Search results

2 results in 0.03s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ 3) เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Oualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) เป็นเครื่องมือใน การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระสงฆ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ โดยเป็นวัดที่ได้รับการประกาศเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560 กระจายทุกภาคของประเทศ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 วัด/จำนวน 474 รูป/คน, สัมภาษณ์ พระสังฆาธิการ จำนวน 9 รูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ เป็นงานก่อสร้างซ่อมแซมและงานบูรณปฏิสังขรณ์ วางแผนปรับปรุง การพัฒนารวมไปถึงการทําวัดให้สะอาดร่มรื่นสะดวกสบาย ดูสวยงามให้สบายตาเป็นศาสนสถานที่สัปปายะ ปัญหาที่พบ 1) ระเบียบวิธีการบริหารจัดการงบประมาณมีปัญหา 2) ระบบการบริหารจัดการสาธารณูปการ ทั้งศาสนวัตถุศาสนสถาน ศาสนบุคคลที่สามารถตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจกันได้ให้ดำเนินงานไปมีประสิทธิภาพ 3) วัสดุอุปกรณ์สิ่งปลูกสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ในแต่ละวัดยังมีสภาพไม่พร้อม ไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่สัปปายะ ไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ 4) การจัดการของพระสังฆาธิการอาจจะขาดการวางแผน ขาดการจัดทีมงานทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ขาดผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ 5) การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ กุฏิเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ ที่ผิดจากรูปแบบดั้งเดิม 2. การบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ : บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเน้นการวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวน การ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม ใช้ 3 ทักษะ เพื่อการบริหารจัดการ คือ 1) ทักษะเชิงเทคนิค (การจัดการ) 2) ทักษะเชิงมนุษย์ (มนุษยสัมพันธ์ )และ 3) ทักษะเชิงมโนมติ (วิสัยทัศน์) ผลดี 1) มีคุณภาพด้วยการกระจายอำนาจ 2) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน เพื่อการพัฒนาการสาธารณูปการเป็นอย่างดี 3) มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 4) มีการจัดผังวัดตามระเบียบแบบแผน 5) มีการดูแลบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ ที่ทันกาล 6) มีเครือข่ายประสานความร่วมมือช่วยเหลือกัน 7) มีกองทุนมูลนิธิสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ 8) มีการดูแลสุขพลานามัยด้วยกิจกรรม 5 ส 9) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากนิเวศวิทยาแนวลึก 10) มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเป็นระบบด้วยภูมิสถาปัตยกรรม 11) การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์ในวัด 3.
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ 3) เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Oualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) เป็นเครื่องมือใน การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระสงฆ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ โดยเป็นวัดที่ได้รับการประกาศเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560 กระจายทุกภาคของประเทศ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 วัด/จำนวน 474 รูป/คน, สัมภาษณ์ พระสังฆาธิการ จำนวน 9 รูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ เป็นงานก่อสร้างซ่อมแซมและงานบูรณปฏิสังขรณ์ วางแผนปรับปรุง การพัฒนารวมไปถึงการทําวัดให้สะอาดร่มรื่นสะดวกสบาย ดูสวยงามให้สบายตาเป็นศาสนสถานที่สัปปายะ ปัญหาที่พบ 1) ระเบียบวิธีการบริหารจัดการงบประมาณมีปัญหา 2) ระบบการบริหารจัดการสาธารณูปการ ทั้งศาสนวัตถุศาสนสถาน ศาสนบุคคลที่สามารถตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจกันได้ให้ดำเนินงานไปมีประสิทธิภาพ 3) วัสดุอุปกรณ์สิ่งปลูกสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ในแต่ละวัดยังมีสภาพไม่พร้อม ไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่สัปปายะ ไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ 4) การจัดการของพระสังฆาธิการอาจจะขาดการวางแผน ขาดการจัดทีมงานทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ขาดผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ 5) การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ กุฏิเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ ที่ผิดจากรูปแบบดั้งเดิม 2. การบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ : บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเน้นการวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวน การ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม ใช้ 3 ทักษะ เพื่อการบริหารจัดการ คือ 1) ทักษะเชิงเทคนิค (การจัดการ) 2) ทักษะเชิงมนุษย์ (มนุษยสัมพันธ์ )และ 3) ทักษะเชิงมโนมติ (วิสัยทัศน์) ผลดี 1) มีคุณภาพด้วยการกระจายอำนาจ 2) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน เพื่อการพัฒนาการสาธารณูปการเป็นอย่างดี 3) มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 4) มีการจัดผังวัดตามระเบียบแบบแผน 5) มีการดูแลบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ ที่ทันกาล 6) มีเครือข่ายประสานความร่วมมือช่วยเหลือกัน 7) มีกองทุนมูลนิธิสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ 8) มีการดูแลสุขพลานามัยด้วยกิจกรรม 5 ส 9) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากนิเวศวิทยาแนวลึก 10) มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเป็นระบบด้วยภูมิสถาปัตยกรรม 11) การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์ในวัด 3.
บูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ เป็นการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์และพัฒนาการบริหารจัดการด้วยข้อดีของการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ ที่เน้นบุคลากร การวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม 4. รูปแบบบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่เป็นทฤษฎี PSDH MODEL ได้แก่ Population หมายถึงคนหรือมนุษย์ System หมายถึงระบบองค์ความรู้เพื่อดำเนินงาน Doing หมายถึงการลงมือกระทำด้วยการใช้ความรู้ความสามารถพร้อมกับการพัฒนาองค์ความรู้ของภาระงาน Harmony ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกลมเกลียวขององค์กร ซึ่งได้จากบูรณาการปัญหาการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ 1. การวางแผน (Planning) 2. การจัดการองค์การ (Organizing) 3. ภาวะผู้นำ (Leader) 4. การติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation) กับข้อดีจากทักษะการบริหาร เชิงเทคนิค เชิงมนุษย์ และเชิงมโนมติ
The objectives of this dissertation were as follows; 1) to study the state of Buddhist infrastructure management of the Sangha, 2) to study the modern infrastructure management, 3) to integrate the Buddhist infrastructure management of the Sangha integrated by the modern infrastructure management, and 4) to create and propose a guideline and knowledge about the Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha integrated by modern infrastructure management. The Research is Qualitative Research by In-Depth interview with Key Informant and to observe and participate in manual activities as tools to analyze the data collected by the application in accordance. The samples used in the study were monks and personnel who involved with public assistance management of the Sangha in 79 developed and outstanding performance temples declared by Office of National Buddhism from 2558 to 2560 nationwide. The Sample number are 474 monks/people. The results of research were found that 1. Buddhist infrastructure manage of the Thai Sangha is construction, renovation, restoration, planning, improving the temple areas and buildings into good and pleasurable conditions. The problems encountered were; 1) Budget management was unsystematic, 2) Infractructure system of religious place and religious personnel was not related by effectively check and balance system, 3) Renovation and restoration were not in order and comfortable, 4) The administrative monks lacked of management skills planning, teamwork, and the renovation was failed, and 5) The restoration of the Pagoda, Chapel, Pavilion at a temple wrong from the traditional style. 2. In modern infrastructure management, personnel are important factors and influence the development. It focuses on organizational systematic analysis. There is a relationship between different parts, the input elements, processes, outputs, impacts, and environment. The organization can be adjusted according to environment. The management is based on 3 skills; 1) Technical skills (management), 2) Human skills (Human relations), and 3) Conceptual skills (vision). The positive results are; 1) Quality by decentralization, 2) Get help from all organization for devennlopment infrastructure, 3) Systematic planning, 4) Placing area on temple master plans, 5) Religious places are maintained and repaired timely, 6) There is a network to coordinate and help each other, 7) There is a foundation and fund for the restoration of religious places, 8) Taking care of the public health in community with 5 S activities, 9) Natural resource conservation from Ecology in-depth, 10) Authentic culture conservation based on landscape architecture, and 11) There is develop temples into tourist attractions and learning museums. 3. Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha integrated by modern infrastructure management is the solution of Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha and development of traditional management by modern Infrastructure management system focusing on personnel, and organizational system analysis. There is a relationship between different parts, the input elements, processes, outputs, impacts and environment. The organization can be adjusted according to conditions and environment. 4. The integrated management model is the PSDH MODEL theory, P refers to population or people, S refers to system knowledge management for operation, D means doing, and H means harmony in the organization derived from the integration of 4 aspects in management : 1. Planning, 2. Organization Management, 3. Leadership, and 4. Monitoring and Evaluation together with advantages from human, technical, and conceptual management skills.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) การจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) การจัดการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554