Search results

264 results in 0.28s

หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ ธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 795 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้คือ 1) ตัวบ่งชี้การวิจัย 60 ตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.23-4.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ระหว่าง 11.35-15.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงมีความเหมาะสมได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.86-1.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.73-1.02 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ ธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 795 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้คือ 1) ตัวบ่งชี้การวิจัย 60 ตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.23-4.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ระหว่าง 11.35-15.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงมีความเหมาะสมได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.86-1.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.73-1.02 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
The objectives of this research were to 1) study the appropriateness of the indicators for selection in the model, 2) test the fitness of the model developed from theory and research with the empirical data, and 3) verify the factor loading value of the major components, minor components and indicators. The data was collected by using the questionnaire for estimation from a sample of the administrators of the Office of Primary Education Area of 795 people which were obtained by multi-stage random sampling.Data analysis was done by statistical program. The results of the research were based on the research hypothesis : 1) The 60 indicators used have mean of 4.23-4.74 which meets the specified criteria as mean equal to or higher than 3.00 and the distribution coefficient is between 11.35-15.86. All were selected in the model. 2) Structural relationship model Indicator of Good Governance for Administrators of the Primary Educational Service Area Office, the development from theory and research are consisted of congruence with empirical data by the value of relative Chi-square (CMIN/DF), Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA), Goodness-of-Fit Index (GFI), Adjusted Goodness-of-Fit Index (AGFI), Comparative Fit Index (CFI), and Normed Fit Index (NFI), were In accordance with the criteria from both of the first order and the second order of confirmative factor analysis, and 3) the major components had factor loading ranged from 0.86-1.06, which is higher than criterion as 0.70 in all major factor. The minor components had factor loading between 0.73-1.02 and the indicator had factor loading ranged from 0.30-1.00, which are higher level than the criterion as 0.30.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนวธรรมาภิบาลมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการ ๒. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๓. เพื่อบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๔. เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบ การบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ได้แก่ พระสังฆาธิการจำนวน ๔ รูป ผู้บริหารสำนักงานที่ใช้หลักธรรมาภิบาล ๑ คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาจำนวน ๑๐ รูป/คน เพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสำนักงานพระสังฆาธิการ พบปัญหาการบริหารมี ๔ ประการ คือ ๑. ปัญหาด้านบุคคลากร เช่น การบริหารงานของพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปกครองระดับสูงส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพมหานคร เช่น เจ้าคณะภาคบางรูปไม่ได้สังกัดวัดภายในภาคของตนทำให้การตรวจงานภายในภาคไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพ เพราะเจ้าคณะผู้ปกครองภายในภาคอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีสำนักงานบริหารที่ถาวร เมื่อเจ้าคณะพ้นสภาพจากความเป็นเจ้าคณะ เอกสารหลักฐานก็ขาดตอน เมื่อ มีเจ้าคณะใหม่ก็เริ่มงานใหม่ การบริหารจึงไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ และปัญหาการบริหารงานในส่วนภูมิภาค พบว่าการกระจายอำนาจทำได้เพียงแต่โครงสร้างเท่านั้น ๒. ปัญหางบประมาณ เนื่องจากสำนักงานไม่มีงบประมาณจากภาครัฐทำให้ต้องหางบประมาณดำเนินการเอง ๓. ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ เป็นปัญหาที่สืบเนืองมาจากงบประมาณทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ๔. ปัญหาด้านการจัดการ พบว่า การดำเนินงานของสำนักงานพระสังฆาธิการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดธรรมาภิบาลทำให้เกิดปัญหาในความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนและปัญหากฎหมายด้านอื่น ๆ การบริหารงานสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล เป็นการบริหารงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใสยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ และได้ศึกษาตัวอย่างสำนักงานที่ประสบความสำเร็จด้านธรรมาภิบาลเพื่อเป็นตัวอย่างในการนำมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหาของสำนักงานพระสังฆาธิการ การบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล พบว่า ๑. ด้านบุคคลากร มีกฎหมายจัดตั้งสำนักงานพระสังฆาธิการ ทำให้มีการบริหารเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ๒. ด้านงบประมาณ สำนักงานมีงบประมาณจากภาครัฐอย่างเพียงพอทำให้ต้องมีการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างโปร่งใส ๓. ด้านวัสดุอุปกรณ์ สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม ๔.
การศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนวธรรมาภิบาลมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการ ๒. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๓. เพื่อบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล ๔. เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบ การบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ได้แก่ พระสังฆาธิการจำนวน ๔ รูป ผู้บริหารสำนักงานที่ใช้หลักธรรมาภิบาล ๑ คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาจำนวน ๑๐ รูป/คน เพื่อยืนยันผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสำนักงานพระสังฆาธิการ พบปัญหาการบริหารมี ๔ ประการ คือ ๑. ปัญหาด้านบุคคลากร เช่น การบริหารงานของพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปกครองระดับสูงส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพมหานคร เช่น เจ้าคณะภาคบางรูปไม่ได้สังกัดวัดภายในภาคของตนทำให้การตรวจงานภายในภาคไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพ เพราะเจ้าคณะผู้ปกครองภายในภาคอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีสำนักงานบริหารที่ถาวร เมื่อเจ้าคณะพ้นสภาพจากความเป็นเจ้าคณะ เอกสารหลักฐานก็ขาดตอน เมื่อ มีเจ้าคณะใหม่ก็เริ่มงานใหม่ การบริหารจึงไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ และปัญหาการบริหารงานในส่วนภูมิภาค พบว่าการกระจายอำนาจทำได้เพียงแต่โครงสร้างเท่านั้น ๒. ปัญหางบประมาณ เนื่องจากสำนักงานไม่มีงบประมาณจากภาครัฐทำให้ต้องหางบประมาณดำเนินการเอง ๓. ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ เป็นปัญหาที่สืบเนืองมาจากงบประมาณทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ๔. ปัญหาด้านการจัดการ พบว่า การดำเนินงานของสำนักงานพระสังฆาธิการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดธรรมาภิบาลทำให้เกิดปัญหาในความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนและปัญหากฎหมายด้านอื่น ๆ การบริหารงานสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล เป็นการบริหารงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใสยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ และได้ศึกษาตัวอย่างสำนักงานที่ประสบความสำเร็จด้านธรรมาภิบาลเพื่อเป็นตัวอย่างในการนำมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหาของสำนักงานพระสังฆาธิการ การบูรณาการระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาล พบว่า ๑. ด้านบุคคลากร มีกฎหมายจัดตั้งสำนักงานพระสังฆาธิการ ทำให้มีการบริหารเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ๒. ด้านงบประมาณ สำนักงานมีงบประมาณจากภาครัฐอย่างเพียงพอทำให้ต้องมีการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างโปร่งใส ๓. ด้านวัสดุอุปกรณ์ สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม ๔.
ด้านการจัดการ สำนักงานมีหลักธรรมาภิบาลทั้ง ๖ ด้านทำให้เกิดการบริหารที่ดีเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผลการวิจัยสามารถสรุปเป็นโมเดลระบบการบริหารจัดการสำนักงานพระสังฆาธิการด้วยระบบการบริหารจัดการสำนักงานตามแนวธรรมาภิบาลที่เรียกว่า MOGA Model ประกอบด้วย M = Management (การบริหารงาน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. บุคลากร ๒. งบประมาณ ๓. วัสดุอุปกรณ์ ๔. การจัดการ) O = office of Buddhist Ecclesiastical (สำนักงานพระสังฆาธิการ) G = good governance (ธรรมาภิบาล ๖ ด้าน ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า) A = Advantage (ประโยชน์ที่ได้รับจาการบริหารงานสำนักงานพระสังฆาธิการตามแนว ธรรมาภิบาลมี ๒ นัย ได้แก่ นัยที่ ๑ คือ ๑. ประโยชน์ปัจจุบัน ๒. ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ในภพหน้า, ๓. ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน นัยที่ ๒ คือ ๑. ประโยชน์ตน ๒. ประโยชน์ผู้อื่น ๓.ประโยชน์ ทั้งสองฝ่าย
The objectives of the study on the management system of Buddhist Ecclesiastical office according to the good governance were; 1) To study the manage- ment system of buddhist ecclesiastical office. 2) To study the management system of office according to the good governance 3) To integrate the management system of the Buddhist ecclesiastical office according to the good governance 4) To propose a guideline and create new knowledge related to management system of the Buddhist ecclesiastical office according to the good governance This research is a qualitative research by using document research methodology and conducting in-depth interview, including 4 abbots, office administrators who use good governance 1 person and experts in Buddhism 10 monks/person to confirm this research results. The results of the study found that: There are 4 main problems of the management system of the Buddhist Ecclesiastical office 1. Personnel problems, such as the administration of monks who are high-level position, most of them live in Bangkok, some of the Lord Abbots of a Buddhist monastery, not belong to his region, may not affiliate with temples within his region, therefore, the inspection is unable to be done thoroughly, and effectively because the guardian within the region is in a remote area And there is no permanent administrative office When the Lord Abbot is retried, the Document evidence is disrupted. Whenever a new Lord Abbot start a new responsibility,: Therefore, management is not continuous and systematic And the administrative problems in the region found that decentralization can only be done in the structure. 2. Money problems due to the office does not have enough from the government sector, making it necessary to find a budget to operate. 3. Material problems due to the constraint budget, making it impossible to get equipment. 4.The management problems of the Buddhist Ecclesiastical Office in the 6 aspects : Administration, Education, Education welfare, Dissemination, Infrastructure, Public welfare, found that the lack of good governance, then make resulting in problems of faith in Buddhism and other legal issues. The management system of office according to good governance is the management of the organization which consists of the rule of law, morality, transparency, participation, responsibility, value for money make the organization strong, efficient, effective, transparent, fair and can be inspected. And also studied the successful office of good governance in order to be an example in the integration of the problems of the Buddhist Ecclesiastical office. The integration of the management system of the Office of the Buddhist Ecclesiastical with the office management system in accordance with the good governance found that: 1. Personnel, there is a law to establish the Buddhist Ecclesiastical Office will make management systematic and continuous 2. Money The office has sufficient budget from the government, which requires transparent examination of spending. 3. Materials and equipment can be purchased by correctly and fairly. 4. Management The Office 6 Principles of good government to ensure it internationally accepted performance. From the results of the research, it can be summarized as a model of the management system of the Buddhist Ecclesiastical Office according to the good governmance which called MOGA model M = Management, (1. Personnel, 2. Budget, 3. Materials, equipment 4. Manage- ment) O = Office of Buddhist Ecclesiastical G = Good governance, A = Advantage (2 aspects: 1. current benefits, benefits in the future, the greatest benefit is Nirvana and 2. Gain for Oneself, Gain for others, Gain both)
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554
หนังสือ

    การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการดำเนินกิจกรรมในการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม และ 4) นำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยหลักฆราวาสธรรม” วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่าย จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่เคยผ่านการฟื้นฟูฯได้รับการติดตามผลการรักษา 3 เดือนหลังจำหน่ายและไม่เสพติดซ้ำ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และทีมสหวิชาชีพที่ให้การฟื้นฟูฯ จำนวน 13 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง ในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีหลากหลายรูปแบบและมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในการฟื้นฟูฯ รวมทั้งนำหลักฆราวาสธรรมมาปรับใช้การดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ 2. หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นธรรมสำหรับฆราวาสที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. บูรณาการการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เสพติดซ้ำมีคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม 4 และข้อธรรมย่อยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เสพติดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เสพติดซ้ำสามารถปฏิบัติตามฆราวาสธรรมและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางดี และการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมเพื่อดูแลตนเองไม่ให้เสพติดซ้ำต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ข่มใจ อดทนกับความรู้สึกอยากดื่มและละวางความรู้สึกที่ไม่ดีต่าง ๆ นั้นได้ จะต้องมีสติคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ควบคุมตนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว โดยมีการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสอดแทรกในกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่รูปแบบบูรณาการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม คือ SCB-SA-SC-SD Model หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูฯผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว เจ้าหน้าที่และเพื่อนผู้ป่วย ให้การช่วยเหลือปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยให้ดีขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์รู้จักตนหรือมีสติ/สมาธิ ควบคุมตนเองได้หรือมีศีล และการพัฒนาตนหรือมีปัญญา จึงช่วยให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้นานขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence, 2) to study Gharâvâsadhamma in Buddhism, 3. to integrate activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence with Gharâvâsadhamma, and 4) to propose guidance and knowledge about " a model of a proceeding activities in rehabilitation therapy for alcoholic dependence integrated with Gharâvâsadhamma.” The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 63 samples that had undergone rehabilitation follow up the treatment for 3 months after discharge. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and comparing differences used Independent t-test. The qualitative data were obtained by in-depth interviews with 15 alcoholic dependence patients, who had undergone rehabilitation with 3-month follow-up treatments after discharge and not being addicted, and with 13 key informants in multidisciplinary teams at the rehabilitation by unstructured interviews. The data were analyzed by inductive analysis. The results of the research were follows 1. the implementation of rehabilitation activities for alcoholic dependence patients has a variety of forms and Buddhist principles are applied to the rehabilitation, 2. Gharâvâsadhamma in Buddhism is for lay-people to live together, and 3. the implement of rehabilitation activities integrated with Gharâvâsadhamma for patients with alcohol dependence indicated that the non-addicted sample group had a score of overall practice of Gharâvâsadhamma significantly higher than the relapse alcohol sample at the level of 0.05. This result revealed that non- relapse patients could follow Gharâvâsadhamma and have behavioral change positively. To follow Gharâvâsadhamma for self-care and non-relapse was based on intention, commitment, and tolerance to alcohol withdrawal symptoms. To escape from a bad feeling, the patients must depend on conscious thinking, reasonable consideration, self-control and family support. The rehabilitation activities for alcoholic dependence patients integrated with the Gharâvâsadhamma could be concluded into “SCB-SA-SC-SD Model”. The activities of rehabilitation for alcoholic dependence patients must be supported by society, family, staff, and fellow patients. All that could help change the patients’ cognition and behaviors into a positive way and assist them to have self-awareness or mindfulness and concentration, self-control or precepts and self-development or wisdom, and to help them quit drinking alcohol in a longer time.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
The objectives of this research were; 1) to study human resource development by Bunniyom or Puññist system or meritorious system of Asoka community, 2) to study human resource development according to Buddhism, 3) to integrate the Buddhist principles in human resource development with bunniyom system of Asoka Community, and 4) to propose approaches and knowledge body on "The Model of Human Resource Development by Bunniyom system of Asoka Community in Buddhist Integrated Approach". The data of this documentary qualitative research were collected from in-depth interviews with 10 experts and from focus group discussion with 5 experts. The results of the study indicated as follows: 1.Human resource development by Bunniyom system of Asoka Community has 4 important components: 1) Meanings and essences of 19 meritorious items, 2) 11 definitions of bunniyom, 3) The theory of profit-loss of civilized people, and 4) The Noble Eightfold Path of Samana Bodhi Rak. 2.The Buddhist principles used in the human resource development process of the Asoka community are the Threefold Training principles (Precept, Concentration, and Wisdom) and the Buddhist principles supporting human resource development. They are the 10 items of meritorious action or Puññakiriyavatthu, 6 principles of Saraniyadhamma, and 7 principles of Aparihaniyadhamma. 3.Integration of Buddhist principles with the Bunniyom system of Asoka Community is a process of human resource development in both matter and abstract to achieve the success in the same direction. The good results occurring from the practice of Asoka people for defilement eradication are in 4 sides; Self-development for the freedom in the whole community, Community development for integrity across the community, Culture for having peace across the community, and Economics for creating fraternity across the community. 4.The new body of knowledge gained from the study is the model of human resource development by the Bunniyom system of Asoka Community in the Buddhist Integrated Approach called the "FIPF" Model. It means the four forms Bunniyom; freedom, integrity, peace, and fraternity.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๓) เพื่อบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก” โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. การป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ สามารถแบ่งออกมาเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำ ๒) ด้านข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ๓) ด้านประชาชน และ ๔) ด้านพระสงฆ์หรือนักบวช ๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมในบทบาทหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านผู้นำ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านผู้นำประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ๒. ด้านข้าราชการ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านข้าราชการ ประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักอธิปไตย อคติ ๔ หลักทิศ ๖ คาราวะ ๖ มงคล ๓๘ หมวดที่ ๗ และ อปริหานิยธรรม ๗ และหลักธรรมาภิบาล ๖ ๓. ด้านประชาชน หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านประชาชน ประกอบด้วย เบญจศีล - เบญจธรรม หลักทิศ ๖ สมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม สังคหวัตถุ อิทธิบาท พหูสูต ๔. ด้านพระสงฆ์ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย จตุปาริสุทธิศีล ๔ กถาวัตถุ ๑๐ สมณสัญญา ๓ และหลักสันโดษ ๓. เมื่อนำเอาหลักพุทธธรรมไปบูรณาการกับบทบาทและการทำหน้าที่ของบุคคลในแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้านก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้รู้จักอบรมตน มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติดี และ มีคุณธรรมจริยธรรม ๔. องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE MODEL P = Personnel Quality หมายถึง การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม R = Responsibility Roles หมายถึง มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่อยู่ร่วมกับสังคม C = Cultivation Ethics หมายถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างค่านิยมที่ดี E = Effort exertion Development หมายถึง หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักปธาน ๔
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๓) เพื่อบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก” โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. การป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ สามารถแบ่งออกมาเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำ ๒) ด้านข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ๓) ด้านประชาชน และ ๔) ด้านพระสงฆ์หรือนักบวช ๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมในบทบาทหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านผู้นำ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านผู้นำประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ๒. ด้านข้าราชการ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านข้าราชการ ประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักอธิปไตย อคติ ๔ หลักทิศ ๖ คาราวะ ๖ มงคล ๓๘ หมวดที่ ๗ และ อปริหานิยธรรม ๗ และหลักธรรมาภิบาล ๖ ๓. ด้านประชาชน หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านประชาชน ประกอบด้วย เบญจศีล - เบญจธรรม หลักทิศ ๖ สมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม สังคหวัตถุ อิทธิบาท พหูสูต ๔. ด้านพระสงฆ์ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย จตุปาริสุทธิศีล ๔ กถาวัตถุ ๑๐ สมณสัญญา ๓ และหลักสันโดษ ๓. เมื่อนำเอาหลักพุทธธรรมไปบูรณาการกับบทบาทและการทำหน้าที่ของบุคคลในแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้านก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้รู้จักอบรมตน มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติดี และ มีคุณธรรมจริยธรรม ๔. องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE MODEL P = Personnel Quality หมายถึง การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม R = Responsibility Roles หมายถึง มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่อยู่ร่วมกับสังคม C = Cultivation Ethics หมายถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างค่านิยมที่ดี E = Effort exertion Development หมายถึง หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักปธาน ๔
The objective of this dissertation were : 1) to study the prevention of social deterioration as depicted in the Mahasupina Jatak, 2) to study the Dhamma principles for enhancement of effective prevention of social deterioration depicted in the Mahasupina Jatak, 3) to integrate the prevention of social deterioration depicted in the Mahasupina Jatak with the Buddhist principles, and 4) to propose guidelines and knowledge regarding “The model of integration of Buddhadhamma in protection of social deterioration as depicted in the Mahasupina Jataka”. The data of this documentary qualitative research were collected from the primary sources, secondary sources and in-depth interviews with 24 experts. The data were analyzed, synthesized and classified to cope with the objectives of the study. The results of the study were found that : 1. The protection of social deterioration in Mahasupina Jataka had 16 items divided into 4 groups ; 1) Leader, 2) state servants or workers, 3) People, and 4) monks or Recluses. 2. The Buddhist principles to support the prevention of social deterioration as depicted in Mahasupina Jataka were as follows : 2.1 The Buddhist principles supporting the leaders are Brahmavihara Dhamma, Dasaraja Dhamma, Cakkavatti Dhamma, and Sangahavatthu Dhamma. 2.2 The Buddhist principles supporting the state servants are Sappurisa Dhamma, Adhipateya, Agati, Disa, Garava, item 7 of Mangala, Apahaniya Dhamma, and Dhammabhipala. 2.3 The Buddhist principles supporting the people are the Five Precepts and the Five Virtues, Disa, Samajivita, Gharavasa Dhamma, Sangaha vatthu Dhamma, Iddhipada, and Bahusutta. 2.4 The Buddhist principles supporting the monks are Catuparisuddhisila, Kathavatthu, Samanasanna, and Santosa. 3. The integration of Buddhadhamma with the role and duty performance of individuals in each group can result to the desirable qualifications ; self-improvement, responsibility, good behaviors, and establishment on morality and ethics. 4. The body of knowledge obtained from the study can be concluded in PRCE Model. P = Personnel Quality, R = Responsibility Roles, C = Cultivation Ethics, and E = Effort Development.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา,ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัตสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสนและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
ฉบับอัตสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสนและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด)พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด)พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 3) ประเมินและรับรองรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาคเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methoods Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำนวน 368 คน เครื่องมือวิจัยใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค จากแนวคิดทฤษฎีและการสัมภาษณ์ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ 51 ตัวแปร มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยเรียงลำดับ 9 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 2) ผลการประเมินรูปแบบผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค-สแควร์ (X)2 หรือ (P≤ 0.05) เท่ากับ 0.562 ค่า GFI = 0.93, และค่า RMSEA = 0.034 ได้องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ จำแนกได้ดังนี้ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 3) ผลการประเมินและรับรองผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.68 – 4.77) และผ่านเกณฑ์ในการรับรองตามที่กำหนด และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 3) ประเมินและรับรองรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาคเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methoods Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำนวน 368 คน เครื่องมือวิจัยใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค จากแนวคิดทฤษฎีและการสัมภาษณ์ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ 51 ตัวแปร มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยเรียงลำดับ 9 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 2) ผลการประเมินรูปแบบผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค-สแควร์ (X)2 หรือ (P≤ 0.05) เท่ากับ 0.562 ค่า GFI = 0.93, และค่า RMSEA = 0.034 ได้องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ จำแนกได้ดังนี้ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 3) ผลการประเมินและรับรองผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.68 – 4.77) และผ่านเกณฑ์ในการรับรองตามที่กำหนด และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
This dissertation has the following objective; 1. to study the composition of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration, 2. to develop the model of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration, and 3. to evaluate and certify the charismatic leadership model of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration. The samples of this mixed method research were 368 personnel in schools under the Secondary Educational Service Area 29. The research tools were semi-stuctured interviews and questionnaires. The data were analyzed by percentage, frequency, standard deviation, statistics software packages and composition analysis. The research results were found that: 1. The charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration consists of 9 sketch components and 51 variables. The nine components are; 1) visionary, 2) decisive, 3) self-confidence, 4) performance oriented, 5) inspiration, 6) intellectual stimulating, 7) fair, 8) integrity, and 9) humane. 2. The development model of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration was relevant to the empirical data with Chi-square (X)2 or (P≤ 0.05) = 0.562, GFI = 0.93, and RMSEA = 0.034. That resulted to 9 main components; 1) visionary, 2) decisive, 3) self-confidence, 4) performance oriented, 5) inspiration, 6) intellectual stimulating, 7) fair, 8) integrity, and 9) humane. 3. The model of development of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration was evaluated and certified by 23 experts in Accuracy, Propriety, Feasibility, and Utility at the highest level overall (4.68-4.77). The evaluation result was above the certified criteria and the result of focus group discussions was also in the same direction.
หนังสือ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการปีการศึกษา 2561 จำนวน 438 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฎิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2561 และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ และ 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบ วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีมี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 5พฤติกรรมบ่งชี้ 3) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ องค์ประกอบการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ใช้เทคโนโลยีเป็นกิจวัตรประวัติ มี 2 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนางาน มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้องค์ประกอบการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) มีการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการส่งเสริมการสอนออนไลน์ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้และองค์ประกอบการบูรณาการเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1)มีความเชื่อในเทคโนโลยี มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี มี 4 พฤติกรรมบ่งชี้3) มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้และทุกองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือตํ่ากว่า 20% จำนวน 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ 2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมากพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 37.541 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 32 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.230 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.986 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.967 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ0.20 องค์ประกอบมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้ 3.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการปีการศึกษา 2561 จำนวน 438 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฎิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2561 และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ และ 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบ วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีมี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 5พฤติกรรมบ่งชี้ 3) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ องค์ประกอบการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ใช้เทคโนโลยีเป็นกิจวัตรประวัติ มี 2 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนางาน มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้องค์ประกอบการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) มีการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการส่งเสริมการสอนออนไลน์ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้และองค์ประกอบการบูรณาการเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1)มีความเชื่อในเทคโนโลยี มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี มี 4 พฤติกรรมบ่งชี้3) มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้และทุกองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือตํ่ากว่า 20% จำนวน 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ 2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมากพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 37.541 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 32 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.230 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.986 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.967 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ0.20 องค์ประกอบมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้ 3.
ตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้ทรงคุณที่มีประสบการณ์ผู้นำทางด้านการบริหารและผู้นำทางเทคโนโลยีเพื่อประเมินความคิดเห็นต่อองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครพบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ ทุกตัวบ่งชี้มีอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this study were to study the technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration, to test the harmoniousness of technology leadership structure model developed with empirical data of administrators in schools under Bangkok Metropolitan and to asses the appropriateness, accuracy, and feasibility of technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration. The data were collected in 2018 by questionnaires from 438 school administrators. The indicators were checked and certified by 17 experts. The data were analyzed by mean, standard deviation, distribution coefficient, and factor analysis through computerized statistics program The research results found that: 1.leadership Indicators Of Technological Executives In Schools Under The Bangkok Metropolitan Administration consist of 4 main components, 12 indicators and 55 behavioral indicators that can be classified as follows: Main component in technological vision has 3 indicators; 1) 6 behavioral indicators in creating technological vision, 2) 5 behavioral indicators in dissemination of information technology, and 3) 6 behavioral indicators in compliance with technological vision. There are 3 indicators in the use of information technology in administration;1) 2 behavioral indicators in a history routine, 2) 7 behavioral indicators in work development, and 3) 3 behavioral indicators in professional advancement. There are 3 indicators in promoting the use of technological in teaching and learning; 1) 3 behavioral indicators in encouragement of computer-assisted instruction, 2) 3 behavioral indicators in online teaching promotion, and 3) 6 behavioral indicators in promoting teaching and learning through social network online. There are 3 2.main indicators in integration of information technology; 1) 3 behavioral indicators in the trust in technology, 2) 4 behavioral indicators in information technology readiness, and 3) 7 behavioral indicators in computer literate. All the main components have average and distribution coefficients for selection in the structural relationship model of technological leadership indicator of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration are in accordance with the criteria set forth; an average value of or above 3.00 and a coefficient distribution is equal to or less than 20% of 55 behavioral indicators. 2. The model is consistent with empirical data, considering from the chi - square value (c 2) = 37.541, Free degrees (df) = 32, Statistical significance (P-value) = 0.230, the consistency index (GFI) = 0.986, a revised consistency index (AGFI) = 0.967, and parameter estimation error (RMSEA) = 0.20. The main component has a component weight greater than the threshold 0.50 in all components. The Sub-elements and the indicators have higher weight than 0.30. in every element and every indicator. 3. Assessment results of the appropriateness, possibility, accuracy and feasibility of technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration were at a highest level.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคืออาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,740 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 617 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ มีผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 83 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.71-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 1.00-1.34 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.59-1.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคืออาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,740 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 617 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ มีผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 83 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.71-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 1.00-1.34 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.59-1.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
The objectives of this research were to 1) study the appropriateness of the indicators for selection in the model, 2) test the fitness of the model developed from theory and research with the empirical data, and 3) verify the factor loading value of the major components, minor components and indicators. The research population was 1,740 teachers in Boromarajonani college of nursing under Boromarajchanok Institute. Data were collected by using a set of rating scale questionnaires from 617 randomly selected multistage random sampling. Data analysis was done by statistical program. The results of the research were based on the research hypotheses : 1) The 83 indicators used in the study were suitable for the criteria as mean equal to or higher than 3.00 and distribution coefficients equal to or less than 20%. All were selected in the model. 2) Models developed from theory and research were fit with empirical data by the value of relative Chi-square (CMIN/DF), root mean square error of approximation (RMSEA), goodness-of-fit index (GFI) adjusted goodness-of-fit index (AGFI), comparative fit index (CFI), and normed fit index (NFI) were in accordance with the criteria from both of the first order and the second order of confirmative factor analysis, and 3) the major components had factor loading ranged from 0.71 to 1.00, which is higher than the criterion as 0.70. The minor components had factor loading between 1.00 to 1.34 and indicators had factor loading ranged from 0.59 to 1.42, which are higher than the criterion as 0.30.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 27,718 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 610 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปมีผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 60 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.84-1.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.31-1.95 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-8.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดล 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 27,718 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่าจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 610 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปมีผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ คือ 1) ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 60 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% จึงได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/DF) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเปรียบเทียบ (CFI) และค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงปทัสถาน (NFI) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งและอันดับสอง และ 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักมีค่าระหว่าง 0.84-1.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบย่อยมีค่าระหว่าง 0.31-1.95 และค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้มีค่าระหว่าง 0.30-8.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30
The objectives of this research were to 1) study the appropriateness of the indicators for selection in the model, 2) test the Fitness of the model developed from theory and research with the empirical data, and 3) verify the factor loading value of the major components, minor components and indicators. The research population was 27,718 primary school administrators under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission. Data were collected by using a set of rating scale questionnaires from 610 randomly selected multistage random sampling. Data analysis was done by statistical program. The results of the research were based on the research hypotheses : 1) The 60 indicators used in the study were suitable for the criteria as mean equal to or higher than 3.00 and distribution coefficients equal to or less than 20. All were selected in the model. 2) Models developed from theory and research were fit with empirical data by the value of relative Chi-square (CMIN/DF), Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA), Goodness-of-Fit Index (GFI) Adjusted Goodness-of-Fit Index (AGFI), Comparative Fit Index (CFI), and Normed Fit Index (NFI) were in accordance with the criteria from both of the first order and the second order of confirmative factor analysis, and 3) the major components had factor loading ranged from 0.84 to 1.70, which is higher than the criterion as 0.70. The minor components had factor loading between 0.31 to 1.95 and indicators had factor loading ranged from 0.30 to 8.26, which are higher than the criterion as 0.30.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 434 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่าระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.ระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ได้แก่ P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN และ LSR ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกค่า 4.ปัจจัยเบญจธรรมมีค่าอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่ออิทธิบาท เท่ากับ 0.98 และมีค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านอิทธิบาทไปยังภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและมยปัญญา เท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ปัจจัยอิทธิบาทมีค่าอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 434 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่าระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.ระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ได้แก่ P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN และ LSR ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกค่า 4.ปัจจัยเบญจธรรมมีค่าอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่ออิทธิบาท เท่ากับ 0.98 และมีค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านอิทธิบาทไปยังภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและมยปัญญา เท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ปัจจัยอิทธิบาทมีค่าอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่อมยปัญญาและภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธเท่ากับ 0.96 และ 0.81 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยมยปัญญาไม่มีค่าอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ ทั้งนี้ ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งสามตัวร่วมกันอธิบายภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ ได้ร้อยละ 0.96
The objectives of this research were: 1) to study and compare the level of moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University, 2) to study and compare the level of behaviors in factors influencing moral and ethical leadership based on Buddhism of the administrators in Mahamakut Buddhist University, 3) to examine the consistence of the developed structural equation model of moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University and the empirical data, and 4) to study the size of influence of casual factors affecting moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University. This research was used by the quantitative research method. The 434 samples used in the study were obtained by simple random sampling. The instrument used to collect data was the questionnaire with the rating scale of leadership and causal factors having reliability coefficient at 0.97 and 0.98 respectively. The statistics used for data analysis were descriptive and inferential statistic analyzing by SPSS and LISREL Programs. The research results found that: 1. The mean of moral and ethical leadership based on Buddhism was in a high level. The comparison classified by the statuses of key informants showed the indifferent level of moral and ethical leadership based on Buddhism. However, the key informants with equal or under 35 and over 46 years old reflected that administrators showed the different levels of behaviors with statistical significance at 0.05. 2. The levels of behaviors in factors influencing the moral and ethical leadership based on Buddhism were as follows; Pañca-dhamma factor (five ennobling virtues) Iddhipāda factor (path of accomplishment) and Mayapaññā factor (wisdom that has a way to arise) found a mean value at a high level. The comparison classified by the statuses of key informants showed the indifference with statistical significance. However, the key informants with equal or under 35 and over 46 years old reflected that the administrators showed the different levels of behaviors in Pañca-dhamma factor, InIddhipāda factors and Mayapaññā factors with statistical significance at 0.05. 3. The developed Structural Equation Model of Moral and Ethical Leadership Based on Buddhism was congruent with empirical data as specified criteria of fit indices as follows: P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN and LSR. 4. Pañca-dhamma factor showed the highest level of total influence on the moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.93 with statistical significance at 0.01. The Pañca-dhamma factor showed the direct influence on Iddhipāda at 0.98, and showed indirect influence via Iddhipāda to the moral and ethical leadership based on Buddhism and Mayapaññā at 0.83 and 0.94 respectively with statistical significance at 0.01. The second order, Iddhipāda factor showed the level of total influence on moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.85 with statistical significance at 0.01. The Iddhipāda factor showed the direct influence on Mayapaññā and moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.96 and 0.81 respectively with statistical significance at 0.01. As for Mayapaññā factor showed no influence on the moral and ethical leadership based on Buddhism. All of 3 causal factors jointly explained the moral and ethical leadership based on Buddhism for 96 %.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่ ๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่ ๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
The objectives of this dissertation were: 1) to study leadership of Buddhist missionary monks in Thailand, 2) to study Buddhadhamma reinforcing the leadership of Buddhist missionary monks , 3) to develop the leadership of Buddhist missionary monks with Buddhadhamma, and 4) to propose a model and knowledge in leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with Buddhadhamma. The data of this documentary research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 10 expert-monks. The data were analyzed, synthesized and presented in a descriptive method. The results of the study were found that: 1) The leadership of Buddhist missionary monks in Thailand is complied with Ovadapatimokkha or The Principal Teaching. That means the missionary monks have to dare not to do any evil, to do good, and to purify the mind. 2) The Buddhist principles for leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand are Sappurisa Dhamma, Kalyanamitta Dhamma, Brahmavihara Dhamma, and 8 qualifications, i.e. to be a good listener, to be a good speaker, to be learned, to have good memory, to be comprehensive, to be able to clarify, to be wise in leadership, and not to create quarrels and problems. 3) The leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with the Buddhist principles are that; (1) to integrate Kalyanamitta Dhamma in searching for knowledge sources and good companions, (2) to integrate Sappurasa Dhamma in building discipline in one’s own life development, work creation and performance, self-training, living a life based on causality and carefulness, and (3) to integrate Brahmavihara Dhamma in duty performance with proper attention. 4) The leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with Buddhadhamma can be concluded in LDMBW Model.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัตสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัตสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ระบุองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 640 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2557 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 12 ตัวบ่งชี้ จำแนกตามมิติขององค์ประกอบในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างได้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้คือ องค์ประกอบความร่วมมือ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การแบ่งปันข้อมูล 2) ความรับผิดชอบ 3) การแก้ปัญหา องค์ประกอบความรู้ดิจิตอลมี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) เข้าใจดิจิตอล 2) การใช้ดิจิตอล 3) การรู้สารสนเทศ องค์ประกอบวิสัยทัศน์ดิจิตอล มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ 2) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ 3) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และองค์ประกอบการสื่อสาร มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสาร 2) ทัศนคติในการสื่อสาร 3) ชัดเจนในการสื่อสาร โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย 60 พฤติกรรมบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายที่เหมาะสมสำหรับการคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ/น้อยกว่า 20 % 2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยพิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ ( ) เท่ากับ 7.863 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 6 ( /df = 1.31) ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.248 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.998 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.973 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.022 3. องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ ส่วนตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัวบ่งชี้ และทุกพฤติกรรมบ่งชี้
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ระบุองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 640 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2557 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 12 ตัวบ่งชี้ จำแนกตามมิติขององค์ประกอบในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างได้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้คือ องค์ประกอบความร่วมมือ มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การแบ่งปันข้อมูล 2) ความรับผิดชอบ 3) การแก้ปัญหา องค์ประกอบความรู้ดิจิตอลมี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) เข้าใจดิจิตอล 2) การใช้ดิจิตอล 3) การรู้สารสนเทศ องค์ประกอบวิสัยทัศน์ดิจิตอล มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ 2) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ 3) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และองค์ประกอบการสื่อสาร มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสาร 2) ทัศนคติในการสื่อสาร 3) ชัดเจนในการสื่อสาร โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ที่ใช้ในการวิจัย 60 พฤติกรรมบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายที่เหมาะสมสำหรับการคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ/น้อยกว่า 20 % 2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก โดยพิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ ( ) เท่ากับ 7.863 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 6 ( /df = 1.31) ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.248 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.998 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.973 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.022 3. องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ ส่วนตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัวบ่งชี้ และทุกพฤติกรรมบ่งชี้
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to develop the digital leadership indicators of school administrators under Office of the Basic Education Commission, 2) to test the balancing of the digital leadership indicators model developed from empirical data of school administrators under Office of the Basic Education Commission, and 3) to indicate factors, indicators and indicator behaviors with construct validity or composition weight according to the specified criteria. The data of this quantitative research were collected from 640 samples consisting of basic school administrators under Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education, in the academic year 2016. The data were analyzed by mean, standard deviation, distribution coefficient, and factor analysis through computerized statistical program. The results of the study were found that: 1. There were 12 digital leadership indicators of school administrators under Office of the Basic Education Commission classified by 4 factor dimensions in structural relation model: 3 indicators in Collaboration elements; 1) Sharing Information, 2) Responsibility, and 3) Problem-Solving, 3 indicators in Digital literacy elements; 1) Digital literacy, 2) Digital Usage, and 3) Information Literacy, 3 indicators in Digital Vision elements; 1) Vision Formulating 2) Vision Articulating, and 3) Vision Implementing, and 3 indicators in Communication elements; Elements of Communication has 3 indicators, 1) Communication Skills, 2) Communication Attitude, and 3) Clarity in Communication. The 60 behaviors indicators used in the research had appropriate average value and distribution coefficient allocated in every structural relationship model which according to the criteria set, the average was higher than 3.00 and the distribution coefficient was equal or lower than 20% 2.The measurement model of each component developed from the theory and research was positively consistent with the empirical data; = 7.863, df = 6 ( /df = 1.31), P-value = 0.248, GFI = 0.998, AGFI = 0.973, and RMSEA = 0.022 3.The factor loading of each indicator and balance component was higher than the specified criteria at 0.05. Indicators and indicator behaviors had standard weight higher than the specified criteria at 0.30.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 255
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 255
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการเป็นผู้ติดยาเสพติดในเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชน 3) เพื่อบูรณาการสร้างภูมิคุ้มกันการ ติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการ บูรณาการการสร้างภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research Methodology) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากความสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และเจ้าหน้าที่ประจำสถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 20 คน เยาวชนที่กำลังบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติด ณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีและ ณ สถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 40 คน และเยาวชนที่ไม่ติดยาเสพติดที่กำลังศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิค มีนบุรี จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 155 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการติดยาเสพติดของเยาวชน เกิดจากปัจจัยด้านครอบครัว บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ความรักความอบอุ่นแก่เยาวชนไม่เพียงพอ ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน ไม่ได้ปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้รังเกียจยาเสพติด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่ มีเพื่อนบ้านเป็นผู้ติดยาเสพติด ปัจจัยด้านจิตวิทยา การถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับ ปัจจัยการคบเพื่อน คบเพื่อนโดยไม่สังเกตว่าเขาเป็นคนเช่นไร ปัจจัยการติดการพนัน แพ้พนันแล้วไม่มีเงินจ่าย ปัจจัยการไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยการขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยจาก ความรัก ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด และปัจจัยการขาดศึกษาตามวัย ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้สร้างภูมิคุ้มกัน มี 3 หลักธรรม ประกอบด้วย 1) อริยสัจ 4 นำมาใช้เป็น “แนวคิด” ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีป้องกัน เพราะเป็นคำสอนที่มุ่งให้แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา 2) สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ โดยนำข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักตน, ข้อปุคคลัญญุตา ความรู้จักบุคคล และข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักผล เรียกสั้น ๆ ว่า “รู้ตน รู้คน รู้ภัย” มาใช้เป็น “วัคซีน” 3) นำข้อธรรมทั้ง 3 นี้ไปใช้ร่วมกับมรรคมีองค์ 8 ในข้อสัมมากัมมันตะ ซึ่งอยู่ในหมวดศีล เพื่อให้เกิด “ความเชื่อมั่น” ว่า การปฏิบัติใด ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ตน รู้คน และรู้ภัย นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น หลังจากนั้นนำข้อธรรมทั้ง 3 สู่การปฏิบัติทางโลก ด้วยการแปลงศีลเป็นวินัย เพราะศีลในทางธรรม คือ วินัยในทางโลก สุดท้ายปลูกฝังความวินัยให้เกิดขึ้นในเยาวชน ด้วยการให้ปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นให้เป็นคนรู้ตน รู้คน และรู้ภัย อย่างคงเส้นคงวาจนเกิดเป็นความเคยชิน และด้วยความเคยชินในกิจกรรมที่สร้างสรรค์จะกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดในจิตใจของเยาวชน องค์ความรู้ใหม่ที่การวิจัยค้นพบ คือ AC for 3Ks Model ซึ่งเกิดจากการให้เยาวชนทำกิจกรรม (Activities: A) อย่างคงเส้นคงวา (Consistently: C) เพื่อ (for)
การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการเป็นผู้ติดยาเสพติดในเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชน 3) เพื่อบูรณาการสร้างภูมิคุ้มกันการ ติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการ บูรณาการการสร้างภูมิคุ้มกันการติดยาเสพติดในเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research Methodology) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากความสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และเจ้าหน้าที่ประจำสถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 20 คน เยาวชนที่กำลังบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติด ณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีและ ณ สถานพินิจเด็กและเยาวชน แห่งละจำนวน 40 คน และเยาวชนที่ไม่ติดยาเสพติดที่กำลังศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิค มีนบุรี จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 155 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการติดยาเสพติดของเยาวชน เกิดจากปัจจัยด้านครอบครัว บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ความรักความอบอุ่นแก่เยาวชนไม่เพียงพอ ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน ไม่ได้ปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้รังเกียจยาเสพติด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่ มีเพื่อนบ้านเป็นผู้ติดยาเสพติด ปัจจัยด้านจิตวิทยา การถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับ ปัจจัยการคบเพื่อน คบเพื่อนโดยไม่สังเกตว่าเขาเป็นคนเช่นไร ปัจจัยการติดการพนัน แพ้พนันแล้วไม่มีเงินจ่าย ปัจจัยการไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยการขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย ปัจจัยจาก ความรัก ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด และปัจจัยการขาดศึกษาตามวัย ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้สร้างภูมิคุ้มกัน มี 3 หลักธรรม ประกอบด้วย 1) อริยสัจ 4 นำมาใช้เป็น “แนวคิด” ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีป้องกัน เพราะเป็นคำสอนที่มุ่งให้แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา 2) สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ โดยนำข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักตน, ข้อปุคคลัญญุตา ความรู้จักบุคคล และข้ออัตตัญญุตา ความรู้จักผล เรียกสั้น ๆ ว่า “รู้ตน รู้คน รู้ภัย” มาใช้เป็น “วัคซีน” 3) นำข้อธรรมทั้ง 3 นี้ไปใช้ร่วมกับมรรคมีองค์ 8 ในข้อสัมมากัมมันตะ ซึ่งอยู่ในหมวดศีล เพื่อให้เกิด “ความเชื่อมั่น” ว่า การปฏิบัติใด ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ตน รู้คน และรู้ภัย นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น หลังจากนั้นนำข้อธรรมทั้ง 3 สู่การปฏิบัติทางโลก ด้วยการแปลงศีลเป็นวินัย เพราะศีลในทางธรรม คือ วินัยในทางโลก สุดท้ายปลูกฝังความวินัยให้เกิดขึ้นในเยาวชน ด้วยการให้ปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นให้เป็นคนรู้ตน รู้คน และรู้ภัย อย่างคงเส้นคงวาจนเกิดเป็นความเคยชิน และด้วยความเคยชินในกิจกรรมที่สร้างสรรค์จะกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดในจิตใจของเยาวชน องค์ความรู้ใหม่ที่การวิจัยค้นพบ คือ AC for 3Ks Model ซึ่งเกิดจากการให้เยาวชนทำกิจกรรม (Activities: A) อย่างคงเส้นคงวา (Consistently: C) เพื่อ (for)
มุ่งหมายให้เขารู้ตนว่าเป็นคนมีคุณค่า (Knowing himself as a value: K), รู้ที่จะเลือกคบเพื่อน (Knowing how to make friend: K), และรู้ภัยของยาเสพติด (Knowing how to know drug hazard: K)
The objective of the research entitled “The Youth Immunization from Drug Addiction with Buddhadhamma” is the following: 1) To study the causes of drugs addicts in youth, 2) To study the principles of Buddhadhamma that will be used to study as immunity to drug addiction in youth, 3) To integrate the youth immunization from drug addiction with Buddhadhamma, and 4) To create new knowledge about “The model of integration of the youth immunization from drug addiction with Buddhadhamma". This research is a qualitative research using documentary research methodology and collecting data by questionnaires from the voluntary sample consisting of 5 monks, 10 Central Special Correctional Institution personnel, full-time staff from the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment (PMNIDAT), and full-time staff from the Department of Juvenile Observation and Protection for 20 staff in each agency. Youth who are being treated for drug addiction at the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment and the Department of Juvenile Observation and Protection for 40 youths in each agency, and non-addicted youth who are studying at Minburi Technical College Bangkok, totaling 20 people, for total of 155 monks/person. The results of the study found that: The causes of youth addiction are caused by family factors, not enough for parents or guardians to give love and warmth to youth, not a good example for young, not raising awareness of youth to hate drugs, economic factors, family’s income is not enough to cover expenses existing environment factors, addicted neighborhood, Psychological factors, demeaning or demanding to be accepted, dating factors, making friendships without noticing what they’re, gambling factors, lost a bet and had no money to pay. The factor not how to know to keep with free time to be useful. These factors make being easily influenced, lacking of goals in life, resulting in being easily influenced. Love factor makes a wrong decision, and the lack of education factor by age results in being easily influenced. The Buddhadhamma used to create immunity consist of 3 principles, namely: 1) Noble Truth 4: used as a "concept" for solving problems through prevention methods, aimed at resolving the root cause of the problem. 2) The Sappurisa Dharma 7: is the Dharma of the faithful by bringing the knowing oneself, knowing how to make friend, and knowing the result to be used as a "vaccine” 3) Using these 3 verses together with the Eightfold Path of the Right View which is in the precept category in order to create "confidence" that any practice for knowledge, self-awareness, and danger must be performed only in a good way. Bringing the principles of the Buddhadhamma principles to create immunity, there’s begin with the conversion of precepts into discipline. Because moral precepts are worldly discipline, and create discipline in the youth later, by having them perform activities aimed at reinforcing them as the following: 1) Knowing oneself means knowing that he is a valuable person, by making him "a smart person" for his own benefit, such as studying smart, playing sports, playing good music, etc. or creating him "good person" for the benefit of others, such as helping to do housework, as to dedicate themselves to the benefit of society, etc. 2) Knowing people, means knowing how to select the good person to be friends. 3) Knowing danger, means being aware of the drug danger by conducting activities with such aims consistently and until becoming familiar will impact on immunity in the minds of young people and will not interfere with drugs.
หนังสือ

    งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
The researcher entitled “Sexual Diversity and the Realization in Theravãda Buddhist Philosophical Perspective” has the objectives as follows : 1) to study concepts and theories of sexual diversity, 2) to study the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, 3) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, and 4) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy.The data of this documentary qualitative research were collected from the concerned primary and secondary sources. The results of the study were found that the concepts and theories of sexual diversity are the set of knowledge that covers 3 aspects ; sex, gender, and sexuality. The realization in the absolute truth in Theravada Buddhist philosophy is the principle and practical guideline to attain the ultimate truth. The analytical results found that : 1) Sexuality did not obstruct the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy. Men and women were equal on the base of truth. When their potential was developed until they could understand the Three Common Characteristics, they could further develop themselves to obtain wisdom and to realize the truth in the end. 2) Sexuality was not the obstacle to the realization in Theravada Buddhist philosophy since both monks and lay-people had their own potential to attain the absolute truth equally. 3) Sexuality was only a condition, a restriction, a prohibition, and a precaution for lay-people and monks who adheres to the celibacy with the aim to achieve the realization of absolute truth. Thus, the gender diversity had the potential in realization on the absolute truth indifferently. The concept of gender diversity in Theravada Buddhist Philosophy was above the paradigm of gender diversity from conventional truth to absolute truth that was beyond time and all paradigms.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
The objectives of this research were as follows: 1)to study the conditions of criminal juvenile delinquency of children and adolescents; and theories of cognitive behavior modification, 2) to study Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara, 3) to integrate behavior modification of children and adolescents in criminal juvenile delinquency with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara, and 4)to present a body of knowledge on “Behavior Modification of Children and Adolescents in Criminal Juvenile Delinquency with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara.The research relied on qualitative method and in-depth interviews. The results of this research showed that: 1) The reasons why children and adolescents committed a crime were caused from internal factors or covert behaviors, such as understanding, belief, values, attitudes or intellectual behaviors which affected external behaviors or overt behavior. 2) Cognitive behavior modification with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara is a thinking process in problem solution consisting of the Right View as a key, which will help children and adolescents live with mindfulness. 3) The integration of cognitive behavior modification with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara consists of 4 steps in thinking practice for problem solution; 1) Identify problems, 2) Identify goals or targets, 3) Implement the plan to achieve the goals or targets, and 4) Repetition. All these steps are to help create positive thinking. 4) The body of knowledge obtained from the study is to have thinking practice in problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara. The problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara leads to desirable external behavior and creates Buddhist internal intelligence. This is served as an everlasting immunity for children and adolescents to live a suitable life in the present situations.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2552
ฉบับอัดสำเนา,ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2552
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3-10 จำนวน 201 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน รวม 676 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 17 องค์ประกอบ 115 ตัวแปร 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การดำเนินงาน 2) กระบวนการบริหารงานวิชาการ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ 4) การมีส่วนร่วมการศึกษา และ 5) ควบคุมคุณภาพการศึกษา และจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า องค์ประกอบหลักควบคุมคุณภาพการศึกษา มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ กระบวนการบริหารงานวิชาการ กิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการศึกษา ตามลำดับ และรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 1.829, DF = 6, P-value = .935, GFI = 1.00, AGFI = .992 และ RMSER = .000 แสดงว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 (X ̅ = 4.42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การรับรองที่ผู้วิจัยกำหนดคือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงถือว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3-10 จำนวน 201 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน รวม 676 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 17 องค์ประกอบ 115 ตัวแปร 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคกลาง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การดำเนินงาน 2) กระบวนการบริหารงานวิชาการ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ 4) การมีส่วนร่วมการศึกษา และ 5) ควบคุมคุณภาพการศึกษา และจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า องค์ประกอบหลักควบคุมคุณภาพการศึกษา มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ กระบวนการบริหารงานวิชาการ กิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการศึกษา ตามลำดับ และรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 1.829, DF = 6, P-value = .935, GFI = 1.00, AGFI = .992 และ RMSER = .000 แสดงว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 (X ̅ = 4.42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การรับรองที่ผู้วิจัยกำหนดคือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงถือว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
The purposes of this research were as follows : 1) to study the components of the academic administration in secondary schools in the central region of the Office of Basic Education Commission, 2) to create an academic administration model of the secondary schools in the central region of the Office Basic Education Commission, and 3) to evaluate and affirm the academic administration model of the secondary schools in the central region of the Office Basic Education Commission. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected by questionnaires with reliability at 0.98, structural interviews and checklist forms from 676 samples consisting of school directors, vice academic directors, heads of academic department and teachers in 201 secondary schools under Office of the Basic Education Commission area 3-10. The data were collected from September 2018 to February 2019 and then analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis, and confirmatory factor analysis. The results of this research found that : 1. The components of the academic administration of the secondary schools in the central region of the Office of Basic Education Commission consist of 17 components and 115 variables. 2. The academic administration model of the secondary schools in the central region of the Office Basic Education Commission from exploratory factor analysis (EFA) has 5 main components; 1) Operation, 2) Academic administration process, 3) Learning activities, 4) Educational participation, and 5) Educational quality control. The results of confirmatory factor analysis (CFA) indicated that the highest value was on Educational quality control, followed by Learning activities, Operation, and Educational participation respectively. The model of academic administration for secondary school administrators has a chi-square value = 1.829, DF = 6, P-value = .935, GFI = 1.00, AGFI = .992, and RMSER - .000. This result indicates that the model is consistent with the empirical data. 3. The evaluation and confirmation of the model from experts in its propriety, accuracy, feasibility, and utility is at  = 4.42, higher than the set criteria at  = 3.51. That means the model is approved.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559