Search results

264 results in 0.08s

หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง เทคนิคการเสริมพลังการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานตามเทคนิคการเสริมพลัง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการเสริมพลังดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3) เพื่อบูรณาการเทคนิคการเสริมพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทาง และสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการเทคนิคการเสริมพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณจากการสำรวจผู้ป่วยโรค เบาหวาน จำนวน 118 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาข้อมูลเอกสารด้านโรคเบาหวาน ด้านการเสริมพลัง และหลักพุทธธรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 20 คน การสัมภาษณ์ทีมรักษาพยาบาล จำนวน 6 คน สนทนากลุ่มทีมเสริมพลังในโรงพยาบาล จำนวน 6 คน และทีมในโรงพยาบาลรวมเครือข่าย จำนวน 37 คน และนำข้อมูลวิเคราะห์มาสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา ด้านการเสริมพลัง และด้านการรักษาพยาบาล จำนวน 10 ท่าน จากนั้นจึงนำข้อมูลผลการวิจัยมาบูรณาการเป็นรูปแบบใหม่เพื่อตอบวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า การเสริมพลังเพื่อการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มี 6 ด้าน คือ ด้านความร่วมมือ ความจริงของโรค การคิดอย่างไตร่ตรอง การสนับสนุน การดำเนิน การด้วยตนเอง และการปรับเปลี่ยนและคงไว้ โดยเน้น 4 เรื่องสำคัญ คือ การรู้สภาพจริงของตน การเห็นตัวแบบไม่ดี การมีบุคคลสำคัญเป็นเป้าหมาย การสนับสนุนด้วยทีมหรือครอบครัว และการใช้สื่อทันสมัยพอเหมาะต่อบุคคล หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมเพื่อเป็นเทคนิคการเสริมพลังการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค เบาหวาน คือ สัปปุริสธรรม 7 เน้นการรู้ตน รู้ผล รู้ประมาณ และรู้บุคคลจะทำให้เกิดผลดีมากขึ้น นอกจากนั้นควรมีหลักธรรมสนับสนุน คือ กัลยาณมิตรธรรม พละ สัปปายะ และมัชฌิมาปฏิปทา การบูรณาการเทคนิคการเสริมพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม เป็นหลัก 3 ด้าน คือ หลักตน หลักความรู้ และหลักสิ่งแวดล้อม สามารถสังเคราะห์รูปแบบเทคนิคการเสริมพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม เรียกว่า “KIE Model”หรือ “พุทธพลัง” โดยการรู้ตนและรู้ด้านต่าง ๆ ของสัปปุริสธรรมควบคู่กับหลักการเสริมพลัง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพลังดูแลตนเองต่อเนื่อง ชะลอภาวะแทรกซ้อน และมีชีวิตป่วยอย่างเป็นสุข
การศึกษาวิจัยเรื่อง เทคนิคการเสริมพลังการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานตามเทคนิคการเสริมพลัง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการเสริมพลังดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3) เพื่อบูรณาการเทคนิคการเสริมพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทาง และสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการเทคนิคการเสริมพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณจากการสำรวจผู้ป่วยโรค เบาหวาน จำนวน 118 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาข้อมูลเอกสารด้านโรคเบาหวาน ด้านการเสริมพลัง และหลักพุทธธรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 20 คน การสัมภาษณ์ทีมรักษาพยาบาล จำนวน 6 คน สนทนากลุ่มทีมเสริมพลังในโรงพยาบาล จำนวน 6 คน และทีมในโรงพยาบาลรวมเครือข่าย จำนวน 37 คน และนำข้อมูลวิเคราะห์มาสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา ด้านการเสริมพลัง และด้านการรักษาพยาบาล จำนวน 10 ท่าน จากนั้นจึงนำข้อมูลผลการวิจัยมาบูรณาการเป็นรูปแบบใหม่เพื่อตอบวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า การเสริมพลังเพื่อการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มี 6 ด้าน คือ ด้านความร่วมมือ ความจริงของโรค การคิดอย่างไตร่ตรอง การสนับสนุน การดำเนิน การด้วยตนเอง และการปรับเปลี่ยนและคงไว้ โดยเน้น 4 เรื่องสำคัญ คือ การรู้สภาพจริงของตน การเห็นตัวแบบไม่ดี การมีบุคคลสำคัญเป็นเป้าหมาย การสนับสนุนด้วยทีมหรือครอบครัว และการใช้สื่อทันสมัยพอเหมาะต่อบุคคล หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมเพื่อเป็นเทคนิคการเสริมพลังการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค เบาหวาน คือ สัปปุริสธรรม 7 เน้นการรู้ตน รู้ผล รู้ประมาณ และรู้บุคคลจะทำให้เกิดผลดีมากขึ้น นอกจากนั้นควรมีหลักธรรมสนับสนุน คือ กัลยาณมิตรธรรม พละ สัปปายะ และมัชฌิมาปฏิปทา การบูรณาการเทคนิคการเสริมพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม เป็นหลัก 3 ด้าน คือ หลักตน หลักความรู้ และหลักสิ่งแวดล้อม สามารถสังเคราะห์รูปแบบเทคนิคการเสริมพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยหลักพุทธธรรม เรียกว่า “KIE Model”หรือ “พุทธพลัง” โดยการรู้ตนและรู้ด้านต่าง ๆ ของสัปปุริสธรรมควบคู่กับหลักการเสริมพลัง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพลังดูแลตนเองต่อเนื่อง ชะลอภาวะแทรกซ้อน และมีชีวิตป่วยอย่างเป็นสุข
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the self-care of diabetic patients by empowerment technique, 2) to study Buddhadhamma for self-care empowerment in diabetic patients, 3) to integrate empowerment technique of self-care in diabetic patients with Buddhadhamma, and 4) to propose the guideline and the new body of knowledge about “The integrated model of empowerment technique of self-care in diabetic patients with Buddhadhamma.” The mixed research methodology was used in the study. The quantitative data were collected from 118 diabetic patients, and the qualitative data were obtained from documents and in-depth interviews with 20 diabetic patients, 6 nurses, and 10 key informants in Buddhism, empowerment and nursing, and group discussions with 6 members of empowerment group in the hospital and 37 members in network hospitals. The data were analyzed and integrated to answer the study objectives. The results of the research could be summarized as follows: Self-care of diabetic patients by empowerment consisted of 6 factors; collaboration, present sign reflective, critical thinking, support, self operation, and adjustment and maintaining. It was focused on 4 main subjects; self-realization, negative model vision, having distinguished individual as a model, team-support or family-support, and using suitable media. The Buddhamma suitable for the empowerment technique of self-care in diabetic patients are Sappurisadhamma, Kalayanamittadhamma, Bala, Sappaya, and the Middle Path. The integrated empowerment technique of self-care in diabetic patients with Buddhadhamma consists of 3 aspects; Oneself, Knowledge, and Environment. The empowerment technique of self-care in diabetic patients integrated with Buddhadhamma could be synthesized into “KIE Model”or “Buddha-Power” by knowing oneself, principles of Sappurisadhamma and empowerment techniques in helping diabetic patients have self-care empowerment, reduce complication, and live their life with happiness.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสอน ๒) เพื่อศึกษานวังคสัตถุศาสน์ ๓) เพื่อบูรณาการ การสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสารชั้นปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถา และเอกสารชั้นทุติยภูมิอื่น ๆ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งด้านการสอนและด้านพระพุทธศาสนา จำนวน ๑๗ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนทางการศึกษาในโลกโดยมากใช้รูปแบบอนุกรมวิธานของบลูม (Bloom’s Taxonomy) เป็นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ๓ ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสามารถทางปัญญา ๖ ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ด้านจิตพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทางใจ ๕ ระดับ ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างค่านิยม การจัดรวบรวม และการสร้างลักษณะนิสัย ด้านทักษะพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ๕ ระดับ ได้แก่ การเลียนแบบ การทำตามข้อกำหนด การทำอย่างมีคุณภาพ การผสมผสาน และการปรับตัว ปัจจุบันได้มีปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนมาเป็นทักษะการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ มุ่งพัฒนาทักษะผู้เรียน ๕ ด้าน คือ การรู้หนังสือ การคิด การทำงาน การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ และการใช้ชีวิต เนื้อหาทางการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาทั้งระบบ เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ เป็นลักษณะการเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง ๙ ประการ คือ สุตตะ (บรรยาย) เคยยะ (ท่วงทำนอง) เวยยากรณะ (แจกแจง) คาถา (กวี) อุทานะ (เปล่งออกมาจากความรู้สึก) อิติวุตตกะ (อ้างอิง) ชาตกะ (อดีตชาติ) อัพภูตธรรมะ (อัศจรรย์) และเวทัลละ (ถามตอบ) แต่ละลักษณะมุ่งให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบ เนื้อหา ถ้อยคำการสื่อสาร และความพร้อมของผู้เรียนที่เกี่ยวกับบุคคล เวลา และสถานที่ การสอน ในพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้เรียนได้เข้าใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน การบูรณาการการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ สามารถบูรณาการใน ๔ มิติ คือ ๑) โครงสร้างองค์รวม เป็นการเรียนรู้คำสอนเชิงโครงสร้างแบบบรรยาย บรรยายประกอบกวี และบทกวี เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะทั้งการบรรยายและกวี ๒) สารัตถธรรม เป็นการเรียนรู้เนื้อหาคำสอน ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกื้อกูลกันในสังคม รักษากฎเกณฑ์ทางสังคม ฝึกฝนอบรมจิตใจให้เข้มแข็งและรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว ๓) นิรุกติศาสตร์ เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางภาษาและ การสื่อสาร รู้จักวิธีตีความคำสอนให้เป็นไปตามนัยที่พระพุทธเจ้ามุ่งหมายและเป็นการใช้ภาษา ให้เหมาะกับบุคคลและกาลเทศะ ๔) ความพร้อมของบุคคล เป็นการพัฒนาให้รู้จักสังเกตความพร้อมของผู้เรียนทั้งปัจจัยภายใน คือ ความเชื่อมั่น ขยัน สนใจ ตั้งใจ และตื่นตัว และปัจจัยภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่พร้อมทำงานเต็มที่ จากการบูรณาการทั้ง ๔ ด้านนี้ย่อมสร้างความสมดุล ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทั้งด้านศาสตร์ คือ ความรู้ในหลักวิชาและหลักปฏิบัติ (มัชเฌนธรรมและมัชฌิมาปฏิปทา) ด้านศิลป์ คือ ความรู้สึกและความประพฤติที่งดงาม (สันติธรรมและสุนทรียธรรม)
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสอน ๒) เพื่อศึกษานวังคสัตถุศาสน์ ๓) เพื่อบูรณาการ การสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสารชั้นปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถา และเอกสารชั้นทุติยภูมิอื่น ๆ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งด้านการสอนและด้านพระพุทธศาสนา จำนวน ๑๗ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนทางการศึกษาในโลกโดยมากใช้รูปแบบอนุกรมวิธานของบลูม (Bloom’s Taxonomy) เป็นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ๓ ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสามารถทางปัญญา ๖ ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ด้านจิตพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทางใจ ๕ ระดับ ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างค่านิยม การจัดรวบรวม และการสร้างลักษณะนิสัย ด้านทักษะพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ๕ ระดับ ได้แก่ การเลียนแบบ การทำตามข้อกำหนด การทำอย่างมีคุณภาพ การผสมผสาน และการปรับตัว ปัจจุบันได้มีปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนมาเป็นทักษะการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ มุ่งพัฒนาทักษะผู้เรียน ๕ ด้าน คือ การรู้หนังสือ การคิด การทำงาน การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ และการใช้ชีวิต เนื้อหาทางการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาทั้งระบบ เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ เป็นลักษณะการเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง ๙ ประการ คือ สุตตะ (บรรยาย) เคยยะ (ท่วงทำนอง) เวยยากรณะ (แจกแจง) คาถา (กวี) อุทานะ (เปล่งออกมาจากความรู้สึก) อิติวุตตกะ (อ้างอิง) ชาตกะ (อดีตชาติ) อัพภูตธรรมะ (อัศจรรย์) และเวทัลละ (ถามตอบ) แต่ละลักษณะมุ่งให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบ เนื้อหา ถ้อยคำการสื่อสาร และความพร้อมของผู้เรียนที่เกี่ยวกับบุคคล เวลา และสถานที่ การสอน ในพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้เรียนได้เข้าใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน การบูรณาการการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ สามารถบูรณาการใน ๔ มิติ คือ ๑) โครงสร้างองค์รวม เป็นการเรียนรู้คำสอนเชิงโครงสร้างแบบบรรยาย บรรยายประกอบกวี และบทกวี เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะทั้งการบรรยายและกวี ๒) สารัตถธรรม เป็นการเรียนรู้เนื้อหาคำสอน ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกื้อกูลกันในสังคม รักษากฎเกณฑ์ทางสังคม ฝึกฝนอบรมจิตใจให้เข้มแข็งและรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว ๓) นิรุกติศาสตร์ เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางภาษาและ การสื่อสาร รู้จักวิธีตีความคำสอนให้เป็นไปตามนัยที่พระพุทธเจ้ามุ่งหมายและเป็นการใช้ภาษา ให้เหมาะกับบุคคลและกาลเทศะ ๔) ความพร้อมของบุคคล เป็นการพัฒนาให้รู้จักสังเกตความพร้อมของผู้เรียนทั้งปัจจัยภายใน คือ ความเชื่อมั่น ขยัน สนใจ ตั้งใจ และตื่นตัว และปัจจัยภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่พร้อมทำงานเต็มที่ จากการบูรณาการทั้ง ๔ ด้านนี้ย่อมสร้างความสมดุล ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทั้งด้านศาสตร์ คือ ความรู้ในหลักวิชาและหลักปฏิบัติ (มัชเฌนธรรมและมัชฌิมาปฏิปทา) ด้านศิลป์ คือ ความรู้สึกและความประพฤติที่งดงาม (สันติธรรมและสุนทรียธรรม)
ทั้งนี้ต้องอาศัยรูปแบบทางนวัตกรรมทางการศึกษาและการรวมลงสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น เพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญารู้ทันและรู้แก้ปัญหาในชีวิต จากการสังเคราะห์ผลวิจัยจึงได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรูปแบบบูรณาการการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ คือ การเรียนการสอนพระพุทธศาสนาที่สร้างทักษะทางศาสตร์และศิลป์ อาศัยนวัตกรรมและการปล่อยวางเพื่อความสุขในชีวิต เรียกว่า SAINP Model
The objectives of the dissertation entitled “Buddhist Teaching Methods according to Navangasatthussana” were as follows: 1) to study the concept and theory of teaching, 2) to study Navangasatthussana, 3) to integrate the teaching methods according to Navangasatthussana, and 4) to propose a guideline in building the new body of knowledge regarding the model of integrating the Buddhist teaching method according to Navangasatthussana”. The research employed the documentary qualitative methodology collecting data from the primary source, Tipitaka and Commentaries, other related secondary sources, and in-depth interviews with 17 key-informants in teaching and in Buddhism. The research results found that: Bloom’s Taxonomy model was used in most teaching methods as a learning psychological base with the focus on the development of learners’ three domains; cognitive domain to develop learners’ intellectual abilities in six skills including knowledge, understanding, implementation, analysis, synthesis and evaluation, affective domain to develop learners’ mental abilities in five skills including perception, response, creating values, organizing and creating character traits, and psychomotor domain to develop learners’ skills in five levels including imitation, following the requirements, quality doing, integration and adjustment. Nowadays the teaching model has been changed to learning skills in the 21st century with the aim to develop learners’skills in five areas: literacy, thinking, working, information technology, and living. Navangasatthussana is a characteristic of learning the Buddha’s teachings in nine aspects; Sutta (descriptive), Geyya (melody), Veyykarana (enumerating), Gth (poem), Udna (proclaiming by deep feeling), Itivuttaka (reference), Jtaka (previous birth), Abbhtadhamma (miracle), and Vedalla (question and answer). Each characteristic aims at understanding the form, content, words, communication, and readiness of the learners regarding person, time and place. Buddhist teaching focuses on learners’ understanding and internal change. Integration of Buddhist teaching in accordance with Navangasatthussana could be done in four dimensions; 1) the holistic structure, learning in the descriptive, descriptive and poetry, and the poetry structure in order to improve learners’ skills in both description and poetry, 2) the essence of Dhamma, learning the Buddhist contents for helping each other in society, preserving social rules, training mind to control defilements, and being aware of events occurring around, 3)hermeneutics, to develop learners with skills in languages and communication, interpreting the Buddha’s teachings correctly, and using language suitable to person, space and time, and 4) the readiness of the person, developing and observing the readiness of the learners in both internal factors; confidence, diligence, interest, intention and alertness, and external factors; eyes, ears, nose, tongue, and body. The integration of the four aspects will create a balance in the development of learners’ ability in both science or knowledge in both principles and practices (Majjhenadhamma and Majjhimpatipadh), and arts or good feeling and good behaviors (Santidhamma and Sundhariyadhamma). Both sides need to gain encouragement from an education innovation and non-attachment in order to accomplish the wisdom and solution of life problems. The new body of knowledge about Buddhist teaching methods according to Navangasatthussana synthesized from the study is to learn and teach Buddhism for creating skills in arts and science through educational innovation and non-attachment for happiness in life, and that can be concluded into a SAINP Model.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเหมาะสมของตัวบ่งชี้วัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลในระดับพฤติกรรมตัวบ่งชี้ของแต่ละตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และทดสอบความสอดคล้องของโมเดลในระดับตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย และโมเดลในระดับองค์ประกอบย่อยของวัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง 3) เพื่อระบุองค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้และพฤติกรรมตัวบ่งชี้ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เก็บข้อมูลโดยใช้มาตรประเมินค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 640 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย 12 ตัวบ่งชี้ และ 48 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบย่อยของการคิดสร้างสรรค์ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การคิดแก้ปัญหา 2) มีจินตนาการ 3) มีความคิดเชื่อมโยง องค์ประกอบย่อยของธรรมาภิบาล มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความโปร่งใส 2) ความรับผิดชอบ 3) การมีส่วนร่วม องค์ประกอบย่อยของการทำงานเป็นทีม มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) รับผิดชอบร่วมกัน 2) มีเป้าหมายเดียวกัน 3) มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน องค์ประกอบย่อยของนวัตกรรม มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลง 2) การคิดค้น 3) การทดลอง โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้วัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่เหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 2.โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (2 ) เท่ากับ 82.18 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 42 ("χ" ^"2" /df =1.95) และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.98 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.039 3.องค์ประกอบย่อยมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกตัวบ่งชี้และพฤติกรรมตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัวบ่งชี้และพฤติกรรมบ่งชี้ 4.นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยไหม่ พร้อมกับยึดคติพจน์ของมหาวิทยาลัย คือ ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์ มาเป็นกรอบในการพัฒนา
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเหมาะสมของตัวบ่งชี้วัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลในระดับพฤติกรรมตัวบ่งชี้ของแต่ละตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และทดสอบความสอดคล้องของโมเดลในระดับตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย และโมเดลในระดับองค์ประกอบย่อยของวัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง 3) เพื่อระบุองค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้และพฤติกรรมตัวบ่งชี้ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เก็บข้อมูลโดยใช้มาตรประเมินค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 640 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย 12 ตัวบ่งชี้ และ 48 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบย่อยของการคิดสร้างสรรค์ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การคิดแก้ปัญหา 2) มีจินตนาการ 3) มีความคิดเชื่อมโยง องค์ประกอบย่อยของธรรมาภิบาล มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความโปร่งใส 2) ความรับผิดชอบ 3) การมีส่วนร่วม องค์ประกอบย่อยของการทำงานเป็นทีม มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) รับผิดชอบร่วมกัน 2) มีเป้าหมายเดียวกัน 3) มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน องค์ประกอบย่อยของนวัตกรรม มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลง 2) การคิดค้น 3) การทดลอง โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้วัฒนธรรมองค์การสำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่เหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 2.โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (2 ) เท่ากับ 82.18 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 42 ("χ" ^"2" /df =1.95) และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.98 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.039 3.องค์ประกอบย่อยมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกตัวบ่งชี้และพฤติกรรมตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัวบ่งชี้และพฤติกรรมบ่งชี้ 4.นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยไหม่ พร้อมกับยึดคติพจน์ของมหาวิทยาลัย คือ ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์ มาเป็นกรอบในการพัฒนา
The objectives of this research were as follows: 1) to study the appropriate level of Indicators of organizational culture for personnel under Mahamakut Buddhist University for selecting as structural relationship model, 2) to test the congruence of developed model, and empirical data as specified criterion, 3) to indicate the minor factor, indicator and behavioral indicator having structural accuracy, and 4) to study the guidelines for the development of organizational culture for personnel under Mahamakut Buddhist University. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected by 5-level rating scale questionnaire with reliability coefficient 0.96 from 640 samples under Mahamakut Buddhist University obtained by stratified random sampling. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation (SD), and confirmatory factor analysis by instant statistical software. The research findings were as follows 1.The indicators of organizational culture for personnel under Mahamakut Buddhist University consisted of 4 minor factors, 12 indicators, and 48 behavioral indicators. The minor factors of creative thinking had 3 indicators; 1) problem solving, 2) imagination, and 3) linking idea. The minor factors of good governance had 3 indicators; 1) transparency, 2) responsibility, and 3) collaboration. The minor factors of teamwork had 3 indicators; 1) co-responsibility, 2) unity target, and 3) interaction. The minor factors of innovation had 3 indicators; 1) transformation, 2) invention, and 3) experiment. The average value and distribution coefficient for selecting the structural model of organizational culture indicators for personnel under Mahamakut Buddhist University was equal to or more than 3.00. 2. The elements of the model were consistent with empirical data with the Chi - Square ("χ" ^"2" ) value equaled to 82.18, the degrees of freedom (df) equaled to 42 ("χ" ^"2" /df =1.95), the goodness of fit index (GFI) was 0.98, the adjusted goodness of fit index (AGFI) was 0.96, and the Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was 0.039. 3.The minor factor had factor loading higher than 0.50 in very indicator. The behavioral factor had factor loading in higher level than the criterion at 0.30 in every indicator and behavioral indicator. 4.The application of Buddhist principles to integrate with modern science and also adhering to the university motto, namely regulations, unity, rendering services.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ 3) เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Oualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) เป็นเครื่องมือใน การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระสงฆ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ โดยเป็นวัดที่ได้รับการประกาศเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560 กระจายทุกภาคของประเทศ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 วัด/จำนวน 474 รูป/คน, สัมภาษณ์ พระสังฆาธิการ จำนวน 9 รูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ เป็นงานก่อสร้างซ่อมแซมและงานบูรณปฏิสังขรณ์ วางแผนปรับปรุง การพัฒนารวมไปถึงการทําวัดให้สะอาดร่มรื่นสะดวกสบาย ดูสวยงามให้สบายตาเป็นศาสนสถานที่สัปปายะ ปัญหาที่พบ 1) ระเบียบวิธีการบริหารจัดการงบประมาณมีปัญหา 2) ระบบการบริหารจัดการสาธารณูปการ ทั้งศาสนวัตถุศาสนสถาน ศาสนบุคคลที่สามารถตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจกันได้ให้ดำเนินงานไปมีประสิทธิภาพ 3) วัสดุอุปกรณ์สิ่งปลูกสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ในแต่ละวัดยังมีสภาพไม่พร้อม ไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่สัปปายะ ไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ 4) การจัดการของพระสังฆาธิการอาจจะขาดการวางแผน ขาดการจัดทีมงานทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ขาดผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ 5) การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ กุฏิเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ ที่ผิดจากรูปแบบดั้งเดิม 2. การบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ : บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเน้นการวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวน การ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม ใช้ 3 ทักษะ เพื่อการบริหารจัดการ คือ 1) ทักษะเชิงเทคนิค (การจัดการ) 2) ทักษะเชิงมนุษย์ (มนุษยสัมพันธ์ )และ 3) ทักษะเชิงมโนมติ (วิสัยทัศน์) ผลดี 1) มีคุณภาพด้วยการกระจายอำนาจ 2) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน เพื่อการพัฒนาการสาธารณูปการเป็นอย่างดี 3) มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 4) มีการจัดผังวัดตามระเบียบแบบแผน 5) มีการดูแลบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ ที่ทันกาล 6) มีเครือข่ายประสานความร่วมมือช่วยเหลือกัน 7) มีกองทุนมูลนิธิสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ 8) มีการดูแลสุขพลานามัยด้วยกิจกรรม 5 ส 9) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากนิเวศวิทยาแนวลึก 10) มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเป็นระบบด้วยภูมิสถาปัตยกรรม 11) การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์ในวัด 3.
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ 3) เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Oualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) เป็นเครื่องมือใน การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระสงฆ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ โดยเป็นวัดที่ได้รับการประกาศเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560 กระจายทุกภาคของประเทศ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 วัด/จำนวน 474 รูป/คน, สัมภาษณ์ พระสังฆาธิการ จำนวน 9 รูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ เป็นงานก่อสร้างซ่อมแซมและงานบูรณปฏิสังขรณ์ วางแผนปรับปรุง การพัฒนารวมไปถึงการทําวัดให้สะอาดร่มรื่นสะดวกสบาย ดูสวยงามให้สบายตาเป็นศาสนสถานที่สัปปายะ ปัญหาที่พบ 1) ระเบียบวิธีการบริหารจัดการงบประมาณมีปัญหา 2) ระบบการบริหารจัดการสาธารณูปการ ทั้งศาสนวัตถุศาสนสถาน ศาสนบุคคลที่สามารถตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจกันได้ให้ดำเนินงานไปมีประสิทธิภาพ 3) วัสดุอุปกรณ์สิ่งปลูกสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ในแต่ละวัดยังมีสภาพไม่พร้อม ไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่สัปปายะ ไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ 4) การจัดการของพระสังฆาธิการอาจจะขาดการวางแผน ขาดการจัดทีมงานทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ขาดผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ 5) การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ กุฏิเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ ที่ผิดจากรูปแบบดั้งเดิม 2. การบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ : บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเน้นการวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวน การ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม ใช้ 3 ทักษะ เพื่อการบริหารจัดการ คือ 1) ทักษะเชิงเทคนิค (การจัดการ) 2) ทักษะเชิงมนุษย์ (มนุษยสัมพันธ์ )และ 3) ทักษะเชิงมโนมติ (วิสัยทัศน์) ผลดี 1) มีคุณภาพด้วยการกระจายอำนาจ 2) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน เพื่อการพัฒนาการสาธารณูปการเป็นอย่างดี 3) มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 4) มีการจัดผังวัดตามระเบียบแบบแผน 5) มีการดูแลบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ ที่ทันกาล 6) มีเครือข่ายประสานความร่วมมือช่วยเหลือกัน 7) มีกองทุนมูลนิธิสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ 8) มีการดูแลสุขพลานามัยด้วยกิจกรรม 5 ส 9) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากนิเวศวิทยาแนวลึก 10) มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเป็นระบบด้วยภูมิสถาปัตยกรรม 11) การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์ในวัด 3.
บูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ เป็นการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์และพัฒนาการบริหารจัดการด้วยข้อดีของการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ ที่เน้นบุคลากร การวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม 4. รูปแบบบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่เป็นทฤษฎี PSDH MODEL ได้แก่ Population หมายถึงคนหรือมนุษย์ System หมายถึงระบบองค์ความรู้เพื่อดำเนินงาน Doing หมายถึงการลงมือกระทำด้วยการใช้ความรู้ความสามารถพร้อมกับการพัฒนาองค์ความรู้ของภาระงาน Harmony ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกลมเกลียวขององค์กร ซึ่งได้จากบูรณาการปัญหาการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ 1. การวางแผน (Planning) 2. การจัดการองค์การ (Organizing) 3. ภาวะผู้นำ (Leader) 4. การติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation) กับข้อดีจากทักษะการบริหาร เชิงเทคนิค เชิงมนุษย์ และเชิงมโนมติ
The objectives of this dissertation were as follows; 1) to study the state of Buddhist infrastructure management of the Sangha, 2) to study the modern infrastructure management, 3) to integrate the Buddhist infrastructure management of the Sangha integrated by the modern infrastructure management, and 4) to create and propose a guideline and knowledge about the Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha integrated by modern infrastructure management. The Research is Qualitative Research by In-Depth interview with Key Informant and to observe and participate in manual activities as tools to analyze the data collected by the application in accordance. The samples used in the study were monks and personnel who involved with public assistance management of the Sangha in 79 developed and outstanding performance temples declared by Office of National Buddhism from 2558 to 2560 nationwide. The Sample number are 474 monks/people. The results of research were found that 1. Buddhist infrastructure manage of the Thai Sangha is construction, renovation, restoration, planning, improving the temple areas and buildings into good and pleasurable conditions. The problems encountered were; 1) Budget management was unsystematic, 2) Infractructure system of religious place and religious personnel was not related by effectively check and balance system, 3) Renovation and restoration were not in order and comfortable, 4) The administrative monks lacked of management skills planning, teamwork, and the renovation was failed, and 5) The restoration of the Pagoda, Chapel, Pavilion at a temple wrong from the traditional style. 2. In modern infrastructure management, personnel are important factors and influence the development. It focuses on organizational systematic analysis. There is a relationship between different parts, the input elements, processes, outputs, impacts, and environment. The organization can be adjusted according to environment. The management is based on 3 skills; 1) Technical skills (management), 2) Human skills (Human relations), and 3) Conceptual skills (vision). The positive results are; 1) Quality by decentralization, 2) Get help from all organization for devennlopment infrastructure, 3) Systematic planning, 4) Placing area on temple master plans, 5) Religious places are maintained and repaired timely, 6) There is a network to coordinate and help each other, 7) There is a foundation and fund for the restoration of religious places, 8) Taking care of the public health in community with 5 S activities, 9) Natural resource conservation from Ecology in-depth, 10) Authentic culture conservation based on landscape architecture, and 11) There is develop temples into tourist attractions and learning museums. 3. Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha integrated by modern infrastructure management is the solution of Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha and development of traditional management by modern Infrastructure management system focusing on personnel, and organizational system analysis. There is a relationship between different parts, the input elements, processes, outputs, impacts and environment. The organization can be adjusted according to conditions and environment. 4. The integrated management model is the PSDH MODEL theory, P refers to population or people, S refers to system knowledge management for operation, D means doing, and H means harmony in the organization derived from the integration of 4 aspects in management : 1. Planning, 2. Organization Management, 3. Leadership, and 4. Monitoring and Evaluation together with advantages from human, technical, and conceptual management skills.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม 3) เพื่อบูรณาการการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ” ผู้วิจัยรวบรวมจากข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก และข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธศาสนาและสันติศึกษา รวมจำนวน 20 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาอธิบายเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม เป็นวิธีการสร้างให้สังคมให้เกิดความสงบ มี 2 แนวคิด คือ 1) การสร้างสันติประชาคมตามทัศนะต่าง ๆ ได้แก่ (1) การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน (2) การไม่ใช้ความรุนแรงในการเรียกร้องสิทธิ และ (3) การเจรจาไกล่เกลี่ย 2) การสร้างสันติประชาคมตามแนวพระพุทธศาสนา ได้แก่ (1) การระงับความขัดแย้งด้วยหลักอธิกรณสมถะ (2) การพัฒนากาย จิต และปัญญาด้วยหลักไตรสิกขา และ (3) การสร้างความเมตตา ความสามัคคีในสังคมด้วยหลักสาราณียธรรมและหลักอปริหานิยธรรม 2. หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม มีหลักธรรม 6 ประการ ได้แก่ หลักไตรสิกขา เป็นหลักพัฒนากาย จิต ปัญญาของตนเอง หลักสาราณียธรรม หลักอปริหานิยธรรม เป็นหลักเชื่อมความเมตตา ความสามัคคีของคนในสังคมเข้าด้วยกัน หลักกัลยาณมิตร หลักโยนิโสมนสิการ และหลักอภัยทาน เป็นหลักที่ใช้ระงับความขัดแย้ง 3. บูรณาการการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ มีการสร้าง 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างสันติทางกาย 2) การสร้างสันติทางจิต 3) การสร้างสันติทางปัญญา ทั้ง 3 ข้อนี้สร้างด้วยหลักไตรสิกขา และ 4) การสร้างสันติทางสังคม สร้างจากบุคคลภายในครอบครัว ไปสู่ชุมชน และสังคมโลก มีการสร้าง 2 แนวทาง คือ 1. การสร้างสันติทางสังคมด้วยหลักสาราณียธรรมและหลักอปริหานิยธรรม โดยให้บุคคลทุกสถานภาพทางสังคมมีการปฏิบัติต่อกันด้วยดี 2. การสร้างสันติทางสังคมด้วยหลักไกล่เกลี่ยคนกลางเข้ามาระงับความขัดแย้งในสังคม ประกอบด้วยหลักธรรม 3 ประการคือ 1. หลักกัลยาณมิตร 2. หลักโยนิโสมนสิการ 3. หลักอภัยทาน และ 4. รูปแบบการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคมแนวพุทธ คือ “CPAP MODEL”
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม 3) เพื่อบูรณาการการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ” ผู้วิจัยรวบรวมจากข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก และข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธศาสนาและสันติศึกษา รวมจำนวน 20 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาอธิบายเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม เป็นวิธีการสร้างให้สังคมให้เกิดความสงบ มี 2 แนวคิด คือ 1) การสร้างสันติประชาคมตามทัศนะต่าง ๆ ได้แก่ (1) การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน (2) การไม่ใช้ความรุนแรงในการเรียกร้องสิทธิ และ (3) การเจรจาไกล่เกลี่ย 2) การสร้างสันติประชาคมตามแนวพระพุทธศาสนา ได้แก่ (1) การระงับความขัดแย้งด้วยหลักอธิกรณสมถะ (2) การพัฒนากาย จิต และปัญญาด้วยหลักไตรสิกขา และ (3) การสร้างความเมตตา ความสามัคคีในสังคมด้วยหลักสาราณียธรรมและหลักอปริหานิยธรรม 2. หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม มีหลักธรรม 6 ประการ ได้แก่ หลักไตรสิกขา เป็นหลักพัฒนากาย จิต ปัญญาของตนเอง หลักสาราณียธรรม หลักอปริหานิยธรรม เป็นหลักเชื่อมความเมตตา ความสามัคคีของคนในสังคมเข้าด้วยกัน หลักกัลยาณมิตร หลักโยนิโสมนสิการ และหลักอภัยทาน เป็นหลักที่ใช้ระงับความขัดแย้ง 3. บูรณาการการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ มีการสร้าง 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างสันติทางกาย 2) การสร้างสันติทางจิต 3) การสร้างสันติทางปัญญา ทั้ง 3 ข้อนี้สร้างด้วยหลักไตรสิกขา และ 4) การสร้างสันติทางสังคม สร้างจากบุคคลภายในครอบครัว ไปสู่ชุมชน และสังคมโลก มีการสร้าง 2 แนวทาง คือ 1. การสร้างสันติทางสังคมด้วยหลักสาราณียธรรมและหลักอปริหานิยธรรม โดยให้บุคคลทุกสถานภาพทางสังคมมีการปฏิบัติต่อกันด้วยดี 2. การสร้างสันติทางสังคมด้วยหลักไกล่เกลี่ยคนกลางเข้ามาระงับความขัดแย้งในสังคม ประกอบด้วยหลักธรรม 3 ประการคือ 1. หลักกัลยาณมิตร 2. หลักโยนิโสมนสิการ 3. หลักอภัยทาน และ 4. รูปแบบการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคมแนวพุทธ คือ “CPAP MODEL”
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to study the concept of building a peaceful community, 2) to study the Buddhadhamma related to building a peaceful community, 3) to integrate building a peaceful community according to Buddhism, and 4) to propose a guideline and new body of knowledge about building a peaceful community according to Buddhism. The data of this qualitative study were collected from the Tipitaka, other related texts and documents along with in-depth interviews with 20 scholars in Buddhism and Peace Study. The data were analyzed, synthesized and then presented in a descriptive method. The results of the study were found that: 1. There are 2 concepts of community peace building; 1) Community peace building according to various views; (1) Compliance with human rights principles, (2) Non-violence in claiming rights, and (3) Mediation negotiations, and 2) Community peace building according to Buddhism; (1) Conflict suppression with the principles of Adhikaraņasamatha, (2) Development of body, mind, and wisdom with Threefold Training, and (3) Building loving-kindness and harmony in society by the principles of SāraņĪyadhamma and Aparihāniyadhamma. 2. There are 6 Buddhist principles related to community peace building: The Threefold Training for developing body, mind, and wisdom, SāraņĪyadhamma and Aparihāniyadhamma to combine mercy and harmony of people in the society together, and Kalayāņamittatā, Yonisomanasikara and Abhayadāna for suppressing conflicts. 3. The integration of building a peaceful community according to Buddhism has 4 steps: 1) Building bodily peace, 2) Building mental peace, and 3) Building wisdom peace by the Threefold Training, and 4) Building social peace starting from individuals within family to community and the world society in 2 ways as follows: 1. Building social peace with SāraņĪyadhamma and Aparihāniyadhamma for individuals in every status treat one another with good wishes, and 2. Building social peace by using mediation principles and mediators in social conflicts. This method is based on the principles of: (1) Kalayāņamittatā, (2) Yonisomanasikāra, and (3) Abhayadāna. 4. The guideline and body of knowledge concerning the building a peaceful community according to Buddhism could be concluded in "CPAP MODEL".
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555