Search results

33,640 results in 0.12s

หนังสือ

    รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
Note: รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 2) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ 3) การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน 94 แห่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 94 คน ข้าราชการครู จำนวน 282 คน บุคลากรในโรงเรียนจำนวน 94 คน รวมทั้งสิ้น 470 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistate Random) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.974 และ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า. 1. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ การรักษาวินัยในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การสรรหาในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การจัดสวัสดิการในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การวางแผนในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การพัฒนาบุคลากรในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ตามลำดับ 2. บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความรับผิดชอบงาน (Responsibility) โครงสร้างการปฏิบัติงาน (Structure) การสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Support) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) การมุ่งเน้นรางวัล (Reward orientation) ตามลำดับ 3. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การรักษาวินัยในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X4) การวางแผนในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X1) การจัดสวัสดิการในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X5) การสรรหาในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทํานายหรืออำนาจพยากรณ์ร้อยละ 73.70 (R2 = 0.737) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการรูปคะแนนดิบ "Y" ̂ = 0.524 + 0.305 (X4) + 0.225 (X1) + 0.202 (X5) + 0.147 (X2) สมการรูปคะแนนมาตรฐาน "Z" ̂ = 0.323 (X4) + 0.217 (X1) + 0.215 (X5) + 0.163 (X2)
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 2) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ 3) การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน 94 แห่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 94 คน ข้าราชการครู จำนวน 282 คน บุคลากรในโรงเรียนจำนวน 94 คน รวมทั้งสิ้น 470 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistate Random) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.974 และ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า. 1. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ การรักษาวินัยในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การสรรหาในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การจัดสวัสดิการในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การวางแผนในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ การพัฒนาบุคลากรในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ตามลำดับ 2. บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความรับผิดชอบงาน (Responsibility) โครงสร้างการปฏิบัติงาน (Structure) การสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Support) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) การมุ่งเน้นรางวัล (Reward orientation) ตามลำดับ 3. การบริหารงานบุคคลเชิงบูรณาการหลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การรักษาวินัยในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X4) การวางแผนในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X1) การจัดสวัสดิการในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X5) การสรรหาในการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ (X2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทํานายหรืออำนาจพยากรณ์ร้อยละ 73.70 (R2 = 0.737) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการรูปคะแนนดิบ "Y" ̂ = 0.524 + 0.305 (X4) + 0.225 (X1) + 0.202 (X5) + 0.147 (X2) สมการรูปคะแนนมาตรฐาน "Z" ̂ = 0.323 (X4) + 0.217 (X1) + 0.215 (X5) + 0.163 (X2)
The objectives of this thesis were to study 1) Integrated Personnel Management in Sangahavattha Principles in schools under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2. 2) Organizational Atmosphere of schools under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2. and 3) Integrated Personnel Management in Sangahavattha Principles Affecting Organizational Atmosphere in Schools under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2. The sample consisted of 94 Schools under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2. The group of informants consisted of 94 school administrators, 282 government teachers, 94 school personnel, a total of 470 people, by multistate randomization. The instrument used was a questionnaire, a rating scale with a content validity index between 0.80–1.00 and a confidence index of 0.974 and 0.981. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The results of research were found that: 1. Integrated Personnel Management on Sangahavattha Principles in Schools Under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2, the overall is at a high level. When considering each aspect, it was at a high level in every aspect. The average is ranked from highest to lowest as follows: Maintaining discipline, Recruitment, Welfare, Planning and Development in personnel management according to Sangahavattha principles, respectively. 2. Organizational atmosphere of Schools Under the Office of Phetchaburi Primary Educational Service Area 2, the overall is at a high level. When considering each aspect, it was at a high level in every aspect. The average is ranked from highest to lowest as follows: Responsibility, Structure, Performance Support, Standards, Reward orientation, respectively. 3. The integration of personnel management with Sangahavathu principles affecting organizational atmosphere in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2, The average is ranked from highest to lowest as follows: Maintaining discipline (X4), Planning (X1), Welfare (X5) and Recruitment (X2) in personnel management according to Sangahavattha principles. The predictive coefficient or predictive power of 73.70% (R2 = 0.737) was statistically significant at the .01 level. The relationship can be written in the form of a forecast equation as follows. Raw score form equation "Y" ̂ = 0.524 + 0.305 (X4) + 0.225 (X1) + 0.202 (X5) + 0.147 (X2). Standard score equation "Z" ̂ = 0.323 (X4) + 0.217 (X1) + 0.215 (X5) + 0.163 (X2).
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาแนวคิดระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย 2) ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ 3) วิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารแล้ววิเคราะห์ ประมวลผลเนื้อหาว่าระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยเป็นปัญหาเชิงพุทธจริยศาสตร์หรือไม่อย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. ลักษณะระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยมีลักษณะการกระทำในสองลักษณะคือ การกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยชอบด้วยกฎหมายและการกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 2. แนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ ถือหลักการว่าการจะตัดสินการกระทำใดเป็นสิ่งดีหรือไม่ดีใช้การกระทำหรือกรรมเป็นเครื่องชี้วัด และการกระทำที่จะถือว่าเป็นกรรมได้นั้น จักต้องเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงสภาพของจิตใจของผู้กระทำ สำนึกมโนธรรม หลักความสันโดษ ความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ ผลของการกระทำและหลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติศีล 3. เมื่อวิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทยโดยใช้หลักมูลเหตุอันเป็นการส่อถึงเจตนาที่เป็นกุศลมูลหรืออกุศลมูล หลักความสันโดษ หลักมโนธรรมสำนึก หลักการฟังความเห็นหรือพิจารณาความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ และหลักพิจารณาลักษณะและผลของการกระทำหรือดูผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พุทธศาสนา ไม่ยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อพิจารณาตามสภาวะว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ การกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ ส่วนการกระทำลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ เมื่อใช้หลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติของศีลในระดับโลกิยะธรรมคือ ศีล 5 พบว่าไม่ล่วงละเมิดศีล ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 อาจละเมิดศีลข้อที่ 4 และไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาแนวคิดระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทย 2) ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ 3) วิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารแล้ววิเคราะห์ ประมวลผลเนื้อหาว่าระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยเป็นปัญหาเชิงพุทธจริยศาสตร์หรือไม่อย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. ลักษณะระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยมีลักษณะการกระทำในสองลักษณะคือ การกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยชอบด้วยกฎหมายและการกระทำที่เอื้อประโยชน์กันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 2. แนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ ถือหลักการว่าการจะตัดสินการกระทำใดเป็นสิ่งดีหรือไม่ดีใช้การกระทำหรือกรรมเป็นเครื่องชี้วัด และการกระทำที่จะถือว่าเป็นกรรมได้นั้น จักต้องเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงสภาพของจิตใจของผู้กระทำ สำนึกมโนธรรม หลักความสันโดษ ความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ ผลของการกระทำและหลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติศีล 3. เมื่อวิเคราะห์ปัญหาพุทธจริยศาสตร์ ในระบบอุปถัมภ์ของระบบราชการไทยโดยใช้หลักมูลเหตุอันเป็นการส่อถึงเจตนาที่เป็นกุศลมูลหรืออกุศลมูล หลักความสันโดษ หลักมโนธรรมสำนึก หลักการฟังความเห็นหรือพิจารณาความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ และหลักพิจารณาลักษณะและผลของการกระทำหรือดูผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งสองลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พุทธศาสนา ไม่ยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อพิจารณาตามสภาวะว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ การกระทำในลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าเกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ หรือไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ ส่วนการกระทำลักษณะที่เอื้อประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ เมื่อใช้หลักของการล่วงละเมิดหลักการแห่งบทบัญญัติของศีลในระดับโลกิยะธรรมคือ ศีล 5 พบว่าไม่ล่วงละเมิดศีล ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 อาจละเมิดศีลข้อที่ 4 และไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5
The objectives of this thesis were as follows 1) to study concept of patronage system in Thai bureaucracy, 2) to study concept of Buddhist ethics, and 3) to analyze problems in Buddhist ethics in patronage system of Thai government system. It was a documentary research with analysis and content assessment to find out how patronage system in Thai bureaucracy became Buddhist ethical problem. The data were analyzed in descriptive manner. The results of research were found that: 1. Characteristics of patronage system in Thai bureaucratic system were characterized by two types of actions; acts of lawful mutual benefit and acts of unlawful mutual benefit. 2. The concept of Buddhist ethics held the principle of deciding what action was good or bad by using actions or karma as a measure and the act that could be regarded as karma must be an act of intent. It also considered a state of mind of the doer, a sense of conscience, the principle of solitude, an acceptance of wise man or scholar, result of action and the principle of transgression of principles of precepts. 3. when analyzing Buddhist ethical problems in the patronage system of the Thai bureaucracy with the cause that implied wholesome ior unwholesome intention, principle of solitude, principle of conscience, principles of listening to opinions or considering the acceptance of wise man or scholar and the principle of considering nature and consequence of action or its effect on oneself and others whether it was acting in a manner that provided a legitimate interest or an unlawful benefit, these 2 characteristics were things that Buddhism did not accept and It was considered a bad thing. When considering according to the condition whether it was beneficial to the spiritual life or not, acting in a manner that benefited with law still couldn’t judge whether it was contributing to the spiritual life or not. As for the act of unlawful mutual benefit, it was considered unfavorable to one's life. When applying the principle of transgression of the precepts in the secular world, the 5 precepts, it was found that it did not violate the 1st precept, 2nd precept and the 3rd precept. But, it might violate the 4th precept and it again did not violate the 5th precept.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในทศวรรษหน้า โดยครอบคลุมภารกิจของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป มีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลจำนวน 21 รูป/คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) การสร้างวงล้ออนาคต ผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มเหตุการณ์สืบเนื่อง และการเขียนอนาคตภาพ ผลการวิจัยพบว่า: ด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า จะต้องมีการเทียบโอนผลการเรียนให้จริงจังถูกต้องตามระเบียบ เพื่อการคัดกรองและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น 2) จะต้องมีกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลาย 3) จะต้องมีการจัดระบบการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนให้มีมาตรฐาน ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) ครูจะได้รับความส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เกิดความชำนาญในวิชาที่สอน 2) จะมีการพัฒนาครูให้มีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ อย่างต่อเนื่อง และทั่วถึง 3) มีการจัดครูและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตรงตามวุฒิการศึกษา 4) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานครูและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแผน ด้านการบริหารงานงบประมาณ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) จะต้องมีการจัดหางบประมาณสำรอง 2) มีโครงการพิเศษที่ต้องดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 3) มีแผนจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในโรงเรียนอย่างหลากหลายและทันสมัย 2) มีการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในทศวรรษหน้า โดยครอบคลุมภารกิจของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป มีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลจำนวน 21 รูป/คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) การสร้างวงล้ออนาคต ผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มเหตุการณ์สืบเนื่อง และการเขียนอนาคตภาพ ผลการวิจัยพบว่า: ด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า จะต้องมีการเทียบโอนผลการเรียนให้จริงจังถูกต้องตามระเบียบ เพื่อการคัดกรองและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น 2) จะต้องมีกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลาย 3) จะต้องมีการจัดระบบการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนให้มีมาตรฐาน ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) ครูจะได้รับความส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เกิดความชำนาญในวิชาที่สอน 2) จะมีการพัฒนาครูให้มีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ อย่างต่อเนื่อง และทั่วถึง 3) มีการจัดครูและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตรงตามวุฒิการศึกษา 4) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานครูและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแผน ด้านการบริหารงานงบประมาณ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) จะต้องมีการจัดหางบประมาณสำรอง 2) มีโครงการพิเศษที่ต้องดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 3) มีแผนจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในโรงเรียนอย่างหลากหลายและทันสมัย 2) มีการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
The objective this thesis is to study the future of the administration of the Phrapariyattidhamma schools. General Education Department in the next decade (2014 - 2024), covering the mission of the Buddhist Scripture School General education department Academic administration In human resource management Budget management General management Including the mission that should be the mission of the Buddhist Scripture School Other general education departments, research methods used in the future study of the administration of the Buddhist Scriptures The general education department in the next decade (2014 - 2024) consists of Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) techniques. Interaction effects between trends, sequel events and drawing the future Because it is a flexible research technique Can anticipate the consequences And the level of mutual interaction of features or The concepts studied cover the dimensions of the research problem. The results of research were found that: As for academic administration, it was found that 1) there should be no transfer of learning results because the learning evidence has already appeared in 8 learning groups. 2) There should be a variety of teaching and learning activities. 3) Preparation of courses. Additional should be taken from the emphasis and should not be associated with the social studies, religion because it has been defined in the core curriculum. Human resource management It was found that the recommendations of experts regarding budget management were as follows: 1) There should be teachers and staff in accordance with educational qualifications in operation. 2) There should be a promotion, honor and honor in the performance. 3) There should be a teacher and staff performance evaluation as planned Budget management 1) There should be a reserve budget to support projects that have exceeded the budget. 2) There must be a budget allocation plan to be consistent with the teaching and learning activities. General administration, it was found that 1) modern technology should be used in public relations of various schools and modern 2) Use educational media to benefit 3) There should be research work to develop policies and become a quality organization.
หนังสือ

    รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
Note: รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2551
ฉบับอัดสำเนา,สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
Note: รายงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
หนังสือ