Search results

55 results in 0.1s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการดำเนินชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการดำเนินชีวิต แนวปฏิบัติที่มีความสัมพันธ์กันในเรื่องของหน้าที่ของมนุษย์ ในแนวพุทธปรัชญาเถรวาท แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ชีวิตมนุษย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะในปัจจุบันนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตไม่ว่าแบบใดหากขาดความตระหนักในหน้าที่บทบาทความรับผิดชอบมนุษย์จะปราศจากคุณค่าทันที มนุษย์จะมีชีวิตที่ผาสุขได้ควรมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข ให้ความสำคัญกับหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเข้าใจรู้ในหน้าที่บทบาทความสัมพันธ์ของคนรอบข้างเป็นสำคัญ 2. หลักทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่ บุคคลจะพึงทำหน้าที่ต่อกันด้วยหน้าที่ที่บริสุทธิ์ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อสังคม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถส่งเสริมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้ดีงาม ทั้งในส่วนปัจเจกและส่วนรวม ช่วยให้ปัจเจกบุคคล สามารถดำเนินชีวิตส่วนตัวได้อย่างมีความสุข และสังคมส่วนรวมก็ดำรงอยู่อย่างปกติสุขด้วยอันมีหน้าที่ 6 ประเภทได้แก่ 1.ทิศเบื้องหน้า บิดามารดา 2. ทิศเบื้องขวา ครูอาจารย์ 3. ทิศเบื้องหลัง ภรรยา 4. ทิศเบื้องซ้าย มิตรอำมาตย์ 5. ทิศเบื้องล่าง ลูกจ้าง ทาส กรรมกร 6. ทิศเบื้องบน สมณะพราหมณ์ 3.การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 เป็นวิธีการส่งเสริมต่อการปฏิบัติหน้าที่ ที่ถูกต้อง อันมนุษย์พึงปฏิบัติต่อกัน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิต และสภาพของสังคม ที่แวดล้อมตัวเราดีขึ้น เพราะทุกคนรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่จะพึงปฏิบัติต่อผู้อื่น ที่ตนเกี่ยวข้องด้วย การดำเนินชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยึ่ง ที่จะต้องดำเนินไปให้มีคุณภาพ อาศัยองค์ประกอบของชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาชีวิตให้มีคุณค่า และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการดำเนินชีวิต 2) เพื่อศึกษาหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 ในพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการดำเนินชีวิต แนวปฏิบัติที่มีความสัมพันธ์กันในเรื่องของหน้าที่ของมนุษย์ ในแนวพุทธปรัชญาเถรวาท แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยนำเสนอเชิงพรรณนา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ชีวิตมนุษย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะในปัจจุบันนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตไม่ว่าแบบใดหากขาดความตระหนักในหน้าที่บทบาทความรับผิดชอบมนุษย์จะปราศจากคุณค่าทันที มนุษย์จะมีชีวิตที่ผาสุขได้ควรมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข ให้ความสำคัญกับหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเข้าใจรู้ในหน้าที่บทบาทความสัมพันธ์ของคนรอบข้างเป็นสำคัญ 2. หลักทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่ บุคคลจะพึงทำหน้าที่ต่อกันด้วยหน้าที่ที่บริสุทธิ์ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อสังคม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถส่งเสริมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้ดีงาม ทั้งในส่วนปัจเจกและส่วนรวม ช่วยให้ปัจเจกบุคคล สามารถดำเนินชีวิตส่วนตัวได้อย่างมีความสุข และสังคมส่วนรวมก็ดำรงอยู่อย่างปกติสุขด้วยอันมีหน้าที่ 6 ประเภทได้แก่ 1.ทิศเบื้องหน้า บิดามารดา 2. ทิศเบื้องขวา ครูอาจารย์ 3. ทิศเบื้องหลัง ภรรยา 4. ทิศเบื้องซ้าย มิตรอำมาตย์ 5. ทิศเบื้องล่าง ลูกจ้าง ทาส กรรมกร 6. ทิศเบื้องบน สมณะพราหมณ์ 3.การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 เป็นวิธีการส่งเสริมต่อการปฏิบัติหน้าที่ ที่ถูกต้อง อันมนุษย์พึงปฏิบัติต่อกัน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิต และสภาพของสังคม ที่แวดล้อมตัวเราดีขึ้น เพราะทุกคนรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่จะพึงปฏิบัติต่อผู้อื่น ที่ตนเกี่ยวข้องด้วย การดำเนินชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยึ่ง ที่จะต้องดำเนินไปให้มีคุณภาพ อาศัยองค์ประกอบของชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาชีวิตให้มีคุณค่า และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
The objectives of this thesis were as follows: 1) to study the principles of living, 2) to study the 6 Directions in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze the lifestyle according to the 6 Directions in Theravada Buddhist philosophy. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, theses, and articles on the concept of living and interrelated practice of human duty in the concept of Theravada Buddhist philosophy.The data were analyzed, summarized and presented in a descriptive method. The study results were found that: 1) Human life is an essential element in development in every dimension in order to cope with the changes in society. Living a life without duty and responsibility concentration can become worthless. Humans can live a happy life by not in connection with causes of ruin. At the same time, they have to realize their own duty and treat the others suitable to their roles and relations. 2) The 6 Directions in Theravada Buddhist philosophy are the principles that individuals should practice to promote a good human life individually and socially. These principles help make individuals live a happy life and make society establish calmly and normally. The 6 Directions are 6 types of duty; 1. The direction in front refers to duty of parents and children, 2. The direction in the right refers to duty of teachers and students, 3. The direction behind refers to a husband and a wife, 4. The direction in the left refers to the duty of friends and associates, 5. The direction below refers to the duty of workmen and masters, and 6. The upper direction refers to the duty of monks and lay-people. 3) Living a lifestyle according to the 6 Directions is the way to promote the practice of the right duty that humans should treat one another. In daily life, these principles can help improve life quality, social conditions and environments because everyone understands and follows one’s own duty and responsibility. It is necessary to live a life with quality and value for the happiness and peacefulness of oneself and society.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเห็นผิดในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษา ความหลงในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อวิเคราะห์การแก้ไขความหลงในฐานะเป็นรากฐานความเห็นผิดในพระพุทธศาสนา ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า : ความเห็นผิดในพระพุทธศาสนา พบว่าความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เป็นสิ่งที่เมื่อเกิดแก่ผู้ใดย่อมนำความทุกข์สู่ชีวิตทั้งปัจจุบัน ถึงอนาคต หากไม่สามารถแก้ไขมิจฉาทิฏฐิอันนำไปสู่ความเห็นอันดิ่งลงยากจะถอนออกที่เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งนิยตมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นรากเหง้าของวัฏฏะ หลักธรรมที่ใช้สลัดมิจฉาทิฏฐิ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ หรือความเห็นที่ถูก สัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัย 2 อย่าง คือ 1) ปรโตโฆสะหรือกัลยาณมิตร การได้ฟังสิ่งที่ดีงามจากบุคคลอื่น และ 2) โยนิโสมนสิการ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย การคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คิดอย่างมีระบบ, ต้องฝึกตนเองด้วยสมาธิ โดยมีสติเป็นผู้ควบคุมทำให้เกิดปัญญา และสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นย่อมสลัดมิจฉาทิฏฐิได้ ความหลงในพระพุทธศาสนา พบว่าความหลง(โมหะ)เป็นหนึ่งในอกุศลมูล ถือว่าเป็นอกุศลมูลตัวสำคัญที่หนุนนำให้อกุศลมูลตัวอื่นเกิดขึ้น ความหลง (โมหะ) มีความหมายหยาบกว่า อวิชชาความไม่รู้ในอริยะสัจ ความหลง จะกำจัดยากเพราะความหลงเป็นอาการจิตที่มืดบอดการกระทำใด ๆ อย่างไร้สติอันตรายมีโทษมาก และคลายช้า โทษที่เกิดในภพหน้าของมนุษย์ที่มีความหลง (โมหะ) ย่อมไปสู่ภพสัตว์เดรัจฉาน ความเห็นผิดหรือความเห็นที่วิปริต วิปลาสคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ย่อมมีความหลงเป็นตัวหนุนนำจึงเกิดความเห็นผิด ทำให้เห็นว่าความเห็นผิด(มิจฉาทิฏฐิ) มีความหมายที่หยาบกว่า ความหลง (โมหะ) การแก้ไขความหลงในฐานะเป็นรากฐานของความเห็นผิด พบว่าสามารถแก้ใขได้ด้วยหลักปัญญา 3 ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระบบดังนี้ 1.ระบบการศึกษา (สุตมยปัญญา) 2.ระบบการใช้หลักเหตุผล (จินตามยปัญญา) 3.ระบบการพิสูจน์ตรวจสอบ (ภาวนามยปัญญา) 4.ระบบควบคุม (สติ,สัมปชัญญะ,อัปมาทะ) เป็นต้น
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเห็นผิดในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษา ความหลงในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อวิเคราะห์การแก้ไขความหลงในฐานะเป็นรากฐานความเห็นผิดในพระพุทธศาสนา ศึกษาค้นคว้าจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า : ความเห็นผิดในพระพุทธศาสนา พบว่าความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เป็นสิ่งที่เมื่อเกิดแก่ผู้ใดย่อมนำความทุกข์สู่ชีวิตทั้งปัจจุบัน ถึงอนาคต หากไม่สามารถแก้ไขมิจฉาทิฏฐิอันนำไปสู่ความเห็นอันดิ่งลงยากจะถอนออกที่เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งนิยตมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นรากเหง้าของวัฏฏะ หลักธรรมที่ใช้สลัดมิจฉาทิฏฐิ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ หรือความเห็นที่ถูก สัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัย 2 อย่าง คือ 1) ปรโตโฆสะหรือกัลยาณมิตร การได้ฟังสิ่งที่ดีงามจากบุคคลอื่น และ 2) โยนิโสมนสิการ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย การคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คิดอย่างมีระบบ, ต้องฝึกตนเองด้วยสมาธิ โดยมีสติเป็นผู้ควบคุมทำให้เกิดปัญญา และสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นย่อมสลัดมิจฉาทิฏฐิได้ ความหลงในพระพุทธศาสนา พบว่าความหลง(โมหะ)เป็นหนึ่งในอกุศลมูล ถือว่าเป็นอกุศลมูลตัวสำคัญที่หนุนนำให้อกุศลมูลตัวอื่นเกิดขึ้น ความหลง (โมหะ) มีความหมายหยาบกว่า อวิชชาความไม่รู้ในอริยะสัจ ความหลง จะกำจัดยากเพราะความหลงเป็นอาการจิตที่มืดบอดการกระทำใด ๆ อย่างไร้สติอันตรายมีโทษมาก และคลายช้า โทษที่เกิดในภพหน้าของมนุษย์ที่มีความหลง (โมหะ) ย่อมไปสู่ภพสัตว์เดรัจฉาน ความเห็นผิดหรือความเห็นที่วิปริต วิปลาสคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ย่อมมีความหลงเป็นตัวหนุนนำจึงเกิดความเห็นผิด ทำให้เห็นว่าความเห็นผิด(มิจฉาทิฏฐิ) มีความหมายที่หยาบกว่า ความหลง (โมหะ) การแก้ไขความหลงในฐานะเป็นรากฐานของความเห็นผิด พบว่าสามารถแก้ใขได้ด้วยหลักปัญญา 3 ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระบบดังนี้ 1.ระบบการศึกษา (สุตมยปัญญา) 2.ระบบการใช้หลักเหตุผล (จินตามยปัญญา) 3.ระบบการพิสูจน์ตรวจสอบ (ภาวนามยปัญญา) 4.ระบบควบคุม (สติ,สัมปชัญญะ,อัปมาทะ) เป็นต้น
The objectives of this thesis are: 1) to study wrong views in Buddhism, 2) to study delusion in Buddhism, and 3) to analyze the correction of delusion as the foundation of wrong views in Buddhism. The data of this documentary qualitative study were collected from Buddhist scriptures, relevant texts and research papers. The results of the research were found that: In Buddhism, when the wrong view occurs to anyone, it will bring suffering to his life from now on and into the future. If the wrong view cannot be corrected, it will go so deep that it cannot be withdrawn and it is called Niyata Micchaditthi or permanent wrong view. This kind of wrong view is the root of the round of existences. The wrong view can be withdrawn by the principle of right view which occurs from 2 factors; 1) Paratoghosa or hearing and learning from others, and 2) Yonisomanasikara or systematic attention and analytical reflection. In Buddhism, delusion or Moha is one of unwholesome roots. Delusion is the main unwholesome causing other unwholesome to occur. Delusion has a more coarse meaning than ignorance. Delusion is difficult to get rid of because it is a blind mind. The results of any actions occurred from delusion can send the doers to the realm of the brute creation. The meaning of wrong view or Micchaditthi is shallower or rougher than the meaning of delusion or Moha because the wrong view is supported by delusion. The correction of delusions as the foundation of wrong views can be done by the 3 principles of wisdom divided into 4 systems; 1) Learning system or Sutamaya Panna, 2) Reasoning system or Cintamaya Panna, 3) Verifying system or Bhavanamaya Panna, and 4) Controlling system by mindfulness, clear comprehension and non-negligence.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3. เพื่อวิเคราะห์การแก้ปัญหาความขัดแย้งตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท มีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Qualitative Research) ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้น (Primary Sources) และขั้นรอง (Secondary Sources) นำเนื้อหามาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นลำดับต่อไป ผลการวิจัย พบว่า ในทางปรัชญา มีความหมายในการแก้ปัญหาตามวิธีการของแต่ละสำนัก ปรัชญาตะวันตก เป็นการแก้ปัญหาด้วยหลักเหตุผล หลักกฎหมาย หลักการของศาสนา ส่วนในปรัชญาตะวันออกมีวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยการทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติ ให้ศึกษาและทำความเข้าใจธรรมชาติมากที่สุด ให้อยู่กับธรรมชาติอย่างสันติสุข 1. การแก้ปัญหาความขัดแย้ง สภาพของความขัดแย้งที่เป็นทั้งสาเหตุและผลอยู่ในบุคคล ซึ่งความขัดแย้งหนึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งอีกเรื่องหนึ่งได้เสมอ ถ้าหากการแก้ปัญหาไม่ได้คำนึงถึงธรรมชาติของความขัดแย้งที่มีอยู่จากการเลือกใช้วิธีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งประเด็นปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ปัจจุบันนั้นได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ 1) ปัญหาความขัดแย้งภายในตนเอง 2) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ 3) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับองค์กร 4) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรกับองค์กร 2. หลักพุทธปรัชญาเถรวาทในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จากการศึกษาสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมในการนำมาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทั้งข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการ พบว่าหลักพุทธปรัชญาที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาทั้ง 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1) การแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในตนเอง ด้วยหลักธรรมขันติโสรัจจะ 2) การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ด้วยหลักเบญจศีล-เบญจธรรม 3) การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับองค์กร ด้วยหลักสาราณียธรรมและ 4) การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรกับองค์กร ด้วยหลักอคติ 3.
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3. เพื่อวิเคราะห์การแก้ปัญหาความขัดแย้งตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท มีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Qualitative Research) ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้น (Primary Sources) และขั้นรอง (Secondary Sources) นำเนื้อหามาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นลำดับต่อไป ผลการวิจัย พบว่า ในทางปรัชญา มีความหมายในการแก้ปัญหาตามวิธีการของแต่ละสำนัก ปรัชญาตะวันตก เป็นการแก้ปัญหาด้วยหลักเหตุผล หลักกฎหมาย หลักการของศาสนา ส่วนในปรัชญาตะวันออกมีวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยการทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติ ให้ศึกษาและทำความเข้าใจธรรมชาติมากที่สุด ให้อยู่กับธรรมชาติอย่างสันติสุข 1. การแก้ปัญหาความขัดแย้ง สภาพของความขัดแย้งที่เป็นทั้งสาเหตุและผลอยู่ในบุคคล ซึ่งความขัดแย้งหนึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งอีกเรื่องหนึ่งได้เสมอ ถ้าหากการแก้ปัญหาไม่ได้คำนึงถึงธรรมชาติของความขัดแย้งที่มีอยู่จากการเลือกใช้วิธีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งประเด็นปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ปัจจุบันนั้นได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ 1) ปัญหาความขัดแย้งภายในตนเอง 2) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ 3) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับองค์กร 4) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรกับองค์กร 2. หลักพุทธปรัชญาเถรวาทในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จากการศึกษาสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมในการนำมาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทั้งข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการ พบว่าหลักพุทธปรัชญาที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาทั้ง 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1) การแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในตนเอง ด้วยหลักธรรมขันติโสรัจจะ 2) การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ด้วยหลักเบญจศีล-เบญจธรรม 3) การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับองค์กร ด้วยหลักสาราณียธรรมและ 4) การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรกับองค์กร ด้วยหลักอคติ 3.
วิเคราะห์การแก้ปัญหาความขัดแย้งตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ดังนี้ 3.1 การแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในตัวเอง ใช้หลักขันติโสรัจจะ หมายถึงต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อความยากลำบาก อดทนต่อความอยาก อดทนต่อสิ่งยั่วยุทางวัตถุ ปฏิบัติตนด้วยความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงอาการต่าง ๆ ที่ไม่น่าดู ให้ปรากฏแก่สาธารณะ เมื่ออดทนได้ ปัญหาความขัดแย้งภายในตัวเองก็จะบรรเทาบางลง 3.2 การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ใช้หลักเบญจศีลเบญจธรรม หมายถึง ศีลจะมีสาระที่มุ่งเพื่อการไม่เบียดเบียน ซึ่งเป็นขั้นต้นที่สุดของการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เกื้อกูลของสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ส่วนตัว โดยขัดเกลาตนเองเพื่อจุดหมายที่จำเพาะมากยิ่งขึ้น 3.3 การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับองค์กร ใช้หลักสาราณียธรรม หมายถึง แนวทางปฏิบัติของผู้ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่นครอบครัว จนถึงระดับประเทศชาติ วิถีชีวิตของสังคม เมื่อผูกพันอยู่กับหลักสาราณียธรรม จึงทำให้ผู้คนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทอยู่อย่างสงบสุข 3.4 การปฏิบัติหน้าที่ โดยปราศจากความสำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง และเพราะความกลัว ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้อง โดยการละเว้นจากอคติทั้ง 4 ประการ องค์กรแต่ละองค์กรก็จะมีความขัดแย้งลดลง มีผลทำให้สังคมสงบสุข และอยู่กันอย่างสันติต่อไป
The objectives of this thesis were : 1) to study conflict resolution 2) to study the Theravada Buddhist Philosophy involving conflict resolution 3) to analyze conflict resolution based on Theravada Buddhist Philosophy. The data acquired for this research was documentary qualitative research, which including both primary sources and secondary sources. Analysis of data was performed and presented in form of “Conflict resolution based on Theravada Buddhist Philosophy” The results of research were found that : The Philosophical aspects, the conflict resolution is differed among western philosophy schools. Mainly, resolution is based on principle of logic, law, and religion. On the other hand, conflict resolution in eastern philosophy uses principle of nature, harmonize with nature, understand it, and peacefully live within it. 1.The conflict resolution. The problem of the conflict is both cause and effect in a person. One conflict can always lead to another. If the solution does not take into account the nature of the conflict choosing to use improper conflict resolution solutions. The issues of conflicts that arise in human society today can be summarized as follow: 1) Self-conflict problem 2) Individual-to-Individual conflict problem 3) Organization–Individual conflict problem and 4)Organization-to-Organization conflict problem. 2.Theravada Buddhist Philosophy in resolving conflicts from the study to explore information about Buddhist principles suitable for solving conflicts. Both information from the Tripitaka, academic documents. The Buddhist philosophy is suitable for solving problems as follows: 1) Self-conflict resolution, using Khanti and Soracca 2)Individual-to-Individual conflict resolution, using Pañca-sila and Pañcadhamma 3) Organization–Individual conflict resolution, using Säranïyadhamma, 4) Organization-to-Organization conflict resolution, using Agati. 3.Analyze the conflicts resolution according to Theravada Buddhist philosophy summarized as follows 3.1. Self-conflict resolution, using Khanti and Soracca, which mean one must have tolerance toward hardship, desire, and materialistic seduction. Act with tranquility, does not express undesirable behavior in public. When the tolerance is achieved, self-conflict will be resolved. 3.2. Individual-to-Individual conflict resolution, using Pañca-sila and Pañca-dhamma. This means applying Sila into action, focusing on non-exploitation, which is the most basic step of shaping society’s environment, leading to coexistence, privacy, and self-realization. 3.3. Organization–Individual conflict resolution, using Säranïyadhamma, which mean behavioral guideline for members of the organization, starting from smallest such as family, to larger level like the nation. If society’s way of life is bound with Säranïyadhamma, members of society will live together in peace. 3.4. Organization-to-Organization conflict resolution, using Agati. This is the Dhamma of leader and commoner alike. Leaders of society should devote themselves to this virtue, since it mainly affects the core of management and administration. Understanding and applying Agati will yield positive effects toward ruling and governing, follow by the peace of society.
หนังสือ

    The objectives of this thesis were as follows 1) to study the using iddhipãda 4, 2) to study the using iddhipãda 4 for developing learning quality of student, 10 january 1979 high school, siemreap province, the kingdom of cambodia, and 3) to analyze the value of using iddhipãda 4 for developing learning quality of student, 10 january 1979 high school, siemreap province, The Kingdom of Cambodia. The thesis was the documentary qualitative research works focused on documentaries, studies mainly on the tipitaka, relating documentaries and relevant researches together with the interviews of the related experts. All of the data were then analyzed by content analysis, classified into system, concluded and presented in descriptive analysis The results of research were found as follows: 1. Using Iddhipãda 4 for the principle that can be applied in many different fields such as teaching and learning dharma practice working or iddhipãda 4. there are virtues: satisfaction, love in that. persistence is perseverance in that. Chitta is attention to that and focus is on the focus of that reason. 2. Using Iddhipãda 4 for developing learning quality of student, 10 January 1979 high school, siemreap province, the kingdom of cambodia. Found that to improve the learning quality of students by using the Su Ji Pu Li method and to organize activities for students to thrive in cognitive, traits, and physical skills and apply them to their daily life. 3. The results of the analysis of the Using Iddhipãda 4 for developing learning quality of student, 10 January 1979 high school, siemreap province, the kingdom of cambodia. to three for 1) higher learning value 2) school academic excellence value and 3) Integration of principles in learning.
The objectives of this thesis were as follows 1) to study the using iddhipãda 4, 2) to study the using iddhipãda 4 for developing learning quality of student, 10 january 1979 high school, siemreap province, the kingdom of cambodia, and 3) to analyze the value of using iddhipãda 4 for developing learning quality of student, 10 january 1979 high school, siemreap province, The Kingdom of Cambodia. The thesis was the documentary qualitative research works focused on documentaries, studies mainly on the tipitaka, relating documentaries and relevant researches together with the interviews of the related experts. All of the data were then analyzed by content analysis, classified into system, concluded and presented in descriptive analysis The results of research were found as follows: 1. Using Iddhipãda 4 for the principle that can be applied in many different fields such as teaching and learning dharma practice working or iddhipãda 4. there are virtues: satisfaction, love in that. persistence is perseverance in that. Chitta is attention to that and focus is on the focus of that reason. 2. Using Iddhipãda 4 for developing learning quality of student, 10 January 1979 high school, siemreap province, the kingdom of cambodia. Found that to improve the learning quality of students by using the Su Ji Pu Li method and to organize activities for students to thrive in cognitive, traits, and physical skills and apply them to their daily life. 3. The results of the analysis of the Using Iddhipãda 4 for developing learning quality of student, 10 January 1979 high school, siemreap province, the kingdom of cambodia. to three for 1) higher learning value 2) school academic excellence value and 3) Integration of principles in learning.
TOC:
  • วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อศึกษาการใช้อิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 10 มกราคม 1979 จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าการใช้อิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาวิเคราะห์จัดระบบหมวดหมู่แล้วสรุปผลการวิจัยนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักอิทธิบาท 4 คือ หลักธรรมที่เป็นบันไดแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติกิจทุกอย่างประกอบด้วย ฉันทะ คือ ความพอใจในเรื่องที่เราจะทำ วิริยะ คือ ความเพียรไม่ท้อถอยในการประกอบกิจนั้น ๆ จิตตะ คือ เอาใจใส่ไม่ทอดทิ้งธุระในเรื่องนั้น ๆ และวิมังสา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบหาข้อยิ่งหย่อนเกินเลยบกพร่องหรือขัดข้องในกิจที่ทำ 2. การใช้อิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 10 มกราคม 1979 จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา เป็นการจัดการหลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้วิธีการ สุ จิ ปุ ลิ และจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีความเจริญงอกงามในด้านพุทธิพิสัย เจตพิสัย และทักษะพิสัยและนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน 3. ผลการวิเคราะห์คุณค่าการใช้อิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 10 มกราคม 1979 จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา มี 3 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านการเรียนรู้ที่สูงขึ้น 2) คุณค่าด้านความเป็นเลิศด้านวิชาการของโรงเรียน และ 3) คุณค่าด้านการนำหลักธรรมไปบูรณาการในการเรียนรู้
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญากับยาเสพติดให้โทษ ๒) เพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชนในจังหวัดหนองคาย ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธปรัชญากับการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชนในจังหวัดหนองคาย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เอกสารกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชนในจังหวัดหนองคาย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: ยาเสพติดให้โทษ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น มัชชะ เป็นของมึนเมา บัญญัติไว้ในหลักธรรมศีล ๕ การเสพยาเสพติดให้โทษเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นมูลแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย ก่อให้เกิดทุกข์ และเป็นมูลเหตุแห่งอาชญากรรมหลายชนิด หลักพุทธปรัชญากับการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านจิตใจของเด็กและเยาวชน ให้มีสติ เกิดปัญญา นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ ประกอบด้วยหลักพุทธปรัชญาเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ หลักอริยสัจ ๔ และหลักปฏิจจสมุปบาท หลักพุทธปรัชญาเพื่อการป้องกัน ได้แก่ หลักอบายมุข ๖, หลักทิศ ๖, หลักมิตรแท้มิตรเทียม, หลักหิริโอตตัปปะ และหลักโยนิโสมนสิการ เมื่อนำหลักพุทธปรัชญาเหล่านี้มาแก้ไขปัญหา เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ถึงเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดให้โทษ สำรวมอายตนะให้ห่างไกลจากยาเสพติดให้โทษ เห็นโทษและพิษภัยของยาเสพติดให้โทษ ปลูกฝังค่านิยมที่ดี และความประพฤติที่ดี ช่วยให้เด็กและเยาวชนเกิดความละอายใจ มีวิจารณญาณที่ดี ในการตัดสินใจให้ห่างไกลจากปัญหายาเสพติดให้โทษได้
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญากับยาเสพติดให้โทษ ๒) เพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชนในจังหวัดหนองคาย ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธปรัชญากับการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชนในจังหวัดหนองคาย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เอกสารกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชนในจังหวัดหนองคาย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: ยาเสพติดให้โทษ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น มัชชะ เป็นของมึนเมา บัญญัติไว้ในหลักธรรมศีล ๕ การเสพยาเสพติดให้โทษเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นมูลแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย ก่อให้เกิดทุกข์ และเป็นมูลเหตุแห่งอาชญากรรมหลายชนิด หลักพุทธปรัชญากับการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านจิตใจของเด็กและเยาวชน ให้มีสติ เกิดปัญญา นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ ประกอบด้วยหลักพุทธปรัชญาเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ หลักอริยสัจ ๔ และหลักปฏิจจสมุปบาท หลักพุทธปรัชญาเพื่อการป้องกัน ได้แก่ หลักอบายมุข ๖, หลักทิศ ๖, หลักมิตรแท้มิตรเทียม, หลักหิริโอตตัปปะ และหลักโยนิโสมนสิการ เมื่อนำหลักพุทธปรัชญาเหล่านี้มาแก้ไขปัญหา เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ถึงเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดให้โทษ สำรวมอายตนะให้ห่างไกลจากยาเสพติดให้โทษ เห็นโทษและพิษภัยของยาเสพติดให้โทษ ปลูกฝังค่านิยมที่ดี และความประพฤติที่ดี ช่วยให้เด็กและเยาวชนเกิดความละอายใจ มีวิจารณญาณที่ดี ในการตัดสินใจให้ห่างไกลจากปัญหายาเสพติดให้โทษได้
The research has the objectives to study: 1) Buddhist principles and narcotics, 2) the methods to resolve narcotic problem of juveniles in Nongkhai province, 3) the analytical study of Buddhist principles to resolve narcotic problem in Nongkhai province. This research is qualitative research, and the researcher collected the information from various sources such as Buddhist scriptures, Narcotic Act, related laws with the narcotics and interviewed the people concerned with narcotic problem resolution in Nongkhai province. The researcher analyzed the document by inductive methodology. The results of research were found that: The narcotics in Buddhism is intoxicants in the five precepts. It causes the carelessness and unconsciousness. It is also the evil deed causing the suffering and criminal cases. Buddhist principles to resolve the narcotic problem emphasized on mind development consisting with consciousness that will lead to right performance. Buddhist principle to resolve narcotic problem such as the four noble truth, law of dependent origination. Buddhist principles to prevent narcotic problem consist of six vicious, six directions in Buddhism, true friend and false friend, shame and consciousness, and critical reflection. While applying Buddhist principles to solve the narcotic problem with juvenile, it led them to know the causes that motivated them to be addicted. Also, Buddhist principles led the juvenile to be ashamed and know the danger of narcotic.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหน้าที่และบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคตามหน้าที่และบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการเรียนการสอนพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา เป็นการศึกษา วิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 รูป/คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 5 รูป/คน ครูพี่เลี้ยงพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 3 คน ตัวแทนพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 7 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า: 1. พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมีหน้าที่และบทบาทด้านให้บริการวิชาการแก่สังคมมีคุณสมบัติที่ผ่านกระบวนการฝึกอบรมตามหลักสูตร ทำหน้าที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน เยาวชน และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ได้เน้นวิชาชีพครู แต่เน้นทักษะการปฏิบัติบูรณาการพระพุทธศาสนาเข้าศิลปวัฒนธรรมประเพณี ศาสนพิธี สู่บ้าน วัด โรงเรียน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ปัญหาอุปสรรคตามหน้าที่และบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน คือด้านการศึกษาหลักสูตรพระสอนศีลธรรมยังไม่เข้าใจหลักสูตรที่อบรมเพราะมีระยะเวลาอบรมน้อยไป ด้านการสอนขาดความรู้เทคนิควิธีการสอน การเขียนแผนการสอน การนำเนื้อหาแผนการสอนไปใช่สื่อการสอน สื่อการสอนไม่ทันสมัยและไม่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ ขาดการพัฒนาผลิตสื่อการสอน 3. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ด้านการศึกษาควรยกระดับการศึกษาของตนเอง ควรพัฒนาหลักสูตรพระสอนศีลธรรม มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสอนให้ทันสมัย ด้านการสอนควรมีหลักสูตรการสอนที่มีคุณภาพ มีวิธีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายทันสมัยเข้าสถานณ์การปัจจุบันและสอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหน้าที่และบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคตามหน้าที่และบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการเรียนการสอนพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา เป็นการศึกษา วิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 รูป/คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 5 รูป/คน ครูพี่เลี้ยงพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 3 คน ตัวแทนพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 7 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า: 1. พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมีหน้าที่และบทบาทด้านให้บริการวิชาการแก่สังคมมีคุณสมบัติที่ผ่านกระบวนการฝึกอบรมตามหลักสูตร ทำหน้าที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน เยาวชน และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ได้เน้นวิชาชีพครู แต่เน้นทักษะการปฏิบัติบูรณาการพระพุทธศาสนาเข้าศิลปวัฒนธรรมประเพณี ศาสนพิธี สู่บ้าน วัด โรงเรียน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ปัญหาอุปสรรคตามหน้าที่และบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน คือด้านการศึกษาหลักสูตรพระสอนศีลธรรมยังไม่เข้าใจหลักสูตรที่อบรมเพราะมีระยะเวลาอบรมน้อยไป ด้านการสอนขาดความรู้เทคนิควิธีการสอน การเขียนแผนการสอน การนำเนื้อหาแผนการสอนไปใช่สื่อการสอน สื่อการสอนไม่ทันสมัยและไม่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ ขาดการพัฒนาผลิตสื่อการสอน 3. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ด้านการศึกษาควรยกระดับการศึกษาของตนเอง ควรพัฒนาหลักสูตรพระสอนศีลธรรม มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสอนให้ทันสมัย ด้านการสอนควรมีหลักสูตรการสอนที่มีคุณภาพ มีวิธีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายทันสมัยเข้าสถานณ์การปัจจุบันและสอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study the duties and roles of monks teaching morality in schools under 2) to study problems and obstacles in their duties and roles of monks teaching morality in schools under 3) to propose guidelines for development of teaching and learning management of monks teaching morality under It was a qualitative research with through specific selection of 15 people as target population comprising 5 executive administrators, lecturers and staff from Mahamakut Buddhist University; Lanna Campus, 5 mentors of monk teaching morality in schools and 7 representatives of monks teaching morality in schools. The research tools were in-depth interviews. The results of research were found that: 1. The monks teaching morality in schools had duties and roles in providing academic service to society. They were qualified through the training process according to the curriculum and they served to instill morals and ethics to students and youth and lived as a good example. They did not focus on teaching profession, but on practical skills in integration of Buddhism into arts, culture, traditions and religious ceremonies in houses, temples and schools for maximum benefit. 2. Problems and obstacles in the duties and roles monks teaching morality in schools were that in terms of education, the monks did not understand curriculum because of short training period. In terms of teaching, they lacked the knowledge of teaching techniques, writing lesson plans and using lesson plan content. In term of teaching materials, they were not up-to-date and inconsistent with the contents. The monks also lacked development of teaching materials. 3. Guidelines for development of teaching and learning management of monks teaching morality in schools were that in term of education, the monks should raise the level of their education and develop a curriculum for monks teaching morality. There should be seminars and workshops to modernize teaching. In terms of teaching, there should be qualified teaching curriculum, methods of using various and modern teaching materials to suit the current situation and conform to the course contents.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีของนิเวศวิทยา ๒) เพื่อศึกษานิเวศวิทยาเชิงพุทธ ๓) เพื่อศึกษานิเวศวิทยาเชิงพุทธของวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรโดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และงานวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในวงการนักวิชาการ และสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงลึกจากประชากรที่ศึกษา จำนวน ๗ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : ๑) แนวคิดทฤษฎีของนิเวศวิทยา คือ โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ที่มีความต้องการบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีขนาดอย่างน้อยที่สุด มีความสมดุลเหมาะสมของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ในตัวเอง มีปฏิสัมพันธ์ ทั้งการรวมตัว หรือ การสลายตัว แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นผลมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสีย สิ่งนั้นย่อมแสดงถึงที่มาของระบบนิเวศที่ดีหรือไม่ดี ๒) นิเวศวิทยาเชิงพุทธ มีทัศนแนวคิด อาศัยกันเกิด อาศัยกันดับ มีความสอดคล้องกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา คือ “อิทัปปัจจยตา” เมื่อสิ่งนี้ “มี” สิ่งนี้ ย่อมมี เมื่อสิ่งนี้ “ไม่มี” สิ่งนี้ ย่อมไม่มี มีความสอคล้องสัมพันธ์สืบเนื่องกับหลักธรรม “ภูตคาม”“เมตตา”“ความกตัญญูกตเวที”“กรรม”“วโนโรปสูตร ที่ ๗” ๓) นิเวศวิทยาเชิงพุทธ ของวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรมีการจัดการระบบนิเวศมีทั้ง ๓ ด้านคือ ด้านป่าไม้ ด้านแม่น้ำ ด้านสัตว์ป่าเมื่อป่าสร้างความชุ่มชื้น ทำให้ฝนตก และเมื่อฝนตกป่าไม้ก็อุ้มน้ำไว้ไม่ให้น้ำท่วมฉับพลัน ถ้าขาดป่าไม้ฝนไม่ตกก็จะแล้ง ถ้าฝนตกลงมาน้ำก็จะท่วม ถ้าไม่มีป่าสัตว์ป่าก็อยู่ไม่ได้ มีความสอคล้องสัมพันธ์สืบเนื่องกับหลักธรรม “ภูตคาม” “เมตตา” “ความกตัญญูกตเวที” “กรรม” “วโนโรปสูตร ที่ ๗”
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีของนิเวศวิทยา ๒) เพื่อศึกษานิเวศวิทยาเชิงพุทธ ๓) เพื่อศึกษานิเวศวิทยาเชิงพุทธของวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรโดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และงานวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในวงการนักวิชาการ และสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงลึกจากประชากรที่ศึกษา จำนวน ๗ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า : ๑) แนวคิดทฤษฎีของนิเวศวิทยา คือ โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ที่มีความต้องการบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีขนาดอย่างน้อยที่สุด มีความสมดุลเหมาะสมของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ในตัวเอง มีปฏิสัมพันธ์ ทั้งการรวมตัว หรือ การสลายตัว แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นผลมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสีย สิ่งนั้นย่อมแสดงถึงที่มาของระบบนิเวศที่ดีหรือไม่ดี ๒) นิเวศวิทยาเชิงพุทธ มีทัศนแนวคิด อาศัยกันเกิด อาศัยกันดับ มีความสอดคล้องกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา คือ “อิทัปปัจจยตา” เมื่อสิ่งนี้ “มี” สิ่งนี้ ย่อมมี เมื่อสิ่งนี้ “ไม่มี” สิ่งนี้ ย่อมไม่มี มีความสอคล้องสัมพันธ์สืบเนื่องกับหลักธรรม “ภูตคาม”“เมตตา”“ความกตัญญูกตเวที”“กรรม”“วโนโรปสูตร ที่ ๗” ๓) นิเวศวิทยาเชิงพุทธ ของวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรมีการจัดการระบบนิเวศมีทั้ง ๓ ด้านคือ ด้านป่าไม้ ด้านแม่น้ำ ด้านสัตว์ป่าเมื่อป่าสร้างความชุ่มชื้น ทำให้ฝนตก และเมื่อฝนตกป่าไม้ก็อุ้มน้ำไว้ไม่ให้น้ำท่วมฉับพลัน ถ้าขาดป่าไม้ฝนไม่ตกก็จะแล้ง ถ้าฝนตกลงมาน้ำก็จะท่วม ถ้าไม่มีป่าสัตว์ป่าก็อยู่ไม่ได้ มีความสอคล้องสัมพันธ์สืบเนื่องกับหลักธรรม “ภูตคาม” “เมตตา” “ความกตัญญูกตเวที” “กรรม” “วโนโรปสูตร ที่ ๗”
This thesis aims to be as follows: 1) To study the theoretical concept of ecology, 2) to study Buddhist ecology, 3) to study the Buddhist ecology of Wat Khao Sala Atul Augustanjaro by studying research from Tripitaka and other related academic work and in line with research that is accepted in academic circles and interviewed to collect insights from the population studied by 7 figures/person. The findings : 1)The theoretical concept of ecology is the structure of the relationship between organisms and their environment that need the least size of living space and a proper balance of the organisms for survival. The organisms are manufacturers, consumers and decomposers in their processes. There is an interaction, either a reunion or a decay, which causes a change to something positively or negatively. That results from the source of a good or a bad ecosystem. 2) Buddhist ecology, conceptual, birth-to-birth, living in the same place. In 2013, the Government released a report on the use of the company's subsidiary, The Royal Academy of Buddhist Scholars, as "Itapapajyta". When this "no", there is no connection to the principles of "Daemon Kam," "Mercy," "Gratitude," "Karma," "Unorop Recipe 7" 3) The Buddhist ecology of Wat Khao Sala Atulathanacharo manages the ecosystem in all three areas: forest, river side, wildlife when the forest creates moisture. And when it rains, the forest holds water so that there is no sudden flooding. If there is a lack of forest, it will not rain. If it rains down, the water will flood. If there's no wild forest, you can't live. There is a connection to the principles of "Daemon Kam," "Mercy," "Gratitude," "Karma," "Unorop 7".
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษา 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการนิเทศ 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ การพัฒนาหลักสูตรควรจัดเนื้อหาและประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชุมชนและความต้องการของชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีระบบนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ ประเมินผลและสรุปผลแผนงาน โครงการกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการจัดการศึกษาต่อไป
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษา 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการนิเทศ 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ การพัฒนาหลักสูตรควรจัดเนื้อหาและประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชุมชนและความต้องการของชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีระบบนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ ประเมินผลและสรุปผลแผนงาน โครงการกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการจัดการศึกษาต่อไป
The objectives of the research were 1) to study the situation of the academic affairs administration based on the threefold training to develop learners in private school promotion groups under kalasin provincial education office 2) to compare the academic affairs administration based on the threefold training to develop learners in private school promotion groups under kalasin provincial education office, classified by gender, job experience and education, and 3) to collect the related recommendations as suggested by the returned responses. The samples were 327 staff members of the schools as mentioned and the device used for data collection was the 5-rating scale questionnaire with content validity as high as 0.67 – 1.00, and reliability at .93. The research results were as follows: 1) The situation of the academic affairs administration based on the threefold training to develop learners in private school promotion groups under kalasin provincial education office, was, in both overall and individual aspects, found to stand at the ‘MUCH’ level. The aspect that stand at the top of the scale in terms of mean was curriculum and curricular development, followed by evaluation and assessment, class management and supervision, respectively. 2) The comparison of the academic affairs administration based on the threefold training to develop learners in private school promotion groups under kalasin provincial education office, classified by gender, job experience and education, was, in both overall and individual aspects, found to display no statistically significant difference. 3) The recommendations suggested by the returned responses are as follows: (1) The contents of curriculum should be designed to meet with the community needs. (2) Extracurricular activities should be drawn up as student-centered programs. (3) Regular supervision and follow-up should be implemented. (4) All plans and projects require evaluation and assessment in order that the weakness might be revised and the strengths might be promoted for the sake of the most effective management of education.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมภิบาล ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบบริหารตามหลักธรรมภิบาล ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารตามหลักธรรมภิบาล ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่าหลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ 2. เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติแผนกสามัญจังหวัดกาฬสินธุ์จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา หลักความโปร่งใสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติแผนกสามัญจังหวัดกาฬสินธุ์ ควรมีความโปร่งใสในเรื่องการบริหารงานด้านงบประมาณ การเงิน พัสดุ และสามารถตรวจสอบได้ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผน และกำหนดนโยบายต่าง ๆ ของโรงเรียน การบริหารงานธุรการ การเงิน งบประมาณ พัสดุ โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน และการใช้งบประมาณต่าง ๆ ของโรงเรียน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมภิบาล ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบบริหารตามหลักธรรมภิบาล ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารตามหลักธรรมภิบาล ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่าหลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ 2. เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติแผนกสามัญจังหวัดกาฬสินธุ์จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา หลักความโปร่งใสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติแผนกสามัญจังหวัดกาฬสินธุ์ ควรมีความโปร่งใสในเรื่องการบริหารงานด้านงบประมาณ การเงิน พัสดุ และสามารถตรวจสอบได้ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผน และกำหนดนโยบายต่าง ๆ ของโรงเรียน การบริหารงานธุรการ การเงิน งบประมาณ พัสดุ โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน และการใช้งบประมาณต่าง ๆ ของโรงเรียน
The objectives of the research were 1) to study the situation of An Approach of Good Governance- Based Administration for Phrapariyattidhamma Schools, General Education Division in Kalasin Province, 2) to compare the so-said administration, classified by gender, age and education, and 3) to compile the related recommendations as suggested by the respondents. The population consisted of the staff members of those schools, totally 109 in number. The device used to collect the information was the five-rating scale questionnaire with the rate of 0.67-1.00 in terms of content validity and the rate of .93 in terms of reliability. The findings can be summarized as follows: 1) The situation of the good governance-based administration employed by the ecclesiastical high schools under the Education Office of Kalasin Province was, in an overall aspect, found to stand at the ‘MUCH’ level. In an individual aspect, the item that was ranked on top of the scale in terms of mean was the rule of law, followed by morality, transparency, cost-coverage, participation and accountability, respectively. 2) The comparison of the so-said administration classified by gender was, in both overall and individual aspects, found to show no difference, but the comparison by age and education in almost all aspects displayed no difference, except in the aspect of transparence where it showed the statistically significant difference at .05. 3) The related recommendations suggested by the respondents can be described as follows: 1) The administration of budget, finance and premises needs transparence and check & balance strategy. 2) Planning and policy designing are suggested to welcome the staff members’ participation. 3) The administration of all affairs needs participation of all parties concerned.
หนังสือ

    การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการบรรเทาความทุกข์ในใจ วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความทุกข์ในหลักพุทธธรรม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมกับการบรรเทาความทุกข์ในใจ และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการบรรเทาความทุกข์ในใจ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร วิธีการดำเนินงานวิจัย คือ ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำรา งานวิจัย บทความ วารสาร เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย : วัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 พบว่า ความทุกข์ ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สังขารที่ไม่เที่ยงมีความเปลี่ยนแปลง ความทุกข์หมุนเวียนไปทุกขณะ สิ่งนั้นคือทุกข์ ความทุกข์ที่ปรากฏมีลักษณะดังนี้คือ ต้องทำลายไป ความสิ้นไป ความแดกดับของสิงทั้งหลาย มีลักษณ์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ทุกข์ในอริยสัจ 4 เป็นกล่าวถึงการเกิด แก่เจ็บ ตาย เป็นความทุกข์ การโศกเศร้าเสียใจล้วนเป็นทุกข์ การหลงระเริงในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา สิ่งนี้คือทุกข์ รวมไปถึงทุกข์ในไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยิ่งเกิดทุกข์ เมื่อศึกษายิ่งเข้าใจในทุกข์ เพราะตัวทุกข์คือสาเหตุของการไม่สบายกายและเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ในใจ วัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 พบว่า หลักพุทธธรรมที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ อันได้แก่ หลักไตรลักษณ์ หลักอานาปานสติ โยนิโสมนสิการ และมรรค8 มีความเชื่อมโยงกัน เมื่อนำมายึดและปฏิบัติตามแนวคำสอนของพระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 4 หลักธรรมสามารถบรรเทาความทุกข์ได้ โดยเข้าถึงได้ง่ายตั้งแต่ผู้เริ่มต้นศึกษา รวมไปถึงผู้ที่ศึกษาธรรมะอยู่เป็นประจำ ซึ่งการนำหลักพุทธธรรมทั้ง4 มารวมกัน เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงกันนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ อีกมุมหนึ่งการปรับพฤติกรรม และความคิดโดยยึดหลักพุทธธรรมทางพุทธศาสนา สามารถช่วยให้มีหลักในการดำเนินชีวิตและหลุดพ้นจากความทุกข์ และไร้ซึ่งโรคทางจิตต่างๆ ได้ วัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 3 พบว่า การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการบรรเทาทุกข์ในใจ ตามหลักพุทธธรรม จะได้แนวการปฏิบัติตามรูปแบบความถนัดของแต่ละบุคคล และวิธีการใช้ปรับแนวคิดและรูปแบบการใช้ชีวิต โดยยึดถือการปฏิบัติง่ายๆ โดยใช้อานาปานสติเริ่มต้นที่การหายใจ จากนั้นคิดทบทวนเรื่องราวต่างๆ ผ่านการยอมรับว่าไม่มีสิ่งใจจีรังยั่งยืนโดยผ่านหลักไตรลักษณ์ และจัดระบบการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุและผลด้วยโยนิโสมนสิการ สุดท้ายเมื่อมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น ควรนำหลักมรรค8 มาเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินชีวิต่อไป และสิ่งเหล่านี้ต้องหมั่นฝึกฝน ลงมือปฏิบัติจิตให้เข้มแข็งสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจใฝ่ธรรมมะให้ความสำคัญกับการนำหลักธรรมสู่ภาคปฏิบัติ หรือการนำหลักธรรมไปใช้ เพราะสิ่งนี้คือหลักในการหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนั้น แนวทางการศึกษาที่สนใจต่อไปยังคงอยู่บนพื้นฐานของการปรับใช้หลักพุทธธรรมนำมาสู่การดำเนินชีวิต เช่น การศึกษาวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ด้วยเหตุและผลตามแนวโยนิโสมนสิการ การจัดการความคิดให้เข้าใจสรรพสิ่งว่ามีการเปลี่ยนแปลงเสมอด้วยหลักไตรลักษณ์ และสุดท้ายน้อมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันควบคู่กับมรรค 8 เพื่อบรรเทาความทุกข์ในใจ
การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการบรรเทาความทุกข์ในใจ วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความทุกข์ในหลักพุทธธรรม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมกับการบรรเทาความทุกข์ในใจ และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการบรรเทาความทุกข์ในใจ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร วิธีการดำเนินงานวิจัย คือ ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำรา งานวิจัย บทความ วารสาร เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย : วัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 พบว่า ความทุกข์ ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สังขารที่ไม่เที่ยงมีความเปลี่ยนแปลง ความทุกข์หมุนเวียนไปทุกขณะ สิ่งนั้นคือทุกข์ ความทุกข์ที่ปรากฏมีลักษณะดังนี้คือ ต้องทำลายไป ความสิ้นไป ความแดกดับของสิงทั้งหลาย มีลักษณ์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ทุกข์ในอริยสัจ 4 เป็นกล่าวถึงการเกิด แก่เจ็บ ตาย เป็นความทุกข์ การโศกเศร้าเสียใจล้วนเป็นทุกข์ การหลงระเริงในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา สิ่งนี้คือทุกข์ รวมไปถึงทุกข์ในไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยิ่งเกิดทุกข์ เมื่อศึกษายิ่งเข้าใจในทุกข์ เพราะตัวทุกข์คือสาเหตุของการไม่สบายกายและเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ในใจ วัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 พบว่า หลักพุทธธรรมที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ อันได้แก่ หลักไตรลักษณ์ หลักอานาปานสติ โยนิโสมนสิการ และมรรค8 มีความเชื่อมโยงกัน เมื่อนำมายึดและปฏิบัติตามแนวคำสอนของพระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 4 หลักธรรมสามารถบรรเทาความทุกข์ได้ โดยเข้าถึงได้ง่ายตั้งแต่ผู้เริ่มต้นศึกษา รวมไปถึงผู้ที่ศึกษาธรรมะอยู่เป็นประจำ ซึ่งการนำหลักพุทธธรรมทั้ง4 มารวมกัน เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงกันนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ อีกมุมหนึ่งการปรับพฤติกรรม และความคิดโดยยึดหลักพุทธธรรมทางพุทธศาสนา สามารถช่วยให้มีหลักในการดำเนินชีวิตและหลุดพ้นจากความทุกข์ และไร้ซึ่งโรคทางจิตต่างๆ ได้ วัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 3 พบว่า การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการบรรเทาทุกข์ในใจ ตามหลักพุทธธรรม จะได้แนวการปฏิบัติตามรูปแบบความถนัดของแต่ละบุคคล และวิธีการใช้ปรับแนวคิดและรูปแบบการใช้ชีวิต โดยยึดถือการปฏิบัติง่ายๆ โดยใช้อานาปานสติเริ่มต้นที่การหายใจ จากนั้นคิดทบทวนเรื่องราวต่างๆ ผ่านการยอมรับว่าไม่มีสิ่งใจจีรังยั่งยืนโดยผ่านหลักไตรลักษณ์ และจัดระบบการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุและผลด้วยโยนิโสมนสิการ สุดท้ายเมื่อมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น ควรนำหลักมรรค8 มาเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินชีวิต่อไป และสิ่งเหล่านี้ต้องหมั่นฝึกฝน ลงมือปฏิบัติจิตให้เข้มแข็งสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจใฝ่ธรรมมะให้ความสำคัญกับการนำหลักธรรมสู่ภาคปฏิบัติ หรือการนำหลักธรรมไปใช้ เพราะสิ่งนี้คือหลักในการหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนั้น แนวทางการศึกษาที่สนใจต่อไปยังคงอยู่บนพื้นฐานของการปรับใช้หลักพุทธธรรมนำมาสู่การดำเนินชีวิต เช่น การศึกษาวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ด้วยเหตุและผลตามแนวโยนิโสมนสิการ การจัดการความคิดให้เข้าใจสรรพสิ่งว่ามีการเปลี่ยนแปลงเสมอด้วยหลักไตรลักษณ์ และสุดท้ายน้อมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันควบคู่กับมรรค 8 เพื่อบรรเทาความทุกข์ในใจ
และอาจจะส่งผลให้บรรลุธรรม ซึ่งการศึกษาเหล่านี้ล้วนแต่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อสังคมไทยในปัจจุบัน
This analytical study of Buddhist principles to relief mental suffering have the objectives which are: 1) To study about suffer by using Buddhist principles. 2) To study about the Buddhist principles together with mental suffering relief. 3) To analyze the Buddhist principles to relief mental suffering. This analytical study is a rich documentary research. The methodologies behind this study are information from the Tripitaka, textbooks, research articles, journals, related research papers, and interviews. The results of this study were as follows: The objectives 1 found that the study found that, suffering has to change over time. What is impermanent, that is suffering. The impermanence of human bodies has changes. Suffering comes and goes in every moment. These are sufferings. The suffering can appear as follows: have to be destroyed, to be put to an end, and the ending of all things. The definitions of ‘suffer’ in the Four Noble of Truths referring to lifecycles which are the suffer. Both sadness and sorrow are suffering. Indulging in lust is suffering, including suffering in the Trinity due to the changed. These are things that not able to withstand in the original condition. The more we study, the more we know about suffering because suffering is the cause of physical discomfort and mental suffer. The objectives 2 found that when studying the principles of Buddhism, which are the Trinity, Anapanasati, Yonisomanasikara, and Mak 8, are connected together. When followed and practiced all of the teachings of the Lord Buddha. All four Buddhist principles can relief suffering. These principles can be easily to access from beginners to those who study Dharma regularly. So, combining all four Buddhist principles together to apply with daily life or to modify a behavior. Moreover, an ideas based on the Buddhist doctrine can provide a ways of living, freedom from suffering, and life without any mental suffering. The objectives 3 found that an analytical study of the Buddhist principles to relief mental sufferings. According to the principles, everyone will receive a practice guideline according to their expertise and how to use it to adjust mindsets and the ways of living. Practices to these simple practices by using Anapanasati, begins with breathing. After that, reviewing everything through the acknowledgment that there are no immortal things according to the trinity. In addition, to organize the analytical thinking system with causes, effects, and reasons. At the end, when we are having more conscious in life then we should use Mak 8 principles as a tools to live and these practices need to be practice regularly together with strong mindset. However, those who are interested in Dharma focused on bringing the principles to practice because these principles are ways to relief sufferings. Therefore, the continuing interest in education is based on the application of the principles of Buddhism on daily life, such as the practice of mediation, analyze problems by causes and effects according to Yonisomanasikara, organize mindset to understand that everything has to changes by Trinity, and brought these to use in daily life along with Mak 8 principles to relief mental suffering and may result in achieving Dharma which these studies will all bring tangible benefits to Thai society today.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการกินเจ 2) เพื่อศึกษาหลักกรรมในพุทธปรัชญา และ 3) เพื่อวิเคราะห์การกินเจด้วยหลักกรรมในพุทธปรัชญา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การกินเจ หมายถึงการไม่รับประทานอาหารเนื้อสัตว์และมีความหมายกว้างครอบคลุม ถึงการถือศีล การปฏิบัติธรรม การสำรวมทางกาย วาจา ใจ ด้วยหลักการกินเจในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานมีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนถึงการห้ามมิให้บริโภคเนื้อสัตว์ ส่วนฝ่ายเถรวาทนั้นไม่มีข้อบัญญัติที่ห้ามในการมิให้บริโภคเนื้อสัตว์ แต่มีข้อห้ามที่ปรากฏในศีลห้าคือ ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ไม่ให้เบียดเบียนชีวิตของสัตว์ อย่างไรก็ตาม ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาทมีหลักการเดียวกันนั่นคือ การอยู่ร่วมกันด้วยความเมตตากรุณาต่อกันระหว่างคนกับคน และคนกับสัตว์ การไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน และการอยู่ร่วมกันด้วยความสันติ ผู้ที่กินเจส่วนใหญ่มีจุดประสงค์หลักในการกินเจ 3 ประการ คือ 1) กินเพื่อสุขภาพ 2) กินด้วยจิตเมตตา และ 3) กินเพื่อเว้นอกุศลกรรม 2) หลักกรรมในพุทธปรัชญาประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ 1. ผู้ทำมีเจตนา และ 2. การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือเป็นบาป กรรมเป็นคำกลาง ๆ หมายถึง การกระทำจะมุ่ง ไปในทางดีหรือชั่วก็ได้ กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม จำแนกตามทางที่ทำ แบ่งเป็น 3 ทาง ได้แก่ 1. กายกรรม กรรมที่ทำทางกาย 2. วจีกรรม กรรมแสดงออกทางวาจา 3. มโนกรรม กรรมทางใจ 3) วิเคราะห์การกินเจด้วยหลักกรรมในพุทธปรัชญา สรุปว่า การกินเจด้วยหลักกุศลกรรมนั้นคือ ผู้กินเจควรมีเจตนาที่บริสุทธิ์ทั้ง 3 กาล โดยมีการกินเจด้วยจิตเมตตาได้กุศล การไม่กินเนื้อสัตว์ที่ถูกเจาะจงฆ่า ก่อนที่จะกินเจมีเจตนาที่บริสุทธิ์ เห็นแก่ความเมตตาต่อสรรพสัตว์ โดยถือการไม่เบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อสัตว์เป็นสำคัญ และในขณะที่กินเกิดการพิจารณาว่าเรากินเพื่ออยู่ ไม่ได้อยู่เพื่อกิน และไม่ได้กินด้วยความอยากเพราะรสชาดอร่อยเพียงแค่ปลายลิ้น และเจตนาหลังที่กินเจไปแล้ว ยังคงยึดในความเมตตาต่อสรรพชีวิต การกินเจด้วยหลักอกุศลกรรมนั้นหมายถึง บุคคลที่ทานเนื้อสัตว์บางคนเป็นผู้ที่ฆ่าสัตว์ด้วยตัวเอง จึงถือเป็นการสร้างกรรมทางปาณาติบาต แม้ไม่ได้เป็นผู้ที่ฆ่าเอง แต่เป็นผู้ชี้ให้ผู้อื่นฆ่า การกินเนื้อสัตว์ที่ถูกเจาะจงฆ่า เป็นการทำลายและเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อของสัตว์ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สมบัติของสัตว์ซึ่งเขาไม่ยินดีให้ อีกทั้งเมื่อกินเจแล้วไม่สำรวมวาจา มักพูดจายกตนข่มท่าน อีกทั้งกินเจมีจิตเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์หรือยึดมั่นในความดี ส่วนการกินเจด้วยหลัก อัพยากตธรรม หมายถึง กินเจเพราะเกิดจิตเมตตาเป็นกุศลกรรม แต่ผู้ทานเจนั้นไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในความดีหรือกุศลกรรมนั้น จนสามารถปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งปวง จิตจึงจะเข้าถึงความบริสุทธิ์และความสงบได้โดยไม่ยึดหมายใด ๆ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการกินเจ 2) เพื่อศึกษาหลักกรรมในพุทธปรัชญา และ 3) เพื่อวิเคราะห์การกินเจด้วยหลักกรรมในพุทธปรัชญา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การกินเจ หมายถึงการไม่รับประทานอาหารเนื้อสัตว์และมีความหมายกว้างครอบคลุม ถึงการถือศีล การปฏิบัติธรรม การสำรวมทางกาย วาจา ใจ ด้วยหลักการกินเจในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานมีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนถึงการห้ามมิให้บริโภคเนื้อสัตว์ ส่วนฝ่ายเถรวาทนั้นไม่มีข้อบัญญัติที่ห้ามในการมิให้บริโภคเนื้อสัตว์ แต่มีข้อห้ามที่ปรากฏในศีลห้าคือ ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ไม่ให้เบียดเบียนชีวิตของสัตว์ อย่างไรก็ตาม ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาทมีหลักการเดียวกันนั่นคือ การอยู่ร่วมกันด้วยความเมตตากรุณาต่อกันระหว่างคนกับคน และคนกับสัตว์ การไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน และการอยู่ร่วมกันด้วยความสันติ ผู้ที่กินเจส่วนใหญ่มีจุดประสงค์หลักในการกินเจ 3 ประการ คือ 1) กินเพื่อสุขภาพ 2) กินด้วยจิตเมตตา และ 3) กินเพื่อเว้นอกุศลกรรม 2) หลักกรรมในพุทธปรัชญาประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ 1. ผู้ทำมีเจตนา และ 2. การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือเป็นบาป กรรมเป็นคำกลาง ๆ หมายถึง การกระทำจะมุ่ง ไปในทางดีหรือชั่วก็ได้ กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม จำแนกตามทางที่ทำ แบ่งเป็น 3 ทาง ได้แก่ 1. กายกรรม กรรมที่ทำทางกาย 2. วจีกรรม กรรมแสดงออกทางวาจา 3. มโนกรรม กรรมทางใจ 3) วิเคราะห์การกินเจด้วยหลักกรรมในพุทธปรัชญา สรุปว่า การกินเจด้วยหลักกุศลกรรมนั้นคือ ผู้กินเจควรมีเจตนาที่บริสุทธิ์ทั้ง 3 กาล โดยมีการกินเจด้วยจิตเมตตาได้กุศล การไม่กินเนื้อสัตว์ที่ถูกเจาะจงฆ่า ก่อนที่จะกินเจมีเจตนาที่บริสุทธิ์ เห็นแก่ความเมตตาต่อสรรพสัตว์ โดยถือการไม่เบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อสัตว์เป็นสำคัญ และในขณะที่กินเกิดการพิจารณาว่าเรากินเพื่ออยู่ ไม่ได้อยู่เพื่อกิน และไม่ได้กินด้วยความอยากเพราะรสชาดอร่อยเพียงแค่ปลายลิ้น และเจตนาหลังที่กินเจไปแล้ว ยังคงยึดในความเมตตาต่อสรรพชีวิต การกินเจด้วยหลักอกุศลกรรมนั้นหมายถึง บุคคลที่ทานเนื้อสัตว์บางคนเป็นผู้ที่ฆ่าสัตว์ด้วยตัวเอง จึงถือเป็นการสร้างกรรมทางปาณาติบาต แม้ไม่ได้เป็นผู้ที่ฆ่าเอง แต่เป็นผู้ชี้ให้ผู้อื่นฆ่า การกินเนื้อสัตว์ที่ถูกเจาะจงฆ่า เป็นการทำลายและเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อของสัตว์ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สมบัติของสัตว์ซึ่งเขาไม่ยินดีให้ อีกทั้งเมื่อกินเจแล้วไม่สำรวมวาจา มักพูดจายกตนข่มท่าน อีกทั้งกินเจมีจิตเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์หรือยึดมั่นในความดี ส่วนการกินเจด้วยหลัก อัพยากตธรรม หมายถึง กินเจเพราะเกิดจิตเมตตาเป็นกุศลกรรม แต่ผู้ทานเจนั้นไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในความดีหรือกุศลกรรมนั้น จนสามารถปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งปวง จิตจึงจะเข้าถึงความบริสุทธิ์และความสงบได้โดยไม่ยึดหมายใด ๆ
The purposes of this thesis were: 1) to study the perceptions and theories of vegetarianism, 2) to study the Kamma principle in the Buddhist philosophy, and 3) to analyze the vegetarianism based on Buddhist philosophy. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks, and relevant research works. The research results revealed as follows: 1) Vegetarianism means the abstinence from food containing meat, including the observation of religious precepts, Dhamma practicing, and bodily, verbal, and mental restraint. In Mahayana Buddhism, the vegetarianism principle is clearly recommended by the abstinence from meat consumption whereas Theravada Buddhism does not indicate the direct prohibition of meat consumption. However, there is a prohibition appearing in the five precepts that forbids human beings from killing and violating animals. Nonetheless, both Mahayana Buddhism and Theravada Buddhism have the same principles, which are living together with benevolence between human beings and human beings, and between human beings and animals, without encroachment, and living together peacefully. The main objectives of vegetarianism among the vegetarians include 1) eating for healthiness, 2) eating with loving-kindness, and 3) eating for abstaining from unwholesome. 2) The Kamma principles in Buddhist philosophy consist of 2 criteria; (1) The doer has intention to do, and (2) That action results to merit or demerit. Kamma is a neutral word referring to a good action or a bad action. A good intention is called wholesome and a bad action is unwholesome. The actions are categorized into 3 ways according to the ways people do; (1) Bodily action, (2) Verbal action, and (3) Mental action. 3) Analyzing the vegetarianism based on Kamma principle in the Buddhism philosophy can be concluded that the vegetarians should have honest intention for all three situations; to have mercifulness towards all creatures by holding the principle of non-violence as the main reason before practicing vegetarianism; while eating, to keep considering that eating to live not living to eat, and not eating because of its taste; and after eating, to have loving-kindness towards all creatures. The vegetarianism with unwholesome means to eat meat of the animal killed by one’s self which concerns taking away the other’s life. Even if the person does not kill animals by himself/herself but he/she guides others to kill. Eating the meat of animals specifically killed is regarded as destruction and encroachment of the life they love and which is considered as their own properties. The practicing vegetarianism by neutral mind or principle means not having attachment to goodness or wholesome so that the vegetarian neither holds on the wholesome nor unwholesome, then the mind will be able to access the purity and calmness without any attachments.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 โดยศึกษาข้อมูลจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างและบุคคลากรในหน่วยงาน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 จำนวน 230 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบมีโครงสร้าง เจาะลึก (สุ่มแบบจงใจ) ข้าราชการตำรวจเป็นรายบุคคล (in-depth interview) โดยสัมภาษณ์ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการใน กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 จำนวน 38 คน วิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า : 1.อิทธิบาท 4 หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องให้ถึงความสำเร็จหรือทางแห่งความสำเร็จซึ่งประกอบด้วย 1) ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่เต็มใจใฝ่ใจในการทำงาน 2) วิริยะ คือ ความเพียรขยันอดทน ทำงานให้สำเร็จ 3) จิตตะ คือ การเอาใจจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ 4) วิมังสา คือ เป็นการใช้ปัญญาในการไตร่ตรองสอบสวนพิจารณาตรวจสอบงานที่ทำซึ่งอิทธิบาท 4 นอกจากจะเป็นคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จในงานที่ทำแล้วอิทธิบาท 4 ยังเป็นอายุวัฒนธรรม คือ ธรรมเป็นเหตุให้คนมีอายุยืนยาวอีกด้วยดังที่มีพุทธดำรัสรับรองไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า“ยสฺส กสฺสจิ อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา” แปลความว่า “อานนท์อิทธิบาท 4 บุคคลใดเจริญทำให้มากทำให้เป็นดุจยานทำให้เป็นพื้นฐานตั้งไว้อบรมเริ่มไว้ดีแล้วบุคคลนั้นเมื่อปรารถนาก็พึงดำรงชีวิตอยู่ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป” พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า การเจริญอิทธิบาททำให้บุคคลมีชีวิตอยู่ตลอดอายุกัป หมายถึง มีชีวิตอยู่ได้จนครบเกณฑ์อายุขัยประมาณได้ 100 ปีหรือมากกว่านั้น 2. ข้าราชการตำรวจ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักอิทธิบาท 4 และปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยคิดเป็นร้อยละ ในงานธุรการ ด้านงานสืบสวนและด้านงานสอบสวน ทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดีมากดังนี้ 1) ด้านงานธุรการ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับเอกสารต้องมี ความพอใจ ความตั้งใจ ความเพียร และตรวจสอบความละเอียดในการปฏิบัติพบว่ามีการใช้หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 95 2) ด้านงานสืบสวนเป็นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ต้องใช้ความสามารถ ในการปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดต้องมีฉันทะ ความพอใจ ความมีวิริยะ มีความตั้งใจอดทนต่ออารมณ์ของผู้ถูกจับกุม และต้องใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอีก พบว่ามีการใช้หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับ ดีมาก ร้อยละ 93 3) ด้านงานสอบสวน เป็นการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานสำนวนการสอบสวนคดีอาญา คดีปกครอง คดีละเมิดและคดีอื่นๆ ต้องมีความพอใจ มีความเพียร มีความจดจ่ออยู่ในประเด็น เนื้อหาสาระของคดี มีการตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่จะเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ไม่ฟ้องหรือมีความเห็นแย้งต่อไป พบว่ามีการใช้หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 93
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 โดยศึกษาข้อมูลจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างและบุคคลากรในหน่วยงาน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 จำนวน 230 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบมีโครงสร้าง เจาะลึก (สุ่มแบบจงใจ) ข้าราชการตำรวจเป็นรายบุคคล (in-depth interview) โดยสัมภาษณ์ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการใน กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 จำนวน 38 คน วิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า : 1.อิทธิบาท 4 หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องให้ถึงความสำเร็จหรือทางแห่งความสำเร็จซึ่งประกอบด้วย 1) ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่เต็มใจใฝ่ใจในการทำงาน 2) วิริยะ คือ ความเพียรขยันอดทน ทำงานให้สำเร็จ 3) จิตตะ คือ การเอาใจจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ 4) วิมังสา คือ เป็นการใช้ปัญญาในการไตร่ตรองสอบสวนพิจารณาตรวจสอบงานที่ทำซึ่งอิทธิบาท 4 นอกจากจะเป็นคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จในงานที่ทำแล้วอิทธิบาท 4 ยังเป็นอายุวัฒนธรรม คือ ธรรมเป็นเหตุให้คนมีอายุยืนยาวอีกด้วยดังที่มีพุทธดำรัสรับรองไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า“ยสฺส กสฺสจิ อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา” แปลความว่า “อานนท์อิทธิบาท 4 บุคคลใดเจริญทำให้มากทำให้เป็นดุจยานทำให้เป็นพื้นฐานตั้งไว้อบรมเริ่มไว้ดีแล้วบุคคลนั้นเมื่อปรารถนาก็พึงดำรงชีวิตอยู่ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป” พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า การเจริญอิทธิบาททำให้บุคคลมีชีวิตอยู่ตลอดอายุกัป หมายถึง มีชีวิตอยู่ได้จนครบเกณฑ์อายุขัยประมาณได้ 100 ปีหรือมากกว่านั้น 2. ข้าราชการตำรวจ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 4 มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักอิทธิบาท 4 และปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 โดยคิดเป็นร้อยละ ในงานธุรการ ด้านงานสืบสวนและด้านงานสอบสวน ทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดีมากดังนี้ 1) ด้านงานธุรการ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับเอกสารต้องมี ความพอใจ ความตั้งใจ ความเพียร และตรวจสอบความละเอียดในการปฏิบัติพบว่ามีการใช้หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 95 2) ด้านงานสืบสวนเป็นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ต้องใช้ความสามารถ ในการปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดต้องมีฉันทะ ความพอใจ ความมีวิริยะ มีความตั้งใจอดทนต่ออารมณ์ของผู้ถูกจับกุม และต้องใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอีก พบว่ามีการใช้หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับ ดีมาก ร้อยละ 93 3) ด้านงานสอบสวน เป็นการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานสำนวนการสอบสวนคดีอาญา คดีปกครอง คดีละเมิดและคดีอื่นๆ ต้องมีความพอใจ มีความเพียร มีความจดจ่ออยู่ในประเด็น เนื้อหาสาระของคดี มีการตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่จะเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ไม่ฟ้องหรือมีความเห็นแย้งต่อไป พบว่ามีการใช้หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 93
This research has the objectives to study: 1) Iddhipatha4 in Theravada Buddhism, 2) the police’s performance of provincial investigation division region 4, and 3) an analytical study of iddhipatha 4 with the police’s performance of provincial investigation division region 4. The researcher studies the data from tripitaka, texts, books, and related researches, and collected the information 230 respondents by questionnaire and in-depth interviews with commander, deputy- commander, inspectors, deputy-inspectors. The results were as follows: 1. Iddhipahta 4 refers to the Dhamma that is a sign of success or the way of success. Which consists of 1) Chandha is contentment, love, willingness, desire for work, 2) Viriya: patience and persistence, diligence, patience, work success. 3) Jitta: concentrate and emphasize with the work, Check work. 4) Vimangsa: concentrate and ponder to check the work. And Iddhipatha 4 is also a cultural age. Dharma is also the reason why people live longer. As has been said by Buddha in the nirvana Interpret "Anon Iddhipatha 4 anyone who makes great progress make it like a ship Basicize The training has already started. That person, when he desires, should live forever or beyond. "The commentator explained that the growth of one's power makes a person to live through life. Eon means to live to the full life expectancy of approximately 100 years or more. 2. Police officer The Investigation Division of the Provincial Police Region 4 has an understanding of the importance of Iddhipatha 4 principles and acts in accordance with the Iddhipatha 4 principles as a percentage of the administrative work, the investigative work, and the investigations. 1) Administrative It is a duty related to documents, must be satisfied, intention, perseverance and check the resolution in practice, found that the use of the power of Iddhipatha 4 with duty is very good, 95% 2) Investigative: Is a duty that requires skill in suppressing the arrest of the offender, there must be courage, satisfaction, persistence, and determination to endure emotions. Of the arrested and must use wisdom to solve problems that occur again It was found that 93% of the work performed by the Iddhipatha 4 in the performance of duties were at a very good level. 3) Investigation It is a duty concerning criminal investigation, administrative cases, tort cases and other cases. Must be satisfied, with diligence, and focus on issues. The content of the case Have corrected before proposing an opinion, should sue Will not continue to sue or have conflicting opinions It was found that 93% of the work performed by the Iddhipatha 4 in performing duties were at a very good level.