Search results

33,640 results in 0.11s

หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชีวิต ๒) เพื่อศึกษาวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชีวิตด้วยวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตำราของนักวิชาการต่าง ๆ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า: ๑. ชีวิต ประกอบด้วยกายและจิต ซึ่งแยกจากกันไม่ได้ คนส่วนใหญ่จะเสริมสร้างพลังกายด้วยปัจจัยสี่ ส่วนจิตใจขาดการดูแลเอาใจใส่ จึงหวั่นไหวไปตามสภาวะแวดล้อม จนทำให้เกิดอาการวิตก กังวล เบื่อหน่าย ลังเล สงสัย ฟุ้งซ่าน เป็นผลให้ชีวิตประสบกับความทุกข์ ความท้อแท้ ไม่มีพลังในการดำเนินชีวิตให้สมบูรณ์ การมีอายุมาก คือมีพลังชีวิตมาก เป็นพลังหล่อเลี้ยงชีวิต หรือเป็นปัจจัยส่งเสริมที่จะหล่อเลี้ยงให้ชีวิตมีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ด้วยวิธีปฏิบัติธรรมะตามหลักอิทธิบาท ๔ และธรรมคู่ชีวิต ๕ ประการ คือ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ ๒. วิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก มี ๓ ประการ คือ ๑) กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่อยู่ในที่สงัด อยู่ในที่ที่ไม่มีความพลุกพล่าน หรือเสียงคน และสัตว์มารบกวน ตลอดจนไม่มีความสะดุ้งกลัวภัย ๒) จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบ ผ่องใสจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย ไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ๓) อุปธิวิเวก ความสงบสงัดจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ราคะ ตัณหา อุปาทาน ๓. การเสริมสร้างพลังชีวิตด้วยวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาทสามารถปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือจัดเข้าในหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา โดยวิเวก ๓ แยกได้เป็น ๑) กายวิเวก ปฏิบัติตามหลักสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เรียกว่า สีลสิกขา ๒) จิตตวิเวก ปฏิบัติตามหลักสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เรียกว่า จิตตสิกขา ๓) อุปธิวิเวก ปฏิบัติตามหลัก สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมลงในการเจริญจิตตภาวนา หรือการปฏิบัติธรรม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชีวิต ๒) เพื่อศึกษาวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชีวิตด้วยวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตำราของนักวิชาการต่าง ๆ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า: ๑. ชีวิต ประกอบด้วยกายและจิต ซึ่งแยกจากกันไม่ได้ คนส่วนใหญ่จะเสริมสร้างพลังกายด้วยปัจจัยสี่ ส่วนจิตใจขาดการดูแลเอาใจใส่ จึงหวั่นไหวไปตามสภาวะแวดล้อม จนทำให้เกิดอาการวิตก กังวล เบื่อหน่าย ลังเล สงสัย ฟุ้งซ่าน เป็นผลให้ชีวิตประสบกับความทุกข์ ความท้อแท้ ไม่มีพลังในการดำเนินชีวิตให้สมบูรณ์ การมีอายุมาก คือมีพลังชีวิตมาก เป็นพลังหล่อเลี้ยงชีวิต หรือเป็นปัจจัยส่งเสริมที่จะหล่อเลี้ยงให้ชีวิตมีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ด้วยวิธีปฏิบัติธรรมะตามหลักอิทธิบาท ๔ และธรรมคู่ชีวิต ๕ ประการ คือ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ ๒. วิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก มี ๓ ประการ คือ ๑) กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่อยู่ในที่สงัด อยู่ในที่ที่ไม่มีความพลุกพล่าน หรือเสียงคน และสัตว์มารบกวน ตลอดจนไม่มีความสะดุ้งกลัวภัย ๒) จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบ ผ่องใสจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย ไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ๓) อุปธิวิเวก ความสงบสงัดจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ราคะ ตัณหา อุปาทาน ๓. การเสริมสร้างพลังชีวิตด้วยวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาทสามารถปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือจัดเข้าในหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา โดยวิเวก ๓ แยกได้เป็น ๑) กายวิเวก ปฏิบัติตามหลักสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เรียกว่า สีลสิกขา ๒) จิตตวิเวก ปฏิบัติตามหลักสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เรียกว่า จิตตสิกขา ๓) อุปธิวิเวก ปฏิบัติตามหลัก สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมลงในการเจริญจิตตภาวนา หรือการปฏิบัติธรรม
The objectives of the research to Life empowerment with vivek principles in Theravada Buddhism: 1) To study Empowerment Life 2) To study the vivek in Theravada Buddhism, and 3) To study life empowerment with vivek in Theravada Buddhism. This thesis research papers (Documentary Research) study of the Holy Scriptures. The research found that: 1. Life consists of body and mind and they cannot be separated from each other. Most people nurture their body with the four basic necessities and lack of mental nurture. That makes the mind vibrate and conform environmental conditions and cause worry, flurry and worry, uncertainty, and anxiety. That also leads the life to suffering, misery, and disheartenedness. More age means more life power that can nurture and strengthen the life. The Dhamma principles to strengthen the life are Iddhipada and five principles; delight, rapture, serenity, blissfulness, and concentration. 2. Vivek in Theravada Buddhism means silent retail capabilities out. There are 3 reasons 1) silent Vivek capabilities include: body, body is in the gentle waters where there are no hidden or the sound of people and animals, as well as no less startled fear perils 2) Vivek contemplative Silent mind capabilities, including making a mental calm clear from sangyot anusai and niora. Don't go in the various emotions distracted 3) upthi Vivek. Calm the angry parents, passion greedy, lustful desires from the enchanted preconceive. 3. Enhancing life with Vivek in Theravada Buddhism to practice tamoriyamak have 8 or classified in the threefold training, meditation, fasting, and consists of the main intelligence by Vivek 1) a body, Vivek. Compliance with the Lord, Kam and verbally, it is called the poly color lasikkha 2) contemplative Vivek. Practices, meditation, consciousness and career wayama called contemplative Shikha 3) upthi Vivek Compliance with the Lord thitthi and right thought is called wisdom Shikha integrated into growth chitotphaona or meditation.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรมมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรม วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง คือ ด้านสังคม การศาสนา และการศึกษา จำนวน ๙ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยมี ๙ ประการ คือ ๑) ขยัน ๒) ประหยัด ๓) ซื่อสัตย์ ๔) มีวินัย ๕) สุภาพ ๖) สะอาด ๗) สามัคคี ๘) มีน้ำใจ และ ๙) กตัญญู ๒. หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย คือ ฆราวาสธรรม หลักธรรมในการครองเรือน และสาราณียธรรม หลักธรรมหลักธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ๓. ผลจากการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับทฤษฎีทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา ได้กระบวนธรรม ๑๐ ขั้นตอน เพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๙ ประการ ร่วมกับกิจกรรม/โครงการที่สถาบันทางสังคมต่าง ๆ ที่รับผิดชอบจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้เกิดขึ้นทางกาย คือ มีความขยัน รับผิดชอบหน้าที่การงาน ประหยัด การออม ซื่อสัตย์ และซื่อตรง มีวินัยต่อตนเองและต่อผู้อื่น เคารพกฎ ระเบียบ และกฎหมาย มีความสะอาดทั้งร่างกายและการแต่งกายที่เหมาะสม ทางวาจา จะมีความสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักใช้คำพูดให้เหมาะสมตามกาลเทศะ และทางความคิด จะทำให้ “คิดเป็น” มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตอาสาที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม รู้รักสามัคคี และไม่เห็นแก่ตัว โดยมีตัวชี้วัดตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้ง ๓ ทาง คือ ทางกาย วาจา และความคิดเพื่อประเมินผู้ร่วมกิจกรรม/โครงการทั้งก่อนและหลังการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรม
การศึกษาวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรมมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรม วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง คือ ด้านสังคม การศาสนา และการศึกษา จำนวน ๙ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยมี ๙ ประการ คือ ๑) ขยัน ๒) ประหยัด ๓) ซื่อสัตย์ ๔) มีวินัย ๕) สุภาพ ๖) สะอาด ๗) สามัคคี ๘) มีน้ำใจ และ ๙) กตัญญู ๒. หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย คือ ฆราวาสธรรม หลักธรรมในการครองเรือน และสาราณียธรรม หลักธรรมหลักธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ๓. ผลจากการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับทฤษฎีทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา ได้กระบวนธรรม ๑๐ ขั้นตอน เพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๙ ประการ ร่วมกับกิจกรรม/โครงการที่สถาบันทางสังคมต่าง ๆ ที่รับผิดชอบจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้เกิดขึ้นทางกาย คือ มีความขยัน รับผิดชอบหน้าที่การงาน ประหยัด การออม ซื่อสัตย์ และซื่อตรง มีวินัยต่อตนเองและต่อผู้อื่น เคารพกฎ ระเบียบ และกฎหมาย มีความสะอาดทั้งร่างกายและการแต่งกายที่เหมาะสม ทางวาจา จะมีความสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักใช้คำพูดให้เหมาะสมตามกาลเทศะ และทางความคิด จะทำให้ “คิดเป็น” มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตอาสาที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม รู้รักสามัคคี และไม่เห็นแก่ตัว โดยมีตัวชี้วัดตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้ง ๓ ทาง คือ ทางกาย วาจา และความคิดเพื่อประเมินผู้ร่วมกิจกรรม/โครงการทั้งก่อนและหลังการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรม
The objectives of this research are as follows: 1) To study the requirement qualifications of Thai people. 2) To study Buddhadhamma for Reinforcement of requirement qualifications of Thai people. 3) To study on reinforcement of requirement qualifications of Thai people according to Buddhadhamma. This research was conducted qualitative research papers and studying analyzing the content of the paper. Analysis of Buddhist scriptures and commentary. In-depth interviews 9 experts in Social, Religion, and Education had been done. The results indicated as follows: 1. The requirement qualifications of Thai people have 9 aspects that are 1) Diligent work, 2) Save, 3) Integrity, 4) Discipline, 5) Politely, 6) Clean, 7) Unity, 8) Thoughtful, and 9) Gratitude. 2. Buddhadhamma to requirement qualifications of Thai people have Gharãvãsa-dhamma: virtues for a good household life and Sãraniyadhamma: virtues for fraternal living. 3. The result of applied Buddhadhamma with sociological and psychological theories got Buddhadhamma process. All of them use for reinforcement of requirement qualifications of Thai people 9 steps with activities / projects in the social institutions that are held accountable. The objective is to reinforce the behavior. Happening physically is a diligent, responsible and economical savings, honesty and integrity, discipline themselves and to others, respect for rules and laws have cleaned the body and dress for the speech to be courteous, know the words to fit the occasion, the idea to make "Intelligent Thinking”, Creativity, Public Mind, Unity and selflessness. The indicators are based on the behavior that occurs in 3 ways: physical, verbal and ideas to evaluate the activities / projects, both before and after reinforcement of requirement qualifications of Thai people according to Buddhadhamma.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2551
ฉบับอัดสำเนา,สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) สาขาวิชาการจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) สาขาวิชาการจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม)พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม)พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศษ.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศษ.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557