Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรมมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรม วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง คือ ด้านสังคม การศาสนา และการศึกษา จำนวน ๙ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยมี ๙ ประการ คือ ๑) ขยัน ๒) ประหยัด ๓) ซื่อสัตย์ ๔) มีวินัย ๕) สุภาพ ๖) สะอาด ๗) สามัคคี ๘) มีน้ำใจ และ ๙) กตัญญู ๒. หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย คือ ฆราวาสธรรม หลักธรรมในการครองเรือน และสาราณียธรรม หลักธรรมหลักธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ๓. ผลจากการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับทฤษฎีทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา ได้กระบวนธรรม ๑๐ ขั้นตอน เพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๙ ประการ ร่วมกับกิจกรรม/โครงการที่สถาบันทางสังคมต่าง ๆ ที่รับผิดชอบจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้เกิดขึ้นทางกาย คือ มีความขยัน รับผิดชอบหน้าที่การงาน ประหยัด การออม ซื่อสัตย์ และซื่อตรง มีวินัยต่อตนเองและต่อผู้อื่น เคารพกฎ ระเบียบ และกฎหมาย มีความสะอาดทั้งร่างกายและการแต่งกายที่เหมาะสม ทางวาจา จะมีความสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักใช้คำพูดให้เหมาะสมตามกาลเทศะ และทางความคิด จะทำให้ “คิดเป็น” มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตอาสาที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม รู้รักสามัคคี และไม่เห็นแก่ตัว โดยมีตัวชี้วัดตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้ง ๓ ทาง คือ ทางกาย วาจา และความคิดเพื่อประเมินผู้ร่วมกิจกรรม/โครงการทั้งก่อนและหลังการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรม
การศึกษาวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรมมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรม วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง คือ ด้านสังคม การศาสนา และการศึกษา จำนวน ๙ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยมี ๙ ประการ คือ ๑) ขยัน ๒) ประหยัด ๓) ซื่อสัตย์ ๔) มีวินัย ๕) สุภาพ ๖) สะอาด ๗) สามัคคี ๘) มีน้ำใจ และ ๙) กตัญญู ๒. หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย คือ ฆราวาสธรรม หลักธรรมในการครองเรือน และสาราณียธรรม หลักธรรมหลักธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ๓. ผลจากการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับทฤษฎีทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา ได้กระบวนธรรม ๑๐ ขั้นตอน เพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทย ๙ ประการ ร่วมกับกิจกรรม/โครงการที่สถาบันทางสังคมต่าง ๆ ที่รับผิดชอบจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้เกิดขึ้นทางกาย คือ มีความขยัน รับผิดชอบหน้าที่การงาน ประหยัด การออม ซื่อสัตย์ และซื่อตรง มีวินัยต่อตนเองและต่อผู้อื่น เคารพกฎ ระเบียบ และกฎหมาย มีความสะอาดทั้งร่างกายและการแต่งกายที่เหมาะสม ทางวาจา จะมีความสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักใช้คำพูดให้เหมาะสมตามกาลเทศะ และทางความคิด จะทำให้ “คิดเป็น” มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตอาสาที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม รู้รักสามัคคี และไม่เห็นแก่ตัว โดยมีตัวชี้วัดตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้ง ๓ ทาง คือ ทางกาย วาจา และความคิดเพื่อประเมินผู้ร่วมกิจกรรม/โครงการทั้งก่อนและหลังการเสริมสร้างคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคนไทยตามหลักพุทธธรรม
The objectives of this research are as follows: 1) To study the requirement qualifications of Thai people. 2) To study Buddhadhamma for Reinforcement of requirement qualifications of Thai people. 3) To study on reinforcement of requirement qualifications of Thai people according to Buddhadhamma. This research was conducted qualitative research papers and studying analyzing the content of the paper. Analysis of Buddhist scriptures and commentary. In-depth interviews 9 experts in Social, Religion, and Education had been done. The results indicated as follows: 1. The requirement qualifications of Thai people have 9 aspects that are 1) Diligent work, 2) Save, 3) Integrity, 4) Discipline, 5) Politely, 6) Clean, 7) Unity, 8) Thoughtful, and 9) Gratitude. 2. Buddhadhamma to requirement qualifications of Thai people have Gharãvãsa-dhamma: virtues for a good household life and Sãraniyadhamma: virtues for fraternal living. 3. The result of applied Buddhadhamma with sociological and psychological theories got Buddhadhamma process. All of them use for reinforcement of requirement qualifications of Thai people 9 steps with activities / projects in the social institutions that are held accountable. The objective is to reinforce the behavior. Happening physically is a diligent, responsible and economical savings, honesty and integrity, discipline themselves and to others, respect for rules and laws have cleaned the body and dress for the speech to be courteous, know the words to fit the occasion, the idea to make "Intelligent Thinking”, Creativity, Public Mind, Unity and selflessness. The indicators are based on the behavior that occurs in 3 ways: physical, verbal and ideas to evaluate the activities / projects, both before and after reinforcement of requirement qualifications of Thai people according to Buddhadhamma.