Search results

3 results in 0.05s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์จากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงาน โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนจูงใจให้บุคลากรมีความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์แตกต่างกัน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test/One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์จากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงาน โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนจูงใจให้บุคลากรมีความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
The objective of this thesis were as follows; 1) to study the application of Sanghavatthu in work performance of the Local Administrative Organization Personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province in 3 areas: infrastructure, quality of life promotion, and management and conservation of natural resources and environment 2) to compare the application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel Phuttamonthon district Nakhon Pathom province based on their sex age educational level and work experience, and 3) to propose a guidance on the application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province. The quantitative data were collected from 196 samples by questionnaires and analyzed by frequency, mean, percentage, standard deviation, T-test, F-test, One-way ANOVA and LSD method. The qualitative data were collected by in-depth interview with 5 administrators of Local Administrative Organization in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province. The results of the study found that: 1) The application of Sangkhahawatthu in work performance of the Local Administrative Organization personnel in Phuttamonthon district Nakhon Pathom province in 3 areas was at a high level overall. In details, the highest level was on management and conservation of natural resources and environment, followed by quality of life promotion, and infrastructure respectively. 2) From the hypothesis testing, the personnel with different sexes, ages, educational levels, and work experiences had no different levels in the application of Sangkhahawatthu in their performance. 3) The guidelines on the application of Sanghahavatthu in work performance of the local Administrative organization personnel in Phuttamonthon district of Nakhon Pathom province are that the personnel should be encouraged and supported in opinion exchange in work, in hospitality to each other, and in work motivation and responsibility.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานประกันสังคมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาบทบาทการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาประโยชน์และคุณค่าการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล (Key Informants)จากบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 11 ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีประสบการณ์ในองค์กรมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Criterion Based Selection) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) วิเคราะห์ส่วนประกอบ (Component Analysis) และการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) ที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง (Structured Interview) ซึ่งปรับปรุงมาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Validity) ในการวิจัยจากที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เพื่อให้เกิดความมั่นใจของผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง แม่นยำและมีประสิทธิภาพ แล้วจึงทำการสรุปบรรยายให้เห็นถึงความหมายของข้อมูลเหล่านั้น แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานประกันสังคมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคม บุคลากรสำนักงานประกันสังคมที่ได้จากผลการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ บุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครล้วนมีการปฏิบัติงานภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตรงตามแนวปฏิบัติที่โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบที่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน พ.ศ.
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานประกันสังคมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาบทบาทการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาประโยชน์และคุณค่าการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล (Key Informants)จากบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 11 ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีประสบการณ์ในองค์กรมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Criterion Based Selection) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) วิเคราะห์ส่วนประกอบ (Component Analysis) และการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) ที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง (Structured Interview) ซึ่งปรับปรุงมาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Validity) ในการวิจัยจากที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เพื่อให้เกิดความมั่นใจของผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง แม่นยำและมีประสิทธิภาพ แล้วจึงทำการสรุปบรรยายให้เห็นถึงความหมายของข้อมูลเหล่านั้น แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานประกันสังคมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคม บุคลากรสำนักงานประกันสังคมที่ได้จากผลการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ บุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครล้วนมีการปฏิบัติงานภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตรงตามแนวปฏิบัติที่โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบที่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน พ.ศ.
2559 ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงานไว้ 2) บทบาทการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครที่ได้จากผลการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ บุคลากรมีการปฏิบัติงานด้วยความขยันหมั่นเพียรมุ่งมั่นทุ่มเท ตั้งใจและรอบคอบ มีความจริงใจให้แก่กัน ซื่อสัตย์สุจริตทั้งกาย วาจา และใจ พูดจริงทำจริง ตรงไปตรงมา รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง สามารถพัฒนาปรับปรุงตนให้ดีขึ้น มีความอดทนอดกลั้นต่อความลำบาก รู้จักใช้สติ ปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของหลักฆราวาสธรรม เพื่อให้การปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบและการให้บริการเป็นไปอย่างราบรื่น มีความสุขเมื่อได้ร่วมงานกันและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ จนทำให้ตนเองประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ 3) ประโยชน์และคุณค่าการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครที่ได้จากผลการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ 1) หลักฆราวาสธรรมมีประโยชน์และคุณค่าต่อการปฏิบัติงานเพราะสามารถทำให้บุคลากรเป็นคนซื่อสัตย์ จริงใจ มีจิตใจเข้มแข็งมั่นคงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ควบคุมอารมณ์ข่มจิตใจของตน รู้จักใช้สติยับยั้งชั่งใจและพิจารณาปรับปรุงตนเองได้ตลอดเวลา ทั้งยังทำให้ต่างฝ่ายต่างมีความเสียสละ โอบอ้อมอารี เป็นที่พึงให้คนอื่น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุให้การครองเรือนและการครองงานเป็นไปด้วยความราบรื่นและได้รับผลสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่การงานตามที่หวังไว้ 2) หลักฆราวาสธรรมทุกข้อล้วนมีความสำคัญและมีความเกี่ยวพันกันจะขาดข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้ เพราะสามารถนำมาใช้ลดปัญหาความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในการทำงาน ช่วยในการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่นและสามารถจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ยังผลให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้อย่างที่ตั้งใจไว้ 3) การนำเอาหลักฆราวาสธรรมมาประยุกต์ใช้ในการทำงานเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะหลักฆราวาสธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเองและผู้อื่นให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่น นำพาความสำเร็จและความมีความสุขในการดำเนินชีวิตมาสู่ตัวผู้ปฏิบัติ และ 4) บุคลากรล้วนเห็นว่าหลักฆราวาสธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทุกคนมีความสุขในการทำงาน ลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เพราะต่างฝ่ายต่างมีสติทำหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้องตรงไปตรงมาและเต็มใจ รู้จักรักษาคำพูดมีน้ำใจไมตรีและความจริงใจให้กัน มีปัญญาในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ มีความอดทนอดกลั้นในการควบคุมคำพูดและกริยาอารมณ์ มีเหตุผลสามารถไตร่ตรองให้รอบคอบ รู้จักปรับปรุงตนเองและรู้จักเสียสละและให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างเรียบร้อยและประสบผลสำเร็จไปตามที่ได้คาดหมายไว้
The objectives of this thesis were: 1) to study the social security performance of the personnel in the Bangkok Social Security Office, 2) to study the social security operating conditions according to Gharavasa Dhamma principles of the personnel in the Bangkok Social Security Office, 3) to study the benefits and values of social security performance according to Gharavasa Dhamma principles of the personnel in the Bangkok Social Security Office. This research is a qualitative research using in-dept interview method from personnel of the Bangkok Social Security Office Area 11 who have more than 5 years of organizational experience. 11 people were selected by a specific sample (Criterion Based Selection) as a tool used in the research study. The data were analyzed by using content analysis, component analysis, and analytic induction derived from in-depth interviews from the structured interview form, which was revised from the literature review that involved in testing the validity of the instrument in the research from 3 consultants and experts to ensure the accurate, precise and efficient results. Then a summary explaining the meaning of those data was made and presented in a descriptive way. The results of the study showed that: 1) Social security operating conditions of Social Security Office personnel obtained from the study, documents and interviews were in the same direction as follows: the office personnel are operating under the rules and regulations in accordance with the guidelines of the structure of duties and responsibilities according to the ministerial regulations allocating government agencies, the Social Security Office. The Ministry of Labor 2016 has defined the duties and responsibilities of the work group. 2) The role of social security work according to GharavasaDhamma principles of the personnel in the Bangkok Social Security Office were as follows: Personnel perform their work with diligence, determination and dedication. They are also determined, careful, sincere to each other and honest in body, speech and mind. They speak truthfully and honestly, know how to control one's emotions, are able to develop and improve themselves and have patience and tolerance to hardships, know how to use wisdom to solve problems and obstacles, have sacrifice and generosity, provide assistance to colleagues for the common good in accordance with the guidelines of GharavasaDhamma to ensure the smooth and happy operation and service in working together and meeting the objectives of the agency. 3) The benefits and values of social security practices according to Gharavasa Dhamma principles of the personnel in the Bangkok Social Security Office were as follows: 1) The GharavasaDhamma is useful and valuable to the operation because it can make the personnel to be honest, sincere, have mental strength and stability. They can endure various hardships, control their emotional instability, know how to use restraint and consider self-improvement all the time. It also makes them have sacrifice, generosity, and be worthy of others. All this contributes to the smoothness and success of the household work and office work as expected. 2) Each of the GharavasaDhamma principles is important and there is no connection between one of them because it can be used to reduce conflicts in the work, help to operate work smoothly and able to handle problems. As a result, it gives success in work and progress in life as intended. 3) Applying the GharavasaDhamma to work is good and useful because GharavasaDhamma is a tool that binds the mind of oneself and of others’ to work smoothly and to bring success and happiness in life to the practitioner; and 4) Personnel see that GharavasaDhamma principles are a tool to hold one's mind to be happy at work, reduce conflicts arising from work because each party is conscious of doing their duty with honesty, accuracy, straightness and willingness, to know how to keep the word, and have compassion and sincerity to each other. They have intelligence in thinking, analyzing, discriminating, and having patience and restraint in verbal and emotional control. There is a reason that can be considered carefully. They also have self-improvement and self-sacrifice and assistance to co-workers, resulting in cooperation development and operational quality as expected.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติทางการปกครองตามหลัก สังควัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากประชาชนผู้ใช้บริการผู้ใช้บริการที่สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล จำนวน 4,498 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน ตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังควัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านงานอำนวยการ รองลงมาคือ ด้านงานสืบสวนสอบสวน และด้านงานจราจร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านงานป้องกันปราบปราม ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็น ต่อการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังควัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติทางการปกครองไม่แตกต่างกัน 3.
วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติทางการปกครองตามหลัก สังควัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากประชาชนผู้ใช้บริการผู้ใช้บริการที่สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล จำนวน 4,498 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน ตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังควัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านงานอำนวยการ รองลงมาคือ ด้านงานสืบสวนสอบสวน และด้านงานจราจร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านงานป้องกันปราบปราม ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็น ต่อการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังควัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติทางการปกครองไม่แตกต่างกัน 3.
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านงานอำนวยการ ควรมีปริมาณเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยการให้บริการประชาชน ในการให้คำแนะนำต่างๆ อย่างทั่วถึง ในการรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลเรื่องวินัยกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับโดยการทำงานนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องรู้จักการให้ เช่น การให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจกับประชาชนที่มีความเดือดร้อนประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนเพื่อความสงบสุขของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ด้านงานป้องกันปราบปรามตำรวจ ต้องใส่ใจและทำหน้าที่ในการป้องกันทั้งยาเสพติด และการเกิดอาชญากรรม เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยการตั้งหน่วยบริการประชาชนหรือตั้งด่านตรวจชะลอการเกิดอุบัติเหตุกิจกรรมชุมชนมวลชนสัมพันธ์ ด้วยวาจา ที่เป็นประโยชน์ ยึดความปลอดภัยของประชาชนเป็นที่ตั้ง ด้านงานสืบสวนสอบสวนตำรวจ ไม่ควรปล่อยให้มีคดีตกค้างนานและสอบสวนอย่างโปร่งใสผู้บังคับบัญชาต้องคอยกวดขันและติดตามคดีต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้น ไปถึงที่เกิดเหตุโดยรวดเร็วมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน ให้ระลึกอยู่เสมอว่า ประชาชนทุกคนก็เหมือนญาติพี่น้อง สิ่งไหนช่วยเขาได้ ก็ต้องช่วยด้วยความเต็มใจให้คำแนะนำที่ดีแก่ประชาชน ด้านงานจราจรควรปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนและภาวะปกติ หรือในกรณี มีอุบัติเกิดขึ้น พร้อมทั้งตรวจสภาพการจราจร ในถนนสายต่างๆ และบังคับใช้กฎหมายจราจร กับผู้ขับขี่ยานพาหนะอบรมบรรยาย ให้ความรู้ตามสถานศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร ระเบียบ ข้อบังคับ สัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจรต่างๆ แก่นักเรียน
The objectives of this research were: 1. to study administrative procedure according to Sangahavatthu of Phutthamonthon Police Station in Phutthamonthon district of Nakhonpathom province, 2. to compare the opinions of service recipients on administrative procedure according to Sangahavatthu of Phutthamonthon Police Station in Phutthamonthon district of Nakhonpathom province, and 3. to give recommendations on administrative procedure according to Sangahavatthu of Phutthamonthon Police Station in Phutthamonthon district of Nakhonpathom province. The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 368 samples of 4,498 service recipients at Phutthamonthon Police Station. The qualitative data were collected by in-depth interviews with 5 key-informants. The statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results of the study found that: 1.The people’s opinions on administrative procedure according to Sangahavatthu of Phutthamonthon Police Station in Phutthamonthon district of Nakhonpathom province were at a high level overall. In descending order, the highest level was on Administrative work, followed by Investigation work, Traffic work, and Prevention and Suppression work respectively. 2.In comparative results, the people with different education level, occupation and income had different opinions on administrative procedure according to Sangahavatthu of Phutthamonthon Police Station with statistical significance at 0.05, but the difference was not on those with different gender and age. The suggestions were as follows: In Administrative work; there should be the police officers to give advice and supervise the discipline, laws, rules, and regulations. The police officers should provide advices and assistances to encourage people to overcome their troubles and to keep peacefulness in the area. In Prevention and Suppression; the police should pay attention and take an action to prevent both drugs and crimes for the safety of people's lives and properties. Checkpoints to slow down accidents, community activities, and public relations should be arranged for the safety of people. In Investigative work; the police shouldn't let the cases remain for a long time. Investigation should be performed transparently and enthusiastically under the supervision of supervisors. The police officers should reach the scene as soon as possible and have good human relations with people. In Traffic work; the traffic law should be strictly enforced all the time. The traffic laws and traffic regulations should be provided to people by propagation and training courses.