำเสร็จแล้วอย่างถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนนำส่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด และให้มีการใช้สื่อโซเชียลและการสื่อสารทั่วไปในการประสานงาน เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถรับรู้คำสั่งได้อย่างครบถ้วน
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของ บุคลากร ที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. เพื่อเปรียบเทียบการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้กำหนดรูปแบบการ วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ประชากร ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 410 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง Krejeic และ Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 196 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่า t-test และหาค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ว่าการอำเภอ ชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย พบว่า ด้านวิมังสา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านฉันทะ ส่วนด้านจิตตะ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการเปรียบเทียบการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ว่าการ อำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปใช้ในการปฏิบัติ งานของบุคลากรที่ว่าการอำเภอชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านฉันทะ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน จัดอบรม สัมมนาในองค์กรเพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันมากขึ้น ควรให้มีการมอบหมายงานให้ตรงกับตำแหน่งและประสบการณ์ของบุคลากร และเพิ่มค่าตอบแทนให้ตามความสามารถและตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้านวิริยะ จัดซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ให้แก่บุคลากรเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน การสร้างบรรยากาศในสถานที่ทำงานให้บุคลากรได้ผ่อนคลายขณะทำงาน สร้างแรงจูงใจด้านบวกให้บุคลากรเพื่อให้งานที่ปฏิบัตินั้นสำเร็จ และจัดอบรม สัมมนา สร้างความรู้ความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ และสร้างจิตสำนึกรักองค์กร ด้านจิตตะ ควรให้มีการอบรมสมาธิแก่บุคลากรเพื่อให้ทำงานอย่างมีสมาธิ จดจ่ออยู่กับงาน เสริมสร้างจิตสำนึกในการทำงานและให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และให้มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ ใส่ใจกับรายละเอียดต่าง ๆ ของงาน และด้านวิมังสา ให้เวลาในการทำงานที่ต้องการความรวดเร็ว เพื่อความถูกต้องของงาน และจะทำให้งานมีประสิทธิภาพ ให้มีการตรวจสอบงานที่ทำเสร็จแล้วอย่างถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนนำส่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด และให้มีการใช้สื่อโซเชียลและการสื่อสารทั่วไปในการประสานงาน เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถรับรู้คำสั่งได้อย่างครบถ้วน
The objectives of this thematic paper were as follows : 1) To study the application of Iddhipada Dhamma in work performance of personel in Cha Uad district office, Nakhon Si Thammarat province. 2) To compare the application of Iddhipada Dhamma in work performance of personel in Cha Uad district office, Nakhon Si Thammarat province in terms of sexes, ages, degrees of education, marital statuses and monthly incomes as differently. 3) To study the suggestion on problem and promotion the application of Iddhipada Dhamma in work performance of personel in Cha Uad district office, Nakhon Si Thammarat province. This is the quantitative research, The population were composed of officers who work in Cha Uad district office, Nakhon Si Thammarat province in 2018, sample size according to the table of R.V. Krejcie and D.W.Morgan, at the reliability 95% got the sample at the number of 196 persons, The statistics were analyzed as follows, frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t–test and F test. The results reveal that 1)The application of Iddhipada Dhamma in work performance of personel in Cha Uad district office, Nakhon Si Thammarat province by overviews in four aspects are at high level, while consider in each aspects from more to less find that the aspect of Vimamsa is the highest mean and follow up the aspect of Chanda,Viriya and the aspect of Jitta is lowest mean respectively. 2)The comparative result of application of Iddhipada Dhamma in work performance of personel in Cha Uad district office, Nakhon Si Thammarat province in terms of sexes, ages degrees of education, marital statuses and monthly incomes find that there are not different as statistically significance at .05. 3)The suggestion on promotion for application of Iddhipada Dhamma in work performance of personel in Cha Uad district office, Nakhon Si Thammarat province. The Chanda aspect, to promote live together, training, seminar in organiza-tion for variety of activiyies as more and more,there should put the right man on the right job and experience and addition of compensation according to position . 2. Viriya aspect, to buy modern instrument to staffs for work convenience, to have a good climate in office for motivation in achievement and arrangement of training, seminar and to make understanding and consciousness in organization, 3. Jitta aspect, to train the staffs for stable working, responsible, consciousness and planning as systematically, to regard the detail of work,4. Vimamsa aspect, to have time in rapid work for work righteousness and to make efficiency of work, to check ready work as strictly before submission . and to use the multi media for communication to all.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ 3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 รูป/คน ประกอบไปด้วยวิปัสสนาจารย์ จำนวน 5 รูป/คน และชาวต่างชาติหลากหลาย เชื้อชาติที่ได้มาปฏิบัติธรรม จำนวน 10 คน ที่วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า: 1. วัดร่ำเปิงใช้รูปแบบในการสอนการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน 4 มีหุ่นช่วยในการสอนและใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ไม่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติธรรมพูดคุยกัน มุ่งเน้นการสอนปฏิบัติด้วยตนเองเป็นหลัก 2. ผู้ปฏิบัติธรรมเน้นการปฏิบัติด้วยตนเองเป็นการช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก โดยมีพระวิปัสสนาจารย์คอยชี้แนะและสอบอารมณ์ แต่มีปัญหาด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร 3. แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม โดยศึกษาจากสภาพแวดล้อมทั้งที่อยู่อาศัยอาหารและอุปกรณ์ ที่ในชีวิตประจำวัน ให้สอดคล้องกับผู้ปฏิบัติและวิธีสอน โดยการอธิบาย สาธิต และสรุป ก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติธรรม
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ 3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของชาวต่างชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 รูป/คน ประกอบไปด้วยวิปัสสนาจารย์ จำนวน 5 รูป/คน และชาวต่างชาติหลากหลาย เชื้อชาติที่ได้มาปฏิบัติธรรม จำนวน 10 คน ที่วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า: 1. วัดร่ำเปิงใช้รูปแบบในการสอนการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน 4 มีหุ่นช่วยในการสอนและใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ไม่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติธรรมพูดคุยกัน มุ่งเน้นการสอนปฏิบัติด้วยตนเองเป็นหลัก 2. ผู้ปฏิบัติธรรมเน้นการปฏิบัติด้วยตนเองเป็นการช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก โดยมีพระวิปัสสนาจารย์คอยชี้แนะและสอบอารมณ์ แต่มีปัญหาด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร 3. แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม โดยศึกษาจากสภาพแวดล้อมทั้งที่อยู่อาศัยอาหารและอุปกรณ์ ที่ในชีวิตประจำวัน ให้สอดคล้องกับผู้ปฏิบัติและวิธีสอน โดยการอธิบาย สาธิต และสรุป ก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติธรรม
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study forms of Dhamma practice of foreigners, 2) to study Dhamma practice of foreigners and 3) to propose guidelines to promote Dhamma practice of foreigners. It was a qualitative research with in-depth interview. The amount of 15 samples from purposive selection consisted of 5 meditation instructors and 10 foreigners of various ethnic backgrounds who had come to practice Dhamma at Wat Ram Poeng (Tapotaram), Suthep sub-district, Muang district, Chiang Mai province. The research instrument was in-depth interview. The results of research were found that: 1. Wat Ram Poeng used the model of teaching Dhamma practice according to the principle of 4 foundations of mindfulness. The robotic instructor and mere English language were used in the teaching. The Dhamma practitioners were not allowed to talk and self-practice was focused in the teaching. 2. Dharma practitioners emphasized self-practice to help relax emotions, thoughts and feeling with the guidance and emotion examination from meditation instructors. Still, there were problems in using language in communication. 3. Guidelines to promote Dhamma practice were that by learning from environments, residences, food and equipment used in daily life should correspond with practitioners. The teaching methods should also be conducted by explaining, demonstrating and summarizing before, between and after Dhamma practice.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา และ 3) เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน ครูประจำชั้น จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 6 คน นักเรียน จำนวน 6 คน รวมทั้งหมด จำนวน 21 คน โดยการเลือกเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. สถานศึกษามีนโยบายการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ด้านการบริหารจัดการในด้านบุคลากร ด้านระบบบริหาร ด้านอาคารสถานที่บรรยากาศห้องเรียน มีแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมเหมาะสม ปลอดภัย และด้านหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการจัดทำโครงการ ด้านคุณครูทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างศรัทธาค่านิยมปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครูมีการศึกษาหลักสูตร หน่วยการเรียน และแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นกัลยาณมิตรของผู้เรียน มีเมตตาธรรม อดทน อดกลั้นและสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้เรียนอยู่ 2. ปัญหาอุปสรรค พบว่าสื่อเทคโนโลยี โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ท ทำให้เด็กติดสื่อ ไม่ค่อยมีสมาธิ 3. แนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ พบว่าครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ต้องมาทำแผนร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา รวมถึงการกำหนดโครงการ กิจกรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จร่วมกันโรงเรียน ผู้ปกครอง วัด ชุมชน เข้ามาใช้ชีวิต กิน อยู่ ดู ฟัง ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน ครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในเรื่องการพูดจา ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพอ่อนโยน รู้จักกาลเทศะ สอนเรื่องเหตุผลให้เด็กรู้จักคิดแยกแยะให้มากขึ้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา และ 3) เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน ครูประจำชั้น จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 6 คน นักเรียน จำนวน 6 คน รวมทั้งหมด จำนวน 21 คน โดยการเลือกเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. สถานศึกษามีนโยบายการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ด้านการบริหารจัดการในด้านบุคลากร ด้านระบบบริหาร ด้านอาคารสถานที่บรรยากาศห้องเรียน มีแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมเหมาะสม ปลอดภัย และด้านหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการจัดทำโครงการ ด้านคุณครูทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างศรัทธาค่านิยมปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครูมีการศึกษาหลักสูตร หน่วยการเรียน และแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นกัลยาณมิตรของผู้เรียน มีเมตตาธรรม อดทน อดกลั้นและสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้เรียนอยู่ 2. ปัญหาอุปสรรค พบว่าสื่อเทคโนโลยี โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ท ทำให้เด็กติดสื่อ ไม่ค่อยมีสมาธิ 3. แนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ พบว่าครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ต้องมาทำแผนร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา รวมถึงการกำหนดโครงการ กิจกรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จร่วมกันโรงเรียน ผู้ปกครอง วัด ชุมชน เข้ามาใช้ชีวิต กิน อยู่ ดู ฟัง ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน ครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในเรื่องการพูดจา ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพอ่อนโยน รู้จักกาลเทศะ สอนเรื่องเหตุผลให้เด็กรู้จักคิดแยกแยะให้มากขึ้น
The objectives of this thesis were as follows 1) to study the state of learning management according to Tri-sikkha principle in elementary schools of Mae Ngon Sub-district’s Educational Quality Development Center, Fang District, Chiang Mai Province, 2) to study the problems and obstacles in management of learning according to Tri-sikkha principle and 3) to seek ways to develop learning based on Tri-sikkha principle. The target groups were 21 people from 3 school administrators, 6 classroom teachers, 6 students' parents and 6 students by specific selection. The instrument used in the study was an interview. The researcher had interviewed the people being involved in learning management according to the Tri-sikkha principle in 3 primary schools of Mae Ngon Sub-district’s Educational Quality Development Center, Fang District, Chiang Mai Province. The data were then analyzed and described in descriptive manner. The results of research were found that: 1. Educational institutions had policies for learning management according to Tri-sikkha principle in management of personnel, management system, building, classroom atmosphere with learning resources, safe and suitable environment and the educational curriculum. There were activities for students’ development with project preparation. The teacher set themselves a good example, created faith, values and right practice. The teachers had studied course Learning unit and learning management plans. They were friendly with learners and they were endowed with compassion, tolerance and encouragement for the learners. 2. Regarding problems and obstacles, it was found that technological media, mobile phone and internet made children addicted to media and less concentrative. 3. Regarding the guidelines for learning development, it was found that teachers, parents, school board must come up together with plan to develop learners in accordance with the problems. This included the determination of projects, activities, goals and success indicators with schools, parents, temples and communities. They should come to live, eat, listen and do activities together in order to exchange knowledge in the development of learners. The teachers must organize the learning and teaching activities in matters of sweet, polite gentle and humble speech. They ought to be mindful in circumstances and taught to think in more reasonable and analytical manners.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อแสวงหาแนวทางพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย คือ พระสงฆ์ 8 รูป เป็นโรคเบาหวาน 2 รูป โรคความดันหิต 2 รูป โรคภูมิแพ้ 2 รูป โรคกระเพราะอาหาร 2 รูป แพทย์แผนปัจจุบัน 2 คน แพทย์แผนไทย 2 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงจากวัดและสถานพยาบาลในอำเภอแม่ริม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: สุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกิดจากภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นได้ทั้งที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคภูมิแพ้ และโรคกระเพาะอาหาร โดยมากจะเป็นโรคมากกว่าหนึ่งโรค อย่างเช่น เมื่อตรวจพบเบาหวานก็จะพบ ความดันโลหิต โรคไต โรคเกี่ยวกับตับ ภูมิแพ้ ตามมาด้วยโรคกระเพาะอาหาร ที่สาเหตุอาจไม่แน่ชัด บางคนไม่มีอาการ บางคนมีอาการจุกเสียด ปวดท้องเรื้อรัง คลื่นไส้ อาเจียน มีกรดในกระเพาะมาก มีอาการปวดท้อง ปวดเรื้อรัง จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ มีลมในท้อง ร้อนท้อง บางรายปวดท้องรุนแรงอาจถึงช็อกจากแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ทะลุ ผู้ที่ปวดท้องโรคกระเพาะควรได้รับการสืบค้นสาเหตุของโรคตั้งแต่แรก เพราะอาจมีความรุนแรงจนช็อก และเสียชีวิตได้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีปัจจัยหลายๆ ด้านประกอบกัน ได้แก่ บุคคล สังคม พฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม สภาพแวดล้อมภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ความเครียด อายุ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อสุขภาวะของพระสงฆ์เป็นอย่างมาก แนวทางพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าการควบคุมอาหาร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด นั่งสมาธิ ทานยาให้ครบตามจำนวน นำศาสตร์ของแพทย์แผนไทยมาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบันดูแลสุขภาวะตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อแสวงหาแนวทางพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย คือ พระสงฆ์ 8 รูป เป็นโรคเบาหวาน 2 รูป โรคความดันหิต 2 รูป โรคภูมิแพ้ 2 รูป โรคกระเพราะอาหาร 2 รูป แพทย์แผนปัจจุบัน 2 คน แพทย์แผนไทย 2 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงจากวัดและสถานพยาบาลในอำเภอแม่ริม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: สุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกิดจากภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นได้ทั้งที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคภูมิแพ้ และโรคกระเพาะอาหาร โดยมากจะเป็นโรคมากกว่าหนึ่งโรค อย่างเช่น เมื่อตรวจพบเบาหวานก็จะพบ ความดันโลหิต โรคไต โรคเกี่ยวกับตับ ภูมิแพ้ ตามมาด้วยโรคกระเพาะอาหาร ที่สาเหตุอาจไม่แน่ชัด บางคนไม่มีอาการ บางคนมีอาการจุกเสียด ปวดท้องเรื้อรัง คลื่นไส้ อาเจียน มีกรดในกระเพาะมาก มีอาการปวดท้อง ปวดเรื้อรัง จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ มีลมในท้อง ร้อนท้อง บางรายปวดท้องรุนแรงอาจถึงช็อกจากแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ทะลุ ผู้ที่ปวดท้องโรคกระเพาะควรได้รับการสืบค้นสาเหตุของโรคตั้งแต่แรก เพราะอาจมีความรุนแรงจนช็อก และเสียชีวิตได้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีปัจจัยหลายๆ ด้านประกอบกัน ได้แก่ บุคคล สังคม พฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม สภาพแวดล้อมภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ความเครียด อายุ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อสุขภาวะของพระสงฆ์เป็นอย่างมาก แนวทางพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าการควบคุมอาหาร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด นั่งสมาธิ ทานยาให้ครบตามจำนวน นำศาสตร์ของแพทย์แผนไทยมาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบันดูแลสุขภาวะตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study the health of monks in Mae Rim district, Chiang Mai province 2) to study the factors affecting the health of monks in Mae Rim district, Chiang Mai province 3) to seek ways to improve the health of monks in Mae Rim district, Chiang Mai province. The target group consisted of 8 monks; 2 monks with diabetes, 2 monks with blood pressure, 2 monks with allergy and 2 monks with gastritis together with 2 modern physicians and 2 Thai traditional physicians by using specific selection method from temples and hospitals in Mae Rim district. Tools used for data collection was an in-depth interview and the data were analyzed in descriptive manner. The results of research were found that: 1. Regarding the health of monks in Mae Rim district, Chiang Mai province, it was found that monks were infected with other complications including diabetes, blood pressure, allergy and gastritis. Most monks had more than one disease, for example, when diabetes was detected, blood pressure, kidney disease, liver disease, allergy and gastritis would also be found with unclear causes. Some patients had no symptoms, but some had symptoms of colic, chronic abdominal pain, nausea, vomiting, a lot of acid in stomach, abdominal pain, chronic pain, colic and distension in stomach, indigestion, flatulence, stomach burning. Some had so severe stomach pain that they might get shocked from peptic ulcer or leaky gut. Patients with stomachache from gastritis should be diagnosed to find the cause of disease from the beginning as it might be very severe to cause shock and death to the patients. 2. Regarding the factors affecting the health of the monks, it was found that there were many factors including people, society, daily behavior, heredity, environment, complications from other diseases, stress and age. These things had a great impact on the health of monks. 3. Regarding guidelines for improving the health of monks, there should be food control, behavioral change in daily life, proper exercise, adequate rest, stress relaxation, meditation, consumption of recommended amount of medicine, application of Thai traditional medicine in health care in parallel with modern medicine in taking care of one’s own health according to the doctor's advice and regular visit to the doctor by appointment.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) 2. เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการใช้หลัก ธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) การวิจัยครั้งนี้กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed methodology research) ประกอบ ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากร ได้แก่ พระภิกษุในจังหวัดนครศรี- ธรรมราช ธรรมยุต จำนวน 415 รูป กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครซี่ & มอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้ขนาด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 รูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่า t-test และหาค่า F-test ส่วนการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนาประกอบบริบท ผลการวิจัย 1. ผลการศึกษา การใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) โดยรวมทั้ง 6 หลัก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า หลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ หลักความรับผิดชอบ ส่วนหลักความมีส่วน ร่วม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการเปรียบเทียบ การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) จำแนกตาม อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และ วุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน พบว่า จำแนกตาม อายุ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ที่ระดับ .01 และโดยจำแนกตามพรรษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนโดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาสายสามัญและวุฒิการศึกษาทางธรรม โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) 2. เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการใช้หลัก ธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) การวิจัยครั้งนี้กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed methodology research) ประกอบ ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากร ได้แก่ พระภิกษุในจังหวัดนครศรี- ธรรมราช ธรรมยุต จำนวน 415 รูป กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครซี่ & มอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้ขนาด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 รูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่า t-test และหาค่า F-test ส่วนการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนาประกอบบริบท ผลการวิจัย 1. ผลการศึกษา การใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) โดยรวมทั้ง 6 หลัก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า หลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ หลักความรับผิดชอบ ส่วนหลักความมีส่วน ร่วม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการเปรียบเทียบ การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) จำแนกตาม อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และ วุฒิการศึกษาทางธรรม ที่ต่างกัน พบว่า จำแนกตาม อายุ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ที่ระดับ .01 และโดยจำแนกตามพรรษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนโดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาสายสามัญและวุฒิการศึกษาทางธรรม โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.
แนวทางในการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) 1) หลักคุณธรรม พระสังฆาธิการต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงามเป็นที่ตั้ง มีความเสียสละ มีเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 2) หลักนิติธรรม พระสังฆาธิการ ต้องมีความเคารพใน พระธรรม - วินัย กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบ คำสั่ง รวมถึงกฎหมายบ้านเมือง 3) หลักความโปร่งใส พระสังฆาธิการต้องมีการเปิดเผยข้อมูล สามารถตรวจสอบได้ ควรส่งเสริมให้มีการจัดทำรายรับ-รายจ่าย ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตรงไป ตรงมา ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 4) หลักความมีส่วนร่วม พระสังฆาธิการต้อง กระจายงานให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้อง อย่างทั่วถึง โดยคำนึงถึงความสามารถของแต่ละบุคคล พร้อมทั้งรับฟังปัญหาและข้อเสนอต่าง ๆ 5) หลักความรับผิดชอบ พระสังฆาธิการที่ปฏิบัติงาน ต้องมีความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติอย่างถ่องแท้ มีความรับผิดชอบในงาน รวมถึงต้องสามารถปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที 6) หลักความคุ้มค่า พระสังฆาธิการต้องสามารถที่จะจัดสรรทรัพยากรที่มีให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด มีความประหยัด มีการวางแผนในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ
The objectives of this thesis were as follows : 1. To study an application of good governance in sangkha administration of administrative monks in Nakhon Si Thammarat province (Dhammayut). 2. To compare application of good governance in sangkha administration of administrative monks in Nakhon Si Thammarat province (Dhammayut) in terms of ages, periods of monkhood, degrees of formal education and degrees of Dhamma study, as differently. 3. To study the guideline for application of good governance in sangkha administration of administrative monks in Nakhon Si Thammarat province (Dhammayut). This is the mixed methodology research which composed of quantitative research by questionnaire. The population were composed of Dhammayuttikanikaya monks in Nakhon Si Thammarat province totally 415 persons, sample size according to the table of R.V. Krejcie and D.W.Morgan, got the sample at the number of 201 persons, and qualitative research by in-depth interview from seven informants, The statistics were analyzed as follows, frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t–test, and F-test. And qualitative research analyzed by descriptive surrounding. The results reveal that 1.An application of good governance in sangkha administration of administrative monks in Nakhon Si Thammarat province (Dhammayut) by overviews in three aspects are at high level, while consider in each aspects find that the aspect of valuable is the highest mean and follow up the aspect of responsibility and the aspect of participation is the lowest mean. 2. The comparative result of application of good governance in sangkha administration of administrative monks in Nakhon Si Thammarat province (Dhammayut) in terms of ages find that there are different as statistically significance at .01, in terms of periods of monkhood find that there are different as statistically significance at .05, and in terms of find that degrees of Dhamma study, degrees of formal education reveal that there are not different as statistically significance at .05. 3. The suggestion on problem and resolution for application of good governance in sangkha administration of administrative monks in Nakhon Si Thammarat province (Dhammayut) reveal that 1) Virtue; they must regard on righteousness, self sacrifice, mercy, compassion, kindness and focus on group interest. 2) Lawful; regard on Dhamma Vinaya, sangha order, rule, commanding and civil law 3) Transparency; opening document without hiding, to promote on account and deposit focus on group interest. 4) participation; to provide all work to others as coverage focus on put the right man on the right job and to have a public opinion for development. 5) Responsibility; to understand the specific work under responsible and can be improve or resolve immediately. 6) Valuable; to provide the resources in valuable, save and plan to use them.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขประสิทธิภาพการบริหาร งานกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview Research) จากพระสังฆาธิการผู้มีส่วนในการบริหารคณะสงฆ์การสุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 18 รูป จากทั้งหมดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดย การแปลผลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า 1.
วิทยานิพนธ์เรื่องประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขประสิทธิภาพการบริหาร งานกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview Research) จากพระสังฆาธิการผู้มีส่วนในการบริหารคณะสงฆ์การสุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 18 รูป จากทั้งหมดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดย การแปลผลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า 1.
จากการศึกษาประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราชตามภารกิจการบริหารคณะสงฆ์ 6 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปกครอง การปกครองของคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการวางแผนงานในการงานรวมถึงมีการกำหนดนโยบายในการทำงาน และมีการบริหารเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบมติมหาเถรสมาคมกำหนดไว้ 2) ด้านการศาสนศึกษา การศาสนศึกษาเป็น เรื่องสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน หลายวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมีการจัดตั้งสถานที่เรียนและส่งเสริมการเรียนการสอนต่อพระภิกษุและสามเณรที่สนใจในการเรียนทั้งด้านบาลีและนักธรรม 3) ด้านการเผยแผ่ จากการศึกษาพบว่า พระสังฆาธิการเอาใจใส่ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยการเทศนาสั่งสอนประชาชนโดยทั่วไปเพื่อให้ตั้งมั่นอยู่ในหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา เพราะพระสังฆาธิการมีหน้าที่สำคัญในการนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่แก่ประชาชน 4) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า การส่งเสริมให้มีการศึกษาเป็นการสงเคราะห์ประชาชน ด้านการ ศึกษาให้มีความรู้ความสามารถที่จะดำรงตนและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขการจัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลและการช่วยเหลือเกื้อกูลการศึกษาให้ผู้ที่มีความสนใจได้เข้ามาศึกษาและสามารถใช้ในชีวิต ประจำวันได้ 5) ด้านสาธารณสงเคราะห์บทบาทของความเป็นพระสังฆาธิการในการ ช่วยเหลือสังคมทั้งความคิด และกำลังทรัพย์ในด้านต่าง ๆ 6) ด้านการสาธารณูปการ จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ระหว่างวัดและชุมชน เช่น อบรม บรรยายธรรมให้แก่คนในชุมชน ทางคณะสงฆ์แต่ละวัดมีความสามัคคีกันช่วยกันสอดส่องดูแล อาคารเสนาสนะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยดูดีเป็นที่น่ามอง 2.ผลการศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช 1) ปัญหาประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 6 ด้าน พบว่า การทำงานของคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้นมีปัญหาที่เป็นปัญหาหลักของการทำงาน คือ คณะสงฆ์ธรรมยุตแม้จะมีการกำหนด นโยบายและการวางแผนงานในการทำงานแล้วก็ตามแต่เป็นการกำหนดนโยบายแบบรูปธรรมมากว่าการปฏิบัติงาน และการใช้งานบุคคลากรก็ไม่ตรงตามกับงานที่ได้รับมอบหมาย ขาดบุคลากรในการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งพระสังฆาธิการผู้ปกครองบางท่านไม่มีความรู้ในด้านการบริหารงานคณะสงฆ์อย่างชัดเจนจริง 2) แนวทางแก้ไขประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 6 ด้าน พบว่า คณะสงฆ์ธรรมยุตควรมีการวางแผนงานในการทำงานอย่างชัดเจน มีการคัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมเกี่ยวกับงาน รวมทั้งควรมีการแก้ไขปัญหาซึ่งกันและกัน และควรมีการแต่งตั้งกรรมการในการทำงานด้านต่าง ๆ ของคณะสงฆ์
The objectives of this thesis were as follows : 1) To study Effectiveness of Dhammayuttika Nikaya Sangha’s Affairs administration in Nakhon Si Thammarat province. 2) To study the problem and resolution on effectiveness of Dhammayuttika Nikaya Sangha’s Affairs administration in Nakhon Si Thammarat province. This is the qualitative research by in-depth interview from eighteen informants with purposive sampling, The instrument for data collection was interview form and data analysis by descriptive content analysis from the respondents. The results reveal that 1) The Effectiveness of Dhammayuttika Nikaya Sangha’s Affairs administration in Nakhon Si Thammarat province by overviews in six aspects are at very high level, as follows; 1) the aspect of ruling reveals that they have plan and policy for working according to Sangha supreme council. 2) the aspect of religious study reveals that it is so important because of base on learning especially Dhamma and Pali for novice and monk in temple. 3) the aspect of dissemination reveals that they teach people with Buddha’s teaching for spread of Dhamma and stable of Buddhism. 4) education welfare reveals that they need for education welfare for living a better life and happy in society. 5) the aspect of public welfare reveals that they help people by teaching and some materials in society. 6) the aspect of public assistant reveals that there are more of activities between temple and community they help each others i.e. training teaching and others equipments facilities for good looking. 2) The the problem and resolution on effectiveness of Dhammayuttika Nikaya Sangha’s Affairs administration in Nakhon Si Thammarat province. The problem by including for six aspects reveal that the main problem is the abstract of planning and policy, not for good performance, not put the right man on the right job and lack of personel, some of ecclesiastics are not good for administration as well. The resolution by including for six aspects reveal that there should have a plan for working as clear and clear and put the right man on the right job, and there should have a committee for working in each aspects.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้สังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มวิจัยเป็นจิตอาสาที่มาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 35 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ (In-depth Interview) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัยแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1) กลุ่มจิตอาสาได้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ทำด้วยใจ มีความเที่ยงธรรม เมตตา เอื้ออาทร และสร้างความสมานสามัคคี โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน เป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคม 2) กลุ่มจิตอาสามีการนำหลักสังคหวัตถุธรรม ในการปฏิบัติงานเน้นการบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเสียสละ ทั้งกำลังแรงกายและกำลังทรัพย์ ให้แก่ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ใช้ปิยวาจาอย่างเหมาะสม สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน รวมทั้งปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะเสมอต้น เสมอปลาย ให้เกียรติซึ่งกันและกัน 3) กลุ่มจิตอาสามีแนวทางการประยุกต์ใช้สังคหวัตถุธรรม ในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับบริบทของสังคม วัฒนธรรม เอื้อเฟื้อและแบ่งปันซึ่งกันและกัน ปฏิบัติงานทุกๆ กิจกรรม ด้วยความสุภาพ นุ่มนวล ถูกกาลเทศะ นำสิ่งของของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องในการปฏิบัติงานอันนำมาซึ่งความสุขและความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้สังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติงานของกลุ่มจิตอาสาโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มวิจัยเป็นจิตอาสาที่มาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 35 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ (In-depth Interview) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัยแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1) กลุ่มจิตอาสาได้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ทำด้วยใจ มีความเที่ยงธรรม เมตตา เอื้ออาทร และสร้างความสมานสามัคคี โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน เป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคม 2) กลุ่มจิตอาสามีการนำหลักสังคหวัตถุธรรม ในการปฏิบัติงานเน้นการบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเสียสละ ทั้งกำลังแรงกายและกำลังทรัพย์ ให้แก่ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ใช้ปิยวาจาอย่างเหมาะสม สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน รวมทั้งปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะเสมอต้น เสมอปลาย ให้เกียรติซึ่งกันและกัน 3) กลุ่มจิตอาสามีแนวทางการประยุกต์ใช้สังคหวัตถุธรรม ในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับบริบทของสังคม วัฒนธรรม เอื้อเฟื้อและแบ่งปันซึ่งกันและกัน ปฏิบัติงานทุกๆ กิจกรรม ด้วยความสุภาพ นุ่มนวล ถูกกาลเทศะ นำสิ่งของของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องในการปฏิบัติงานอันนำมาซึ่งความสุขและความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
The objectives of this research were as follows; 1) to study work performance of volunteer group in Nakornping hospital, 2) to study application of Sangahavatthu in work of volunteer group in Nakornping hospital, and 3) to propose guidelines for application of Sangahavatthu in work of volunteer group in Nakornping hospital, Chiang Mai province. This was qualitative research of which the research group was 35 volunteers working in Nakornping hospital, Chiang Mai province. The Data were collected through in-depth interview, focus group and participatory observation. The analysis and research results were presented in descriptive manner. The results of research were found that: 1) Volunteer group worked with sincerity, willingness, virtuousness, loving-kindness, generosity and unity without hoping for something in return and it was done for benefit of society. 2) Volunteer group had applied Sangahavatthu in its work. It emphasized how to conduct themselves for benefit of the public by regularly participating in activities with sacrifice of both physical strength and wealth to patients, relatives, and staff. They spoke proper, polite and humble and they worked with consistent diligence and respected one another. 3) Volunteer group possessed guidelines for application Sangahavatthu in accordance with social and cultural contexts, generosity and mutual sharing. They performed all activities with politeness, gentleness and awareness of circumstances. They consistently used their own things for the benefit of themselves and others in the work that would bring happiness and prosperity in the future.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางในการการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า : 1) สภาพการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานโครงการค่ายคุณธรรม เป็นไปตามขั้นตอนอย่างเป็นกระบวนการ (PDCA) คือ มีการวางแผน (Plan) การดำเนินการ (Do) ตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินโครงการของฝ่ายต่างๆ ดำเนินงานโครงการตามแผนที่วางไว้ มีการสรุปผลตรวจสอบและประเมินผลโครงการ (Check) และการนำผลไปพัฒนา(Act) 2) ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมีสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีการดำเนินงานโครงการตามแผนล่าช้า บุคลากรที่รับผิดชอบมีจำนวนน้อย นักศึกษายังมีพฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะที่ขาดวินัย ความซื่อสัตย์สุจริตและจิตสาธารณะ 3) แนวทางการพัฒนาคือควรจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติด้วยตนเองและมุ่งพัฒนาให้ครบกระบวนการ โดยเฉพาะการพัฒนาจิตใจ สร้างเสริมให้มีจิตสำนึกในหลักธรรม
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางในการการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า : 1) สภาพการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานโครงการค่ายคุณธรรม เป็นไปตามขั้นตอนอย่างเป็นกระบวนการ (PDCA) คือ มีการวางแผน (Plan) การดำเนินการ (Do) ตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินโครงการของฝ่ายต่างๆ ดำเนินงานโครงการตามแผนที่วางไว้ มีการสรุปผลตรวจสอบและประเมินผลโครงการ (Check) และการนำผลไปพัฒนา(Act) 2) ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมีสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีการดำเนินงานโครงการตามแผนล่าช้า บุคลากรที่รับผิดชอบมีจำนวนน้อย นักศึกษายังมีพฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะที่ขาดวินัย ความซื่อสัตย์สุจริตและจิตสาธารณะ 3) แนวทางการพัฒนาคือควรจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติด้วยตนเองและมุ่งพัฒนาให้ครบกระบวนการ โดยเฉพาะการพัฒนาจิตใจ สร้างเสริมให้มีจิตสำนึกในหลักธรรม
The thesis is a qualitative research with the objectives 1) to study the state of moral and ethical development of students at Mahamakut Buddhist University; Lanna Campus, 2) to study problems and obstacles in the moral and ethical development of students at Mahamakut Buddhist University; Lanna Campus and 3) to find the ways to develop morality and ethics of students at Mahamakut Buddhist University; Lanna Campus. The results are found that: 1) The state of moral and ethical development of students is found that the university has operated the moral camp project in accordance with the procedure in the process (PDCA), i.e. planning (Plan), conducting (Do), checking the readiness of the implementation of various project departments as planned, a summary of the results of the examination and evaluation of the project (Check) and the results to develop (Act). 2) Problems and obstacles in the development of moral and ethics of students found that the university has an inconvenient place to organize various activities. There is the delay in planed project, less responsibility of crews, and students’ behavior in lack of discipline, honesty and public mind. 3) The development approach is to organize the activities that focus on students’ participations to come and learn by their own, especially the mental development and to build up the common sense of principles.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 27,718 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 610 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปมีผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 60 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.84-1.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.31-1.95 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-8.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 27,718 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 610 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปมีผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 60 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.84-1.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.31-1.95 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-8.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
The objectives of this research were to 1) study the appropriateness of the indicators for selection in the model, 2) test the Fitness of the model developed from theory and research with the empirical data, and 3) verify the factor loading value of the major components, minor components and indicators. The research population was 27,718 primary school administrators under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission. Data were collected by using a set of rating scale questionnaires from 610 randomly selected multistage random sampling. Data analysis was done by statistical program. The results of the research were based on the research hypotheses : 1) The 60 indicators used in the study were suitable for the criteria as mean equal to or higher than 3.00 and distribution coefficients equal to or less than 20. All were selected in the model. 2) Models developed from theory and research were fit with empirical data by the value of relative Chi-square (CMIN/DF), Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA), Goodness-of-Fit Index (GFI) Adjusted Goodness-of-Fit Index (AGFI), Comparative Fit Index (CFI), and Normed Fit Index (NFI) were in accordance with the criteria from both of the first order and the second order of confirmative factor analysis, and 3) the major components had factor loading ranged from 0.84 to 1.70, which is higher than the criterion as 0.70. The minor components had factor loading between 0.31 to 1.95 and indicators had factor loading ranged from 0.30 to 8.26, which are higher than the criterion as 0.30.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอ ในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประกอบผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชนเผ่าปะโอจำนวน 8 คนเพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติและพฤติกรรมเป็นแบบอย่างในการสื่อสารอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมีวุฒิภาวะ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ไปบูรณาการ เพื่อความสมบูรณ์ของทฤษฎีภาวะผู้นำ หลักธรรมประกอบด้วย ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 อคติ 4 เบญจศีลและเบญจธรรม อปริหานิยธรรม 7 ทศพิธราชธรรม 10 และจักรวรรดิธรรม 12 2. ชนเผ่าปะโอก็คือเป็น Pyu มีหลักฐานตั้งถิ่นก่อน ค.ศ.600 มาจากบริเวณตอนใต้ประเทศมองโกเลียลงมาทางใต้ประเทศเมียนม่าร์ หลังจากได้พ่ายแพ้สงครามและชนเผ่าปะโอได้สร้างเมืองใหม่ชื่อว่าหม่อท่อผาเมืองสะถุ่งใหม่ปัจจุบันคือเมืองสี่แสงการเกิดของขบวนการต่อสู้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รวบรวมชาวปะโอจำนวนหนึ่งในการปกครองประเทศราช (ระบบศักดินา) การเก็บส่วยภาษีอากรทุกอย่างจากประชาชนที่การต่อสู้ทางการเมืองและเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ และองค์การแห่งชาติปะโอกับ สาธารณรัฐประชาชาติปะโอ มีการเจรจาข้อตกลงการหยุดยิงและเป็นวันการปฏิวัติล้มล้างและทำสัญญาสันติภาพเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางและวิถีทางการเมืองการปกครองใน 3 อำเภอ ได้แก่ระบบประชาธิปไตย ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จผู้นำชนเผ่าปะโอได้แสดงบทบาทภาวะผู้นำด้านการเมืองสังคมและเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบัน 3. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำด้านการปกครอง ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ได้ใช้หลักทศพิธราชธรรม ในการรวบร่วมกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอให้เป็นหนึ่งเดียว ภาวะผู้นำด้านสังคมผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักเบญจศีลและเบญจธรรม ในการสงเสริม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมแบบจารีตและเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชนเผ่าปะโอ ภาวะผู้นำด้านเศรษฐกิจผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้สงเสริมการเกษตรโดยนำศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการผลิตอย่างสมดุลเพื่อยกระดับคุณภาพชิวิติของชนเผ่าปะโอ จนถึงปัจจุบัน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำชนเผ่าปะโอ ในรัฐฉาน ประเทศเมียนม่าร์ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประกอบผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชนเผ่าปะโอจำนวน 8 คนเพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติและพฤติกรรมเป็นแบบอย่างในการสื่อสารอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมีวุฒิภาวะ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ไปบูรณาการ เพื่อความสมบูรณ์ของทฤษฎีภาวะผู้นำ หลักธรรมประกอบด้วย ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 อคติ 4 เบญจศีลและเบญจธรรม อปริหานิยธรรม 7 ทศพิธราชธรรม 10 และจักรวรรดิธรรม 12 2. ชนเผ่าปะโอก็คือเป็น Pyu มีหลักฐานตั้งถิ่นก่อน ค.ศ.600 มาจากบริเวณตอนใต้ประเทศมองโกเลียลงมาทางใต้ประเทศเมียนม่าร์ หลังจากได้พ่ายแพ้สงครามและชนเผ่าปะโอได้สร้างเมืองใหม่ชื่อว่าหม่อท่อผาเมืองสะถุ่งใหม่ปัจจุบันคือเมืองสี่แสงการเกิดของขบวนการต่อสู้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รวบรวมชาวปะโอจำนวนหนึ่งในการปกครองประเทศราช (ระบบศักดินา) การเก็บส่วยภาษีอากรทุกอย่างจากประชาชนที่การต่อสู้ทางการเมืองและเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ และองค์การแห่งชาติปะโอกับ สาธารณรัฐประชาชาติปะโอ มีการเจรจาข้อตกลงการหยุดยิงและเป็นวันการปฏิวัติล้มล้างและทำสัญญาสันติภาพเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางและวิถีทางการเมืองการปกครองใน 3 อำเภอ ได้แก่ระบบประชาธิปไตย ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จผู้นำชนเผ่าปะโอได้แสดงบทบาทภาวะผู้นำด้านการเมืองสังคมและเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบัน 3. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำด้านการปกครอง ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ได้ใช้หลักทศพิธราชธรรม ในการรวบร่วมกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอให้เป็นหนึ่งเดียว ภาวะผู้นำด้านสังคมผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักเบญจศีลและเบญจธรรม ในการสงเสริม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมแบบจารีตและเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชนเผ่าปะโอ ภาวะผู้นำด้านเศรษฐกิจผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้ใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้สงเสริมการเกษตรโดยนำศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการผลิตอย่างสมดุลเพื่อยกระดับคุณภาพชิวิติของชนเผ่าปะโอ จนถึงปัจจุบัน
This thesis aims to: 1) to study the concept of leadership theory, 2) to study the concept of Pa Oh tribal leadership in Shan State of Myanmar, and 3) to study and analyze the leadership of the Pa Oh tribe in Shan State of Myanmar. The data of this qualitative study were collected from documents, articles, related research, and in-depth interviews with 8 key informants involving in the Pa Oh tribe, and then analyzed and presented by a descriptive method. The research results were found that 1. In leadership theory and concepts, leadership should be composed of qualifications and behaviors in systematic and effective communication, maturity and creation of relationship for the achievement of the organization. The leadership could be integrated with the Buddhist teachings for its accomplishment. The Buddhist teachings consist of Ditthadhammikattha, Sappurisadhamma, Brahmavihara Dhamma. Sanghahavatthu Dhamma, Agati, The Five Precepts and The Five Virtues, Aparihaniya Dhamma, Dasarajadhamma, and Cakkavatti Dhamma. 2. The Pa Oh tribe was Pyu having settled down in the southern region of Mongolia before AD 600, and moved down to Myanmar. Defeated in the war, the Pa Oh tribe built a new town called Mor Tho Pha Muang Tha Ton or Hsi Hseng nowadays. During World War 2, there was a movement and the gathering of a large number of Pa Oh people to rule the country in Feudal system and taxation was collected from the people who fought in politics, claimed for their rights, and The Pa Oh National Organization and The Pa Oh Nation Republic. There was an agreement for ceased fire, revolution day, and peace agreement in 3 districts under the constitution of the central government and the political and administrative means: democracy, socialism, and communism. The leaders of Pa Oh tribe expressed their leadership in politics, society, and economics and that has been successful from the past to present. 3. In government leadership, the leaders of Pa Oh tribe could unite Pa Oh people by using Dasarajadhamma. In social leadership, the leaders of Pa Oh tribe applied the principles of the Five Precepts and the Five Virtues in preserving and continuing tradition and culture of the Pa Oh tribe. In economic leadership, the leaders of Pa Oh tribe applied the principles of Ditthadhammakattha in economic, and agriculture development, and implemented the modern technology to increase the products and reduce cost, and to improve the quality of life of Pa Oh people.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบล ชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนประชากรทั้งหมด 13,286 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า F - test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) ส่วน ด้านการบริหาร (วิธุโร) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ จัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และเพิ่มประสบการณ์ ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร ควรลงพื้นที่พบปะประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ ประชนในพื้นที่ ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประชนในพื้นที่และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของประชาชนให้เข้าใจเพื่อจะได้ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบล ชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนประชากรทั้งหมด 13,286 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า F - test และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านวิสัยทัศน์ (จักขุมา) ส่วน ด้านการบริหาร (วิธุโร) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารในเทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ จัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และเพิ่มประสบการณ์ ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร ควรลงพื้นที่พบปะประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ ประชนในพื้นที่ ควรเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประชนในพื้นที่และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ควรศึกษาปัญหาและความต้องการของประชาชนให้เข้าใจเพื่อจะได้ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
The objectives of this thematic paper were as follows: 1) To study the role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province. 2) To compare the role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province in terms of sexes, ages, degrees of education, occupations and monthly incomes as differently. 3) To study the suggestion were concerned with promotion on role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province. The population were people in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province, totally 13,286 persons, sample size according to the table of R.V. Krejcie and D.W.Morgan, got the sample at the number of 372 persons. The instrument for data collection was questionnaire both closed and open-end questions. Data analysis by package computer program, the statistics were used as follows, frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t–test, F-test and LSD method. The results reveal that: 1) The role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province by overviews are at high level, while considered in each aspects from more to less find that the aspect of human relation (Nissayasampanno) was the highest mean and follow up the aspect of vision (Jakkhuma) and the aspect of administration (Vidhuro) is the lowest mean, respectively. 2) The comparative results of role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province in term of sex, age, degree of education, occupation and monthly income find that there are not different as statistical significance at .05, 3) The suggestion are concern with promotion on role of leadership of administrator in Tambol Chamai Municipality, Thungsong district, Nakhon Si Thammarat province find that there should train all about knowledge and experience in administration to administrator. There should meet people in the area as usually for getting the people’s opinion. there should have good relation with people in the area and make participation of all networking. There should study the problem and the need of people for responding as rightly and to have opportunity to people for participation in community development.
หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ระบุองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 640 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2557 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 12 ตัวบ่งชี้ จำแนกตามมิติขององค์ประกอบในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างได้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้คือ องค์ประกอบความร่วมมือ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การแบ่งปันข้อมูล 2) ความรับผิดชอบ 3) การแก้ปัญหา องค์ประกอบความรู้ดิจิตอลมี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) เข้าใจดิจิตอล 2) การใช้ดิจิตอล 3) การรู้สารสนเทศ องค์ประกอบวิสัยทัศน์ดิจิตอล มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ 2) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ 3) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และองค์ประกอบการสื่อสาร มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสาร 2) ทัศนคติในการสื่อสาร 3) ชัดเจนในการสื่อสาร โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย 60 พฤติกรรมบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายที่เหมาะสมสำหรับการคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ/น้อยกว่า 20 % 2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยพิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ ( ) เท่ากับ 7.863 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 6 ( /df = 1.31) ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.248 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.998 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.973 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.022 3. องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ ส่วนตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัวบ่งชี้ และทุกพฤติกรรมบ่งชี้
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ระบุองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 640 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2557 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 12 ตัวบ่งชี้ จำแนกตามมิติขององค์ประกอบในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างได้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้คือ องค์ประกอบความร่วมมือ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การแบ่งปันข้อมูล 2) ความรับผิดชอบ 3) การแก้ปัญหา องค์ประกอบความรู้ดิจิตอลมี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) เข้าใจดิจิตอล 2) การใช้ดิจิตอล 3) การรู้สารสนเทศ องค์ประกอบวิสัยทัศน์ดิจิตอล มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ 2) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ 3) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และองค์ประกอบการสื่อสาร มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสาร 2) ทัศนคติในการสื่อสาร 3) ชัดเจนในการสื่อสาร โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย 60 พฤติกรรมบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายที่เหมาะสมสำหรับการคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ/น้อยกว่า 20 % 2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยพิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ ( ) เท่ากับ 7.863 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 6 ( /df = 1.31) ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.248 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.998 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.973 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.022 3. องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ ส่วนตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัวบ่งชี้ และทุกพฤติกรรมบ่งชี้
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to develop the digital leadership indicators of school administrators under Office of the Basic Education Commission, 2) to test the balancing of the digital leadership indicators model developed from empirical data of school administrators under Office of the Basic Education Commission, and 3) to indicate factors, indicators and indicator behaviors with construct validity or composition weight according to the specified criteria. The data of this quantitative research were collected from 640 samples consisting of basic school administrators under Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education, in the academic year 2016. The data were analyzed by mean, standard deviation, distribution coefficient, and factor analysis through computerized statistical program. The results of the study were found that: 1. There were 12 digital leadership indicators of school administrators under Office of the Basic Education Commission classified by 4 factor dimensions in structural relation model: 3 indicators in Collaboration elements; 1) Sharing Information, 2) Responsibility, and 3) Problem-Solving, 3 indicators in Digital literacy elements; 1) Digital literacy, 2) Digital Usage, and 3) Information Literacy, 3 indicators in Digital Vision elements; 1) Vision Formulating 2) Vision Articulating, and 3) Vision Implementing, and 3 indicators in Communication elements; Elements of Communication has 3 indicators, 1) Communication Skills, 2) Communication Attitude, and 3) Clarity in Communication. The 60 behaviors indicators used in the research had appropriate average value and distribution coefficient allocated in every structural relationship model which according to the criteria set, the average was higher than 3.00 and the distribution coefficient was equal or lower than 20% 2.The measurement model of each component developed from the theory and research was positively consistent with the empirical data; = 7.863, df = 6 ( /df = 1.31), P-value = 0.248, GFI = 0.998, AGFI = 0.973, and RMSEA = 0.022 3.The factor loading of each indicator and balance component was higher than the specified criteria at 0.05. Indicators and indicator behaviors had standard weight higher than the specified criteria at 0.30.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการเป็นผู้ติดยาเสพติดในเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชน 3) เพื่อบูรณาการสร้างภูมิคุ้มกันการ ติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการ บูรณาการการสร้างภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research Methodology) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากความสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และเจ้าหน้าที่ประจำสถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 20 คน เยาวชนที่กำลังบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติด ณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีและ ณ สถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 40 คน และเยาวชนที่ไม่ติดยาเสพติดที่กำลังศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิค มีนบุรี จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 155 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการติดยาเสพติดของเยาวชน เกิดจากปัจจัยด้านครอบครัว บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ความรักความอบอุ่นแก่เยาวชนไม่เพียงพอ ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน ไม่ได้ปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้รังเกียจยาเสพติด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่ มีเพื่อนบ้านเป็นผู้ติดยาเสพติด ปัจจัยด้านจิตวิทยา การถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับ ปัจจัยการคบเพื่อน คบเพื่อนโดยไม่สังเกตว่าเขาเป็นคนเช่นไร ปัจจัยการติดการพนัน แพ้พนันแล้วไม่มีเงินจ่าย ปัจจัยการไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยการขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยจาก ความรัก ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด และปัจจัยการขาดศึกษาตามวัย ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้สร้างภูมิคุ้มกัน มี 3 หลักธรรม ประกอบด้วย 1) อริยสัจ 4 นำมาใช้เป็น “แนวคิด” ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีป้องกัน เพราะเป็นคำสอนที่มุ่งให้แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา 2) สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ โดยนำข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักตน, ข้อปุคคลัญญุตา ความรู้จักบุคคล และข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักผล เรียกสั้น ๆ ว่า “รู้ตน รู้คน รู้ภัย” มาใช้เป็น “วัคซีน” 3) นำข้อธรรมทั้ง 3 นี้ไปใช้ร่วมกับมรรคมีองค์ 8 ในข้อสัมมากัมมันตะ ซึ่งอยู่ในหมวดศีล เพื่อให้เกิด “ความเชื่อมั่น” ว่า การปฏิบัติใด ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ตน รู้คน และรู้ภัย นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น หลังจากนั้นนำข้อธรรมทั้ง 3 สู่การปฏิบัติทางโลก ด้วยการแปลงศีลเป็นวินัย เพราะศีลในทางธรรม คือ วินัยในทางโลก สุดท้ายปลูกฝังความวินัยให้เกิดขึ้นในเยาวชน ด้วยการให้ปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นให้เป็นคนรู้ตน รู้คน และรู้ภัย อย่างคงเส้นคงวาจนเกิดเป็นความเคยชิน และด้วยความเคยชินในกิจกรรมที่สร้างสรรค์จะกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดในจิตใจของเยาวชน องค์ความรู้ใหม่ที่การวิจัยค้นพบ คือ AC for 3Ks Model ซึ่งเกิดจากการให้เยาวชนทำกิจกรรม (Activities: A) อย่างคงเส้นคงวา (Consistently: C) เพื่อ (for)
การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการเป็นผู้ติดยาเสพติดในเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชน 3) เพื่อบูรณาการสร้างภูมิคุ้มกันการ ติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการ บูรณาการการสร้างภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research Methodology) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากความสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และเจ้าหน้าที่ประจำสถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 20 คน เยาวชนที่กำลังบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติด ณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีและ ณ สถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 40 คน และเยาวชนที่ไม่ติดยาเสพติดที่กำลังศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิค มีนบุรี จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 155 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการติดยาเสพติดของเยาวชน เกิดจากปัจจัยด้านครอบครัว บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ความรักความอบอุ่นแก่เยาวชนไม่เพียงพอ ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน ไม่ได้ปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้รังเกียจยาเสพติด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่ มีเพื่อนบ้านเป็นผู้ติดยาเสพติด ปัจจัยด้านจิตวิทยา การถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับ ปัจจัยการคบเพื่อน คบเพื่อนโดยไม่สังเกตว่าเขาเป็นคนเช่นไร ปัจจัยการติดการพนัน แพ้พนันแล้วไม่มีเงินจ่าย ปัจจัยการไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยการขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยจาก ความรัก ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด และปัจจัยการขาดศึกษาตามวัย ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้สร้างภูมิคุ้มกัน มี 3 หลักธรรม ประกอบด้วย 1) อริยสัจ 4 นำมาใช้เป็น “แนวคิด” ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีป้องกัน เพราะเป็นคำสอนที่มุ่งให้แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา 2) สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ โดยนำข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักตน, ข้อปุคคลัญญุตา ความรู้จักบุคคล และข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักผล เรียกสั้น ๆ ว่า “รู้ตน รู้คน รู้ภัย” มาใช้เป็น “วัคซีน” 3) นำข้อธรรมทั้ง 3 นี้ไปใช้ร่วมกับมรรคมีองค์ 8 ในข้อสัมมากัมมันตะ ซึ่งอยู่ในหมวดศีล เพื่อให้เกิด “ความเชื่อมั่น” ว่า การปฏิบัติใด ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ตน รู้คน และรู้ภัย นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น หลังจากนั้นนำข้อธรรมทั้ง 3 สู่การปฏิบัติทางโลก ด้วยการแปลงศีลเป็นวินัย เพราะศีลในทางธรรม คือ วินัยในทางโลก สุดท้ายปลูกฝังความวินัยให้เกิดขึ้นในเยาวชน ด้วยการให้ปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นให้เป็นคนรู้ตน รู้คน และรู้ภัย อย่างคงเส้นคงวาจนเกิดเป็นความเคยชิน และด้วยความเคยชินในกิจกรรมที่สร้างสรรค์จะกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดในจิตใจของเยาวชน องค์ความรู้ใหม่ที่การวิจัยค้นพบ คือ AC for 3Ks Model ซึ่งเกิดจากการให้เยาวชนทำกิจกรรม (Activities: A) อย่างคงเส้นคงวา (Consistently: C) เพื่อ (for)
มุ่งหมายให้เขารู้ตนว่าเป็นคนมีคุณค่า (Knowing himself as a value: K), รู้ที่จะเลือกคบเพื่อน (Knowing how to make friend: K), และรู้ภัยของยาเสพติด (Knowing how to know drug hazard: K)
The objective of the research entitled “The Youth Immunization from Drug Addiction with Buddhadhamma” is the following: 1) To study the causes of drugs addicts in youth, 2) To study the principles of Buddhadhamma that will be used to study as immunity to drug addiction in youth, 3) To integrate the youth immunization from drug addiction with Buddhadhamma, and 4) To create new knowledge about “The model of integration of the youth immunization from drug addiction with Buddhadhamma". This research is a qualitative research using documentary research methodology and collecting data by questionnaires from the voluntary sample consisting of 5 monks, 10 Central Special Correctional Institution personnel, full-time staff from the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment (PMNIDAT), and full-time staff from the Department of Juvenile Observation and Protection for 20 staff in each agency. Youth who are being treated for drug addiction at the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment and the Department of Juvenile Observation and Protection for 40 youths in each agency, and non-addicted youth who are studying at Minburi Technical College Bangkok, totaling 20 people, for total of 155 monks/person. The results of the study found that: The causes of youth addiction are caused by family factors, not enough for parents or guardians to give love and warmth to youth, not a good example for young, not raising awareness of youth to hate drugs, economic factors, family’s income is not enough to cover expenses existing environment factors, addicted neighborhood, Psychological factors, demeaning or demanding to be accepted, dating factors, making friendships without noticing what they’re, gambling factors, lost a bet and had no money to pay. The factor not how to know to keep with free time to be useful. These factors make being easily influenced, lacking of goals in life, resulting in being easily influenced. Love factor makes a wrong decision, and the lack of education factor by age results in being easily influenced. The Buddhadhamma used to create immunity consist of 3 principles, namely: 1) Noble Truth 4: used as a "concept" for solving problems through prevention methods, aimed at resolving the root cause of the problem. 2) The Sappurisa Dharma 7: is the Dharma of the faithful by bringing the knowing oneself, knowing how to make friend, and knowing the result to be used as a "vaccine” 3) Using these 3 verses together with the Eightfold Path of the Right View which is in the precept category in order to create "confidence" that any practice for knowledge, self-awareness, and danger must be performed only in a good way. Bringing the principles of the Buddhadhamma principles to create immunity, there’s begin with the conversion of precepts into discipline. Because moral precepts are worldly discipline, and create discipline in the youth later, by having them perform activities aimed at reinforcing them as the following: 1) Knowing oneself means knowing that he is a valuable person, by making him "a smart person" for his own benefit, such as studying smart, playing sports, playing good music, etc. or creating him "good person" for the benefit of others, such as helping to do housework, as to dedicate themselves to the benefit of society, etc. 2) Knowing people, means knowing how to select the good person to be friends. 3) Knowing danger, means being aware of the drug danger by conducting activities with such aims consistently and until becoming familiar will impact on immunity in the minds of young people and will not interfere with drugs.
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนนิทานชาดก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการนำคุณธรรม ที่ได้จากการเรียนรู้ เรื่องนิทานชาดกไประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการมีหรือไม่มีคุณธรรมด้วยการนำใช้ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง กับนิทานชาดกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดการศึกษาเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังและสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน เน้นความรู้ คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม โดยใช้กระบวนการ เชื่อมโยงความรู้ ที่เกิดจากตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาจากประสบการณ์จริง ที่ได้จากการปฏิบัติ จนเกิดทักษะและนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างมีความสุข 2. ผลการนำคุณธรรมที่ได้จากการเรียนรู้นิทานชาดกเรื่อง ตติรชาดก อัมพชาดก มิตตวินทุชาดก ที่สอนคุณธรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการแสดงความเคารพ กราบไหว้ การรู้จักบุญคุณ เชื่อฟังบิดา มารดาและญาติผู้ใหญ่ และการเรียนรู้จากนิทานชาดก เรื่อง ราโชวาทชาดก นันทิวิสาลชาดก สุวัณหังชาดก ได้ให้คำสอนคุณธรรม ในเรื่องความประพฤติปฏิบัติตนทั้งทางกาย วาจา ใจ ความไม่โลภ ซึ่งนำไปสู่แบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตในสังคม 3. จากการวิเคราะห์การนำนิทานชาดกทั้ง 6 เรื่อง มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญจากการนำคุณธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างรู้คุณค่า โดยมีความกตัญญูรู้คุณ เคารพเชื่อฟัง บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ รู้จักการใช้วาจา ที่เหมาะสม รู้จักกาลเทศะ ไม่มีความโลภ เบียดเบียนผู้อื่น อันเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่นได้
วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนนิทานชาดก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการนำคุณธรรม ที่ได้จากการเรียนรู้ เรื่องนิทานชาดกไประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการมีหรือไม่มีคุณธรรมด้วยการนำใช้ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง กับนิทานชาดกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดการศึกษาเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังและสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน เน้นความรู้ คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม โดยใช้กระบวนการ เชื่อมโยงความรู้ ที่เกิดจากตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาจากประสบการณ์จริง ที่ได้จากการปฏิบัติ จนเกิดทักษะและนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างมีความสุข 2. ผลการนำคุณธรรมที่ได้จากการเรียนรู้นิทานชาดกเรื่อง ตติรชาดก อัมพชาดก มิตตวินทุชาดก ที่สอนคุณธรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการแสดงความเคารพ กราบไหว้ การรู้จักบุญคุณ เชื่อฟังบิดา มารดาและญาติผู้ใหญ่ และการเรียนรู้จากนิทานชาดก เรื่อง ราโชวาทชาดก นันทิวิสาลชาดก สุวัณหังชาดก ได้ให้คำสอนคุณธรรม ในเรื่องความประพฤติปฏิบัติตนทั้งทางกาย วาจา ใจ ความไม่โลภ ซึ่งนำไปสู่แบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตในสังคม 3. จากการวิเคราะห์การนำนิทานชาดกทั้ง 6 เรื่อง มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญจากการนำคุณธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างรู้คุณค่า โดยมีความกตัญญูรู้คุณ เคารพเชื่อฟัง บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ รู้จักการใช้วาจา ที่เหมาะสม รู้จักกาลเทศะ ไม่มีความโลภ เบียดเบียนผู้อื่น อันเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่นได้
The objectives of this thesis were; 1) In order to study the condition teaching Jataka Tales of Secondary School Students of Watsukakhon School, Mueang District, Samutparkan Province, 2) to analyze the results of the application of virtues obtained From learning about Jataka Tales to apply in daily life of Secondary School Students of Watsukakhon School, Mueang District, Samutparkan Province, 3) to analyze the results of having or without virtue by applying it in accordance with the events in real life events and fables of Secondary School Students of Watsukakhon School, Mueang District, Samutparkan Province. The study was a qualitative research by non-participant Observation and in-depth interview. The results of the study found that: 1. Education management focus on students as a center for teaching and learning activities.Adhering to the principle all learners are able to learn and develop themselves and learners are the most important. Teaching and learning focuses on the interests of learners. Aim to cultivate and create desirable characteristics for learners by emphasizing morality good values and integrating knowledge in various matters in a balanced manner. Including skills training and process management of handing situations. Application of knowledge by the students have knowledge and experience in various matters. 2. The result of the application of virture from learning about Jataka Tales to apply in daily life of students is as follows. Jataka Tales about Tatira chadok teaches moral, reverence, can be used in daily life by worshiping parents and relatives. Jataka Tales about Ama chadok teaches morality knowing merit. To use in daily life by expressing gratitude to parents can be use in daily life by obeying the teaching of parents. Jataka Tales about Mittawintu chadok teaches obedience to parents can be use in daily life by obeying the teaching of parents. Jataka Tales about Rachowat chadok teaches moral leader of a harmer can be used in daily life with leaders having to behave as a good model. Jataka Tales about Nuntiwisan chadok teaches moral Piyawaja can be used daily life with sweet and pleasant words, listening and listening to the audience Jataka Tales about Suwanahung chadok virtue of greed can be used in daily life with confidence in what we have. Do not anything more than necessary. 3. The analysis of the results of having no virtue by using it in accordance withthe event with the story of Jataka Tales. Most students share the same opinions as follows. Respect is a good social etiquette. Respect can be used in 3 ways in real life: physical verbal and psychological. Gratitude to parent is a worthy thing to do because it makes life happy. Obedience to the parents is a very noble child and creates fuling. Good leaders must behave in 2 ways: to behave well in both body, word and heart and not being a bully. Each person has different backgrounds,both good and bad. There are many Wealthy and poor people, so they must rely on morality to control the behavior of people. In particular, the right words or speech are an anchor for the mind to make society peaceful. A person who knows the fit is not greedy with 4 aharma practices : Keeping the precepts, using mercy,keep giving merit and pray.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร ที่มีเพศ อายุ และตำแหน่งงาน แตกต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร 4 แห่ง จำนวน 207 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaires) มาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาครที่มีเพศต่างกัน มีการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานบริการสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวม และในรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนที่มีอายุต่างกัน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน แต่ในรายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ไม่แตกต่างกัน และด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักการมีส่วนร่วม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และที่มีตำแหน่งงานต่างกัน โดยรวม แตกต่างกัน แต่ในรายด้าน พบว่าด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า ไม่แตกต่างกัน และด้านหลักนิติธรรมด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร มีดังนี้ 1) บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร ควรรักษามาตรฐานที่ดีอยู่แล้วต่อไปอย่างต่อเนื่องในด้านนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใส ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งจะเป็นแบบอย่างองค์กรคุณภาพที่ดีทั้งในและนอกหน่วยงาน 2) บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร ควรมีการส่งเสริมพัฒนาให้มีการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ในด้านหลักความคุ้มค่าด้านหลักความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านหลักการมีส่วนร่วม ควรเน้นให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร ที่มีเพศ อายุ และตำแหน่งงาน แตกต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร 4 แห่ง จำนวน 207 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaires) มาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาครที่มีเพศต่างกัน มีการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานบริการสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวม และในรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนที่มีอายุต่างกัน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน แต่ในรายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ไม่แตกต่างกัน และด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักการมีส่วนร่วม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และที่มีตำแหน่งงานต่างกัน โดยรวม แตกต่างกัน แต่ในรายด้าน พบว่าด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า ไม่แตกต่างกัน และด้านหลักนิติธรรมด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร มีดังนี้ 1) บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร ควรรักษามาตรฐานที่ดีอยู่แล้วต่อไปอย่างต่อเนื่องในด้านนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใส ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งจะเป็นแบบอย่างองค์กรคุณภาพที่ดีทั้งในและนอกหน่วยงาน 2) บุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร ควรมีการส่งเสริมพัฒนาให้มีการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ในด้านหลักความคุ้มค่าด้านหลักความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านหลักการมีส่วนร่วม ควรเน้นให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสมุทรสาคร
และผู้รับบริการเป็นอย่างมากตามหลักความเป็นเลิศทางธรรมาภิบาล ซึ่งอยู่ในระดับมาก แต่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดใน 6 ด้าน ซึ่งจะเป็นองค์กรคุณภาพที่ดี และมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
This thematic paper had the following objectives: 1) to study an application of good governance principles in performing duties of public health personnel in public sector of Samut Sakhon province; 2) to compare the application of good governance principles in performing duties of public health personnel in public sector of Samut Sakhon Province, by categorizing personal factors with gender, age and occupation; and 3) to suggest guidelines for the application of good governance in the performance of public health personnel in public sector of Samut Sakhon Province. It was a survey research. The sample group was public health personnel In public sector of Samut Sakhon Province, 4 locations, 207 persons. Simple Random Sampling method was used. The research instruments were questionnaires, five levels of estimation scale, with the whole confidence value of .963, analyzed and processed by computer. The used statistics for data analysis were of 2 types : 1) descriptive statistics were frequency, percentage, average and standard deviation (S.D.) and 2) inferential statistics, namely, T-test and one-way ANOVA. When differences were found to be statistically significant at the level of 0.05, the average difference was tested by Scheffé's method and using content analysis techniques. The research was found as follows : 1) The level of applying good governance in the performance of public health personnel in public sector of Samut Sakhon Province, including all 6 aspects, was at a high level. When considering each aspect by sorting by average from descending order, it was in the aspect of rule of law, the aspect of moral principles, the aspect of transparency, the aspect of cost-effectiveness, the aspect of responsibility and the aspect of participation, respectively. 2) The results of the hypothesis testing of the research were found as follows: the personnel, with different gender, as the whole view and in each aspect, had no different level of applying of good governance in the performance of public health; the personnel with different age, as the whole view, had no different level, but in each aspect, it was found that personnel had no different level in the aspect of the rule of law, and the aspect of responsibility; the personnel had different level in the aspect of moral principles, the aspect of transparency, the aspect of cost effectiveness, and the aspect of participation, with statistical significance at the level of 0.05. 3) Suggestions on the application of good governance principles in the performance of public health personnel in public sector of Samut Sakhon Province were as follows: 1) in the aspect of the rule of law, the aspect of moral principles, and the aspect of transparency, which were at high level, the personnel should be trained to maintain such a good standard; and 2) in the aspect of cost-effectiveness, and the aspect of responsibility, which were at high level as well, the personnel should be encouraged and developed in good governance principles in performing duties; and in the aspect of participation, the personnel should be emphasized the importance of participation of public health and the service recipients, which were at a high level, but had the least average in 6 areas, and this would be a good quality organization and the most effective.