Search results

89 results in 0.08s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์สามประการดังนี้ 1) เพี่อศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ของคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 114 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) กับการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) หรือ F-test ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านหรือตัวแทน จำนวน 12 คน จาก 12 หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กล้องถ่ายรูป และเทปบันทึกเสียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งหกด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วมและด้านหลักนิติธรรม ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คณะกรรมการหมู่บ้าน ที่มีเพศ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารตามหลัก ธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ลำดับตามความถี่สูงไปหาต่ำ สามอันดับแรก คือ ผู้บริหารควรบริหารงานโดยยึดความถูกต้องและความต้องการของประขาชนเป็นหลัก คณะผู้บริหารและพนักงานส่วนตำบลควรสร้างจิตสำนึกที่ดีให้เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ และควรบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดโดยคำนึงถึงหลักความประหยัดใช้ของให้เกิดความคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์สามประการดังนี้ 1) เพี่อศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ของคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 114 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) กับการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) หรือ F-test ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านหรือตัวแทน จำนวน 12 คน จาก 12 หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กล้องถ่ายรูป และเทปบันทึกเสียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งหกด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วมและด้านหลักนิติธรรม ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คณะกรรมการหมู่บ้าน ที่มีเพศ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารตามหลัก ธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ลำดับตามความถี่สูงไปหาต่ำ สามอันดับแรก คือ ผู้บริหารควรบริหารงานโดยยึดความถูกต้องและความต้องการของประขาชนเป็นหลัก คณะผู้บริหารและพนักงานส่วนตำบลควรสร้างจิตสำนึกที่ดีให้เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ และควรบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดโดยคำนึงถึงหลักความประหยัดใช้ของให้เกิดความคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
This Thesis was the mixed methods research, which consisted of three specific objectives namely; 1) to study village committees’ opinions on good governance-based administration at Tambon Kamphaeng Administrative Organization in Kaset Wisai district, Roi Et province, 2) to compare their opinions on good governance-based administration at the aforesaid area, resting upon differences in their genders, ages and educational levels and, 3) to study their suggestions and development guidelines on good governance-based administration at the aforesaid area. The research populations comprised village committees from 12 villages of Kamphaeng sub-districts in Kaset Wisai District’s authorized area, numbering 159 individuals. The sampling group was set against Taro Yamane’s table, earning 114 subjects. The instrument used for data collection was the five-rating-scale questionnaires, each of which was endowed with the reliability at 0.86. The statistical tools for computing data encompassed percentage, mean, standard deviation. The statistics used for the research incorporate: percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. In the qualitative research, the target population of this type consisted of villages’ headmen or representatives from from 12 villages of Kamphaeng sub-districts with a total of 12 people. All of them were the key informants who were purposely selected, one informant from each sub-district. The research tools were composed of a semi-structured interview, a camera and a tape recorder. Outcomes of the research summarized the following major findings: 1) Village committees’ opinions on good governance-based administration at Tambon Kamphaeng Administrative Organization in Kaset Wisai district, Roi Et province were comprehensively rated at the ‘more’ scales in all six aspects. In term of a single one, three aspects with the highest, lower and lowest means included those of: i) participation, ii) ethics) and iii) value of money. 2) The comparative results of residents’ opinions on its good governance-based administration in the district confirmed that variables of their genders, ages and educational levels showed no significant differences in the overall aspect. 3) Suggestions for its good governance-based administration were recommended in descending order of three frequencies that its administrators should: i) executives should be administered by the anchor and the requirements of main impacts, ii) the executives and Tambon Kamphaeng Administrative Organization’s officials should create conscience occurs in the performance of duties, iii) should manage and use the limited resources by consideration of the principal economy, cause value, and the most benefits to public.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชนที่เพศ อายุ ระดับการศึกษา และการประกอบอาชีพ ต่างกัน และ3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนในการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 381คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA : F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบการวิเคราะห์ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า : 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งหกด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านหลักความคุ้มค่า 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และการประกอบอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม ไม่แตกต่างกัน และ 3) ประชาชนมีข้อเสนอแนะของในการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ดเรียงลำดับตามความถี่จากสูงไปหาต่ำสามอันดับแรก ได้แก่ ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการ ควรจัดอบรมด้านคุณธรรมให้กับบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทุกปี และควรประชาสัมพันธ์ข้อบัญญัติให้ประชาชนทราบทุกครั้ง ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด บริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาลทั้งหกด้านปรากฏในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะเพราะเป็นองค์การและบุคลากรมีที่มาโดยกฎหมาย จึงต้องบริหารจัดการตามที่กฎหมายกำหนด ยึดหลักศาสนาพุทธเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารอย่างพร้อมเพียง การบริหารจัดการ มีความโปร่งใสด้วย มีการเชิญประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจรับงานต่างๆอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารและสมาชิกสภามีความรับผิดชอบสูงเพราะมี ประชาชนคอยติดตามตรวจสอบ การบริหารจัดงานดำเนินการอย่างคุ้มค่า เพราะมีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของประชาชนที่เพศ อายุ ระดับการศึกษา และการประกอบอาชีพ ต่างกัน และ3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนในการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 381คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA : F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประกอบการวิเคราะห์ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า : 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งหกด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านหลักความคุ้มค่า 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และการประกอบอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม ไม่แตกต่างกัน และ 3) ประชาชนมีข้อเสนอแนะของในการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ดเรียงลำดับตามความถี่จากสูงไปหาต่ำสามอันดับแรก ได้แก่ ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการ ควรจัดอบรมด้านคุณธรรมให้กับบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทุกปี และควรประชาสัมพันธ์ข้อบัญญัติให้ประชาชนทราบทุกครั้ง ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด บริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาลทั้งหกด้านปรากฏในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะเพราะเป็นองค์การและบุคลากรมีที่มาโดยกฎหมาย จึงต้องบริหารจัดการตามที่กฎหมายกำหนด ยึดหลักศาสนาพุทธเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารอย่างพร้อมเพียง การบริหารจัดการ มีความโปร่งใสด้วย มีการเชิญประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจรับงานต่างๆอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารและสมาชิกสภามีความรับผิดชอบสูงเพราะมี ประชาชนคอยติดตามตรวจสอบ การบริหารจัดงานดำเนินการอย่างคุ้มค่า เพราะมีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
The objectives of the research were 1) to study the residents’ opinions on good governance-based administration of tambon administrative organizations in Jaturaphakpiman District, Roi-et Provice, 2) to compare their opinions on its good governance-based administration, resting on the classification of the genders, ages, educational levels and occupations and 3) to regulate suggestions to improve good governance-based administration of tambon administrative organizations. The sample group comprised of 381 residents who are the heads of the families or his/her representatives pertaining to tambon administrative organizations in Jaturaphakpiman District. The research instrument was 30 items of five rating questionnaires gaining the reliability at .92. The statistic tools exploited for the research for the research encompassed frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and One Way ANOVA : F-test. The results of the quantitative research were as follows; 1) The opinions of the residents on good governance-based administration of tambon administrative organizations in Jaturaphakpiman District, Roi-et Province as overall and all aspects were rated at high level. The aspects placed in descending order of means take in; responsibility, rule of law, virtues, transparency, participation and effectiveness. 2) The comparative results of their opinions of the residents on good governance-based administration indicated that the variables of their genders, ages, educational levels and occupations showed no significant differences in the overall and aspects. 3) Their suggestions in descending order of three frequencies for its good governance-based administration were recommended. First, the people should be participated in the administrative public policy. Second, the virtue training of personnel should be held yearly, Finally, people should be informed of all rule and laws of tambon administrative organizations. The result of the qualitative research was found that the opinions of the residents on good governance-based administration of tambon administrative organizations in Jaturaphakpiman District, Roi-et Province as overall and all aspects were rated at high level because the organizations and the personnel were established by law and administers under the law, performing work as the teaching of Buddhism, the residents participate in administration, the work management was carried on transparently, the executive and the members of the assembly were elected work under accountability due to the checking of the residents, the work administration and management was carried on effectively because there are changes in good ways.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตองค์การบริการส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนคน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ และมีการบริหารอยู่ในระดับปานกลางอีก 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใส และเมื่อจำแนกรายด้านในแต่ละด้านเป็นรายข้อ พบว่า 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกัน เห็นว่าองค์การบริหาร ส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน เห็นว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ ควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ควรนำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากประชาชนทุกปัญหามาปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้น และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือดำเนินโครงการแต่ละโครงการ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน เกิดความรัก หวงแหนต่อหน่วยงาน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตองค์การบริการส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนคน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ และมีการบริหารอยู่ในระดับปานกลางอีก 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใส และเมื่อจำแนกรายด้านในแต่ละด้านเป็นรายข้อ พบว่า 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกัน เห็นว่าองค์การบริหาร ส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน เห็นว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ ควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ควรนำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากประชาชนทุกปัญหามาปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้น และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือดำเนินโครงการแต่ละโครงการ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน เกิดความรัก หวงแหนต่อหน่วยงาน
The thesis was to serve the purposes: 1) to study good governance-based administration of Tambon Prue Yai Administrative Organization in Si Sa Ket province’s Khukhan district, 2) to compare its good governance-based administration based on classification of residents’ genders, ages, educational levels and occupations, 3) to examine their suggestions for its good governance-based administration. The sampling groups for conducting the research comprised 381 eligible voters in its constituencies. The research instrument was the five-rating scale questionnaire containing thirty questions, each of which possessed the reliability at .81. Statistics used for data analyses embraced percentage, mean, standard deviation. Another one used for the hypothesis testing results included t-test and F-test (One-Way ANOVA), by making use of the ready-made software package. Results of the research findings: 1) Its good governance-based administration has been rated ‘moderate’ in the overall aspect. Given each of aspects, its target administration of three aspects has been scaled ‘high’ in such descending order of means as participation, values of money and accountability. On the contrary, its target administration of other three aspects has been measured ‘moderate’ in the descending order of means, namely rule of law, morality and transparency. 2) As classified by one single aspect, their genders, ages and educational levels yield no differences in their opinions on its target administration in the overall aspect and a single one; whereas their occupations prove ‘moderate’ with the statistical significance level at .05. 3) Their suggestions for enhancing its target administration are that it should: 3.1) open opportunities to residents to take part in assessing administrators’ and personnel’s work performance in the agency on thorough and regular bases, 3.2) take residents’ suggestions for addressing every problem to keep abreast of ongoing circumstances, 3.3) open opportunities to them participating in managing the agency or carrying out each project so as to make them feel as though they became owners of their communities, thereby prompting affection and cherishing the agency.
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ร.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออกไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง 2) พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการนั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี 3) พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรองได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออกไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง 2) พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการนั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี 3) พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรองได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
The thesis entitled “An Analytical Study of the Buddha’s Tasks for Propagating Buddhism in Savatthi" served the purposes: 1) to study the Buddha’s tasks of five duties as a daily routine, 2) to study his tasks for propagating Buddhism in the city called Savatthi, and 3) to analyze values of his tasks for propagating Buddhism in the preceding city. It was derived from the documentary research, collecting data from such secondary sources as the Tipitaka, commentaries, canonical texts, academic articles, and relevant researches. Collected data were brought to analyze and results were subsequently summarized to present findings. Results of research have found the following findings: 1) It was obvious that The Buddha highly succeeded in propagating Buddhism by laying firm foundations for propagating his faith through regular five duties as his daily routines, for he was determined with his clear purposes in propagating it. His tasks were well planned systematically and effectively in various domains like managements of time, personnel and organizations. He concurrently performed his tasks and coped with them harmoniously. That was why Buddhism had become well known and spread to various states of India in those days because it was his great successes of effective managements of his tasks of five daily routines. 2) It was said the Buddha was greatly regarded as monarchs’ and human beings’ great teacher. His tasks of five daily routines for propagating Buddhism was labeled as the priceless model, which we could harmoniously apply the model, methods and rule of his dharma as our refuge to leading our everyday life. To follow the Buddha’s footsteps, it brought about one’s effectiveness of the job and ways of their daily life to be smooth, disciplined, which enabled them to develop their mind and address their problems by peaceful means. 3) As far as the Buddha’s tasks for propagating Buddhism in the city called Savatthi were concerned, he was absolutely successful. It was the result of his duty performances in such many fields as propagation, managements and administration of Sangha Order. In one aspect, the Buddha managed his time excellently by undertaking his daily routines as the main task together with other ones. In other words, the Buddha coped with his main tasks and secondary ones appropriately, culminating in his effective and efficient propagation of Buddhism in the city called Savatthi, As a result, there were a number of four Buddhist adherents attaining arahantship in Savatthai to the extent that it was labelled ‘Savatthi, the City of Arahants’. In fact, it had become the centre of propagating Buddhism in those days.
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาสัมมาทิฏฐิตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการสร้างสันติสุขตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ ๓) เพื่อวิเคราะห์สัมมาทิฏฐิ ในการสร้างสันติสุขในสังคมไทยตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักคำสอนเรื่องสัมมาทิฏฐิที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการวิจัยพบว่า สัมมาทิฏฐิเป็นองค์ประกอบข้อแรกของมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นองค์ ต้นทางแห่งมรรค โดยที่องค์มรรคอีกทั้ง ๗ ข้อ ก็มีคำว่า สัมมา อยู่ข้างหน้าทุกองค์ ๒ และจะเห็นว่า “สัมมา” แปลว่า “ชอบ” หรือ “ถูก” และ “ทิฏฐิ” แปลว่า “ความเห็น” สัมมาทิฏฐินั้นเปรียบประดุจแกนนำ หรือในมุมของปฏิจจสมุปบาท ถ้ามีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำวิถีชีวิตก็จะดำเนินไปในสายดับทุกข์ (นิโรธวาร) หรือ ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ การสร้างสันติสุขมี ๒ ปัจจัย ได้แก่ (๑) ปัจจัยภายนอก สำหรับคนสามัญนั้นต้องอาศัยการชี้แนะจากคนดี มีปัญญา มีคุณธรรม ทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำสั่งสอนให้ผู้อื่นมีความเห็นถูกและคล้อยไปตามคำแนะนำชักจูงที่ฉลาดได้ง่ายและจะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ เป็นกัลยาณมิตรโดยแท้มี ๒ ด้าน คือ (๑) คุณสมบัติที่แสดงออกภายนอก คือ คุณสมบัติมิตรที่ดี ๗ ได้แก่ ๑) มิตรมีใจงามชนิดอุปการะ ๒) ทมะ ๓) มิตรมีใจงามชนิดมีใจรัก ๔) สัจจะ ๕) ขันติ ๖) มิตรมีใจงามชนิดร่วมทุกข์ร่วมสุข ๗) มิตรมีใจงามชนิดแนะนำประโยชน์ (๒) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ผลการวิเคราะห์สัมมาทิฏฐในการสร้างสันติสุขในสังคมไทยนั้น ก่อให้เกิดความเห็นถูก เห็นชอบซึ่งต้องตั้งต้นด้วยความเห็นชอบเสมอ อีกทั้งเพื่อให้มีความสมดุล ในด้านต่างๆเช่น ด้านการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อมจากวัฒนธรรมอื่นที่หลั่งไหลเข้ามาจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาสัมมาทิฏฐิตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการสร้างสันติสุขตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ ๓) เพื่อวิเคราะห์สัมมาทิฏฐิ ในการสร้างสันติสุขในสังคมไทยตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักคำสอนเรื่องสัมมาทิฏฐิที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการวิจัยพบว่า สัมมาทิฏฐิเป็นองค์ประกอบข้อแรกของมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นองค์ ต้นทางแห่งมรรค โดยที่องค์มรรคอีกทั้ง ๗ ข้อ ก็มีคำว่า สัมมา อยู่ข้างหน้าทุกองค์ ๒ และจะเห็นว่า “สัมมา” แปลว่า “ชอบ” หรือ “ถูก” และ “ทิฏฐิ” แปลว่า “ความเห็น” สัมมาทิฏฐินั้นเปรียบประดุจแกนนำ หรือในมุมของปฏิจจสมุปบาท ถ้ามีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำวิถีชีวิตก็จะดำเนินไปในสายดับทุกข์ (นิโรธวาร) หรือ ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ การสร้างสันติสุขมี ๒ ปัจจัย ได้แก่ (๑) ปัจจัยภายนอก สำหรับคนสามัญนั้นต้องอาศัยการชี้แนะจากคนดี มีปัญญา มีคุณธรรม ทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำสั่งสอนให้ผู้อื่นมีความเห็นถูกและคล้อยไปตามคำแนะนำชักจูงที่ฉลาดได้ง่ายและจะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ เป็นกัลยาณมิตรโดยแท้มี ๒ ด้าน คือ (๑) คุณสมบัติที่แสดงออกภายนอก คือ คุณสมบัติมิตรที่ดี ๗ ได้แก่ ๑) มิตรมีใจงามชนิดอุปการะ ๒) ทมะ ๓) มิตรมีใจงามชนิดมีใจรัก ๔) สัจจะ ๕) ขันติ ๖) มิตรมีใจงามชนิดร่วมทุกข์ร่วมสุข ๗) มิตรมีใจงามชนิดแนะนำประโยชน์ (๒) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ผลการวิเคราะห์สัมมาทิฏฐในการสร้างสันติสุขในสังคมไทยนั้น ก่อให้เกิดความเห็นถูก เห็นชอบซึ่งต้องตั้งต้นด้วยความเห็นชอบเสมอ อีกทั้งเพื่อให้มีความสมดุล ในด้านต่างๆเช่น ด้านการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อมจากวัฒนธรรมอื่นที่หลั่งไหลเข้ามาจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
This thesis serves the purposes: 1) to study Right Understanding in Theravada Buddhist philosophy, 2) to study creating peace in Theravada Buddhist Philosophy, and 3) to analyze right understanding to create peace of Thai’s society in Theravada Buddhist Philosophy. It has been carried out with qualitative research methodology, of which its sources include The Tipitaka, relevant researches and other texts to supplement it. The results of the research were found that: The righteous thoughts are the first element of the eight paths of the path. By the 7 other paragraphs, the word is right in front of all 2, and see that “right” means “right” or “right” and “point” means “opinion”. There are two levels of peace building: (1) external factors For ordinary people, it requires the guidance of the good, the wise, the virtuous, the help, the instruction, the instruction to others, the right opinion, and follow the instructions to induce the smart and easy to practice to be able to use the right thinking. The analysis of the expected results when applied Sammathit to create peace in Thai society. It is for the opinion to be approved, which must always be initiated with approval. Also to be balanced. In such areas as education, social and environmental, to be ready to accommodate the rapid and widespread change in education, society, environment, from other cultures flowing from the outside world as well.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ