Search results

9 results in 0.12s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ 3) เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Oualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) เป็นเครื่องมือใน การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระสงฆ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ โดยเป็นวัดที่ได้รับการประกาศเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560 กระจายทุกภาคของประเทศ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 วัด/จำนวน 474 รูป/คน, สัมภาษณ์ พระสังฆาธิการ จำนวน 9 รูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ เป็นงานก่อสร้างซ่อมแซมและงานบูรณปฏิสังขรณ์ วางแผนปรับปรุง การพัฒนารวมไปถึงการทําวัดให้สะอาดร่มรื่นสะดวกสบาย ดูสวยงามให้สบายตาเป็นศาสนสถานที่สัปปายะ ปัญหาที่พบ 1) ระเบียบวิธีการบริหารจัดการงบประมาณมีปัญหา 2) ระบบการบริหารจัดการสาธารณูปการ ทั้งศาสนวัตถุศาสนสถาน ศาสนบุคคลที่สามารถตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจกันได้ให้ดำเนินงานไปมีประสิทธิภาพ 3) วัสดุอุปกรณ์สิ่งปลูกสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ในแต่ละวัดยังมีสภาพไม่พร้อม ไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่สัปปายะ ไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ 4) การจัดการของพระสังฆาธิการอาจจะขาดการวางแผน ขาดการจัดทีมงานทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ขาดผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ 5) การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ กุฏิเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ ที่ผิดจากรูปแบบดั้งเดิม 2. การบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ : บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเน้นการวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวน การ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม ใช้ 3 ทักษะ เพื่อการบริหารจัดการ คือ 1) ทักษะเชิงเทคนิค (การจัดการ) 2) ทักษะเชิงมนุษย์ (มนุษยสัมพันธ์ )และ 3) ทักษะเชิงมโนมติ (วิสัยทัศน์) ผลดี 1) มีคุณภาพด้วยการกระจายอำนาจ 2) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน เพื่อการพัฒนาการสาธารณูปการเป็นอย่างดี 3) มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 4) มีการจัดผังวัดตามระเบียบแบบแผน 5) มีการดูแลบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ ที่ทันกาล 6) มีเครือข่ายประสานความร่วมมือช่วยเหลือกัน 7) มีกองทุนมูลนิธิสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ 8) มีการดูแลสุขพลานามัยด้วยกิจกรรม 5 ส 9) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากนิเวศวิทยาแนวลึก 10) มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเป็นระบบด้วยภูมิสถาปัตยกรรม 11) การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์ในวัด 3.
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ 3) เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Oualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) เป็นเครื่องมือใน การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระสงฆ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ โดยเป็นวัดที่ได้รับการประกาศเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2560 กระจายทุกภาคของประเทศ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 วัด/จำนวน 474 รูป/คน, สัมภาษณ์ พระสังฆาธิการ จำนวน 9 รูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ เป็นงานก่อสร้างซ่อมแซมและงานบูรณปฏิสังขรณ์ วางแผนปรับปรุง การพัฒนารวมไปถึงการทําวัดให้สะอาดร่มรื่นสะดวกสบาย ดูสวยงามให้สบายตาเป็นศาสนสถานที่สัปปายะ ปัญหาที่พบ 1) ระเบียบวิธีการบริหารจัดการงบประมาณมีปัญหา 2) ระบบการบริหารจัดการสาธารณูปการ ทั้งศาสนวัตถุศาสนสถาน ศาสนบุคคลที่สามารถตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจกันได้ให้ดำเนินงานไปมีประสิทธิภาพ 3) วัสดุอุปกรณ์สิ่งปลูกสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ในแต่ละวัดยังมีสภาพไม่พร้อม ไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่สัปปายะ ไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ 4) การจัดการของพระสังฆาธิการอาจจะขาดการวางแผน ขาดการจัดทีมงานทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ขาดผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ 5) การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ กุฏิเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ ที่ผิดจากรูปแบบดั้งเดิม 2. การบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ : บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเน้นการวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวน การ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม ใช้ 3 ทักษะ เพื่อการบริหารจัดการ คือ 1) ทักษะเชิงเทคนิค (การจัดการ) 2) ทักษะเชิงมนุษย์ (มนุษยสัมพันธ์ )และ 3) ทักษะเชิงมโนมติ (วิสัยทัศน์) ผลดี 1) มีคุณภาพด้วยการกระจายอำนาจ 2) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน เพื่อการพัฒนาการสาธารณูปการเป็นอย่างดี 3) มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 4) มีการจัดผังวัดตามระเบียบแบบแผน 5) มีการดูแลบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ ที่ทันกาล 6) มีเครือข่ายประสานความร่วมมือช่วยเหลือกัน 7) มีกองทุนมูลนิธิสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ 8) มีการดูแลสุขพลานามัยด้วยกิจกรรม 5 ส 9) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากนิเวศวิทยาแนวลึก 10) มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเป็นระบบด้วยภูมิสถาปัตยกรรม 11) การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์ในวัด 3.
บูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ เป็นการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์และพัฒนาการบริหารจัดการด้วยข้อดีของการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ ที่เน้นบุคลากร การวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม องค์การปรับรูปแบบได้ทุกสภาวะแวดล้อม 4. รูปแบบบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่เป็นทฤษฎี PSDH MODEL ได้แก่ Population หมายถึงคนหรือมนุษย์ System หมายถึงระบบองค์ความรู้เพื่อดำเนินงาน Doing หมายถึงการลงมือกระทำด้วยการใช้ความรู้ความสามารถพร้อมกับการพัฒนาองค์ความรู้ของภาระงาน Harmony ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกลมเกลียวขององค์กร ซึ่งได้จากบูรณาการปัญหาการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ 1. การวางแผน (Planning) 2. การจัดการองค์การ (Organizing) 3. ภาวะผู้นำ (Leader) 4. การติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation) กับข้อดีจากทักษะการบริหาร เชิงเทคนิค เชิงมนุษย์ และเชิงมโนมติ
The objectives of this dissertation were as follows; 1) to study the state of Buddhist infrastructure management of the Sangha, 2) to study the modern infrastructure management, 3) to integrate the Buddhist infrastructure management of the Sangha integrated by the modern infrastructure management, and 4) to create and propose a guideline and knowledge about the Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha integrated by modern infrastructure management. The Research is Qualitative Research by In-Depth interview with Key Informant and to observe and participate in manual activities as tools to analyze the data collected by the application in accordance. The samples used in the study were monks and personnel who involved with public assistance management of the Sangha in 79 developed and outstanding performance temples declared by Office of National Buddhism from 2558 to 2560 nationwide. The Sample number are 474 monks/people. The results of research were found that 1. Buddhist infrastructure manage of the Thai Sangha is construction, renovation, restoration, planning, improving the temple areas and buildings into good and pleasurable conditions. The problems encountered were; 1) Budget management was unsystematic, 2) Infractructure system of religious place and religious personnel was not related by effectively check and balance system, 3) Renovation and restoration were not in order and comfortable, 4) The administrative monks lacked of management skills planning, teamwork, and the renovation was failed, and 5) The restoration of the Pagoda, Chapel, Pavilion at a temple wrong from the traditional style. 2. In modern infrastructure management, personnel are important factors and influence the development. It focuses on organizational systematic analysis. There is a relationship between different parts, the input elements, processes, outputs, impacts, and environment. The organization can be adjusted according to environment. The management is based on 3 skills; 1) Technical skills (management), 2) Human skills (Human relations), and 3) Conceptual skills (vision). The positive results are; 1) Quality by decentralization, 2) Get help from all organization for devennlopment infrastructure, 3) Systematic planning, 4) Placing area on temple master plans, 5) Religious places are maintained and repaired timely, 6) There is a network to coordinate and help each other, 7) There is a foundation and fund for the restoration of religious places, 8) Taking care of the public health in community with 5 S activities, 9) Natural resource conservation from Ecology in-depth, 10) Authentic culture conservation based on landscape architecture, and 11) There is develop temples into tourist attractions and learning museums. 3. Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha integrated by modern infrastructure management is the solution of Buddhist infrastructure management of the Thai Sangha and development of traditional management by modern Infrastructure management system focusing on personnel, and organizational system analysis. There is a relationship between different parts, the input elements, processes, outputs, impacts and environment. The organization can be adjusted according to conditions and environment. 4. The integrated management model is the PSDH MODEL theory, P refers to population or people, S refers to system knowledge management for operation, D means doing, and H means harmony in the organization derived from the integration of 4 aspects in management : 1. Planning, 2. Organization Management, 3. Leadership, and 4. Monitoring and Evaluation together with advantages from human, technical, and conceptual management skills.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 340 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 680 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.8 – 1.0 มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.36 – 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (PATH) หรือ SEM (A STRUCTURAL EQUATION MODEL) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้ตัวแปรจำนวน 71 ตัวแปร และผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนดอยู่ในระดับมาก จึงมีความเหมาะสมในการคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง 2. ผลการศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (χ 2) = 11.63, df = 22, P-value = 0.97, χ 2/df = 0.53, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, CFI = 1.00, RMR = 0.00 และค่า RMSEA = 0.00 แสดงได้ว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 340 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 680 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.8 – 1.0 มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.36 – 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (PATH) หรือ SEM (A STRUCTURAL EQUATION MODEL) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้ตัวแปรจำนวน 71 ตัวแปร และผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนดอยู่ในระดับมาก จึงมีความเหมาะสมในการคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง 2. ผลการศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (χ 2) = 11.63, df = 22, P-value = 0.97, χ 2/df = 0.53, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, CFI = 1.00, RMR = 0.00 และค่า RMSEA = 0.00 แสดงได้ว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.
ผลการศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย ดังนี้คือ ปัจจัยแรงจูงใจ มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ (มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.41 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และปัจจัยอัตมโนทัศน์ มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อมเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย คือ ปัจจัยแรงจูงใจ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีโดยมีตัวแปรส่งผ่านคือปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.09 อย่างไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 และมิอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีโดยมีตัวแปรส่งผ่านคือปัจจัยอัตมโนทัศน์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.06 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่า สัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม พบว่า ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวมของตัวแปรสาเหตุที่มี อิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมี โดยเรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหา น้อยดังนี้ ปัจจัยแรงจูงใจมีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.41 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และปัจจัยอัตตมโนทัศน์ (Self-concept) มีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.18 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีสัดส่วนความเชื่อถือได้ในตัวแปรภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีที่ อธิบายได้ด้วยปัจจัยเชิงสาเหตุได้ร้อยละ 77 4. ผลศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 รูป/คน พบว่า โมเดลสามารถนำไปสู่การปฏิบัติและปรับปรุงคุณภาพการบริหารงานโรงเรียนให้ได้มาตรฐานต่อไป
The objectives of this research were: 1) To study the level and suitability of the variables structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department, 2) To study harmony structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department by the researcher consistent with empirical data with criterion, 3) To study the magnitude, direct and indirect influences and the total influence of causal factors on charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department and, 4) to study suggestions for development guidance of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed. The study was a mixed research methodology. The simple was collected from 340 samples consisting of Phrapariyattidhamma schools, vice-directors, and teachers in 680 private Special Education Schools, The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires, and confirmation or certification forms through 5-rating scale questionnaires by IOC; 0.8-1.0 discriminatory power equal to 0.36-0.86 with reliability at 0.97. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis and confirmation composition analysis (CFA) and influence path analysis A Structural Equation Model (SEM) using. The results of the study were as follows: 1. The study level and suitability of the variables structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department was found 71 variables of faith leadership, charisma and pass the mean of skew values, the kudges are at a high level. Therefore, appropriate selection is defined in the structural relationship model. 2. The reason of study harmony structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department by the researcher consistent with empirical data with criterion as follows : Chi-square (χ2) = 11.63, degrees of freedom (df) = 22, statistical significance (P-value) = 0.97, proportion value (χ2/df) = 0.53, goodness of fit index (GFI) = 1.00, adjusted goodness of fit index (AGFI) = 1.00, comparative fit index (CFI) = 1.00, root mean square residual (RMR) = 0.00, and root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.00, there was no statistical significance and the model is consistent with the empirical data based on the assumptions made. 3. To study the magnitude, direct and indirect influences and the total influence of causal factors on charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed as follows : The motivation for direct magnitude of 0.42 was statistically significant at 0.01 level, the creative for direct magnitude of 0.41 was statistically significant at 0.01 level and the self-concept for direct magnitude of 0.12 was statistically significant at 0.01 level. The indirect influences by the average from high to low that the motivation was influence of causal factors on charismatic leadership to variable passed creative factor has a coefficient of influence equal to 0.09 was statistically significant at 0.05 level, and the indirect influences of causal factors on charismatic leadership to variable passed by self-concept has a coefficient of influence equal to 0.06. was statistically significant at 0.05 level. The proportion in reliability coefficient of causal factor could explain the charismatic leadership for approximate 77% 4. To study the suggestions for development guidance of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed. The verify results from 17 experts as follows : models can lead to practice and continue to improve the quality of school administration.
หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 199 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน รวม 696 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.34-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 19 องค์ประกอบ 105 ตัวแปร 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การจัดทำแผนงานวิชาการ 2) การจัดการเรียนรู้ 3) การปฏิบัติงาน 4) การมีส่วนร่วมทางการศึกษา และ 5) การติดตามผลการศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า รูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยองค์ประกอบหลักที่มีค่ามากที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ การติดตามผลการศึกษา การปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมทางการศึกษา และการจัดทำแผนงานวิชาการ ตามลำดับ และมีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 11.311, dF = 9, P-value = .255, GFI = .998, AGFI = .964 และ RMSER = .019 แสดงได้ว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 (X ̅ = 4.53) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนด คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 199 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน รวม 696 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.34-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 19 องค์ประกอบ 105 ตัวแปร 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การจัดทำแผนงานวิชาการ 2) การจัดการเรียนรู้ 3) การปฏิบัติงาน 4) การมีส่วนร่วมทางการศึกษา และ 5) การติดตามผลการศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า รูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยองค์ประกอบหลักที่มีค่ามากที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ การติดตามผลการศึกษา การปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมทางการศึกษา และการจัดทำแผนงานวิชาการ ตามลำดับ และมีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 11.311, dF = 9, P-value = .255, GFI = .998, AGFI = .964 และ RMSER = .019 แสดงได้ว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 (X ̅ = 4.53) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนด คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
The purposes of this research were as follows : 1) to study the components of the academic administration model for phrapariyattidhamma school administrators, general education department, 2) to create an of the academic administration model for phrapariyattidhamma school administrators, and 3) to evaluate and affirm the of the academic administration model for phrapariyattidhamma school administratored. The mixed research methodology was used in the study. The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires and confirmation or certification forms through 5-rating scale questionnaires by IOC; 0.6-1.0 discriminatory power equal to 0.34-0.85 with reliability at 0.97, The data were consisting of school directors, vice-directors, and teachers in 199 phrapariyattidhamma schools. The analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis, and confirmatory factor analysis. The results of this research found that : 1. The components of an academic administration model for phrapariyattidhamma schools administration, general education department consist of 19 components and 105 variables. 2. The an academic administration model for phrapariyattidhamma schools administration, general education department from exploratory factor analysis (EFA) has 5 main components; 1) Academic planning 2) Learning management 3) Operations 4) Educational participation and 5) Academic monitoring. The results of confirmatory factor analysis (CFA) indicated that the highest value was on Learning management, followed by Academic monitoring, Operation, Educational participation and Academic planning respectively. The model of academic administration model for phrapariyattidhamma schools administration, general education department has a chi-square value = 11.311, DF = 9, P-value = .255, GFI = .998, AGFI = .964, and RMSER = .019. This result indicates that the model is consistent with the empirical data. 3. The evaluation and confirmation of the model from experts in its propriety, accuracy, feasibility, and utility is at 4.53 (X ̅ = 4.53), higher than the set criteria at  = 3.51. That means the model is approved.
หนังสือ

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) สร้างและประเมินคู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย 420 รูป/คน สัมภาษณ์ 5 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินคู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการทดสอบสหสัมพันธ์แบบลำดับที่สำหรับความสอดคล้องกันในการตัดสินใจพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า: 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนของโมเดลพบว่า χ2 = 178.398, df = 92, P-Value = 0.087, CFI=0.937, TLI = 0.926, RMSEA = 0.063, SRMR = 0.048 และโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) และมีค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (Construct Reliability : C.R.) เท่ากับ 0.988 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.60 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. คู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) สร้างและประเมินคู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย 420 รูป/คน สัมภาษณ์ 5 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินคู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการทดสอบสหสัมพันธ์แบบลำดับที่สำหรับความสอดคล้องกันในการตัดสินใจพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า: 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลืนของโมเดลพบว่า χ2 = 178.398, df = 92, P-Value = 0.087, CFI=0.937, TLI = 0.926, RMSEA = 0.063, SRMR = 0.048 และโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) และมีค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (Construct Reliability : C.R.) เท่ากับ 0.988 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.60 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. คู่มือการใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้พุทธบูรณาการการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
The objectives of this dissertation were as follows 1) to study the factors and indicators of the Buddhist integrated model of administration towards excellence of Mahamakut Buddhist University, 2) test the adequacy of the model against the empirical data and construct, 3) create and assess the operation manual of the said model. The samples were totally 420 in number, together with 5 interviews and 9 consults. The rating scale questionnaire was employed for data collection, interview form and the test form was implemented for testing the factors and indicators. The statistical devices such as percentage, mean and standard deviation were used for data analysis, and for reliability and validity of the data, the exploratory, confirmatory, and ordinal correlation analyses for testing consistence in multi-lateral decision were also practiced. The results of research were found that: 1. The factors and indicators of the Buddhist integrated model of administration towards excellence of Mahamakut Buddhist University comprised 4 factors and 20 indicators. 2. The test of consistency of the model displayed χ2 = 178.398, df = 92, P-Value = 0.087, CFI = 0.937, TLI = 0.926, RMSEA = 0.063, SRMR = 0.048, and the structural validity and reliability existed (C.R.) at 0.988 exceeding 0.60, that featured the consistency with the empirical data. 3. The operation manual of the said model was found to show its usability at the ‘MUCH’ level.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในทศวรรษหน้า โดยครอบคลุมภารกิจของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป มีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลจำนวน 21 รูป/คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) การสร้างวงล้ออนาคต ผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มเหตุการณ์สืบเนื่อง และการเขียนอนาคตภาพ ผลการวิจัยพบว่า: ด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า จะต้องมีการเทียบโอนผลการเรียนให้จริงจังถูกต้องตามระเบียบ เพื่อการคัดกรองและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น 2) จะต้องมีกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลาย 3) จะต้องมีการจัดระบบการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนให้มีมาตรฐาน ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) ครูจะได้รับความส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เกิดความชำนาญในวิชาที่สอน 2) จะมีการพัฒนาครูให้มีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ อย่างต่อเนื่อง และทั่วถึง 3) มีการจัดครูและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตรงตามวุฒิการศึกษา 4) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานครูและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแผน ด้านการบริหารงานงบประมาณ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) จะต้องมีการจัดหางบประมาณสำรอง 2) มีโครงการพิเศษที่ต้องดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 3) มีแผนจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในโรงเรียนอย่างหลากหลายและทันสมัย 2) มีการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในทศวรรษหน้า โดยครอบคลุมภารกิจของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป มีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลจำนวน 21 รูป/คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) การสร้างวงล้ออนาคต ผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มเหตุการณ์สืบเนื่อง และการเขียนอนาคตภาพ ผลการวิจัยพบว่า: ด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า จะต้องมีการเทียบโอนผลการเรียนให้จริงจังถูกต้องตามระเบียบ เพื่อการคัดกรองและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น 2) จะต้องมีกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลาย 3) จะต้องมีการจัดระบบการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนให้มีมาตรฐาน ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) ครูจะได้รับความส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เกิดความชำนาญในวิชาที่สอน 2) จะมีการพัฒนาครูให้มีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ อย่างต่อเนื่อง และทั่วถึง 3) มีการจัดครูและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตรงตามวุฒิการศึกษา 4) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานครูและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแผน ด้านการบริหารงานงบประมาณ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) จะต้องมีการจัดหางบประมาณสำรอง 2) มีโครงการพิเศษที่ต้องดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 3) มีแผนจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า 1) มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในโรงเรียนอย่างหลากหลายและทันสมัย 2) มีการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
The objective this thesis is to study the future of the administration of the Phrapariyattidhamma schools. General Education Department in the next decade (2014 - 2024), covering the mission of the Buddhist Scripture School General education department Academic administration In human resource management Budget management General management Including the mission that should be the mission of the Buddhist Scripture School Other general education departments, research methods used in the future study of the administration of the Buddhist Scriptures The general education department in the next decade (2014 - 2024) consists of Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) techniques. Interaction effects between trends, sequel events and drawing the future Because it is a flexible research technique Can anticipate the consequences And the level of mutual interaction of features or The concepts studied cover the dimensions of the research problem. The results of research were found that: As for academic administration, it was found that 1) there should be no transfer of learning results because the learning evidence has already appeared in 8 learning groups. 2) There should be a variety of teaching and learning activities. 3) Preparation of courses. Additional should be taken from the emphasis and should not be associated with the social studies, religion because it has been defined in the core curriculum. Human resource management It was found that the recommendations of experts regarding budget management were as follows: 1) There should be teachers and staff in accordance with educational qualifications in operation. 2) There should be a promotion, honor and honor in the performance. 3) There should be a teacher and staff performance evaluation as planned Budget management 1) There should be a reserve budget to support projects that have exceeded the budget. 2) There must be a budget allocation plan to be consistent with the teaching and learning activities. General administration, it was found that 1) modern technology should be used in public relations of various schools and modern 2) Use educational media to benefit 3) There should be research work to develop policies and become a quality organization.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ 2) เพื่อศึกษาการบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อบูรณาการการบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่”ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก (Review Literature) ผู้วิจัยมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า : 1) ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้วยกระบวนทัศนน์ใหม่นั้นมีหลากหลายทฤษฏี และมีหลักการที่คล้ายกัน และมีทิศทางเดียวกันคือให้งานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างสูงสุด และการที่ผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ จะนำทฤษฎีเหล่านั้นมาใช้ จะต้องศึกษาอย่างจริงจังถึงความเหมาะสม และต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่องค์กรจะได้รับ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางด้านวัฒนธรรมองค์กร และทรัพยากรที่มีอยู่ แล้วนำมาปรับประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นระบบการบริหารที่ดีมีคุณภาพ ก็จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่องค์กรนั้นได้ 2) การบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีให้มีความเจริญยั่งยืนมั่นคง และมีความเรียบร้อยดีงามต่อไป จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการวัดที่ดี ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการตามกรอบการพัฒนาทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่ การสาธารณูปการ การศึกษาสงเคราะห์ และการสาธารณสงเคราะห์ 3) การบูรณาการบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ ด้านการปกครอง เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ และเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรข้อปฏิบัติ เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์และสังคมโดยรวม ด้านศาสนศึกษา มุ่งศึกษาตามหลักธรรม 3 ประการ คือ 1) สีลสิกขา 2) จิตตสิกขา 3) ปัญญาสิกขา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ จัดการศึกษาให้แก่ ประชาชน การตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียน ด้านการเผยแผ่ จัดให้มีการแสดงธรรมในวันธัมมัสสวนะและ สถานที่ต่างๆ ด้านการสาธารณูปการ บำรุงรักษาวัดและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ด้านการสาธารณสงเคราะห์ การสงเคราะห์ภิกษุสงฆ์ สามเณร และให้วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีการต่าง ๆ ทั้ง ราชการและเอกชน 4) องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ ได้แก่ “GBS MODEL” ดังนี้ 1. G = Growth (เจริญ) หมายถึง ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่แผ่กว้างออกไปอย่างไม่สิ้นสุด พร้อมกับความสุขสงบของโลก 2. B = Benefit (ประโยชน์) หมายถึง การบริหารจัดการวัดงานทั้ง 6 มีประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีประโยชน์ต่อประชาชน มีประโยชน์ต่อสังคมมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ อย่างแท้จริง 3. S = Stable (มั่นคง) หมายถึง ความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาที่ฝังรากลึกลงในจิตใจของมวลมนุษยชาติ ดื่มด่ำกับรสพระธรรมคำสั่งสอนสร้างความสุขสงบร่มเย็นให้กับประชาชน
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ 2) เพื่อศึกษาการบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อบูรณาการการบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่”ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก (Review Literature) ผู้วิจัยมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า : 1) ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้วยกระบวนทัศนน์ใหม่นั้นมีหลากหลายทฤษฏี และมีหลักการที่คล้ายกัน และมีทิศทางเดียวกันคือให้งานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างสูงสุด และการที่ผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ จะนำทฤษฎีเหล่านั้นมาใช้ จะต้องศึกษาอย่างจริงจังถึงความเหมาะสม และต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่องค์กรจะได้รับ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางด้านวัฒนธรรมองค์กร และทรัพยากรที่มีอยู่ แล้วนำมาปรับประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นระบบการบริหารที่ดีมีคุณภาพ ก็จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่องค์กรนั้นได้ 2) การบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีให้มีความเจริญยั่งยืนมั่นคง และมีความเรียบร้อยดีงามต่อไป จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการวัดที่ดี ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการตามกรอบการพัฒนาทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่ การสาธารณูปการ การศึกษาสงเคราะห์ และการสาธารณสงเคราะห์ 3) การบูรณาการบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ ด้านการปกครอง เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ และเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรข้อปฏิบัติ เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์และสังคมโดยรวม ด้านศาสนศึกษา มุ่งศึกษาตามหลักธรรม 3 ประการ คือ 1) สีลสิกขา 2) จิตตสิกขา 3) ปัญญาสิกขา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ จัดการศึกษาให้แก่ ประชาชน การตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียน ด้านการเผยแผ่ จัดให้มีการแสดงธรรมในวันธัมมัสสวนะและ สถานที่ต่างๆ ด้านการสาธารณูปการ บำรุงรักษาวัดและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ด้านการสาธารณสงเคราะห์ การสงเคราะห์ภิกษุสงฆ์ สามเณร และให้วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีการต่าง ๆ ทั้ง ราชการและเอกชน 4) องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการบริหารวัดในจังหวัดนนทบุรีด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ ได้แก่ “GBS MODEL” ดังนี้ 1. G = Growth (เจริญ) หมายถึง ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่แผ่กว้างออกไปอย่างไม่สิ้นสุด พร้อมกับความสุขสงบของโลก 2. B = Benefit (ประโยชน์) หมายถึง การบริหารจัดการวัดงานทั้ง 6 มีประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีประโยชน์ต่อประชาชน มีประโยชน์ต่อสังคมมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ อย่างแท้จริง 3. S = Stable (มั่นคง) หมายถึง ความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาที่ฝังรากลึกลงในจิตใจของมวลมนุษยชาติ ดื่มด่ำกับรสพระธรรมคำสั่งสอนสร้างความสุขสงบร่มเย็นให้กับประชาชน
The objectives of this dissertation were as follow: 1) to study the new paradigm administration, 2) to study the temple administration in Nonthaburi province, 3) to integrate the temple administration in Nonthaburi province with a new paradigm administration, and 4) to propose a guideline and body of new knowledge on “The temple administration in Nonthaburi province with a new paradigm administration”. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related texts, documents, and in-depth interviews with 13 experts. The data were analyzed, synthesized and then presented in the descriptive method. The findings of the research were as follows : 1) There are theories of new paradigm administration and their main principles and directions are also quite similar, that is to achieve the objectives successfully. The theories can be implemented under consideration in suitability and advantage of the organization. The factors of organizational culture and available resources should be brought into analysis and application in order to obtain a good management system and a progress of the organization. 2) The temple administration in Nonthaburi province for sustainable growth, stability and good order is necessary to have a good management strategy. An important strategy is management according to the development framework in 6 areas; administration, religious education, propagation, public assistance, educational welfare and public welfare. 3) The integration of temple administration in Nonthaburi province with the new paradigm in 6 areas is that; in administration, the administrators should have vision, knowledge, capability, and be well-equipped with acceptable practice. The religious education should be focused on the three principles; moral training, mental training and wisdom training. The educational assistance should cover arranging education for people and providing scholarships to students. In propagation, giving a sermon on Buddhist holiday and other occasions should be arranged. In public assistance, the temple and religious treasures should be maintained and conserved as well. In public welfare, the welfare should be provided to monks and novices and the temple compound should be used for ceremonies of people and government sector. 4) The body of new knowledge relating to the administration of the temples in Nonthaburi province with the new paradigm can be concluded into “GBS MODEL”. G is for Growth of Buddhism, B for Benefit of the temple administration to Buddhism, and S for Stability of Buddhism.
หนังสือ