Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตองค์การบริการส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนคน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ และมีการบริหารอยู่ในระดับปานกลางอีก 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใส และเมื่อจำแนกรายด้านในแต่ละด้านเป็นรายข้อ พบว่า 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกัน เห็นว่าองค์การบริหาร ส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน เห็นว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ ควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ควรนำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากประชาชนทุกปัญหามาปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้น และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือดำเนินโครงการแต่ละโครงการ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน เกิดความรัก หวงแหนต่อหน่วยงาน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตองค์การบริการส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวนคน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ และมีการบริหารอยู่ในระดับปานกลางอีก 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใส และเมื่อจำแนกรายด้านในแต่ละด้านเป็นรายข้อ พบว่า 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกัน เห็นว่าองค์การบริหาร ส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน เห็นว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักความรับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ ควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ควรนำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากประชาชนทุกปัญหามาปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้น และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือดำเนินโครงการแต่ละโครงการ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน เกิดความรัก หวงแหนต่อหน่วยงาน
The thesis was to serve the purposes: 1) to study good governance-based administration of Tambon Prue Yai Administrative Organization in Si Sa Ket province’s Khukhan district, 2) to compare its good governance-based administration based on classification of residents’ genders, ages, educational levels and occupations, 3) to examine their suggestions for its good governance-based administration. The sampling groups for conducting the research comprised 381 eligible voters in its constituencies. The research instrument was the five-rating scale questionnaire containing thirty questions, each of which possessed the reliability at .81. Statistics used for data analyses embraced percentage, mean, standard deviation. Another one used for the hypothesis testing results included t-test and F-test (One-Way ANOVA), by making use of the ready-made software package. Results of the research findings: 1) Its good governance-based administration has been rated ‘moderate’ in the overall aspect. Given each of aspects, its target administration of three aspects has been scaled ‘high’ in such descending order of means as participation, values of money and accountability. On the contrary, its target administration of other three aspects has been measured ‘moderate’ in the descending order of means, namely rule of law, morality and transparency. 2) As classified by one single aspect, their genders, ages and educational levels yield no differences in their opinions on its target administration in the overall aspect and a single one; whereas their occupations prove ‘moderate’ with the statistical significance level at .05. 3) Their suggestions for enhancing its target administration are that it should: 3.1) open opportunities to residents to take part in assessing administrators’ and personnel’s work performance in the agency on thorough and regular bases, 3.2) take residents’ suggestions for addressing every problem to keep abreast of ongoing circumstances, 3.3) open opportunities to them participating in managing the agency or carrying out each project so as to make them feel as though they became owners of their communities, thereby prompting affection and cherishing the agency.