Search results

221 results in 0.16s

หนังสือ

    View TOC
TOC:
  • บทที่ 1 ทำไมต้องแปลงสภาพและแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
  • บทที่ 2 ความั่งคงทางพลังงาน
  • บทที่ 3 การดำเนินการแปรรูปถูกต้องหรือไม่
  • บทที่ 4 การกระจายหุ้นของ ปตท. ไม่เป็นธรรมจริงหรือ
  • บทที่ 5 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เติมโตจากอะไร
  • บทที่ 6 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นของใคร
  • บทที่ 7 ผูกขาดจริงหรือ
  • บทที่ 8 ท่าก๊าซเป็นของใคร
  • บทที่ 9 การแปรรูปบรรลุเป้าหมายเพื่อประเทศชาติและประชาชนจริงหรือ
หนังสือ

    การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
Note: การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
TOC:
  • บทที่ 1 บทนำ
  • บทที่ 2 หลักการประเมิน
  • บทที่ 3 เกณฑ์การประเมิน
  • บทที่ 4 ระเบียบวิธีการประเมิน
  • บทที่ 5 บทบาทหน้าที่และขั้นตอนการประเมิน
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของครูจากการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t – test (Independent Samples) และ F – test (One – way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Fisher’s Least – Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง รองลงมา คือ ด้านการออกจากราชการ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านวินัยและการรักษาวินัย ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน 2.1 ครูที่เพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน 2.2 ครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของครูจากการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t – test (Independent Samples) และ F – test (One – way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Fisher’s Least – Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง รองลงมา คือ ด้านการออกจากราชการ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านวินัยและการรักษาวินัย ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน 2.1 ครูที่เพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน 2.2 ครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.
ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีค่าความถี่สูงสุดในแต่ละด้าน มีดังนี้ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนด ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการวางแผนงานบุคคล และให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามแผนการบริหารงานบุคคล ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ควรเลือกสรรบุคคล สอบคัดเลือก และคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยหลักคุณธรรมเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ควรมีการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ด้านวินัยและการรักษาวินัย ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมวินัยเชิงบวก การสร้างขวัญกำลังใจ การจูงใจเพื่อป้องกันการกระทำผิดวินัย รวมถึงการส่งเสริมให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม ด้านการออกจากราชการ เมื่อมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิดวินัย ควรมีการพิจารณาโทษโดยปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการด้วยความเป็นธรรม
The objectives of the research were: 1) to study the teachers’ opinions about the personnel administration based on the principles of good governance in the schools under the Office of Primary Education Service, Kalasin Area 2’ 2) to compare the teachers’ opinions relevant to the personnel administration based on the principles of good governance in the said schools, classified by gender and school size, and 3) to survey the suggestions proposed by the teachers in the schools as mentioned. The samples were 308 in number, consisting of teachers and education-related personnel of the schools in the said area. The device used for data collection was the five-rating scale questionnaire .The reliability was 0.95, and the statistical tools employed for data analysis were frequency, percentage, mean, S.D., t-test (Independent Samples) and F-test (One-way ANOVA). In case the significantly statistical difference was found, the LSD (Fisher’s Least – Significant Difference) method was used to test the difference. The research results were as follows: 1) The teachers’ opinions about the personnel administration based on the principles of good governance in the schools under the Office of Primary Education Service, Kalasin Area 2 were found, on both overall and individual aspects, to stand at the ‘MUCH’ level. The aspect that showed the highest mean was manpower planning and position specification, followed by layoffs and early retirement, and the aspect that stood on the bottom was discipline and disciplinary observance. 2) The comparison of the teachers’ related opinions, classified by gender, was found to show no statistically significant difference in both overall and individual aspects, whereas the comparison classified by school size was found, in both overall and individual dimensions, to show the statistically significant difference at the same rate of .05. 3) The suggestions proposed by the respondents were the following: As top priority of the administration, the manpower planning and position specification required the administrators’ focal emphasis and strict practice of the plan set. The recruitment and appointment was suggested to be strict to the rules. The promotion of operational effectiveness needed the human resource development by means of promoting the higher-level study. The discipline and disciplinary observance required the training workshop to promote disciplinary observance, boost morale and motivate the prevention of disciplinary violation. Besides, the support of the staff members to be fulfilled with morality and ethics should be conducted. For the layoffs and early retirement, should there be the case of disciplinary violation, the fair treatment was required in order to provide justice and prevent injustice.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาล, 2) ศึกษาการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา และ 3) วิเคราะห์คุณค่าการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลเป็นการบริหารที่ว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมให้มีประสิทธิภาพตามหลักกฎหมาย โดยอาศัยหลัก 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของรัฐหรือในองค์การ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและองค์การ ซึ่งจะส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2) การบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ การดำเนินการของผู้บริหารในการนำเอาหลักธรรมที่ปรากฏในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สัปปุริสธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 ไปใช้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3) วิเคราะห์คุณค่าการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือมีคุณค่า ด้านความยุติธรรมในองค์การ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในองค์การ และด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาล, 2) ศึกษาการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา และ 3) วิเคราะห์คุณค่าการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลเป็นการบริหารที่ว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมให้มีประสิทธิภาพตามหลักกฎหมาย โดยอาศัยหลัก 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของรัฐหรือในองค์การ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและองค์การ ซึ่งจะส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2) การบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ การดำเนินการของผู้บริหารในการนำเอาหลักธรรมที่ปรากฏในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สัปปุริสธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 ไปใช้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3) วิเคราะห์คุณค่าการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือมีคุณค่า ด้านความยุติธรรมในองค์การ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในองค์การ และด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
The objectives of this thesis ware as follows 1) to study the Organization Administration by the Principle of Good Governance, 2) to study the Organization Administration by the Principle of Good Governance according to Buddhist Approach and 3) to analyze the value of the Organization Administration by the Principle of Good Governance according to Buddhist Approach. The sample groups were the Tipitaka Commentaries. Texts and relevant researches. The thesis was the documentary qualitative research works. All the data, collected during January-September 2017, were then analyzed by content analysis and analytic induction. The results of research are found as follows: 1) The Principle of Good Governance for the Organization Administration is the good method for the management of the whole country including public sector, business sector, private sector and people sector to achieve the everyone happiness and well-being by the six principles as follows : (1) the principle of law (2) the principle of virtue (3) the principle of openness and transparency (4) the principle of participation (5) the principle of accountability and (6) the principle of effectiveness. 2) The Organization Administration by the Principle of Good Governance according to Buddhist Approach is the management of the organization following the Buddhist Doctrines to achieve effectively the given objectives including Brahmavihara 4, Iddhipada 4, Sappurisa-dhamma 7, Noble Eightfold Path and Raja-dhamma. 3) The results of the analysis of the values of the Organization Administration by the Principle of Good Governance according to Buddhist Approach are the value of the justice, the value of the reduction of the inequality and the value of the efficiency and effectiveness in the organization.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    การศึกษาการเปลี่ยนแปลงชุมชนปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา การเปลี่ยนแปลง และปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนทั้งสิ้น ๓๐ ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพนี้ คือ แบบสอบถามปลายเปิด จำนวน ๔ ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์ ตอนที่ ๒ บริบทชุมชนบ้านแม่เหาะ ตอนที่ ๓ สภาพชีวิตของชุมชนบ้านแม่เหาะ และตอนที่ ๔ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนบ้านแม่เหาะ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ อ้างอิงเปรียบเทียบข้อมูลในเอกสารงานวิจัยอื่น ๆ ผลการวิจัยพบว่า: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงชุมชนปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีวิดีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านปัจจัยภายในของสังคม และปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นจากกระแสของการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยใหม่ ซึ่งมีปัจจัยเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อชุมชนบ้านแม่เหาะควบคู่กันไป เหตุที่เป็นดังนี้ก็เนื่องมากจากการที่ระบบทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์มีความสัมพันธ์เชี่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ต้องการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชนปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงชุมชนปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา การเปลี่ยนแปลง และปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนทั้งสิ้น ๓๐ ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพนี้ คือ แบบสอบถามปลายเปิด จำนวน ๔ ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์ ตอนที่ ๒ บริบทชุมชนบ้านแม่เหาะ ตอนที่ ๓ สภาพชีวิตของชุมชนบ้านแม่เหาะ และตอนที่ ๔ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนบ้านแม่เหาะ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ อ้างอิงเปรียบเทียบข้อมูลในเอกสารงานวิจัยอื่น ๆ ผลการวิจัยพบว่า: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงชุมชนปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีวิดีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านปัจจัยภายในของสังคม และปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นจากกระแสของการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยใหม่ ซึ่งมีปัจจัยเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อชุมชนบ้านแม่เหาะควบคู่กันไป เหตุที่เป็นดังนี้ก็เนื่องมากจากการที่ระบบทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์มีความสัมพันธ์เชี่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ต้องการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชนปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
The objective of the Study of changes in the Karen Pagagayaw, Ban Mae Hoh Community, Mae Hoh Sub-District, Mae Sariang District, Mae Hong Son Province is to study the history, changing and factors that cause changing of the Pagagayaw people in Ban Mae Hoh, Mae Sariang District, Mae Hong Son Province. The population in this study is 30 cases living in Ban Mae Hoh community, Mae Sariang District, Mae Hong Son Province. The qualitative research tools were 4 sections of open-ended questionnaires, consisted of part 1) general information about interviewees, part 2) about Ban Mae Hoh community, part 3) about life conditions in Ban Mae Hoh and part 4) the community factors that cause changes within the Ban Mae Hoh community. The data was analyzed from the interview and the study of previous research papers. The research found that: From the study of changes in the Karen Pagagayaw, Ban Mae Hoh Community, Mae Hoh Sub-District, Mae Sariang District, Mae Hong Son Province, their way of life has different from the traditional practice in terms of internal factors like society and external factors arising from the current trend of changing according to the modern era for Ban. The important factor that results in the changes is both Internal and external factors. These factors will cause both positive and negative impacts to the Mae Hoh community in the same time. The reasons are that the social and cultural systems of human beings are constantly intertwined and therefore want to study the changes of the Karen Pagagayaw community, Ban Mae Hoh Community, Mae Sariang District, Mae Hong Son Province.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทฤษฎีญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค 3) เพื่อวิเคราะห์ญาณวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560 - มิถุนายน 2561 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: ญาณวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ล้วนเป็นสัจนิยม ที่เกี่ยวกับเรื่องความจริงเป็นหลัก และพบว่า บ่อเกิดของความรู้ มี 3 อย่าง คือ สุตะ-การศึกษา เล่าเรียน, จินตะ-การใคร่ครวญพิจารณา, และภาวนา-การทำให้เกิดขึ้น ทำให้มีขึ้นเจริญขึ้น เมื่อวิเคราะห์ญาณวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พบว่า มีอยู่ 4 ทฤษฎี คือ 1) ทฤษฎีเหตุผลนิยม จะใช้เพียงสุตะ การเรียนรู้ด้วย หรือจินตะ ใคร่ครวญ คงไม่อาจทำให้เข้าใจถึงธรรมชาติของจิตได้ 2) ทฤษฎีประจักษนิยม การนำเอาส่วนเดียวในสิกขา 3 ใช้มาเพื่อปฏิบัติถือเป็นทางที่ผิด 3) ทฤษฎีอนุมานนิยม บ่อเกิดของความรู้ 3 อย่าง คือ สุตะ จินตะและภาวนา 3 ส่วนนี้ทำให้ผลสมควรแก่เหตุ การกระทำตามขั้นตอนที่ถูก ผลที่หวังจึงจะสัมฤทธิ์ผล 4) ทฤษฎีอัชฌัตติกญาณนิยม ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ปัจจเวกขณญาณ เป็นญาณลำดับสุดท้ายของแต่ละอริยมรรค หรือญาณ 16 เป็นตัวตรวจสอบความว่าสังโยชน์ข้อใดขาดไปจากจิตสันดาน ยังเหลือกิจที่ยังต้องทำหรือไม่มีกิจอื่นที่ต้องทำ นี้จึงเป็นอัชฌัตติกญาณนิยม คือ ความรู้แจ้งภายใน
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทฤษฎีญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค 3) เพื่อวิเคราะห์ญาณวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560 - มิถุนายน 2561 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: ญาณวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ล้วนเป็นสัจนิยม ที่เกี่ยวกับเรื่องความจริงเป็นหลัก และพบว่า บ่อเกิดของความรู้ มี 3 อย่าง คือ สุตะ-การศึกษา เล่าเรียน, จินตะ-การใคร่ครวญพิจารณา, และภาวนา-การทำให้เกิดขึ้น ทำให้มีขึ้นเจริญขึ้น เมื่อวิเคราะห์ญาณวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พบว่า มีอยู่ 4 ทฤษฎี คือ 1) ทฤษฎีเหตุผลนิยม จะใช้เพียงสุตะ การเรียนรู้ด้วย หรือจินตะ ใคร่ครวญ คงไม่อาจทำให้เข้าใจถึงธรรมชาติของจิตได้ 2) ทฤษฎีประจักษนิยม การนำเอาส่วนเดียวในสิกขา 3 ใช้มาเพื่อปฏิบัติถือเป็นทางที่ผิด 3) ทฤษฎีอนุมานนิยม บ่อเกิดของความรู้ 3 อย่าง คือ สุตะ จินตะและภาวนา 3 ส่วนนี้ทำให้ผลสมควรแก่เหตุ การกระทำตามขั้นตอนที่ถูก ผลที่หวังจึงจะสัมฤทธิ์ผล 4) ทฤษฎีอัชฌัตติกญาณนิยม ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ปัจจเวกขณญาณ เป็นญาณลำดับสุดท้ายของแต่ละอริยมรรค หรือญาณ 16 เป็นตัวตรวจสอบความว่าสังโยชน์ข้อใดขาดไปจากจิตสันดาน ยังเหลือกิจที่ยังต้องทำหรือไม่มีกิจอื่นที่ต้องทำ นี้จึงเป็นอัชฌัตติกญาณนิยม คือ ความรู้แจ้งภายใน
The thesis served its specific purposes: 1) to study a theory on epistemology in Theravada Buddhist philosophy, 3) to pursue epistemology in Visuddhi Magga scripture, and 3) to analyze its essences in the scripture. The sampling groups comprised: The Tipitaka, commentaries, the target scripture, treatises and relevant research undertakings. It was derived from the qualitative methodology, the documentary research. Data were collected between October, B.E. 2560 and June, B.E. 2561. With these data, their essences were analyzed and inductive summaries constructed. Results of the research have found the following findings.: Epistemology in Theravada Buddhist philosophy is entire realism. It has found sources of knowledge with three types: 1) Suta, learning/hearing, 2) Cinta, active thoughts, 3) Bhavana, development, to make something happen/prosper. Upon analyzing types in the target scripture, they have found four theories: 1) Rationalism, it uses only learning or hearing (suta) or active thought (cinta); it may not have ones understand the nature of mind. 2) Empiricism, the introduction of one part of threefold trainings into practical uses is regarded as the wrong way. 3) Inductivism, its three sources of knowledge are: i) learning or hearing, ii) active thoughts, and iii) development. These elements make results fit causes. They are right acts. Expected outcomes can be achieved. 4) Internalism, knowledge emerges in mind. Knowledge of reviewing (paccavekkhana-nana) is the last insight of Noble Paths. It is the inspector to find whether or not any fetter is disappeared from the mind. Is there any task done or not done. The knowledge is internalism, internal clear knowledge.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสัมมาอาชีวะในมรรคมีองค์ 8 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะในมรรคมีองค์ 8 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560–มิถุนายน 2561 ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีวะในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 1) การแสวงหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบทั้งทางกายและทางวาจา ถูกต้องทั้งด้านกฎหมายและศีลธรรม 2) การครอบครองรักษาที่ดี ตามหลักการออมทรัพย์ทางพระพุทธศาสนาหรือหลักโภควิภาค 4 ได้แก่ ทรัพย์หนึ่งส่วน (25 %) ออมไว้ใช้สอยเลี้ยงชีพ ทรัพย์สองส่วน (50 %) ออมไว้ประกอบอาชีพและทรัพย์อีกหนึ่งส่วน (25 %) ออมไว้ในยามจำเป็นและใช้ทำบุญ 3) การบริโภคใช้จ่ายอย่างถูกต้อง เหมาะสมและพอเพียง โดยให้ความสำคัญด้านคุณค่ามากกว่ามูลค่า และเน้นคุณประโยชน์มากกว่าความคุ้มทุน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองแก่ผู้อื่นและแก่สังคม สัมมาอาชีวะเป็นหลักการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางจริยธรรมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคคลทั้งทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจ อีกทั้งเกิดคุณค่าต่อการพัฒนาปัญญาให้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต และยังมีคุณค่าต่อการเกื้อหนุนให้เกิดบุญกิริยามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางจริยธรรมต่อการเกื้อหนุนและส่งเสริม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อื่น และมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมส่วนรวมทั้งด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนเกื้อหนุนการพัฒนาระบบจริยธรรมทางสังคมด้านอื่น ๆ ให้เข้มแข็งและมั่นคง ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายที่ก่อให้เกิดความสุขมวลรวมของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสัมมาอาชีวะในมรรคมีองค์ 8 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะในมรรคมีองค์ 8 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560–มิถุนายน 2561 ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีวะในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 1) การแสวงหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบทั้งทางกายและทางวาจา ถูกต้องทั้งด้านกฎหมายและศีลธรรม 2) การครอบครองรักษาที่ดี ตามหลักการออมทรัพย์ทางพระพุทธศาสนาหรือหลักโภควิภาค 4 ได้แก่ ทรัพย์หนึ่งส่วน (25 %) ออมไว้ใช้สอยเลี้ยงชีพ ทรัพย์สองส่วน (50 %) ออมไว้ประกอบอาชีพและทรัพย์อีกหนึ่งส่วน (25 %) ออมไว้ในยามจำเป็นและใช้ทำบุญ 3) การบริโภคใช้จ่ายอย่างถูกต้อง เหมาะสมและพอเพียง โดยให้ความสำคัญด้านคุณค่ามากกว่ามูลค่า และเน้นคุณประโยชน์มากกว่าความคุ้มทุน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองแก่ผู้อื่นและแก่สังคม สัมมาอาชีวะเป็นหลักการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางจริยธรรมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคคลทั้งทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจ อีกทั้งเกิดคุณค่าต่อการพัฒนาปัญญาให้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต และยังมีคุณค่าต่อการเกื้อหนุนให้เกิดบุญกิริยามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางจริยธรรมต่อการเกื้อหนุนและส่งเสริม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อื่น และมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมส่วนรวมทั้งด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนเกื้อหนุนการพัฒนาระบบจริยธรรมทางสังคมด้านอื่น ๆ ให้เข้มแข็งและมั่นคง ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายที่ก่อให้เกิดความสุขมวลรวมของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น
The thesis served its specific purposes: 1) to study the way of leading one’s life in Theravada philosophy, 2) to examine Right Livelihood in Noble Eightfold Paths following Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the way of leading one’s life with Right Livelihood as such. As the documentary research, it was derived from the qualitative methodology. Data were studied out of The Tipitaka, commentaries, books and relevant research undertakings, collected between October B.E. 2560 and June B.E. 2561. Findings are the followings: Ways of leading one’s life following the principle of right livelihood in Buddhism is composed of two aspects. The first aspect is seeking for leading one’s life with physical, verbal, legal and moral decency. Another aspect is good possession and economy spending of incomes following criteria of four good divisions in Buddhism. One portion of incomes is provided for feeding family, accounting for 25 %. Two portions making up 50 % are allocated for doing careers. One portion is kept for saving in the rainy days and making merits. The further aspect is proper and sufficient consumption, placing more importance in true values than face values, putting more emphasis on benefits than cost effectiveness, with the aims for benefits of their own, others’ and society. Analyses of right livelihood have found that it has been treated as the foundation stone of leading one’s life with moral values for developing individual life in physical, verbal and mental channels. It creates values towards developing wisdom to logically think of leading one’s life and making great contribution to accumulating much more merits. In addition, leading one’s life following right livelihood still have moral values for assistance and support of others’ life. All in all, it also has values for developing society in common in governmental, political, economic area, including the support of developing the moral system of society to be strong and stable, which will lead to the target giving rise to the mass happiness of members in the society
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดพุทธปรัชญาการปกครองให้ทัศนะอันเป็นหลักการที่ประกอบด้วย คุณธรรม โดยกำหนดจุดมุ่งหมายไว้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของมหาชนตลอดทั้งเทวดา เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์โลก และสิ่งแวดล้อม พุทธปรัชญาเถรวาทให้ความสำคัญกับผู้ปกครองที่มีศีลธรรม ผู้ปกครองที่ดีจะต้องประพฤติปฏิบัติและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณะชน 2. การปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต ให้ทัศนะว่าการปกครองที่ดีที่สุด คือการบริหารจัดการหรือการปกครองอันเป็นกิจการสาธารณะ (The Republic) เพื่อประโยชน์สุข สันติ สงบ ของผู้ใต้ปกครอง ผู้ปกครองมีใจเป็นธรรม มีความยุติธรรม จากการปกครองโดยราชาผู้เป็นปราชญ์ 3. แนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต พบว่า มีลักษณะที่เหมือนกันในหลายแง่มุม คือ 1) มีลักษณะสังคมอุดมคติ 2) มีเป้าหมายทางการเมือง 3) ยึดหลักของประโยชน์สุขให้กับสังคมและคนหมู่มาก 4) สังคมที่ดีงามต้องใช้คุณธรรมและศีลธรรมเป็นรากฐานในการกำหนดคุณค่าสังคม 5) อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดพุทธปรัชญาการปกครองให้ทัศนะอันเป็นหลักการที่ประกอบด้วย คุณธรรม โดยกำหนดจุดมุ่งหมายไว้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของมหาชนตลอดทั้งเทวดา เพื่ออนุเคราะห์ สงเคราะห์โลก และสิ่งแวดล้อม พุทธปรัชญาเถรวาทให้ความสำคัญกับผู้ปกครองที่มีศีลธรรม ผู้ปกครองที่ดีจะต้องประพฤติปฏิบัติและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณะชน 2. การปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต ให้ทัศนะว่าการปกครองที่ดีที่สุด คือการบริหารจัดการหรือการปกครองอันเป็นกิจการสาธารณะ (The Republic) เพื่อประโยชน์สุข สันติ สงบ ของผู้ใต้ปกครอง ผู้ปกครองมีใจเป็นธรรม มีความยุติธรรม จากการปกครองโดยราชาผู้เป็นปราชญ์ 3. แนวคิดการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการปกครองตามหลักอุตมรัฐของเพลโต พบว่า มีลักษณะที่เหมือนกันในหลายแง่มุม คือ 1) มีลักษณะสังคมอุดมคติ 2) มีเป้าหมายทางการเมือง 3) ยึดหลักของประโยชน์สุขให้กับสังคมและคนหมู่มาก 4) สังคมที่ดีงามต้องใช้คุณธรรมและศีลธรรมเป็นรากฐานในการกำหนดคุณค่าสังคม 5) อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the concept of ruling in Theravada Buddhist philosophy. 2) to study the philosophy of the state of Plato. 3) to analyze the concepts of ruler ship in Theravada Buddhist philosophy and the state-based philosophy of Plato. The Result of this research were found as follows: 1. The concept of Buddhist philosophy of government has shown the views and practices that are the principles that comprise the rule of law. The purpose is for the happiness of the public. Theravada Buddhist Philosophy Focuses on Moral Guardians Good parents must behave. And control of their own behavior to the acceptance of the public. 2. The Rule of the State of Plato is the management or administration of the state (The Republic) to benefit the peace of the people. to be just to be fair and to be happiness from the philosopher king by the wise. 3. The concept of ruling in Theravada Buddhist philosophy and the philosophy of the state administration of Plato. 1) There is a social ideal. 2) It has a political purpose. 3) It is based on the principle of happiness for society and people. 4) A good society requires. Morality and morality are the foundation of a balanced. 5) Under natural rules.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    การศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวนทั้งสิ้น 25 ราย คัดเลือกผู้ที่อาศัยในพื้นที่เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า : การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดจากสภาพวิถีชีวิตของชุมชนในอดีตและปัจจุบัน ประกอบด้วยด้านครอบครัว ด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านศาสนาและวัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยี และมีสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในชุมชน ประกอบด้วยสาเหตุภายใน ได้แก่ สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ความต้องการทางด้านวัตถุ การยอมรับประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามาในชุมชน สาเหตุจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงแปลงไปด้วย และสาเหตุจากความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ส่วนสาเหตุภายนอก ได้แก่ เกิดจากสาเหตุด้านการพัฒนาของภาครัฐ และสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวนทั้งสิ้น 25 ราย คัดเลือกผู้ที่อาศัยในพื้นที่เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า : การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดจากสภาพวิถีชีวิตของชุมชนในอดีตและปัจจุบัน ประกอบด้วยด้านครอบครัว ด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านศาสนาและวัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยี และมีสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในชุมชน ประกอบด้วยสาเหตุภายใน ได้แก่ สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ความต้องการทางด้านวัตถุ การยอมรับประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามาในชุมชน สาเหตุจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงแปลงไปด้วย และสาเหตุจากความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ส่วนสาเหตุภายนอก ได้แก่ เกิดจากสาเหตุด้านการพัฒนาของภาครัฐ และสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
This is the study of the lifestyle and change of the Karen community in Phra Bath Huai Tom village, Na Sai Sub-district, Li District, Lamphun Province. This study aimed to study the lifestyle and changes of the Karen community in Phra Bath Huai Tom village, Na Sai Sub-district, Li District, Lamphun Province. The sample in this study was the 25 people who lived in Ban Phra Bath Huai Tom Karen community, Na Sai Sub-district, Li District, Lamphun Province. All of the participant must have lived in the area for at least 30 years. The research designed qualitatively in order to investigate the phenomena of the lifestyle changes of the Karen community in Ban Phra Bath Huai Tom, Na Sai Sub-district, Li District, Lamphun Province. Interviewing was the tool for data collection. The research finds that : Lifestyle changes of the Karen community Ban Phra Bath Huai Tom, Na Sai Sub-district, Li District, Lamphun Province are, most of data analysis presented comparing, a result of the past and present community lifestyle which was consisting of family, career, education, administration, religion and culture, and technology. Those are reasons why the cause changes in lifestyle in the community. The changes were consisting of internal causes because of the increasing of their population, the materialism trend, and the accepting of new traditions and cultures. That is the main reason why their lifestyle was changing. When Karen people received external culture, this makes the way of life changing as well as beliefs, traditions and culture. The external cause is affected by the development of local and centered government which changed their lifestyle of Karen community in Ban Phra Bath Huai Tom community, Na Sai Sub-district, Li District, Lamphun Province.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสันติภาพในพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) ศึกษาหลักเมตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท และ ๓) ศึกษาการสร้างสันติภาพในสังคมด้วยหลักเมตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นวิจัยทางด้านเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือ เอกสาร ผลงานวิจัยของนักวิชาการ ตลอดจนผลงานของผู้รู้ในทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง นำเนื้อหามาวิเคราะห์ แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ในพุทธปรัชญาเถรวาท สันติภาพ หมายถึง การที่จิตใจสงบหลุดพ้นแล้วจากกิเลสตัณหา เป็นสภาพจิตใจที่บรรลุถึงพระนิพพาน สันติภาพในพุทธปรัชญาเถรวาท แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ (๑) สันติภาพภายใน คือสภาพจิตใจที่เป็นอิสระจากความคิด หรืออารมณ์ ด้วยการปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรค ๘ เพื่อบรรลุถึงสันติภายในจิตใจที่เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ นิพพาน (๒) สันติภาพภายนอก คือสภาวะที่บุคคล สังคม ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่ฆ่าหรือทำร้ายร่างกายของกันและกัน ด้วยการปฏิบัติตามหลักเบญจศีลเบญจธรรม และกุศลกรรมบถ เพื่อทำให้กาย วาจาสงบ ดังนั้นสันติภาพภายในกับสันติภาพภายนอก จึงแยกกันไม่ออกต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เมตตา คือ ความรักสรรพสัตว์อย่างไม่มีขอบเขต เมตตาเป็นหลักธรรมที่สำคัญในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ เป็นพื้นฐานของการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ให้มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่ ให้เบียดเบียนกันทำให้มนุษย์และสัตว์ทั้งปวงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ด้วยการปฏิบัติเมตตามโนกรรม คือจะคิดสิ่งใดประกอบสิ่งใดก็ให้คิดด้วยเมตตา เมตตาวจีกรรม คือจะพูดจาสิ่งใดประกอบสิ่งใดก็ให้พูดจาด้วยเมตตา และเมตตากายกรรม คือจะกระทำการสิ่งใดประกอบสิ่งใดก็ให้กระทำด้วยเมตตา ดังนั้นการมีเมตตาอยู่ในจิตใจ จึงเปรียบเสมือนการทำความดีทั้งปวง ด้วยกาย วาจา ใจ มโนกรรมเป็นกรรมที่สำคัญที่สุดในการกำหนดการกระทำทั้งหมดของมนุษย์ เพราะเป็นจุด เริ่มต้นของกายกรรมและวจีกรรม การเจริญเมตตาจัดเป็นการปฏิบัติศาสนธรรมที่สำคัญต่อการเสริม สร้างสันติภาพ ๑) ในระดับบุคคล ได้แก่ การใช้หลักเมตตาในเบญจธรรม เบญจธรรม เป็นธรรมที่ดี สะอาด เพราะกำจัดธรรมที่ไม่สะอาด คือ โทสะ เป็นคุณธรรมคู่กับเบญจศีล เบญจศีลเป็นข้อที่ควรงดเว้น ส่วนเบญจธรรมเป็นข้อควรปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความความเรียบร้อยด้านกายกรรมและวจีกรรม ทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ๒) ในระดับสังคม ได้แก่ การใช้หลักเมตตาในพรหมวิหารธรรม เป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นภายในชีวิตจิตใจ หรือที่เรียกว่า มโนกรรม ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และส่งเสริมให้ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เช่นพระพรหม เป็นคุณธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างสันติสุข ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสันติภาพในตัวบุคคลจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างสันติภาพในสังคมอย่างแท้จริง
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสันติภาพในพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) ศึกษาหลักเมตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท และ ๓) ศึกษาการสร้างสันติภาพในสังคมด้วยหลักเมตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นวิจัยทางด้านเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือ เอกสาร ผลงานวิจัยของนักวิชาการ ตลอดจนผลงานของผู้รู้ในทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง นำเนื้อหามาวิเคราะห์ แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ในพุทธปรัชญาเถรวาท สันติภาพ หมายถึง การที่จิตใจสงบหลุดพ้นแล้วจากกิเลสตัณหา เป็นสภาพจิตใจที่บรรลุถึงพระนิพพาน สันติภาพในพุทธปรัชญาเถรวาท แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ (๑) สันติภาพภายใน คือสภาพจิตใจที่เป็นอิสระจากความคิด หรืออารมณ์ ด้วยการปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรค ๘ เพื่อบรรลุถึงสันติภายในจิตใจที่เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ นิพพาน (๒) สันติภาพภายนอก คือสภาวะที่บุคคล สังคม ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่ฆ่าหรือทำร้ายร่างกายของกันและกัน ด้วยการปฏิบัติตามหลักเบญจศีลเบญจธรรม และกุศลกรรมบถ เพื่อทำให้กาย วาจาสงบ ดังนั้นสันติภาพภายในกับสันติภาพภายนอก จึงแยกกันไม่ออกต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เมตตา คือ ความรักสรรพสัตว์อย่างไม่มีขอบเขต เมตตาเป็นหลักธรรมที่สำคัญในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ เป็นพื้นฐานของการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ให้มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่ ให้เบียดเบียนกันทำให้มนุษย์และสัตว์ทั้งปวงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ด้วยการปฏิบัติเมตตามโนกรรม คือจะคิดสิ่งใดประกอบสิ่งใดก็ให้คิดด้วยเมตตา เมตตาวจีกรรม คือจะพูดจาสิ่งใดประกอบสิ่งใดก็ให้พูดจาด้วยเมตตา และเมตตากายกรรม คือจะกระทำการสิ่งใดประกอบสิ่งใดก็ให้กระทำด้วยเมตตา ดังนั้นการมีเมตตาอยู่ในจิตใจ จึงเปรียบเสมือนการทำความดีทั้งปวง ด้วยกาย วาจา ใจ มโนกรรมเป็นกรรมที่สำคัญที่สุดในการกำหนดการกระทำทั้งหมดของมนุษย์ เพราะเป็นจุด เริ่มต้นของกายกรรมและวจีกรรม การเจริญเมตตาจัดเป็นการปฏิบัติศาสนธรรมที่สำคัญต่อการเสริม สร้างสันติภาพ ๑) ในระดับบุคคล ได้แก่ การใช้หลักเมตตาในเบญจธรรม เบญจธรรม เป็นธรรมที่ดี สะอาด เพราะกำจัดธรรมที่ไม่สะอาด คือ โทสะ เป็นคุณธรรมคู่กับเบญจศีล เบญจศีลเป็นข้อที่ควรงดเว้น ส่วนเบญจธรรมเป็นข้อควรปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความความเรียบร้อยด้านกายกรรมและวจีกรรม ทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ๒) ในระดับสังคม ได้แก่ การใช้หลักเมตตาในพรหมวิหารธรรม เป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นภายในชีวิตจิตใจ หรือที่เรียกว่า มโนกรรม ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และส่งเสริมให้ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เช่นพระพรหม เป็นคุณธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างสันติสุข ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสันติภาพในตัวบุคคลจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างสันติภาพในสังคมอย่างแท้จริง
The objectives of this thesis were as follows: 1) To study of peace formation in Theravada Buddhist philosophy, 2) To study the principle of metta in Theravada Buddhist philosophy, and 3) To study of peace formation in social by metta’s principle in Theravada buddhist philosophy. This was qualitative research collecting the data from the Tipitaka, documents and research works. The data were analyzed and the presented in a descriptive method. The results of the research were found as follows: In Theravada buddhist philosophy, peace mean the mind is calm are free from already defilements craving. This mind condition to attainment at Nibbana. The peace in Theravada Buddhist philosophy, distribute 2 kind is 1) Inner peace is a mental condition free from thought or emotion with the way middle path practice or the path 8. That attainment of ultimate peace of mind in the goal of life viz Nibbana. 2) Outer peace was the condition that a person, social, do not exploit each other. do not kill or injure of one another, with practice the five precepts, the five ennobling virtues and Wholesome course of action for make the body, the speech is calm. Thus the Inner peace with Outer peace, then separate don't go out must develop go to at the same time. Metta (loving-kindness) is aboundless love for all fellow beings. Metta is the essential principle in Theravada buddhist philosophy to control behavior of the human beings which makes ones to be generous, no injury to each other, the human beings and sentient being to stay together happily and to make peace for social. Metta behavior for Metta Manokamma (mental action) be will think an anything assembles an anything , think with be loving-kindness, Metta Vacakamma (verbal action) be will talk an anything assembles an anything, talk with be loving-kindness, Metta Kayakamma (bodily action) be will do an anything assembles an anything , do with be loving-kindness. Thus having loving-kindness is in the mind, Then compared as doing goodness whole, with a body, word and mind. Manokamma is an essential principle kamma in Buddhism for point action of all human beings because it’s begin of verbal action and bodily action. The practice of metta or loving-kindness is an essential part of the religious training necessary for the promotion of peace. 1) Individual level such as Metta’s principle in Pancadhamma meaning the goodness and the virtues as the means to eradicate Dosa. Five precepts and Pancadhamma are the pairs of each other. Five precepts is the factor for refraining and Pancadhamma is the factor for practicing both of which cause of verbal action and bodily action to the peace. (2) Social Level such as Metta’s principle in Brahmaviharadhamma, the virtues as the means to inside mind or Mettamanokamma in their life, and make people in the community to have the love, the goodwill to each other. There should listen the other’s opinions and should encourage to behave for excellent existence living and being guiltless person as Brahma. That will be virtues to live with one another peace. The relation between building peace will in a person then basically important base to will bring about to building peace in the social actually.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้1) เพื่อศึกษาสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนะการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาม กุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) สังกัดพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และแบบสัมภาษณ์สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการนำปฏิบัติธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X̅= 4.134) รองลงมาคือด้านเนื้อหาหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย (X̅=4.084) และมีค่าน้อยสุดคือด้านการวัดผลและการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย (X̅= 4.036) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแสดงธรรมและนำการปฏิบัติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านสถานภาพและการยอมรับนับถือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X̅=4.20) รองลงมาคือ ด้านความถนัดและความพึงพอใจในงาน (X̅=4.00) ด้านความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา (X̅= 3.95) และมีค่าน้อยสุดคือ ด้านการพิจารณาความดีความชอบและสวัสดิการ (X̅= 3.68) ตามลำดับ 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถกับสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถกับสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (rxy = 0.601) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะคล้อยตามกัน สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) รูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ด้านความรู้ ควรมีรูปแบบที่เน้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม จัดอบรมพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ด้านทักษะ ควรมีรูปแบบที่หลากหลายเพราะมีสถานศึกษาแต่ละพื้นที่พระสอนศีลธรรมไปปฏิบัติหน้าที่มีบริบทที่แตกต่างกันด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล ควรมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยดึงศักยภาพหรือบุคลิกลักษณะประจำตัวที่โดดเด่นของพระสอนศีลธรรมแต่ละรูปมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านทัศนคติและค่านิยม รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้1) เพื่อศึกษาสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนะการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนธรรมและการนำปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหาม กุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) สังกัดพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวน 222 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และแบบสัมภาษณ์สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการนำปฏิบัติธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X̅= 4.134) รองลงมาคือด้านเนื้อหาหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย (X̅=4.084) และมีค่าน้อยสุดคือด้านการวัดผลและการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย (X̅= 4.036) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแสดงธรรมและนำการปฏิบัติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านสถานภาพและการยอมรับนับถือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X̅=4.20) รองลงมาคือ ด้านความถนัดและความพึงพอใจในงาน (X̅=4.00) ด้านความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา (X̅= 3.95) และมีค่าน้อยสุดคือ ด้านการพิจารณาความดีความชอบและสวัสดิการ (X̅= 3.68) ตามลำดับ 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถกับสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถกับสภาพขีดความสามารถในการสอนธรรมและนำการปฏิบัติธรรมของพระสอนศีลธรรมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (rxy = 0.601) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะคล้อยตามกัน สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) รูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถพบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ด้านความรู้ ควรมีรูปแบบที่เน้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม จัดอบรมพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ด้านทักษะ ควรมีรูปแบบที่หลากหลายเพราะมีสถานศึกษาแต่ละพื้นที่พระสอนศีลธรรมไปปฏิบัติหน้าที่มีบริบทที่แตกต่างกันด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล ควรมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยดึงศักยภาพหรือบุคลิกลักษณะประจำตัวที่โดดเด่นของพระสอนศีลธรรมแต่ละรูปมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านทัศนคติและค่านิยม
ควรจะรูปแบบควรมีลักษณะที่หลากหลายสอดคล้องกับสถานการณ์ของปัญหาและควรมีการบูรณาการรูปแบบต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 5) ข้อเสนอแนะในการเพิ่มขีดความสามารถ พบว่า การส่งเสริมการศึกษาต่อของพระสอนศีลธรรมควรจะมีการส่งเสริมด้านการศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงาน การอบรม พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ควรจะเข้ารับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พระสอนศีลธรรมควรจะเข้าสัมมนาประจำปีควรจัดการศึกษาดูงานการปฏิบัติที่ดีและการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมแต่ละพื้นที่ ควรมีการศึกษาดูงานของหน่วยงาน ในสังกัดที่อยู่ต่างพื้นที่ เนื่องจากขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมแต่ละรูปนั้น ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเป็นรายบุคคล โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมตามความถนัด เน้นพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะตัว ทั้งนี้โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ควรจะเร่งดำเนินการตามแผนงานยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมอย่างเป็นรูปธรรม มีการวัดผลและประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน ในด้านตัวของพระสอนศีลธรรมแต่ละรูป ควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่รับผิดชอบ และควรมีการพัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอ
This research was composed of three objectives as follows; 1) To study the competency for Dhamma teaching and performing chief of school moral teaching monk. 2) To study the factors which are affected to Dhamma teaching component and performing chief of school moral teaching monk. 3) To present the guideline to promote Dhamma teaching competency and performing chief of school moral teaching monk. The population were composed of school moral teaching monksunder Mahamakut Buddhist University (central) for 222 persons under four provinces i.e. Bangkok, Nonthaburi, Pathum Thani and Samutprakarn. The instruments were questionnaire for quantitative research and qualitative research by in-depth interview sheet. The statistical analysis i.e. frequency, percentage, mean and standard deviation and to test the hypothesis by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and to present the tables for descriptive distribution. The findings were as follows; 1) The competency for Dhamma teaching and performing chief of school moral teaching monk by overview was at more level. When considered in each aspect found that the aspect of performing chief was the most level (x = 4.134) and followed up the aspect of curriculum (x = 4.084) and content, the aspect of curriculum, and the aspect of assessment was the lowest (x = 4.036) respectively. 2) The factors which are affected to Dhamma teaching competency and performing chief of school moral teaching monk by overview was at more level when classified in each aspect found that all are at more level from more to less as follows; the aspect of status and admiration was the highest mean (x = 4.20) and followed up the aspect of job satisfaction (x = 4.00) and commander regarding (x = 3.95) and the aspect of compensation and welfare was the lowest mean (x = 3.68) respectively. 3) The result of hypothesis test by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient for Dhamma teaching competency and performing chief of school moral teaching monk found that status factors and admiration are related with Dhamma teaching competency and performing chief in positive rather high level (r=0.601) at the statistical significance of .01 or to accordance relation with setting hypothesis. 4) The model for adding competency found that the aspect of knowledge there should have the model emphasized on motivation in work performance by promotion on studying in secular and religious studies to be trained usually for competency development. The aspect of skill, there should have variety of forms for difference of surroundings performance. The aspect of personnel personality, there should have standard form as unity by selection of specialist for adaption the aspect of attitude and value, there should have variety and accordance with problem situation and should have integration for any forms and same direction. 5) The guideline to promote Dhamma teaching competency found that they should be further studies of them. There should promote on education in curriculum which are concerned with school moral teaching. There should be trained on information technology in yearly. There should have study tour on good work performance and experience changing each other. There should have study tour for office to addition of competency according to special skill and they should perform according to strategic plan in competency development of moral teaching monk as touch ability. To have assessment as universal standard for each one. There should learn about work in responsible duty and usually develop oneself.
Note: รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ