Search results

25 results in 0.13s

หนังสือ

    การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อบูรณาการหลัก พุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก 4) เพื่อเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นการวิจัย (Qualitative Document Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1)การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความหมายและสารัตถะของบุญ 19 ประการ 2. นิยามแห่งความเป็นบุญนิยม 11 ประการ 3. ทฤษฎีกำไร-ขาดทุนของอารยชน 4. แนวทางอริมรรคมีองค์ 8 ของสมณะโพธิรักษ์ 2)หลักพุทธธรรมที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ของชุมชนชาวอโศก คือ หลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) และหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ 10 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 3)การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศก เป็นกระบวนการ พัฒนาคุณภาพมนุษย์ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ให้ประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อชาวอโศกมีแนวปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสได้เหมือนกันทั้งชุมชน เกิดผลดี 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง เกิดความมีอิสรภาพทั้งชุมชน ด้านการพัฒนาชุมชน เกิดความมีบูรณภาพทั้งชุมชน ด้านวัฒนธรรม เกิดความมีสันติภาพทั้งชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เกิดความมีภราดรภาพทั้งชุมชน 4.องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วยระบบบุญนิยมของชุมชนชาวอโศกเชิงพุทธบูรณาการ เรียกว่า “FIPF” Model หมายถึง รูปแบบคุณธรรมบุญนิยม 4 ประการ คือ อิสรภาพ บูรณภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ
The objectives of this research were; 1) to study human resource development by Bunniyom or Puññist system or meritorious system of Asoka community, 2) to study human resource development according to Buddhism, 3) to integrate the Buddhist principles in human resource development with bunniyom system of Asoka Community, and 4) to propose approaches and knowledge body on "The Model of Human Resource Development by Bunniyom system of Asoka Community in Buddhist Integrated Approach". The data of this documentary qualitative research were collected from in-depth interviews with 10 experts and from focus group discussion with 5 experts. The results of the study indicated as follows: 1.Human resource development by Bunniyom system of Asoka Community has 4 important components: 1) Meanings and essences of 19 meritorious items, 2) 11 definitions of bunniyom, 3) The theory of profit-loss of civilized people, and 4) The Noble Eightfold Path of Samana Bodhi Rak. 2.The Buddhist principles used in the human resource development process of the Asoka community are the Threefold Training principles (Precept, Concentration, and Wisdom) and the Buddhist principles supporting human resource development. They are the 10 items of meritorious action or Puññakiriyavatthu, 6 principles of Saraniyadhamma, and 7 principles of Aparihaniyadhamma. 3.Integration of Buddhist principles with the Bunniyom system of Asoka Community is a process of human resource development in both matter and abstract to achieve the success in the same direction. The good results occurring from the practice of Asoka people for defilement eradication are in 4 sides; Self-development for the freedom in the whole community, Community development for integrity across the community, Culture for having peace across the community, and Economics for creating fraternity across the community. 4.The new body of knowledge gained from the study is the model of human resource development by the Bunniyom system of Asoka Community in the Buddhist Integrated Approach called the "FIPF" Model. It means the four forms Bunniyom; freedom, integrity, peace, and fraternity.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๓) เพื่อบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก” โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. การป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ สามารถแบ่งออกมาเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำ ๒) ด้านข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ๓) ด้านประชาชน และ ๔) ด้านพระสงฆ์หรือนักบวช ๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมในบทบาทหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านผู้นำ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านผู้นำประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ๒. ด้านข้าราชการ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านข้าราชการ ประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักอธิปไตย อคติ ๔ หลักทิศ ๖ คาราวะ ๖ มงคล ๓๘ หมวดที่ ๗ และ อปริหานิยธรรม ๗ และหลักธรรมาภิบาล ๖ ๓. ด้านประชาชน หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านประชาชน ประกอบด้วย เบญจศีล - เบญจธรรม หลักทิศ ๖ สมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม สังคหวัตถุ อิทธิบาท พหูสูต ๔. ด้านพระสงฆ์ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย จตุปาริสุทธิศีล ๔ กถาวัตถุ ๑๐ สมณสัญญา ๓ และหลักสันโดษ ๓. เมื่อนำเอาหลักพุทธธรรมไปบูรณาการกับบทบาทและการทำหน้าที่ของบุคคลในแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้านก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้รู้จักอบรมตน มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติดี และ มีคุณธรรมจริยธรรม ๔. องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE MODEL P = Personnel Quality หมายถึง การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม R = Responsibility Roles หมายถึง มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่อยู่ร่วมกับสังคม C = Cultivation Ethics หมายถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างค่านิยมที่ดี E = Effort exertion Development หมายถึง หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักปธาน ๔
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๓) เพื่อบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก” โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๔ รูป/คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. การป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ สามารถแบ่งออกมาเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำ ๒) ด้านข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ๓) ด้านประชาชน และ ๔) ด้านพระสงฆ์หรือนักบวช ๒. หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมในบทบาทหน้าที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านผู้นำ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านผู้นำประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และราชสังคหวัตถุ ๒. ด้านข้าราชการ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านข้าราชการ ประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักอธิปไตย อคติ ๔ หลักทิศ ๖ คาราวะ ๖ มงคล ๓๘ หมวดที่ ๗ และ อปริหานิยธรรม ๗ และหลักธรรมาภิบาล ๖ ๓. ด้านประชาชน หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านประชาชน ประกอบด้วย เบญจศีล - เบญจธรรม หลักทิศ ๖ สมชีวิธรรม ฆราวาสธรรม สังคหวัตถุ อิทธิบาท พหูสูต ๔. ด้านพระสงฆ์ หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย จตุปาริสุทธิศีล ๔ กถาวัตถุ ๑๐ สมณสัญญา ๓ และหลักสันโดษ ๓. เมื่อนำเอาหลักพุทธธรรมไปบูรณาการกับบทบาทและการทำหน้าที่ของบุคคลในแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้านก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติคือ เป็นผู้รู้จักอบรมตน มีความรับผิดชอบ มีความประพฤติดี และ มีคุณธรรมจริยธรรม ๔. องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE MODEL P = Personnel Quality หมายถึง การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม R = Responsibility Roles หมายถึง มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่อยู่ร่วมกับสังคม C = Cultivation Ethics หมายถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างค่านิยมที่ดี E = Effort exertion Development หมายถึง หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักปธาน ๔
The objective of this dissertation were : 1) to study the prevention of social deterioration as depicted in the Mahasupina Jatak, 2) to study the Dhamma principles for enhancement of effective prevention of social deterioration depicted in the Mahasupina Jatak, 3) to integrate the prevention of social deterioration depicted in the Mahasupina Jatak with the Buddhist principles, and 4) to propose guidelines and knowledge regarding “The model of integration of Buddhadhamma in protection of social deterioration as depicted in the Mahasupina Jataka”. The data of this documentary qualitative research were collected from the primary sources, secondary sources and in-depth interviews with 24 experts. The data were analyzed, synthesized and classified to cope with the objectives of the study. The results of the study were found that : 1. The protection of social deterioration in Mahasupina Jataka had 16 items divided into 4 groups ; 1) Leader, 2) state servants or workers, 3) People, and 4) monks or Recluses. 2. The Buddhist principles to support the prevention of social deterioration as depicted in Mahasupina Jataka were as follows : 2.1 The Buddhist principles supporting the leaders are Brahmavihara Dhamma, Dasaraja Dhamma, Cakkavatti Dhamma, and Sangahavatthu Dhamma. 2.2 The Buddhist principles supporting the state servants are Sappurisa Dhamma, Adhipateya, Agati, Disa, Garava, item 7 of Mangala, Apahaniya Dhamma, and Dhammabhipala. 2.3 The Buddhist principles supporting the people are the Five Precepts and the Five Virtues, Disa, Samajivita, Gharavasa Dhamma, Sangaha vatthu Dhamma, Iddhipada, and Bahusutta. 2.4 The Buddhist principles supporting the monks are Catuparisuddhisila, Kathavatthu, Samanasanna, and Santosa. 3. The integration of Buddhadhamma with the role and duty performance of individuals in each group can result to the desirable qualifications ; self-improvement, responsibility, good behaviors, and establishment on morality and ethics. 4. The body of knowledge obtained from the study can be concluded in PRCE Model. P = Personnel Quality, R = Responsibility Roles, C = Cultivation Ethics, and E = Effort Development.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 3) ประเมินและรับรองรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาคเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methoods Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำนวน 368 คน เครื่องมือวิจัยใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค จากแนวคิดทฤษฎีและการสัมภาษณ์ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ 51 ตัวแปร มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยเรียงลำดับ 9 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 2) ผลการประเมินรูปแบบผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค-สแควร์ (X)2 หรือ (P≤ 0.05) เท่ากับ 0.562 ค่า GFI = 0.93, และค่า RMSEA = 0.034 ได้องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ จำแนกได้ดังนี้ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 3) ผลการประเมินและรับรองผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.68 – 4.77) และผ่านเกณฑ์ในการรับรองตามที่กำหนด และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค 3) ประเมินและรับรองรูปแบบภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาคเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methoods Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำนวน 368 คน เครื่องมือวิจัยใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค จากแนวคิดทฤษฎีและการสัมภาษณ์ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ 51 ตัวแปร มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยเรียงลำดับ 9 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 2) ผลการประเมินรูปแบบผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค-สแควร์ (X)2 หรือ (P≤ 0.05) เท่ากับ 0.562 ค่า GFI = 0.93, และค่า RMSEA = 0.034 ได้องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ จำแนกได้ดังนี้ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีความสามารถในการตัดสินใจ 3) แสดงความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มุ่งเน้นผลการปฏิบัติการ 5) การเป็นแรงบันดาลใจ 6. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา 7) ความยุติธรรม 8) การยึดหลักคุณธรรมและซื่อสัตย์ 9) การมีมนุษยธรรม 3) ผลการประเมินและรับรองผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.68 – 4.77) และผ่านเกณฑ์ในการรับรองตามที่กำหนด และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
This dissertation has the following objective; 1. to study the composition of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration, 2. to develop the model of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration, and 3. to evaluate and certify the charismatic leadership model of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration. The samples of this mixed method research were 368 personnel in schools under the Secondary Educational Service Area 29. The research tools were semi-stuctured interviews and questionnaires. The data were analyzed by percentage, frequency, standard deviation, statistics software packages and composition analysis. The research results were found that: 1. The charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration consists of 9 sketch components and 51 variables. The nine components are; 1) visionary, 2) decisive, 3) self-confidence, 4) performance oriented, 5) inspiration, 6) intellectual stimulating, 7) fair, 8) integrity, and 9) humane. 2. The development model of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration was relevant to the empirical data with Chi-square (X)2 or (P≤ 0.05) = 0.562, GFI = 0.93, and RMSEA = 0.034. That resulted to 9 main components; 1) visionary, 2) decisive, 3) self-confidence, 4) performance oriented, 5) inspiration, 6) intellectual stimulating, 7) fair, 8) integrity, and 9) humane. 3. The model of development of charismatic leadership of basic education administrators in schools under the Secondary Educational Service Area 29 for strengthening equal education administration was evaluated and certified by 23 experts in Accuracy, Propriety, Feasibility, and Utility at the highest level overall (4.68-4.77). The evaluation result was above the certified criteria and the result of focus group discussions was also in the same direction.
หนังสือ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการปีการศึกษา 2561 จำนวน 438 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฎิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2561 และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ และ 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบ วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีมี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 5พฤติกรรมบ่งชี้ 3) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ องค์ประกอบการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ใช้เทคโนโลยีเป็นกิจวัตรประวัติ มี 2 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนางาน มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้องค์ประกอบการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) มีการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการส่งเสริมการสอนออนไลน์ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้และองค์ประกอบการบูรณาการเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1)มีความเชื่อในเทคโนโลยี มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี มี 4 พฤติกรรมบ่งชี้3) มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้และทุกองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือตํ่ากว่า 20% จำนวน 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ 2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมากพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 37.541 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 32 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.230 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.986 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.967 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ0.20 องค์ประกอบมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้ 3.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการปีการศึกษา 2561 จำนวน 438 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับการปฎิบัติ เก็บรวมรวมข้อมูลในปี 2561 และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1.ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ และ 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบ วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีมี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 5พฤติกรรมบ่งชี้ 3) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้ องค์ประกอบการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ใช้เทคโนโลยีเป็นกิจวัตรประวัติ มี 2 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนางาน มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้องค์ประกอบการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) มีการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีการส่งเสริมการสอนออนไลน์ มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) มีการส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มี 6 พฤติกรรมบ่งชี้และองค์ประกอบการบูรณาการเทคโนโลยี มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1)มีความเชื่อในเทคโนโลยี มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี มี 4 พฤติกรรมบ่งชี้3) มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ มี 7 พฤติกรรมบ่งชี้และทุกองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือตํ่ากว่า 20% จำนวน 55 พฤติกรรมตัวบ่งชี้ 2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมากพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 37.541 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 32 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.230 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.986 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.967 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ0.20 องค์ประกอบมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้ 3.
ตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้ทรงคุณที่มีประสบการณ์ผู้นำทางด้านการบริหารและผู้นำทางเทคโนโลยีเพื่อประเมินความคิดเห็นต่อองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครพบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ ทุกตัวบ่งชี้มีอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this study were to study the technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration, to test the harmoniousness of technology leadership structure model developed with empirical data of administrators in schools under Bangkok Metropolitan and to asses the appropriateness, accuracy, and feasibility of technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration. The data were collected in 2018 by questionnaires from 438 school administrators. The indicators were checked and certified by 17 experts. The data were analyzed by mean, standard deviation, distribution coefficient, and factor analysis through computerized statistics program The research results found that: 1.leadership Indicators Of Technological Executives In Schools Under The Bangkok Metropolitan Administration consist of 4 main components, 12 indicators and 55 behavioral indicators that can be classified as follows: Main component in technological vision has 3 indicators; 1) 6 behavioral indicators in creating technological vision, 2) 5 behavioral indicators in dissemination of information technology, and 3) 6 behavioral indicators in compliance with technological vision. There are 3 indicators in the use of information technology in administration;1) 2 behavioral indicators in a history routine, 2) 7 behavioral indicators in work development, and 3) 3 behavioral indicators in professional advancement. There are 3 indicators in promoting the use of technological in teaching and learning; 1) 3 behavioral indicators in encouragement of computer-assisted instruction, 2) 3 behavioral indicators in online teaching promotion, and 3) 6 behavioral indicators in promoting teaching and learning through social network online. There are 3 2.main indicators in integration of information technology; 1) 3 behavioral indicators in the trust in technology, 2) 4 behavioral indicators in information technology readiness, and 3) 7 behavioral indicators in computer literate. All the main components have average and distribution coefficients for selection in the structural relationship model of technological leadership indicator of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration are in accordance with the criteria set forth; an average value of or above 3.00 and a coefficient distribution is equal to or less than 20% of 55 behavioral indicators. 2. The model is consistent with empirical data, considering from the chi - square value (c 2) = 37.541, Free degrees (df) = 32, Statistical significance (P-value) = 0.230, the consistency index (GFI) = 0.986, a revised consistency index (AGFI) = 0.967, and parameter estimation error (RMSEA) = 0.20. The main component has a component weight greater than the threshold 0.50 in all components. The Sub-elements and the indicators have higher weight than 0.30. in every element and every indicator. 3. Assessment results of the appropriateness, possibility, accuracy and feasibility of technological leadership indicators of administrators in schools under Bangkok Metropolitan Administration were at a highest level.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 434 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่าระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.ระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ได้แก่ P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN และ LSR ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกค่า 4.ปัจจัยเบญจธรรมมีค่าอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่ออิทธิบาท เท่ากับ 0.98 และมีค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านอิทธิบาทไปยังภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและมยปัญญา เท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ปัจจัยอิทธิบาทมีค่าอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 434 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่าระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.ระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสถานภาพด้านช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี กับ 46 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้บริหารมีระดับการแสดงออกในปัจจัยเบญจธรรม อิทธิบาท และมยปัญญา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง ได้แก่ P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN และ LSR ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกค่า 4.ปัจจัยเบญจธรรมมีค่าอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่ออิทธิบาท เท่ากับ 0.98 และมีค่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านอิทธิบาทไปยังภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธและมยปัญญา เท่ากับ 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รองลงมา คือ ปัจจัยอิทธิบาทมีค่าอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ เท่ากับ 0.85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงต่อมยปัญญาและภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธเท่ากับ 0.96 และ 0.81 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยมยปัญญาไม่มีค่าอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ ทั้งนี้ ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งสามตัวร่วมกันอธิบายภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมแบบพุทธ ได้ร้อยละ 0.96
The objectives of this research were: 1) to study and compare the level of moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University, 2) to study and compare the level of behaviors in factors influencing moral and ethical leadership based on Buddhism of the administrators in Mahamakut Buddhist University, 3) to examine the consistence of the developed structural equation model of moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University and the empirical data, and 4) to study the size of influence of casual factors affecting moral and ethical leadership based on Buddhism of administrators in Mahamakut Buddhist University. This research was used by the quantitative research method. The 434 samples used in the study were obtained by simple random sampling. The instrument used to collect data was the questionnaire with the rating scale of leadership and causal factors having reliability coefficient at 0.97 and 0.98 respectively. The statistics used for data analysis were descriptive and inferential statistic analyzing by SPSS and LISREL Programs. The research results found that: 1. The mean of moral and ethical leadership based on Buddhism was in a high level. The comparison classified by the statuses of key informants showed the indifferent level of moral and ethical leadership based on Buddhism. However, the key informants with equal or under 35 and over 46 years old reflected that administrators showed the different levels of behaviors with statistical significance at 0.05. 2. The levels of behaviors in factors influencing the moral and ethical leadership based on Buddhism were as follows; Pañca-dhamma factor (five ennobling virtues) Iddhipāda factor (path of accomplishment) and Mayapaññā factor (wisdom that has a way to arise) found a mean value at a high level. The comparison classified by the statuses of key informants showed the indifference with statistical significance. However, the key informants with equal or under 35 and over 46 years old reflected that the administrators showed the different levels of behaviors in Pañca-dhamma factor, InIddhipāda factors and Mayapaññā factors with statistical significance at 0.05. 3. The developed Structural Equation Model of Moral and Ethical Leadership Based on Buddhism was congruent with empirical data as specified criteria of fit indices as follows: P-value of , /df, GFI, AGFI, CFI, SRMR, RMSEA, CN and LSR. 4. Pañca-dhamma factor showed the highest level of total influence on the moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.93 with statistical significance at 0.01. The Pañca-dhamma factor showed the direct influence on Iddhipāda at 0.98, and showed indirect influence via Iddhipāda to the moral and ethical leadership based on Buddhism and Mayapaññā at 0.83 and 0.94 respectively with statistical significance at 0.01. The second order, Iddhipāda factor showed the level of total influence on moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.85 with statistical significance at 0.01. The Iddhipāda factor showed the direct influence on Mayapaññā and moral and ethical leadership based on Buddhism at 0.96 and 0.81 respectively with statistical significance at 0.01. As for Mayapaññā factor showed no influence on the moral and ethical leadership based on Buddhism. All of 3 causal factors jointly explained the moral and ethical leadership based on Buddhism for 96 %.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่ ๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่ ๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
The objectives of this dissertation were: 1) to study leadership of Buddhist missionary monks in Thailand, 2) to study Buddhadhamma reinforcing the leadership of Buddhist missionary monks , 3) to develop the leadership of Buddhist missionary monks with Buddhadhamma, and 4) to propose a model and knowledge in leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with Buddhadhamma. The data of this documentary research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 10 expert-monks. The data were analyzed, synthesized and presented in a descriptive method. The results of the study were found that: 1) The leadership of Buddhist missionary monks in Thailand is complied with Ovadapatimokkha or The Principal Teaching. That means the missionary monks have to dare not to do any evil, to do good, and to purify the mind. 2) The Buddhist principles for leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand are Sappurisa Dhamma, Kalyanamitta Dhamma, Brahmavihara Dhamma, and 8 qualifications, i.e. to be a good listener, to be a good speaker, to be learned, to have good memory, to be comprehensive, to be able to clarify, to be wise in leadership, and not to create quarrels and problems. 3) The leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with the Buddhist principles are that; (1) to integrate Kalyanamitta Dhamma in searching for knowledge sources and good companions, (2) to integrate Sappurasa Dhamma in building discipline in one’s own life development, work creation and performance, self-training, living a life based on causality and carefulness, and (3) to integrate Brahmavihara Dhamma in duty performance with proper attention. 4) The leadership development of Buddhist missionary monks in Thailand with Buddhadhamma can be concluded in LDMBW Model.
หนังสือ

    งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
งานวิจัยเรื่องความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทและ 4) เพื่อวิพากษ์ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยแบบเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดและทฤษฎีความหลากหลายทางเพศ เป็นชุดความรู้ที่อธิบายเรื่องเพศที่ครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ เพศสรีระ เพศสภาพ เพศวิถี ส่วนการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงขั้นสูงสุด และผลการวิเคราะห์พบว่า 1) เพศสรีระนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเสมอภาคกันบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในตนจนเกิดความรู้เข้าใจในกฎไตรลักษณ์แล้วพัฒนากรรมจนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ 2) เพศสภาพนี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพราะทั้งคฤหัสถ์เพศและสมณเพศล้วนมีศักยภาพในตนที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เสมอเหมือนกัน 3) เพศวิถีนี้ เป็นข้อห้ามข้อพึงละเว้นข้อพึงระวัง และเป็นเงื่อนไขบางส่วนสำหรับคฤหัสถ์เพศและสมณเพศที่จะดำเนินวิถีแห่งตนเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ดังนั้นทุกลักษณะเพศดังกล่าวนี้มีศักยภาพในการบรรลุธรรมไม่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นถึงแนวคิดความหลากหลายทางเพศตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทที่ก้าวข้ามกระบวนทัศน์ความหลากหลายทางเพศและเป็นการก้าวข้ามความหลากหลายทางเพศที่เป็นสมมุติสัจจะเพื่อนำไปสู่ปรมัตถสัจจะที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลาและเหนือกระบวนทัศน์ทั้งปวง
The researcher entitled “Sexual Diversity and the Realization in Theravãda Buddhist Philosophical Perspective” has the objectives as follows : 1) to study concepts and theories of sexual diversity, 2) to study the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, 3) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy, and 4) to analyze sexual diversity and the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy.The data of this documentary qualitative research were collected from the concerned primary and secondary sources. The results of the study were found that the concepts and theories of sexual diversity are the set of knowledge that covers 3 aspects ; sex, gender, and sexuality. The realization in the absolute truth in Theravada Buddhist philosophy is the principle and practical guideline to attain the ultimate truth. The analytical results found that : 1) Sexuality did not obstruct the realization of absolute truth in Theravada Buddhist philosophy. Men and women were equal on the base of truth. When their potential was developed until they could understand the Three Common Characteristics, they could further develop themselves to obtain wisdom and to realize the truth in the end. 2) Sexuality was not the obstacle to the realization in Theravada Buddhist philosophy since both monks and lay-people had their own potential to attain the absolute truth equally. 3) Sexuality was only a condition, a restriction, a prohibition, and a precaution for lay-people and monks who adheres to the celibacy with the aim to achieve the realization of absolute truth. Thus, the gender diversity had the potential in realization on the absolute truth indifferently. The concept of gender diversity in Theravada Buddhist Philosophy was above the paradigm of gender diversity from conventional truth to absolute truth that was beyond time and all paradigms.
หนังสือ

    การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยเรื่องการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนและแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อบูรณาการการปรับพฤติกรรมทางปัญญาและสภาพการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การปรับพฤติกรรมทางปัญญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากปัจจัยภายใน (Covert Behavior) หรือพฤติกรรมทางปัญญา เช่น ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) 2) การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ ทำให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีสติ 3) การบูรณาการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยกระบวนการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินตามเป้าหมาย 4) ขั้นกระทำซ้ำ ๆ เป็นการฝึกการคิดเชิงบวก 4) องค์ความรู้ที่ได้คือ การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยพุทธปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายนอกที่พึงประสงค์และเป็นการสร้างพุทธปัญญาภายใน (Intelligence) และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
The objectives of this research were as follows: 1)to study the conditions of criminal juvenile delinquency of children and adolescents; and theories of cognitive behavior modification, 2) to study Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara, 3) to integrate behavior modification of children and adolescents in criminal juvenile delinquency with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara, and 4)to present a body of knowledge on “Behavior Modification of Children and Adolescents in Criminal Juvenile Delinquency with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara.The research relied on qualitative method and in-depth interviews. The results of this research showed that: 1) The reasons why children and adolescents committed a crime were caused from internal factors or covert behaviors, such as understanding, belief, values, attitudes or intellectual behaviors which affected external behaviors or overt behavior. 2) Cognitive behavior modification with Buddhist Intelligence in Yonisomanasikara is a thinking process in problem solution consisting of the Right View as a key, which will help children and adolescents live with mindfulness. 3) The integration of cognitive behavior modification with Buddhist intelligence in Yonisomanasikara consists of 4 steps in thinking practice for problem solution; 1) Identify problems, 2) Identify goals or targets, 3) Implement the plan to achieve the goals or targets, and 4) Repetition. All these steps are to help create positive thinking. 4) The body of knowledge obtained from the study is to have thinking practice in problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara. The problem solution through Buddhist intelligence in Yonisomanasikara leads to desirable external behavior and creates Buddhist internal intelligence. This is served as an everlasting immunity for children and adolescents to live a suitable life in the present situations.
หนังสือ

    The objectives of this dissertation were; 1) to study the 21st century lifestyle, 2) to study the Buddhist Aesthetics, 3) to integrate the 21st century lifestyle with Buddhist aesthetics, and 4) to propose a new body of knowledge on “The 21st Century Lifestyle based on Buddhist Aesthetics”. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 20 experts. The results of the study were presented in a descriptive method. The results of research were found that: The 21st century lifestyle is industrial lifestyle, capitalism, consumerism, materialism, and information technology. The modern scientific knowledge was implemented for the better quality of life, but the consumption was not in line with technological purpose because human lacked of realization of the true side and lacked of analytical thinking. There are 5 major problems nowadays; Moral Issue, Social Issue, Economic Issue, Environmental Issue, and Technological Issue. Buddhist Aesthetics is a Buddhist teaching concerning beauty. There are 2 dimensions of beauty; mundane beauty and virtuous beauty. Mundane beauty is the beauty which people normally perceive and concern with. This kind of beauty can be categorized as subjective since it is created under an influence of defilement. The virtuous beauty is the beauty resulting from practice Dhamma and it reflects on acceptable behaviors. This beauty is considered as objective since it is the beauty of Anattatã. The Buddhist teachings on Khanti and Soracca,Tilakkhan, Ditthadhammikattha, Kalayãṇamittatã, and Yonisomanasikãra are considered as the Buddhist Aesthetics because they make the beautiful life when putting into practice. The 5 major problems integrated with the 5 Buddhist teachings result to the beauty as follows; 1) Khanti and Soracca make the mind calm and clear, gain wisdom in cause and effect, and result to a graceful mind. 2) Tilakkhaṇa is to comprehend things as they really are, to gain detachment, hospitality, non-selfishness, and results to a graceful society, 3) Ditthadhammikattha is to work with carefulness, choose to accompany with friends and colleagues, and administrate the finance, which leads to a graceful economy, 4) Kalayãṇamittatã is to be friendly to environment by cherish its value, and conserving the nature, which results to balance and a graceful environment. 5) Yonisomanasikãra is to compromise technology and humanity in the right view, which leads to the true value with the knowledge of civilized people and to a graceful technology. The integration of the major problems with the Buddhist Aesthetics results to the GRACE Model. The model of a beautiful life occurred from virtuous beauty, good behavior, good mind, good wisdom, good thought, good speech, and good action.
The objectives of this dissertation were; 1) to study the 21st century lifestyle, 2) to study the Buddhist Aesthetics, 3) to integrate the 21st century lifestyle with Buddhist aesthetics, and 4) to propose a new body of knowledge on “The 21st Century Lifestyle based on Buddhist Aesthetics”. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 20 experts. The results of the study were presented in a descriptive method. The results of research were found that: The 21st century lifestyle is industrial lifestyle, capitalism, consumerism, materialism, and information technology. The modern scientific knowledge was implemented for the better quality of life, but the consumption was not in line with technological purpose because human lacked of realization of the true side and lacked of analytical thinking. There are 5 major problems nowadays; Moral Issue, Social Issue, Economic Issue, Environmental Issue, and Technological Issue. Buddhist Aesthetics is a Buddhist teaching concerning beauty. There are 2 dimensions of beauty; mundane beauty and virtuous beauty. Mundane beauty is the beauty which people normally perceive and concern with. This kind of beauty can be categorized as subjective since it is created under an influence of defilement. The virtuous beauty is the beauty resulting from practice Dhamma and it reflects on acceptable behaviors. This beauty is considered as objective since it is the beauty of Anattatã. The Buddhist teachings on Khanti and Soracca,Tilakkhan, Ditthadhammikattha, Kalayãṇamittatã, and Yonisomanasikãra are considered as the Buddhist Aesthetics because they make the beautiful life when putting into practice. The 5 major problems integrated with the 5 Buddhist teachings result to the beauty as follows; 1) Khanti and Soracca make the mind calm and clear, gain wisdom in cause and effect, and result to a graceful mind. 2) Tilakkhaṇa is to comprehend things as they really are, to gain detachment, hospitality, non-selfishness, and results to a graceful society, 3) Ditthadhammikattha is to work with carefulness, choose to accompany with friends and colleagues, and administrate the finance, which leads to a graceful economy, 4) Kalayãṇamittatã is to be friendly to environment by cherish its value, and conserving the nature, which results to balance and a graceful environment. 5) Yonisomanasikãra is to compromise technology and humanity in the right view, which leads to the true value with the knowledge of civilized people and to a graceful technology. The integration of the major problems with the Buddhist Aesthetics results to the GRACE Model. The model of a beautiful life occurred from virtuous beauty, good behavior, good mind, good wisdom, good thought, good speech, and good action.
TOC:
  • การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธสุนทรียศาสตร์ ๓) เพื่อบูรณาการการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยหลักพุทธสุนทรียศาสตร์ ๔) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยหลักพุทธสุนทรียศาสตร์” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารทางวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธสุนทรียศาสตร์จากพระไตรปิฎก อรรถกถา และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๐ รูป/คน และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า: การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นยุคอุตสาหกรรม วัตถุนิยม บริโภคนิยม ระบบดิจิตอล และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำคุณภาพชีวิตให้ดี แต่การบริโภคไม่ตรงตามจุดประสงค์ที่แท้จริงของเทคโนโลยีย่อมให้โทษ ทำให้เกิดปัญหา ๕ ด้าน คือ จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี เพราะมนุษย์ขาดการพิจารณาตามความเป็นจริงและการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง พุทธสุนทรียศาสตร์ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความงาม มีอยู่ ๒ มิติ คือ ความงามมิติทางโลกและความงามมิติทางธรรม ความงามมิติทางโลกเป็นความงามที่ชาวโลกสมมติขึ้น จัดเป็นจิตพิสัย เพราะเป็นความงามที่เกิดภายใต้อำนาจของกิเลส ส่วนความงามมิติทางธรรมเป็น ความงามจากการปฏิบัติธรรมแสดงออกทางพฤติกรรมทำให้งดงาม จัดเป็นวัตถุพิสัยเพราะเป็นความงามลักษณะอนัตตา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา คือ ขันติ โสรัจจะ ไตรลักษณ์ ทิฏฐธัมมิกัตถะ กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ หลักธรรมเหล่านี้เป็นพุทธสุนทรียศาสตร์ เมื่อปฏิบัติแล้วย่อมเกิดความงามเป็นผลเสมอ เรียกว่า ชีวิตงาม นำหลักธรรมทั้ง ๕ มาบูรณาการกับปัญหา ๕ ด้าน ทำให้เกิดความงาม คือ ๑) ขันติ โสรัจจะ อดทนอย่างมีสติทำให้จิตใจสงบนิ่ง ไม่ขุ่นมัว เกิดปัญญาเห็นเหตุปัจจัยและโสรัจจะเกิดตามเกื้อกูลทำให้จิตใจงาม ๒) ไตรลักษณ์ การเข้าถึงองค์ความรู้ เห็นตามความเป็นจริงว่าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง คลายความยึดมั่น เกิดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่เห็นแก่ตัวทำให้สังคมงาม ๓) ทิฏฐธัมมิกัตถะ กิจกรรมในชีวิต อยู่ที่การทำงานมากที่สุดจึงต้องสร้างคุณธรรมควบคู่กับงาน ไม่ประมาท ฉลาดในการคบเพื่อน การบริหารเงินถูกต้อง มีการเงินมั่นคงทำให้เศรษฐกิจงาม ๔) กัลยาณมิตร การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการเห็นคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์ เกิดดุลยภาพต่อกัน ทำให้สิ่งแวดล้อมงาม และ ๕) โยนิโสมนสิการ หล่อหลอมเทคโนโลยีกับมนุษย์ด้วยการคิดถูก รู้คุณค่าแท้เป็นความรู้แห่งอารยชน ทำให้เทคโนโลยีงาม จากผลของความงามทั้ง ๕ ทำให้เกิด GRACE MODEL โมเดลแห่งความงดงามแห่งความดี เกิดพฤติกรรม จิตใจ และปัญญางดงาม ด้วยการคิด พูด ทำ ทุกการกระทำเป็นไปอย่างดี จริง และมีประโยชน์ คือ การดำเนินชีวิตที่งดงาม
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้พิพากษาที่เป็นผู้บริหารระดับอธิบดี/รองอธิบดี และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ/ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จำนวน 442 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 3) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การนำองค์การ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การนำองค์การ และ 1.2) การกำกับดูแลองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การจัดทำยุทธศาสตร์ และ 2.2) การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) สารสนเทศผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3.2) การสร้างความผูกพัน 4) การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1) การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการของสถาบัน 4.2) การจัดการความรู้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 5.1) ความผูกพันของบุคลากร และ 5.2 สภาพแวดล้อมด้านบุคลากร 6) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 6.1) กระบวนทำงาน และ 6.2) ประสิทธิผลการปฏิบัติการ และ 7) ผลลัพธ์การบริหาร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 7.1) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและการบรรลุพันธกิจ 7.2) ผลลัพธ์ด้านงบประมาณการเงินและการเติบโต 7.3) ผลลัพธ์ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7.4) ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล 7.5) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (คุณภาพประสิทธิภาพต้นทุน) และ 7.6) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 2.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ ผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้พิพากษาที่เป็นผู้บริหารระดับอธิบดี/รองอธิบดี และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ/ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จำนวน 442 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 3) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การนำองค์การ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การนำองค์การ และ 1.2) การกำกับดูแลองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) การจัดทำยุทธศาสตร์ และ 2.2) การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) สารสนเทศผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3.2) การสร้างความผูกพัน 4) การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1) การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการของสถาบัน 4.2) การจัดการความรู้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 5.1) ความผูกพันของบุคลากร และ 5.2 สภาพแวดล้อมด้านบุคลากร 6) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 6.1) กระบวนทำงาน และ 6.2) ประสิทธิผลการปฏิบัติการ และ 7) ผลลัพธ์การบริหาร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 7.1) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและการบรรลุพันธกิจ 7.2) ผลลัพธ์ด้านงบประมาณการเงินและการเติบโต 7.3) ผลลัพธ์ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7.4) ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล 7.5) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (คุณภาพประสิทธิภาพต้นทุน) และ 7.6) ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 2.
ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล พบว่า รูปแบบการบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อพัฒนาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องเป็นรูปแบบเชิงระบบสามด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.1) หลักไตรสิกขา 1.2) หลักพรหมวิหาร และ 1.3 หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น 2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก โดยเรียงลำดับตามน้ำหนักความสำคัญ ได้แก่ 2.1) การมุ่งเน้นบุคลากร 2.2) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ 2.3) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 2.4) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วน 2.5) การนำองค์การ และ 2.6) การวางแผนยุทธศาสตร์ 3) ด้านผลลัพธ์การบริหาร มี 1 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผลลัพธ์การบริหารของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.64) ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
The purposes of this study were: 1) to study the administrative factors of the Judicial Training Institute for developing chief judges, 2) to develop the administrative model of the Judicial Training Institute for developing chief judges, and 3) to assess and validate the developed administrative model of the Judicial Training Institute for developing chief judges. The mixed research methods were used in the study. The 442 samples of this study included chief justices, deputy chief justices, presiding judges and chief judges. The research instruments used for data collection consisted of; 1) structured interview form, 2) questionnaire, and 3) assessment and validation form. The data were collected in 2019 and then analzyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA), and content analysis by Lisrel Program. The results were shown as follows: 1. The administrative elements for developing chief judges of the Judicial Training Institute have 7 fundamental related elements; 1) organizational leadership, composed of 2 subelements; 1.1) leadership and 1.2) organizational supervision and social responsibility, 2) strategic planning, composed of 2 subelements; 2.1) strategic thinking and 2.2) strategy implementation, 3) customer and stake-holder focus, composed of 2 subelements; 3.1) information of the customerand stake-holder and 3.2) customer engagement, 4) measurement, analysis and knowledge management, composed of 2 subelements; 4.1) measurement, analysis and improvement of organizational performance and 4.2) management of information knowledge and technology, 5) workforce focus, composed of 2 subelements; 5.1) workforce engagement and 5.2) workforce environment, 6) operation focus, composed of 2 subelements; 6.1) work processes and 6.2) operational effectiveness, and 7) results based management, composed of 6 subelements; 7.1) operation effectiveness, 7.2) budget and growth, 7.3) customer and stake-holder focus, 7.4) organizational leadership and supervision, 7.5) process effectiveness and supply chain management (quality, efficiency, and cost), and 7.6) workforce focus. 2. The development results of the administrative model of the Judicial Training Institution for developing chief judges showed that the developed model conformed with empirical data and was a systematic model comprised of; 1) input, containing 3 elements; 1.1) The Threefold Training, 1.2) Four Sublime States of Mind, 1.3) Executive Judges in Trial Court Course, 2) process, containing 6 elements listed in order of significance as follows: 2.1) workforce focus, 2.2) operating system focus, 2.3) measurement, analysis, and knowledge management, 2.4) customer and stake-holder focus, 2.5) organizational leadership, 2.6) strategic planning, and 3) output containing administrative output of the Judicial Training Institution. 3. The result of model assessment showed that the total average mean was at the highest level (x ̅ = 4.64), which passed the specified criterion. Thus, it can be concluded that the developed model was approved and certified by the experts.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) คือ ใช้วิธีวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ได้แก่ สถานศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 67 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ 3) แบบประเมินรูปแบบ ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอยย่อย ดังนี้ องค์ประกอบหลักที่ 1. ด้านการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 งานวิชาการ 1.2 งบประมาณ 1.3 งานบุคคล และ 1.4 งานทั่วไป และองค์ประกอบหลักที่ 2. ด้านหลักกัลยาณธรรม ของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 น่ารัก 2.2 น่าเคารพ 2.3 น่ายกย่อง 2.4 รู้จักพูดให้ได้ผล 2.5 อดทนต่อถ้อยคำ 2.6 อธิบายเรื่องล้ำลึกได้ และ 2.7 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล 2. ผลการพัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ โดยการนำหลักกัลยาณธรรม 7 เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่จะนำไปสู่พัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, ได้ร้อยละ 78.00 และการบริหารตามหลักกัลยาณธรรม ได้ร้อยละ 99.1 สามารถอธิบายความแปรปรวนในการบริหารได้ทุกองค์ประกอบ 1. ผลลัพธ์ด้านองค์ประกอบหลักด้านการบริหาร (𝜆=0.780) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 การบริหารบุคคล (𝜆=0.862) 1.2 การบริหารทั่วไป (𝜆=0.792) 1.3 การบริหารวิชาการ (𝜆=0.761) 1.4 การบริหารงบประมาณ (𝜆=0.705) 2. ผลลัพธ์องค์ประกอบหลักด้านหลักกัลยาณธรรม (𝜆=0.991) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การอดทนต่อถ้อยคำ (𝜆=0.943) 2.2 รู้จักพูดให้เหตุผล (𝜆=0.942) 2.3 ทำตนให้น่ายกย่อง (𝜆=0.933) 2.4 สามารถอธิบายเรื่องล้ำลึก (𝜆=0.871) 2.5 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล (𝜆=0.820) 2.6 มีความน่ารัก (𝜆=0.741) กับคนรอบตัว และ 2.7 เป็นที่เคารพ (𝜆=0.630) ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 3.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) คือ ใช้วิธีวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ได้แก่ สถานศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 67 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ชุด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ ชนิดมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามระดับการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ 3) แบบประเมินรูปแบบ ใช้เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอยย่อย ดังนี้ องค์ประกอบหลักที่ 1. ด้านการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 งานวิชาการ 1.2 งบประมาณ 1.3 งานบุคคล และ 1.4 งานทั่วไป และองค์ประกอบหลักที่ 2. ด้านหลักกัลยาณธรรม ของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 น่ารัก 2.2 น่าเคารพ 2.3 น่ายกย่อง 2.4 รู้จักพูดให้ได้ผล 2.5 อดทนต่อถ้อยคำ 2.6 อธิบายเรื่องล้ำลึกได้ และ 2.7 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล 2. ผลการพัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ โดยการนำหลักกัลยาณธรรม 7 เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่จะนำไปสู่พัฒนาการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, ได้ร้อยละ 78.00 และการบริหารตามหลักกัลยาณธรรม ได้ร้อยละ 99.1 สามารถอธิบายความแปรปรวนในการบริหารได้ทุกองค์ประกอบ 1. ผลลัพธ์ด้านองค์ประกอบหลักด้านการบริหาร (𝜆=0.780) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 การบริหารบุคคล (𝜆=0.862) 1.2 การบริหารทั่วไป (𝜆=0.792) 1.3 การบริหารวิชาการ (𝜆=0.761) 1.4 การบริหารงบประมาณ (𝜆=0.705) 2. ผลลัพธ์องค์ประกอบหลักด้านหลักกัลยาณธรรม (𝜆=0.991) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การอดทนต่อถ้อยคำ (𝜆=0.943) 2.2 รู้จักพูดให้เหตุผล (𝜆=0.942) 2.3 ทำตนให้น่ายกย่อง (𝜆=0.933) 2.4 สามารถอธิบายเรื่องล้ำลึก (𝜆=0.871) 2.5 ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล (𝜆=0.820) 2.6 มีความน่ารัก (𝜆=0.741) กับคนรอบตัว และ 2.7 เป็นที่เคารพ (𝜆=0.630) ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 3.
ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x =4.58) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (¯x =3.51 ขึ้นไป) ส่วนการรับรองรูปแบบพบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นรับรองร้อยละ 90.80 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
The objectives of this research were: 1) to study the components of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, 2) to develop an educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, and 3) to assess and certify the educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration. The mixed research methodology was used in the study. The data were collected from 402 samples in 67 schools by; 1) structural interviews, 2) rating-scale questionnaire, and 3) assessment form. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory analysis, and content analysis. The results of the study were found that: 1. The components of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration consist of 2 main components and 11 sub-components. The first main component consists of 4 sub-components; 1) Academic Administration, 2) Budget Administration, 3) Personnel Administration, and 4) General Administration. The second main component consists of 7 sub-components; 1) Lovely, 2) Respectful, 3) Praiseful, 4) Reasonable, 5) Verbal Tolerance, 6) Able to explain complicated topics and 7) To avoid frivolous talk. 2. The results of the development of educational administration of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration by using 7 principles of Kalyana Dhamma as the components had harmony and relevance with empirical data. The model validity can be concluded that Chi-square=22.96, df=15, p=0.0849, GFI=0.99, 78.00% and the administration based on Kalyana Dhamma principles = 99.1%. That can be used to explain every component of administration variance; 1. Results of main components in administration (̧œ†=0.780) consist of 4 sub-components; 1.1 Personnel Administration (̧œ†=0.862) 1.2 General Administration (̧œ†=0.792) 1.3 Academic Administration (̧œ†=0.761) 1.4 Budget Administration (̧œ†=0.705) 2. Results of main components in Kalyana Dhamma principles (̧œ†=0.991) consist of 7 sub-components; 2.1 Verbal Tolerance (̧œ†=0.943), 2.2 Reasonable (̧œ†=0.942), 2.3 Praiseful (̧œ†=0.933), 2.4 Able to explain complicated topics (̧œ†=0.871), 2.5 To avoid frivolous talk (̧œ†=0.820), 2.6 Lovely for colleagues and companions (̧œ†=0.741), and 2.7 Respectful for students, teachers, and parents (̧œ†=0.630). 3. The assessment results of the educational administration model of administrators in Buddhist based schools under Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration were at the high level overall (℗¯x =4.58) above the set criteria at (℗¯x =3.51+). The model was certified by the experts at 90.80% above the set criteria at 70.00%
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
This dissertation has the following objectives;1) to study the propagation philosophy of Buddhism in the Tipitaka, 2) to study the propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern times, 3) to integrate the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, and 4) to present the model of Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, documents, research works, and purposive in-depth interviews with 13 key-informants consisting of DhammadutaBhikkhus from foreign countries, Buddhism's experts, and officers of the National Office of Buddhism. The data were analyzed,categorized, synthesized, and presented in adescriptive method. The results of the research showed that; 1) The basic philosophy of Buddhist propagation in the Tipitaka is the 3 principles, the 4 ideologies and the 6 methods which are derived from the Principal Teaching. Without these principles, ideologies, and methods, Buddhist propagation will cause problems and not lead to the end of suffering. The 3 principles are: (1) Not to do any evils, (2) To do good, and (3) To purify the mind. The 4 ideologies are; (1) Patience, (2) Non-violence, (3) Peace, (4) Nibbana orientation, The 6 methods include; (1) not do evil in word, (2) not do evil in body, (3) restraint with regard to the monastic disciplinary code, (4) moderation in eating, (5) residing in a peaceful place, and (6) purifying the mind. 2) The propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern timewas studied from the propagation philosophy of Theravada Buddhism in 5 countries; Thailand, Cambodia, Myanmar, Laos, and Sri Lanka. The study found that every country relied on individuals and organizations to propagate Buddhism.From the past to the present,monarchs, royal relatives, nobles, government officials, academics, monks, DhammadutaBhikkhus, Buddhist Universities, government, temples, and religious places had an important role in propagating Buddhism. Nowadays, digital technology is also used in Buddhist propagation. 3) Integrating Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade can be divided into 2 parts; (1) Organization, there should be social, cultural, educational, Dhammaduta monks, online propagation, administrative, and legal policies in line with Ovadapapatimokkha principles, and (2) Individual, the propagation should be based on the 3 principles, the 4 ideologies, and the 6 methods. 4) The new body of knowledge obtained from this research is called the PGV Model.It is a form of the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, derived from the Principal Teaching which consists of 3 principles, 4 ideologies, and 6methods. Even it is the original teaching for Buddhist propagation, but it can be applied and integrated with the changing society because it is universal and life-quality oriented development.