Search results

136 results in 0.07s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์ ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย และ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า บทบาทพระสงฆ์ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ชีวิตของพุทธศาสนิกชนผูกพันกับพระสงฆ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระสงฆ์จึงมีบทบาทด้านต่างๆ เพื่อเกื้อกูลต่อชุมชน ดังนี้ ๑) บทบาทด้านการศึกษา ๒) บทบาทด้านการเผยแผ่ ๓) บทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ ๔) บทบาทด้านการพัฒนาจิตใจ ๕) บทบาทด้านสืบสานวัฒนธรรม และ ๖) บทบาทด้านส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บทบาทในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ไทยนั้น พบว่า ดำเนินการอนุรักษ์ใน ๒ ลักษณะ คือ การอนุรักษ์โดยตรง ได้แก่ การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ อากาศ ฯลฯ ซึ่งมีบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามพรากของเขียวหรือต้นไม้ ห้ามบ้วนนำลายลงในน้ำ ห้ามขุดดิน เป็นต้น และการอนุรักษ์โดยอ้อม ได้แก่ การอยู่ตามธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัย โดยอาศัยธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ฯลฯ เป็นสถานที่สัปปายะในการปฏิบัติธรรม ผลการวิเคราะห์บทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย พบว่า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ไทยนั้น ยึดหลักการใช้สอยอย่างประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย โดยเน้นการทำลายน้อยที่สุด แต่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับน้ำเน่าเสีย ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาเกี่ยวกับการทำลายทรัพยากรป่าไม้ของสิ่งสิ่งแวดล้อมให้หมดไป ถ้าสิ่งแวดล้อมอยู่ในความสมดุล ความบริสุทธิ์สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็จะเกื้อกูลและก่อประโยชน์ร่วมกัน
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์ ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย และ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า บทบาทพระสงฆ์ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ชีวิตของพุทธศาสนิกชนผูกพันกับพระสงฆ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระสงฆ์จึงมีบทบาทด้านต่างๆ เพื่อเกื้อกูลต่อชุมชน ดังนี้ ๑) บทบาทด้านการศึกษา ๒) บทบาทด้านการเผยแผ่ ๓) บทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ ๔) บทบาทด้านการพัฒนาจิตใจ ๕) บทบาทด้านสืบสานวัฒนธรรม และ ๖) บทบาทด้านส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บทบาทในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ไทยนั้น พบว่า ดำเนินการอนุรักษ์ใน ๒ ลักษณะ คือ การอนุรักษ์โดยตรง ได้แก่ การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ อากาศ ฯลฯ ซึ่งมีบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามพรากของเขียวหรือต้นไม้ ห้ามบ้วนนำลายลงในน้ำ ห้ามขุดดิน เป็นต้น และการอนุรักษ์โดยอ้อม ได้แก่ การอยู่ตามธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัย โดยอาศัยธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ฯลฯ เป็นสถานที่สัปปายะในการปฏิบัติธรรม ผลการวิเคราะห์บทบาทการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของพระสงฆ์ไทย พบว่า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ไทยนั้น ยึดหลักการใช้สอยอย่างประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย โดยเน้นการทำลายน้อยที่สุด แต่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับน้ำเน่าเสีย ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาเกี่ยวกับการทำลายทรัพยากรป่าไม้ของสิ่งสิ่งแวดล้อมให้หมดไป ถ้าสิ่งแวดล้อมอยู่ในความสมดุล ความบริสุทธิ์สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็จะเกื้อกูลและก่อประโยชน์ร่วมกัน
The objectives of this thesis were: 1) to study the role of Buddhist monks, 2) to study the role of environmental protection of Thai monks according to Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the role of environmental protection of Thai monks according to Theravada Buddhist philosophy. The data were mainly collected from the Tipitaka, books, magazines, documents, commentaries and related research works. The results of the research were found that: The role of monks is considered as the center of Buddhist mind. The life of Buddhists is bound to the monks in some way. Monks have different roles. 1) Educational role 2) Role of propagation 3) Role in social work 4) Role in mental development 5) Role in cultural heritage and 6) Role in promoting and preserving the environment. The role of conservationists in the conservation of the environment is to conserve the environment, such as forests, rivers, air, etc., which prescribe conservation of greenery or trees. Do not put the stripes into the water, do not dig the soil, etc., and indirect conservation, including natural dependency. By nature, such as forests, etc., is a place to practice meditation. To analyze the role of environmental protection in the Buddhist philosophy of Theravada Buddhist monks in Thailand. The principle of economical use is not superfluous. With minimal emphasis on destruction but most beneficial. To eliminate the problem of rotten water, air pollution and the problems of forest resource destruction of the environment. If the environment is in balance. Natural brightness all human beings and all living things will support and contribute together.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋าม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋าม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัยจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งประกอบด้วยผู้รู้ในชุมชน เช่น พระสงฆ์ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น จำนวน 20 ท่าน วิธีการเก็บข้อมูลคือ การสำรวจพื้นที่ สังเกตสภาพวิถีชีวิตของชุมชน การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย แล้วทำการจัดหมวดหมู่และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยนำทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการวิเคราะห์และตีความแล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการเขียนเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ชาวไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋ามมีสภาพวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับไร่นา ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สมาชิกในชุมชนพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกันและกันเหมือนญาติ มีความผูกพันแน่นแฟ้นในระบบเครือญาติ มีความศรัทธาเลื่อมใส่ในพระพุทธศาสนาแบบผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ผสมผสานและเชื่อมโยงระหว่างพุทธศาสนา ความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ภูตผีวิญญาณเทพาอารักษ์ ประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวไทใหญ่มีพิธีกรรมตั้งแต่เกิดจนตาย การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋ามพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ด้านสถาบันทางสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันครอบครัว การศึกษา และเศรษฐกิจ เยาวชนชาวไทใหญ่ต่างหลั่งไหลออกไปประกอบอาชีพนอกชุมชนเป็นจำนวนมาก เพื่อหาโอกาสและช่องทางในการสร้างฐานะครอบครัว มีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ ชีวิตด้วยการศึกษา โดยพ่อแม่จะส่งลูกหลานได้เรียนหนังสือในระดับสูง ๆ ขึ้นไป และสำเร็จการศึกษาออกมาประกอบอาชีพตามวิชาความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ ที่ได้เล่าเรียนมา ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมีความหลากหลายทางด้านอาชีพ การทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ มีการลงทุนสูง การปลูกพืชผักและไม้ผลของโครงการหลวงสามารถสร้างรายได้จนมีฐานะเลี้ยงชีวิตครอบครัวได้ มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋าม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋าม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัยจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งประกอบด้วยผู้รู้ในชุมชน เช่น พระสงฆ์ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น จำนวน 20 ท่าน วิธีการเก็บข้อมูลคือ การสำรวจพื้นที่ สังเกตสภาพวิถีชีวิตของชุมชน การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย แล้วทำการจัดหมวดหมู่และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยนำทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการวิเคราะห์และตีความแล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการเขียนเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ชาวไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋ามมีสภาพวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับไร่นา ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สมาชิกในชุมชนพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกันและกันเหมือนญาติ มีความผูกพันแน่นแฟ้นในระบบเครือญาติ มีความศรัทธาเลื่อมใส่ในพระพุทธศาสนาแบบผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ผสมผสานและเชื่อมโยงระหว่างพุทธศาสนา ความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ภูตผีวิญญาณเทพาอารักษ์ ประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวไทใหญ่มีพิธีกรรมตั้งแต่เกิดจนตาย การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋ามพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ด้านสถาบันทางสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันครอบครัว การศึกษา และเศรษฐกิจ เยาวชนชาวไทใหญ่ต่างหลั่งไหลออกไปประกอบอาชีพนอกชุมชนเป็นจำนวนมาก เพื่อหาโอกาสและช่องทางในการสร้างฐานะครอบครัว มีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ ชีวิตด้วยการศึกษา โดยพ่อแม่จะส่งลูกหลานได้เรียนหนังสือในระดับสูง ๆ ขึ้นไป และสำเร็จการศึกษาออกมาประกอบอาชีพตามวิชาความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ ที่ได้เล่าเรียนมา ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมีความหลากหลายทางด้านอาชีพ การทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ มีการลงทุนสูง การปลูกพืชผักและไม้ผลของโครงการหลวงสามารถสร้างรายได้จนมีฐานะเลี้ยงชีวิตครอบครัวได้ มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น
The objectives of this research aimed 1) to study the identity of the Tai Yai community, Ban Mai Mok Cham, Thaton Sub-district, Mae Ai District, Chiang Mai Province and 2) to study the identity changes of the Tai Yai community, Ban Mai Mok District, Thaton Sub-district, Mae Ai District, Chiang Mai Province. The researcher collected data for research from twenty data contributors which consisted of scholars in the community such as monks, the village headman, community leaders, philosophers, villagers, etc. Data collections were explored field-notes, a general observation about people’s lifestyle, ethnographical observation, interviews, and small group discussions. Then, the obtained data had categorized and analyzed by applying relevant theories and qualitative interpret. Then, the results of the analysis had written in the descriptive discussion. The research found that Tai Yai people in Ban Mai Mok Cham have a simply life style which is bound to the agricultural farm. Most of them mainly earned their living with agriculture. With a simple life style, community members rely on helping each other as relatives. They are having a strong kinship system and also have resilient faith in Buddhism. People are not only belief in both combinations of traditional beliefs and Buddhism, but also a belief in supernatural, deities (Thepha Arak), Spirit, ritual history, and ethnic identity through various ceremonies. These are the result for the Tai Yai people to have rituals ceremonies from birth to death. The identity of Tai Yai community in Ban Mai Mok Cham has changed. In the study, it is found that there has been a dramatic change in the social institution identity in especially with family, education, and economic institutions. Tai Yai youths poured out a lot of jobs outside the community. This is to find opportunities and channels to raise a family position. With the development and upgrading the quality of life by education, parents will send their children to study at a higher level and graduate to pursue a career based on the new knowledge and technology that they can be studied. The economic system in the community has a variety of occupations. Commercial agriculture has high investment. Tai Yai people, planted and exported vegetables and fruits through the Royal Project, can generate income that developed their quality of family life. Then, modern technology is used to facilitate everyday life such as vehicles, electrical appliances or even communication equipment, etc.
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมือง ร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหาร สถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมทั้งสิ้น 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test (One-Way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลวิจัยพบว่า ระดับการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของ ผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยเรียงลำดับจากข้อที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดไปหาการปฏิบัติต่ำสุด พบว่าด้านมีระดับการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ด้านศีล (สีลสิกขา) มีระดับการปฏิบัติสูงสุดรองลงมา ได้แก่ ด้านปัญญา (ปัญญาสิกขา) และด้านมีระดับการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ ด้านสมาธิ (จิตตสิกขา) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีผลการวิจัยปรากฏดังต่อไปนี้ 1) ด้านศีล (สีลสิกขา) พบว่า ข้อที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 2) ด้านสมาธิ (จิตตสิกขา) พบว่า ข้อมีระดับการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และข้อระดับการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) ด้านปัญญา (ปัญญาสิกขา) พบว่า ข้อมีระดับการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ การนิเทศการศึกษา และข้อมี ระดับการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 ผู้บริหารสถานศึกษาควรควรแก้ไขพัฒนาทางปฏิสัมพันธ์ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรและสถาบันอื่นๆ ด้วยการยึดหลักมอบความรู้ข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งควรแก้ไขพัฒนาการจัดการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้อันยึดหลักบรรยากาศร่มรื่นสงบ และควรแก้ไขพัฒนาการจัดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอันยึดหลักตรึกตรองการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียน โดยทั้ง 3
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมือง ร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหาร สถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมทั้งสิ้น 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test (One-Way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลวิจัยพบว่า ระดับการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของ ผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยเรียงลำดับจากข้อที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดไปหาการปฏิบัติต่ำสุด พบว่าด้านมีระดับการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ด้านศีล (สีลสิกขา) มีระดับการปฏิบัติสูงสุดรองลงมา ได้แก่ ด้านปัญญา (ปัญญาสิกขา) และด้านมีระดับการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ ด้านสมาธิ (จิตตสิกขา) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีผลการวิจัยปรากฏดังต่อไปนี้ 1) ด้านศีล (สีลสิกขา) พบว่า ข้อที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 2) ด้านสมาธิ (จิตตสิกขา) พบว่า ข้อมีระดับการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และข้อระดับการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) ด้านปัญญา (ปัญญาสิกขา) พบว่า ข้อมีระดับการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ การนิเทศการศึกษา และข้อมี ระดับการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 ผู้บริหารสถานศึกษาควรควรแก้ไขพัฒนาทางปฏิสัมพันธ์ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรและสถาบันอื่นๆ ด้วยการยึดหลักมอบความรู้ข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งควรแก้ไขพัฒนาการจัดการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้อันยึดหลักบรรยากาศร่มรื่นสงบ และควรแก้ไขพัฒนาการจัดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอันยึดหลักตรึกตรองการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียน โดยทั้ง 3
หลักดังกล่าวควรมีความสอดคล้องกับหลักวิชาการของหลักสูตรขั้นพื้นฐานที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมจริยธรรมอันดีงามของทางพุทธศาสนาและสอดคล้องกับนโยบายแห่งรัฐ
This research served the purposes: 1) to study levels of school administrators’ and teachers’ opinions on academic affairs administrations by virtue of three principles of Sikkha (Threefold Trainings), 2) to compare levels of their opinions on such academic administrations to their different genders, ages and educational levels, 3) To advise on academic administration in accordance with such principles. The target schools in Roi Et province’s Mueang district had been administered by schools administrators under the Office of Primary Education Service, Roi Et Area 1. The sampling groups were school administrators and teachers in the target schools, tallying 304 subjects. The research device was the five-rating scale, each of which possessed IOC between 0.67 and 1.00, and the reliability of the entire version at .96. Statistics used for processing data embodied frequency, means, standard deviations, t-test, F-tests (One-way ANOVA), Analyze data using computer. Results of the research: School administrators’ practical level of their academic administrations at the aforesaid schools has been found at the high scale in the overall aspect and each one, as has each aspect taken into consideration. To rank means of the practical levels of three aspects in descending order, they comprise practices of morality, wisdom and concentration respectively. Suggestions for school administrators’ academic affairs administrations with threefold trainings at aforesaid schools have been offered that that they should: first, deal with problems of developments for interrelationship on promotion and support of academic affairs for individuals, families, agencies and other institutions to render equal services of information; next, cope with developments of learning resource managements based on principles of peaceful ambience; then, solve problems of management developments of innovations and educational technologies with principles of prior thoughts of learning processes appropriate for pupils. With the said three suggestions, they should have to be in line with academic principles of basic curricula on the firm foundation of decent ethics and morality and policies of State’s policies.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารโรงเรียนและเปรียบเทียบการบริหาร โรงเรียนโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 324 คน โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.922 สถิติที่ใช้หาคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเชื่อมั่น สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างการบริหารงานโรงเรียนใช้สถิติที (t-test) และขนาดของโรงเรียน ใช้สถิติเอฟ (F–test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ รองลงมาคือ ด้านการกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดด้านการให้รางวัลตอบแทน 2. ผลการเปรียบเทียบทัศนะของครูต่อการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผล สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงานและจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารโรงเรียนและเปรียบเทียบการบริหาร โรงเรียนโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 324 คน โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.922 สถิติที่ใช้หาคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเชื่อมั่น สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างการบริหารงานโรงเรียนใช้สถิติที (t-test) และขนาดของโรงเรียน ใช้สถิติเอฟ (F–test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ รองลงมาคือ ด้านการกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดด้านการให้รางวัลตอบแทน 2. ผลการเปรียบเทียบทัศนะของครูต่อการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผล สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงานและจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
The purpose of this study was to study the level of school administration using the principle of performance management of school administrators and comparison of school administration using the principals of achievement management of school administrators as perceived by teachers under secondary educational service area office 19 classified by sex, work experience and school size. The sample size was 324 persons sample sizes were calculated using Krejcie & Morgan tables. The instrument used in this study was a questionnaire designed. A total of 30 questionnaires were used the reliability was .922. Statistics used to determine the quality of tools, such as content validity, confidence. The basic statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation. Statistics used for comparative analysis differences in school administration by gender, work experience and school size using t-test and school size using F-test. The results of the study were as follows :- 1. The administration of the institution. The overall level was at a high level the highest mean was organizational strategic planning, followed by the definition of performance indicators. The lowest mean of reward. 2. The results of the comparison of teachers' viewpoints on school administration using the principle of achievement management of school administrators. Classified by sex, work experience and school size. All aspects were statistically significant difference at .01 levels.