Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชีวิต ๒) เพื่อศึกษาวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชีวิตด้วยวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตำราของนักวิชาการต่าง ๆ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า: ๑. ชีวิต ประกอบด้วยกายและจิต ซึ่งแยกจากกันไม่ได้ คนส่วนใหญ่จะเสริมสร้างพลังกายด้วยปัจจัยสี่ ส่วนจิตใจขาดการดูแลเอาใจใส่ จึงหวั่นไหวไปตามสภาวะแวดล้อม จนทำให้เกิดอาการวิตก กังวล เบื่อหน่าย ลังเล สงสัย ฟุ้งซ่าน เป็นผลให้ชีวิตประสบกับความทุกข์ ความท้อแท้ ไม่มีพลังในการดำเนินชีวิตให้สมบูรณ์ การมีอายุมาก คือมีพลังชีวิตมาก เป็นพลังหล่อเลี้ยงชีวิต หรือเป็นปัจจัยส่งเสริมที่จะหล่อเลี้ยงให้ชีวิตมีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ด้วยวิธีปฏิบัติธรรมะตามหลักอิทธิบาท ๔ และธรรมคู่ชีวิต ๕ ประการ คือ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ ๒. วิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก มี ๓ ประการ คือ ๑) กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่อยู่ในที่สงัด อยู่ในที่ที่ไม่มีความพลุกพล่าน หรือเสียงคน และสัตว์มารบกวน ตลอดจนไม่มีความสะดุ้งกลัวภัย ๒) จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบ ผ่องใสจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย ไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ๓) อุปธิวิเวก ความสงบสงัดจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ราคะ ตัณหา อุปาทาน ๓. การเสริมสร้างพลังชีวิตด้วยวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาทสามารถปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือจัดเข้าในหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา โดยวิเวก ๓ แยกได้เป็น ๑) กายวิเวก ปฏิบัติตามหลักสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เรียกว่า สีลสิกขา ๒) จิตตวิเวก ปฏิบัติตามหลักสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เรียกว่า จิตตสิกขา ๓) อุปธิวิเวก ปฏิบัติตามหลัก สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมลงในการเจริญจิตตภาวนา หรือการปฏิบัติธรรม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชีวิต ๒) เพื่อศึกษาวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชีวิตด้วยวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตำราของนักวิชาการต่าง ๆ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า: ๑. ชีวิต ประกอบด้วยกายและจิต ซึ่งแยกจากกันไม่ได้ คนส่วนใหญ่จะเสริมสร้างพลังกายด้วยปัจจัยสี่ ส่วนจิตใจขาดการดูแลเอาใจใส่ จึงหวั่นไหวไปตามสภาวะแวดล้อม จนทำให้เกิดอาการวิตก กังวล เบื่อหน่าย ลังเล สงสัย ฟุ้งซ่าน เป็นผลให้ชีวิตประสบกับความทุกข์ ความท้อแท้ ไม่มีพลังในการดำเนินชีวิตให้สมบูรณ์ การมีอายุมาก คือมีพลังชีวิตมาก เป็นพลังหล่อเลี้ยงชีวิต หรือเป็นปัจจัยส่งเสริมที่จะหล่อเลี้ยงให้ชีวิตมีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ด้วยวิธีปฏิบัติธรรมะตามหลักอิทธิบาท ๔ และธรรมคู่ชีวิต ๕ ประการ คือ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิ ๒. วิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก มี ๓ ประการ คือ ๑) กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่อยู่ในที่สงัด อยู่ในที่ที่ไม่มีความพลุกพล่าน หรือเสียงคน และสัตว์มารบกวน ตลอดจนไม่มีความสะดุ้งกลัวภัย ๒) จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบ ผ่องใสจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย ไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ๓) อุปธิวิเวก ความสงบสงัดจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ราคะ ตัณหา อุปาทาน ๓. การเสริมสร้างพลังชีวิตด้วยวิเวกในพระพุทธศาสนาเถรวาทสามารถปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือจัดเข้าในหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา โดยวิเวก ๓ แยกได้เป็น ๑) กายวิเวก ปฏิบัติตามหลักสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เรียกว่า สีลสิกขา ๒) จิตตวิเวก ปฏิบัติตามหลักสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เรียกว่า จิตตสิกขา ๓) อุปธิวิเวก ปฏิบัติตามหลัก สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมลงในการเจริญจิตตภาวนา หรือการปฏิบัติธรรม
The objectives of the research to Life empowerment with vivek principles in Theravada Buddhism: 1) To study Empowerment Life 2) To study the vivek in Theravada Buddhism, and 3) To study life empowerment with vivek in Theravada Buddhism. This thesis research papers (Documentary Research) study of the Holy Scriptures. The research found that: 1. Life consists of body and mind and they cannot be separated from each other. Most people nurture their body with the four basic necessities and lack of mental nurture. That makes the mind vibrate and conform environmental conditions and cause worry, flurry and worry, uncertainty, and anxiety. That also leads the life to suffering, misery, and disheartenedness. More age means more life power that can nurture and strengthen the life. The Dhamma principles to strengthen the life are Iddhipada and five principles; delight, rapture, serenity, blissfulness, and concentration. 2. Vivek in Theravada Buddhism means silent retail capabilities out. There are 3 reasons 1) silent Vivek capabilities include: body, body is in the gentle waters where there are no hidden or the sound of people and animals, as well as no less startled fear perils 2) Vivek contemplative Silent mind capabilities, including making a mental calm clear from sangyot anusai and niora. Don't go in the various emotions distracted 3) upthi Vivek. Calm the angry parents, passion greedy, lustful desires from the enchanted preconceive. 3. Enhancing life with Vivek in Theravada Buddhism to practice tamoriyamak have 8 or classified in the threefold training, meditation, fasting, and consists of the main intelligence by Vivek 1) a body, Vivek. Compliance with the Lord, Kam and verbally, it is called the poly color lasikkha 2) contemplative Vivek. Practices, meditation, consciousness and career wayama called contemplative Shikha 3) upthi Vivek Compliance with the Lord thitthi and right thought is called wisdom Shikha integrated into growth chitotphaona or meditation.