Search results

56 results in 0.09s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์จัดระบบเป็นหมวดหมู่ แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักการพัฒนาชุมชนมีแนวคิด ปรัชญา หลักการและวิธีการที่ชัดเจน แต่แนวทางและรายละเอียดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โอกาส ข้อเท็จจริง และปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละชุมชนเป็นหลัก ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาคนให้มีความสุขและเพื่อก่อให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้ 2. กระบวนการการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล ได้รับความร่วมมือจาก บ้าน วัด รัฐ (โรงเรียน) ในการดำเนินการความร่วมมือ มีการประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชน หาวิธีร่วมกัน เปิดกว้างทางความคิดในการเจรจาตกลง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี มีความคิดไปในทางเดียวกัน ผู้นำที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน มีการบริหารงานเพื่อส่วนรวม ร่วมกันรับผิดชอบและรับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยใช้หลักบวร หลักประชาธิปไตย หลักสาราณียธรรม 6 หลักอปริหานิยธรรม 7 และหลักสังคหวัตถุ 4 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล พบว่า มีคุณค่าด้านการสาธารณะสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีคุณค่าด้านการสร้างความสามัคคี คือ การร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันตัดสินใจ และมีคุณค่าด้านการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณี คือ การรักษาฟื้นฟู ภาษา ประเพณี และพิธีทางศาสนา
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์จัดระบบเป็นหมวดหมู่ แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักการพัฒนาชุมชนมีแนวคิด ปรัชญา หลักการและวิธีการที่ชัดเจน แต่แนวทางและรายละเอียดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โอกาส ข้อเท็จจริง และปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละชุมชนเป็นหลัก ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาคนให้มีความสุขและเพื่อก่อให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้ 2. กระบวนการการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล ได้รับความร่วมมือจาก บ้าน วัด รัฐ (โรงเรียน) ในการดำเนินการความร่วมมือ มีการประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชน หาวิธีร่วมกัน เปิดกว้างทางความคิดในการเจรจาตกลง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี มีความคิดไปในทางเดียวกัน ผู้นำที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน มีการบริหารงานเพื่อส่วนรวม ร่วมกันรับผิดชอบและรับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยใช้หลักบวร หลักประชาธิปไตย หลักสาราณียธรรม 6 หลักอปริหานิยธรรม 7 และหลักสังคหวัตถุ 4 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างความร่วมมือตามหลักบวรเพื่อพัฒนาชุมชนวัดบ้านไร่เจริญผล พบว่า มีคุณค่าด้านการสาธารณะสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีคุณค่าด้านการสร้างความสามัคคี คือ การร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันตัดสินใจ และมีคุณค่าด้านการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณี คือ การรักษาฟื้นฟู ภาษา ประเพณี และพิธีทางศาสนา
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the principle of the community development 2) to study the creative process of the collaboration according to Boworn Principle for the Development of Wat Ban Rai Charoenpol Community and 3) to analyze the value of the creation of the collaboration according to Boworn Principle for the Development of Wat Ban Rai Charoenpol Community. This research was a qualitative study, focused on the documentary studies, mainly in the Tipitaka, the relating research documentaries and the Buddhist scholars’ works. All the data were classified into the system, concluded and presented in the descriptive analysis. The results of the research were found as follows:- 1. There was not the definite principle for the community development because of the detailed pathway of the operation for the community development would depend on mainly the situation, opportunity and specific data of the community not concerning with the principle or concept idea. The highest target of the community development is the development of the people happiness in order to creating the strong community with self-organization. 2. The creative process of the collaboration according to Boworn Principle for the Development of Wat Ban Rai Charoenpol Community have to be co-operated each other of all the sectors in the community including houses temples and schools in order to meeting for setting the target together, collecting the community member ideas for the best community operation by democracy method and open mind negotiation for the good relationship in the organization to build the principle idea in the same way as the community leader for creating the management objective for the society to share the benefit together with responsibility and be happy to accept all of the innovation for houses temples and schools. 3. The value of the creation of the collaboration according to Boworn Principle for the Development of Wat Ban Rai Charoenpol Community are as follows: (1) the value of the public welfare including financial support for buildings and education funds, (2) the value of the harmony creation concerning the meeting for the idea sharing between the community leader school leader and religion leader to solve all of the problems in the community, and (3) the value of the art and culture supports regarding the co-operation between houses temples and schools for the art and culture conservation especially for religious ceremony.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียน 59 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มย่อยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sample) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและครู รวมทั้งหมด 354 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์หาค่าความเที่ยง (Reliability) โดยภาพรวม เท่ากับ .981และรายด้าน เท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ตามหลักอิทธิบาท, ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลตามหลักอิทธิบาท, ด้านการสร้างแรงบันดาลใจตามหลักอิทธิบาทและด้านการกระตุ้นทางปัญญาตามหลักอิทธิบาท ตามลำดับ 2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร มีคะแนนค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ยกเว้น ด้านการมีแบบแผนทางความคิด อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากสูงสุดไปต่ำสุด คือด้านความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล, ด้านการสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม, ด้านการคิดเชิงระบบและด้านการมีแบบแผนทางความคิด ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 61.8 (R2 = .618) สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ y ̂ = .740+.460 (x4) + .217 (x3) + .148 (x2) (R2 = .618) สมการคะแนนมาตรฐาน Z ̂ Y = .454 (x4) +.231 (x3) + .156 (x2) (R2 = .618
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียน 59 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มย่อยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sample) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและครู รวมทั้งหมด 354 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์หาค่าความเที่ยง (Reliability) โดยภาพรวม เท่ากับ .981และรายด้าน เท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาทของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ตามหลักอิทธิบาท, ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลตามหลักอิทธิบาท, ด้านการสร้างแรงบันดาลใจตามหลักอิทธิบาทและด้านการกระตุ้นทางปัญญาตามหลักอิทธิบาท ตามลำดับ 2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร มีคะแนนค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ยกเว้น ด้านการมีแบบแผนทางความคิด อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากสูงสุดไปต่ำสุด คือด้านความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล, ด้านการสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม, ด้านการคิดเชิงระบบและด้านการมีแบบแผนทางความคิด ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เรียงลำดับความสำคัญ คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 61.8 (R2 = .618) สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ y ̂ = .740+.460 (x4) + .217 (x3) + .148 (x2) (R2 = .618) สมการคะแนนมาตรฐาน Z ̂ Y = .454 (x4) +.231 (x3) + .156 (x2) (R2 = .618
The objectives of the study were: 1) to study transformational leadership according to Iddhipāda of school administrators of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration, 2) to study the learning organization of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration, and 3) to study transformational leadership according to Iddhipa ̅da of school administrators resulting to the learning organization of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration. The data were collected through questionnaires, administrators and teachers of South Krungthon Group Schools 354 samples in 59 schools by stratified and simple random sampling. The overall reliability was at .981 and at .977 in aspects. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The results of the study found that: 1. The average value of transformational leadership according to Iddhipa ̅da of school administrators of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration was at a highest level in total. In aspects, the highest level was on Idealized Influence, followed by Individualized Consideration, Inspiration Motivation, and Intellectual Stimulation respectively. 2. The average value of learning organization of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration was at a highest level in total and in aspects. The highest level was on Personal Mastery, followed by Building and Sharing Vision, Team Learning, Systematic Thinking, and Mental Model respectively. 3. Transformational Leadership according to Iddhipāda of school administrators resulting to the learning organization of South Krungthon Group Schools under Bangkok Metropolitan Administration with a significantly statistic figure at .01. The most significance was on Individualized Consideration, followed by Intellectual Stimulation, and Inspiration Motivation respectively. The predictive coefficient or the predictive power of being a learning organization was 61.8% (R2 = .618). It can be written in regression equation as follows; Raw Score Equation y ̂ = .740+.460 (x 4) + .217 (x3) + .148 (x2) (R2 = .618) Standard Equation Z ̂ Y = .454 (x 4) +.231 (x3) + .156(x2) (R2 = .618)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร กลุ่มข้อมูลที่นำใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2562 – มีนาคม 2563 และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 5 รูป/คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม เป็นศิลปะความสามารถในการชักจูงให้ผู้อื่นยินดีที่จะร่วมมือค้นหาหนทางบรรลุเป้าหมายด้วยความเต็มใจ ทฤษฎีภาวะผู้นำที่โดดเด่น คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถใช้พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาขององค์กรได้ 2. คุณสมบัติและคุณลักษณะของภาวะผู้นำในมหาโคปาลสูตร คือ การรู้จักศักยภาพของตนเอง เพียรละทัศนคติในทางที่ไม่ดีสำรวมระวังการคิดพูดทำ การรู้จักการเลือกคบผู้ที่มีความรู้ สามารถบูรณาการความรู้ให้กับบุคลากร ฉลาดเลือกที่จะเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเลือกสถานที่ประกอบอาชีพ รู้จักประมาณในการใช้สอยและให้ความเคารพผู้ที่มีประสบการณ์ วิธีการสร้างภาวะผู้นำ คือ จักร 4 ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ข้อที่ 2 และมงคลสูตร ข้อที่ 30 3. ผลวิเคราะห์คุณค่าการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร พบว่า ด้านการบริหาร คือ การทำให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารตนเองและผู้อื่น มีความฉลาดในการเลือกคบคน ด้านการป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้น คือ การตั้งตนไว้ชอบ ใช้ความคิดที่ถูกวิธีสามารถครองตนอยู่ในทางแห่งความเจริญ ด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับความดีกับผู้อื่น ทำให้เป็นผู้มีความกตัญญู รู้จักเคารพผู้อาวุโสและต่อบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางสังคม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร กลุ่มข้อมูลที่นำใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2562 – มีนาคม 2563 และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 5 รูป/คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม เป็นศิลปะความสามารถในการชักจูงให้ผู้อื่นยินดีที่จะร่วมมือค้นหาหนทางบรรลุเป้าหมายด้วยความเต็มใจ ทฤษฎีภาวะผู้นำที่โดดเด่น คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถใช้พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาขององค์กรได้ 2. คุณสมบัติและคุณลักษณะของภาวะผู้นำในมหาโคปาลสูตร คือ การรู้จักศักยภาพของตนเอง เพียรละทัศนคติในทางที่ไม่ดีสำรวมระวังการคิดพูดทำ การรู้จักการเลือกคบผู้ที่มีความรู้ สามารถบูรณาการความรู้ให้กับบุคลากร ฉลาดเลือกที่จะเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเลือกสถานที่ประกอบอาชีพ รู้จักประมาณในการใช้สอยและให้ความเคารพผู้ที่มีประสบการณ์ วิธีการสร้างภาวะผู้นำ คือ จักร 4 ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ข้อที่ 2 และมงคลสูตร ข้อที่ 30 3. ผลวิเคราะห์คุณค่าการสร้างภาวะผู้นำตามมหาโคปาลสูตร พบว่า ด้านการบริหาร คือ การทำให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารตนเองและผู้อื่น มีความฉลาดในการเลือกคบคน ด้านการป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้น คือ การตั้งตนไว้ชอบ ใช้ความคิดที่ถูกวิธีสามารถครองตนอยู่ในทางแห่งความเจริญ ด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับความดีกับผู้อื่น ทำให้เป็นผู้มีความกตัญญู รู้จักเคารพผู้อาวุโสและต่อบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางสังคม
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the leadership 2) to study the method for creating the leadership according to Mahāgopālasutta and 3) to create the leadership according to Mahāgopālasutta. This research was a qualitative study, focused on the documentary studies, mainly in the Tipitaka, the relating research documentaries and the Buddhist scholars’ works together with the interview of 5 key informants related persons were included as a sample collecting between June 2019 and March 2020. All the data were classified into the system, concluded and presented in the descriptive analysis. The results of the research were found as follows:- 1. The leadership was the relationship between the leaders and the followers concerning their art capability to induce the others for the co-operation of searching for the path to achieve the desired target with willingness. The outstanding theory of leadership was the integrated leadership theory because of its using to develop or solve the complex problems of the organization. 2. The qualities and characteristics of leadership in Mahāgopālasutta was consisted of knowing one’s own potential, choosing to associate with the people, perseverance to eliminate the bad attitude, carefully thinking speaking and doing, having the ability to give knowledge knowing how to find the knowledgeable people, knowing how to integrate the knowledge for the personnel, ingenuity choosing to learn and implement, being smart to choose a workplace, estimating the usage and respecting for the experienced people. The method of creating leadership consists of 4 Chakras for the development of the second Right View and the 30th Mangalasutta. 3. The analytical results for creating the leadership according to Mahāgopālasutta were included as follows 1) Administrative aspect regarding become a person with the ability to the management of himself and others together with being intelligent to choose the people for the association, 2) Crisis prevention aspect Including right establishing oneself, using the right ideas to be able to control in a way of prosperity, 3) Social and cultural aspect concerning discussion and exchanging the knowledge about goodness with others, creating a gratitude person, respecting for the elders and the different types of people for the social relationspis.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ 2) เพื่อศึกษาการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาวิเคราะห์จัดระบบหมวดหมู่แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้มีเป้าหมาย โดยการฝึกฝนพัฒนา ให้มีความขยันหมั่นเพียร มีระเบียบวินัย อันจะเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียน และการงาน 2. การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี หมายถึง ความขยัน ความหมั่นเพียรพยายาม จะทำให้เยาวชนมีความตั้งใจทำจริง เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ มีความอดทนต่ออุปสรรคต่าง ๆ ทำให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมประกอบไปด้วย อิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย์ 5 บารมี 10 และ โพชฌงค์ 7 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี พบว่า 1) คุณค่าด้านการสร้างชาติ คือ การทำให้ประเทศชาติที่เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน 2) คุณค่าด้านการบรรลุเป้าหมายในชีวิต คือ การทำให้ชีวิตประสบกับความสำเร็จตามเป้าหมาย และ 3) คุณค่าด้านการเป็นต้นแบบแก่เยาวชนรุ่นต่อไป คือ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะเติบโตไปในโลกแห่งวิวัฒนาการและมีพุทธิปัญญาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ 2) เพื่อศึกษาการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาวิเคราะห์จัดระบบหมวดหมู่แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้มีเป้าหมาย โดยการฝึกฝนพัฒนา ให้มีความขยันหมั่นเพียร มีระเบียบวินัย อันจะเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียน และการงาน 2. การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี หมายถึง ความขยัน ความหมั่นเพียรพยายาม จะทำให้เยาวชนมีความตั้งใจทำจริง เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ มีความอดทนต่ออุปสรรคต่าง ๆ ทำให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ หลักธรรมที่ส่งเสริมประกอบไปด้วย อิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย์ 5 บารมี 10 และ โพชฌงค์ 7 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ตามหลักการบำเพ็ญวิริยบารมี พบว่า 1) คุณค่าด้านการสร้างชาติ คือ การทำให้ประเทศชาติที่เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน 2) คุณค่าด้านการบรรลุเป้าหมายในชีวิต คือ การทำให้ชีวิตประสบกับความสำเร็จตามเป้าหมาย และ 3) คุณค่าด้านการเป็นต้นแบบแก่เยาวชนรุ่นต่อไป คือ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะเติบโตไปในโลกแห่งวิวัฒนาการและมีพุทธิปัญญาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน
The objectives of this thesis were as follows 1) to study the creation of the new generation youth, 2) to study the creation of the new generation youth according to the Viriyapāramī Practice, and 3) to analyze the value of the creation of the new generation youth according to the Viriyapāramī Practice. The thesis was the documentary qualitative research works focused on documentaries, studies mainly on the Tipitaka, relating documentaries and relevant researches together with the interviews of the related experts. All of the data were then analyzed by content analysis, classified into system, concluded and presented in descriptive analysis The results of research were found as follows: 1. The creation of a new youth was the development of the quality of life for the new generation of youth to have the goals by practicing to develop diligence and discipline to be the ladder of success in life for both in education and work. 2. The creation of a new generation of youth according to the principles of the Viriyapāramī Practice means the acts of diligence and perseverance to make the younger generation truly determined and appreciating the things that were done having patience with various obstacles to achieve the life goals following the promoted Dharma principles consisting of Iddhipada 4 (basis for success), Sammappadhana 4 (right exertions), Indriya 5 (controlling facility), Parami 10 (perfections) and Bojjhanga 7 (enlightenment factors). 3. The analytical results for the value of the creation of the new generation youth according to the Viriyapāramī Practice were as follows: 1) the value of creating a nation was to make the nation for sustainable progress, 2) The value of achieving life goals
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาเวสสันดรชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หลักจริยศาสตร์เป็นหลักจริยธรรมแห่งความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความดี ความชั่วความถูก ความผิด หรือเรื่องของความสมควรหรือไม่สมควรประพฤติ เป็นหลักที่ว่าด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิต และเกณฑ์มาตรฐานความดีและความชั่ว เป็นหลักในการดำเนินชีวิตรวมทั้งข้อปฏิบัติที่จะทำให้เราเจริญขึ้นมีความก้าวหน้าในชีวิตตามสมควร เพื่อให้ชีวิตของเรามีระเบียบ มีจิตใจสูง เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่เห็นด้วยปัญญาแล้วว่ามีประโยชน์ เป็นไปเพื่อความดีและความสุข 2) เวสสันดรชาดก เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา หรือเรียกว่า มหาชาติ มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ คือ 1) กัณฑ์ทศพร 2) กัณฑ์หิมพานต์ 3) กัณฑ์ทานกัณฑ์ 4) กัณฑ์วนประเวสน์ 5) กัณฑ์ชูชก 6) กัณฑ์จุลพน7) กัณฑ์มหาพน 8) กัณฑ์กุมาร 9) กัณฑ์มัทรี 10) กัณฑ์สักกบรรพ 11) กัณฑ์มหาราช 12) กัณฑ์ฉกษัตริย์ และ 13) กัณฑ์นครกัณฑ์ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติในทางจริยศาสตร์และคุณค่าแห่งความดี 3) หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ผู้วิจัยได้วิเคราะห์คุณค่าทาง จริยศาสตร์ 2 ด้าน คือคุณค่าด้านจิตใจและสังคม คุณค่าด้านจิตใจนั้นจะช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยาผู้กัน มีจิตใจที่เป็นกุศล เมื่อมีอารมณ์โลภ โกรธ หลง ก็สามารถระงับได้ และเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท คุณค่าด้านสังคม จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมมีความเป็นอยู่อย่างสันติสุข ทุกคนเข้าใจในหน้าที่ของตนเอง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น เมื่อใครทำผิดก็มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีเป็นที่ตั้ง สังคมมีความเข็มแข็ง ปัญหาทางครอบครัวลดน้อยลงและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาเวสสันดรชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หลักจริยศาสตร์เป็นหลักจริยธรรมแห่งความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความดี ความชั่วความถูก ความผิด หรือเรื่องของความสมควรหรือไม่สมควรประพฤติ เป็นหลักที่ว่าด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิต และเกณฑ์มาตรฐานความดีและความชั่ว เป็นหลักในการดำเนินชีวิตรวมทั้งข้อปฏิบัติที่จะทำให้เราเจริญขึ้นมีความก้าวหน้าในชีวิตตามสมควร เพื่อให้ชีวิตของเรามีระเบียบ มีจิตใจสูง เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่เห็นด้วยปัญญาแล้วว่ามีประโยชน์ เป็นไปเพื่อความดีและความสุข 2) เวสสันดรชาดก เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา หรือเรียกว่า มหาชาติ มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ คือ 1) กัณฑ์ทศพร 2) กัณฑ์หิมพานต์ 3) กัณฑ์ทานกัณฑ์ 4) กัณฑ์วนประเวสน์ 5) กัณฑ์ชูชก 6) กัณฑ์จุลพน7) กัณฑ์มหาพน 8) กัณฑ์กุมาร 9) กัณฑ์มัทรี 10) กัณฑ์สักกบรรพ 11) กัณฑ์มหาราช 12) กัณฑ์ฉกษัตริย์ และ 13) กัณฑ์นครกัณฑ์ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติในทางจริยศาสตร์และคุณค่าแห่งความดี 3) หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ผู้วิจัยได้วิเคราะห์คุณค่าทาง จริยศาสตร์ 2 ด้าน คือคุณค่าด้านจิตใจและสังคม คุณค่าด้านจิตใจนั้นจะช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยาผู้กัน มีจิตใจที่เป็นกุศล เมื่อมีอารมณ์โลภ โกรธ หลง ก็สามารถระงับได้ และเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท คุณค่าด้านสังคม จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมมีความเป็นอยู่อย่างสันติสุข ทุกคนเข้าใจในหน้าที่ของตนเอง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น เมื่อใครทำผิดก็มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีเป็นที่ตั้ง สังคมมีความเข็มแข็ง ปัญหาทางครอบครัวลดน้อยลงและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
The objectives of this thesis were; 1) to study the principles of ethics, 2)to study Vessantara Jataka, and 3) to analyze the ethics in Vessantara Jataka. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, and related documents and then analyzed and summarized into the findings. The results of the study were found that: 1) Ethics is the principle of human behavior in relation to goodness, badness, righteousness, wrongfulness, or appropriate or inappropriate behaviors. It is the principle of pursuing the value of life and the benchmark of goodness and badness. It is the principle of living a life, including practices that will allow us to grow, progress, to be orderly, and to raise the mental level in accordance with the rules of society that are perceived as useful for the sake of goodness and happiness. 2) Vessantara Jataka is a well-known Buddhist literature. It is sometimes referred to as Mahajati or the Great Birth Story. There are 13 volumes altogether: 1) Dasavara, 2) Himavanta, 3) Dana, 4) Vanapavesa, 5) Jujaka, 6) Julavana, 7) Mahavana, 8) Kumara, 9) Maddariya, 10) Sakkabap, 11) Maharaja, 12) Cha-kasattariya, and 13) Nagara. All of these volumes consist of ethical practices and values of goodness. 3) Principles of ethics found in the 13 volumes of Vessantara Jataka were classified into two aspects; spiritual value and social value. The spiritual value helps develop the mind to loving-kindness, generosity, meritorious mind, and non-jealousy. When greed, anger, or delusion occurs in their mind, one can understand and control it. In social value, it helps coexistence in society peacefully. Each individual understands their duty, without causing trouble to oneself and others. The society based on forgiveness and unity is strong, which results to the reduction of family problems. Living in the society like this is peaceful.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทย 2) เพื่อศึกษาศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1) ปรากฏการณ์ความศรัทธาหรือความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาของคนไทยมีรากฐานมาจาก เชื่อผี เชื่อบรรพบุรุษ เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ การผสมผสานความเชื่อโดยขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของศรัทธา ทำให้ความเชื่อต่อศาสนาเคลื่อนออกห่างจากหลักศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ส่งผลให้เกิดความงมงายเชื่อทุกอย่างที่พึ่งพาหาประโยชน์ได้ บางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของศรัทธา เพราะเป็นศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา 2) กระบวนการเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ เรียงโดยลำดับได้ดังนี้ (1) ระดับการเข้าสู่ศรัทธาในเบื้องต้นโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในเกสปุตตสูตร (2) ระดับการใช้เหตุผลโดยใช้หลักตรรกะชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในอริยสัจจ์ 4 และ (3) ระดับปัญญาโดยใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีปรากฏในศรัทธา 4 3) ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยจำแนกตามความเชื่อได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ศรัทธาในการรักษาโรค ศรัทธาในความสุข ศรัทธาในด้านความรัก และศรัทธาในเรื่องของกรรม สามารถนำมา ศึกษา วิเคราะห์ ตามหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ดังนี้ ด้านการรักษาโรคใช้หลักอริยสัจจ์ 4 ด้านความสุขใช้หลักสุขของคฤหัสถ์ สุขของบรรพชิต ด้านความรักใช้หลักสมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหารธรรม กรรมใช้หลักศรัทธา 4
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทย 2) เพื่อศึกษาศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า: 1) ปรากฏการณ์ความศรัทธาหรือความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาของคนไทยมีรากฐานมาจาก เชื่อผี เชื่อบรรพบุรุษ เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ การผสมผสานความเชื่อโดยขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของศรัทธา ทำให้ความเชื่อต่อศาสนาเคลื่อนออกห่างจากหลักศรัทธาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ส่งผลให้เกิดความงมงายเชื่อทุกอย่างที่พึ่งพาหาประโยชน์ได้ บางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของศรัทธา เพราะเป็นศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา 2) กระบวนการเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ เรียงโดยลำดับได้ดังนี้ (1) ระดับการเข้าสู่ศรัทธาในเบื้องต้นโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในเกสปุตตสูตร (2) ระดับการใช้เหตุผลโดยใช้หลักตรรกะชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในอริยสัจจ์ 4 และ (3) ระดับปัญญาโดยใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีปรากฏในศรัทธา 4 3) ปรากฏการณ์ความศรัทธาของคนไทยจำแนกตามความเชื่อได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ศรัทธาในการรักษาโรค ศรัทธาในความสุข ศรัทธาในด้านความรัก และศรัทธาในเรื่องของกรรม สามารถนำมา ศึกษา วิเคราะห์ ตามหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ดังนี้ ด้านการรักษาโรคใช้หลักอริยสัจจ์ 4 ด้านความสุขใช้หลักสุขของคฤหัสถ์ สุขของบรรพชิต ด้านความรักใช้หลักสมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหารธรรม กรรมใช้หลักศรัทธา 4
The objectives of this thesis are: 1) to study the phenomena of faith of Thai people, 2) to study faith in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the phenomena of faith of Thais in accordance with Theravada Buddhist philosophy. It is a documentary qualitative study which the data from the Tipitaka, Commentaries, textbooks and related research works. The results of the study were shown as follows: 1) The faith phenomena or the faith in religion of Thai people were originated from the belief in ghosts, ancestors, sacred objects, deity, and occultism without the understanding of faith principles. Those beliefs weakened and moved far away from the faith principles in Theravada philosophy. That resulted to the blind faith and sometimes became the tool of faith without wisdom. 2) The process of faith in Buddhism could be divided into 3 levels as follows; (1) Fundamental faith based on Yonisomanasikara as specified in Kesaputta Sutta, (2) Reasoning faith based on logic principles as mentioned in the Four Noble Truths, and (3) Intellectual faith based on the principles of Threefold Training as appeared in the 4 principles of Saddha. 3) The faith phenomena of Thai people could be classified into 4 groups; the faith in disease healing and curing, the faith in happiness, the faith in love, and the faith in Kamma. When it was brought to study and analyze according to the principles of Theravada Buddhist philosophy, it could be concluded that; the faith in disease healing and curing was based on the principles of the Four Noble Truths, the faith in love based on the principles of house-life happiness and chaste life happiness, the faith in love based on Samajivita Dhamma, Gharavasa Dhamma, and brahmavihara Dhamma, and the faith in Kamma based on the 4 principles of Saddha.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร มีการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนำสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นการจัดการความทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นสภาพที่ทำให้ความทุกข์ทุเลาลง ความทุกข์จำแนกออกเป็นทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ แนวทางในการบรรเทาทุกข์มีทั้งการบรรเทาทุกข์ทั่วไป คือ การจัดการความทุกข์อย่างไม่ท้อถอยด้วยความไม่ประมาท มี 2 แบบ คือ การบรรเทาทุกข์ด้วยตนเอง และการบรรเทาทุกข์ด้วยผู้อื่น คือ การแก้ไขความทุกข์โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) หลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท คือ คำสอนและแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ คือ ความไม่รู้ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เข้าใจสรรพสิ่งตามสภาพที่เป็นจริง และคลายความยึดมั่นในรูปนาม เมื่อหาสาเหตุถึงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์พบ และรู้จักวิธีปฏิบัติอย่างรู้เท่าทัน จะทำให้ความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจบรรเทาลง 3) วิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า อายุสสธรรม เป็นหลักประพฤติที่ประกอบด้วยการมีสติปัญญาตลอดเวลาในทุกกิจกรรมของชีวิตช่วยให้อายุยืน มี 5 ประการ คือ 1.สัปปายการี 2.สัปปาเย มัตตัญญู 3.ปณิตโภชี 4.กาลจารี 5.พรหมจารี และมีหลักอริยสัจ 4 ที่ช่วยให้เข้าใจถึงทุกข์และสาเหตุซึ่งเกิดจากอวิชชาและมีแนวทางปฏิบัติสายกลางในการดำรงชีวิต หลักธรรมทั้ง 2 นี้ สอนให้แก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ เมื่อผู้สูงอายุนำสู่การปฏิบัติจะช่วยให้ความทุกข์บรรเทาลงได้จริงและมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณค่า
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร มีการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนำสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นการจัดการความทุกข์ของผู้สูงอายุ เป็นสภาพที่ทำให้ความทุกข์ทุเลาลง ความทุกข์จำแนกออกเป็นทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ แนวทางในการบรรเทาทุกข์มีทั้งการบรรเทาทุกข์ทั่วไป คือ การจัดการความทุกข์อย่างไม่ท้อถอยด้วยความไม่ประมาท มี 2 แบบ คือ การบรรเทาทุกข์ด้วยตนเอง และการบรรเทาทุกข์ด้วยผู้อื่น คือ การแก้ไขความทุกข์โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) หลักธรรมในการบรรเทาทุกข์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท คือ คำสอนและแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ คือ ความไม่รู้ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เข้าใจสรรพสิ่งตามสภาพที่เป็นจริง และคลายความยึดมั่นในรูปนาม เมื่อหาสาเหตุถึงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์พบ และรู้จักวิธีปฏิบัติอย่างรู้เท่าทัน จะทำให้ความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจบรรเทาลง 3) วิเคราะห์การบรรเทาทุกข์ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า อายุสสธรรม เป็นหลักประพฤติที่ประกอบด้วยการมีสติปัญญาตลอดเวลาในทุกกิจกรรมของชีวิตช่วยให้อายุยืน มี 5 ประการ คือ 1.สัปปายการี 2.สัปปาเย มัตตัญญู 3.ปณิตโภชี 4.กาลจารี 5.พรหมจารี และมีหลักอริยสัจ 4 ที่ช่วยให้เข้าใจถึงทุกข์และสาเหตุซึ่งเกิดจากอวิชชาและมีแนวทางปฏิบัติสายกลางในการดำรงชีวิต หลักธรรมทั้ง 2 นี้ สอนให้แก้ไขที่รากเหง้าของความทุกข์ เมื่อผู้สูงอายุนำสู่การปฏิบัติจะช่วยให้ความทุกข์บรรเทาลงได้จริงและมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณค่า
The objectives of this thesis are as follows; 1) to study the suffering mitigation of the elders, 2) to study the Dhamma principles for suffering mitigation in accordance with Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the suffering mitigation of the elders in accordance with Theravada Buddhist philosophy. This study is a documentary qualitative research. The data were collected, analyzed, and summarized into the findings. The study results were as follows: 1) The suffering relief of the elderly was the management in the suffering reduction. The suffering was classified into physical suffering and mental suffering. In general, the suffering relief approaches consisted of 2 types: suffering relief by oneself with mindfulness. And the other one was the suffering relief by others; the solution to suffering with the help of the people nearby or related sectors. 2) The Dhamma principles for suffering mitigation in accordance with Theravada Buddhist philosophy are the teachings and practices to eradicate the root cause of suffering; ignorance. The practice is based on the firm and neutral mind to understand things as they really are, and then the attachment to mind and matter can be declined. When the cause and process of the occurrence and the end of suffering were found and realized, both physical suffering and mental suffering could be alleviated. 3) In analysis of suffering mitigation of the elders according to Theravada Buddhist Philosophy, It was found that Ayussadhamma is the principle consisting of the constant mindfulness and wisdom in life activities and it can prolong the life. Ayussadhamma consists of 5 items: 1. Sappayakari, 2. Sapapayemattannu, 3. Panitabhoji, 4. Kalacari, and 5. Brahmacari. The Four Noble Truths help understand the sufferings with their causes occurred from ignorance, and then provide the middle paths for life. Both groups of these teachings point out how to solve the suffering from the root causes. When the elderly put it into practice, their suffering can be alleviated and they can live longer with a valuable life.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความตาย 2) เพื่อศึกษาความตายตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของความตาย ตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรัชญาตะวันตก มีแนวคิดที่ชัดเจนว่าเชื่อในชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตนิรันดร์ แต่จะมีการให้คุณค่าความตายและภาวะหลังความตายมากขึ้น ในมุมมองของปรัชญาชีวิต เช่น เมื่อเราหนีความตายไม่พ้น ทำไมเราไม่ทำความเข้าใจอย่างกล้าหาญต่อความตายนั้นเล่า นักปรัชญาตะวันออก จะมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน มีความแตกต่างไปบ้าง อย่างเช่นปรัชญาอินเดีย มีทั้งเชื่อเรื่องของชีวิตนิรันดร์ และเชื่อว่าตายแล้วสูญ ปรัชญาจีน เชื่อในเรื่องของชีวิตนิรันดร์อย่างแน่นแฟ้น แต่เมื่อผ่าน การหล่อหลอมจากปรัชญาสายอื่น ก็มีความเชื่อเรื่องของสังสารวัฏเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างทางด้านศาสนาต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เชื่อว่ามีชีวิตนิรันดร์หลังความตาย ขึ้นอยู่กับว่าจะตีความคำว่าชีวิตนิรันดร์นั้นไปในทิศทางใด อาจจะเป็นชีวิตนิรันดร์ไปอยู่บนสรวงสวรรค์พร้อมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือชีวิตนิรันดร์ในฐานะของผู้บรรลุพระนิพพาน สิ้นกิเลส 2) พุทธปรัชญาเชื่อว่า ชีวิตมีอยู่ เป็นอยู่ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบกันอย่างเหมาะสม และปัจจัยสำคัญก็คือ ขันธ์ 5 จากความเชื่อนี้ ความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นการประกอบส่วนที่ผิดเพี้ยนไปอันเกิดจากความไม่เที่ยงและความไม่มีตัวตนของปัจจัยเหล่านั้น นี่เป็นหลักกว้าง ๆ ที่อิงอยู่กับหลักธรรมเรื่อง ไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ที่ว่าด้วยความเป็นเหตุเป็นผลแบบอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย ทำนองว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับไปความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น คือ สิ้นอายุขัย (อายุกขยมรณะ) สิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) สิ้นทั้งอายุและกรรม (อุภยักขยมรณะ) และมีเหตุหรือกรรมอย่างอื่นมาตัดรอน (อุปัจเฉทมรณะ) 3) คุณค่าแห่งการหลุดพ้นเวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธปรัชญาเถรวาท นั่นคือการเข้าถึงความหลุดพ้นหรือนิพพาน ซึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทเชื่อว่ามนุษย์ปุถุชนทุกรูปทุกนาม ล้วนแล้วแต่เป็นชีวิตที่มีปัญหาและถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่มนุษย์สามารถเอาชนะความทุกข์ได้อย่างแท้จริง เมื่อนั้นก็สามารถหลุดพ้นหรือนิพพานได้ และวิธีการที่จะเข้าถึงนิพพานนั้น จะต้องอาศัยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หรืออย่างย่อเรียกว่า ไตรสิกขาซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ อันจะพาให้เข้าถึงนิพพานอันเป็นภาวะสูงสุดและเป็นความสงบสุขที่จีรังยั่งยืน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความตาย 2) เพื่อศึกษาความตายตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของความตาย ตามมโนทัศน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรัชญาตะวันตก มีแนวคิดที่ชัดเจนว่าเชื่อในชีวิตหลังความตายเป็นชีวิตนิรันดร์ แต่จะมีการให้คุณค่าความตายและภาวะหลังความตายมากขึ้น ในมุมมองของปรัชญาชีวิต เช่น เมื่อเราหนีความตายไม่พ้น ทำไมเราไม่ทำความเข้าใจอย่างกล้าหาญต่อความตายนั้นเล่า นักปรัชญาตะวันออก จะมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน มีความแตกต่างไปบ้าง อย่างเช่นปรัชญาอินเดีย มีทั้งเชื่อเรื่องของชีวิตนิรันดร์ และเชื่อว่าตายแล้วสูญ ปรัชญาจีน เชื่อในเรื่องของชีวิตนิรันดร์อย่างแน่นแฟ้น แต่เมื่อผ่าน การหล่อหลอมจากปรัชญาสายอื่น ก็มีความเชื่อเรื่องของสังสารวัฏเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างทางด้านศาสนาต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เชื่อว่ามีชีวิตนิรันดร์หลังความตาย ขึ้นอยู่กับว่าจะตีความคำว่าชีวิตนิรันดร์นั้นไปในทิศทางใด อาจจะเป็นชีวิตนิรันดร์ไปอยู่บนสรวงสวรรค์พร้อมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือชีวิตนิรันดร์ในฐานะของผู้บรรลุพระนิพพาน สิ้นกิเลส 2) พุทธปรัชญาเชื่อว่า ชีวิตมีอยู่ เป็นอยู่ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบกันอย่างเหมาะสม และปัจจัยสำคัญก็คือ ขันธ์ 5 จากความเชื่อนี้ ความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นการประกอบส่วนที่ผิดเพี้ยนไปอันเกิดจากความไม่เที่ยงและความไม่มีตัวตนของปัจจัยเหล่านั้น นี่เป็นหลักกว้าง ๆ ที่อิงอยู่กับหลักธรรมเรื่อง ไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ที่ว่าด้วยความเป็นเหตุเป็นผลแบบอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย ทำนองว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับไปความตายก็เป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากคือความสิ้นไปแห่งปัจจัยเหล่านั้น คือ สิ้นอายุขัย (อายุกขยมรณะ) สิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) สิ้นทั้งอายุและกรรม (อุภยักขยมรณะ) และมีเหตุหรือกรรมอย่างอื่นมาตัดรอน (อุปัจเฉทมรณะ) 3) คุณค่าแห่งการหลุดพ้นเวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธปรัชญาเถรวาท นั่นคือการเข้าถึงความหลุดพ้นหรือนิพพาน ซึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทเชื่อว่ามนุษย์ปุถุชนทุกรูปทุกนาม ล้วนแล้วแต่เป็นชีวิตที่มีปัญหาและถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่มนุษย์สามารถเอาชนะความทุกข์ได้อย่างแท้จริง เมื่อนั้นก็สามารถหลุดพ้นหรือนิพพานได้ และวิธีการที่จะเข้าถึงนิพพานนั้น จะต้องอาศัยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หรืออย่างย่อเรียกว่า ไตรสิกขาซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ อันจะพาให้เข้าถึงนิพพานอันเป็นภาวะสูงสุดและเป็นความสงบสุขที่จีรังยั่งยืน
The objective of this study is 1) to study the theory of death 2) To study the conceptual death in Theravada Buddhist philosophy 3) To analyze the conceptual thinking in Theravada Buddhist philosophy The research has collected data from Tripitaka, commentary, textbooks and related research. The results of the study were shown as follows: 1) Western philosophy has a clear philosophy that believes in the afterlife But there will be help for victims and many complications from the philosophical point of view Why don't we bravely understand death, telling scholars of many different philosophies, such as Indian philosophy Believe that to die and lose. Chinese philosophy firmly believes in matters of life But when passed on from other philosophies, there is a belief about the pontiff All foreigners believe that how to live in the near future to occur in the near future to occur in the future. Wan with God or eternal life as the person who attained Nirvana 2) Buddhist philosophy believes that life exists because there are different parts to it. Appropriate and an important ratio is the Bahamas. 5. From this belief, death is not something that comes from the damage caused by their injuries. The identity of those supports is a broad principle based on principles. About the trinity and the doctrine of the Bath, the Bath, or Itam, the eye on the sense of reason Become living beings that coexist with living organisms, regardless of how this happened Death is another thing that does not occur because the loss of those attacks is the death. (Salvage independence)) and there is a reason or something else to cut (Death) 3) The process of liberation from what has happened is something that happens a lot and is something that has been destroyed a lot or that Nirvana is what actually happened. Victory all the time, whenever humans can overcome great suffering, when they can be liberated or nirvana and how to In order to do nicotine, it is necessary to adhere to the Noble Eightfold Path or the threefold process, with many steps and money to help the victims.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทศชาติชาดก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์ศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก ผลการวิจัย พบว่า 1) ทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในพระชาติต่าง ๆ เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เพื่อทรงบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ เพื่อเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหนุนนำให้ได้บรรลุซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองกิเลสกองทุกข์ทั้งปวง 2) ความประพฤติที่จัดเป็นความดีที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายกุศล สามารถนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ความประพฤติที่จัดเป็นความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายอกุศล สามารถนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ซึ่งเกณฑ์ที่นำมาตัดสินความดี-ความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นเป็นเกณฑ์ตัดสินทางจริยศาสตร์ของกลุ่มสัมบูรณนิยม กลุ่มปฏิบัตินิยม กลุ่มประโยชน์นิยม และเกณฑ์ตัดสินในทางพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายของชีวิตที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นมีประโยชน์ 3 ด้าน คือ ประโยชน์เพื่อตนเอง อันได้แก่ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์อย่างสูงสุดคือพระนิพพาน ประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ สามารถสร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ผู้อื่นทั้งทางกายและทางจิตใจ และประโยชน์เพื่อส่วนรวมและสังคม คือ สามารถสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมได้ 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก เป็นคุณค่าที่มีต่อจิตใจ คุณค่าที่มีต่อการดำเนินชีวิต คุณค่าที่มีต่อสังคม และคุณค่าที่มีต่อการปฏิบัติธรรม เป็นคุณค่าที่สร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ตนเอง ให้แก่คนอื่น และให้แก่สังคมส่วนรวม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทศชาติชาดก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์ศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก ผลการวิจัย พบว่า 1) ทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในพระชาติต่าง ๆ เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เพื่อทรงบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ เพื่อเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหนุนนำให้ได้บรรลุซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองกิเลสกองทุกข์ทั้งปวง 2) ความประพฤติที่จัดเป็นความดีที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายกุศล สามารถนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ความประพฤติที่จัดเป็นความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้น เป็นความประพฤติฝ่ายอกุศล สามารถนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้ปฏิบัติ แก่บุคคลอื่นและแก่สังคมส่วนรวมได้ ซึ่งเกณฑ์ที่นำมาตัดสินความดี-ความชั่วที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นเป็นเกณฑ์ตัดสินทางจริยศาสตร์ของกลุ่มสัมบูรณนิยม กลุ่มปฏิบัตินิยม กลุ่มประโยชน์นิยม และเกณฑ์ตัดสินในทางพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายของชีวิตที่ปรากฏในทศชาติชาดกนั้นมีประโยชน์ 3 ด้าน คือ ประโยชน์เพื่อตนเอง อันได้แก่ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์อย่างสูงสุดคือพระนิพพาน ประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ สามารถสร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ผู้อื่นทั้งทางกายและทางจิตใจ และประโยชน์เพื่อส่วนรวมและสังคม คือ สามารถสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมได้ 3) คุณค่าทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก เป็นคุณค่าที่มีต่อจิตใจ คุณค่าที่มีต่อการดำเนินชีวิต คุณค่าที่มีต่อสังคม และคุณค่าที่มีต่อการปฏิบัติธรรม เป็นคุณค่าที่สร้างประโยชน์และความสุขให้แก่ตนเอง ให้แก่คนอื่น และให้แก่สังคมส่วนรวม
The purposes of this thesis include; 1) to study the ten birth-stories of the Buddha, 2) to study the ethical concepts in the ten birth-stories of the Buddha, and 3) to analyze the values of the ethical concepts in the ten birth-stories of the Buddha. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, books, and research works related. Research results were found that: 1) The ten birth-stories of the Buddha retell the past lives of the Buddha when he was still a Bodhisattva who was born either a human or a deva in order to perform meritorious acts which could help him reach his ultimate goal and become the Buddha in his final life to teach all beings to free themselves from desires and sufferings. 2) The good actions found in those stories are the wholesome that can bring benefits and happiness to practitioners, others and society as well. Meanwhile, the evil deeds in the stories are considered unwholesome because they can bring sufferings and troubles to the doers, others and society. The good deeds and the bad deeds in the ten birth-stories of the Buddha were decided by the ethical criteria set by the groups of absolutism, pragmatism, utilitarianism, and Buddhism. There are 3 types of benefits in the life goals found in the ten birth-stories of the Buddha; 1) benefits to oneself in the present life, in the following lifetimes, and the supreme benefit or achieving enlightenment; 2) benefits to other people in both physical and mental ways; and 3) public benefits referring to creating peace and happiness to community and society. 3) The ethical values in the ten birth-stories of the Buddha are for mentality, living a life, society and Dhamma practicing. These values can build and bring benefits and happiness to oneself, others and society.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยค้นคว้าและรวบรวมแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา และศึกษาเอกสารทางวิชาการ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา ผลการวิจัยพบว่า 1. คัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นกลุ่มคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหากะทัดรัด และมีเรื่องราวประกอบคำอธิบาย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการเรียนรู้ชีวิตชี้แนะแนวทางการประพฤติตนของพุทธบริษัทให้เข้าใจและถึงแก่นธรรมของพระองค์ โดยทรงพิจารณาตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล คำสอนที่ทรงแสดงนั้น เป็นไปเพื่อความสุขสงบทั้งแก่ผู้ปฏิบัติและแก่ผู้อื่น 2. จริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีแนวคิดแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1)ระดับมูลฐาน คือ ศีล 5 และเบญจธรรม 2) ระดับกลาง มีการประพฤติชอบทางกาย การประพฤติชอบทางวาจา และการประพฤติชอบทางใจ 3) ระดับสูง คือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ 3. แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีหลักธรรมที่แยกแยะความดี-ความชั่วได้ชัดเจน สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยค้นพบคือวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความเร้าร้อนในระดับพฤติกรรม ความรู้สึก และแนวความคิด หากนำวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำย่อมสามารถแก้ปัญหาความเดือนร้อนวุ่นวายใจและความไม่สงบในสังคมได้ และพบว่า บุคคลควรมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่ดี ครั้นมีเป้าหมายดีแล้วย่อมประครองชีวิตให้ดำเนินไปสู่วิถีอันสิ่งดีงาม ผลดีก็ย่อมบังเกิด ความเป็นอยู่ปัจจุบันก็ไม่เดือดร้อนใจ และเมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในสุคติภพ หรือไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏคือบรรลุพระนิพพานในที่สุด
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยค้นคว้าและรวบรวมแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา และศึกษาเอกสารทางวิชาการ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา ผลการวิจัยพบว่า 1. คัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นกลุ่มคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหากะทัดรัด และมีเรื่องราวประกอบคำอธิบาย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการเรียนรู้ชีวิตชี้แนะแนวทางการประพฤติตนของพุทธบริษัทให้เข้าใจและถึงแก่นธรรมของพระองค์ โดยทรงพิจารณาตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล คำสอนที่ทรงแสดงนั้น เป็นไปเพื่อความสุขสงบทั้งแก่ผู้ปฏิบัติและแก่ผู้อื่น 2. จริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีแนวคิดแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1)ระดับมูลฐาน คือ ศีล 5 และเบญจธรรม 2) ระดับกลาง มีการประพฤติชอบทางกาย การประพฤติชอบทางวาจา และการประพฤติชอบทางใจ 3) ระดับสูง คือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ 3. แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีหลักธรรมที่แยกแยะความดี-ความชั่วได้ชัดเจน สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยค้นพบคือวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความเร้าร้อนในระดับพฤติกรรม ความรู้สึก และแนวความคิด หากนำวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำย่อมสามารถแก้ปัญหาความเดือนร้อนวุ่นวายใจและความไม่สงบในสังคมได้ และพบว่า บุคคลควรมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่ดี ครั้นมีเป้าหมายดีแล้วย่อมประครองชีวิตให้ดำเนินไปสู่วิถีอันสิ่งดีงาม ผลดีก็ย่อมบังเกิด ความเป็นอยู่ปัจจุบันก็ไม่เดือดร้อนใจ และเมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในสุคติภพ หรือไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏคือบรรลุพระนิพพานในที่สุด
The objectives of this thesis are: 1) to study the Dhammapada and its commentaries, 2) to study ethics in the Dhammapada and its commentaries, and 3) to analyze ethics in the Dhammapada and its commentaries. This qualitative work was developed by conducting the data from the Dhammapada, commentaries, textbooks, and related documents. Research results were found that : 1. The Dhammapada and its commentaries are the Buddha’s collection of teachings with concise contents and stories alongside explanation. The Buddha showed how to learn about life and guided how Buddhist should behave for everyone to comprehend and reach the core of his Dhamma by contemplating individual characteristic. His teachings are for the peaceful bliss of those who practice as well as the others. 2. Ethics in the Dhammapada and its commentaries comprise of 3 levels of concept; 1) the basic level which are the 5 Precepts and the 5 Virtues; 2) the intermediate level which are proper deeds in terms of physical behavior, speech, and thinking; and 3) the advanced level which are right views, right intention, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right concentration. 3. Once analyzed, it was found that there are moral principles categorizing goodness and badness. A significant discovery was the solutions for vehemence of behavior, feelings, and thinking. If one follows the Buddha’s teachings, one will be able to solve mental unrest and chaotic society. Also, one should live a virtuous life. Good things will follow, and livelihood will not be in distress. After death, one will be reborn in the realms of happiness or attain Nibbana in the end.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสารัตถะของธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี 2) เพื่อศึกษาสารัตถะธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี และ 3) เพื่อศึกษาคุณค่าของหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ หลักวรรณะ 4 หลักกรรม หลักความตาย หลักการเวียนว่ายตายเกิด หลักความรัก และคุณค่าของหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. ธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี กล่าวถึงเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ในสมัยพุทธกาล อันมีการดำเนินเรื่องราวผ่านตัวละครเอกคือ พระเรวัตตะและลีลาวดี ผูกเรื่องราวจากความรักและอุปสรรคจากความแตกต่างของชนชั้นวรรณะ เป็นนวนิยายที่สอดแทรกหลักธรรมคำสอนผ่านตัวละคร ด้วยการบรรยายเชิงพรรณา เทศนาและอุปมาโวหาร สะท้อนถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและนิพพาน 2. หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนของมนุษย์ต่อสังคม เช่น ความรักความเมตตา ความกตัญญูความเสียสละ กัลยาณมิตร และหลักพุทธธรรม เช่น ขันธ์ 5 สติปัฏฐาน 4 ไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท 3. คุณค่าของหลักพุทธธรรมที่ปรากฏ เป็นการให้ความรู้ทั้งต่อผู้อ่านเองและการปฏิบัติต่อผู้อื่น ในเชิงอุปมาเปรียบเทียบสะท้อนถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดและหลักกรรม ที่ให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินในรสวรรณกรรมและหลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิต
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสารัตถะของธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี 2) เพื่อศึกษาสารัตถะธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี และ 3) เพื่อศึกษาคุณค่าของหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ หลักวรรณะ 4 หลักกรรม หลักความตาย หลักการเวียนว่ายตายเกิด หลักความรัก และคุณค่าของหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. ธรรมนิยายเรื่องลีลาวดี กล่าวถึงเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ในสมัยพุทธกาล อันมีการดำเนินเรื่องราวผ่านตัวละครเอกคือ พระเรวัตตะและลีลาวดี ผูกเรื่องราวจากความรักและอุปสรรคจากความแตกต่างของชนชั้นวรรณะ เป็นนวนิยายที่สอดแทรกหลักธรรมคำสอนผ่านตัวละคร ด้วยการบรรยายเชิงพรรณา เทศนาและอุปมาโวหาร สะท้อนถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและนิพพาน 2. หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในธรรมนิยายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนของมนุษย์ต่อสังคม เช่น ความรักความเมตตา ความกตัญญูความเสียสละ กัลยาณมิตร และหลักพุทธธรรม เช่น ขันธ์ 5 สติปัฏฐาน 4 ไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท 3. คุณค่าของหลักพุทธธรรมที่ปรากฏ เป็นการให้ความรู้ทั้งต่อผู้อ่านเองและการปฏิบัติต่อผู้อื่น ในเชิงอุปมาเปรียบเทียบสะท้อนถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดและหลักกรรม ที่ให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินในรสวรรณกรรมและหลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิต
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study the essences of Leelawadee Buddhist novel, 2) to study the doctrinal essences that appeared in Leelawadee Buddhist novel, and 3) to study the values of the Buddhist principles that appeared in Leelawadee Buddhist novel. It was a document research by studying relevant documents and researches. The scopes of content were on the principles of 4 castes, action, circulation of life, love and the values of the Buddhist principles that appeared in Leelawadee Buddhist novel. The data analysis was carried out in descriptive manner. The results of research were found that: 1. Leelawadee Buddhist novel described the historical story in the Buddha’s time through the main characters named Phrarewatta and Leelawadee. It tied the story from love and obstacles from caste differences. The novel incorporated doctrines and teachings through the characters with descriptive instruction and parables reflecting Buddhist principles and Nibbana. 2. The Buddhist principles that appeared in Buddhist novel related to human behaviors towards society such as love and compassion, gratitude, sacrifice, friendship and Buddhist principle such as 5 aggregates, 4 foundations of mindfulness, 3 characteristics and dependent origination. 3. The values of Buddhist principles that appeared were to educate both the readers themselves and the treatment of others. In metaphorical comparison, it reflected beliefs about circulation of life and action that allowed readers to enjoy the taste of literature and Buddhist principles in their lives.