Search results

11 results in 0.2s

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • สถานภาพของพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน
  • ลักษณะของยุคโลกาภิวัตน์
  • ผลกระทบของยุคโลกาภิวัตน์ที่มีต่อพระพุทธศาสนาเชิงจริยธรรม
  • ผลกระทบของยุคโลกาภิวัตน์ที่มีต่อพระพุทธศาสนาเชิงมนุษยธรรม
  • การปรับตัวของพระพุทธศาสนาอย่างมีระบบ
  • การปรับตัวของพระพุทธศาสนาอย่างมีเหตุผล
  • ประวัติผู้เขียน
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2561
Note: วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2561
หนังสือ

    วิทยาวิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2561
Note: วิทยาวิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2561
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
  • ระบบความเชื่อ ระบบการศึกษา ของพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์
  • เรื่องความจริงที่มีเหตุมีผล กับ เรื่องมีเหตุผลและเป็นจริง
  • ความคิดเรื่อง พระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์
  • ความทุกข์
  • พระพุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • บทนำ
  • ปัญหาการคอรัปชั่น
  • ปัญหาการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน
  • ปัญหาการศึกษาไทย
  • ปัญหาการหย่าร้าง
  • ปัญหาความยากจน
  • ปัญหาประชากร
  • ปัญหาป่าไม้
  • ปัญหาแรงงาน
  • ปัญหาพิษสุราเรื้อรัง
  • ปัญหาสุขภาพกายและจิต
  • ปัญหาโสเภณี
  • ปัญหาอัตวินิบาตกรรม
  • ปัญหาอาชญากรรม
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • ปัญหาวัยรุ่น
  • ปัญหากลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มการเมือง
  • ปัญหาค่านิยมและจริยธรรม
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้1) เพื่อศึกษาสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนะการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาม กุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) สังกัดพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และแบบสัมภาษณ์สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการนำปฏิบัติธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X̅= 4.134) รองลงมาคือด้านเนื้อหาหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย (X̅=4.084) และมีค่าน้อยสุดคือด้านการวัดผลและการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย (X̅= 4.036) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแสดงธรรมและนำการปฏิบัติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านสถานภาพและการยอมรับนับถือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X̅=4.20) รองลงมาคือ ด้านความถนัดและความพึงพอใจในงาน (X̅=4.00) ด้านความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา (X̅= 3.95) และมีค่าน้อยสุดคือ ด้านการพิจารณาความดีความชอบและสวัสดิการ (X̅= 3.68) ตามลำดับ 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถกับสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถกับสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (rxy = 0.601) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะคล้อยตามกัน สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) รูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ด้านความรู้ ควรมีรูปแบบที่เน้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม จัดอบรมพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ด้านทักษะ ควรมีรูปแบบที่หลากหลายเพราะมีสถานศึกษาแต่ละพื้นที่พระสอนศีลธรรมไปปฏิบัติหน้าที่มีบริบทที่แตกต่างกันด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล ควรมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยดึงศักยภาพหรือบุคลิกลักษณะประจำตัวที่โดดเด่นของพระสอนศีลธรรมแต่ละรูปมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านทัศนคติและค่านิยม รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้1) เพื่อศึกษาสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนะการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาม กุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) สังกัดพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และแบบสัมภาษณ์สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการนำปฏิบัติธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X̅= 4.134) รองลงมาคือด้านเนื้อหาหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย (X̅=4.084) และมีค่าน้อยสุดคือด้านการวัดผลและการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย (X̅= 4.036) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแสดงธรรมและนำการปฏิบัติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านสถานภาพและการยอมรับนับถือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X̅=4.20) รองลงมาคือ ด้านความถนัดและความพึงพอใจในงาน (X̅=4.00) ด้านความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา (X̅= 3.95) และมีค่าน้อยสุดคือ ด้านการพิจารณาความดีความชอบและสวัสดิการ (X̅= 3.68) ตามลำดับ 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถกับสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถกับสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (rxy = 0.601) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะคล้อยตามกัน สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) รูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ด้านความรู้ ควรมีรูปแบบที่เน้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม จัดอบรมพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ด้านทักษะ ควรมีรูปแบบที่หลากหลายเพราะมีสถานศึกษาแต่ละพื้นที่พระสอนศีลธรรมไปปฏิบัติหน้าที่มีบริบทที่แตกต่างกันด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล ควรมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยดึงศักยภาพหรือบุคลิกลักษณะประจำตัวที่โดดเด่นของพระสอนศีลธรรมแต่ละรูปมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านทัศนคติและค่านิยม
ควรจะรูปแบบควรมีลักษณะที่หลากหลายสอดคล้องกับสถานการณ์ของปัญหาและควรมีการบูรณาการรูปแบบต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 5) ข้อเสนอแนะในการเพิ่มขีดความสามารถ พบว่า การส่งเสริมการศึกษาต่อของพระสอนศีลธรรมควรจะมีการส่งเสริมด้านการศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงาน การอบรม พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ควรจะเข้ารับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พระสอนศีลธรรมควรจะเข้าสัมมนาประจำปีควรจัดการศึกษาดูงานการปฏิบัติที่ดีและการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมแต่ละพื้นที่ ควรมีการศึกษาดูงานของหน่วยงาน ในสังกัดที่อยู่ต่างพื้นที่ เนื่องจากขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมแต่ละรูปนั้น ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเป็นรายบุคคล โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมตามความถนัด เน้นพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะตัว ทั้งนี้โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ควรจะเร่งดำเนินการตามแผนงานยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมอย่างเป็นรูปธรรม มีการวัดผลและประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน ในด้านตัวของพระสอนศีลธรรมแต่ละรูป ควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่รับผิดชอบ และควรมีการพัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอ
This research was composed of three objectives as follows; 1) To study the competency for Dhamma teaching and performing chief of school moral teaching monk. 2) To study the factors which are affected to Dhamma teaching component and performing chief of school moral teaching monk. 3) To present the guideline to promote Dhamma teaching competency and performing chief of school moral teaching monk. The population were composed of school moral teaching monksunder Mahamakut Buddhist University (central) for 222 persons under four provinces i.e. Bangkok, Nonthaburi, Pathum Thani and Samutprakarn. The instruments were questionnaire for quantitative research and qualitative research by in-depth interview sheet. The statistical analysis i.e. frequency, percentage, mean and standard deviation and to test the hypothesis by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and to present the tables for descriptive distribution. The findings were as follows; 1) The competency for Dhamma teaching and performing chief of school moral teaching monk by overview was at more level. When considered in each aspect found that the aspect of performing chief was the most level (x = 4.134) and followed up the aspect of curriculum (x = 4.084) and content, the aspect of curriculum, and the aspect of assessment was the lowest (x = 4.036) respectively. 2) The factors which are affected to Dhamma teaching competency and performing chief of school moral teaching monk by overview was at more level when classified in each aspect found that all are at more level from more to less as follows; the aspect of status and admiration was the highest mean (x = 4.20) and followed up the aspect of job satisfaction (x = 4.00) and commander regarding (x = 3.95) and the aspect of compensation and welfare was the lowest mean (x = 3.68) respectively. 3) The result of hypothesis test by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient for Dhamma teaching competency and performing chief of school moral teaching monk found that status factors and admiration are related with Dhamma teaching competency and performing chief in positive rather high level (r=0.601) at the statistical significance of .01 or to accordance relation with setting hypothesis. 4) The model for adding competency found that the aspect of knowledge there should have the model emphasized on motivation in work performance by promotion on studying in secular and religious studies to be trained usually for competency development. The aspect of skill, there should have variety of forms for difference of surroundings performance. The aspect of personnel personality, there should have standard form as unity by selection of specialist for adaption the aspect of attitude and value, there should have variety and accordance with problem situation and should have integration for any forms and same direction. 5) The guideline to promote Dhamma teaching competency found that they should be further studies of them. There should promote on education in curriculum which are concerned with school moral teaching. There should be trained on information technology in yearly. There should have study tour on good work performance and experience changing each other. There should have study tour for office to addition of competency according to special skill and they should perform according to strategic plan in competency development of moral teaching monk as touch ability. To have assessment as universal standard for each one. There should learn about work in responsible duty and usually develop oneself.
Note: รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
หนังสือ

    วิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2558
Note: วิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2558
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคการบริหารหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษานโยบายปฏิรูปประเทศไทยด้านการอุดมศึกษา 20 ปี 3) เพื่อศึกษาหลักการบริหารและการพัฒนาการอุดมศึกษาในอนาคต และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาที่สนองนโยบายปฏิรูปประเทศไทยระยะ 20 ปี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ประจำหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( xˉ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า การบริหารหลักสูตรด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดการหลักสูตร และด้านการบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ 2) นโยบายปฏิรูปประเทศไทยด้านการอุดมศึกษา 20 ปี จะมุ่งเน้นคุณภาพบัณฑิต คุณภาพการวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศระดับโลก สร้างความเสมอภาค โอกาสและความหลากหลายของผู้รับบริการ การพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาส และตอบสนองบทบาทที่เปลี่ยนแปลง โดยการปรับตัวในการผลิตบัณฑิตเข้าสู่ความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน การลดช่องว่างทักษะของบัณฑิตกับความต้องการของนายจ้าง การสร้างงาน การเป็นผู้ประกอบการและการมีงานทำ 3) หลักการบริหารและการพัฒนาการอุดมศึกษาในอนาคต ได้แก่ การสร้างพลเมืองคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อทําให้ผู้เรียนสามารถกําหนดแนวทางในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อสร้างคนที่ เป็น “คนไทย 4.0” การกระจายโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การบริหาร จัดการงบประมาณและทรัพยากรของอุดมศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 4) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษา ควรขับเคลื่อนตามแนวนโยบายมหาวิทยาลัย 4.0 โดยมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและวางแผนด้านอัตรากำลังของอาจารย์ประจําหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ปรับกลยุทธ์การรับเข้าเพื่อให้ได้ผู้เรียนตรงตามเป้าหมาย โดยการประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมาย สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อหาผู้เรียนในกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงวัย มีการเพิ่มช่องทางการรับเข้า เช่น จัดทําการตลาด (Marketing) การจัดกิจกรรม Open House เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร สร้างหลักสูตรให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้ พัฒนาหลักสูตรเชิงบูรณาการในลักษณะของสหกิจศึกษาเพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยมีพุทธศาสนาเป็นฐาน รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคการบริหารหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษานโยบายปฏิรูปประเทศไทยด้านการอุดมศึกษา 20 ปี 3) เพื่อศึกษาหลักการบริหารและการพัฒนาการอุดมศึกษาในอนาคต และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาที่สนองนโยบายปฏิรูปประเทศไทยระยะ 20 ปี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ประจำหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( xˉ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า การบริหารหลักสูตรด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านนักศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดการหลักสูตร และด้านการบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ 2) นโยบายปฏิรูปประเทศไทยด้านการอุดมศึกษา 20 ปี จะมุ่งเน้นคุณภาพบัณฑิต คุณภาพการวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศระดับโลก สร้างความเสมอภาค โอกาสและความหลากหลายของผู้รับบริการ การพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาส และตอบสนองบทบาทที่เปลี่ยนแปลง โดยการปรับตัวในการผลิตบัณฑิตเข้าสู่ความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน การลดช่องว่างทักษะของบัณฑิตกับความต้องการของนายจ้าง การสร้างงาน การเป็นผู้ประกอบการและการมีงานทำ 3) หลักการบริหารและการพัฒนาการอุดมศึกษาในอนาคต ได้แก่ การสร้างพลเมืองคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อทําให้ผู้เรียนสามารถกําหนดแนวทางในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อสร้างคนที่ เป็น “คนไทย 4.0” การกระจายโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การบริหาร จัดการงบประมาณและทรัพยากรของอุดมศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 4) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษา ควรขับเคลื่อนตามแนวนโยบายมหาวิทยาลัย 4.0 โดยมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและวางแผนด้านอัตรากำลังของอาจารย์ประจําหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ปรับกลยุทธ์การรับเข้าเพื่อให้ได้ผู้เรียนตรงตามเป้าหมาย โดยการประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมาย สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อหาผู้เรียนในกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงวัย มีการเพิ่มช่องทางการรับเข้า เช่น จัดทําการตลาด (Marketing) การจัดกิจกรรม Open House เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร สร้างหลักสูตรให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้ พัฒนาหลักสูตรเชิงบูรณาการในลักษณะของสหกิจศึกษาเพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยมีพุทธศาสนาเป็นฐาน
Note: รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
หนังสือ

    วิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2559
Note: วิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2559
หนังสือ