Search results

56 results in 0.1s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปรัชญาปฏิรูปนิยม 2. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3. เพื่อเปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปรัชญาปฏิรูปนิยม สรุปว่า ปรัชญาปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการแนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมีปรัชญาว่า ปฏิรูปสังคม เพื่อชีวิตที่ชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของตนเองดีขึ้น 2. ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกระบวนการให้และการรับความรู้ ประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติการสร้างจิตสำนึก สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีปรัชญาว่า ชีวิตที่สุขเกษมดีงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่สมดุล ในสังคมที่สันติสุข 3. เปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปได้ดังนี้ 1) เปรียบเทียบหลักสูตรโดยทั้งสองปรัชญามุ่งเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางในด้านสังคม 2) เปรียบเทียบการบริหารการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาครูเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน 3) เปรียบเทียบบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารเป็นสำคัญ 4) เปรียบเทียบการจัดการสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นให้สถาบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 5) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสอนที่สอดคล้องกับสังคม 6) เปรียบเทียบทรัพยากรทางการศึกษา ปรัชญาทั้งสองลัทธิมุ่งเน้นทรัพยากรในการบริหารและทรัพยากรการศึกษาเป็นหลักสำคัญ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปรัชญาปฏิรูปนิยม 2. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3. เพื่อเปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปรัชญาปฏิรูปนิยม สรุปว่า ปรัชญาปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการแนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมีปรัชญาว่า ปฏิรูปสังคม เพื่อชีวิตที่ชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของตนเองดีขึ้น 2. ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกระบวนการให้และการรับความรู้ ประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติการสร้างจิตสำนึก สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีปรัชญาว่า ชีวิตที่สุขเกษมดีงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่สมดุล ในสังคมที่สันติสุข 3. เปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปได้ดังนี้ 1) เปรียบเทียบหลักสูตรโดยทั้งสองปรัชญามุ่งเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางในด้านสังคม 2) เปรียบเทียบการบริหารการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาครูเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน 3) เปรียบเทียบบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารเป็นสำคัญ 4) เปรียบเทียบการจัดการสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นให้สถาบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 5) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสอนที่สอดคล้องกับสังคม 6) เปรียบเทียบทรัพยากรทางการศึกษา ปรัชญาทั้งสองลัทธิมุ่งเน้นทรัพยากรในการบริหารและทรัพยากรการศึกษาเป็นหลักสำคัญ
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study Reconstructionism, 2) to study education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto), and 3) to compare Reconstructionism and education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto). The data of this documentary qualitative study were collected from the primary and secondary sources concerned. The results of the study found that: 1) The Reconstructionism is originated from the combination of pragmatism and progressivism by placing a focus on education for society. Its slogan is social reform for intellectual life and better environment. 2) The education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto) is the process of giving and receiving experiences, attitude adjustment and building awareness in order to live a life in society appropriately. Its slogan is a good and happy life in balanced nature in a peaceful society. 3) It can be concluded from the comparison as follows: (1) In curriculum, both concepts place a focus on a specific excellence in society, (2) In educational administration, both concepts aim to develop teachers for problem solving in communities, (3) In educational personnel, education administrators are specially emphasized, (4) In educational institution management, both concepts accept educational institutes are the learning sources of communities, (5) In teaching and learning process and technology, student-centered learning and learning relevant to social contexts are focused, and (6) In educational resources, both philosophies emphasize administrative resources as well as educational resources.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1. กระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง วิธีการที่ทำให้พระพุทธสาวิกาบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบไปด้วย ลักษณะของการบรรลุธรรม คือลักษณะอาการที่จิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี 2 ลักษณะ คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เหตุแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ประการคือ 1)การฟังธรรม 2)การแสดงธรรม 3)การสาธยายธรรม 4)การพิจารณาธรรม 5)การภาวนา หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ได้ แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 องค์ประกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบด้วยบุคคลผู้ที่จะบรรลุธรรมจะต้องไม่เป็นอภัพบุคคล 6 ประเภท เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถแนะนำได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม คือ หลักสังโยชน์ หลักอริยสัจ 4 และหลักอายตนะ 12 วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม มี 3 วิธี คือวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า และ สมถะที่มีวิปัสสนาควบคู่กันไป ระดับของการบรรลุธรรมแบ่งออกเป็นระดับมรรค ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติมรรค 2) สกทาคามีมรรค 3) อนาคามิมรรค 4) อรหัตตมรรค ระดับผลแบ่ง ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติผล 2) สกทาคามีผล 3) อนาคามิผล 4) อรหัตตผล ประเภทของพระอรหันต์ 4 ประเภทคือ 1)สุกขวิปัสสโก 2)เตวิชโช 3)ฉฬภิญโญ 4)ปฏิสัมภิทัปปัตโต และผลของการบรรลุธรรม คือคุณวิเศษที่บรรลุ มี วิชชา 3 อภิญญา 6 2. กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาทนี้ได้นำเรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านมาศึกษาเป็นรายบุคคลมีจำนวน 8 ท่านคือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระภัททากัจจานาเถรี พระรูปนันทาเถรี พระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระเขมาเถรี และพระอัฑฒกาสีเถรี ทำให้ทราบว่ากระบวนการบรรลุธรรมของแต่ละท่านแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริต สถานะภาพ บุญบารมีที่สร้างสมมา และเรื่องราวชีวิตของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน 3.
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1. กระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง วิธีการที่ทำให้พระพุทธสาวิกาบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบไปด้วย ลักษณะของการบรรลุธรรม คือลักษณะอาการที่จิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส มี 2 ลักษณะ คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เหตุแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ประการคือ 1)การฟังธรรม 2)การแสดงธรรม 3)การสาธยายธรรม 4)การพิจารณาธรรม 5)การภาวนา หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ได้ แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 องค์ประกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรลุธรรมนั้นประกอบด้วยบุคคลผู้ที่จะบรรลุธรรมจะต้องไม่เป็นอภัพบุคคล 6 ประเภท เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถแนะนำได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม คือ หลักสังโยชน์ หลักอริยสัจ 4 และหลักอายตนะ 12 วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม มี 3 วิธี คือวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า และ สมถะที่มีวิปัสสนาควบคู่กันไป ระดับของการบรรลุธรรมแบ่งออกเป็นระดับมรรค ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติมรรค 2) สกทาคามีมรรค 3) อนาคามิมรรค 4) อรหัตตมรรค ระดับผลแบ่ง ได้ 4 ระดับ คือ 1) โสดาปัตติผล 2) สกทาคามีผล 3) อนาคามิผล 4) อรหัตตผล ประเภทของพระอรหันต์ 4 ประเภทคือ 1)สุกขวิปัสสโก 2)เตวิชโช 3)ฉฬภิญโญ 4)ปฏิสัมภิทัปปัตโต และผลของการบรรลุธรรม คือคุณวิเศษที่บรรลุ มี วิชชา 3 อภิญญา 6 2. กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาทนี้ได้นำเรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านมาศึกษาเป็นรายบุคคลมีจำนวน 8 ท่านคือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระภัททากัจจานาเถรี พระรูปนันทาเถรี พระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระเขมาเถรี และพระอัฑฒกาสีเถรี ทำให้ทราบว่ากระบวนการบรรลุธรรมของแต่ละท่านแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริต สถานะภาพ บุญบารมีที่สร้างสมมา และเรื่องราวชีวิตของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน 3.
วิเคราะห์กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้นำกระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาทั้ง 8 ท่านมาศึกษาวิเคราะห์เป็นรายบุคคล พบว่า ถึงแม้ว่ากระบวนการบรรลุธรรมของพระพุทธสาวิกาแต่ละท่านจะแตกต่างกันก็ตาม แต่กระบวนการบรรลุธรรมของทุกท่านก็เป็นไปตามกระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท มีความเหมือนและแตกต่างกันในบางประเด็นคือ ลักษณะของการบรรลุธรรม และ ระดับของการบรรลุธรรม มีความเหมือนกัน คือ บรรลุเจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ และ ความเป็นพระอรหัตตผลประเภท ปฏิสัมภิทัปปัตโต ส่วนที่แตกต่างกันคือ เหตุแห่งการบรรลุธรรม หลักธรรมที่นำไปสู่การบรรลุธรรม หลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุธรรม วิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม และผลของการบรรลุธรรม ประโยชน์และคุณค่าของกระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท นอกจากความรู้จากการศึกษาถึงกระบวนการบรรลุธรรมที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติและแนะนำแก่ผู้สนใจเพื่อการดับทุกข์พ้นทุกข์แล้ว ยังสามารถนำคุณค่าด้านคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความซื่อสัตย์ ความมีสติมีปฏิภาณ และความเสมอภาค
The objectives of this thesis were:1) to study the wisdom attainment process in Theravāda Buddhist Philosophy, 2) to study the wisdom attainment process of female disciples in Theravāda Buddhist Philosophy, and 3) to analyze the wisdom attainment process of female disciples in Theravāda Buddhist Philosophy. The data of this qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, and the related documents. The results of study were shown as follows: 1. The wisdom attainment process in Theravada Buddhist Philosophy means a method for female disciples attaining the Arahantship. The wisdom attainment process is the liberation of mind from defilements. There are 2 types; deliverance of mind and liberation through wisdom. There are 5 causes for attaining Dhamma: 1) Listening to Dhamma, 2) Teaching Dhamma, 3) Reciting Dhamma, 4) Reflecting Dhamma, and 5) Meditating. The Principles that leads to the attainment of Dhamma are known as The Thirty-seven Qualities Contributing to Enlightenment consisting of The Four Foundations of Mindfulness, The Four Great Efforts, The Four Paths of Accomplishment, The Five Faculties, The Five Powers, The Seven Factors of Enlightenment, and The Nobel Eightfold Path. The elements and procedures related to the attainment process consist of the person who will attain Dhamma must not be 6 types of wrong individuals and they must be wise enough to be taught. The Principles that promote the attainment of the Dhamma are The Ten Fetters, the Four Noble Truths and The Twelve Spheres. There are 3 methods of attaining Dhamma, namely Vipassana meditation led by Samatha meditation, Samatha meditation led by Vipassana meditation, and Samatha meditation in parallel with Vipassana meditation. The level of attainment of the Dhamma can be divided into 4 levels of Paths; 1) The Path of Stream Entrance, 2) The Path of Once Returning, 3) The Path of Never Returning and 4) The Path of Arahatship. The Fruition levels can be divided into 4 levels; 1) The Fruit of Stream Entry, 2) The Fruit of Once Returning, 3) The Fruit of Never Returning, and 4) The Fruit of the Worthy One. There are four types of the Worthy Ones; 1) Bare-insight worker, 2) One with the Threefold Knowledge, 3) One with the Sixfold Super-knowledge knowledge, and 4) One having attained the Analytic Insights. 2. The wisdom attainment process of 8 female disciples; Pajapatigotami, Bhaddhagaccana, Rupananda, Kisagotami, Patacara, Upalavanna, Khema, and Atthakasi, was different depending one each one’s characteristic behavior, status, perfection, and life background. 3. From analyzing of the process of attaining Dhamma of the 8 female disciples, although the process of wisdom attaining of each female disciple was different but it was in accordance with the process of wisdom attaining in Theravada Buddhist Philosophy. There were similarities in characteristics of the wisdom attainment process and the level of wisdom. They all attained deliverance of mind and liberation through wisdom. The dissimilarities were the causes of wisdom attainment, the Dhamma principles leading to the wisdom attainment, the Dhamma principles supporting the wisdom attainment, the practices for wisdom attainment, and the results of wisdom attainment. The benefits and values of the wisdom attainment process of female disciples in Theravada Buddhist philosophy were the knowledge in the process of attaining Dhamma that the practitioners can put into practice and advise those who were interested to follow to reduce and eradicate suffering. The principles of humility, honest, consciousness and equality can be applied in living a life.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า 3) เพื่อเปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า ได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเเละเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ความรู้ที่อาศัยการฟัง การคิดพิจารณา จนตกผลึกเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความรู้ที่สามารถหาเหตุผลได้โดยผ่านการไตร่ตรองหรือวิเคราะห์ มาอย่างดี เป็นความรู้ที่ชัดเจน เเจ่มเเจ้ง ไม่งมงาย โดยสามารถนำไปลงมือพิสูจน์ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง 2. ญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า ความรู้ที่สอดคล้องตามวิถีทางธรรมชาติ เป็นความรู้ ที่ปราศจากการปรุงเเต่งจากตัณหาของมนุษย์ เป็นความรู้ที่อยู่เหนือความคิดเเละการกระทำทั้งปวง ของมนุษย์ ปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ระดับปรมัตถสัจจะด้วยการไม่กระทำสิ่งที่ขัดเเย้งต่อวิถีทางธรรมชาติ ไม่ใช่ความรู้ที่พยายามจะเปลี่ยนเเปลงโลก ควบคุมธรรมชาติ เเต่เป็นความรู้เพื่อความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ 3. เปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า พุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับความรู้ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ หลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยการลงมือภาวนาจนเกิดปัญญารู้เเจ้ง ส่วนปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ที่สามารถทำให้เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ คือการปฏิบัติตามหลักการที่สอดคล้องต่อวิถีธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำที่ไม่เอื้อต่อวิถีธรรมชาติ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า 3) เพื่อเปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า ได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเเละเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ความรู้ที่อาศัยการฟัง การคิดพิจารณา จนตกผลึกเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นความรู้ที่สามารถหาเหตุผลได้โดยผ่านการไตร่ตรองหรือวิเคราะห์ มาอย่างดี เป็นความรู้ที่ชัดเจน เเจ่มเเจ้ง ไม่งมงาย โดยสามารถนำไปลงมือพิสูจน์ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง 2. ญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า ความรู้ที่สอดคล้องตามวิถีทางธรรมชาติ เป็นความรู้ ที่ปราศจากการปรุงเเต่งจากตัณหาของมนุษย์ เป็นความรู้ที่อยู่เหนือความคิดเเละการกระทำทั้งปวง ของมนุษย์ ปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ระดับปรมัตถสัจจะด้วยการไม่กระทำสิ่งที่ขัดเเย้งต่อวิถีทางธรรมชาติ ไม่ใช่ความรู้ที่พยายามจะเปลี่ยนเเปลงโลก ควบคุมธรรมชาติ เเต่เป็นความรู้เพื่อความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติ 3. เปรียบเทียบญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับญาณวิทยาในปรัชญาเต๋า สรุปว่า พุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับความรู้ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ หลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงด้วยการลงมือภาวนาจนเกิดปัญญารู้เเจ้ง ส่วนปรัชญาเต๋ายอมรับความรู้ที่สามารถทำให้เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ คือการปฏิบัติตามหลักการที่สอดคล้องต่อวิถีธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำที่ไม่เอื้อต่อวิถีธรรมชาติ
The objectives of this thesis are; 1) to study epistemology in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study epistemology in Taoist Philosophy, and 3) to compare epistemology in Theravada Buddhist Philosophy and epistemology in Taoist Philosophy. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The result of the research found that: 1. Epistemology in Theravada Buddhist Philosophy means listening-based knowledge through consideration and reflection to understanding. It is a knowledge that can be reasoned through careful reflection or realization without credulity, and it can be proven and implemented for the ultimate goal or totally liberation from desire. 2. Epistemology in the Taoist philosophy means knowledge relevant to the natural path, knowledge without the composition of human desire, and knowledge transcendent all human thoughts and actions. Taoist philosophy accepts knowledge of absolute truth by not violating the natural path. It is the knowledge to change or to control the world, but to be unity with the nature. 3. The comparison of epistemology in Theravada Buddhist philosophy and epistemology in Taoist philosophy can be concluded that Theravada Buddhist philosophy accepts knowledge that can liberate suffering in Samsara, or liberation from all defilements through practice until attaining the realization. The Taoist philosophy accepts the knowledge that can unite with nature by the practice consistent with the natural way without any actions violating to the natural way.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
The objectives of this thesis were; 1) to study development of life quality, 2) to study the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze development of life quality with Atthacariya principles in Theravada Buddhist philosophy. The data of this documentary qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks, documents and research works concerned. The results of the study found that: 1) The development of life quality is physical, mental and social development because the quality of life starts from self-development and struggle for everything by oneself. Social development is to make oneself honor, recognize, be a part of society and respect. The thinking development is to obtain a wish to learn and understand things, to have creative thinking and to find ways for problem solution in order to have ability in life development and push themselves to a desirable goal. 2) The principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy explains behaviors and ways of living that reveal goodness and benefits for others. Atthacariya is a decoration of life and it helps raise the life higher through action, speech and clothing. Although some people may not have wealth and property, but they have their internal goodness and ideal. So, they can be called the real wealthy. They emphasize learning themselves and others, and become the givers. Giving creates unity and reconciliation in living together. This is the process for self-refining, self-learning and creating wisdom. 3) The development of life quality with the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy is beneficial to oneself and others. It is also beneficial to religion, tradition, custom, values and beliefs. The four principles of Atthacariya consist of; (1) Saddhasampada, to accomplish with the right faith, (2) Silasampada, to accomplish with good behaviors, (3) Cagasampada, to accomplish with charity and sacrifice, and (4) Pannasampada, to accomplish with wisdom. The aim of these principles is to encourage human beings live in sublime life and live together happily and peacefully. The life quality must be developed physically and mentally in order to achieve the success in education, occupation, family and living a life in society.
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครอง ๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำการปกครอง ผู้นำที่ดีต้องมีความตื่นตัว มีความสามารถในการตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง มีความสามารถในการจูงใจคน มีความรับผิดชอบและมีความฉลาดรอบรู้ทันโลกทันเหตุการณ์และมีความสามารถในการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีความสามารถในการตัดสินใจ มีเหตุผลฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาก้าวหน้ามีความยุติธรรม มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการคัดเลือกและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความสามัคคี มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริตใจ ๒) ภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา ควรเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางธรรม และทางโลก เพื่อสร้างศรัทธาที่ดีให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นสัญลักษณ์แบบอย่างที่ดีขององค์กร ผู้นำจึงควรเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรหรือสังคมที่ตนนำหรือปกครองอยู่ ธรรมจึงเป็นเครื่องเสริมสร้างคุณสมบัติของผู้นำให้มี วุฒิภาวะสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมขององค์กรให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายด้วยดี ด้วยเหตุนี้ผู้นำต้องเป็นผู้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนที่ต้องรับผิดชอบ และรู้จักวิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรดำเนินกิจกรรมขององค์กร หน่วยงานหรือสังคม ตลอดจนถึงประเทศชาติให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างมั่นคงต่อไป ๓) จากการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา สรุปได้ว่าผู้นำที่สมบูรณ์แบบในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ปวงชนหรือหมู่คณะ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีศักยภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถ และคุณภาพด้านจิตใจก็มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักปฏิบัติในการ ควบคุม และพัฒนาอารมณ์ให้มีความฉลาดทางอารมณ์มากยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับ นับถือ ศรัทธาของคนทั่วไป ตามกฎระเบียบแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสงบสุข ความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในยุคโลกาภิวัตน์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครอง ๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำการปกครอง ผู้นำที่ดีต้องมีความตื่นตัว มีความสามารถในการตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง มีความสามารถในการจูงใจคน มีความรับผิดชอบและมีความฉลาดรอบรู้ทันโลกทันเหตุการณ์และมีความสามารถในการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีความสามารถในการตัดสินใจ มีเหตุผลฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาก้าวหน้ามีความยุติธรรม มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการคัดเลือกและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความสามัคคี มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริตใจ ๒) ภาวะผู้นำการปกครองตามแนวพุทธศาสนา ควรเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางธรรม และทางโลก เพื่อสร้างศรัทธาที่ดีให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นสัญลักษณ์แบบอย่างที่ดีขององค์กร ผู้นำจึงควรเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรหรือสังคมที่ตนนำหรือปกครองอยู่ ธรรมจึงเป็นเครื่องเสริมสร้างคุณสมบัติของผู้นำให้มี วุฒิภาวะสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมขององค์กรให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายด้วยดี ด้วยเหตุนี้ผู้นำต้องเป็นผู้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนที่ต้องรับผิดชอบ และรู้จักวิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรดำเนินกิจกรรมขององค์กร หน่วยงานหรือสังคม ตลอดจนถึงประเทศชาติให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างมั่นคงต่อไป ๓) จากการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำการปกครองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนา สรุปได้ว่าผู้นำที่สมบูรณ์แบบในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ปวงชนหรือหมู่คณะ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีศักยภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถ และคุณภาพด้านจิตใจก็มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักปฏิบัติในการ ควบคุม และพัฒนาอารมณ์ให้มีความฉลาดทางอารมณ์มากยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับ นับถือ ศรัทธาของคนทั่วไป ตามกฎระเบียบแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสงบสุข ความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในยุคโลกาภิวัตน์
The objectives of this research were as follows; 1) to study the government leadership, 2) to study the government leadership according to Buddhism, and 3) to analyze benefits and values of the desirable government leadership in globalization according to the Buddhist approach. This research was a qualitative research collecting the data from the Tipitaka and related documents. The results of the research were found that: 1) In the government leadership, a good leader must consist of alertness, quick and right decision, motivation, responsibility, up-to-date knowledge, problem solution, decision making ability, open-mind, support the subordinates, selection and development, unity building, hospitality, honesty, and sincerity. 2) The government leadership in Buddhism should consist of both monastic and secular knowledge in order to build trust to the subordinates and to be a good model of the organization. The leaders should understand Buddhist principles concerning the leaders and leadership for the application to their organizations or society appropriately. Dhamma is the tool to support and improve quality of leadership, which are the important factors in administration and management of organization to achievement. The leaders have to understand their role and duty, and at the same time, have to know how to motivate and convince the organization members to bring the organizations to sustainable prosperity and achievement. 3) The study analysis can be concluded that the leaders, who accomplish with virtues and ethics and work for the advantages of people and public without any hidden agenda, are qualified, potential, acceptable, and respectful. They can lead the organizations to the target progress and peacefulness in the globalization.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
This thesis has the objectives as follows: 1) to study the principles of wrong view in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy, 3) to analyze the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy. The study is a documentary qualitative research. The results of the study indicated that: 1. The wrong view in Buddhism means to adhere with a wrong view or with ignorance that it is me, mine and myself. Furthermore, it is believed that giving is fruitless, worship is fruitless, sacrifice is fruitless, there are no results of action, there is no this world, there is next world, there is father, there is mother, there are no beings who were dead and born, there are no recluses and Brahmans who have a good practice, there are no recluses and Brahmans who obtained the realization with their wisdom and then revealed it to the others. 2. The wrong view individuals in Theravada Buddhists philosophy mean the individuals having their views different from or other than the righteousness and their views can deflect the attainment to the noblemanship. There are 4 types of the wrong view individuals depending their backgrounds and characteristics; 1) Individuals with self-mortification, 2) Individuals with self-indulgence, 3) Individuals with belief in eternalism, and 4) Individuals with belief in annihilation. 3. The wrong view individuals in Theravada Buddhist philosophy can be analyzed as follows: 1) The causes that make individuals have the wrong view are both internal and external. The internal causes consist of attachment at the Five Aggregates, attachment to internal sense, ignorance, contact, memory, worry and uncritical reflection. The external causes consist of external sense, accompany with false friends or Paratoghosa causing belief and consideration without critical reflection. 2) The results of being the wrong view individuals can cause the wrong practice from the principles of Buddhism to 2 extreme practices called “anta’; (1) Self-indulgence, and (2) Self-mortification. 3) The Buddhist principles that can withdraw the wrong view of each group are that; 1) Majjhimapatipada, Anattalakkhana Sutta, and Moneyapatipada are for the wrong view individuals with self-mortification, 2) Anupubbikatha, Asubhakammatthana, and Appamada Dhamma are for the wrong view individuals with self-indulgence, 3) The Three Common Characteristics, Anupandana, and Tacapanca Kammatthana are for the wrong view individuals with eternalism, and 4) Adittatapariyaya Sutta, Paticcasamuppada, and Yonosomanasokara are for the wrong view individuals with annihilation.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสมณะในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์สมณภาวะในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาทวิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research)และการสัมภาษณ์ (Interview) โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ งานวิจัย แยกประเภทแล้วนำบทสัมภาษณ์มาจัดรวมลงในบทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น เป็นการออกไปจากตระกูลไม่ใช้ชีวิตแบบชาวโลก ต้องหมั่นทำจิตใจให้ออกจากกามกิเลสทั้งหลาย ด้วยการงดเว้นจากสิ่งที่เป็นโทษต่อกุศล การบวชมีอยู่ 3 ประเภท คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา, ติสรณคมนูปสัมปทา และญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการบวช ก็คือการพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน สมณภาวะในพระพุทธศาสนาเถรวาทหมายถึง ผู้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันเป็นต้นไป เป็นผู้สงบ เป็นผู้ฝึกตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งมีกาย วาจา ใจ สงบแล้วจากบาป ดำรงตนอยู่บนเส้นทางแห่งพระนิพพาน สมณะเป็นคำเรียกนักบวชในลัทธิอื่นๆเช่นกัน คุณลักษณะของสมณภาวะ คือ สมณคุณ เป็นคุณธรรมของความเป็นสมณะ สมณวัตร เป็นหน้าที่หรือกิจที่พึงทำของสมณะ สมณวิสัย เป็นวิสัยของสมณะหรือลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ เป็นผู้ที่มีวิถีชีวิตและแนวทางของการปฏิบัติที่บ่งบอกถึงความเป็นสมณะ สมณสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสมณะอยู่ และสมณสารูป เป็นความประพฤติอันสมควรของสมณะ สมณภาวะในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามี 5 มิติ คือ 1) มิติทางสัญลักษณ์ 2) มิติของผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษ 3) มิติของผู้นำทางจิตวิญญาณ 4) มิติของนักพัฒนาสังคม และ 5) มิติของผู้นำสู่ความพ้นทุกข์ แม้บทบาทของพระภิกษุสงฆ์ผู้นับว่าเป็นผู้ที่มีสมณภาวะซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์แล้วยังได้ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาไปด้วย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสมณะในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์สมณภาวะในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาทวิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร (Documentary Qualitative Research)และการสัมภาษณ์ (Interview) โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ งานวิจัย แยกประเภทแล้วนำบทสัมภาษณ์มาจัดรวมลงในบทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น เป็นการออกไปจากตระกูลไม่ใช้ชีวิตแบบชาวโลก ต้องหมั่นทำจิตใจให้ออกจากกามกิเลสทั้งหลาย ด้วยการงดเว้นจากสิ่งที่เป็นโทษต่อกุศล การบวชมีอยู่ 3 ประเภท คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา, ติสรณคมนูปสัมปทา และญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการบวช ก็คือการพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน สมณภาวะในพระพุทธศาสนาเถรวาทหมายถึง ผู้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันเป็นต้นไป เป็นผู้สงบ เป็นผู้ฝึกตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งมีกาย วาจา ใจ สงบแล้วจากบาป ดำรงตนอยู่บนเส้นทางแห่งพระนิพพาน สมณะเป็นคำเรียกนักบวชในลัทธิอื่นๆเช่นกัน คุณลักษณะของสมณภาวะ คือ สมณคุณ เป็นคุณธรรมของความเป็นสมณะ สมณวัตร เป็นหน้าที่หรือกิจที่พึงทำของสมณะ สมณวิสัย เป็นวิสัยของสมณะหรือลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ เป็นผู้ที่มีวิถีชีวิตและแนวทางของการปฏิบัติที่บ่งบอกถึงความเป็นสมณะ สมณสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสมณะอยู่ และสมณสารูป เป็นความประพฤติอันสมควรของสมณะ สมณภาวะในมิติพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามี 5 มิติ คือ 1) มิติทางสัญลักษณ์ 2) มิติของผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษ 3) มิติของผู้นำทางจิตวิญญาณ 4) มิติของนักพัฒนาสังคม และ 5) มิติของผู้นำสู่ความพ้นทุกข์ แม้บทบาทของพระภิกษุสงฆ์ผู้นับว่าเป็นผู้ที่มีสมณภาวะซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์แล้วยังได้ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาไปด้วย
The objectives of this research were: 1) to study the ordination in Theravāda Buddhism, 2) to study monks in the Theravāda Buddhism, and 3) to analyze the monkhood in Theravāda Buddhism. The data of this qualitative were collected from the Tipitaka, concerned documents and in-depth interviews. The data were analyzed, synthesized and classified into chapters. The results of the research showed that: Ordination in Theravāda Buddhism means renouncing from family and not living in the way of the worldly life. The ordained ones must control their mind from all defilements by abstaining from things and activities that are harmful to the wholesome. There are 3 types of ordination; Ehibhikkhu Upasampada (permitted directly by the Lord Buddha), Tisaranagamanupasampada (To accept the Triple Gems as a refuge) and Ñatticatutthakamma (permitted by the Sangha motion). The ultimate goal of ordination is to enter to Nirvana. In Theravāda Buddhism, monkhood or recluse-hood means those who are the stream enterers onwards. They are calm and peaceful from sins, trained themselves by precepts, concentration, wisdom, and live their lives on the path to Nirvana. The word ‘monk’ is also used in other religions. The characteristics of monks are Samanaguna or virtues and practices necessary to monks, Samanavisaya or vision and the way of life of monks, Samanasañña or recognition and indication of themselves as monks, and Samanasarupa or behaviors and conducts suitable to monks. From the analysis of the monkhood in Theravāda Buddhism, there are 5 dimensions; 1) Symbolism, 2) Unusual Virtue Holding, 3) Spiritual Leadership, 4) Social Development Leadership, and 5) Leadership in overcome the suffering. However, even the ultimate role of monks is to eradicate suffering for themselves, but they also carry on the duty to prolong the Buddha's teachings.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียน จำนวน 121 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 460 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จากการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2561) ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่าน โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ วิชาภาษาไทยวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ ตามลำดับ 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.607 (R = 0.607) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ร้อยละ 36.8 (R^2= 0.368) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียน จำนวน 121 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 460 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จากการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2561) ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่าน โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ วิชาภาษาไทยวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ ตามลำดับ 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.607 (R = 0.607) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ร้อยละ 36.8 (R^2= 0.368) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
The objectives of this research were: 1) to study academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2, 2) to study learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2, and 3) to study academic affairs administration of administrators affecting the learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2. The data were collected from 460 informants from 92 schools out of 121 schools by using questionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple regressions. The results of the study were found that: 1) The academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 was at a high level overall. In ranging order, the highest level was on learning innovation and technology development, followed by internal quality assurance assessment, evaluation, measurement and transfer of credits, curriculum development, learning process development, education supervision, and educational quality development research respectively. 2) The learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 from National Institute of Educational Testing Service (2561) was at a passed level in total. The highest average level was on Thai language, followed by Science, English and Mathematics respectively. 3) The academic affairs administration of administrators affecting the learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 was at a statistic significant level at 0.01. The most significant level was on educational quality development research and learning process development with a statistic figure at 0.01 and multiple correlation coefficient at 0.607 (R = 0.607) which can explain the variance of academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 at 36.8% (R^2= 0.368). It can be written in predicting equations as follows: The predicting equation of raw score (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) The predicting equation of standard score (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
หนังสือ

    การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) ศึกษามาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive Research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน รวมทั้งหมด 366 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านมนุษย์ ด้านความคิดรวบยอด ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความรู้ความคิด และด้านเทคนิค ตามลำดับ 2.มาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการบริหาร และการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล และด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ 3.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 คือ ด้านเทคนิค ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความคิดรวบยอด และด้านมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 72.20 (R2 = 0.722) สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปของสมการทำนายได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ = 0.869 + 0.282(TB) + 0.248(TC) + 0.173(TE) + 0.124(TD) (R2 = 0.722) สมการคะแนนมาตรฐาน =0.306 (ZTB) + 0.290(ZTC) + 0.212(ZTE) + 0.138 (ZTD) (R2 = 0.722) สำหรับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความรู้ความคิด (TA) ไม่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา เพราะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติจึงไม่ถูกคัดเลือกเข้าสมการ
การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) ศึกษามาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive Research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน รวมทั้งหมด 366 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านมนุษย์ ด้านความคิดรวบยอด ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความรู้ความคิด และด้านเทคนิค ตามลำดับ 2.มาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการบริหาร และการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล และด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ 3.ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 คือ ด้านเทคนิค ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความคิดรวบยอด และด้านมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 72.20 (R2 = 0.722) สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปของสมการทำนายได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ = 0.869 + 0.282(TB) + 0.248(TC) + 0.173(TE) + 0.124(TD) (R2 = 0.722) สมการคะแนนมาตรฐาน =0.306 (ZTB) + 0.290(ZTC) + 0.212(ZTE) + 0.138 (ZTD) (R2 = 0.722) สำหรับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านความรู้ความคิด (TA) ไม่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา เพราะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติจึงไม่ถูกคัดเลือกเข้าสมการ
The objectives of the research were; 1) to study school administrators’ administrative skills under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2, 2) study the educational standards in schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2ม and 3) to study school administrators’ administrative skills affecting the educational standards in schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2. The data of this predictive research were collected from 368 samples consisting of School Director or Deputy School Director Academic heads and teachers under the Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2. The questionnaires used in data collecting consisted of the administrative skills of school administrators with a confidence value at 0.97 and the standard of education within the school with a confidence value at 0.98. The statistic instruments used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis by using the package software. The results of the study found that: 1.The level of administrative skills of school administrators under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2 in 5 aspects was high overall. When considering the average in each aspect, it was also at a high level. When arranging by order, the highest was on Human Skills, followed by Conceptual Skills, Education and teaching Skills, Knowledge, and Technical Skills respectively. 2.The level of educational standards within the schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2 in 4 aspects was high totally and in aspect. When considering the average in each aspect, the highest level was on Administrative Process and Management, followed by Student-centered Teaching and Learning Process, Internal Quality Assurance Systems, and Learners’ Quality respectively. 3.The administrative skills of school administrators affecting the educational standards within the schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2 were technical skills, educational and teaching skills. Conceptual skills, and the human skills with statistical significance at the level of .01, a prediction coefficient or a predictive power of 72.20 percent (R2 = 0.722). The relationships can be written in the form of predictions as follows: Raw score equation = 0.869 + 0.282(TB) + 0.248(TC) + 0.173(TE) + 0.124(TD) (R2 = 0.722) Standard score equation =0.306 (ZTB) + 0.290(ZTC) + 0.212(ZTE) + 0.138 (ZTD) (R2 = 0.722) Among administrative skills of school administrators, Knowledge (TA) does not affect the educational standards within the school. Since it does not have statistical significance, it has not been selected into the equation.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการสอนธรรมศึกษา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่ารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ โดยค้นคว้าวิจัยจากเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างรายงานวิจัยเชิงพรรณนาที่เป็นข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การสอนธรรมศึกษา เป็นการสอนในรูปแบบบูรณาการกับหลักสูตรของโรงเรียน โดยพระสงฆ์สอนพระพุทธศาสนา โดยแบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ธรรมศึกษาตรี ธรรมศึกษาโท และธรรมศึกษาเอก 2) รูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี มีการเรียนการสอนธรรมศึกษา มีพระสอนศีลธรรม สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และจัดการเรียนการสอน 2 ลักษณะ คือ แบบบรรยาย และแบบให้ลงมือปฏิบัติ 3) ผลวิเคราะห์คุณค่ารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีคุณค่าด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ธรรมศึกษาของนักเรียน มีคุณค่าด้านการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านศีลธรรมแก่นักเรียน และมีคุณค่าด้านการเรียนรู้ศีลธรรมด้วยตนเอง องค์ความรู้จากการวิจัย จึงได้รูปแบบ C-P-M-S MODEL
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการสอนธรรมศึกษา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่ารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ โดยค้นคว้าวิจัยจากเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างรายงานวิจัยเชิงพรรณนาที่เป็นข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การสอนธรรมศึกษา เป็นการสอนในรูปแบบบูรณาการกับหลักสูตรของโรงเรียน โดยพระสงฆ์สอนพระพุทธศาสนา โดยแบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ธรรมศึกษาตรี ธรรมศึกษาโท และธรรมศึกษาเอก 2) รูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี มีการเรียนการสอนธรรมศึกษา มีพระสอนศีลธรรม สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และจัดการเรียนการสอน 2 ลักษณะ คือ แบบบรรยาย และแบบให้ลงมือปฏิบัติ 3) ผลวิเคราะห์คุณค่ารูปแบบการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีคุณค่าด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ธรรมศึกษาของนักเรียน มีคุณค่าด้านการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านศีลธรรมแก่นักเรียน และมีคุณค่าด้านการเรียนรู้ศีลธรรมด้วยตนเอง องค์ความรู้จากการวิจัย จึงได้รูปแบบ C-P-M-S MODEL
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study the Dharma Studies Teaching, 2) to study the Dharma Studies Teaching in Kongkaram School, Phetchaburi Province, and 3) to analyze the value of the Model of Dharma Studies Teaching in Kongkaram School, Phetchaburi Province. The thesis was the documentary qualitative research works focused on documentaries, studies mainly on the Tipitaka, relating documentaries and relevant researches together with the interviews of the related persons. All of the data, collected during December 2019 – February 2020, were then analyzed by content analysis and analytic induction, classified into system, concluded and presented in descriptive analysis. The results of research were found as follows: 1) The Dharma Studies Teaching was an integrated teaching model with the regular school syllabus of the Buddhism monk teaching developing from the Dharma course by dividing the class into 3 levels including Basic Dharma Studies, Medium Dharma Studies and Advance Dharma Studies learning the four subjects as follows; (1) essay and editing the Dharma, (2) Dharma course, (3) Buddhist history (including disciples’ history and ordinances) and (4) Dharma discipline. 2) The Model of Dharma Studies Teaching in Kongkaram School, Phetchaburi Province had Dharma education in 3 levels in the separation from Buddhism learning by the monk teachers helping to teach Dharma Studies in the school for not less than 11 hours per week and organizing with 2 types of teaching and learning activities including the Dharma lecture and the pupil meditation real practice. 3) The analytical results of the value for the Model of Dharma Studies Teaching in Kongkaram School, Phetchaburi Province were found as follows; (1) The value aspect for increasing the efficiency of the pupil Dharma Studies learning, (2) The value aspect for the creation of moral immunity for the pupils, (3) The value aspect for the moral self learning by inducing the Buddhist Dharma principles to the pupil way of life. Therefore the knowledge from researches on the model of Dharma Studies in Kongkaram School, Phetchaburi province was shown as the C-P-M-S MODEL.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างความสำเร็จในชีวิต 2) เพื่อศึกษาการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสำเร็จในชีวิต หมายถึง การได้สิ่งที่ต้องการตามที่ตั้งไว้แล้วเกิดความสุขโดยใช้วิธีการ คือ การสร้างความสำเร็จตามหลักพุทธธรรม ตามกฎธรรมชาติ และหลักและแนวทางในการสร้างความสำเร็จ เช่น การค้นหาความเป็นตัวของตัวเองและอย่าจมอยู่กับความทุกข์ในอดีต 2. หลักอธิษฐานธรรม หมายถึง หลักธรรมที่ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1) ปัญญาธิษฐาน 2) สัจจาธิษฐาน 3) จาคาธิษฐาน และ 4) อุปสมาธิษฐาน โดยใช้วิธีการตามหลักจักรธรรม 4 คือ 1) ปฏิรูปเทสวาสะ 2) สัปปุริสูปสังเสวะ 3) อัตตสัมมาปณิธิ และ 4) ปุพเพกตปุญญตา 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม พบว่า 1) มีคุณค่าในด้านการพัฒนามนุษย์ คือ จะทำให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ความคิด และเรียนรู้จนทำให้เข้าใจในเหตุและผล 2) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาสังคม คือ ทำให้มีความสัมพันธ์และมีความสามัคคีกับผู้อื่น ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และ 3) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาจิตใจ คือ ทำให้มีจิตใจแน่วแน่ เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็จะทำจนกว่าจะประสบผลสำเร็จ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างความสำเร็จในชีวิต 2) เพื่อศึกษาการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสำเร็จในชีวิต หมายถึง การได้สิ่งที่ต้องการตามที่ตั้งไว้แล้วเกิดความสุขโดยใช้วิธีการ คือ การสร้างความสำเร็จตามหลักพุทธธรรม ตามกฎธรรมชาติ และหลักและแนวทางในการสร้างความสำเร็จ เช่น การค้นหาความเป็นตัวของตัวเองและอย่าจมอยู่กับความทุกข์ในอดีต 2. หลักอธิษฐานธรรม หมายถึง หลักธรรมที่ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1) ปัญญาธิษฐาน 2) สัจจาธิษฐาน 3) จาคาธิษฐาน และ 4) อุปสมาธิษฐาน โดยใช้วิธีการตามหลักจักรธรรม 4 คือ 1) ปฏิรูปเทสวาสะ 2) สัปปุริสูปสังเสวะ 3) อัตตสัมมาปณิธิ และ 4) ปุพเพกตปุญญตา 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความสำเร็จในชีวิตตามหลักอธิษฐานธรรม พบว่า 1) มีคุณค่าในด้านการพัฒนามนุษย์ คือ จะทำให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ความคิด และเรียนรู้จนทำให้เข้าใจในเหตุและผล 2) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาสังคม คือ ทำให้มีความสัมพันธ์และมีความสามัคคีกับผู้อื่น ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และ 3) มีคุณค่าในด้านการพัฒนาจิตใจ คือ ทำให้มีจิตใจแน่วแน่ เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็จะทำจนกว่าจะประสบผลสำเร็จ
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the creating of the success in life, 2) to study the creating of the success in life according to Adhitthānadhamma Principle and 3) to analyze the value for the creating of the success in life according to Adhitthānadhamma Principle. This research was a qualitative study, focused on the documentary studies, mainly in the Tipitaka, the relating research documentaries and the Buddhist scholars’ works. All the data were classified into the system, concluded and presented in the descriptive analysis. The results of the research were found as follows:- 1. The success in life means getting the wanted and intended things achieving happiness by means of the creation of the success according to the Buddha Dharma Principle, the natural law principle, and the principles and guidelines for creating the success such as searching for the own personality and not immersing oneself in the past suffering. 2. The Adhitthānadhamma Principle means the Dharma Principle creating the success in life with consist of 4 reasons as follows 1) Panyatisathan (wisdom intention), 2) Sajjatisathan (truth intention), 3) Jakatisathan (sacrifice intention) and 4) Ubasamatisathan (non defilement intention) with the application method of Chakra Dharma (prosperity virtues) 4 as follows; 1) Patiroop Devasawada (suitable environment), 2) Sapapurasu Sangsewa (good people association), 3) Atta Sammapanithi (right way direction), and 4) Puppekata Punyata (good background deeds). 3. The analytical results of the value for the creation of the success in life according to Adhitthānadhamma Principle were included as follows; (1) Human development aspect regarding to be knowledgeable people with creative thinking ability and cause-effect understanding, (2) Social development aspect including the relationship and unity with others for the social happiness, (3) Mind development aspect concerning a resolute mind for doing the intended things until success.