Search results

264 results in 0.15s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ 3) เพื่อบูรณาการการบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญา 4) เพื่อนําเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการ”โดยมีระเบียบวิธีวิจัยคือ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ เอกสารวิชาการ แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้รูปแบบใหม่เกี่ยวกับการบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ จากการประยุกต์ใช้แนวทางในการบริโภคสื่อออนไลน์ของ Renee Hobbs ว่าด้วยแนวทางในการบริโภคสื่อออนไลน์อย่างรู้เท่าทัน ร่วมกับปัญหาและแนวทางการแก้ใขการบริโภคสื่อออนไลน์ พฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์สามารถแบ่งออกมาเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึงสื่อ 2) ด้านการวิเคราะห์สื่อ 3) ด้านการสะท้อนสื่อ และ 4) ด้านการประเมินสื่อ 2. หลักพุทธปัญญาที่นำมาส่งเสริมและแก้ใขปัญหาในการบริโภคสื่อออนไลน์ในสังคมไทย 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเข้าถึงสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักสัมมาสติ หลักสัมมาสมาธิ และหลักอินทรียสังวร 2) ด้านการวิเคราะห์สื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักกาลามสูตร 3) ด้านการสะท้อนสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักสัมมาวาจา และ 4) ด้านการประเมินสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักโยนิโสมนสิการ 3. เมื่อนำหลักพุทธปัญญาที่เหมาะสมมาบูรณาการเพื่อส่งเสริมและแก้ใขปัญหาการบริโภคสื่อออนไลน์ในแต่ละด้าน ทั้ง 4 ด้าน ทำให้เกิดคุณสมบัติ คือ 1) เป็นผู้ตั้งใจในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ 2) มีการวิเคราะห์ด้วยปัญญา 3) ปฏิสัมพันธ์ด้วยความสุภาพ และ 4) มีการประเมินที่แท้จริง 4. องค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวจากการวิจัยเกี่ยวกับ การบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการ คือ AWPS MODEL A = Attention Access หมายถึง การตั้งใจในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ กำหนดเป้าหมายก่อนเข้าใช้งาน ไม่คล้อยไปตามอารมณ์สื่อระหว่างใช้ และตั้งใจจนจบการใช้งาน W = Wisdom Analysis หมายถึง การวิเคราะห์ด้วยปัญญา ในเนื้อหาสื่อด้วยความรู้ ประสบการณ์ ในข้อเท็จจริง คุณค่า ประโยชน์ที่ปรากฏในสื่อตามความเป็นจริงตามสภาวธรรม P = Polite Reflection (Interaction) หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ด้วยความสุภาพต่อกันในสังคมสื่อออนไลน์ มีการแชร์เนื้อหาสื่อ การแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก S = Substantive Evaluation หมายถึง การประเมินที่แท้จริงต่อเนื้อหาความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง คุณค่า ผลกระทบ ข้อดีข้อเสียของสื่อออนไลน์ก่อนนำไปใช้ประโยชน์
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ 3) เพื่อบูรณาการการบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญา 4) เพื่อนําเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการ”โดยมีระเบียบวิธีวิจัยคือ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ เอกสารวิชาการ แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้รูปแบบใหม่เกี่ยวกับการบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์ จากการประยุกต์ใช้แนวทางในการบริโภคสื่อออนไลน์ของ Renee Hobbs ว่าด้วยแนวทางในการบริโภคสื่อออนไลน์อย่างรู้เท่าทัน ร่วมกับปัญหาและแนวทางการแก้ใขการบริโภคสื่อออนไลน์ พฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์สามารถแบ่งออกมาเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึงสื่อ 2) ด้านการวิเคราะห์สื่อ 3) ด้านการสะท้อนสื่อ และ 4) ด้านการประเมินสื่อ 2. หลักพุทธปัญญาที่นำมาส่งเสริมและแก้ใขปัญหาในการบริโภคสื่อออนไลน์ในสังคมไทย 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเข้าถึงสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักสัมมาสติ หลักสัมมาสมาธิ และหลักอินทรียสังวร 2) ด้านการวิเคราะห์สื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักกาลามสูตร 3) ด้านการสะท้อนสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักสัมมาวาจา และ 4) ด้านการประเมินสื่อ ใช้หลักพุทธปัญญา คือ หลักโยนิโสมนสิการ 3. เมื่อนำหลักพุทธปัญญาที่เหมาะสมมาบูรณาการเพื่อส่งเสริมและแก้ใขปัญหาการบริโภคสื่อออนไลน์ในแต่ละด้าน ทั้ง 4 ด้าน ทำให้เกิดคุณสมบัติ คือ 1) เป็นผู้ตั้งใจในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ 2) มีการวิเคราะห์ด้วยปัญญา 3) ปฏิสัมพันธ์ด้วยความสุภาพ และ 4) มีการประเมินที่แท้จริง 4. องค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวจากการวิจัยเกี่ยวกับ การบริโภคสื่อออนไลน์ด้วยพุทธปัญญาบูรณาการ คือ AWPS MODEL A = Attention Access หมายถึง การตั้งใจในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ กำหนดเป้าหมายก่อนเข้าใช้งาน ไม่คล้อยไปตามอารมณ์สื่อระหว่างใช้ และตั้งใจจนจบการใช้งาน W = Wisdom Analysis หมายถึง การวิเคราะห์ด้วยปัญญา ในเนื้อหาสื่อด้วยความรู้ ประสบการณ์ ในข้อเท็จจริง คุณค่า ประโยชน์ที่ปรากฏในสื่อตามความเป็นจริงตามสภาวธรรม P = Polite Reflection (Interaction) หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ด้วยความสุภาพต่อกันในสังคมสื่อออนไลน์ มีการแชร์เนื้อหาสื่อ การแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก S = Substantive Evaluation หมายถึง การประเมินที่แท้จริงต่อเนื้อหาความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง คุณค่า ผลกระทบ ข้อดีข้อเสียของสื่อออนไลน์ก่อนนำไปใช้ประโยชน์
The objectives of this dissertation are as follows: 1) to study online media consumption behavior, 2) to study Buddhist wisdom related to online media consumption behavior, 3) to integrate online media consumption with Buddhist wisdom, and 4) to present a body of knowledge on "Consumption of online media integrated with Buddhist wisdom". The data of this documentary qualitative research were collected from documents, related research works and in-depth interviews with 15 experts. The collected data were analyzed and synthesized and then presented in a descriptive method. The study results showed that: 1. Online media consumption behaviours based on the application of Renee Hobbs's Guide in Online Media Consumption Guidelines for Consciously Consuming Online Media together with problems and solutions for consuming online media can be divided into 4 aspects: 1) Media Access, 2) Media Analysis, 3) Media Reflection, and 4) Media Assessment. 2. Principles of Buddhist wisdom used to promote online media consumption and solve problems in online media consumption in Thai society are in 4 aspects: 1) the principle of right mindfulness (Sammāsati), the principle of right concentration (Sammāsamāthi), and the principles of sense-restraint (Indarīyasamvara) are for media accessibility, 2) the principles of Kalama Sutta (Kālāmasutta) are for media analysis, 3) the reflection of the media using the Buddha-wisdom principle, i.e. the principle of right speech (Sammāvācā) is for the media reflection, and 4) the principle of Yonisomanasikāra is for media assessment. 3. When the Buddhist wisdom is appropriately integrated to promoting online media consumption and solving online media consumption problems, it causes the 4 qualifications: 1) to access online media intentionally, 2) to analyze the media by wisdom, 3) to express polite interactions, and 4) to have true evaluation. 4. The body of knowledge gained from the study can be concluded into “AWPS MODEL”. A stands for Attention Access, W for Wisdom Analysis, P for Polite Interaction, and S is for Substantive Rate.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาชีวิตและการดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด19 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมกับการดูแลคุณภาพชีวิตในยุคโควิด 19 3) เพื่อบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เรื่อง การบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด19 โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลักและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 รูป/คนกลุ่มสายงานด้านการดูแลสุขภาพ จำนวน 5 คนตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบในสถานการณ์โควิด 19 จำนวน 5 คนรวมทั้งสิ้น จำนวน 15 รูป/คนวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า: 1. สภาพปัญหาชีวิตในสถานการณ์โควิด19 ทำให้พบสภาพปัญหาชีวิตที่ปรากฏในสถานการณ์โควิด 19 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านจิตใจมีความเครียดความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น 2) ปัญหาด้านสังคมวิถีการดำเนินชีวิต การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การตกงาน ส่งผลถึงครอบครัว สังคม ประเพณีและวิถีปฏิบัติ 3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจในหลายกลุ่มประชากร การตกงาน การขาดรายได้และมีผลกระทบที่รุนแรงและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น 2. หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมกับการที่จะนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตประกอบด้วย 1)พรหมวิหารธรรม 4 หลักธรรมประจำใจอันประเสริฐธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ 2) สังคหวัตถุ 4 หลักการสงเคราะห์กันในสังคม เป็นธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กันยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน 3) ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 หลักการสร้างประโยชน์ในปัจจุบัน เป็นธรรมที่สร้างความสุขให้กับบุคคลผู้ดำเนินชีวิตในปัจจุบัน 3. การบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 พบว่า ปัญหาด้านจิตใจได้นำหลักพรหมวิหาร 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิตปัญหาด้านสังคมได้นำหลักสังคหวัตถุ 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิต ปัญหาด้านเศรษฐกิจได้นำหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิต 4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “MSE Strong” โมเดลM มาจาก Mentally Strong มีความเข้มแข็งทางจิตใจ S มาจาก Socially Strong มีความเข้มแข็งทางสังคมและ E มาจาก Economic Strong มีความเข้มแข็งเศรษฐกิจ เป็นความรู้ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 ได้เป็นอย่างดี
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาชีวิตและการดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด19 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมกับการดูแลคุณภาพชีวิตในยุคโควิด 19 3) เพื่อบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เรื่อง การบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด19 โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลักและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 รูป/คนกลุ่มสายงานด้านการดูแลสุขภาพ จำนวน 5 คนตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบในสถานการณ์โควิด 19 จำนวน 5 คนรวมทั้งสิ้น จำนวน 15 รูป/คนวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า: 1. สภาพปัญหาชีวิตในสถานการณ์โควิด19 ทำให้พบสภาพปัญหาชีวิตที่ปรากฏในสถานการณ์โควิด 19 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านจิตใจมีความเครียดความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น 2) ปัญหาด้านสังคมวิถีการดำเนินชีวิต การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การตกงาน ส่งผลถึงครอบครัว สังคม ประเพณีและวิถีปฏิบัติ 3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจในหลายกลุ่มประชากร การตกงาน การขาดรายได้และมีผลกระทบที่รุนแรงและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น 2. หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมกับการที่จะนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตประกอบด้วย 1)พรหมวิหารธรรม 4 หลักธรรมประจำใจอันประเสริฐธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ 2) สังคหวัตถุ 4 หลักการสงเคราะห์กันในสังคม เป็นธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กันยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน 3) ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 หลักการสร้างประโยชน์ในปัจจุบัน เป็นธรรมที่สร้างความสุขให้กับบุคคลผู้ดำเนินชีวิตในปัจจุบัน 3. การบูรณาการหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 พบว่า ปัญหาด้านจิตใจได้นำหลักพรหมวิหาร 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิตปัญหาด้านสังคมได้นำหลักสังคหวัตถุ 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิต ปัญหาด้านเศรษฐกิจได้นำหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 เข้ามาบูรณาการดูแลคุณภาพชีวิต 4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “MSE Strong” โมเดลM มาจาก Mentally Strong มีความเข้มแข็งทางจิตใจ S มาจาก Socially Strong มีความเข้มแข็งทางสังคมและ E มาจาก Economic Strong มีความเข้มแข็งเศรษฐกิจ เป็นความรู้ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 ได้เป็นอย่างดี
The objectives of this dissertation were: 1) to study the state of life problems in the situation of COVID-19, 2) to study the principles of Theravada Buddhist philosophy suitable to take care of the quality of life in the situation of COVID-19, 3) to integrate the Theravada Buddhist philosophy to take care of the quality of life in the situation of COVID-19, and 4) to propose the body of knowledge on integration of Theravada Buddhist philosophy in taking care of the quality of life in the situation of COVID-19. The data used in the study were collected from the Tipitaka, textbooks, related documents, in-depth interviews with 5 Buddhist scholars, 5 health care personnel, and 5 Covid-19 patients. The data were analyzed by content analysis and presented in a descriptive form. The results of the research showed that: 1. The state of life problems in the situation of COVID-19 that causes the quality of life in 3 aspects: 1) psychological problems, increase of stress and anxiety, 2) social problems, lifestyle, restrictions on rights and freedom, and unemployment affecting family, society, traditions and ways of life, and 3) economic problems in many demographic groups, unemployment, and lack of income. It has a severe impact to life and no tendency to recover. 2. The principles of Theravada Buddhist philosophy suitable to improve the quality of life consist of: 1) Brahmawihara Dhamma or the sublime states of mind, 2)Sangahavatthu Dhamma or principles of service and social integration, and 3) Ditthadhammikattha or sources of happiness in the present life. 3. The integration of Theravada Buddhist philosophy in taking care of quality of life in the situation of COVID-19 found that psychological problems should be integrated with Brahmavihara Dhamma principles, social problems should be integrated with Sangahavatthu principles, and economic problems should be integrated Ditthadhammikattha principles. 4. The new body of knowledge obtained from the study can be concluded into the “MSE Strong Model”. M is from Mentally Strong, S from Socially Strong, and E from Economic Strong. This model can be appropriately applied to take care of the quality of life in the Covid-19 situation.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ดัง เพื่อศึกษาปรากฎการณ์หลักของโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีของโรงเรียนธรรมวิถี จากมุมมองของคนที่อยู่ในปรากฏการณ์ว่ามีลักษณะอย่างไร มีสาเหตุหรือมีปัจจัยจากอะไร เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ ที่โรงเรียนธรรมวิถี ได้นำมาใช้จนเป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีได้ว่ามียุทธศาสตร์อะไรบ้าง โดยมีเงื่อนไขเชิงบริบทเฉพาะ และเงื่อนไขสอดแทรกทั่วไป ที่มีผลต่อการเลือกใช้ยุทธศาสตร์เหล่านั้น เพื่อศึกษาผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากการใช้ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนธรรมวิถีได้เลือกนำมาใช้จนทำให้เป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดี ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีหลายประเด็น ได้แก่ แนวทางการเริ่มต้นโรงเรียนวิถีพุทธ ทราบสาเหตุหรือมีปัจจัยสภาพปัญหาของสังคมเด็กขาดเรียน ปัญหาเด็กที่มาเรียนแต่ไม่ยอมเข้าแถว ปัญหาเด็กไม่ค่อยฟังพ่อแม่ ปัญหาของเด็กในสภาพลูกเทวดา ปัญหาที่เด็กชอบแข่งจักรยานยนต์ หนีเที่ยวไม่ยอมเข้าเรียน โรงเรียนพยายามสร้างความตระหนักให้กับคุณครู ต่อสภาพปัญหาเหล่านี้เด็กของเราจะสามารถอยู่ได้ในสังคมหรือไม่ ในเมื่อเราเป็นคุณครูจุดประสงค์หลักของเราก็คือต้องหาวิธีการที่จะสร้างความมีคุณธรรมจริยธรรมติดตัวนักเรียนออกไปสู่สังคมเพราะตัวนักเรียนคือผลิตผลของหน่วยงานเราหรือของโรงเรียน ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนได้นำมาใช้ดำเนินการในเรื่องนี้ปรับได้ตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ได้อย่างชัดเจน สำหรับแนวคิดเบื้องต้น ของการจัดสภาพในสถานศึกษา ที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ด้านกายภาพ โรงเรียนจะจัดอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม ห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศีล สมาธิ และปัญญา ได้แก่ มีศาลาพระพุทธรูป เด่นเหมาะสม ที่จะชวนให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยอยู่เสมอ มีมุมหรือห้องให้ศึกษาพุทธธรรม บริหารจิต เจริญภาวนาเหมาะสมหรือมากพอที่จะบริการผู้เรียน หรือการตกแต่งบริเวณให้เป็นธรรมชาติ หรือใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีใจสงบ และส่งเสริมปัญญา ได้แก่ ร่มรื่น มีป้ายนิเทศ ป้ายคุณธรรม ดูแลเสียงต่าง ๆ ไม่ให้อึกทึก ถ้าเปิดเพลงกระจายเสียงก็พิถีพิถันเลือกเพลงที่ส่งเสริมสมาธิ ประเทืองปัญญา เป็นต้น 2. ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต สถานศึกษาจัดกิจกรรมวิถีชีวิต ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือในโอกาสต่าง ๆ เป็นภาพรวมทั้งสถานศึกษา ที่เป็นการปฏิบัติบูรณาการทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา โดยเน้นการมีวิถีชีวิต หรือวัฒนธรรมของการกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นไปตามคุณค่าแท้ของการดำเนินชีวิต 3. ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ สถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศของการใฝ่เรียนรู้ และพัฒนาไตรสิกขา หรือส่งเสริมการมีวัฒนธรรม แสวงปัญญา และมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน มีบรรยากาศของการเคารพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มแจ่มใส การมีความเมตตากรุณาต่อกัน ทั้งครูต่อนักเรียน นักเรียนต่อครู นักเรียนต่อนักเรียน และครูต่อครูด้วยกัน และโรงเรียนส่งเสริมให้บุคลากร และนักเรียนปฏิบัติตน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เช่น การลด ละ เลิกอบายมุขการเสียสละ เป็นต้น 4.
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ดัง เพื่อศึกษาปรากฎการณ์หลักของโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีของโรงเรียนธรรมวิถี จากมุมมองของคนที่อยู่ในปรากฏการณ์ว่ามีลักษณะอย่างไร มีสาเหตุหรือมีปัจจัยจากอะไร เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ ที่โรงเรียนธรรมวิถี ได้นำมาใช้จนเป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีได้ว่ามียุทธศาสตร์อะไรบ้าง โดยมีเงื่อนไขเชิงบริบทเฉพาะ และเงื่อนไขสอดแทรกทั่วไป ที่มีผลต่อการเลือกใช้ยุทธศาสตร์เหล่านั้น เพื่อศึกษาผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากการใช้ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนธรรมวิถีได้เลือกนำมาใช้จนทำให้เป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดี ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีหลายประเด็น ได้แก่ แนวทางการเริ่มต้นโรงเรียนวิถีพุทธ ทราบสาเหตุหรือมีปัจจัยสภาพปัญหาของสังคมเด็กขาดเรียน ปัญหาเด็กที่มาเรียนแต่ไม่ยอมเข้าแถว ปัญหาเด็กไม่ค่อยฟังพ่อแม่ ปัญหาของเด็กในสภาพลูกเทวดา ปัญหาที่เด็กชอบแข่งจักรยานยนต์ หนีเที่ยวไม่ยอมเข้าเรียน โรงเรียนพยายามสร้างความตระหนักให้กับคุณครู ต่อสภาพปัญหาเหล่านี้เด็กของเราจะสามารถอยู่ได้ในสังคมหรือไม่ ในเมื่อเราเป็นคุณครูจุดประสงค์หลักของเราก็คือต้องหาวิธีการที่จะสร้างความมีคุณธรรมจริยธรรมติดตัวนักเรียนออกไปสู่สังคมเพราะตัวนักเรียนคือผลิตผลของหน่วยงานเราหรือของโรงเรียน ยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนได้นำมาใช้ดำเนินการในเรื่องนี้ปรับได้ตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ได้อย่างชัดเจน สำหรับแนวคิดเบื้องต้น ของการจัดสภาพในสถานศึกษา ที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ด้านกายภาพ โรงเรียนจะจัดอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม ห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศีล สมาธิ และปัญญา ได้แก่ มีศาลาพระพุทธรูป เด่นเหมาะสม ที่จะชวนให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยอยู่เสมอ มีมุมหรือห้องให้ศึกษาพุทธธรรม บริหารจิต เจริญภาวนาเหมาะสมหรือมากพอที่จะบริการผู้เรียน หรือการตกแต่งบริเวณให้เป็นธรรมชาติ หรือใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีใจสงบ และส่งเสริมปัญญา ได้แก่ ร่มรื่น มีป้ายนิเทศ ป้ายคุณธรรม ดูแลเสียงต่าง ๆ ไม่ให้อึกทึก ถ้าเปิดเพลงกระจายเสียงก็พิถีพิถันเลือกเพลงที่ส่งเสริมสมาธิ ประเทืองปัญญา เป็นต้น 2. ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต สถานศึกษาจัดกิจกรรมวิถีชีวิต ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือในโอกาสต่าง ๆ เป็นภาพรวมทั้งสถานศึกษา ที่เป็นการปฏิบัติบูรณาการทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา โดยเน้นการมีวิถีชีวิต หรือวัฒนธรรมของการกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นไปตามคุณค่าแท้ของการดำเนินชีวิต 3. ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ สถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศของการใฝ่เรียนรู้ และพัฒนาไตรสิกขา หรือส่งเสริมการมีวัฒนธรรม แสวงปัญญา และมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน มีบรรยากาศของการเคารพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มแจ่มใส การมีความเมตตากรุณาต่อกัน ทั้งครูต่อนักเรียน นักเรียนต่อครู นักเรียนต่อนักเรียน และครูต่อครูด้วยกัน และโรงเรียนส่งเสริมให้บุคลากร และนักเรียนปฏิบัติตน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เช่น การลด ละ เลิกอบายมุขการเสียสละ เป็นต้น 4.
ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยบุคลากรในสถานศึกษา ร่วมกับผู้ปกครอง และชุมชน สร้างความตระหนักและศรัทธา รวมทั้งเสริมสร้างปัญญาเข้าใจในหลักการและวิธีดำเนินการโรงเรียนวิถีพุทธร่วมกัน ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพยายามสนับสนุน และการปฏิบัติตนเอง ที่จะสนับสนุนและเป็นตัวอย่างในการพัฒนาผู้เรียน ตามวิถีชาวพุทธ สถานศึกษาวิเคราะห์จัดจุดเน้น หรือรูปแบบรายละเอียดโรงเรียนวิถีพุทธ ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนวิถีพุทธได้ปรับใช้ตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ได้อย่างชัดเจน ของการจัดสภาพในสถานศึกษา ที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ มีลักษณะให้นักเรียนเป็นคนดีในสังคม หลังจากจบจากโรงเรียนไป ผลพลอยได้ทำให้บุคลากร ครู ผู้บริหารมีหลักธรรมและนำวิถีพุทธ/วิถีธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันและงานที่รับผิดชอบ ส่วนนักเรียนเป็นผู้มีความอ่อนน้อม แยกความดีความชั่วอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักเสียสละ มีน้ำใจช่วยเหลือตนเองและส่วนรวม สังคมและโรงเรียนที่เราอาศัยอยู่จะได้มีการพัฒนาทั้งระบบ ครอบครัว ชุมชน สังคมขนาดใหญ่ ผลสืบเนื่องที่เกิดจากการใช้ยุทธศาสตร์โรงเรียนวิถีพุทธเกี่ยวกับด้านโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมีคุณภาพและมาตรฐาน ความภาคภูมิใจในงาน และการยอมรับจากภายนอกและด้านชุมชน ได้แก่ การขยายจิตสํานึกโรงเรียนวิถีพุทธ
The objectives of this research were as follows: to study the main phenomenon of the Buddhist school as a good example of the Dhammawithi School from the point of view of the person in the phenomenon, what does it look like? What are the causes or what are the factors, to study strategies Dhammavithi School has been using to be a good example of Buddhist school as well as specific contextual conditions and general interpolation conditions that affect the choice of those strategies, and to study the sequel resulting of applying strategies that Dhammavithi School has chosen. The results showed that Characteristics of being a good model of Buddhist school include many issues, for example, the way to start a Buddhist school, acknowledging the cause or factors of the problematic conditions of the present society. School is trying to raise awareness among teachers about problems of students and students will be able to survive or not. Being a teacher, the core job is to build moral ethics within the students because they are future of our society. The strategies adopted by the school in this regard can be adapted according to the guidelines of the Four Principles of Wisdom as follows: 1. Physical: the school will arrange buildings, premises, environments, classrooms, and learning centers that promote the development of morality, concentration and wisdom, such as having a pavilion of outstanding Buddha images that will always remind students of the Triple Gem. There is a corner or room for studying the Buddha Dharma, mental management, and meditation appropriate or enough to serve the learners. or decorate the area to be natural or close to nature. 2. Basic activities of life style: educational institutions organize daily or weekly lifestyle activities on various occasions. It is an integrated practice of morality, concentration, and wisdom, emphasizing on the way of life. 3. Atmosphere and interaction: educational institutions promote an atmosphere of learning and develop the triad or promote cultural, intellectual pursuit and friendly interactions. There is an atmosphere of respect and humility. 4. School management: educational personnel together with parents and the community raise awareness and faith as well as enhance wisdom and understand principles and methods of administrating Buddhist schools together. The terms affecting the choice of those strategies adapting the Four Principles of Wisdom enhance learners’ development along with Trisikha. Students tend to be a good citizen and behave well after graduating from school. All educational personnel should apply the principle in their daily life as well. This will create affect the school and society. Consequences arising from the implementation of the Buddhist school strategy concerning schools are: schools have quality and standards. pride in work and acceptance from outside and from the community, such as expanding awareness of Buddhist schools
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ 3) บูรณาการการส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 5 รูป/คนกลุ่มข้าราชการ 5 คน กลุ่มนักวิชาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2 คน รวมจำนวน 17 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ เน้นส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทางกายภาพเพื่อความเจริญเติบโตพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทางการค้า ทางการเมืองมากกว่า ส่วนด้านจิตใจควรมีการส่งเสริมหลักพุทธปรัชญาเถรวาทให้เด่นชัด 2) หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาส่งเสริม เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริงทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา 3) การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทบูรณาการกันได้ดังนี้(1) ศีล ส่งเสริมความมั่นคง (2) สมาธิ ส่งเสริมความมั่งคั่ง และ (3) ปัญญา ส่งเสริมความยั่งยืน 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยนี้ เรียกว่า “PAU MODEL” ซึ่งได้แก่ (1) ส่งเสริมความมั่นคงด้วย Precept คือ ความเป็นพื้นฐานแห่งคุณงามความดี ความเป็นปกติของมนุษย์ทั่วไปและข้อห้าม กฎระเบียบของสังคม (2) ส่งเสริมความมั่งคั่ง ด้วย Attention คือ ความสงบร่มเย็นของจิตใจทำให้สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนด้วย Understanding คือ ความรอบรู้ในการดำเนินชีวิตรวมถึงความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และความฉลาดเฉียบแหลมในหนทางที่จะสร้างความเจริญได้อย่างยั่งยืน
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ 3) บูรณาการการส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 5 รูป/คนกลุ่มข้าราชการ 5 คน กลุ่มนักวิชาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2 คน รวมจำนวน 17 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ เน้นส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทางกายภาพเพื่อความเจริญเติบโตพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทางการค้า ทางการเมืองมากกว่า ส่วนด้านจิตใจควรมีการส่งเสริมหลักพุทธปรัชญาเถรวาทให้เด่นชัด 2) หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาส่งเสริม เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริงทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา 3) การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทบูรณาการกันได้ดังนี้(1) ศีล ส่งเสริมความมั่นคง (2) สมาธิ ส่งเสริมความมั่งคั่ง และ (3) ปัญญา ส่งเสริมความยั่งยืน 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัยนี้ เรียกว่า “PAU MODEL” ซึ่งได้แก่ (1) ส่งเสริมความมั่นคงด้วย Precept คือ ความเป็นพื้นฐานแห่งคุณงามความดี ความเป็นปกติของมนุษย์ทั่วไปและข้อห้าม กฎระเบียบของสังคม (2) ส่งเสริมความมั่งคั่ง ด้วย Attention คือ ความสงบร่มเย็นของจิตใจทำให้สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์ และความมุ่งมั่นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนด้วย Understanding คือ ความรอบรู้ในการดำเนินชีวิตรวมถึงความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และความฉลาดเฉียบแหลมในหนทางที่จะสร้างความเจริญได้อย่างยั่งยืน
The objectives of this Dissertation are: 1) to study the vision in National Strategies in Stability, Prosperity, and Sustainability, 2) to study Buddhist philosophy which promotes vision in national strategy, 3) to integrate the promotion of vision in national strategy with Theravăda Buddhist philosophy, and 4) to present new knowledge on “Promotion of vision in National strategy according to Theravăda Buddhist Philosophy”. The research is a qualitative research and the data were collected by in-depth interviews with 5 Buddhist scholars, 5 civil servants, 5 scholars of the National Strategic Plan, and 2 experts in 20 Years National Strategic Planning. The data were analyzed by content analysis and the results of synthesis contents were presented in descriptive method. The results showed that: 1) A vision in National Strategies was focused on promoting Physical stability, Prosperity and Sustainability for growth and development in Economics, Society and Politics more than mental development. Mental development should be promoted by Theravăda Buddhist philosophy. 2) The principles of Theravăda Buddhist philosophy to promote Stability, Prosperity and Sustainability of materials and mind are Sila, Samadhi and Panna. 3) Integration to promotion of vision in national strategy according to Theravăda Buddhist philosophy can be done as follows: (1) Stability is promoted by Precepts, (2) Prosperity is promoted by Attention, and (3) Sustainability is promoted by Understanding. 4) A new body of knowledge gained from this research is called “PAU MODEL”, which is (1) promotion Stability with Precept namely the foundation of virtue, common humanity, laws and regulations of society, (2) promotion Prosperity with Attention namely peace of mind enabling creative thinking and concentration to the goals set, and (3) promotion Sustainability with Understanding namely knowledge of lifestyle, and knowledge of transference of the world situation and geniuses in creating sustainable prosperity.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ ให้กับนักเรียนโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงจร ๆ ละ 1 ภาคการศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในบริบทเฉพาะของโรงเรียนเนินสง่าวิทยา จังหวัดชัยภูมิ มีครูเป็นผู้ร่วมวิจัย 13 คน และมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 191 คนเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ผลการวิจัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง คือ จากการเปรียบเทียบ 3 ระยะ คือ ก่อนและหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 1 และหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีการกระทำเพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ ให้กับนักเรียนที่สูงขึ้นกว่าเดิมตามลำดับ และนักเรียนมีทักษะภาวะผู้นำที่สูงขึ้นกว่าเดิมตามลำดับเช่นกัน ในขณะเดียวกันคณะผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษาก็เกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่า การพัฒนาใด ๆ ที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมหรือหลักการประชาธิปไตยจะทำให้ผลการพัฒนามีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น รวมทั้งได้องค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีฐานรากจากการปฏิบัติในงานวิจัยนี้ เรียกว่า “โมเดลต้นแบบสำหรับการเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำของนักเรียน : บทเรียนความสำเร็จที่ได้รับจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนเนินสง่าวิทยา”
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ ให้กับนักเรียนโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงจร ๆ ละ 1 ภาคการศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในบริบทเฉพาะของโรงเรียนเนินสง่าวิทยา จังหวัดชัยภูมิ มีครูเป็นผู้ร่วมวิจัย 13 คน และมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 191 คนเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ผลการวิจัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง คือ จากการเปรียบเทียบ 3 ระยะ คือ ก่อนและหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 1 และหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีการกระทำเพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ ให้กับนักเรียนที่สูงขึ้นกว่าเดิมตามลำดับ และนักเรียนมีทักษะภาวะผู้นำที่สูงขึ้นกว่าเดิมตามลำดับเช่นกัน ในขณะเดียวกันคณะผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษาก็เกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่า การพัฒนาใด ๆ ที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมหรือหลักการประชาธิปไตยจะทำให้ผลการพัฒนามีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น รวมทั้งได้องค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีฐานรากจากการปฏิบัติในงานวิจัยนี้ เรียกว่า “โมเดลต้นแบบสำหรับการเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำของนักเรียน : บทเรียนความสำเร็จที่ได้รับจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนเนินสง่าวิทยา”
This study aimed at helping students to improve their leadership skills by utilizing the methodology of Participatory Action Research in which two cycles of research (one cycle per semester) were conducted during the Academic Year of 2021. The three anticipated developmental outcomes of change, learning, and knowledge were gained through the practices, which were administered in the particular setting of the Noensangawittaya School in Chaiyaphum Province. The target group for development consisted of 191 high school students, and 13 teachers served as the study’s co-investigators. The findings revealed the changes that had been anticipated. In accordance with the comparative analysis of the three phases (before and after the first cycle of practices and after the second cycle), it was discovered that in order to improve the students' leadership skills, the co-researchers had continued to increase their activities since beginning the first phase. In a similar vein, there had been advancements in the leadership skills of the students. Together, the research team, the co-researchers, and the school discovered that any form of development, which prioritizes democratic or participatory principles, will produce better results. Additionally, a grounded theory known as the "Model for Developing Students' Leadership Skills: The Success of Lessons Learned through Participatory Action Research at Noensangawittaya School" was developed from the practices, which had been employed in this research.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 255
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 255
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล 2) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล 3) เพื่อบูรณาการการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง “การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์” โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยรับราชการตำรวจ จำนวน 6 คน นักวิชาการผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 6 รูป/คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นข้อมูลนำเสนอ ผลจากการวิจัยพบว่า: 1. การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ให้ตำรวจมีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีจริยธรรมตำรวจ และวิธีการเสริมสร้างจริยธรรมตำรวจ ให้มีหลักในการครองตน ด้วยการดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบและไม่ประมาท การครองคน ให้ดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข การครองงาน ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์และบรรลุเป้าหมาย 2. พุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ได้แก่ หลักเบญจศีล-เบญจธรรม สิ่งที่ควรเว้นและธรรมที่ควรปฏิบัติ หลักสังคหวัตถุ 4 ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน หลักอิทธิบาท 4 คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ 3. การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ พบว่า การดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลใช้หลักเบญจศีล-เบญจธรรมในการครองตน ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการครองคน ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการครองงาน โดยบูรณาการกันในการส่งเสริมด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ประการมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “SPJ MODEL” S มาจาก Good Self ครองตนดี ตำรวจสันติบาลจะครองตนที่ดีจะต้องยึดมั่น ทำให้มีความสุขกายสุขใจ P มาจาก S Good People หมายถึง ครองคนดี ตำรวจสันติบาล มีธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน, ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หลักการครองใจคน และ J มาจาก Good Job หมายถึง ครองงานดี ตำรวจสันติบาลต้องมีความอดทน ความเพียรพยายาม ความจริงใจต่อประชาชน
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล 2) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล 3) เพื่อบูรณาการการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง “การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์” โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยรับราชการตำรวจ จำนวน 6 คน นักวิชาการผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 6 รูป/คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นข้อมูลนำเสนอ ผลจากการวิจัยพบว่า: 1. การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ให้ตำรวจมีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีจริยธรรมตำรวจ และวิธีการเสริมสร้างจริยธรรมตำรวจ ให้มีหลักในการครองตน ด้วยการดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบและไม่ประมาท การครองคน ให้ดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข การครองงาน ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์และบรรลุเป้าหมาย 2. พุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ได้แก่ หลักเบญจศีล-เบญจธรรม สิ่งที่ควรเว้นและธรรมที่ควรปฏิบัติ หลักสังคหวัตถุ 4 ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน หลักอิทธิบาท 4 คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ 3. การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ พบว่า การดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลใช้หลักเบญจศีล-เบญจธรรมในการครองตน ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการครองคน ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการครองงาน โดยบูรณาการกันในการส่งเสริมด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ประการมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “SPJ MODEL” S มาจาก Good Self ครองตนดี ตำรวจสันติบาลจะครองตนที่ดีจะต้องยึดมั่น ทำให้มีความสุขกายสุขใจ P มาจาก S Good People หมายถึง ครองคนดี ตำรวจสันติบาล มีธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน, ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หลักการครองใจคน และ J มาจาก Good Job หมายถึง ครองงานดี ตำรวจสันติบาลต้องมีความอดทน ความเพียรพยายาม ความจริงใจต่อประชาชน
This thesis objectives 1) to study the promotion of life of the special branches 2)to study the Buddhist ethics in the life of the special branch 3)to integrate the promotion of life of the Special Branches using the Buddhist ethics 4) to present new knowledge on “Promoting the life of the special branch with Buddhist ethics” by studying and analyzing the data from the Tripitaka textbooks and related documents are mainly and in-depth interviews A group of experts who had served in the police service consisted of 6 persons, academics with knowledge and expertise in Buddhism, 6 figures/person, totaling 12 persons. The results of the research showed that: 1. Promoting the life of the special branch give the police a better life strict discipline police ethics and how to strengthen police ethics as a tool to guide the performance of duties. To become a peacekeeper or being a policeman of the people. 2. Buddhist ethics in the life of special branch police Benjasila - Benjadhamma Things that should be avoided and Dharma that should be done The principle of Sangahavatthus, Four Foundations for Accomplishment consist of 3. Promoting the life of the special branch police with buddhist ethics found that Buddhist ethics for self-reliance Integration with the Benjasila-Benjadhamma principles Buddhist Ethics for Dominating People Integrating with using the 4 Sangkhahavatthus principles, Buddhist ethics for dominating work Integration with using the principle of IDDHIPᾹDA 4. The new body of knowledge that has been called "SPJ MODEL" S comes from Good Self. Maintaining a good self, the special branch police must adhere to. Makes people happy and happy. P stands for S Good People, which means occupy good people. There is a Dharma that is the location of mutual assistance, the Dharma that binds kindness. The principle of reigning in people's hearts and J from Good Job means occupying a good job. The Special Branch Police must be patient. perseverance sincerity to the people
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้าง Visionary Leadership Skills ให้กับนักเรียนโดย Participatory Action Research (PAR) Methodology ซึ่งมีลักษณะเป็น Spiral Cycle ของ Planning, Acting, Observing, and Reflecting (PAOR) ในการวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้กำหนดการดำเนินงาน 2 วงจรๆ ละ 1 ภาคการศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลงจากการปฏิบัติทั้งที่คาดหวังและไม่คาดหวัง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ดังนี้ 1) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระดับบุคคล คือ ผู้วิจัย 2) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระดับกลุ่ม คือ ผู้ร่วมวิจัย 3) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระดับหน่วยงาน คือ โรงเรียน และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในบริบทเฉพาะของโรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร ซึ่งกำหนดเป็นพื้นที่ในการวิจัย มีครูเป็นผู้ร่วมวิจัย 12 คน และมีนักเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา 425 คน ผลการวิจัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง คือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยจากผลการประเมิน Visionary Leadership Skills เปรียบเทียบ 3 ระยะ คือ ก่อนและหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 1 และหลังการปฏิบัติวงจรที่ 2 ที่สูงขึ้นตามลำดับ ผู้ร่วมวิจัยและนักเรียนได้รับผลกระทบหรือผลพลอยได้ที่ไม่ได้คาดหวัง นอกจากนั้นคณะผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษายังเกิดการเรียนรู้และได้บทเรียนเป็นองค์ความรู้จากการปฏิบัติเรียกว่า “โมเดล 6 พลังขับที่ส่งผลต่อความสำเร็จในโครงการ Practicing Collaborative Teachers to Strengthen Students’ Visionary Leadership Skills”
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้าง Visionary Leadership Skills ให้กับนักเรียนโดย Participatory Action Research (PAR) Methodology ซึ่งมีลักษณะเป็น Spiral Cycle ของ Planning, Acting, Observing, and Reflecting (PAOR) ในการวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้กำหนดการดำเนินงาน 2 วงจรๆ ละ 1 ภาคการศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลงจากการปฏิบัติทั้งที่คาดหวังและไม่คาดหวัง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ดังนี้ 1) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระดับบุคคล คือ ผู้วิจัย 2) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระดับกลุ่ม คือ ผู้ร่วมวิจัย 3) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระดับหน่วยงาน คือ โรงเรียน และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในบริบทเฉพาะของโรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร ซึ่งกำหนดเป็นพื้นที่ในการวิจัย มีครูเป็นผู้ร่วมวิจัย 12 คน และมีนักเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา 425 คน ผลการวิจัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง คือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยจากผลการประเมิน Visionary Leadership Skills เปรียบเทียบ 3 ระยะ คือ ก่อนและหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 1 และหลังการปฏิบัติวงจรที่ 2 ที่สูงขึ้นตามลำดับ ผู้ร่วมวิจัยและนักเรียนได้รับผลกระทบหรือผลพลอยได้ที่ไม่ได้คาดหวัง นอกจากนั้นคณะผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และสถานศึกษายังเกิดการเรียนรู้และได้บทเรียนเป็นองค์ความรู้จากการปฏิบัติเรียกว่า “โมเดล 6 พลังขับที่ส่งผลต่อความสำเร็จในโครงการ Practicing Collaborative Teachers to Strengthen Students’ Visionary Leadership Skills”
This research aimed at strengthening the visionary leadership skills of students through Participatory Action Research (PAR) methodology, which is a spiral cycle of Planning, Acting, Observing, and Reflecting (PAOR). In this study, the researchers conducted this investigation over the course of two cycles, each cycle lasting one semester during the Academic Year of 2021. Three outcomes of the development were expected: 1) changes would arise from both anticipated and unanticipated practices; 2) the learning would be obtained from practices at the researcher level, the group level (the co-researchers), and the organizational level (school); and 3) knowledge would be gained from the practice in the specific context of Phayakkhaphum wittayakarn School (the research area). There were 12 teachers, who served as co-researchers, and 425 students, who made up the target group for the development. The research results contributed to the anticipated changes. In other words, the students had higher average scores from the results of the visionary leadership skills assessment after the 3 phases were compared: before the 1st cycle, after the 1st cycle, and after the 2nd cycle, respectively. In addition, the co-researchers and the students were exposed to unanticipated effects. Furthermore, the research team, the co-researchers, and the school learned lessons from the practice, which is considered as the knowledge called “Model 6 Driving Forces that Affect Success” of the project entitled, ‘Teachers Practicing Collaboratively to Strengthen Student's Visionary Leadership Skills’
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ในการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร มีมีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จำนวน 35 รูป/คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพพื้นที่การขับเคลื่อนโดยนำชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี พบว่าชุมชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ชุมชนชาวพุทธล้านนาชาวพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพอพยพมาจากที่อื่นและอยู่ในอำเภอสารภี ซึ่งแต่ละชุมชนต่างก็มีวิถีชุมชนแตกต่างกัน การแต่งกาย ภาษาและมีวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี พบว่าได้รับความร่วมมือจากชุมชนทุกฝ่ายทั้งบ้าน องค์กรวัฒนธรรม และชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง เพราะทุกฝ่ายมีความศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา จึงให้ความร่วมมือและมุ่งมั่นในการสืบสานรักษาชุมชนวิถีพุทธให้มีความเข้มแข็งทางวัฒนประเพณีสืบไป รูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี พบว่าผู้นำชุมชนวิถีพุทธต่างมีความศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนาและมองเห็นความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมชุมชนไปในทิศทางเดียวกัน จึงก่อให้เกิดพลังสามัคคีรวมใจร่วมสืบสานอนุรักษ์ รักษา ต่อยอดวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มั่นคงถาวรสืบไปได้ องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัย ได้แก่ M=FCCP Model หมายถึง M=Mobilization คือพลังแห่งการขับเคลื่อนชุมชน F= Faith หมายถึง พลังแห่งความศรัทธามุ่งมั่นในการสร้างสรรคุณงามความดี C= Co-operation หมายถึงพลังแห่งความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันทุกฝ่าย C= Cultures หมายถึง ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชนที่ต้องอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอด P= Peace หมายถึงชุมชนมีความสุขกาย สุขใจ และมีความสงบสุขปลอดภัยในชีวิตก่อให้เเกิดสันติสุขในชุมชนขึ้น
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ในการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร มีมีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จำนวน 35 รูป/คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพพื้นที่การขับเคลื่อนโดยนำชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี พบว่าชุมชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ชุมชนชาวพุทธล้านนาชาวพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพอพยพมาจากที่อื่นและอยู่ในอำเภอสารภี ซึ่งแต่ละชุมชนต่างก็มีวิถีชุมชนแตกต่างกัน การแต่งกาย ภาษาและมีวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี พบว่าได้รับความร่วมมือจากชุมชนทุกฝ่ายทั้งบ้าน องค์กรวัฒนธรรม และชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง เพราะทุกฝ่ายมีความศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา จึงให้ความร่วมมือและมุ่งมั่นในการสืบสานรักษาชุมชนวิถีพุทธให้มีความเข้มแข็งทางวัฒนประเพณีสืบไป รูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี พบว่าผู้นำชุมชนวิถีพุทธต่างมีความศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนาและมองเห็นความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมชุมชนไปในทิศทางเดียวกัน จึงก่อให้เกิดพลังสามัคคีรวมใจร่วมสืบสานอนุรักษ์ รักษา ต่อยอดวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มั่นคงถาวรสืบไปได้ องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัย ได้แก่ M=FCCP Model หมายถึง M=Mobilization คือพลังแห่งการขับเคลื่อนชุมชน F= Faith หมายถึง พลังแห่งความศรัทธามุ่งมั่นในการสร้างสรรคุณงามความดี C= Co-operation หมายถึงพลังแห่งความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันทุกฝ่าย C= Cultures หมายถึง ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชนที่ต้องอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอด P= Peace หมายถึงชุมชนมีความสุขกาย สุขใจ และมีความสงบสุขปลอดภัยในชีวิตก่อให้เเกิดสันติสุขในชุมชนขึ้น
The objectives of this dissertation are: 1. To study the area conditions in driving a Buddhist community with the participation of the Power of Bor in Saraphi District 2. To study the approaches for driving the Buddhist community with the participation of Power VA-CH in Saraphi District 3. To present a model for mobilizing the Buddhist community with the participation of the power of VA-CH in Saraphi District. There are in-depth interviews. and group discussion of 35 photos/person by analyzing descriptive data. The results showed that The conditions of the area driven by the Buddhist community with the participation of Palang Bor-Wor Chor in Saraphi District found that most communities believe in Buddhism, divided into 2 groups: the Lanna Buddhist community and the indigenous people. and ethnic groups who migrated from other places and lived in Saraphi District Each community has its own way of life, dress, language and unique culture. To drive the Buddhist community through participation in the Power of Bor-Wor Chor in Saraphi District, it was found that it received cooperation from all parties of the community, including the house. cultural organization and the community very well Because all parties have strong faith in Buddhism. Therefore cooperate and strive to preserve the Buddhist community to have a strong cultural tradition. The model for driving the Buddhist way of life community with the participation of Palang Bor-Wor Chor in Saraphi District found that the leaders of the Buddhist way of life community had strong faith in Buddhism and saw the importance of community way of life in the same direction. therefore resulting in the power of unity and unity to continue, preserve, preserve and extend the local culture to be permanently stable. The knowledge gained from research is the M=FCCP Model, which means M=Mobilization. is the power of driving the community. F= Faith means the power of faith and determination to create virtue. C= Co-operation means the power of unity and cooperation from all parties. C= Cultures means the cultural traditions that Community virtue that needs to be preserved, carried on and further developed. P=Peace means that the community is happy physically and mentally and has peace and safety in life, leading to peace in the community.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารในสังคมบริโภคนิยม 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อดุลยภาพชีวิตในสังคมบริโภคนิยม 3) เพื่อบูรณาการการสื่อสารในสังคมบริโภคนิยมด้วยการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อดุลยภาพชีวิต 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การบูรณาการการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อดุลยภาพชีวิตในสังคมบริโภคนิยม”เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12รูป/คน ได้นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์อภิปรายผลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารในสังคมบริโภคนิยมเป็นการสื่อสารผ่านการใช้อินเตอร์เน็ต เป็นสังคมบริโภคนิยมแบบออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน (GEN Y) สื่อเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน และเกิดเป็นตลาดบนสื่อออนไลน์การใช้ชีวิตได้รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณาเกิดเป็นพฤติกรรมเลียนแบบเชิงกระตุ้นการเสพหรือใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการ การบริโภคนิยมแบบสัญญะ คือค่านิยมสื่อสินค้าราคาแพง การรับสื่อโฆษณาผ่านสัมผัสทั้ง 5 ตามเทคนิคการตลาดทางประสาทสัมผัส (Sensory Marketing) การสื่อสารเชิงพุทธเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องนั้น ๆ สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ถูกต้อง มีความมั่นใจว่าไม่ผิดพลาด และได้รับผลจากการปฏิบัติเป็นความสุข เทคนิคการสื่อสารใช้หลักปาฏิหาริย์ทั้ง 3 คือ ใช้ฤทธิ์ ใช้ความรู้ใจผู้อื่น และใช้เหตุผลที่พิสูจน์ได้ เครื่องมือสื่อสารมีพัฒนาการมาเป็นลำดับตั้งแต่ทางวาจา วัสดุอุปกรณ์ทางธรรมชาติ จนถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการสื่อสารเชิงพุทธ คือ โยนิโสมนสิการ (ความคิด) ปาริสุทธิศีล 4 (ตัวควบคุม) อัตถะ 3 (ประโยชน์ใช้สอย) และวจีสุจริต (พูดดี) ชีวิตที่ตั้งอยู่บนการสื่อสารเชิงพุทธจึงมีดุลยภาพในทุกรูปแบบของสังคม การบูรณาการการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อดุลยภาพชีวิตในสังคมบริโภคนิยมทำได้ 5 มิติ คือ 1) การมีหลักคิด สำรวมระวังการเสพรูปลักษณ์ ใช้ปัจจัย 4 อย่างมีสติและปัญญา 2) การเลือกฟังสิ่งที่ควรฟัง ฟังสิ่งที่ดีมีสาระประโยชน์ในการเสพเสียง 3) การรู้จักสำรวมระวังกลิ่นหอมที่สูดเข้าไปทำให้ติดใจ และทำให้ไม่พอใจเมื่อสูดกลิ่นเหม็น ต้องไม่ดิ้นรนขวนขวายให้ได้มาตามกลิ่น 4) การรู้จักเลือกบริโภคแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่บริโภคอาหารที่แพงเกินปกติ มีความรู้ในการเสพรสชาติ และ 5) การใช้สติไม่ติดการเสพสัมผัสค่านิยมความหรูหราที่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือ สื่อสารอย่างถูกต้อง มีความระมัดระวัง มีสติปัญญาเสพสัมผัสทั้ง 5 ในสังคมบริโภคนิยมแบบคิดถึงประโยชน์ย่อมทำให้มีดุลยภาพชีวิต เรียกว่า WISDOM Model
ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารในสังคมบริโภคนิยม 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อดุลยภาพชีวิตในสังคมบริโภคนิยม 3) เพื่อบูรณาการการสื่อสารในสังคมบริโภคนิยมด้วยการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อดุลยภาพชีวิต 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การบูรณาการการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อดุลยภาพชีวิตในสังคมบริโภคนิยม”เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12รูป/คน ได้นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์อภิปรายผลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารในสังคมบริโภคนิยมเป็นการสื่อสารผ่านการใช้อินเตอร์เน็ต เป็นสังคมบริโภคนิยมแบบออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน (GEN Y) สื่อเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน และเกิดเป็นตลาดบนสื่อออนไลน์การใช้ชีวิตได้รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณาเกิดเป็นพฤติกรรมเลียนแบบเชิงกระตุ้นการเสพหรือใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการ การบริโภคนิยมแบบสัญญะ คือค่านิยมสื่อสินค้าราคาแพง การรับสื่อโฆษณาผ่านสัมผัสทั้ง 5 ตามเทคนิคการตลาดทางประสาทสัมผัส (Sensory Marketing) การสื่อสารเชิงพุทธเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องนั้น ๆ สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ถูกต้อง มีความมั่นใจว่าไม่ผิดพลาด และได้รับผลจากการปฏิบัติเป็นความสุข เทคนิคการสื่อสารใช้หลักปาฏิหาริย์ทั้ง 3 คือ ใช้ฤทธิ์ ใช้ความรู้ใจผู้อื่น และใช้เหตุผลที่พิสูจน์ได้ เครื่องมือสื่อสารมีพัฒนาการมาเป็นลำดับตั้งแต่ทางวาจา วัสดุอุปกรณ์ทางธรรมชาติ จนถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการสื่อสารเชิงพุทธ คือ โยนิโสมนสิการ (ความคิด) ปาริสุทธิศีล 4 (ตัวควบคุม) อัตถะ 3 (ประโยชน์ใช้สอย) และวจีสุจริต (พูดดี) ชีวิตที่ตั้งอยู่บนการสื่อสารเชิงพุทธจึงมีดุลยภาพในทุกรูปแบบของสังคม การบูรณาการการสื่อสารเชิงพุทธเพื่อดุลยภาพชีวิตในสังคมบริโภคนิยมทำได้ 5 มิติ คือ 1) การมีหลักคิด สำรวมระวังการเสพรูปลักษณ์ ใช้ปัจจัย 4 อย่างมีสติและปัญญา 2) การเลือกฟังสิ่งที่ควรฟัง ฟังสิ่งที่ดีมีสาระประโยชน์ในการเสพเสียง 3) การรู้จักสำรวมระวังกลิ่นหอมที่สูดเข้าไปทำให้ติดใจ และทำให้ไม่พอใจเมื่อสูดกลิ่นเหม็น ต้องไม่ดิ้นรนขวนขวายให้ได้มาตามกลิ่น 4) การรู้จักเลือกบริโภคแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่บริโภคอาหารที่แพงเกินปกติ มีความรู้ในการเสพรสชาติ และ 5) การใช้สติไม่ติดการเสพสัมผัสค่านิยมความหรูหราที่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือ สื่อสารอย่างถูกต้อง มีความระมัดระวัง มีสติปัญญาเสพสัมผัสทั้ง 5 ในสังคมบริโภคนิยมแบบคิดถึงประโยชน์ย่อมทำให้มีดุลยภาพชีวิต เรียกว่า WISDOM Model
The objectives of this dissertation are as follows: 1) to study communication in a consumerism society; 2) to study Buddhist communication for the balance of life in a consumerism society; 3) to integrate Buddhist communication for life balance with communication in a consumerism society, and 4) to present guidelines and knowledge about “Integration of Buddhist communication for life balance in a consumerism society”. It is a qualitative research by which all data were collected from the Tipitaka, related research documents and in-depth interviews with 12 key-informants. The data were analyzed, synthesized and presented in a descriptive approach. The results showed that: Communication in a consumerism society is through the use of the Internet network. The online consumerism is popular especially among teenagers and working people (GEN Y). These media have become a part of people's lives and it became a market on online media as well. Life is influenced by advertising media, resulting in imitative behavior that stimulates consumption or spending money to buy goods and services. A sign consumerism is the trend of media to show expensive products. Receiving advertising media through all 5 senses according to sensory marketing techniques is promoted. Buddhist communication emphasized a clear understanding of the subject which can be properly practiced. It is the right confidence that you will not make a mistake but have the happy results. Communication techniques are based on the 3 miracle principles: using power, using knowledge of knowing other people's thinking and using provable reasons. Buddhist communication tools have evolved gradually from verbal communication, natural materials and to modern technology. The Buddhist principles can be applied in Buddhist communication are Yonisomanasikãra (thinking), Pãrisuddhi-sĩla (control), Attha (usefulness), and Vacĩ-sucarita (good speech), Life based on the mentioned communication is balanced in all forms of society. The integration of Buddhist communication for life balance in a consumerism society can be accomplished in 5 dimensions: 1) being mindful and aware in using four requisites; 2) choosing what to listen, and listen to good things; 3) beware of good and bad smells that arouse desires and attachment; 4) choosing what to be eaten and consumed suitable to one’s health and status; and 5) being mindful on consuming things that may cause trouble to oneself and others. The body of knowledge can be summarized into a model called the WISDOM Model which consists of right communication, to be careful, to be mindful and careful in consuming through all 5 senses in a utilitarian approach.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง นิรุตติปฏิสัมภิทา : ความแตกฉานในวาทกรรมตามที่ปรากฏในมิลินท ปัญหา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้นิรุตติปฏิสัมภิทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการใช้นิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา 3) เพื่อสร้างความแตกฉานในวาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในมิลินทปัญหา และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การสร้างความแตกฉานในวาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในมิลินทปัญหา” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลเอกสารจากมิลินทปัญหา พระไตรปิฎก และอรรถกถา มีการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 รูป/คน และเสวนากลุ่ม (Focus group discussion) จํานวน 7 รูป ผลการวิจัยพบว่า การใช้วาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาในคัมภีร์พระวินัยปิฎกเป็นการใช้วาทกรรมเพื่อการแสดงธรรมและบัญญัติพระวินัย ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกเป็นการใช้วาทกรรมเพื่อการแสดงการปฏิบัติธรรมทุกระดับโดยมีเนื้อเรื่องประกอบการแสดงธรรม ในคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกเป็นการใช้วาทกรรมเพื่ออธิบายสภาวะปรมัตถ์ คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นการใช้วาทกรรมลักษณะตั้งคำถามและให้คำตอบตามประเด็นความหมาย ลักษณะ อาการ อานิสงส์ คุณและโทษ ในคัมภีร์มงคลทีปนีเป็นการใช้วาทกรรมอธิบายวิธีปฏิบัติตนต่อบุคคล สังคมและการพัฒนาจิตเป็นลำดับ ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทเป็นการใช้วาทกรรมอธิบายบทคาถาที่ยกตั้งไว้โดยมีนิทานประกอบ การใช้นิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหามีรูปแบบโต้ตอบปัญหาธรรมระหว่าง พระนาคเสนกับพระยามิลินท์มี 3 ลักษณะ คือ 1) คำถามธรรมดา 2) คำถามปัญหาเงื่อนเดียว 3) คำถามปัญหาสองเงื่อน นิรุตติปฏิสัมภิทาในที่นี้เน้นการใช้ภาษาอธิบายให้ผู้ถามและผู้ตอบเข้าใจกันและกันทันทีผ่านการยกอุปมาอุปมัยอันเป็นจุดเด่น มีการตีความตามนัยแห่งคัมภีร์เนตติปกรณ์และมีอำนาจชี้นำให้ผู้ร่วมสนทนาเข้าใจตามหลักตรรกะภายใต้ลักษณะถามตอบ 7 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบอธิบายสมมติปรมัตถ์ 2) รูปแบบอธิบายสภาวธรรม 3) รูปแบบอธิบายอานิสงส์ 4) รูปแบบใช้ตรรกะ 5) รูปแบบอุปมาอุปมัย 6) รูปแบบใช้อุปกรณ์อธิบาย และ 7) รูปแบบให้แนวทางปฏิบัติ การสร้างความแตกฉานในวาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในมิลินทปัญหาสามารถทำได้เริ่มจาก 1. การใช้คำที่ถูกต้องเหมาะสมสนับสนุนเหตุผลในการสนทนาจนเป็นที่เข้าใจ 2. การยกเหตุผลอุปมาเทียบเคียงให้เข้ากันได้ตามบริบท 3. กำหนดภาษาสมมติปรมัตถ์ให้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน 4. ทำองค์รวมของคำพูดให้ครบ คือ ประเด็นแห่งวาทกรรม มีบทตั้งและบทแย้ง ควบคุมประเด็น ยกอุปมาประกอบและสรุปเป็นความรู้ ความเข้าใจในการสนทนา สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ได้ดังนี้ ยกประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน แลกเปลี่ยนอย่างมีเอกภาพ มีตัวอย่างเชิงประจักษ์และสรุปเป็นผลลัพธ์วาทกรรม เรียกว่า PHUSA Model
การศึกษาวิจัยเรื่อง นิรุตติปฏิสัมภิทา : ความแตกฉานในวาทกรรมตามที่ปรากฏในมิลินท ปัญหา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้นิรุตติปฏิสัมภิทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการใช้นิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา 3) เพื่อสร้างความแตกฉานในวาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในมิลินทปัญหา และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การสร้างความแตกฉานในวาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในมิลินทปัญหา” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลเอกสารจากมิลินทปัญหา พระไตรปิฎก และอรรถกถา มีการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 รูป/คน และเสวนากลุ่ม (Focus group discussion) จํานวน 7 รูป ผลการวิจัยพบว่า การใช้วาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาในคัมภีร์พระวินัยปิฎกเป็นการใช้วาทกรรมเพื่อการแสดงธรรมและบัญญัติพระวินัย ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกเป็นการใช้วาทกรรมเพื่อการแสดงการปฏิบัติธรรมทุกระดับโดยมีเนื้อเรื่องประกอบการแสดงธรรม ในคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกเป็นการใช้วาทกรรมเพื่ออธิบายสภาวะปรมัตถ์ คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นการใช้วาทกรรมลักษณะตั้งคำถามและให้คำตอบตามประเด็นความหมาย ลักษณะ อาการ อานิสงส์ คุณและโทษ ในคัมภีร์มงคลทีปนีเป็นการใช้วาทกรรมอธิบายวิธีปฏิบัติตนต่อบุคคล สังคมและการพัฒนาจิตเป็นลำดับ ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทเป็นการใช้วาทกรรมอธิบายบทคาถาที่ยกตั้งไว้โดยมีนิทานประกอบ การใช้นิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหามีรูปแบบโต้ตอบปัญหาธรรมระหว่าง พระนาคเสนกับพระยามิลินท์มี 3 ลักษณะ คือ 1) คำถามธรรมดา 2) คำถามปัญหาเงื่อนเดียว 3) คำถามปัญหาสองเงื่อน นิรุตติปฏิสัมภิทาในที่นี้เน้นการใช้ภาษาอธิบายให้ผู้ถามและผู้ตอบเข้าใจกันและกันทันทีผ่านการยกอุปมาอุปมัยอันเป็นจุดเด่น มีการตีความตามนัยแห่งคัมภีร์เนตติปกรณ์และมีอำนาจชี้นำให้ผู้ร่วมสนทนาเข้าใจตามหลักตรรกะภายใต้ลักษณะถามตอบ 7 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบอธิบายสมมติปรมัตถ์ 2) รูปแบบอธิบายสภาวธรรม 3) รูปแบบอธิบายอานิสงส์ 4) รูปแบบใช้ตรรกะ 5) รูปแบบอุปมาอุปมัย 6) รูปแบบใช้อุปกรณ์อธิบาย และ 7) รูปแบบให้แนวทางปฏิบัติ การสร้างความแตกฉานในวาทกรรมเชิงนิรุตติปฏิสัมภิทาที่ปรากฏในมิลินทปัญหาสามารถทำได้เริ่มจาก 1. การใช้คำที่ถูกต้องเหมาะสมสนับสนุนเหตุผลในการสนทนาจนเป็นที่เข้าใจ 2. การยกเหตุผลอุปมาเทียบเคียงให้เข้ากันได้ตามบริบท 3. กำหนดภาษาสมมติปรมัตถ์ให้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน 4. ทำองค์รวมของคำพูดให้ครบ คือ ประเด็นแห่งวาทกรรม มีบทตั้งและบทแย้ง ควบคุมประเด็น ยกอุปมาประกอบและสรุปเป็นความรู้ ความเข้าใจในการสนทนา สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ได้ดังนี้ ยกประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน แลกเปลี่ยนอย่างมีเอกภาพ มีตัวอย่างเชิงประจักษ์และสรุปเป็นผลลัพธ์วาทกรรม เรียกว่า PHUSA Model
The objectives of the research on Niruttipatisambhidã : Constructing Discourse Skills as Depicted in the Milindapañhã were as follows: 1) to study the use of nirutti-patisampita in Buddhist scriptures, 2) to study the use of Niruttipatisambhidã appearing in the Milindapañhã, 3) to create proficiency in the Niruttipatisambhidã discourse appeared in the Milindapañhã, and 4) to present guidelines and create a body of knowledge about “Creating proficiency in the Niruttipatisambhidã Discourse appeared in the Milindapañhã”. The data were collected from Milindapañhã, Tipitaka, Commentaries, in-depth interviews with 13 experts, and focus group discussions with 7 key-informants. The results showed that: The use of discourse in philological analysis in the Vinaya Pitaka scriptures is to teach the Dharma and set forth the codes of training. In the Suttanta Pitaka scriptures, discourses are used to illustrate levels of dhamma practice with a story accompanying the dhamma teaching. In the Abhidhamma Pitaka, discourse is used to explain the paramattha state, i.e. mind, cetasika, rupa, and nibbana. In Visuddhimagga, the discourse is used in setting up questions and giving answers relevant to the questions. In Mangalatthadipani, the discourse is used to explain how to behave oneself towards a person, society and mental development respectively. As for the Dhammapada Commentaries, discourses are used to explain the incantations that have been set up with accompanying tales. The use of Niruttipatisambhidã in the Milindapañhã scriptures obtained from the conversion in Dhamma between Venerable Nagasena and King Milinda has 3 types: 1) ordinary questions, 2) single-knot questions, and 3) double-knot questions. Niruttipatisambhidã here emphasizes the use of language to explain to the questioner and the respondents understand each other immediately through the use of prominent metaphors. There are interpretations according to the meaning of the netitaka and has the power to lead the participants to understand according to logic under 7 forms of questions and answers, namely 1) the form explaining the supposition of the supreme reality, 2) the form explaining the Dhamma, 3) the form explaining the virtues, 4) the logic-based style, 5) the metaphorical style, 6) the descriptive style, and 7) the practical style. Building proficiency in the Narrative Interaction discourse that appears in Milindapañhã can be started from: 1. The use of proper words to support the reason in the conversation until it is understood, 2. The use of comparative reason according to the contexts, 3. Formulate hypothetical language to understand in one direction, and 4. To set up the holistic view of expressions consisting of chapters and arguments, control point, take a parable and summarize it as knowledge understand in conversations. The knowledge obtained from the study can be synthesized into a model called the PHUSA Model consisting of Raise issues, formulate assumptions, Exchange in unity, Empirical examples and Summary of discourse outcomes.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก 3) เพื่อเสริมสร้างแนวทางความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นแนวคิดจิตวิทยาสังคมและการสร้างเงื่อนไขทางสังคมโดยเน้นการทำประโยชน์แก่สังคม ทฤษฎีปิรามิดที่มีต่อความรับผิดชอบทางสังคม ทฤษฎีกระจกเงาช่วยให้เข้าใจตนเองและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับผู้อื่นได้ ทฤษฎีเกมส์ช่วยให้เข้าใจการรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในสังคมในฐานะนักแสดงบทบาท รวมทั้งแนวคิดตัดสินใจกระทำ ทำให้เห็นภาพของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะคนในสังคมเป็นอย่างดี แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ นำไปปฏิบัติเพื่อส่งผลต่อเป้าหมายของหน้าที่ที่ทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกทั้ง 10 ชาติ ได้แก่พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระเนมิราช พระมโหสถ พระภูริทัต พระจันทกุมาร พระนารทพรหม พระวิธูรบัณฑิต และพระเวสสันดร ทรงรับผิดชอบหน้าที่ตามบารมีที่ทรงบำเพ็ญ ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ และทาน ผลจากความรับผิดชอบหน้าที่สามารถพัฒนาสติปัญญาจนสำเร็จตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์ แนวทางเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามวิถีพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในมหานิบาตชาดกสามารถทำได้ใน 7 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ครู อาจารย์ รัฐ พระพุทธศาสนาและผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องทำด้วยจิตสำนึก มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาและพัฒนามาตรฐานความรับผิดชอบเชิงระบบ ทำเพื่อ เจริญรุ่งเรืองแห่งมนุษยชาติและสังคมด้วยเคารพสิทธิของผู้อื่น สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้คือการทำประโยชน์ แผ่ไปสู่สังคมไม่มีขอบเขตและมีความสุขทุกกิจกรรม เรียกว่า BODHI Model
The objectives of this dissertation are; 1) to study the concepts and theories about responsibility and duty, 2) to study the duty responsibility through the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka, 3) to strengthen the responsibility in the way of the Bodhisattva as depicted in the Mahānipāta Jātaka, and 4) to present guidelines for building a body of knowledge about “A Guideline Responsibility Enhancement According to the way of life of Bodhisattvas as Depicted in MahānipātaJātaka”. This research is a documentary qualitative research by which all data were collected from the Tipitaka, Commentaries and in-depth interviews with 15 key informants. The results showed that: The concepts and theories concerning responsibility are theory of social psychology and social conditioning with a focus on doing good to society. Theory of pyramid helps to create social responsibility, mirror’s theory helps to understand oneself and behave with others appropriately, game theory helps to understand social responsibility as a role-player, and the idea of action decisions that gives a good picture of the responsibility of duty as a person in society. Concepts and theories about accountability are therefore something that must be studied, trained, practiced, and recognized in order that everyone will obtain co-benefits from duty responsibilities. Responsibilities and duties of the Bodhisattvas that appear in the 10 Mahānipāta Jātakas, namely Temiya, Mahajanaka, Suvannasama, Nemiraja, Mahosatha, Bhuridatta, Chandakumara, Naradabrahma, Vidhurapandita, and Vessantara. They took responsibilities and duties based on the ten perfections. They are Nekkhamma, Viriya, Metta, Adhitthana, Panna, Sila, Khanti, Upekkha, Sacca, and Dhana. The results of responsibility lead to development of wisdom and the fulfillment of vows of the Bodhisattvas. Guidelines for enhancing responsibility and duties according to the Bodhisattva way as depicted in the Mahānipāta Jātaka can be identified in 7 items; responsibility towards one's own role, towards family, towards colleagues, towards teachers, towards the country, towards Buddhism, and towards those who need help. All responsibilities can be done by a sense of responsibility to perform duties, creating self-discipline, maintaining and developing standards of responsibility quality, working with a systematic understanding, and respecting the rights of others for the prosperity of humanity and society, using perfections as a condition for responsibility, doing benefits to society without boundaries and being happy in all activities. The knowledge from the research can be synthesized into the BODHI Model.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเยาวชนด้วยกระบวนการกล่อมเกลาจิตในพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 รูป/คน และได้นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์อภิปรายผลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเยาวชน สามารถกระทำโดยการเสริมแรงทางบวก ได้แก่ การให้คำชม ให้ความรัก การให้ทำกิจกรรมที่ชอบ และการเสริมแรงทางลบ ได้แก่ การให้คำชมเมื่อเด็กกลับถึงบ้านเร็วขึ้น การแสดงการเพิกเฉยกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การให้ความรู้ใหม่ที่ดี ถูกต้อง การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่ผู้ปกครอง มีส่วนทำให้พฤติกรรมของเด็กมีแนวโน้มจะดีขึ้น รวมถึงการสั่งสอนด้วยการทำให้ดู ทำให้เด็กเชื่อฟังได้มากกว่าการสั่งสอนด้วยวาจา การลงโทษนั้น หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรใช้อารมณ์ ควรให้เด็กรู้เหตุผลและยอมรับ สำนึกผิด วิธีการลงโทษ ได้แก่ การดุว่า การหักค่าขนม ความสามารถในการควบคุมตนเอง กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถในการพัฒนาตนเองและศักยภาพขั้นสูงของมนุษย์ หลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ สัลเลขธรรมในสัลเลขสูตร โดยได้นำเฉพาะบางหลักธรรมที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการขัดเกลาพฤติกรรมของเยาวชน อันได้แก่ หลักสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก ความเห็นตรง) (สัมมัตตะ 10 ในอริยมรรคมีองค์ 8) เบี่ยงเลี่ยงทางผิดสู่ทางที่ถูก ขัดเกลาทักษะกระบวนการคิด, ศีล 5 (กุศลกรรมบถ 10) ขัดเกลาการมีวินัยต่อตนเอง และหน้าที่, หิริโอตตัปปะ (สัทธรรม 7) ขัดเกลาความซื่อสัตย์สุจริต, ปัญญา (สัทธรรม 7) ขัดเกลาการอยู่อย่างพอเพียง ให้ประหยัด อดออม กิเลสความโลภ โกรธ หลงเบาบางและหมดไปในที่สุด และศรัทธา (สัทธรรม 7) ขัดเกลาให้มีจิตสาธารณะในการเจริญกุศลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม รู้จักให้ แบ่งปัน และเสียสละ การบูรณาการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการนำเอาหลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ตามแนวคิดทฤษฎีตะวันตกและนักวิชาการไทย บูรณาการกับหลักธรรมขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา (สัลเลขธรรมในสัลเลขสูตร) เพื่อให้ได้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยการสร้างจิตสำนึก การทำตามต้นแบบ กิจกรรมเชิงประจักษ์ และการตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง รูปแบบการบูรณาการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้องค์ความรู้ คือ CIEASSHPS Model
การศึกษาวิจัยเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเยาวชนด้วยกระบวนการกล่อมเกลาจิตในพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 รูป/คน และได้นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์อภิปรายผลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเยาวชน สามารถกระทำโดยการเสริมแรงทางบวก ได้แก่ การให้คำชม ให้ความรัก การให้ทำกิจกรรมที่ชอบ และการเสริมแรงทางลบ ได้แก่ การให้คำชมเมื่อเด็กกลับถึงบ้านเร็วขึ้น การแสดงการเพิกเฉยกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การให้ความรู้ใหม่ที่ดี ถูกต้อง การเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่ผู้ปกครอง มีส่วนทำให้พฤติกรรมของเด็กมีแนวโน้มจะดีขึ้น รวมถึงการสั่งสอนด้วยการทำให้ดู ทำให้เด็กเชื่อฟังได้มากกว่าการสั่งสอนด้วยวาจา การลงโทษนั้น หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรใช้อารมณ์ ควรให้เด็กรู้เหตุผลและยอมรับ สำนึกผิด วิธีการลงโทษ ได้แก่ การดุว่า การหักค่าขนม ความสามารถในการควบคุมตนเอง กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถในการพัฒนาตนเองและศักยภาพขั้นสูงของมนุษย์ หลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ สัลเลขธรรมในสัลเลขสูตร โดยได้นำเฉพาะบางหลักธรรมที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการขัดเกลาพฤติกรรมของเยาวชน อันได้แก่ หลักสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก ความเห็นตรง) (สัมมัตตะ 10 ในอริยมรรคมีองค์ 8) เบี่ยงเลี่ยงทางผิดสู่ทางที่ถูก ขัดเกลาทักษะกระบวนการคิด, ศีล 5 (กุศลกรรมบถ 10) ขัดเกลาการมีวินัยต่อตนเอง และหน้าที่, หิริโอตตัปปะ (สัทธรรม 7) ขัดเกลาความซื่อสัตย์สุจริต, ปัญญา (สัทธรรม 7) ขัดเกลาการอยู่อย่างพอเพียง ให้ประหยัด อดออม กิเลสความโลภ โกรธ หลงเบาบางและหมดไปในที่สุด และศรัทธา (สัทธรรม 7) ขัดเกลาให้มีจิตสาธารณะในการเจริญกุศลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม รู้จักให้ แบ่งปัน และเสียสละ การบูรณาการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการนำเอาหลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ตามแนวคิดทฤษฎีตะวันตกและนักวิชาการไทย บูรณาการกับหลักธรรมขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา (สัลเลขธรรมในสัลเลขสูตร) เพื่อให้ได้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยการสร้างจิตสำนึก การทำตามต้นแบบ กิจกรรมเชิงประจักษ์ และการตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง รูปแบบการบูรณาการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน ด้วยหลักธรรมในการขัดเกลาพฤติกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้องค์ความรู้ คือ CIEASSHPS Model
The research on “Desirable Behavior Modification of Youths by Mental Refining Process in Buddhism” aims to study the modification of youths’ behavior, the Dharma in behavior refining in Buddhism, to integrate the modification of the youths’ behavior by using Dhamma as a refining process, and to purpose the guideline and the new knowledge of “The Integrated Model of the Modification of the Youths’ Behavior by Using Dharma”. This research applied a qualitative research design. The data of this documentary research were collected from the Tipitaka, academic documents and previous research works, interviewing with 13 Buddhist experts, then interpreted, and analyzed as a descriptive report. The results of the study indicated that: Desirable behavior modification of youths can be done by showing the positive reinforcement, such as giving love, compliment, and favorite activities, ignoring some of inappropriate behaviors, and giving a good advice, righteousness and model. A good role model is better than verbal teaching. Penalty and emotional expression should be avoided as much as possible. Children should be encouraged to understand by reason and responsibility in order to show that they have ability of improve themselves and they have high potential of human resource development. The Buddhist Dhamma in behavior refining is Sanleka Dharmma in Sanleka Sutra. Some Dhamma principles are used in refining the youths’ behaviors. They are the Right View, Five Sila, Hiri and Ottappa, Panna, and Saddha. The integration of the youths’ behavior modification by using Dhamma as a refining process which is similar to the western and Thai thinking theories because it refines the youth’s behavior by integrating the mental refining process in Buddhism in order to derive the youths’ behavior modification model by using Sanleka Dhamma in Sanleka Sutra. The result also impacted the youths’ awareness, role model, empirical activities and self-efficacy. As the result, the integration of the youths’ behavior modification model is called “CIEASSHPS MODEL”.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญา 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้เชี่ยวชาญ โดยเลือกแบบเจาะจง15 รูป/คน ในเขตพื้นที่ 3 อำเภอ คือ 1) อำเภอเมืองสมุทรสาคร 2) อำเภอบ้านแพ้ว และ 3) อำเภอกระทุ่มแบน ในจังหวัดสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำ หมายถึง คนที่ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ จนก่อให้เกิดอำนาจ อิทธิพล หรือเกิดการยอมรับ จนสามารถจูงใจผู้อื่นหรือชักนำพาผู้อื่น ให้ปฏิบัติภารกิจการงานของกลุ่ม หรือองค์กรให้สำเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่ผู้นำหรือองค์กรตั้งไว้ และภาวะผู้นำนั้น จึงอาจจะหมายถึงกระบวนการที่ผู้นำใช้อิทธิพล หรืออำนาจหน้าที่ในการบริหารงานอย่างมีศิลปะ ทั้งการบอกและชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันในการถ่ายทอดแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการในการจูงใจและปฏิสัมพันธ์ให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจวงการขององค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจกรรมได้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้นั่นเอง หลักสัปปุริสธรรม 7 เน้นความฉลาดรอบรู้ วางตนเหมาะสมมีทั้งพระเดชพระคุณในการนำพาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานตามเป้าหมาย ว่าเมื่อผู้นำและภาวะผู้นำมีคุณธรรมแล้วประชาชนย่อมอยู่เป็นสุข คุณธรรมของการเป็นผู้นำและภาวะผู้นำนั้น เป็นหลักของการบริการที่ดี เรียกว่า ธรรมาธิปไตย หมายถึงการบริหารโดยถึงธรรมเป็นใหญ่ กล่าวคือยึดหลักบรรทัดฐาน หลักการและคุณธรรม เป็นแนวทางในการบริหาร และการบริหารนั้นต้องใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ หรือใช้อำนาจและคุณธรรม ซึ่งจะทำให้ได้ทั้งน้ำใจและผลของงานภาพรวมของกรอบการพัฒนาและความร่วมมือกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีความเด่นชัดที่สุดคือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในกรอบการพัฒนาทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารงานบุคคล 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านการบริหารงบประมาณ 4) ด้านสาธารณสุข 5) ด้านการบริการสาธารณะ โดยในการขับเคลื่อนทั้ง 5 ด้านนี้ จะเพิ่มความชัดเจน มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบมีแบบแผนที่ชัดเจนต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งต่อองค์กร และนำไปสู่ภาคประชาชนอย่างจริงจัง ซึ่งองค์ความรู้ในการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ “HICM” Model
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญา 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้เชี่ยวชาญ โดยเลือกแบบเจาะจง15 รูป/คน ในเขตพื้นที่ 3 อำเภอ คือ 1) อำเภอเมืองสมุทรสาคร 2) อำเภอบ้านแพ้ว และ 3) อำเภอกระทุ่มแบน ในจังหวัดสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำ หมายถึง คนที่ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ จนก่อให้เกิดอำนาจ อิทธิพล หรือเกิดการยอมรับ จนสามารถจูงใจผู้อื่นหรือชักนำพาผู้อื่น ให้ปฏิบัติภารกิจการงานของกลุ่ม หรือองค์กรให้สำเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่ผู้นำหรือองค์กรตั้งไว้ และภาวะผู้นำนั้น จึงอาจจะหมายถึงกระบวนการที่ผู้นำใช้อิทธิพล หรืออำนาจหน้าที่ในการบริหารงานอย่างมีศิลปะ ทั้งการบอกและชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันในการถ่ายทอดแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการในการจูงใจและปฏิสัมพันธ์ให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจวงการขององค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจกรรมได้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้นั่นเอง หลักสัปปุริสธรรม 7 เน้นความฉลาดรอบรู้ วางตนเหมาะสมมีทั้งพระเดชพระคุณในการนำพาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานตามเป้าหมาย ว่าเมื่อผู้นำและภาวะผู้นำมีคุณธรรมแล้วประชาชนย่อมอยู่เป็นสุข คุณธรรมของการเป็นผู้นำและภาวะผู้นำนั้น เป็นหลักของการบริการที่ดี เรียกว่า ธรรมาธิปไตย หมายถึงการบริหารโดยถึงธรรมเป็นใหญ่ กล่าวคือยึดหลักบรรทัดฐาน หลักการและคุณธรรม เป็นแนวทางในการบริหาร และการบริหารนั้นต้องใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ หรือใช้อำนาจและคุณธรรม ซึ่งจะทำให้ได้ทั้งน้ำใจและผลของงานภาพรวมของกรอบการพัฒนาและความร่วมมือกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีความเด่นชัดที่สุดคือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในกรอบการพัฒนาทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารงานบุคคล 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านการบริหารงบประมาณ 4) ด้านสาธารณสุข 5) ด้านการบริการสาธารณะ โดยในการขับเคลื่อนทั้ง 5 ด้านนี้ จะเพิ่มความชัดเจน มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบมีแบบแผนที่ชัดเจนต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งต่อองค์กร และนำไปสู่ภาคประชาชนอย่างจริงจัง ซึ่งองค์ความรู้ในการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ “HICM” Model
The objectives of this dissertation are as follows: 1) to study leadership 2) to study the principles of Theravada Buddhist philosophy 3) to analyze leadership development according to Theravada Buddhist philosophy in local administrative organizations in Samut Sakhon Province; and 4) to present a leadership development model based on Theravada Buddhist philosophy in the local government organization, Samut Sakhon Province. There is a qualitative research, using in-depth interviews and the key informants were divided into 1) a group of 6 monks and 2) a group of 9 lay people, totaling 15 persons in 3 districts, namely 1) Mueang Samut Sakhon District 2) Amphoe Ban Phaeo and 3) Krathum Baen District in Samut Sakhon Province. The results were showed that: leaders are people who apply their knowledge and abilities to the point of power, influence, or acceptance. Until being able to motivate others or lead others to carry out group work tasks or organization to achieve its objectives or goals set by leaders or organizations and that leadership It may refer to the process by which the leader exerts influence. or authority in the administration of art both telling and instructing, directing or directing to convince subordinates to do their best. In order for the operations of the organization to achieve the common objectives of transferring ideas into practice. In other words, leadership is the process of motivating and interacting with everyone in the organization to understand the circle of the organization so that the organization can carry out activities to achieve its objectives and goals. Sappurisadhamma 7 emphasizing intelligence Put yourself right and have the grace to lead the subordinates to work according to the goals. that when leaders and leadership are virtuous, people will live happily The virtue of leadership and that leadership It is the principle of good service called Dhammathipataya. That is, adhere to the norm. principles and virtues as a guideline for management and administration requires both the power and grace. or using power and virtue which will make both the kindness and the result of the work. Overview of the development framework and cooperation of local government organizations in Samut Sakhon Province The most obvious is Sufficiency Economy Philosophy making it practically possible in the development framework, all 5 aspects are 1) Personnel Management 2) Education 3) Budget Management 4) Public Health 5) Public Service in driving these 5 aspects will increase clarity There is a systematic operation with a clear continuous pattern. to achieve efficiency and effectiveness for both the organization and seriously lead to the public sector which the body of knowledge in presenting a leadership development model according to Theravada Buddhist philosophy in Samut Sakhon Local Administrative Organization “HICM” Model.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสัมมาทิฏฐิ 2) เพื่อพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อศึกษารูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลักและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มที่ 1 พระราชาคณะ พระสังฆาธิการ พระภิกษุผู้จบการศึกษาระดับเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 5 รูป กลุ่มที่ 2 นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 รูป/คน ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มที่ 3 อุบาสกอุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา จำนวน 5 คนรวมทั้งสิ้น จำนวน 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. สัมมาทิฏฐิ มีความสำคัญ คือความเห็นธรรมที่ถูกต้อง ชื่อว่า สัทธรรม และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ นำมาซึ่งความดีงาม และความเจริญรุ่งเรืองเพียงอย่างเดียว สัมมาทิฏฐิตามนัยทางพระพุทธศาสนา จึงชื่อว่าเป็นพื้นฐานแห่งความเกิดขึ้นแห่งความดีงาม หรือกุศลธรรมทั้งหลาย และเป็นบ่อเกิดแห่งธรรมทั้งมวล 2. การพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทสามารถทำได้โดยการสร้างปัจจัยการเกิดสัมมาทิฏฐิ เนื่องจากสัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ด้วยเหตุนี้เองจึงมีหลักธรรมหลายหมวดที่นำมาพัฒนาด้วยการแสดงปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ 3. รูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมเป็นรูปแบบที่มีปรโตโฆสะโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และอยู่ภายใต้ ศีล สมาธิ ปัญญา การรับรู้ เป็นการรับรู้ที่ถูกต้อง 4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “WARM MODEL” โมเดล W = Wisdom คือ ภูมิปัญญาหมายถึง พัฒนาการเห็นชอบสรรพสิ่งด้วยปัญญา, A = Auspiciousness คือ ความเป็นสิริมงคลหมายถึง พัฒนาการเห็นชอบปรารถนาความมงคล, R = Real คือ จริง หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบตามเป็นจริง, M = Middle path คือ ทางสายกลาง หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบยิ่งทางสายกลาง
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสัมมาทิฏฐิ 2) เพื่อพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อศึกษารูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลักและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มที่ 1 พระราชาคณะ พระสังฆาธิการ พระภิกษุผู้จบการศึกษาระดับเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 5 รูป กลุ่มที่ 2 นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 รูป/คน ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพระพุทธศาสนา กลุ่มที่ 3 อุบาสกอุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา จำนวน 5 คนรวมทั้งสิ้น จำนวน 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. สัมมาทิฏฐิ มีความสำคัญ คือความเห็นธรรมที่ถูกต้อง ชื่อว่า สัทธรรม และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ นำมาซึ่งความดีงาม และความเจริญรุ่งเรืองเพียงอย่างเดียว สัมมาทิฏฐิตามนัยทางพระพุทธศาสนา จึงชื่อว่าเป็นพื้นฐานแห่งความเกิดขึ้นแห่งความดีงาม หรือกุศลธรรมทั้งหลาย และเป็นบ่อเกิดแห่งธรรมทั้งมวล 2. การพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทสามารถทำได้โดยการสร้างปัจจัยการเกิดสัมมาทิฏฐิ เนื่องจากสัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ด้วยเหตุนี้เองจึงมีหลักธรรมหลายหมวดที่นำมาพัฒนาด้วยการแสดงปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ 3. รูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่เหมาะสมเป็นรูปแบบที่มีปรโตโฆสะโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และอยู่ภายใต้ ศีล สมาธิ ปัญญา การรับรู้ เป็นการรับรู้ที่ถูกต้อง 4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “WARM MODEL” โมเดล W = Wisdom คือ ภูมิปัญญาหมายถึง พัฒนาการเห็นชอบสรรพสิ่งด้วยปัญญา, A = Auspiciousness คือ ความเป็นสิริมงคลหมายถึง พัฒนาการเห็นชอบปรารถนาความมงคล, R = Real คือ จริง หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบตามเป็นจริง, M = Middle path คือ ทางสายกลาง หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบยิ่งทางสายกลาง
The objectives this dissertation are : 1) To study right views, 2) To develop right views according to Theravada Buddhist philosophy, 3) To study patterns in developing right views according to Theravada Buddhist philosophy, and 4)To present the body of knowledge about the development of right views according to Theravada Buddhist philosophy. The research is documentary qualitative research by studying and analyzing information from the Tipitaka, commentaries, and relevant textbooks and related other documents. The research methodology also used in-depth interviews on the number of 15 key informants by classifying into 3 groups, namely group 1 consisting of 5 Buddhist monks who graduated in Pali grade 9 and group 2 consisting of 5 Buddhist scholars who have expertise in Buddhism and group 3 consisting of 5 Buddhist laypeople in Buddhism. The content analysis is in the presenting descriptive information. The results of the research were as follows: 1. Right view is important due to see the right dhamma, called Saddhamma. The Dhamma is very useful by bring only beauty and prosperity. The right view according to Buddhist perspectives is, therefore, the basis of the emergence of goodness or wholesome and is the source of all Dharmas. 2. The development of right view according to Theravada Buddhist philosophy can be done by creating the condition of right view. Because it could not arise by itself if without its condition. That is why there are many categories of Dharma accompanied with right view as the condition. 3. The appropriate model of right view development according to Theravada Buddhist philosophy is always composed of Paratoghosa and Yonisomanasikara. These are the cause of right view and under the principles of precepts, concentration, wisdom as the right perception. 4. The new body of knowledge called “WARM MODEL”. The acronym of this model means as follows; W = Wisdom means development of approval of all things with wisdom, A = Auspiciousness means development of auspicious desires, R = Real means development of approval according to reality, and M = Middle Path means the development of approval through the middle path.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยครอบคลุมกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านหลักการสำคัญ ด้านการกำหนดทิศทาง ด้านการประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และด้านการประเมินผลและการควบคุม มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลจำนวน 21 คน ใช้เทคนิค การวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) และการวัดการกระจาย คือค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Range) ผลการวิจัยพบว่า: 1. หลักการสำคัญ(key principles) พบว่า นำสารสนเทศที่เป็นข้อมูลที่มีปริมาณมาก (Big data) มาใช้ในกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ สร้างวิสัยทัศน์ร่วม(Shared Vision)ระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ นำระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทาง ประเมินสภาพแวดล้อม กำหนดกลยุทธ์ นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และประเมินผลและควบคุม คำถึงนโยบายสาธารณะ(Public Policy) สอดคล้องกับโครงสร้างของประชากรที่มีขนาดลดลง ควบคุมและประเมินผลใช้การวิเคราะห์ข่ายงานด้วยเทคนิคการหาเส้นทางวิกฤต(Critical Path Method : CPM) และใช้กระบวนการบริหารเชิงระบบ(System Approach) มีกระบวนการสร้างความสอดคล้องในการปฏิบัติ (Harmony) 2. การกำหนดทิศทาง(Direction Setting) พบว่า กำหนดทิศทางด้วยปัจจัยสู่ความสำเร็จด้วยความเห็นร่วมของบุคคลในสถานศึกษา สรรหาทรัพยกรบุคคลที่มีความพร้อมในการพัฒนาตนเองให้มีความทันสมัย มีความยืดหยุ่น มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง กำหนดเป็นเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์(Strategic Intent) มีความชัดเจนสามารถมองเห็นเป้าหมายปลายทางที่ต้องการ มีความสอดคล้องกับปรัชญาทางการศึกษา กรอบทิศทางและแนวทางการดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาประเทศ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลความสำเร็จ(Objective key result : OKRs) คำนึงถึงนโยบายของทุกระดับ ระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีความสอดคล้องกับบรรทัดฐาน(Norm) ของสังคม 3. การประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม(Environment Scanning) พบว่า ประเมินเพื่อให้ทราบสถานะต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประเมินกายภาพให้มีความเหมาะสม เพียงพอ ทันสมัยและรองรับยุคดิจิทัล ประเมินปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมใหม่ ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษา ได้แก่ วัฒนธรรมทางสังคม (Sociocultural) เทคโนโลยี (Technological) เศรษฐกิจ (Economic) การเมืองและกฎหมาย (Political-Legal) วิเคราะห์ค่านิยมส่วนบุคคล กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ(personal values) วิเคราะห์ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค(Threat)เพื่อปรับตัวและรับมือกับเหตุการณ์และความเสี่ยง วิเคราะห์ตัวสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารในสภาพปัจจุบัน 4.
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยครอบคลุมกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านหลักการสำคัญ ด้านการกำหนดทิศทาง ด้านการประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และด้านการประเมินผลและการควบคุม มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลจำนวน 21 คน ใช้เทคนิค การวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) และการวัดการกระจาย คือค่าพิสัยควอไทล์ (Interquartile Range) ผลการวิจัยพบว่า: 1. หลักการสำคัญ(key principles) พบว่า นำสารสนเทศที่เป็นข้อมูลที่มีปริมาณมาก (Big data) มาใช้ในกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ สร้างวิสัยทัศน์ร่วม(Shared Vision)ระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ นำระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทาง ประเมินสภาพแวดล้อม กำหนดกลยุทธ์ นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และประเมินผลและควบคุม คำถึงนโยบายสาธารณะ(Public Policy) สอดคล้องกับโครงสร้างของประชากรที่มีขนาดลดลง ควบคุมและประเมินผลใช้การวิเคราะห์ข่ายงานด้วยเทคนิคการหาเส้นทางวิกฤต(Critical Path Method : CPM) และใช้กระบวนการบริหารเชิงระบบ(System Approach) มีกระบวนการสร้างความสอดคล้องในการปฏิบัติ (Harmony) 2. การกำหนดทิศทาง(Direction Setting) พบว่า กำหนดทิศทางด้วยปัจจัยสู่ความสำเร็จด้วยความเห็นร่วมของบุคคลในสถานศึกษา สรรหาทรัพยกรบุคคลที่มีความพร้อมในการพัฒนาตนเองให้มีความทันสมัย มีความยืดหยุ่น มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง กำหนดเป็นเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์(Strategic Intent) มีความชัดเจนสามารถมองเห็นเป้าหมายปลายทางที่ต้องการ มีความสอดคล้องกับปรัชญาทางการศึกษา กรอบทิศทางและแนวทางการดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาประเทศ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลความสำเร็จ(Objective key result : OKRs) คำนึงถึงนโยบายของทุกระดับ ระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีความสอดคล้องกับบรรทัดฐาน(Norm) ของสังคม 3. การประเมินองค์กรและสภาพแวดล้อม(Environment Scanning) พบว่า ประเมินเพื่อให้ทราบสถานะต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประเมินกายภาพให้มีความเหมาะสม เพียงพอ ทันสมัยและรองรับยุคดิจิทัล ประเมินปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมใหม่ ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษา ได้แก่ วัฒนธรรมทางสังคม (Sociocultural) เทคโนโลยี (Technological) เศรษฐกิจ (Economic) การเมืองและกฎหมาย (Political-Legal) วิเคราะห์ค่านิยมส่วนบุคคล กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ(personal values) วิเคราะห์ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค(Threat)เพื่อปรับตัวและรับมือกับเหตุการณ์และความเสี่ยง วิเคราะห์ตัวสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารในสภาพปัจจุบัน 4.
การกำหนดกลยุทธ์(Strategic Formulation) พบว่า กำหนดให้มีปรัชญาใหม่ ๆ ที่ใช้เป็นแนวทางที่สามารถทำให้ผู้เรียนชอบและมีความสุขและสนุกสนานและอยากเรียนรู้ตลอดชีวิต ปลด ลดงาน ที่เป็นภาระของครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน แนวคิดเชิงระบบ คิดบวก คิดเชิงรุกและคิดเชิงบูรณาการ มีความท้าทายเชิงกลยุทธ์(Strategic Challenges) มีแนวทางที่จะทำให้บรรลุถึงภารกิจหลักที่ตั้งไว้บนรากฐานของข้อมูล ข้อเท็จจริง(Fact - based) เป็นแนวทางพื้นฐานทำให้เด็กสามารถใช้ชีวิตในโลกของยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิต(Technology Disruption) สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์แบบพลิกผัน (Disruptive Change) สร้างทางเลือกอย่างสร้างสรรค์และหลากหลายพร้อมทั้งข้อดี ข้อเสีย ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 5. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ(Strategic Implementing) พบว่า ให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน พัฒนาระบบทรัพยากรมนุษย์ให้รองรับกับแผนกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นให้สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการลดขั้นตอนการทำงาน เลือกใช้แอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่มีความเหมาะสม นำกลยุทธ์รวมขององค์กรแต่ละสายงานแต่ละฝ่ายไปกระจายเป็นแผนกลยุทธ์ระดับหน่วยงานเป็นแผนแม่บท(Master Plan) ติดตามเป็นระบบและปรับเปลี่ยนให้ทันสถานการณ์ใช้แนวคิดและวิธีวงจรคุณภาพในการกำกับติดตามแผนและปรับปรุงพัฒนา ปรับใช้วิธีการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่สำคัญ(KORs) สร้างความรู้สึกร่วมที่จะทำให้เป้าหมายบรรลุผลสำเร็จ นำแผนแม่บท(Master Plan)มาแยกย่อยให้กลายเป็นเป็นแผนปฏิบัติการ(Action Plan)ที่ชัดเจน ใช้ภาวะผู้นำ(Leadership) ในการสร้างอิทธิพลต่อพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กรให้ไปในทิศทางการปฏิบัติตามกลยุทธ์ 6. การประเมินผลและการควบคุม(Evaluation and Control) พบว่า ประเมินผลเพื่อให้เกิดการพัฒนาโดยประเมินความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ติดตามและตรวจสอบปัญหา กำหนดแนวทางปรับปรุง และพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง การควบคุมกลยุทธ์ให้มีความยืดหยุ่น ข้อมูลถูกต้อง และทันเวลา กำหนดสิ่งที่จะวัด กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน วัดการปฏิบัติงานจริง เปรียบเทียบการปฏิบัติงานจริงกับมาตรฐานและปฏิบัติการแก้ไข การกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นทางการ (Formal Target Setting) การตรวจสอบ (Monitoring) การประเมินผล (Evaluation) และข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ใช้ข้อมูลอนาคตเข้าไปกำหนดเป็นตัวควบคุม”(Feedforward Control) ซึ่งจะเป็นการควบคุมก่อนการปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Pre-action Control) โดยใช้ข้อมูลอนาคต ตรวจสอบกิจกรรมและผลการปฏิบัติงานนำมาเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริง (Actual Performance) กับผลการดำเนินงานที่ตั้งความมุ่งหวังไว้(Desired Performance) นำไปแก้ไข(Take Corrective Action) ประเมินจาก Outcome ใช้ข้อมูลนี้เปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่วางแผนไว้ในขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์ ประเมินผลปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor : KSF) ด้วยดัชนีชี้วัดความสำเร็จ(Key Performance Indicator : KPI ) เป็นการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้รับกับเป้าหมายที่วางไว้ว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ การยอมรับ มีกระบวนการติดตามอย่างเป็นระบบ รายไตรมาส และเพิ่มพื้นที่พูดคุยอย่างเป็นระบบระหว่างปีเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนเป้าหมายได้ทันตามความจำเป็น
This dissertation aims to study the scenario of strategic management of government schools under The Bangkok Metropolitan Administration. This study comprehensively investigates strategic management processes, organizational direction, organizational and environmental assessment, strategic formulation, strategic implementation, and strategic evaluation and control. The participants were 21 experts in this field, and the methodology applied in this study was Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique. The finding of the study revealed that: 1. Principles: Big data can create a shared vision between policy actors and policy leaders in strategic management processes. Considering the population decline, an Artificial Intelligence System (AI) should be applied to analyze the data for determining the organizational direction, evaluating the environment, developing strategies, implementing strategies, and assessing and controlling as per Public Policy. Critical Path Method (CPM), System Approach, and Harmony Method are applied to analyze the job field. 2. Determining direction: Establishing a successful direction should consist of accepting the individuals’ opinions in educational institutions and recruiting flexible and adaptable employees. They should be specified as clear strategic intent and desired goals and be consistent with the educational philosophy, framework, and direction of the implemented fundamental education and national development. In addition, determining direction should consider world changes. To establish Objective Key Results (OKRs) should be concentrated on policies at all levels, regulations, and laws that are relevant to the norms of society. 3. Assessing the organization and environment: Evaluation is the process of understanding the condition and reducing risk. Physical assessment should be appropriate, modern, and adaptive in digital transformation and be relevant to technology and innovation. Physical evaluation should be proper, up-to-date, and adaptive in digital transformation and be relevant to technology and innovation. The factors that affect educational institutions should be analyzed: sociocultural, technological, economic, political-legal, personal values, strengths, weaknesses, opportunities, current management in an educational situation, and threats for adapting and dealing with problems and risks. 4. Strategy Formulation: Formulating new philosophy can help learners be happy, have fun learning, and desire to learn throughout their entire lives. Formulating a strategy should include layoff and burdensome work reduction. There are higher-order thinking skills in strategic challenges. In addition, there is a path to achieve the principal mission based on fact-based information as an elementary approach to enabling children to live in a world of technology disruption. These can create competitive advantage, flexibility, and adaptability to disruptive changes. Moreover, this strategy can make creative and diverse choices with advantages, disadvantages, possibilities, appropriateness, and consistency within the school context. 5. Strategy Implementation: Strategy implementation should be active, fast, and consistent with the current situation. Human resources should be developed to support the strategic plan created to be able to operate efficiently. Technology should be adopted to reduce the working process by choosing the appropriate application or software. The combination strategy of each organization should be distributed to an agency-level strategic plan as a Master Plan. Quality control cycle concepts and methods are used to supervise, monitor plans and improve development. Objectives and key outcome methods (KORs) are deployed to create a sense of strategy to achieve the goal. The Master Plan should be divided into a clear action plan. Leadership is applied to influence members' conduct of the organization to the direction of strategic implementation. 6. Evaluation and control: Principal purposes of the evaluation are to develop, monitor, investigate issues, and determine guidelines for improvement and development according to the real situation by evaluating opinions from stakeholders. Evaluation and control should be flexible, controlled, accurate and timely information. It is significant to determine what to assess, set performance standards, evaluate authentic performance, and compare actual performance standards with corrective action. There should be formal target setting, monitoring, evaluation, and feedback. Feedforward control is applied to control pre-action control and investigate activities and performance for comparing actual performance with desired performance. Corrective action is assessed by the outcome to compare the actual performance with the planned strategy process. The Key Success Factor (KSF) is evaluated by using Key Performance Indicator (KPI). It compares achieved results with the appropriate goals, possibilities, and acceptance. There should be a quarterly systematic monitoring process and dialogue space during the year for changing the set goals as needed
หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อได้ตัวแปรของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 364 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น (Opinionnaire) แบบตรวจสอบรายการพร้อมข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบตรวจสอบรายการ (Check list) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.985 เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า ได้ตัวแปรการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มี 5 องค์ประกอบ 112 ตัวแปร 2. วิเคราะห์องค์ประกอบและร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติจาก 5 องค์ประกอบ 112 ตัวแปร เหลือ 4 องค์ประกอบ 50 ตัวแปร ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถานศึกษา มี 10 ตัวแปร 2) การกำหนดทิศทางของสถานศึกษา มี 14 ตัวแปร 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปใช้ในสถานศึกษา มี 17 ตัวแปร และ4) การควบคุมและประเมินแผนกลยุทธ์สถานศึกษา มี 9 ตัวแปร 3.การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 100
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อได้ตัวแปรของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 364 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น (Opinionnaire) แบบตรวจสอบรายการพร้อมข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบตรวจสอบรายการ (Check list) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.985 เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า ได้ตัวแปรการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มี 5 องค์ประกอบ 112 ตัวแปร 2. วิเคราะห์องค์ประกอบและร่างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติจาก 5 องค์ประกอบ 112 ตัวแปร เหลือ 4 องค์ประกอบ 50 ตัวแปร ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถานศึกษา มี 10 ตัวแปร 2) การกำหนดทิศทางของสถานศึกษา มี 14 ตัวแปร 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปใช้ในสถานศึกษา มี 17 ตัวแปร และ4) การควบคุมและประเมินแผนกลยุทธ์สถานศึกษา มี 9 ตัวแปร 3.การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 100
This purpose of this research were as follows: 1) to get the components from strategic administration for Phrapariyattidhamma Schools, General Education Division 2) Analyze components and draft a strategic administration model for Phrapariyattidhamma Schools, General Education Division and 3) to evaluate and affirm a strategic administration model for Phrapariyattidhamma Schools, General Education Division. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected by questionnaires with reliability at 0.985, item checklist with suggestions from experts and checklist forms from 364 samples consisting of school directors and teachers in Phrapariyattidhamma Schools, General Education Division. The were collected from January 2022 to December 2022 and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis. 1. The components of Strategic Administration for Phrapariyattidhamma Schools, General Education Division consist of 5 components and 112 variables. 2. Strategic Administration Model for Phrapariyattidhamma Schools, General Education Division according to the concept of Phrapariyattidhamma Schools, General Education Division from exploratory factor analysis (EFA) has 4 main components; 1) an analysis of the educational school's environment, there were 10 variables. 2) setting the direction of the educational school, there were 14 variables. 3) implementing the strategic plan in the educational schools, there were 17 variables. and 4) controlling and evaluating the plan. academy strategy, there were 9 variables. 3. The evaluation and confirmation of model from experts in its were at 100 verification of acceptable range of accuracy, suitability, possibility, and practicality.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก 3)เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลทางเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และจัดเวทีเสวนากลุ่ม จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยสนับสนุนแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก พบว่า ปัจจัยต่างๆที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การมีชีวิตที่ดีมีความสุขมีความสมบูรณ์เกี่ยวกับปัจจัยทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และ ด้านสังคม มีการดำรงชีวิตอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคมหนึ่งๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ รวมทั้งเป็นความรู้สึกของการอยู่อย่างพอใจต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ของชีวิต พร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และบุคคลสามารถดำรงตนเองให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม เป็นคนที่รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและไม่ทำตนให้เป็นภาระที่ก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคม 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก พบว่า มีแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการอบรมกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการจัดกิจกรรมในประเพณีต่างๆในทางศาสนา กระบวนการเผยแพร่ข่าวสารทั้งภาครัฐและเอกชน กระบวนการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง กระบวนการรัฐสวัสดิการหรือการช่วยเหลือทางภาครัฐ 3) การนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก ผ่านรูปแบบที่เรียกว่า เรียกว่า OMGI Model กล่าวคือ O หมายถึง Original Traditions (ประเพณีต้นแบบ), M หมายถึง Moralities คุณธรรมจริยธรรมต่างๆ, G หมายถึง Guidelines แนวทางการพัฒนา, I หมายถึง Indicators ตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก 3)เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลทางเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และจัดเวทีเสวนากลุ่ม จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยสนับสนุนแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก พบว่า ปัจจัยต่างๆที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การมีชีวิตที่ดีมีความสุขมีความสมบูรณ์เกี่ยวกับปัจจัยทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และ ด้านสังคม มีการดำรงชีวิตอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคมหนึ่งๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ รวมทั้งเป็นความรู้สึกของการอยู่อย่างพอใจต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ของชีวิต พร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และบุคคลสามารถดำรงตนเองให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม เป็นคนที่รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและไม่ทำตนให้เป็นภาระที่ก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคม 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก พบว่า มีแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการอบรมกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการจัดกิจกรรมในประเพณีต่างๆในทางศาสนา กระบวนการเผยแพร่ข่าวสารทั้งภาครัฐและเอกชน กระบวนการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง กระบวนการรัฐสวัสดิการหรือการช่วยเหลือทางภาครัฐ 3) การนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้หลักธรรมในประเพณีต้นแบบของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นฐานราก ผ่านรูปแบบที่เรียกว่า เรียกว่า OMGI Model กล่าวคือ O หมายถึง Original Traditions (ประเพณีต้นแบบ), M หมายถึง Moralities คุณธรรมจริยธรรมต่างๆ, G หมายถึง Guidelines แนวทางการพัฒนา, I หมายถึง Indicators ตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพ
The objectives of this research were as follows: 1) to study the contributing factors to guide the life quality development of people based on Buddhadhamma in the original tradition of Nakhon Si Thammarat as basically 2) to study the guideline for life quality development of people based on Buddhadhamma in the original tradition of Nakhon Si Thammarat as basically 3) to present the guideline for life quality development of people based on Buddhadhamma in the original tradition of Nakhon Si Thammarat as basically. This research was qualitative research by collecting data from documents, in-depth interviews, and organizing a group discussion with the scholars and experts, 16 persons. The research tools were interview forms and data analysis by a descriptive method. The findings were as follows : 1. The contributing factors to guide the life quality development of people based on Buddhadhamma in the original tradition of Nakhon Si Thammarat as basically found that the factors which are contributed to the life quality development of people referred to the happy and good life, perfect life, on the factors on physical, mental, and social. There are living on the proper level according to a basic need in society at a moment time, and to get satisfactory to components of life and ready to be a self-development for suitable in social change and they can be performed as benefit ability both oneself and society, can be helped each other without burden to others. 2. The guideline for life quality development of people based on Buddhadhamma in the original tradition of Nakhon Si Thammarat as basically found that the guideline for moving the processes of life quality development must be composed of; the process of training, the process of religion’s affair traditional training, the process of public and private advertising, the process of self-development and the process of state welfare contribution. 3. The presentation of the guideline for life quality development of people based on Buddhadhamma in the original tradition of Nakhon Si Thammarat as basically throughout OMGI model, O = Original Traditions, M = Moralities, G = Guidelines, I = Indicators
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูป/คน ทั้งในส่วนสัมภาษณ์เชิงลึกและการเสวนากลุ่ม นำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดระบบเป็นหมวดหมู่ และสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: สภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี มี 5 ด้าน 1) ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 2) ด้านความมั่นคงและปลอดภัยโดยการเรียนรู้วิธีการประกอบอาชีพต่าง ๆ 3) ด้านสัมพันธภาพภายในครอบครัวและคนในสังคมด้วยการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 4) ด้านการได้รับการยกย่องด้วยการจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ 5) ด้านการต้องการพัฒนาตนเองโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา การพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 5 ด้าน 1) กิจกรรมอาหารกาย อาหารใจ เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านมาตรฐานคุณภาพชีวิต 2) กิจกรรมความพอเพียง เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านความสุขในการดำรงชีวิต 3 กิจกรรมเทคนิคการเชื่อมสัมพันธ์ เกื้อกูลคุณค่าด้านความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ 4) กิจกรรมแสดงความสามารถด้านภูมิปัญญา เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง เกิดความภาคภูมิใจ 5) กิจกรรมปฏิบัติธรรมตามวัย ให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองด้านคุณความดี คือ การบรรลุซึ่งศีลธรรม และด้านพลังอำนาจ คือ การมีอิทธิพลต่อตนเองและผู้อื่น รูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนามีกระบวนขั้นตอนเรียกว่า “ระดับการศึกษา 4 ขั้น” ระดับปฐมาวุโส มีความรู้ มีความรู้ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ระดับทุติยาวุโส อยู่เป็น การเรียนรู้ในการสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ระดับตติยาวุโส เห็นปัญญา การรับรู้ความสามารถตนเองด้านภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ระดับจตุราวุโส การพัฒนาตน กิจกรรมปฏิบัติธรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุขจากการเข้าใจโลกตามความเป็นจริง ระดับการศึกษา 4 ขั้น ที่ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าของตนเองทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งอยู่ในสัญลักษณ์ดวงตาแห่งคุณค่า เรียกว่า SCCL MODEL
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูป/คน ทั้งในส่วนสัมภาษณ์เชิงลึกและการเสวนากลุ่ม นำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดระบบเป็นหมวดหมู่ และสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: สภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี มี 5 ด้าน 1) ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 2) ด้านความมั่นคงและปลอดภัยโดยการเรียนรู้วิธีการประกอบอาชีพต่าง ๆ 3) ด้านสัมพันธภาพภายในครอบครัวและคนในสังคมด้วยการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 4) ด้านการได้รับการยกย่องด้วยการจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ 5) ด้านการต้องการพัฒนาตนเองโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา การพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 5 ด้าน 1) กิจกรรมอาหารกาย อาหารใจ เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านมาตรฐานคุณภาพชีวิต 2) กิจกรรมความพอเพียง เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านความสุขในการดำรงชีวิต 3 กิจกรรมเทคนิคการเชื่อมสัมพันธ์ เกื้อกูลคุณค่าด้านความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ 4) กิจกรรมแสดงความสามารถด้านภูมิปัญญา เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง เกิดความภาคภูมิใจ 5) กิจกรรมปฏิบัติธรรมตามวัย ให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองด้านคุณความดี คือ การบรรลุซึ่งศีลธรรม และด้านพลังอำนาจ คือ การมีอิทธิพลต่อตนเองและผู้อื่น รูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนามีกระบวนขั้นตอนเรียกว่า “ระดับการศึกษา 4 ขั้น” ระดับปฐมาวุโส มีความรู้ มีความรู้ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ระดับทุติยาวุโส อยู่เป็น การเรียนรู้ในการสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ระดับตติยาวุโส เห็นปัญญา การรับรู้ความสามารถตนเองด้านภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ระดับจตุราวุโส การพัฒนาตน กิจกรรมปฏิบัติธรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุขจากการเข้าใจโลกตามความเป็นจริง ระดับการศึกษา 4 ขั้น ที่ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าของตนเองทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งอยู่ในสัญลักษณ์ดวงตาแห่งคุณค่า เรียกว่า SCCL MODEL
The objectives of this dissertation were as follows 1) to study the condition of factors contributing to the self-esteem of the elderly in the elderly school in Kanchanaburi Province, 2) to develop factors contributing to the self-esteem based on Buddhism of elders in the elderly school in Kanchanaburi Province, 3) to present a model for developing factors contributing to the self-esteem based on Buddhism in the elderly school in Kanchanaburi Province. The dissertation was qualitative research in which all data were collected from the Tipitaka, Commentaries, Texts and relevant documents and other researches. There were 26 key informant persons used both in the in-depth interview and group discussion. The data were systematically analyzed and presented the results through the narrative interpretation. The research results showed that : Conditions of factors contributing to the self-esteem of the elderly in the elderly school in Kanchanaburi Province consist of 5 aspects namely; 1) Physical and environment concerning to healthy education and arrangement of the environment and accommodation suitable for the elderly, 2) Security and safety concerning to train the method of various occupations, 3) Relationship within the family and people in society concerning to provide beneficial activities, 4) Recognition concerning to provide activities in the Elderly Day, and 5) Self-development concerning to encourage the elders to learn Buddhist perspectives. The development of factors contributing to the self-esteem of the elderly based on Buddhism of elders in the elderly school in Kanchanaburi Province are consisted of 5 aspects; 1) to contribute esteem in term of quality of life standard by supporting both physical food and mental food, 2) to contribute esteem in term of happiness in life by creating sufficiency activities, 3 to contribute esteem in term of self-important perception by providing collaborative technique activities, 4) to contribute esteem in term of self-worthy to be proud by showing intelligent activities, and 5) to contribute esteem in term of virtue regarding to attainment of morality and power regarding to influence oneself and others by practicing Dhamma suitable for the elderly. The model of factors development contributing to the self-esteem of the elderly based on Buddhism of elders in the elderly school in Kanchanaburi Province laid upon the process called “4 levels of education”. The first level is Pathamavuso. It is a beginning elder level consisting of knowledge to create a good quality of life. The second level is Dutiyavuso. It is a know-how living level consisting of learning to build relationships with those around you. The third level is Tatiyavuso. It is a right view level consisting of perceiving to improve self-capability. The fourth level is Caturavuso. It is a self-development level consisting of practicing to cultivate the right realization of the world for making the elders happy. In order to conclude all 4 levels of education as the body of knowledge of self-esteem elderly contribution is called “SCCL MODEL in the value eye symbol”.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จ เป็นปฏิบัติการในโครงการวิจัยบนพื้นฐานจากการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและจากการเป็นสังคมฐานความรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยนำเอานานาทัศนะสากลเกี่ยวกับแนวการพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จที่มีผู้รู้นำเสนอไว้อย่างหลากหลายทางอินเทอร์เน็ต มาจัดกระทำโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถนำมาใช้ในการเสริมพลังการเรียนรู้ให้กับครู แล้วครูนำผลการเรียนรู้นั้นไปสู่การพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด “ความรู้และการกระทำคืออำนาจ” (Knowledge and action are power) โดยเชื่อว่าหากครูเกิดการเรียนรู้แล้ว ครูย่อมนำผลการเรียนรู้นั้นสู่การปฏิบัติในห้องเรียนก็จะก่อให้เกิดอำนาจที่ส่งผลลัพธ์ต่อผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจากผลการวิจัย ทำให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่เรียกว่า “โปรแกรมอบรมออนไลน์ด้วยตนเองเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จ” ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาจากครูผู้มีส่วนได้เสียกับการนำนวัตกรรมทางการศึกษานี้ไปใช้ และผ่านการวิจัยเชิงทดลองในภาคสนามแล้ว พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่านวัตกรรมทางการศึกษานี้สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้พัฒนาครูสู่การพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกูฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายในการเผยแพร่ผลงานวิจัยในครั้งนี้ได้ทั้งในส่วนกลางและวิทยาเขตทุกแห่ง
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จ เป็นปฏิบัติการในโครงการวิจัยบนพื้นฐานจากการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและจากการเป็นสังคมฐานความรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยนำเอานานาทัศนะสากลเกี่ยวกับแนวการพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จที่มีผู้รู้นำเสนอไว้อย่างหลากหลายทางอินเทอร์เน็ต มาจัดกระทำโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถนำมาใช้ในการเสริมพลังการเรียนรู้ให้กับครู แล้วครูนำผลการเรียนรู้นั้นไปสู่การพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด “ความรู้และการกระทำคืออำนาจ” (Knowledge and action are power) โดยเชื่อว่าหากครูเกิดการเรียนรู้แล้ว ครูย่อมนำผลการเรียนรู้นั้นสู่การปฏิบัติในห้องเรียนก็จะก่อให้เกิดอำนาจที่ส่งผลลัพธ์ต่อผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจากผลการวิจัย ทำให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่เรียกว่า “โปรแกรมอบรมออนไลน์ด้วยตนเองเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จ” ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาจากครูผู้มีส่วนได้เสียกับการนำนวัตกรรมทางการศึกษานี้ไปใช้ และผ่านการวิจัยเชิงทดลองในภาคสนามแล้ว พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่านวัตกรรมทางการศึกษานี้สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อใช้พัฒนาครูสู่การพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกูฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายในการเผยแพร่ผลงานวิจัยในครั้งนี้ได้ทั้งในส่วนกลางและวิทยาเขตทุกแห่ง
This research aims to enhance teachers' learning towards the development of successful students. It is an operation within a research project based on the foundation of digital technology advancements and the knowledge-based society in the 21st century. By utilizing various global perspectives on the development of successful students presented by experts on the internet, the research and development process is conducted to create educational innovations that can be applied to empower teachers' learning. Teachers will then use their learning outcomes to develop students according to the concept "knowledge and action is power." The belief is that if teachers experience learning, they will bring that learning into practice in the classroom, leading to more effective outcomes for students. The research results in an educational innovation called "Self-Paced Online Training Program to Enhance Teachers' Learning for the Development of Successful Students." This innovation has been quality-checked by teachers who are stakeholders in its implementation and has undergone experimental field research. The findings indicate its effectiveness according to the established criteria, demonstrating that this educational innovation can be disseminated for the development of teachers towards the development of students at Mahamakut Buddhist University, the target population for the dissemination of this research, both centrally and at all regional campuses.
หนังสือ

    การวิจัยนี้เป็นปฏิบัติการในโครงการวิจัย “เสริมพลังการเรียนรู้ของครูสู่การเพิ่มพูนทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา” ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยเกี่ยวกับทักษะศตวรรษที่ 21 ของหลักสูตรศึกษาสาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน เป็นปฏิบัติการในโครงการวิจัยที่คณะผู้วิจัยได้ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์จากโอกาสการเป็นสังคมฐานความรู้และสังคมดิจิทัลในยุคปัจจุบัน โดยนำเอานานาทัศนะเกี่ยวกับทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีแพร่กระจายอย่างหลากหลายทางอินเทอร์เน็ตมาจัดกระทำด้วยระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถนำมาเสริมพลังการเรียนรู้ให้กับครู เพื่อให้ครูนำผลการเรียนรู้นั้นไปสู่การสอนให้เกิดผลกับผู้เรียน โดยมีความเชื่อว่าหากครูได้รับความรู้แล้ว กระตุ้นให้ครูนำความรู้นั้นสู่การปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดอำนาจ (Power) ให้การสอนของครูมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามแนวคิด “ความรู้ + การปฏิบัติ = อำนาจ” (Knowledge + Action = Power) ซึ่งจากผลการดำเนินการวิจัยทำให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่เรียกว่า “โปรแกรมอบรมออนไลน์ด้วยตนเองเพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ของครูสู่การเพิ่มพูนทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา” ที่ผ่านการตรวจสอบจากครูผู้มีส่วนได้เสียกับการนำนวัตกรรมทางการศึกษานี้ไปใช้ และผ่านกระบวนการของการวิจัยเชิงทดลองในสภาคสนามแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงสามารถนำนวัตกรรมทางการศึกษานี้ไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับการพัฒนาครูสู่การพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสาขาวิชาการสอนภาษาไทย สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งในส่วนกลางและวิทยาเขตทุกแห่ง ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายในการเผยแพร่ผลงานวิจัยในครั้งนี้ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ
การวิจัยนี้เป็นปฏิบัติการในโครงการวิจัย “เสริมพลังการเรียนรู้ของครูสู่การเพิ่มพูนทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา” ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยเกี่ยวกับทักษะศตวรรษที่ 21 ของหลักสูตรศึกษาสาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน เป็นปฏิบัติการในโครงการวิจัยที่คณะผู้วิจัยได้ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์จากโอกาสการเป็นสังคมฐานความรู้และสังคมดิจิทัลในยุคปัจจุบัน โดยนำเอานานาทัศนะเกี่ยวกับทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีแพร่กระจายอย่างหลากหลายทางอินเทอร์เน็ตมาจัดกระทำด้วยระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถนำมาเสริมพลังการเรียนรู้ให้กับครู เพื่อให้ครูนำผลการเรียนรู้นั้นไปสู่การสอนให้เกิดผลกับผู้เรียน โดยมีความเชื่อว่าหากครูได้รับความรู้แล้ว กระตุ้นให้ครูนำความรู้นั้นสู่การปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดอำนาจ (Power) ให้การสอนของครูมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามแนวคิด “ความรู้ + การปฏิบัติ = อำนาจ” (Knowledge + Action = Power) ซึ่งจากผลการดำเนินการวิจัยทำให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่เรียกว่า “โปรแกรมอบรมออนไลน์ด้วยตนเองเพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ของครูสู่การเพิ่มพูนทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา” ที่ผ่านการตรวจสอบจากครูผู้มีส่วนได้เสียกับการนำนวัตกรรมทางการศึกษานี้ไปใช้ และผ่านกระบวนการของการวิจัยเชิงทดลองในสภาคสนามแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงสามารถนำนวัตกรรมทางการศึกษานี้ไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับการพัฒนาครูสู่การพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสาขาวิชาการสอนภาษาไทย สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งในส่วนกลางและวิทยาเขตทุกแห่ง ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายในการเผยแพร่ผลงานวิจัยในครั้งนี้ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ
This research was conducted in a research project “Empowering Teachers' Learning to Enhance Students' Change Leadership Skills” which was one of the projects in the research program or series of research projects on 21st century skills of the Doctor of Education, Program in Educational Administration of Mahamakut Buddhist University Isan Campus. It was a research project where the research team realized to take advantage of the opportunities of being a knowledge-based society and digital society in today's era. The researchers brought various perspectives on change leadership skills that are widely spread through the Internet to create research and development methodologies to obtain educational innovations that can be used to empower learning with the teacher. The teachers incorporated the learning outcomes and made their lessons beneficial for the students. According to the concept of “knowledge + action = power”, if teachers were provided with knowledge and were encouraged to put it forth into practice, they would have the power to increase the effectiveness of their instruction. The research findings led to the development of an educational innovation known as a " Self-paced online training program to empower teachers' learning to enhance students' transformational leadership skills," which has been evaluated by teachers who were interested in putting it into practice and through a process of field-based experimental research and found to be effective according to the specified criteria. Therefore, this educational innovation can be disseminated for the benefit of teacher development to develop undergraduate students in the Thai language teaching Program, teaching English Program, and teaching social studies program of the Faculty of Education, Mahamakut Buddhist University both in the main campus and all other campuses which was the target population for the dissemination of this research quickly, economically and efficiently.