Search results

34 results in 0.07s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเจริญอภิณหปัจจเวกขณ์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเสริมสร้างการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ 3) เพื่อบูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “บูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า อภิณหปัจจเวกขณ์ คือ ธรรมที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เพื่อให้จิตยอมรับความจริงที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตทุกคน เพื่อให้ใจเกิดความคุ้นเคย เกิดสติปัญญา เห็นเข้าใจ และยอมรับความเป็นจริงของชีวิต จนนำไปสู่การปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ยิ่งพิจารณาได้มากหรือบ่อยเท่าใด จิตก็ยิ่งปล่อยวางได้มากเท่านั้น เมื่อเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตแล้ว จะดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท การเสริมสร้างสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยการพิจารณาเรื่องธรรมดา 5 ด้าน คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักและการมีกรรมเป็นของ ๆ ตน เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นยอมรับและกล้าเผชิญสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต พิจารณาจนเกิดเป็นสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เป็นการสร้างสติอีกรูปแบบหนึ่ง สติที่ได้จากการพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์จะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีจิตมั่นคง มีจิตใจสงบ ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท ทั้งยังก่อให้เกิดคุณค่าต่อตนเอง ต่อสังคมและพระพุทธศาสนา การบูรณาการการเจริญสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยพิจารณาว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เรามีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นและเรามีกรรมเป็นของตน เราต้องได้รับผลของกรรมนั้น โดยใช้สติปัญญาพิจารณา เกิดการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เกิดความเข้าใจ ทำให้เกิดความไม่ประมาท รูปแบบบูรณาการการเสริมสร้างสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ ทำให้ดำเนินชีวิตอยู่ โดยอาศัยสติปัญญาเป็นเครื่องนำทางจนเข้าถึงความจริงของชีวิต เกิดปัญญานำพาชีวิตให้มีความสุขจากการเข้าใจถึงหลักธรรมชาติ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้คือ NSKTA MODEL
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเจริญอภิณหปัจจเวกขณ์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเสริมสร้างการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ 3) เพื่อบูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “บูรณาการการเจริญสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า อภิณหปัจจเวกขณ์ คือ ธรรมที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เพื่อให้จิตยอมรับความจริงที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตทุกคน เพื่อให้ใจเกิดความคุ้นเคย เกิดสติปัญญา เห็นเข้าใจ และยอมรับความเป็นจริงของชีวิต จนนำไปสู่การปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ยิ่งพิจารณาได้มากหรือบ่อยเท่าใด จิตก็ยิ่งปล่อยวางได้มากเท่านั้น เมื่อเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตแล้ว จะดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท การเสริมสร้างสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยการพิจารณาเรื่องธรรมดา 5 ด้าน คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักและการมีกรรมเป็นของ ๆ ตน เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นยอมรับและกล้าเผชิญสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต พิจารณาจนเกิดเป็นสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เป็นการสร้างสติอีกรูปแบบหนึ่ง สติที่ได้จากการพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์จะส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีจิตมั่นคง มีจิตใจสงบ ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท ทั้งยังก่อให้เกิดคุณค่าต่อตนเอง ต่อสังคมและพระพุทธศาสนา การบูรณาการการเจริญสติด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ โดยพิจารณาว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เรามีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นและเรามีกรรมเป็นของตน เราต้องได้รับผลของกรรมนั้น โดยใช้สติปัญญาพิจารณา เกิดการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เกิดความเข้าใจ ทำให้เกิดความไม่ประมาท รูปแบบบูรณาการการเสริมสร้างสติพิจารณาด้วยอภิณหปัจจเวกขณ์ ทำให้ดำเนินชีวิตอยู่ โดยอาศัยสติปัญญาเป็นเครื่องนำทางจนเข้าถึงความจริงของชีวิต เกิดปัญญานำพาชีวิตให้มีความสุขจากการเข้าใจถึงหลักธรรมชาติ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้คือ NSKTA MODEL
The objectives of this dissertation are: 1) to study the contemplation of Abhinhapaccavekkhana in Buddhism, 2) to strengthen mindfulness by contemplation of Abhinhapaccavekkhana, 3) to integrate the mindfulness strengthening by contemplation of Abhinha-paccavekkhana, and 4) to propose a model of a body of knowledge on “Integration of mindfulness strengthening by contemplation of Abhinhapaccavekkhana”. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, documents, research works concerned and in-depth interviews with 12 experts. The data were analyzed by content analysis. The results of the study were found that: Abhinhapaccavekkhana is ideas or facts which should be contemplated again and again in order to accept the facts of life that can occur to everyone. When the mind is accustomed to those facts, the one will understand life and accept the truth so that they can reach detachment in life. The more a person contemplates Abhinhapaccavekkhana, the more he can have detachment. When the ones understand the facts of life, they will live a life with earnestness. To strengthen mindfulness by contemplation of Abhinhapaccavekkhana is to contemplate 5 facts; old age, sickness, death, separation from the beloved, and owning of one’s deed. When the ones realize the truth and accept it, they will dare to confront with whatever happens in their life. When it is practiced regularly and completely, it is a way to create mindfulness. The mindfulness obtained from contemplation of Abhinhapaccavekkhana can result to calmness, firmness, and peacefulness of mind. The ones having these mental qualities will live a life with carefulness and create values to themselves, Buddhism and society. The integration of mindfulness strengthening by contemplation of Abhinhapaccavekkhana is to contemplate that we are subject to decay and we cannot escape it; we are subject to disease and we cannot escape it; we are subject to death and we cannot escape it; there will be separation from all that are dear to us and beloved; and we are owners of our deed, whatever deed we do, we shall become heir to it. The comparison of results and impacts of the deed by contemplation with mindfulness and wisdom will lead to understanding and carelessness. The NSKTA MODEL is the model of Integration of mindfulness strengthening by contemplation of Abhinhapaccavekkhana that can lead to the truth of life based on mindfulness and wisdom and happiness in life based on understanding in the natural law.
หนังสือ

    การศึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง สุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม” ดุษฎีนิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูล เนื้อหาจากหนังสือ ตำรา บทความวิจัย หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ในด้านสุนทรียภาพ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพุทธศาสนา จำนวน 10 รูป/คน และสำรวจพื้นที่ 114 ห้องพักอาศัยจาก 5 โครงการ หลังจากนั้นนำมาถอดรหัสและบูรณาการสู่รูปแบบสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สุนทรียภาพที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความดี และความงามของสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธก่อให้เกิดความสมดุลบนทางสายกลาง นำมาซึ่งความสงบ ร่มเย็นทางร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ สร้างความสมดุลระหว่างศาสตร์ ศิลปะ และธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความเป็นอยู่ของสภาพแวดล้อมภายในได้อย่างมีคุณภาพภายใต้บริบทของความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ และประหยัด 2) หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาซึ่งแนวทางการจัดพื้นที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย สัดส่วนแห่งความพองาม ผังพื้นแห่งความพอเพียง และโซนแห่งความพอดี รวมถึงการจัดวางเครื่องเรือนเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย ที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณ งดงาม คุณค่า สารัตถะ 3) การบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม นำมาสู่การสร้างคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยภายใต้องค์ประกอบของ พื้นที่ว่าง แสงธรรมชาติ บรรยากาศ และผิวสัมผัส (SLAT) ดังปรากฏอยู่ใน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องเตรียมอาหาร และห้องน้ำ (SLPT) 4) สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ได้เป็นความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ ประหยัดที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณ งดงาม คุณค่า สารัตถะ และมีความหมายดังสมการ SAFE & SAVE ภายใต้โมเดลสุนทรียภาพสมดุล โดยองค์ความรู้ที่ได้รับจากผลการวิจัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการสร้างสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดคุณภาพการอยู่อาศัยได้อย่างสมดุล เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต
การศึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง สุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม” ดุษฎีนิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูล เนื้อหาจากหนังสือ ตำรา บทความวิจัย หลักพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ในด้านสุนทรียภาพ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพุทธศาสนา จำนวน 10 รูป/คน และสำรวจพื้นที่ 114 ห้องพักอาศัยจาก 5 โครงการ หลังจากนั้นนำมาถอดรหัสและบูรณาการสู่รูปแบบสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สุนทรียภาพที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความดี และความงามของสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพุทธก่อให้เกิดความสมดุลบนทางสายกลาง นำมาซึ่งความสงบ ร่มเย็นทางร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ สร้างความสมดุลระหว่างศาสตร์ ศิลปะ และธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความเป็นอยู่ของสภาพแวดล้อมภายในได้อย่างมีคุณภาพภายใต้บริบทของความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ และประหยัด 2) หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาซึ่งแนวทางการจัดพื้นที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย สัดส่วนแห่งความพองาม ผังพื้นแห่งความพอเพียง และโซนแห่งความพอดี รวมถึงการจัดวางเครื่องเรือนเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย ที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณ งดงาม คุณค่า สารัตถะ 3) การบูรณาการสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม นำมาสู่การสร้างคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยภายใต้องค์ประกอบของ พื้นที่ว่าง แสงธรรมชาติ บรรยากาศ และผิวสัมผัส (SLAT) ดังปรากฏอยู่ใน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องเตรียมอาหาร และห้องน้ำ (SLPT) 4) สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ได้เป็นความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ ประหยัดที่สัมพันธ์กับจิตวิญญาณ งดงาม คุณค่า สารัตถะ และมีความหมายดังสมการ SAFE & SAVE ภายใต้โมเดลสุนทรียภาพสมดุล โดยองค์ความรู้ที่ได้รับจากผลการวิจัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการสร้างสุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดคุณภาพการอยู่อาศัยได้อย่างสมดุล เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต
The objectives of this research entitled “Aesthetic of Home Interior Environment according to Sufficiency Economy Philosophy in Buddhist Approach” were as follows: 1. To study the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy, 2. To study the principles of Buddhadhamma enhancing the Sufficiency Economy Philosophy, 3. To integrate the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy in Buddhist approach and 4. To propose guidelines in creating new knowledge regarding “the model of integrating the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy in Buddhist approach”. The data of this qualitative research were collected from books, text books, research articles, the Tipittaka, the Commentaries, and in-depth interviews with 10 experts in Aesthetic, Sufficiency Economy Philosophy and Buddhism and from site survey in 114 rooms from 5 projects. After that, the data were decoded and integrated into Interior environment. The results of the study indicated that: 1) The aesthetic base on the truth, virtue and beauty of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy in the balance of middle way leads to peacefulness in body, mind and soul. It also creates the balance between science, art and nature that cause the quality of living on simple, applicable, functional and economy basis (SAFE). 2) The Buddhist principles that enhance the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy lead to the principle of beauty proportion, moderate zoning and sufficient layout planning including furniture as much as necessary of living environment associate with spirit, aesthetic, value and essence (SAVE). 3) The integrating of Buddhist principles into the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy lead to the quality of space, light, atmosphere and texture (SLAT) in the area of sleeping, living, pantry and toilet (SLPT). 4) The new knowledge from the integrating of Buddhist principles into the aesthetic of home interior environment according to Sufficiency Economy Philosophy in Buddhist approach can be synchronized into simplicity, applicability, function and economy as in the SAFE & SAVE Model.. The results of this research can be applied into the aesthetic of home interior environment of living in different types suitable to the contexts of Thai society in now and then.
หนังสือ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้า ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้ามี 6 ด้าน มี 64 ตัวแปร มีแนวการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้าคือ 1) ด้านการวางแผนรับนักศึกษาและการผลิตบัณฑิต เป้าหมายจำนวนรับนักศึกษาการวางแผนรับนักศึกษาใหม่ต้องมีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สนใจปฏิบัติธรรม โดยการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การปฏิบัติการจะคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ปรับรูปแบบกิจกรรมมุ่งสู่วิถีชีวิตแนวใหม่ 3) ด้านการประเมินผล ประเมิน ต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ชัดเจน สมเหตุสมผล เชื่อถือได้ มีความโปร่งใส และมีมาตรฐานเดียวกัน 4) ด้านการเรียนรู้ ที่เน้นการบูรณาการหลายศาสตร์ และประยุกต์พุทธธรรมกับศาสตร์สมัยใหม่ เน้นสาระเนื้อหาพระพุทธศาสนาที่สนองตอบและสามารถนำไปประยุกต์รับใช้สังคมมากขึ้น 5) ด้านการประกันคุณภาพการเรียนการสอน ส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ เน้นการปฏิบัติงานวิจัย การให้บริการวิชาการ การจัดการเรียนการสอน ที่เป็นระบบผสมผสาน และ6) ด้านการพัฒนาปรับปรุงการบริหารวิชาการ การบริหารวิชาการมหาวิทยาลัยสงฆ์ต้องมีความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและสังคม
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้า ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้ามี 6 ด้าน มี 64 ตัวแปร มีแนวการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทศวรรษหน้าคือ 1) ด้านการวางแผนรับนักศึกษาและการผลิตบัณฑิต เป้าหมายจำนวนรับนักศึกษาการวางแผนรับนักศึกษาใหม่ต้องมีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สนใจปฏิบัติธรรม โดยการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การปฏิบัติการจะคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ปรับรูปแบบกิจกรรมมุ่งสู่วิถีชีวิตแนวใหม่ 3) ด้านการประเมินผล ประเมิน ต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ชัดเจน สมเหตุสมผล เชื่อถือได้ มีความโปร่งใส และมีมาตรฐานเดียวกัน 4) ด้านการเรียนรู้ ที่เน้นการบูรณาการหลายศาสตร์ และประยุกต์พุทธธรรมกับศาสตร์สมัยใหม่ เน้นสาระเนื้อหาพระพุทธศาสนาที่สนองตอบและสามารถนำไปประยุกต์รับใช้สังคมมากขึ้น 5) ด้านการประกันคุณภาพการเรียนการสอน ส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ เน้นการปฏิบัติงานวิจัย การให้บริการวิชาการ การจัดการเรียนการสอน ที่เป็นระบบผสมผสาน และ6) ด้านการพัฒนาปรับปรุงการบริหารวิชาการ การบริหารวิชาการมหาวิทยาลัยสงฆ์ต้องมีความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและสังคม
The purpose of this study was to study the future image of academic administration of Buddhist Universities in the next decade, using Ethnographic Delphi Futures Research. The used tools were questionnaires and in-depth interviews. The data were analyzed by using median, baseline, interquartile range, using packaged programs and content analysis. The results showed that: The future vision of academic administration of Buddhist universities in the next decade consisted of 6 aspects with 64 variables. There were guidelines for academic administration of Buddhist universities in the next decade, namely: 1) In terms of planning for student admissions and producing graduates, the target number of student admissions planning for new students should have a variety of target groups, such as the elderly, group of people interested in dharma practice by creating a short course; 2) In terms of teaching and learning activities, the non-formal education system, and informal education operations would mainly take into account the target audience, and adjust the activities to lead to a new way of life; 3) In terms of assessment, there should be clear, reasonable, reliable, transparent rules and procedures. and have the same standards; 4) In terms of learning, there would focus on the integration of multiple sciences and apply Buddhism to modern science, and emphasis on the content of Buddhism that is responsive and can be applied to serve society; 5) In terms of teaching and learning quality assurance, there should promote, develop and evaluate the operational efficiency of the quality assurance system, and emphasis on research practice academic service teaching management which was a mixed system; and 6) the development and improvement of academic administration academic administration of university disciplines required economic and social flexibility
หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน ระดับประถมศึกษา จำนวน 56 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน 4 ฝ่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รวม 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบตรวจสอบรายการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน พบว่า ได้องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ และ 66 ตัวแปร 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การบริหารงานโรงเรียน 2) กิจกรรมโรงเรียน 3) ไตรสิกขา 4) บรรยากาศโรงเรียน และ 5) การปฏิบัติตนของผู้บริหารโรงเรียน 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 100
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน ระดับประถมศึกษา จำนวน 56 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน 4 ฝ่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รวม 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบตรวจสอบรายการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน พบว่า ได้องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ และ 66 ตัวแปร 2. รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การบริหารงานโรงเรียน 2) กิจกรรมโรงเรียน 3) ไตรสิกขา 4) บรรยากาศโรงเรียน และ 5) การปฏิบัติตนของผู้บริหารโรงเรียน 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 100
The purposes of this research were as follows : 1) to study the components of the Elementary school administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools, 2) to create an elementary school administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools, and 3) to evaluate and affirm the elementary school administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected by questionnaires with reliability at 0.92, structural interviews and checklist forms from 448 samples consisting of school directors, heads of department, board of basic Education schools and the teachers responsible for the project in 56 royal award Buddhist oriented schools. The data were collected from January 2021 to February 202and then analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis. 1. The components of the Elementary School Administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools consist of 5 components and 66 variables. 2. The elementary school administration model according to the concept of royal award buddhist oriented schools from exploratory factor analysis (EFA) has 5 main components; 1) School Administration, 2) School Activities, 3) Tri-Sikkha, 4) School Atmosphere, and 5) Behavior of School Administrators. 3. The evaluation and confirmation of the model from experts in its were at 100 % verification of acceptable range of accuracy, suitability, possibility, and practicality.
หนังสือ

    การศึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ 3) เพื่อบูรณาการหลักธรรมการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารวิชาการ หนังสือ งานวิจัยต่าง ๆ รวมถึงหลักธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการจัดทำเสวนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพระพุทธศาสนา ด้านสุขภาพจิตและจิตวิทยา ด้านสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ ด้านสังคมวิทยา และตัวแทนผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 17 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : 1) แนวคิดการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุเป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความนึกคิดและพฤติกรรม เพื่อจัดการต่อสิ่งเร้า เป็นการใช้กลวิธีที่มีจุดมุ่งหมาย และเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องด้วยการใช้สติปัญญาในประเมิน การควบคุมอารมณ์ และปฏิกิริยาการตอบสนองด้านร่างกาย เพื่อลดความรุนแรงของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุจะเป็นแบบมุ่งแก้ไขปัญหาและแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ ใช้ทักษะ 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างทักษะการรับรู้การตอบสนองต่อความเครียดของตนเอง 2) การตรวจสอบความเครียดกับความเป็นจริง (การตั้งสติเพื่อการคิดใคร่ครวญ) 3) การหาวิธีจัดการความเครียดหรือแก้ไขปัญหา (การคิดพิจารณาหาสาเหตุ) เพื่อการสร้างสุขและสมดุลชีวิตของผู้สูงอายุ 2) หลักธรรมในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ จะเป็นหลักธรรมที่เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาตามระบบแห่งเหตุผล โดยนำเอาหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เป็นหลักธรรมสำหรับการปรับตัวทั้งภายนอก (ร่างกาย) และภายใน (จิตใจ) ซึ่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ ที่สอดคล้องกับหลักการข้างต้น ได้แก่ หลักไตรลักษณ์ หลักอริยสัจ หลักโยนิโสมนสิการและหลักสติปัฏฐาน เป็นหลักธรรมที่สร้างปัญญา มีสติรู้เท่าทัน และมีการจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม 3) การบูรณาการหลักธรรมการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านพฤติกรรม และด้านปัจจัยแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย การปรับพฤติกรรมส่วนบุคคล การสื่อสาร การเรียนรู้ ด้านสัมพันธภาพของครอบครัว การสร้างเศรษฐกิจและสังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม ผลการบูรณาการ พบว่า การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแนวพระพุทธศาสนา ใช้หลักการ คือ การยอมรับความจริง (เห็นชอบด้วยหลักไตรลักษณ์) การรับรู้สิ่งเร้าที่เกิดขึ้นด้วยความคิดที่สมเหตุสมผล (การรับรู้ด้วยหลักโยนิโสมนสิการ) กระบวนการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ แก้ปัญหาให้ตรงเหตุ (การตรวจสอบด้วยหลักอริยสัจ) และการปฏิบัติด้วยสติรู้เท่าทัน (การจัดการด้วยหลักสติปัฏฐาน) โดยมีกระบวนการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยหลักการทบทวน (Reskill) ปรับปรุง (Upskill) เปลี่ยนแปลง (New skill)
การศึกษาดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ 3) เพื่อบูรณาการหลักธรรมการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารวิชาการ หนังสือ งานวิจัยต่าง ๆ รวมถึงหลักธรรมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการจัดทำเสวนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพระพุทธศาสนา ด้านสุขภาพจิตและจิตวิทยา ด้านสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ ด้านสังคมวิทยา และตัวแทนผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 17 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : 1) แนวคิดการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุเป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความนึกคิดและพฤติกรรม เพื่อจัดการต่อสิ่งเร้า เป็นการใช้กลวิธีที่มีจุดมุ่งหมาย และเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องด้วยการใช้สติปัญญาในประเมิน การควบคุมอารมณ์ และปฏิกิริยาการตอบสนองด้านร่างกาย เพื่อลดความรุนแรงของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุจะเป็นแบบมุ่งแก้ไขปัญหาและแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ ใช้ทักษะ 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างทักษะการรับรู้การตอบสนองต่อความเครียดของตนเอง 2) การตรวจสอบความเครียดกับความเป็นจริง (การตั้งสติเพื่อการคิดใคร่ครวญ) 3) การหาวิธีจัดการความเครียดหรือแก้ไขปัญหา (การคิดพิจารณาหาสาเหตุ) เพื่อการสร้างสุขและสมดุลชีวิตของผู้สูงอายุ 2) หลักธรรมในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ จะเป็นหลักธรรมที่เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาตามระบบแห่งเหตุผล โดยนำเอาหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เป็นหลักธรรมสำหรับการปรับตัวทั้งภายนอก (ร่างกาย) และภายใน (จิตใจ) ซึ่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ ที่สอดคล้องกับหลักการข้างต้น ได้แก่ หลักไตรลักษณ์ หลักอริยสัจ หลักโยนิโสมนสิการและหลักสติปัฏฐาน เป็นหลักธรรมที่สร้างปัญญา มีสติรู้เท่าทัน และมีการจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม 3) การบูรณาการหลักธรรมการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านพฤติกรรม และด้านปัจจัยแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย การปรับพฤติกรรมส่วนบุคคล การสื่อสาร การเรียนรู้ ด้านสัมพันธภาพของครอบครัว การสร้างเศรษฐกิจและสังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม ผลการบูรณาการ พบว่า การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแนวพระพุทธศาสนา ใช้หลักการ คือ การยอมรับความจริง (เห็นชอบด้วยหลักไตรลักษณ์) การรับรู้สิ่งเร้าที่เกิดขึ้นด้วยความคิดที่สมเหตุสมผล (การรับรู้ด้วยหลักโยนิโสมนสิการ) กระบวนการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ แก้ปัญหาให้ตรงเหตุ (การตรวจสอบด้วยหลักอริยสัจ) และการปฏิบัติด้วยสติรู้เท่าทัน (การจัดการด้วยหลักสติปัฏฐาน) โดยมีกระบวนการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยหลักการทบทวน (Reskill) ปรับปรุง (Upskill) เปลี่ยนแปลง (New skill)
เพื่อนำไปสู่การสร้างความสุขและสมดุลของชีวิต และมีวิถีการดำเนินชีวิตตามความเหมาะสมของวัยที่เรียกว่า สุขสมวัย 4) องค์ความรู้เกี่ยวกับ “การจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระพุทธศาสนา” คือ “เห็นชอบ รับรู้ ตรวจสอบ จัดการ” ที่เรียกว่า “ARAM MODEL” คือ A = APPROVE, R = RECOGNIZE , A = ASSESSMENT, M = MANAGEMENT
Dissertation on “ Management on stress of the elderly in Surat Thani province base on Buddhism” The objectives of research were as follows : 1) To study the concept of stress management in the elderly 2) To study the Dhamma principles of stress management in the elderly 3) To integrate the ethical principles for managing stress among the elderly in Surat Thani province according to Buddhism 4) to present the body of knowledge about “Management on stress of the elderly in Surat Thani province base on Buddhism” This dissertation is qualitative research, research using analytical research methods, Synthesize content from academic documents, books, research works, including Dharma principles from the Tripitaka and commentaries. There were in-depth interviews and focus groups from experts in Buddhism, mental health and psychology mental health in the elderly group, sociology, and representatives of the elderly in Surat Thani province totally 17 persons. The results of the study indicated that : 1) The elderly stress management concept is an attempt to change thoughts and behaviors to manage stimuli. It is an objective strategy and a continuous process with the use of intelligence to assess. regulating emotions and physical responses to reduce the severity of stress-inducing factors.The stress management of the elderly is a problem-solving and emotional-correcting approach. It uses three skills: 1) Building self-awareness skills in response to stress (awareness, perception) 2) Stress Verification and Reality (mindfulness for contemplation) 3) Finding ways to manage stress or solve problems (Thinking about the cause) for the creation of happiness and life balance of the elderly. 2)The principle of stress management in the elderly is the principle of wisdom. which proceeds to solve problems according to the system of reason by taking advantage of the truth that exists in nature. It is the principle for both external (body) and internal (mental) adaptation. Which Buddhist principles used to manage stress of the elderly Consistent with the above principles, namely the Tilakkhana principle, the Four Noble Truths principles, the Yonisomanasika ̅ra principle and the Satipatthana principles. It is a principle that builds wisdom. Being aware and able to deal with problems appropriately. 3) Integration of Dharma Principles for Management on stress of the elderly in Surat Thani province base on Buddhism, It is divided into 2 issues: behavioral aspect and environmental factor aspect, which consists of personal behavior modification, communication, learning, family relationship building economy and society and environment. The results of the integration revealed that management on stress of the elderly in Surat Thani province base on Buddhism was based on the principle of accepting the truth. (consent with the Tilakkhana principle) Perceived stimuli that occur with rational thinking. (perceived by the principle of Yonisomanasika ̅ra principle) The process of dealing with problems that occur systematically. Solve the problem exactly (Examination with the Four Noble Truths principle) and practicing with awareness (Management with the principle of Satipatthana). There is a process of connection with each other through the principles of Reskill, Upskill and New skill to lead on happiness and balance of life and has a lifestyle that is appropriate for the age known as happiness. 4) The body of knowledge about “Management on Stress of the Elderly in Surat Thani Province Based on Buddhism” known as "ARAM MODEL" A = APPROVE, R = RECOGNIZE, A = ASSESSMENT, M = MANAGEMENT.
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 368 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ จำนวน 15 องค์ประกอบ และ 86 ตัวแปร 2. ผลพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ (1) กระบวนการบริหารจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียน (2) การส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน (3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ (4) การควบคุมคุณภาพผู้เรียน มีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 2.466, dF = 4, P-value = .651, GFI = .999, AGFI = .973 และ RMSER = .000 แสดงได้ว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินและรับรองรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 (X ̅ = 4.62) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 368 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ จำนวน 15 องค์ประกอบ และ 86 ตัวแปร 2. ผลพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ (1) กระบวนการบริหารจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียน (2) การส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน (3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ (4) การควบคุมคุณภาพผู้เรียน มีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 2.466, dF = 4, P-value = .651, GFI = .999, AGFI = .973 และ RMSER = .000 แสดงได้ว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินและรับรองรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 (X ̅ = 4.62) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
The purposes of this research were as follows : 1) to study the components of an Educational Management to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, 2) to create an of the An Educational Management Model to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, and 3) to evaluate and affirm the of An Educational Management Model to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok. The mixed research methodology was used in the study. The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires and confirmation or certification forms through 5-rating scale questionnaires by IOC; 0.6-1.0 discriminatory power equal to 0.33-0.89 with reliability at 0.986, The data were consisting of school directors, vice-directors, and teachers in 92 schools. The analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis. The results of this research found that: 1. The components of an Educational Management to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, general education department consist of 15 components and 86 variables. 2. The an Educational Management Model to Reinforce the Quality of Students for School Administrators Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok, general education department from confirmatory factor analysis (CFA) indicated that the highest value was on (1) Student Quality Management Process (2) Promote the quality of learners (3) Quality Development of Learners and (4) Control the quality of learners. has a chi-square value = 2.466, DF = 4, P-value = .651, GFI = .999, AGFI = .973, and RMSER = .000. This result indicates that the model is consistent with the empirical data. 3. The evaluation and confirmation of the model from experts in its propriety, accuracy, feasibility, and utility is at 4.62 (X ̅ = 4.62), higher than the set criteria at  = 3.51. That means the model is approved.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนด้วยการรวมพลังเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีของโรงเรียนมัธยมตอนปลายสงฆ์ วัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผู้ร่วมวิจัยด้วยความสมัครรใจ จำนวน 35 รูป/คน ดำเนินการ 2 ภาคเรียน ในปีการศึกษา 2562 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ (1) เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดครู การจัดกิจกรรมการสอนของครู และคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับนักเรียน (2) เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติในตัวผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และครูทั้งโรงเรียน และ (3) เกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในลักษณะเป็นทฤษฎีฐานรากในบริบทเฉพาะของโรงมัธยมตอนปลายสงฆ์แห่งนี้ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยแสดงระดับการปฏิบัติของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระดับผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และระดับคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่ได้รับผลจากการดำเนินโครงการการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการปฏิบัติวงจรที่ 1 และหลังวงจรที่ 2 สูงขึ้นจากก่อนการปฏิบัติ 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประเด็น คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการทำงาน การสะท้อนผลจากการปฏิบัติ และการทำงานเป็นทีมอย่างครบวงจร 3) องค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในงานวิจัยนี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงผลลัพธ์ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น แนวคิดและกลยุทธ์ที่นำมาใช้เป็นพลังขับเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และการเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีรายละ เอียดของแต่ละประเด็นที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 หรือนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตามแนวคิดใหม่ในด้านอื่น ๆ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนด้วยการรวมพลังเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีของโรงเรียนมัธยมตอนปลายสงฆ์ วัดมหาพุทธวงศาป่าหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผู้ร่วมวิจัยด้วยความสมัครรใจ จำนวน 35 รูป/คน ดำเนินการ 2 ภาคเรียน ในปีการศึกษา 2562 โดยคาดหวังผลจากการพัฒนา 3 ประการ คือ (1) เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดครู การจัดกิจกรรมการสอนของครู และคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับนักเรียน (2) เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติในตัวผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และครูทั้งโรงเรียน และ (3) เกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในลักษณะเป็นทฤษฎีฐานรากในบริบทเฉพาะของโรงมัธยมตอนปลายสงฆ์แห่งนี้ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยแสดงระดับการปฏิบัติของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระดับผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และระดับคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่ได้รับผลจากการดำเนินโครงการการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการปฏิบัติวงจรที่ 1 และหลังวงจรที่ 2 สูงขึ้นจากก่อนการปฏิบัติ 2) ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประเด็น คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการทำงาน การสะท้อนผลจากการปฏิบัติ และการทำงานเป็นทีมอย่างครบวงจร 3) องค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติในงานวิจัยนี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงผลลัพธ์ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น แนวคิดและกลยุทธ์ที่นำมาใช้เป็นพลังขับเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และการเอาชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีรายละ เอียดของแต่ละประเด็นที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 หรือนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตามแนวคิดใหม่ในด้านอื่น ๆ
This research aimed to improve the quality of students by joining forces A Development of 21st Century Learning Skills of Students in Wat Maha Buddha Vongsa Palouang Sangha Upper Secondary School, Vientiane Capital. by participative action research methodology. There were 35 voluntary participants, managed 2 semesters in the academic year 2019, by expecting results from 3 developments as follows: (1) There was a change for the better according to the indicators defined by the teachers, teaching activities of teachers and student characteristics; (2) learning from practice in the researcher, co-researcher, and school- teachers; and (3) knowledge gained from practice as the foundation theory in the specific context of the Sangha Upper Secondary School. The results of the research were as follows: 1) The mean showed the level of teachers' performance in developing the 21st century learning Skills, the level of results of teachers’ teaching activities in developing the 21st century learning Skills, and the level of characteristics occurring with students who received the results from an implementing the 21st century learning Skills development project after practicing the first circle and after the second circle were higher than before. 2) The researcher and co-researcher learned from many issues of the practice, namely; the awareness of the importance of participation in working, reflection from practicing and working as a comprehensive team 3) The knowledge gained from the practice of this research was an indicator of the expected outcome, the concepts, and strategies that were used to be the driving forces to make some changing, anti-changing, and overcoming the resistance to change which had details of each issue could be used as the model for developing the students' learning Skills in the 21st century, or applied to the development of new ideas in other parts.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ของครู สู่การพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียน” โดยระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้วยแนวคิด พัฒนาครูให้มีความรู้แล้วกระตุ้นให้นำความรู้เหล่านั้นสู่การปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดพลัง ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู และโครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน จากผลการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 10 รายและนักเรียน 60 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองดีไซน์การทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา ในโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามสมมติฐานการวิจัย คือ ครูมีผลการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ครูมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการรู้ดิจิทัล หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่มือเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการนำไปปฏิบัติของครูประกอบโครงการในโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกโรงทั่วประเทศ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ของครู สู่การพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียน” โดยระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้วยแนวคิด พัฒนาครูให้มีความรู้แล้วกระตุ้นให้นำความรู้เหล่านั้นสู่การปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดพลัง ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู และโครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน จากผลการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 10 รายและนักเรียน 60 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองดีไซน์การทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา ในโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามสมมติฐานการวิจัย คือ ครูมีผลการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ครูมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการรู้ดิจิทัล หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่มือเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการนำไปปฏิบัติของครูประกอบโครงการในโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกโรงทั่วประเทศ
This study aimed at employing Research and Development Methodology (R&D) to create an “Online Program to Empower Teacher Learning to Develop Students’ Digital Literacy Skills,” which was based on the notions that “Knowledge and Action are Power” and “Students are the Ultimate Goal of Any Educational Management.” The study consisted of projects focusing on Teacher learning development and a project, in which teachers could use learning outcomes to help the students to make progress. As a result of the R1 & D1 to R4 & D4 stages, six sets of teacher learning manuals and one workshop manual were created so that the instructors could apply learning outcomes to student development. The results were obtained from experimenting with manuals in the R5 & D5 stage with 10 teachers and 60 students using a one group pre-test/post-test design experimental research in schools that are representative of educational opportunity expansion schools under the Office of the Basic Education Commission. It was found that the developed manuals had been effective according to the research hypothesis : 1) the Teachers had test results of learning outcomes that had met the standard criteria of 90/90, 2) the Teachers’ post-test results had been significantly higher than the pre-test results, and 3) the students’ post-test results had been significantly higher than the pre-test results. These factors demonstrated that the manuals for learning and implementation for the teachers in the developed online program had been effective and could be disseminated across the country for the benefit of the population of educational opportunity expansion schools under the Office of the Basic Education Commission.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่ การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียน โดยระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ด้วยแนวคิด “พัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู แล้วครูนำผลการเรียนรู้ ไปพัฒนานักเรียน” ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู และโครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน จากผลการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 157 รายและนักเรียน 2,613 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองดีไซน์การทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา ในโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามสมมติฐานการวิจัย คือ ครูมีผลการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ครูมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการรู้สารสนเทศหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่มือเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการนำไปปฏิบัติของครูประกอบโครงการในโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกโรงทั่วประเทศ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่ การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียน โดยระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ด้วยแนวคิด “พัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู แล้วครูนำผลการเรียนรู้ ไปพัฒนานักเรียน” ประกอบด้วยโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครู และโครงการครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน จากผลการดำเนินงานขั้นตอน R1&D1 ถึง R4&D4 ทำให้ได้คู่มือเพื่อการเรียนรู้ของครู 6 ชุด และคู่มือเชิงปฏิบัติการเพื่อครูนำผลการเรียนรู้สู่การพัฒนานักเรียน 1 ชุด และจากผลการทดลองใช้คู่มือในขั้นตอน R5&D5 กับครู 157 รายและนักเรียน 2,613 ราย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองดีไซน์การทดสอบก่อนและหลังการพัฒนา ในโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามสมมติฐานการวิจัย คือ ครูมีผลการทดสอบความรู้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ครูมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการรู้สารสนเทศหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่มือเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการนำไปปฏิบัติของครูประกอบโครงการในโปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่สามารถจะนำไปเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกโรงทั่วประเทศ
“Online Program to Enhance Teacher Learning to Develop Students' Information Literacy Skills” was an expected result from Research and Development implementation under the concept of “It begins with teacher learning development. Teachers then incorporate the learning outcomes into student development.” First, as a result of implementing the R1&D1 to R4&D4 process, six sets of Teacher Learning Manuals and one Teacher Workshop Manual for Implementing the Learning Outcomes in Student Development have been created. Then, in the R5&D5 phase, the manuals were tested with 157 teachers and 2,613 students using a one-group pretest-posttest experimental model in the school affiliated with the Office of the Basic Education Commission. The experiment results revealed that the teachers’ scores on the post-experimental test met the standard of 90/90, and the mean scores were statistically significantly higher than the pre-experimental test. Furthermore, the findings in implementing teacher’s learning outcomes in student development illustrated that their post-experimental mean score in the Information Literacy Skills assessment was statistically significantly higher than the pre-experimental score. Taken together, these findings confirmed that the developed online program was proven to be effective according to the established research hypotheses. Moreover, the study results also demonstrated that the developed online program could be distributed to schools under the Office of the Basic Education Commission.