Search results

74 results in 0.13s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 56 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายงานบริหาร ครูผู้สอน รวมทั้งหมด 280 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา และ การบริหารจัดการ ของสถานศึกษา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า : 1. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 10 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักภาระรับผิดชอบ ด้านหลักความเสมอภาค ด้านหลักประสิทธิผล ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านมุ่งเน้นฉันทามติ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักประสิทธิภาพ และด้านหลักการตอบสนอง ตามลำดับ 2. การบริหารจัดการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล ตามลำดับ 3. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านนิติธรรม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ได้ร้อยละ 64.00 (R2 = 0.640) สามารถเขียนเป็นรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ = 1.262+ 0.217 (ด้านหลักความโปร่งใส) + 0.258 (ด้านหลักการมีส่วนร่วม) + 0.254 (ด้านหลักนิติธรรม) สมการคะแนนมาตรฐาน = 0.257 (ด้านหลักความโปร่งใส) + 0.307 (ด้านหลักการมีส่วนร่วม) + 0.293 (ด้านหลักนิติธรรม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 56 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายงานบริหาร ครูผู้สอน รวมทั้งหมด 280 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา และ การบริหารจัดการ ของสถานศึกษา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า : 1. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 10 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักภาระรับผิดชอบ ด้านหลักความเสมอภาค ด้านหลักประสิทธิผล ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านมุ่งเน้นฉันทามติ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักประสิทธิภาพ และด้านหลักการตอบสนอง ตามลำดับ 2. การบริหารจัดการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล ตามลำดับ 3. หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านนิติธรรม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ได้ร้อยละ 64.00 (R2 = 0.640) สามารถเขียนเป็นรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ = 1.262+ 0.217 (ด้านหลักความโปร่งใส) + 0.258 (ด้านหลักการมีส่วนร่วม) + 0.254 (ด้านหลักนิติธรรม) สมการคะแนนมาตรฐาน = 0.257 (ด้านหลักความโปร่งใส) + 0.307 (ด้านหลักการมีส่วนร่วม) + 0.293 (ด้านหลักนิติธรรม
The objectives of this research were: 1) to study good governance of administrators under Office of Secondary Educational Service Area 1, 2) to study school administration under Office of Secondary Educational Service Area 1, and 3) to study the good governance of administrators affecting school administration under Office of Secondary Educational Service Area 1. The data were collected by questionnaires from 280 samples in 56 schools consisting of school directors, heads of departments, and teachers. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple linear regressions in steps. The results of the study were found that: 1. The level of good governance of school administrators under Office of Secondary Educational Service Area 1 was high overall. In each aspect, the highest level started at rule of law, followed by cooperation, responsibility, equality, efficiency, decentralization, agreement, transparency, effectiveness, and responsiveness respectively. 2. The administration of schools under Office of Secondary Educational Service Area 1 was at a high level totally. In details, the highest mean was on general administration, followed by academic administration, budget administration, and personnel administration respectively. 3. The good governance of school administrators affected the administration of schools under Office of Secondary Educational Service Area 1 with a significantly statistical level at 0.01 starting from transparency, responsibility , and rule of law with coefficient or prediction power at 64.00% (R2 = 0.640) and it could be written in predictive patterns as follows; Raw score equation = 1.262+ 0.217(transparency) + 0.258 (responsibility) + 0.254 (rule of law) Standard score equation = 0.257 (transparency) + 0.307 (responsibility) + 0.293 (rule of law
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสถาพการบริหารวัดของพระสังฆาธิการในเขต ทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาการบริหารวัดของพระสังฆาธิการตามหลักธรรมาภิบาลในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๓) เพื่อศึกษาทั้งเสนอแนวทางการบริหารวัดของพระสังฆาธิการตามหลักธรรมาภิบาลในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๐ รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑. พระสังฆาธิการมีความเข้าใจในหลักการบริหาร (การปกครอง) คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นต่อการบริหาร (การปกครอง) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การบริหารทรัพยากรบุคคล (พระสงฆ์) รองลงมา ได้แก่ การบริหารการเงินและทรัพย์สินของวัดอย่างโปร่งใส ๒. ผลการศึกษาการบริหารวัดของพระสังฆาธิการตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า พระสังฆาธิการในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีประสบการณ์บริหารวัดโดยหลักธรรมาภิบาล โดยรวมทั้ง ๖ ด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ ๓. จากข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีข้อเสนอแนะที่เป็นเชิงนโยบาย ที่สำคัญดังนี้ ๓.๑ ข้อเสนอแนะด้านบุคคล คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนามีนโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างครอบครัว เป็นนโยบายที่ดี แต่มีจุดที่ควรเสนอแนะ ว่า การปกครองนั้นบุคลากรในองค์กรมีทั้งคนที่เชื่อฟังและคนเชื่อฟัง บางคนเป็นคนดื้อเงียบ ดังนั้นคณะสงฆ์เขตทวีวัฒนาควรมีนโยบายกำกับอีกชั้นหนึ่ง คือนโยบายการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของการเป็นคณะสงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์รุ่นใหม่ ๆ ได้เข้าใจสภาพของตนมากยิ่งขึ้น พระสงฆ์บางรูปบวชน้อยยังติดนิสัยฆราวาสอยู่ก็ต้องทำความเข้าใจว่าการบวชคืออะไร มีความสำคัญเพียงใด เป็นต้น ๓.๒ ข้อเสนอแนะด้านการเงิน คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนา มีนโยบายในการบริหารจัดการ ด้านหลักความรับผิดชอบ และหลักความโปร่งใส เพราะพระสงฆ์ต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและการที่พระสงฆ์เป็นระดับพระสังฆาธิการต้อรอบคอบเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของวัด ต้องจัดทำบัญชีวัดรู้จักการบริหารเงิน ว่าเงินประเภทไหนใช้อย่างไร และต้องมีหลักฐานการใช้จ่ายอย่างชัดเจน ๓.๓ ข้อเสนอแนะด้านวัสดุ ทรัพย์สินของวัด คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนามีการบริหารจัดการสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ อย่างถูกต้อง มีการจัดทำบัญชีทรัพย์สิน เอกสารสิทธิ์ที่ดินมีการเก็บรักษาตามระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และทรัพย์สินภายในวัดมีการทำบัญชีอย่างชัดเจน ๓.๔ ข้อเสนอแนะด้านการจัดการองค์กร คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนา มีการบริหารจัดการ ด้านองค์กรในภาพรวม คือมีสายการบังคับบัญชาตามแนวดิ่ง ผู้บังคับบัญชาสั่งการตามสายงานการปกครอง มีการแต่งตั้งพระภายในวัดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานที่ถนัด มีการแต่งตั้งพระเลขานุการทำหน้าที่ช่วยสนองงานเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้อีกระดับหนึ่ง หลังจากที่ได้ดำเนินการทำวิจัยเรื่องการบริหารวัดของพระสังฆาธิการตามหลักธรรมาภิบาล ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการดำเนินการวิจัยหลังจากนี้ คือ - มีการปฏิบัติตามนโยบายของเจ้าคณะเขตทวีวัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสถาพการบริหารวัดของพระสังฆาธิการในเขต ทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาการบริหารวัดของพระสังฆาธิการตามหลักธรรมาภิบาลในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๓) เพื่อศึกษาทั้งเสนอแนวทางการบริหารวัดของพระสังฆาธิการตามหลักธรรมาภิบาลในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๐ รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑. พระสังฆาธิการมีความเข้าใจในหลักการบริหาร (การปกครอง) คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นต่อการบริหาร (การปกครอง) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การบริหารทรัพยากรบุคคล (พระสงฆ์) รองลงมา ได้แก่ การบริหารการเงินและทรัพย์สินของวัดอย่างโปร่งใส ๒. ผลการศึกษาการบริหารวัดของพระสังฆาธิการตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า พระสังฆาธิการในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีประสบการณ์บริหารวัดโดยหลักธรรมาภิบาล โดยรวมทั้ง ๖ ด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ ๓. จากข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีข้อเสนอแนะที่เป็นเชิงนโยบาย ที่สำคัญดังนี้ ๓.๑ ข้อเสนอแนะด้านบุคคล คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนามีนโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างครอบครัว เป็นนโยบายที่ดี แต่มีจุดที่ควรเสนอแนะ ว่า การปกครองนั้นบุคลากรในองค์กรมีทั้งคนที่เชื่อฟังและคนเชื่อฟัง บางคนเป็นคนดื้อเงียบ ดังนั้นคณะสงฆ์เขตทวีวัฒนาควรมีนโยบายกำกับอีกชั้นหนึ่ง คือนโยบายการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของการเป็นคณะสงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์รุ่นใหม่ ๆ ได้เข้าใจสภาพของตนมากยิ่งขึ้น พระสงฆ์บางรูปบวชน้อยยังติดนิสัยฆราวาสอยู่ก็ต้องทำความเข้าใจว่าการบวชคืออะไร มีความสำคัญเพียงใด เป็นต้น ๓.๒ ข้อเสนอแนะด้านการเงิน คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนา มีนโยบายในการบริหารจัดการ ด้านหลักความรับผิดชอบ และหลักความโปร่งใส เพราะพระสงฆ์ต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและการที่พระสงฆ์เป็นระดับพระสังฆาธิการต้อรอบคอบเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของวัด ต้องจัดทำบัญชีวัดรู้จักการบริหารเงิน ว่าเงินประเภทไหนใช้อย่างไร และต้องมีหลักฐานการใช้จ่ายอย่างชัดเจน ๓.๓ ข้อเสนอแนะด้านวัสดุ ทรัพย์สินของวัด คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนามีการบริหารจัดการสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ อย่างถูกต้อง มีการจัดทำบัญชีทรัพย์สิน เอกสารสิทธิ์ที่ดินมีการเก็บรักษาตามระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และทรัพย์สินภายในวัดมีการทำบัญชีอย่างชัดเจน ๓.๔ ข้อเสนอแนะด้านการจัดการองค์กร คณะสงฆ์เขตทวีวัฒนา มีการบริหารจัดการ ด้านองค์กรในภาพรวม คือมีสายการบังคับบัญชาตามแนวดิ่ง ผู้บังคับบัญชาสั่งการตามสายงานการปกครอง มีการแต่งตั้งพระภายในวัดให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานที่ถนัด มีการแต่งตั้งพระเลขานุการทำหน้าที่ช่วยสนองงานเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้อีกระดับหนึ่ง หลังจากที่ได้ดำเนินการทำวิจัยเรื่องการบริหารวัดของพระสังฆาธิการตามหลักธรรมาภิบาล ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการดำเนินการวิจัยหลังจากนี้ คือ - มีการปฏิบัติตามนโยบายของเจ้าคณะเขตทวีวัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยน
แปลงเจ้าคณะเขตหรือไม่ก็ตาม คณะสงฆ์ควรยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการในด้านการปกครองไว้อย่างมาตรฐาน - ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้คณะสงฆ์เขตอื่น ๆ ได้เข้ามาศึกษาการทำงานของคณะสงฆ์ เขตทวีวัฒนา เพื่อให้รู้ถึง นโยบาย แนวคิด การบริหารจัดการ การปกครองที่ยึดหลักธรรมาภิบาล มาปรับปรุงใช้กับคณะสงฆ์เขตอื่น ๆ ได้ - ควรมีการศึกษาความคิดเห็นของพระสงฆ์และประชาชนว่ามีความคิดเห็นด้านใดบ้างกับคณะสงฆ์และควรมีการปรับปรุงในด้านใดบ้าง เพื่อเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องบางประการหรือแนวคิดที่ควรมีการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมอย่างไร - ควรมีการนำนโยบายต่าง ๆ รวบรวมเป็นหนังสือ คู่มือการปฏิบัติงานของคณะสงฆ์เขต ทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาในด้านการวิจัยครั้งต่อไป เป็นข้อมูลชั้นปฐมภูมิและข้อมูลที่มีประโยชน์แก่ผู้ศึกษาต่อไปได้ - ควรมีการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อนำมาปรับใช้กับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ โดยการตั้งคณะทำงานด้านเวปไซค์ หรือด้านไอที เพื่อเป็นการทันสมัยอยู่เสมอ
This thesis has the following objectives: 1) to study the state of temple administration of administrative monks in Thawi Watthana District of Bangkok, 2) to study the temple administration of administrative monks in Thawi Watthana District of Bangkok according to good governance principles, and in 3) to propose guidelines for temple administration monks of administrative monks in Thawi Watthana District of Bangkok according to good governance principles. The data of this qualitative research were collected by in-depth interview with 10 key informants and then analyzed by content analysis. The research results were found that: 1. The administrative monks in Thawi Watthana District of Bangkok understand the principles of administration at a high level overall. The highest level is on human resource management, followed by temple financial management and property management. 2. The administrative monks in Thawi Watthana District of Bangkok have experiences in temple administration based on good governance in 6 aspects indifferently as the hypothesis set in the study. 3. The suggestions obtained from the study were as follows: 3.1 In personnel administration, the administrative monks should adjust the administration system to the new generation monks in order to make them understand their status in Buddhism. 3.2 In financial administration, the temple account income should be arranged systematically to comply with the monastic discipline and Sangha regulations. 3.3 In temple material, equipment and property, the temple chattel and real estate should be listed systematically according to the regulations of Office of National Buddhism. 3.4 In organizational administration, since the Sangha administration has a vertical command, the administration should be classified and assigned to the abbot, abbot assistant, and secretary respectively. After conducting the research on the management of temples, the things that should be carried on are as follows: - To follow the principles of good governance in the Sangha administration although there is a reshuffle of the administrative monks. - There should be public relations for administrative monks in other district clergic areas to come and study the work of Sangha in Thawi Watthana district. - There should be a study of the opinions of monks and people in the area for improvement of the Sangha administration. - The work and policy of Sangha administration should be compiled and printed as a manual of Sangha administration in Thawi Watthana district. - The modern information technology should be used in Sangha administration in the area.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมา ภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารกิจ การคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ มีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 236 รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปร ปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ ด้านการเผยแผ่ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการสาธารณสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศาสนศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล และด้านการสาธารณูปการตามหลักธรรมาภิบาล ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระภิกษุที่มี พรรษา และวุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุที่มีระดับ อายุ และวุฒิการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เห็นว่า งานด้านการปกครองตามหลักธรรมาภิบาลเป็นงานที่ต้องใช้การควบคุม สอดส่องดูแล พระภิกษุ สามเณร รวมถึงศิษย์วัดให้ปฏิบัติตามกรอบพระธรรมวินัย กฏระเบียบมหาเถรสมาคม ส่วนด้านการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ภาพรวมส่วนใหญ่พระสังฆาธิการมีการส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม บาลี แผนกสามัญตามระเบียบของมหาเถรสมาคม ส่วนด้านศึกษาสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะการให้การสงเคราะห์ด้านการฝึกอบรมแก่พระภิกษุ สามเณร และการสงเคราะห์เยาวชนให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียนในลักษณะของการแจกทุนการศึกษาด้านการเผยแผ่ตามหลักธรรมาภิบาล เป็นการทำงานของคณะสงฆ์โดยรวม ที่เป็นไปเพื่อการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนทั้งในวัด นอกวัด ชื่อว่า เป็นภารกิจด้านการเผยแผ่ทั้งสิ้น ส่วนด้านสาธารณูปการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นการทำงานลักษณะการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทั้งการพัฒนาวัดในด้านวัตถุทุกอย่าง และการบำรุงดูแลรักษาถาวรวัตถุ หรือสาธารณสมบัติของวัด และด้านสาธารณสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล กิจการคณะสงฆ์ด้านนี้ เป็นภารกิจที่วัด หรือพระภิกษุ ดำเนินการช่วยเหลือสังคม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมา ภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารกิจ การคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ มีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 236 รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปร ปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ ด้านการเผยแผ่ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการสาธารณสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศาสนศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล และด้านการสาธารณูปการตามหลักธรรมาภิบาล ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระภิกษุที่มี พรรษา และวุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุที่มีระดับ อายุ และวุฒิการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในเขตอําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เห็นว่า งานด้านการปกครองตามหลักธรรมาภิบาลเป็นงานที่ต้องใช้การควบคุม สอดส่องดูแล พระภิกษุ สามเณร รวมถึงศิษย์วัดให้ปฏิบัติตามกรอบพระธรรมวินัย กฏระเบียบมหาเถรสมาคม ส่วนด้านการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ภาพรวมส่วนใหญ่พระสังฆาธิการมีการส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม บาลี แผนกสามัญตามระเบียบของมหาเถรสมาคม ส่วนด้านศึกษาสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะการให้การสงเคราะห์ด้านการฝึกอบรมแก่พระภิกษุ สามเณร และการสงเคราะห์เยาวชนให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียนในลักษณะของการแจกทุนการศึกษาด้านการเผยแผ่ตามหลักธรรมาภิบาล เป็นการทำงานของคณะสงฆ์โดยรวม ที่เป็นไปเพื่อการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนทั้งในวัด นอกวัด ชื่อว่า เป็นภารกิจด้านการเผยแผ่ทั้งสิ้น ส่วนด้านสาธารณูปการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นการทำงานลักษณะการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทั้งการพัฒนาวัดในด้านวัตถุทุกอย่าง และการบำรุงดูแลรักษาถาวรวัตถุ หรือสาธารณสมบัติของวัด และด้านสาธารณสงเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาล กิจการคณะสงฆ์ด้านนี้ เป็นภารกิจที่วัด หรือพระภิกษุ ดำเนินการช่วยเหลือสังคม
และผู้ประสบภัยพิบัติในลักษณะต่าง ๆ ดังนั้นกิจการคณะสงฆ์ทุกด้านต้องใช้คุณธรรมนำการบริหารให้คำปรึกษากับคณะสงฆ์เมื่อเกิดปัญหา จัดประชุมเปิดโอกาสให้พระสังฆาธิการมีส่วนร่วม แต่การทำงานก็ต้องนำหลักของกฎหมาย หลักความโปร่งใส คุ้มค่าตรวจสอบได้
The objectives of the thesis are: 1) to study Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province, 2) to compare Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province based on their different ages, years in monkhood, and educational backgrounds, and 3) to study guidelines of Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province. The data were collected from 236 monks in Nakhon Chaisi district through questionnaires and analyzed by frequency, percentile, mean, standard deviation, t-test, F-test or One-way ANOVA and Least Significant Difference test. (LSD.) The results of research were found that: 1) The opinion of monks on Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province was at a high level overall. The highest level was on Buddhist propagation according to Good Governance, followed by Public Welfare according to Good Governance, Religious study according to Good Governance, Government according to Good Governance, Educational welfare according to Good Governance, and Public Assistance according to Good Governance respectively. 2) The monks with different years in monkhood and Dhamma educational levels had different opinion levels towards Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province with a statistically significant figure at 0.05, but those with different ages and general education levels showed no different opinion level on Sangha’s affairs administration in accordance with good governance of administrative monks in Nakhon Chaisi district of Nakhon Pathom province. 3) Recommendations and suggestions: On the government according to Good Governance, the duty is to administrate, monitor, and take care of monks and novices under the Dhammavinaya and regulations of the Sangha Council. On the education according to Good Governance, the administrative monks support and promote the study of Dhamma, Palia and general education. On Education Welfare according to Good Governance, the administrative monks provide trainings and funds in study for monks, novices and children. On Propagation according to Good Governance, the temple internal and external teachings and trainings of administrative monks are all included in religious propagation. On Public Assistance according to Good Governance, the work and duty cover the development, renovation, restoration and preservation of the temple buildings, properties and objects. And on Public Welfare according to Good Governance, it is the burden of monks and temples to provide assistances to society and victims of disaster. The Sangha’s affairs should be administrated based on virtue, cooperation, laws and regulations that can lead to transparency, worthiness, and accountability.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ในครรภ์ 9 เดือน 3) เพื่อวิเคราะห์พัฒ นาการการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ในครรภ์ 9 เดือน เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อมูลสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า: การกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วย 1) มารดามีระดู 2) มารดา บิดา อยู่ร่วมกัน 3) มีสัตว์มาเกิด ลักษณะสัมพันธ์ของการเกิดขึ้นซึ่งชีวิตมนุษย์นั้น เกิดจากองค์ประกอบ 3 ส่วน ที่ประกอบกันเข้าอย่างเหมาะสม ไม่ขาดไม่เกิน ไม่อาจขาดส่วนใดส่วนหนึ่งได้ มนุษย์มิใช่สิ่งสร้างของพรหมและไม่มีส่วนใดคงที่ มนุษย์เกิดจากองค์ประกอบทางกายหรือรูป (รูปประกอบขึ้นจากธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ) และนาม คือ จิต (เวทนา สัญญา สังขาร จิต วิญญาณ) ทั้งหมดรวมกันเรียกว่า มหาภูตรูป 4 และขันธ์ 5 เกิดจากกิเลส กรรม วิปาก เกิดในภูมิ 3 ตามหลักปฏิจจสมุปบาทภายใต้กฎของไตรลักษณ์ในวัฏฏะสงสาร พัฒนาการการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ในครรภ์ 9 เดือน คือมีการเจริญเติบโตไปตามขั้นตอน ที่สรุปได้ ดังนี้ เดือนที่ 1 สัปดาห์ที่ 1 – 4 ดังนี้ 7 วัน เป็นกลละ มีลักษณะใสดุจน้ำมันเนยดั่งหยดน้ำมันงา 14 วัน เป็นอัพพุทะ มีลักษณะขนขึ้น ดุจน้ำล้างเนื้อ 21 วัน เป็นเปสิ มีลักษณะเป็นชิ้นเนื้อ 28 วัน เป็นฆนะ มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ มีสัณฐานดังไข่ไก่ เดือนที่ 2 สัปดาห์ที่ 5 – 8 ดังนี้ 35 วัน เป็นปสาขะ มีลักษณะแตกออกเป็น 5 ปุ่ม คือ ศีรษะ 1 แขน 2 ขา 2 42 วัน เป็นปริปากะ เป็นปัญจสาขาที่แก่ตัว คือเจริญเต็มที่ 49 วัน เกิดจักขุประสาท มีการเจริญของประสาทตา 56 วัน เกิดโสตประสาท มีการเจริญของประสาทหู เดือนที่ 3 สัปดาห์ที่ 9 – 12 สัปดาห์ที่ 9 เกิดชิวหาประสาท มีการเจริญเติบโตของประสาทลิ้น เดือนที่ 4 – 9 จากเดือนที่ 4 – เดือนที่ 9 นี้อวัยวะต่าง ๆ พัฒนาครบ 32 ประการแล้ว ต่อจากนี้ก็เป็นพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตของสัตว์ในครรภ์มารดาด้วยข้าวน้ำ อาหาร อากาศ ในส่วนกายประสาทนั้นมีมาแล้วตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 คือปฏิสนธิจิตนับตั้งแต่อุปาทะขณะของปฏิสนธิจิตที่เรียกว่าปฏิสนธิกาล รวม 5 สัปดาห์ เป็น 35 วัน และพัฒนาจนครบถึง 9 เดือน พัฒนาการการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ในครรภ์ 9 เดือน การปฏิสนธิในครรภ์มารดา เป็นวิวัฒนาการของสัตว์ผู้มีกรรมกำหนดให้มาเกิดในครรภ์ รูปมีอาการ 32 ประการ มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าว น้ำ อย่างไร สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็เลี้ยงอัตภาพอยู่ด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์ กรรมเป็นตัวกำหนด ซึ่งทำกรรมเช่นไรก็ย่อมได้รับผลกรรมเช่นนั้น มนุษย์ได้รูปด้วยการกำหนดของกรรม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ในครรภ์ 9 เดือน 3) เพื่อวิเคราะห์พัฒ นาการการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ในครรภ์ 9 เดือน เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อมูลสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า: การกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วย 1) มารดามีระดู 2) มารดา บิดา อยู่ร่วมกัน 3) มีสัตว์มาเกิด ลักษณะสัมพันธ์ของการเกิดขึ้นซึ่งชีวิตมนุษย์นั้น เกิดจากองค์ประกอบ 3 ส่วน ที่ประกอบกันเข้าอย่างเหมาะสม ไม่ขาดไม่เกิน ไม่อาจขาดส่วนใดส่วนหนึ่งได้ มนุษย์มิใช่สิ่งสร้างของพรหมและไม่มีส่วนใดคงที่ มนุษย์เกิดจากองค์ประกอบทางกายหรือรูป (รูปประกอบขึ้นจากธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ) และนาม คือ จิต (เวทนา สัญญา สังขาร จิต วิญญาณ) ทั้งหมดรวมกันเรียกว่า มหาภูตรูป 4 และขันธ์ 5 เกิดจากกิเลส กรรม วิปาก เกิดในภูมิ 3 ตามหลักปฏิจจสมุปบาทภายใต้กฎของไตรลักษณ์ในวัฏฏะสงสาร พัฒนาการการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ในครรภ์ 9 เดือน คือมีการเจริญเติบโตไปตามขั้นตอน ที่สรุปได้ ดังนี้ เดือนที่ 1 สัปดาห์ที่ 1 – 4 ดังนี้ 7 วัน เป็นกลละ มีลักษณะใสดุจน้ำมันเนยดั่งหยดน้ำมันงา 14 วัน เป็นอัพพุทะ มีลักษณะขนขึ้น ดุจน้ำล้างเนื้อ 21 วัน เป็นเปสิ มีลักษณะเป็นชิ้นเนื้อ 28 วัน เป็นฆนะ มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ มีสัณฐานดังไข่ไก่ เดือนที่ 2 สัปดาห์ที่ 5 – 8 ดังนี้ 35 วัน เป็นปสาขะ มีลักษณะแตกออกเป็น 5 ปุ่ม คือ ศีรษะ 1 แขน 2 ขา 2 42 วัน เป็นปริปากะ เป็นปัญจสาขาที่แก่ตัว คือเจริญเต็มที่ 49 วัน เกิดจักขุประสาท มีการเจริญของประสาทตา 56 วัน เกิดโสตประสาท มีการเจริญของประสาทหู เดือนที่ 3 สัปดาห์ที่ 9 – 12 สัปดาห์ที่ 9 เกิดชิวหาประสาท มีการเจริญเติบโตของประสาทลิ้น เดือนที่ 4 – 9 จากเดือนที่ 4 – เดือนที่ 9 นี้อวัยวะต่าง ๆ พัฒนาครบ 32 ประการแล้ว ต่อจากนี้ก็เป็นพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตของสัตว์ในครรภ์มารดาด้วยข้าวน้ำ อาหาร อากาศ ในส่วนกายประสาทนั้นมีมาแล้วตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 คือปฏิสนธิจิตนับตั้งแต่อุปาทะขณะของปฏิสนธิจิตที่เรียกว่าปฏิสนธิกาล รวม 5 สัปดาห์ เป็น 35 วัน และพัฒนาจนครบถึง 9 เดือน พัฒนาการการกำเนิดมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ในครรภ์ 9 เดือน การปฏิสนธิในครรภ์มารดา เป็นวิวัฒนาการของสัตว์ผู้มีกรรมกำหนดให้มาเกิดในครรภ์ รูปมีอาการ 32 ประการ มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าว น้ำ อย่างไร สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็เลี้ยงอัตภาพอยู่ด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์ กรรมเป็นตัวกำหนด ซึ่งทำกรรมเช่นไรก็ย่อมได้รับผลกรรมเช่นนั้น มนุษย์ได้รูปด้วยการกำหนดของกรรม
The objectives of this thesis are as follows : 1) To study the human origin in Theravada Buddhism 2) To study the development of human origin in Theravada Buddhism: in the 9 months womb 3) To analyze development Human birth in Theravada Buddhism: In the 9 months womb. The researcher collected and studied from Tripitaka, commentary, textbooks and related researches, and analyzed the contents by the Inductive form. The results were as follows: The origin of human beings in Theravada Buddhism consists of 1) Mothers with menstruation. 2) Mothers of fathers have sex. 3) Fertilized in the womb. The relationship between the occurrence of human life caused by 3 elements that fit together not lacking no more can not lack any part humans are not the creation of Brahma and there is no fixed part. Humans are caused by physical or physical elements. (The state consists of elements from earth elements, water elements, wind elements, fire elements) and conditions. The names are mental (compassion, promise, spirituality). Element 4 Khan 5 was born from the passion of karma. Born in landscape 3 according to the principle of the monarchy under the law of the trinity. The development of human origin in Theravada Buddhism: In the 9-month womb is growing according to the steps summarized as follows. 1st month, week 1 - 4 as follows. 7 days, with a clear look like butter oil as sesame oil drops. 14 days as a push-up, with a hairy appearance Like washing water 21 days is a piece of meat. 28 days as a lump of flesh with the appearance of eggs. Month 2, week 5 - 8 as follows. 35 days, is a pagoda with a split style into 5 buttons, one head, two arms, and two legs. In 42 days, as Paripaka is an old age is fully grown, 49 birthday optic nerve with the growth of the optic nerve and 56 birthdays with the growth of the auditory nerve. Month 3, week 9 - 12, week 9, causing a nervous breakdown with the growth of the tongue nerves. Month 4 - 9 from this 4th - 9th month. Various organs have been developed for 32 years. After this, the development of the animals in the mother's womb is developed with rice, water, food, air. In the neuroscience that has been there since the 5th week. Mental fertilization from the moment of spiritual fertilization, called the 5-week conception to 35 days, and until 9 months. The development of human origin in Theravada Buddhism: In the 9-month womb, fertilization in the mother's womb is the evolution of the karma of animals that have been born in the womb. There are 32 symptoms. The mother of the fetus consumes rice, water, how animals are in the womb. Was fed with food like that in the womb Karma determines which has done such deeds, it would have received such karma human beings can form with karma.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกพระภิกษุ10 รูป สามเณร 10 รูป รวม 20 รูป ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย สามเณรคือเหล่ากอแห่งสมณะ ในยุคพุทธกาลสามเณรมีบทบาทช่วยรักษาพระศาสนา สืบต่อและเผยแผ่พระธรรมวินัย ปัจจุบันสามเณรมีบทบาทช่วยและปฏิบัติตามสิกขาบท 10 ข้อ พร้อมเสขิยวัตร ธรรมเนียม และกฏหมาย ศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา รวมถึงระดับปริญญา รักษา ปกป้อง เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนในจังหวัดเลยตัดสินใจเข้ามาบรรพชา คือ แรงผลักดันจากผู้ปกครอง การเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การบวชตามประเพณีการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ความยากจน การปลอดภัยจากพิษภัยของยาเสพติด ปัญหาพ่อแม่หย่าร้าง การขาดโอกาสทางการศึกษา การช่วยขัดเกลาพฤติกรรม และบวชตอบแทนพระคุณพ่อแม่ บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย คือ การศึกษาเล่าเรียนการสนองงานครูอาจารย์และคณะสงฆ์ผู้ช่วยพระภิกษุ ทำกิจวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชนการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย พบว่า มีบทบาทโดยภาพรวมแล้ว ได้แก่ 1. เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เมื่อมีความรู้ทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญ รวมถึงระดับปริญญาแล้ว ย่อมจะทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง แม้จะลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ทำการรักษาพระพุทธศาสนาในหน้าที่ของตน 2. เพื่อสังคม เช่น การเผยแผ่พระศาสนา ทำหน้าที่เป็นพระภิกษุสืบไป เป็นต้น 3. เพื่อสถาบันสงฆ์ไทย พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะปกครองทุกระดับชั้นล้วนเคยบรรพชามาตั้งแต่เป็นสามเณร จึงเอื้อต่อสถาบันพระพุทธศาสนาต่อไป
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาบทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกพระภิกษุ10 รูป สามเณร 10 รูป รวม 20 รูป ข้อมูลนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย สามเณรคือเหล่ากอแห่งสมณะ ในยุคพุทธกาลสามเณรมีบทบาทช่วยรักษาพระศาสนา สืบต่อและเผยแผ่พระธรรมวินัย ปัจจุบันสามเณรมีบทบาทช่วยและปฏิบัติตามสิกขาบท 10 ข้อ พร้อมเสขิยวัตร ธรรมเนียม และกฏหมาย ศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา รวมถึงระดับปริญญา รักษา ปกป้อง เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนในจังหวัดเลยตัดสินใจเข้ามาบรรพชา คือ แรงผลักดันจากผู้ปกครอง การเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การบวชตามประเพณีการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ความยากจน การปลอดภัยจากพิษภัยของยาเสพติด ปัญหาพ่อแม่หย่าร้าง การขาดโอกาสทางการศึกษา การช่วยขัดเกลาพฤติกรรม และบวชตอบแทนพระคุณพ่อแม่ บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย คือ การศึกษาเล่าเรียนการสนองงานครูอาจารย์และคณะสงฆ์ผู้ช่วยพระภิกษุ ทำกิจวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชนการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิเคราะห์บทบาทของสามเณรในจังหวัดเลย พบว่า มีบทบาทโดยภาพรวมแล้ว ได้แก่ 1. เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เมื่อมีความรู้ทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญ รวมถึงระดับปริญญาแล้ว ย่อมจะทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง แม้จะลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ทำการรักษาพระพุทธศาสนาในหน้าที่ของตน 2. เพื่อสังคม เช่น การเผยแผ่พระศาสนา ทำหน้าที่เป็นพระภิกษุสืบไป เป็นต้น 3. เพื่อสถาบันสงฆ์ไทย พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะปกครองทุกระดับชั้นล้วนเคยบรรพชามาตั้งแต่เป็นสามเณร จึงเอื้อต่อสถาบันพระพุทธศาสนาต่อไป
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the roles of the novices in the Theravada Buddhism 2) to study the roles of the novices in Loei Province 3) to analyze the roles of the novices in Loei Province. The derived information and data were: Tripitaka commentary, related textbooks, data and in-depth interviews from 10 monks and 10 novices. The total numbers of the interviewees were 20 persons. The derived data was contentedly analyzed and inductive conclusion was structurally formed. The results of research were found that: Novices are clans of the monks. In the Buddhist era, the novices’ roles were to preserve the religion, be successor to religion and propagate the Dharma disciplines. At present, the novices have roles in helping and following the 10 centipede, Se Khiyawat, traditions and laws. They study Pariyati Dharma including Dharma Department, Pali Department and Department of General Education and Bachelor Degree levels. They keep, protect and propagate Buddhism. Factors that the youths in Loei Province decided to ordinate were the motivation from their parents, ordination according to tradition, alleviating the burden of parents, problems of poverty, staying away from drugs, problems of divorced parents, lack of educational opportunities, refining behavior and ordaining to pay grace to parents. The duty of the novices in Loei are: studying, serving their teachers and clergy, being the monks’ assistants, doing the routine, being a good image to the Buddhists, renewing Buddhism and propagating Buddhism. After analyzing the roles of the novice in Loei Province, it was found that when picture their overall roles; their roles are: 1) for the stability of Buddhism, they have knowledge in 3 parts, Dharma, Pali and general education. This also includes the degree’s levels. The knowledge can stable Buddhism. Even when they leave the monkhood and become laymen, they preserve Buddhism in their duty. 2) For social duty such as propagation Buddhism as being monks. 3) For Thai monks Institute, the monks who become primates governing all levels used to be ordained as the novices. Then they contribute to the Buddhist Institute.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นระเบียบดําเนินการเพื่อความสําเร็จไม่ใช่วิธีกอใหเกิดอํานาจพิเศษดลบันดาลให้สำเร็จตามที่หวังเพียงแต่เป็นสื่อก่อให้เกิดผลด้านกาย วาจา จิต ปัญญา และสังคม มีการกระทำแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ช่วยรักษาพระธรรมวินัยอีกแนวทางหนึ่ง การสาธยายธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการท่อง การกล่าวธรรม การสวด การทรงพระธรรมวินัย มีลักษณะการเปล่งเสียงออกมาเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ จิตเป็นสมาธิ เป็นพหูสูต ไม่เป็นมลทิน เป็นบริขารของจิต ยินดีในบุญกุศล เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่มีเวรไม่มีภัย ละความง่วง ผู้ได้ฟังบรรลุธรรมได้ เป็นผู้อยู่ในธรรม ผู้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใส ย่อมได้รับความสรรเสริญ และเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมคณะสงฆ์จะทำพิธีกรรมต้องมีการสาธยายธรรมก่อนทั้งสิ้น พิธีกรรมกับคุณค่าการสาธยายธรรมในงานสวดพระอภิธรรม และการสาธยายธรรมก่อให้เกิดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานอวมงคล เช่น งานศพ การทำวัตรเช้า-เย็นของพุทธบริษัท เป็นต้น ก่อให้เกิดพิธีกรรมทั้งของพระสงฆ์ เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น ส่วนคฤหัสถ์ เช่น สาธยายธรรมข้ามปี เป็นต้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นระเบียบดําเนินการเพื่อความสําเร็จไม่ใช่วิธีกอใหเกิดอํานาจพิเศษดลบันดาลให้สำเร็จตามที่หวังเพียงแต่เป็นสื่อก่อให้เกิดผลด้านกาย วาจา จิต ปัญญา และสังคม มีการกระทำแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ช่วยรักษาพระธรรมวินัยอีกแนวทางหนึ่ง การสาธยายธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการท่อง การกล่าวธรรม การสวด การทรงพระธรรมวินัย มีลักษณะการเปล่งเสียงออกมาเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ จิตเป็นสมาธิ เป็นพหูสูต ไม่เป็นมลทิน เป็นบริขารของจิต ยินดีในบุญกุศล เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่มีเวรไม่มีภัย ละความง่วง ผู้ได้ฟังบรรลุธรรมได้ เป็นผู้อยู่ในธรรม ผู้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใส ย่อมได้รับความสรรเสริญ และเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมคณะสงฆ์จะทำพิธีกรรมต้องมีการสาธยายธรรมก่อนทั้งสิ้น พิธีกรรมกับคุณค่าการสาธยายธรรมในงานสวดพระอภิธรรม และการสาธยายธรรมก่อให้เกิดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานอวมงคล เช่น งานศพ การทำวัตรเช้า-เย็นของพุทธบริษัท เป็นต้น ก่อให้เกิดพิธีกรรมทั้งของพระสงฆ์ เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น ส่วนคฤหัสถ์ เช่น สาธยายธรรมข้ามปี เป็นต้น
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the rituals in Theravada Buddhism 2) to study the Chanting in Theravada Buddhism and 3) to analyze the rituals and the Dharma Chanting in Theravada Buddhism. The used documents are Tripitaka, commentary, textbooks and related researches. This study is a Qualitative research. The derived document and information were analyzed of the contents and the Inductive conclusion forms. The results of research were found that: Rituals in Theravada Buddhism are orderly proceeded in order to achieve certain goals which are not the creation of special power inspiring any successes. They are used as a media to fulfill the better of body, speech, mind, wisdom and society. The actions are for individual or in groups. This is another way to maintain the Dharma discipline. The chanting has begun from the age of the Buddhist era. It is a chanting, telling the Dharma, praying, and reserving of Buddhist discipline. It is an utterance for the benefits of oneself and the public. It is useful for the commitment to the Buddha. It is used as a tool to reach a liberation, meditated mind, be a scholar and have clean mind. It is for non-persecution, no harm, lethargy and attaining the Dharma. The one who listens Dharma will become faithful, receive praise, protection, self-keeping, Protection and live pleasantly. Rituals and Dharma chanting of Thai monks will start from the chanting first. In the funeral, rituals and the value of chanting cause merit and gratitude. chanting is also held in holy activities such as new house cerebration and auspicious events. Even in misfortune events, like a funeral, they play an important part of the events. When the laymen do morning and evening chanting, the monks also do the same. In the New Year days, the laymen chanting the Dharma over the years.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า : หลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ ละชั่ว ทำดี ทำให้ใจให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 คือ อดทนอดกลั้น ไม่เบียดเบียน สงบสันติ และนิพพาน วิธีการ 6 คือ ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมระวังในศีล รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในสถานที่อันสงบ และชำระจิตให้มีคุณภาพ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 นี้ เป็นสาระสำคัญอันยิ่งยวดของหลักการเผยแผ่พุทธศาสนา เพราะเป็นหลักการที่ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นท่าทีอันเป็นรูปแบบของการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท หลักการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ใช้หลักกถาวัตถุ 10 คือ เป็นผู้มักน้อย มีปกติสันโดษ ชอบสถานที่สงัดวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้ง 10 นี้ เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระปุณณมันตานีบุตรที่สอนศิษย์ในสำนัก 500 รูป เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ศิษย์ในสำนึกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยหลักการสอนอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างไรก็สอนอย่างนั้น เป็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้และความประพฤติที่เรียกว่า วิชชาจรณสัมปันโน รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณะมันตานีบุตรเถระ คือ เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถภาพ สารัตถภาพ นิรุตติภาพ ปฏิภาณภาพ ด้วยวิธีการอธิบายให้เห็นชัดเจน จูงใจให้เห็นจริง ชวนให้ยอมรับและปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้าอุตสาหะ ชโลมใจให้แช่มชื่นไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง ด้วยรูปแบบ การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) ด้วยการถามตอบปัญหา (ธัมมฉากัจฉา) ด้วยการอบรมสั่งสอน (โอวาท) ด้วยการกล่าวคาถา (คาถา)
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า : หลักการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยหลักการ 3 คือ ละชั่ว ทำดี ทำให้ใจให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 คือ อดทนอดกลั้น ไม่เบียดเบียน สงบสันติ และนิพพาน วิธีการ 6 คือ ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย สำรวมระวังในศีล รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในสถานที่อันสงบ และชำระจิตให้มีคุณภาพ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 นี้ เป็นสาระสำคัญอันยิ่งยวดของหลักการเผยแผ่พุทธศาสนา เพราะเป็นหลักการที่ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นท่าทีอันเป็นรูปแบบของการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท หลักการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ใช้หลักกถาวัตถุ 10 คือ เป็นผู้มักน้อย มีปกติสันโดษ ชอบสถานที่สงัดวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้ง 10 นี้ เป็นหลักคำสอนและหลักปฏิบัติของพระปุณณมันตานีบุตรที่สอนศิษย์ในสำนัก 500 รูป เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ศิษย์ในสำนึกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยหลักการสอนอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างไรก็สอนอย่างนั้น เป็นความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้และความประพฤติที่เรียกว่า วิชชาจรณสัมปันโน รูปแบบการเผยแผ่ธรรมของพระปุณณะมันตานีบุตรเถระ คือ เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถภาพ สารัตถภาพ นิรุตติภาพ ปฏิภาณภาพ ด้วยวิธีการอธิบายให้เห็นชัดเจน จูงใจให้เห็นจริง ชวนให้ยอมรับและปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้าอุตสาหะ ชโลมใจให้แช่มชื่นไม่เบื่อและเปี่ยมด้วยความหวัง ด้วยรูปแบบ การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) ด้วยการถามตอบปัญหา (ธัมมฉากัจฉา) ด้วยการอบรมสั่งสอน (โอวาท) ด้วยการกล่าวคาถา (คาถา)
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the principles of Dharma propagation of Theravada Buddhism 2) to study the propagation of Dharma of Phra Punnamantaniputta Thera and 3) Study and analyze the propagation of the Dharma of Phra Punnamantaniputta Thera. The researcher collected and studied from Tripitaka, commentary, textbooks and related researches, and analyzed the contents by the Deductive form. The results of research were found that: Principles of Dharma propagation of Theravada Buddhism consisting of Principle 3 is Evil, Do Good, Make your heart shine. Ideology 4 is tolerance, tolerance, non-persecution, peace and nirvana Method 6 is not to say badly, not to hurt, to be careful in the precepts. Know about food consumption in a peaceful place and pay attention to quality. Principle 3, ideology 4, method 6, this is a great essence of Buddhism propagation principles because it is the principle that appears clearly in the Tripitaka, which is considered as a form of propagation of Theravada Buddhism. Principles of Dharma propagation of Phra Punnamantaniputta Use the principle of the 10 objects, which are usually small, normal, solitary, like being quiet, not being confused with the group. Foreword, perseverance, complete with canon, meditation, wit, liberation, liberation perception, Tuscany these 10 teachings and practices How to teach How to teach it. All 10 of these are the doctrines and practices of Phra Punnamantaniputta. Who teaches 500 disciple. Is a form of teaching that gives disciples in a strict sense of practice with the principle of teaching how to do that How to teach it Is the perfection of knowledge and behavior called The propagation of Dharma of Phra Punnamantaniputta is a master of wisdom. On the issue, In essence, In language, In wisdom With clear explanations Convince the truth Persuade to accept and practice Inspiring to be brave Feeling cheerful, not bored and full of hope. With a form of Dhamma (sermon) with questions and answers (Dhamma conversation) with training (obedience) with a spells (spells)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระ พุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ บรรพชิต 10 รูป ฆราวาส 10 คน (รวม 20 รูป/คน) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า : การเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยพระองค์เอง ต่อจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสาวกดำเนินเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ หลักประโยชน์ 3 หลักไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกันทั้งตนเองและผู้อื่น โดยพระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่พุทธศาสนิกชนจะได้รับเป็นหลักสำคัญที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธวิธีที่พระองค์ทรงสอนนั้นทรงเลือกใช้พุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลสถานที่กาลและกุศโลบายวิธี เพื่อให้ผู้ที่พระองค์ทรงสอนเกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิตประสบความสงบสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ดำเนินสู่มรรคผล คือ พระนิพพาน หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ มีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจนที่สุด คือ การแสดงธรรมเทศนา เพื่ออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์มีกุศโลบายในการสอนโดยสอดแทรกธรรมะผ่านวัตถุมงคลเรื่องคาถาต่างๆ เป้าหมายของการอบรมภาวนา คือ สอนวิธีทำใจให้สงบ ท่านไม่ได้สอนอะไรมากมายเพียงแต่สอนคนให้ภาวนาได้เท่านั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของใจการภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจต้องให้ใจสงบก่อนจึงจะก้าวสู่วิปัสสนาได้สมถะเป็นเหตุวิปัสสนาเป็นผล ท่านสอนให้เดินจิตให้ชำนาญให้คล่องตัวเกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออก เพื่อเป็นฐานของวิปัสสนาการพิจารณาค้นหาใจตนเองให้พบก่อนเป็นการค้นไปในจิตหากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่ และชำระสะสางออกไปจากจิตใจ ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะบรรยายอธิบายเรื่องทั้งหมดผ่านการแสดงธรรมตามวิธีสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ของพรโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ ไตรสิกขา อันหมายถึง การฝึกพฤติกรรมฝึกจิตใจและฝึกปัญญาผ่านรูปแบบการเจริญภาวนาด้วยทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญาโดยมีแนวทางที่เป็นสายกลาง คือ อริยมรรค มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ท่านได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งที่สร้างศรัทธาให้พุทธบริษัท และพุทธศาสนิกชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบการเผยแผ่ดังกล่าวและกุศโลบายต่างๆ นั้นเพื่อให้ได้เข้าถึงความดีงามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ด้วยตาคือ ผลงานด้านถาวรวัตถุ ทั้งที่แสดงให้เห็นด้วยใจ คือ แรงพลังศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนเข้าได้เข้ารับการอบรมสมาธิภาวนา มีทั้งแสดงให้เห็นด้วยปัญญา คือ หลักธรรมคำสอนที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดอันจะก่อเกิดความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง กล่าวคือมรรคผลนิพพาน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระ พุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ บรรพชิต 10 รูป ฆราวาส 10 คน (รวม 20 รูป/คน) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า : การเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยพระองค์เอง ต่อจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสาวกดำเนินเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ หลักประโยชน์ 3 หลักไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกันทั้งตนเองและผู้อื่น โดยพระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่พุทธศาสนิกชนจะได้รับเป็นหลักสำคัญที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธวิธีที่พระองค์ทรงสอนนั้นทรงเลือกใช้พุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลสถานที่กาลและกุศโลบายวิธี เพื่อให้ผู้ที่พระองค์ทรงสอนเกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิตประสบความสงบสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ดำเนินสู่มรรคผล คือ พระนิพพาน หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ มีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจนที่สุด คือ การแสดงธรรมเทศนา เพื่ออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์มีกุศโลบายในการสอนโดยสอดแทรกธรรมะผ่านวัตถุมงคลเรื่องคาถาต่างๆ เป้าหมายของการอบรมภาวนา คือ สอนวิธีทำใจให้สงบ ท่านไม่ได้สอนอะไรมากมายเพียงแต่สอนคนให้ภาวนาได้เท่านั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของใจการภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจต้องให้ใจสงบก่อนจึงจะก้าวสู่วิปัสสนาได้สมถะเป็นเหตุวิปัสสนาเป็นผล ท่านสอนให้เดินจิตให้ชำนาญให้คล่องตัวเกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออก เพื่อเป็นฐานของวิปัสสนาการพิจารณาค้นหาใจตนเองให้พบก่อนเป็นการค้นไปในจิตหากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่ และชำระสะสางออกไปจากจิตใจ ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะบรรยายอธิบายเรื่องทั้งหมดผ่านการแสดงธรรมตามวิธีสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ของพรโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ ไตรสิกขา อันหมายถึง การฝึกพฤติกรรมฝึกจิตใจและฝึกปัญญาผ่านรูปแบบการเจริญภาวนาด้วยทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญาโดยมีแนวทางที่เป็นสายกลาง คือ อริยมรรค มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ท่านได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งที่สร้างศรัทธาให้พุทธบริษัท และพุทธศาสนิกชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบการเผยแผ่ดังกล่าวและกุศโลบายต่างๆ นั้นเพื่อให้ได้เข้าถึงความดีงามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ด้วยตาคือ ผลงานด้านถาวรวัตถุ ทั้งที่แสดงให้เห็นด้วยใจ คือ แรงพลังศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนเข้าได้เข้ารับการอบรมสมาธิภาวนา มีทั้งแสดงให้เห็นด้วยปัญญา คือ หลักธรรมคำสอนที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดอันจะก่อเกิดความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง กล่าวคือมรรคผลนิพพาน
ตามหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างประโยชน์ที่เกิดกับสังคมและหมู่คณะสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่นอีกด้วย
This research had the objectives to study; 1) Theravada Buddhist propagation, 2) the propagation of Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako), and 3) to analyze the propagation principles of Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako). The researcher collected and studied from text books and related documents including in-depth interview from 10 Buddhist monks and 10 Buddhist laymen. The results were as follows: In the preliminary of Buddhist propagation, the Buddha went to teach and propagate by himself. When he had the disciples, he allowed them to teach and propagated Buddhism till now. The core of Buddhist propagation is Ovada Patimokkha, The Principle of Advantage, Threefold Training, and the Principle of Dependent Origination to cease from all evil, to do what is good, and to purify the mind. The Buddha and his disciples had proper methods to teach the people with the goal to leave from suffering and to reach enlightenment. For Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako), he applied the Buddha’ methods to teach the people with four principle; transparency, motivation, brave, and happiness. He described, discussed, and answered Buddhist principles. The principles that he used to teach were Dhana, Sila, Panya because there were the factors of Anapanasati. Also, it was the way to resolve the problems that brought the happiness and calm. For the analytical of Phrasophonvisutdhikhun’s propagation and teaching, he applied the Principles of Threefold Training, the Eightfold Path to teach the people to reach enlightenment. He acted as the model for the people to strongly believe in Buddhism by builds, Buddhist estates and meditation. He practiced following the Buddha’s teaching for the benefit of the people to relief suffering and reach enlightenment and for the benefit of the Sangha in Khonkaen province.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาทของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 รูป ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาทคือ หลักจักรวรรดิวัตร 12หลักมหาโคปาล 11 ทศพิธราชธรรม 10 กัลยาณมิตร 7 สัปปุริสธรรม 7จักรวรรดิวัตร 5 เวสารัชชกรณธรรม 5สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 ภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครอง ด้านการศึกษาด้านสาธารณะสงเคราะห์ด้านสาธารณูปการด้านศึกษาสงเคราะห์ และด้านการเผยแผ่ มีหลักการ คือ ยึดพระธรรมวินัย ส่งเสริม สนับสนุน รักษา อุปถัมภ์ มีพรหมวิหาร เผยแผ่ธรรมวินัย เกื้อกูลสังคม หลักธรรม คือ มีพระธรรมวินัย ศีล สัปปุริสธรรมอปริหานิยธรรมพรหมวิหาร อิทธบาท สันโดษ ธรรมกถึก วิธีการ คือ ทำตนให้เป็นแบบอย่างเป็นที่พึ่งของคนอื่นไม่ทำเกินกำลัง สร้างปัญญาให้สังคม ยึดทางสายกลาง ทำให้ต่อเนื่อง และรู้จักสอน หลักการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครองด้วยการยึดพระธรรมวินัยด้านศาสนศึกษาด้วยการส่งเสริมการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงรุก ด้านการเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติและทำกิจกรรม ด้านสาธารณูปการด้วยการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นพุทธศาสนา และด้านสาธารณสงเคราะห์ด้วยการพัฒนาวัตถุ และพัฒนาจิตใจด้วยหลักธรรมวินัย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาทของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 รูป ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาทคือ หลักจักรวรรดิวัตร 12หลักมหาโคปาล 11 ทศพิธราชธรรม 10 กัลยาณมิตร 7 สัปปุริสธรรม 7จักรวรรดิวัตร 5 เวสารัชชกรณธรรม 5สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 ภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครอง ด้านการศึกษาด้านสาธารณะสงเคราะห์ด้านสาธารณูปการด้านศึกษาสงเคราะห์ และด้านการเผยแผ่ มีหลักการ คือ ยึดพระธรรมวินัย ส่งเสริม สนับสนุน รักษา อุปถัมภ์ มีพรหมวิหาร เผยแผ่ธรรมวินัย เกื้อกูลสังคม หลักธรรม คือ มีพระธรรมวินัย ศีล สัปปุริสธรรมอปริหานิยธรรมพรหมวิหาร อิทธบาท สันโดษ ธรรมกถึก วิธีการ คือ ทำตนให้เป็นแบบอย่างเป็นที่พึ่งของคนอื่นไม่ทำเกินกำลัง สร้างปัญญาให้สังคม ยึดทางสายกลาง ทำให้ต่อเนื่อง และรู้จักสอน หลักการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครองด้วยการยึดพระธรรมวินัยด้านศาสนศึกษาด้วยการส่งเสริมการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงรุก ด้านการเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติและทำกิจกรรม ด้านสาธารณูปการด้วยการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นพุทธศาสนา และด้านสาธารณสงเคราะห์ด้วยการพัฒนาวัตถุ และพัฒนาจิตใจด้วยหลักธรรมวินัย
The objectives of this thesis are: 1) to study the principles of leadership development in Theravada Buddhism 2) to study the leadership of the district primates in Mahasarakham Province and 3) to analyze the principles’ leadership development in Theravada Buddhist Philosophy of the district primates in Mahasarakham Province. The document and information are Tripitaka, commentary, related textbooks, data and the in-depth interviews from all 8 district primates. The received data were content analysis and an analysis of inductive conclusion’s structure. The results of research were found that: The principles of leadership development in Theravada Buddhism are as follows: the Empire 12, MahaKopal 11, Dharma of the King 10, True Friends 7, Sappurisadharmma 7, Empire 5, Wasadatchakondharm 5, Sangkhawang 4 and Itthibat 4. The leadership of the district primates in Mahasarakham province are in government, education, public welfare, public assistance, education welfare and propagation. The principles are following the Dharma discipline, stimulating, supporting, securing, patronizing, subliming states of mind, propagation Dharma disciplines and supportingsociety.Dharma principles are having Dharma disciplines, canon, Suppurisadharm, Apirihaniyadharm, Brahma 4, Achievement, and Monastic. Means are good behaviors for reliability, not overloading, creation of wisdom for society, being in the middle path, being continuous and khowing how to teach Dharma. Principles in leadership development of the district primates in Mahasarakham Province are in governmental aspect by following the Dharma disciplines. In religious study, they support the education. In education welfare, they follow the proactive approach. In propagation the religion, they do activities. In public assistance, they maintain identity as the Buddhists and in public welfare, they develop mind and objects for the public
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ที่ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ ประชาชน จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติการบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ("x" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่า (t–test) และ (One Way ANOVA/F–test) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์จากผู้บริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของนักศึกษา จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า: 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ด้านการรณรงค์ ทางการเมือง และด้านการร่วมการชุมนุมทางการเมือง ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้ (1) ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีส่วนร่วมทาง การเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า 1) ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ว่ามีการได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ให้รับรู้และรับทราบ ตรวจสอบข้อมูลตนเอง ได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนด 2) ด้านการรณรงค์ทางการเมือง เมื่อมีการเลือกตั้ง มีการแจ้งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากผู้นำ ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเองทำให้ประชาชนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตน ไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุด 3) ด้านการร่วมการชุมนุมทางการเมือง เป็นการประชุมมากกว่า มีการจัดอบรม ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อให้ผู้มีอำนาจหน้าที่เข้าไปแก้ปัญหาเหล่านั้น 4) ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ส่วนใหญ่ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ และข้อมูลข่าวสารจากผู้นำ รวมทั้งสื่อออนไลน์ การติดตามข่าวสารให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ที่ต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ ประชาชน จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติการบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ("x" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่า (t–test) และ (One Way ANOVA/F–test) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์จากผู้บริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของนักศึกษา จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า: 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ด้านการรณรงค์ ทางการเมือง และด้านการร่วมการชุมนุมทางการเมือง ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้ (1) ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีส่วนร่วมทาง การเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า 1) ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ว่ามีการได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ให้รับรู้และรับทราบ ตรวจสอบข้อมูลตนเอง ได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนด 2) ด้านการรณรงค์ทางการเมือง เมื่อมีการเลือกตั้ง มีการแจ้งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากผู้นำ ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเองทำให้ประชาชนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตน ไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุด 3) ด้านการร่วมการชุมนุมทางการเมือง เป็นการประชุมมากกว่า มีการจัดอบรม ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อให้ผู้มีอำนาจหน้าที่เข้าไปแก้ปัญหาเหล่านั้น 4) ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง ส่วนใหญ่ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ และข้อมูลข่าวสารจากผู้นำ รวมทั้งสื่อออนไลน์ การติดตามข่าวสารให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the political participation of people in Phrai Bueng Subdistrict Municipality, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province. 2) to compare the political participation of people in Phrai Bueng Subdistrict Municipality, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province classified by gender, age, educational level, occupation, and income, and 3) to propose the political participation of the people in Phrai Bueng Subdistrict Municipality, Phrai Bueng District, Si Sa Ket Province. The quantitative data were collected from 382 samples by questionnaires and the qualitative data were collected by interview forms from the 5 informants concerning political participation of students. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, value testing (t–test) and (One Way ANOVA/F–test). If statistically significant differences were found, LSD (Least Significant Difference) was used. The results of the research showed that: 1) Political participation of people in Phrai Bueng Subdistrict Municipality, Phrai Bueng district of Sisaket province was at a medium level overall. When considering in each aspect in order of average order from the highest to the least level, election voting was the first, followed by tracking political news, political campaigning, and the participation in political assembly respectively. 2) Comparison results; (1) People of different genders had political participation in 4 aspects indifferently which was not in accordance with the study hypothesis. (2) People with different educational backgrounds, occupations, and incomes had political participation in all 4 areas differently with statistically significant figure at the 0.05 level, which was in accordance with the study hypothesis. 3) Suggestions were as follows: 1) In exercising the right to vote; there was public relations to people to know, check and aware of their rights and duties under the constitution. 2) In political campaigns; in the election, there was public announcement about the election and people could obtain information from their leaders in making decision to their representatives, understand their roles and responsibilities for exercise the rights in voting. 3) in terms of political assembly; there were meeting, training, and knowledge sharing In order that the authority could help solve the problems. 4) In tracking political news; most people accessed information through television, radio, internet, newspapers and message from their leaders.
หนังสือ

    The purposes of this research were as follows; 1) to study the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province, 2) to compare the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province having different gender, monthly income, working experience, and positions in the village funds, and 3) to have interviews for the guideline in the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected from documents in the primary source and secondary source, in-depth interviews, and by using questionnaires. The research results found that 1. The administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province in 3 aspects was at a high level overall. In details, the highest level was on planning, followed by operation, and evaluation respectively. 2. The results of comparison, the administration of the village fund committee having different genders, monthly income, work experience, and position in the village funds in 3 aspects was not different. 3. The results of interviews regarding the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province indicated that: In Loving-kindness, the administrators should assign work and duty relevant to the ability and knowledge of the subordinates, should support them in developing knowledge and ability. The administrators should work fulltime as the sample of the subordinates, and should be kind, friendly, and justice to the subordinates. In Compassion, the administrators should collaborate with the subordinates to work, share work experiences and knowledge to them, and provide assistance to them when in need. In Sympathetic joy, the administrators should praise and reward the subordinates on their achievement in work and duty performance, support and publicize their work outcome sincerely. In Equanimity, the administrators should assign job and work to the subordinates according to their knowledge and ability without bias, support them to work together in team, and treat everyone equally with neutral mind
The purposes of this research were as follows; 1) to study the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province, 2) to compare the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province having different gender, monthly income, working experience, and positions in the village funds, and 3) to have interviews for the guideline in the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected from documents in the primary source and secondary source, in-depth interviews, and by using questionnaires. The research results found that 1. The administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province in 3 aspects was at a high level overall. In details, the highest level was on planning, followed by operation, and evaluation respectively. 2. The results of comparison, the administration of the village fund committee having different genders, monthly income, work experience, and position in the village funds in 3 aspects was not different. 3. The results of interviews regarding the administration of the village fund committee according to the principle of Brahmaviharadhamma in Kaeng Khoi district of Saraburi province indicated that: In Loving-kindness, the administrators should assign work and duty relevant to the ability and knowledge of the subordinates, should support them in developing knowledge and ability. The administrators should work fulltime as the sample of the subordinates, and should be kind, friendly, and justice to the subordinates. In Compassion, the administrators should collaborate with the subordinates to work, share work experiences and knowledge to them, and provide assistance to them when in need. In Sympathetic joy, the administrators should praise and reward the subordinates on their achievement in work and duty performance, support and publicize their work outcome sincerely. In Equanimity, the administrators should assign job and work to the subordinates according to their knowledge and ability without bias, support them to work together in team, and treat everyone equally with neutral mind
TOC:
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง การบริหารกองทุนหมู่บ้านของคณะกรรมการตามหลักพรหมวิหารธรรมอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม มี เพศ รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ในการทำงาน ตำแหน่งในกองทุนหมู่บ้าน ที่ต่างกัน และ 3) เพื่อสัมภาษณ์แนวทางการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านตามหลักพรหมวิหารธรรม เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) ที่ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเน้นวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ (Qualitative Research by interviews) เป็นการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิรวมทั้งสร้างแบบสอบถาม (Questionnaires) ผลการวิจัยพบว่า 1.บริหารของคณะกรรมการกองทุนของหมู่บ้านตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียง ด้านการวางแผนตามหลักพรหมวิหารธรรม ด้านการดำเนินงานตามหลักพรหมวิหารธรรม และด้านการประเมินผลตามหลักพรหมวิหารธรรม 2.ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยเปรียบเทียบการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่มีเพศ รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ ตำแหน่งในกองทุนหมู่บ้าน ไม่แตกต่างกัน มีการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3.ผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบริหารของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักพรหมวิหารธรรม อำเภอแก่งคอย พบว่า เมตตา คือ ควรมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคน ควรสนับสนุนบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ปฏิบัติงานให้เต็มเวลา เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ภายใต้ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า กรุณา คือ ร่วมแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องในการทำงานร่วมกัน ประสานงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ ถ่ายทอดถอดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้วยความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อน มุทิตา คือ ยกย่องชมเชยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความจริงใจด้วยการประกาศความดีความชอบ สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้บริหาร สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานที่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป อุเบกขา คือ แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชดเจน เหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ จัดจัดสรรผลประโยชน์แก่ผู้ร่วมงานอย่างเสมอภาค และส่งเสริม สนับสนุนให้ฝ่ายต่าง ๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ความวางใจเป็นกลางในส่วนของการจ่ายเงินของกองทุนเป็นการจ่ายตามลำดับอันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือ มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน
หนังสือ