Search results

70 results in 0.07s

หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาล, 2) ศึกษาการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา และ 3) วิเคราะห์คุณค่าการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลเป็นการบริหารที่ว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมให้มีประสิทธิภาพตามหลักกฎหมาย โดยอาศัยหลัก 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของรัฐหรือในองค์การ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและองค์การ ซึ่งจะส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2) การบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ การดำเนินการของผู้บริหารในการนำเอาหลักธรรมที่ปรากฏในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สัปปุริสธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 ไปใช้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3) วิเคราะห์คุณค่าการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือมีคุณค่า ด้านความยุติธรรมในองค์การ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในองค์การ และด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาล, 2) ศึกษาการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา และ 3) วิเคราะห์คุณค่าการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลเป็นการบริหารที่ว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมให้มีประสิทธิภาพตามหลักกฎหมาย โดยอาศัยหลัก 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของรัฐหรือในองค์การ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและองค์การ ซึ่งจะส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2) การบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ การดำเนินการของผู้บริหารในการนำเอาหลักธรรมที่ปรากฏในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สัปปุริสธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 ไปใช้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3) วิเคราะห์คุณค่าการบริหารองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือมีคุณค่า ด้านความยุติธรรมในองค์การ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในองค์การ และด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
The objectives of this thesis ware as follows 1) to study the Organization Administration by the Principle of Good Governance, 2) to study the Organization Administration by the Principle of Good Governance according to Buddhist Approach and 3) to analyze the value of the Organization Administration by the Principle of Good Governance according to Buddhist Approach. The sample groups were the Tipitaka Commentaries. Texts and relevant researches. The thesis was the documentary qualitative research works. All the data, collected during January-September 2017, were then analyzed by content analysis and analytic induction. The results of research are found as follows: 1) The Principle of Good Governance for the Organization Administration is the good method for the management of the whole country including public sector, business sector, private sector and people sector to achieve the everyone happiness and well-being by the six principles as follows : (1) the principle of law (2) the principle of virtue (3) the principle of openness and transparency (4) the principle of participation (5) the principle of accountability and (6) the principle of effectiveness. 2) The Organization Administration by the Principle of Good Governance according to Buddhist Approach is the management of the organization following the Buddhist Doctrines to achieve effectively the given objectives including Brahmavihara 4, Iddhipada 4, Sappurisa-dhamma 7, Noble Eightfold Path and Raja-dhamma. 3) The results of the analysis of the values of the Organization Administration by the Principle of Good Governance according to Buddhist Approach are the value of the justice, the value of the reduction of the inequality and the value of the efficiency and effectiveness in the organization.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออกไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง 2) พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการนั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี 3) พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรองได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออกไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง 2) พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการนั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี 3) พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรองได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
The thesis entitled “An Analytical Study of the Buddha’s Tasks for Propagating Buddhism in Savatthi" served the purposes: 1) to study the Buddha’s tasks of five duties as a daily routine, 2) to study his tasks for propagating Buddhism in the city called Savatthi, and 3) to analyze values of his tasks for propagating Buddhism in the preceding city. It was derived from the documentary research, collecting data from such secondary sources as the Tipitaka, commentaries, canonical texts, academic articles, and relevant researches. Collected data were brought to analyze and results were subsequently summarized to present findings. Results of research have found the following findings: 1) It was obvious that The Buddha highly succeeded in propagating Buddhism by laying firm foundations for propagating his faith through regular five duties as his daily routines, for he was determined with his clear purposes in propagating it. His tasks were well planned systematically and effectively in various domains like managements of time, personnel and organizations. He concurrently performed his tasks and coped with them harmoniously. That was why Buddhism had become well known and spread to various states of India in those days because it was his great successes of effective managements of his tasks of five daily routines. 2) It was said the Buddha was greatly regarded as monarchs’ and human beings’ great teacher. His tasks of five daily routines for propagating Buddhism was labeled as the priceless model, which we could harmoniously apply the model, methods and rule of his dharma as our refuge to leading our everyday life. To follow the Buddha’s footsteps, it brought about one’s effectiveness of the job and ways of their daily life to be smooth, disciplined, which enabled them to develop their mind and address their problems by peaceful means. 3) As far as the Buddha’s tasks for propagating Buddhism in the city called Savatthi were concerned, he was absolutely successful. It was the result of his duty performances in such many fields as propagation, managements and administration of Sangha Order. In one aspect, the Buddha managed his time excellently by undertaking his daily routines as the main task together with other ones. In other words, the Buddha coped with his main tasks and secondary ones appropriately, culminating in his effective and efficient propagation of Buddhism in the city called Savatthi, As a result, there were a number of four Buddhist adherents attaining arahantship in Savatthai to the extent that it was labelled ‘Savatthi, the City of Arahants’. In fact, it had become the centre of propagating Buddhism in those days.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นระเบียบดําเนินการเพื่อความสําเร็จไม่ใช่วิธีกอใหเกิดอํานาจพิเศษดลบันดาลให้สำเร็จตามที่หวังเพียงแต่เป็นสื่อก่อให้เกิดผลด้านกาย วาจา จิต ปัญญา และสังคม มีการกระทำแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ช่วยรักษาพระธรรมวินัยอีกแนวทางหนึ่ง การสาธยายธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการท่อง การกล่าวธรรม การสวด การทรงพระธรรมวินัย มีลักษณะการเปล่งเสียงออกมาเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ จิตเป็นสมาธิ เป็นพหูสูต ไม่เป็นมลทิน เป็นบริขารของจิต ยินดีในบุญกุศล เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่มีเวรไม่มีภัย ละความง่วง ผู้ได้ฟังบรรลุธรรมได้ เป็นผู้อยู่ในธรรม ผู้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใส ย่อมได้รับความสรรเสริญ และเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมคณะสงฆ์จะทำพิธีกรรมต้องมีการสาธยายธรรมก่อนทั้งสิ้น พิธีกรรมกับคุณค่าการสาธยายธรรมในงานสวดพระอภิธรรม และการสาธยายธรรมก่อให้เกิดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานอวมงคล เช่น งานศพ การทำวัตรเช้า-เย็นของพุทธบริษัท เป็นต้น ก่อให้เกิดพิธีกรรมทั้งของพระสงฆ์ เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น ส่วนคฤหัสถ์ เช่น สาธยายธรรมข้ามปี เป็นต้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เอกสารที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: พิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นระเบียบดําเนินการเพื่อความสําเร็จไม่ใช่วิธีกอใหเกิดอํานาจพิเศษดลบันดาลให้สำเร็จตามที่หวังเพียงแต่เป็นสื่อก่อให้เกิดผลด้านกาย วาจา จิต ปัญญา และสังคม มีการกระทำแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ช่วยรักษาพระธรรมวินัยอีกแนวทางหนึ่ง การสาธยายธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการท่อง การกล่าวธรรม การสวด การทรงพระธรรมวินัย มีลักษณะการเปล่งเสียงออกมาเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ จิตเป็นสมาธิ เป็นพหูสูต ไม่เป็นมลทิน เป็นบริขารของจิต ยินดีในบุญกุศล เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่มีเวรไม่มีภัย ละความง่วง ผู้ได้ฟังบรรลุธรรมได้ เป็นผู้อยู่ในธรรม ผู้ฟังธรรมเกิดความเลื่อมใส ย่อมได้รับความสรรเสริญ และเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ พิธีกรรมกับการสาธยายธรรมคณะสงฆ์จะทำพิธีกรรมต้องมีการสาธยายธรรมก่อนทั้งสิ้น พิธีกรรมกับคุณค่าการสาธยายธรรมในงานสวดพระอภิธรรม และการสาธยายธรรมก่อให้เกิดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานอวมงคล เช่น งานศพ การทำวัตรเช้า-เย็นของพุทธบริษัท เป็นต้น ก่อให้เกิดพิธีกรรมทั้งของพระสงฆ์ เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น ส่วนคฤหัสถ์ เช่น สาธยายธรรมข้ามปี เป็นต้น
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the rituals in Theravada Buddhism 2) to study the Chanting in Theravada Buddhism and 3) to analyze the rituals and the Dharma Chanting in Theravada Buddhism. The used documents are Tripitaka, commentary, textbooks and related researches. This study is a Qualitative research. The derived document and information were analyzed of the contents and the Inductive conclusion forms. The results of research were found that: Rituals in Theravada Buddhism are orderly proceeded in order to achieve certain goals which are not the creation of special power inspiring any successes. They are used as a media to fulfill the better of body, speech, mind, wisdom and society. The actions are for individual or in groups. This is another way to maintain the Dharma discipline. The chanting has begun from the age of the Buddhist era. It is a chanting, telling the Dharma, praying, and reserving of Buddhist discipline. It is an utterance for the benefits of oneself and the public. It is useful for the commitment to the Buddha. It is used as a tool to reach a liberation, meditated mind, be a scholar and have clean mind. It is for non-persecution, no harm, lethargy and attaining the Dharma. The one who listens Dharma will become faithful, receive praise, protection, self-keeping, Protection and live pleasantly. Rituals and Dharma chanting of Thai monks will start from the chanting first. In the funeral, rituals and the value of chanting cause merit and gratitude. chanting is also held in holy activities such as new house cerebration and auspicious events. Even in misfortune events, like a funeral, they play an important part of the events. When the laymen do morning and evening chanting, the monks also do the same. In the New Year days, the laymen chanting the Dharma over the years.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรมการ์ตูนดราก้อนบอล 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรมการ์ตูนดราก้อนบอล โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราวรรณกรรมการ์ตูนดราก้อนบอลและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสารได้รวบรวมข้อมูลนำมาศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า : พุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรม คือ การศึกษา 3 ประการ ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยา วิจัยนี้เน้นศึกษาเรื่องคุณธรรมที่เป็นจริยศาสตร์หรือพุทธจริยศาสตร์ มี 3 ข้อ ได้แก่ 1)พุทธจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐาน คือ หลักเบญจศีลและเบญจธรรม 2) พุทธจริยศาสตร์ขั้นกลาง คือ หลักกุศลกรรมบถ 10 ประการ 3) พุทธจริยศาสตร์ขั้นสูง คือ หลักอริยสัจ 4 โดยผู้วิจัยศึกษาผ่านคำว่าคุณธรรม ที่หมายถึง คุณธรรมของ ซุนโงคู ตัวละครเอก ที่มีจิตใจและพฤติกรรมดีงามพุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรมการ์ตูนดราก้อนบอล หมายถึง งานเขียนของ โทริยามะ อากิระ ประเทศญี่ปุ่น ที่ถ่ายถอดอารมณ์ผ่านศิลปะด้วยภาพการ์ตูนลายเส้นอันเป็นสัญลักษณ์ที่ให้ความรู้และความสนุก ตั้งแต่เล่มที่ 1 - 13 มี 194 ฉาก จากทั้งหมดจำนวน 34 เล่ม มี 519 ฉากปรากฏคุณธรรมในพุทธปรัชญาตามแนวพุทธจริยศาสตร์มี 48 ข้อ คุณธรรมของ ซุนโงคูทั้ง 48 ข้อเป็นพุทธจริยศาสตร์ตามหลักพุทธปรัชญาได้ 2 ระดับ คือ พุทธจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐานและพุทธจริยศาสตร์ขั้นกลาง ที่ปรากฏในหลักพุทธปรัชญา
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรมการ์ตูนดราก้อนบอล 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรมการ์ตูนดราก้อนบอล โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราวรรณกรรมการ์ตูนดราก้อนบอลและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสารได้รวบรวมข้อมูลนำมาศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า : พุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรม คือ การศึกษา 3 ประการ ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยา วิจัยนี้เน้นศึกษาเรื่องคุณธรรมที่เป็นจริยศาสตร์หรือพุทธจริยศาสตร์ มี 3 ข้อ ได้แก่ 1)พุทธจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐาน คือ หลักเบญจศีลและเบญจธรรม 2) พุทธจริยศาสตร์ขั้นกลาง คือ หลักกุศลกรรมบถ 10 ประการ 3) พุทธจริยศาสตร์ขั้นสูง คือ หลักอริยสัจ 4 โดยผู้วิจัยศึกษาผ่านคำว่าคุณธรรม ที่หมายถึง คุณธรรมของ ซุนโงคู ตัวละครเอก ที่มีจิตใจและพฤติกรรมดีงามพุทธปรัชญาที่ปรากฏในวรรณกรรมการ์ตูนดราก้อนบอล หมายถึง งานเขียนของ โทริยามะ อากิระ ประเทศญี่ปุ่น ที่ถ่ายถอดอารมณ์ผ่านศิลปะด้วยภาพการ์ตูนลายเส้นอันเป็นสัญลักษณ์ที่ให้ความรู้และความสนุก ตั้งแต่เล่มที่ 1 - 13 มี 194 ฉาก จากทั้งหมดจำนวน 34 เล่ม มี 519 ฉากปรากฏคุณธรรมในพุทธปรัชญาตามแนวพุทธจริยศาสตร์มี 48 ข้อ คุณธรรมของ ซุนโงคูทั้ง 48 ข้อเป็นพุทธจริยศาสตร์ตามหลักพุทธปรัชญาได้ 2 ระดับ คือ พุทธจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐานและพุทธจริยศาสตร์ขั้นกลาง ที่ปรากฏในหลักพุทธปรัชญา
The researcher had the objectives as follows: 1) to study Buddhist philosophy, 2) to study Buddhist philosophy in Dragon ball and ,3) to analyze the Buddhist philosophy that appeared in the Dragon Ball comic. The researcher collected the data from the Tipitaka, commentary, texts, related documents, Dragon Ball comic and analyzed by qualitative research method. The results were as follows: Buddhist philosophy is the principle to analyzed based on 3 reasons; metaphysics, epistemology and ontology. 1) Basic Buddhist ethics is five precepts , 2)Intermediate Buddhist ethics is wholesome course of action 10, and 3) Advanced Buddhist ethics is The fourth Noble Truth. The study of the Dragon Ball comic book found that comic literature was general writing of all kinds that was taken with artistic emotion with drawings, symbols that provided knowledge and fun by Akira Toriyama. The researcher studied from volume 1 - 13 with 194 scenes from 42 books with 519 scenes. It was found that Buddhist philosophy appeared in 48 Dragon Ball comic books in 2 levels ,basic Buddhist ethics and intermediate Buddhist ethics
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(ศศ.ม)--มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548
Note: ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(ศศ.ม)--มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 พบว่า เป็นแนวทางในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นทางสายเอกที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนแก่หมู่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เพื่อเป็นแนวทางในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นฐานที่ตั้งของสติ ในการระลึกถึงหนทางในการฝึกฝน ปฏิบัติเพื่อกำจัดอุปัทวะกิเลสให้สิ้นไป คือ การตั้งสติพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม เป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย ผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำให้มีอานิสงส์ มีพลังในการเจริญสมาธิทำให้เกิดความสุขระดับโลกียสุข และระดับโลกุตตรธรรมจนถึงพระนิพพาน 2) รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พบว่า รูปแบบการสอนกรรมฐานของท่านนั้นได้ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยยึดหลักตามพระไตรปิฎก คือ โพธิปักขิยธรรม ให้ผู้ปฏิบัติกำหนดอารมณ์ให้เป็นปัจจุบันเป็นไปตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 คือ ให้กำหนด กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งท่านมีหลักที่ใช้ในการปฏิบัติกรรมฐานอยู่ 2 ประการ คือ สติกับสัมปชัญญะ คอยควบคุมหรือกำหนดจิต ให้จิตรู้หน้าที่การงานโดยถูกต้อง แล้วเหลืออยู่หนึ่งเดียว คือความไม่ประมาท เมื่อจิตไม่ประมาทแล้วย่อมดำเนินวิถีชีวิตด้วยความถูกต้อง ในการปฏิบัติกรรมฐานท่านให้ผู้เข้าปฏิบัติได้เพ่งพิจารณาไปที่ท้องแล้วกล่าวตามการหายใจเข้า ออก คือ ยุบหนอ พองหนอ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสำนักวัดอัมพวัน ในขณะที่สอนกรรมฐานท่านจะบรรยายธรรมเกี่ยวกับเรื่อง กฎแห่งกรรม รวมทั้งอานิสงส์ของการสวดมนต์บทพาหุงมหากา ซึ่งเป็นเครื่องเจริญสติอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมสวดกันอย่างแพร่หลาย 3) วิเคราะห์คุณค่าการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พบว่า มีคุณค่าด้านการเผยแผ่หลักธรรมและคำสอน คุณค่าด้านบุคลิกลักษณะ และคุณค่าด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี นับได้ว่าคุณค่าทุกด้านของท่านมีคุณค่าอย่างยิ่ง ท่านจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีผู้ศรัทธาเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั่วทุกประเทศ ในการปฏิบัติกรรมฐานนั้นมีคุณค่าและประโยชน์มากมายเท่าที่รู้จากประสบการณ์ของหลวงพ่อและจากการสอบอารมณ์ของผู้ที่มาปฏิบัติกรรมฐาน พอสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้ 1) ระลึกชาติได้ 2) เห็นกฎแห่งกรรม และ 3) เกิดปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิตได้
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 พบว่า เป็นแนวทางในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นทางสายเอกที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนแก่หมู่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เพื่อเป็นแนวทางในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นฐานที่ตั้งของสติ ในการระลึกถึงหนทางในการฝึกฝน ปฏิบัติเพื่อกำจัดอุปัทวะกิเลสให้สิ้นไป คือ การตั้งสติพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม เป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย ผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำให้มีอานิสงส์ มีพลังในการเจริญสมาธิทำให้เกิดความสุขระดับโลกียสุข และระดับโลกุตตรธรรมจนถึงพระนิพพาน 2) รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พบว่า รูปแบบการสอนกรรมฐานของท่านนั้นได้ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยยึดหลักตามพระไตรปิฎก คือ โพธิปักขิยธรรม ให้ผู้ปฏิบัติกำหนดอารมณ์ให้เป็นปัจจุบันเป็นไปตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 คือ ให้กำหนด กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งท่านมีหลักที่ใช้ในการปฏิบัติกรรมฐานอยู่ 2 ประการ คือ สติกับสัมปชัญญะ คอยควบคุมหรือกำหนดจิต ให้จิตรู้หน้าที่การงานโดยถูกต้อง แล้วเหลืออยู่หนึ่งเดียว คือความไม่ประมาท เมื่อจิตไม่ประมาทแล้วย่อมดำเนินวิถีชีวิตด้วยความถูกต้อง ในการปฏิบัติกรรมฐานท่านให้ผู้เข้าปฏิบัติได้เพ่งพิจารณาไปที่ท้องแล้วกล่าวตามการหายใจเข้า ออก คือ ยุบหนอ พองหนอ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสำนักวัดอัมพวัน ในขณะที่สอนกรรมฐานท่านจะบรรยายธรรมเกี่ยวกับเรื่อง กฎแห่งกรรม รวมทั้งอานิสงส์ของการสวดมนต์บทพาหุงมหากา ซึ่งเป็นเครื่องเจริญสติอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมสวดกันอย่างแพร่หลาย 3) วิเคราะห์คุณค่าการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พบว่า มีคุณค่าด้านการเผยแผ่หลักธรรมและคำสอน คุณค่าด้านบุคลิกลักษณะ และคุณค่าด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี นับได้ว่าคุณค่าทุกด้านของท่านมีคุณค่าอย่างยิ่ง ท่านจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีผู้ศรัทธาเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั่วทุกประเทศ ในการปฏิบัติกรรมฐานนั้นมีคุณค่าและประโยชน์มากมายเท่าที่รู้จากประสบการณ์ของหลวงพ่อและจากการสอบอารมณ์ของผู้ที่มาปฏิบัติกรรมฐาน พอสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้ 1) ระลึกชาติได้ 2) เห็นกฎแห่งกรรม และ 3) เกิดปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิตได้
The objectives of this thesis ware as follows 1) To study the Model on Meditation Teaching in Satipatthana 4, 2) To study the Model on Meditation Teaching in Satipatthana 4 Approach by Stressing the Teaching of Kamma of Phradhamsinghaburacariya (Charan Thitadhammo) and 3) To study values of Meditation Teaching in Satipatthana 4 Approach by Stressing the Teaching of Kamma of Phradhamsinghaburacariya (Charan Thitadhammo). The sample groups were the Tipitaka Commentaries. Texts and relevant researches. The thesis was the documentary qualitative research works. All the data, collected during January-September 2017, were then analyzed by content analysis and analytic induction. The results of research are found as follows: 1) Meditation Teaching in Satipatthana 4 Astring that Lord Buddha had taught the monks among them. To guide the Vipassana meditation. As a base of consciousness In recognition of the way in training. Aupatwa practices to eliminate damage to the guest is to calm the mind and body perception justified as a way of liberation from suffering and destruction. The effects of meditation practice, made a New Song. Meditation has the power to evoke joy at Longchamp. Lo and Gangut sq fair to Nirvana. 2) The Model on Meditation Teaching in Satipatthana 4 Approach by Stressing the Teaching of Kamma of Phradhamsinghaburacariya (Charan Thitadhammo) was formed to teach meditation you have to follow the guidelines Satipatthana 4. The principle is based on the Holy scriptures phothipakkhithrrm. The operator sets the mood for a modern approach to the problem of consciousness is to set out the four mental health, compassion and fairness which are primarily used in the practice of meditation are two kinds: the smallness of consciousness. To control or define mental Know the job correctly. Then the remaining one Is a precaution When I would not underestimate the mental lifestyle with accuracy. While meditation teaches you to lectures about karma and merits of the arms of prayer epic. This is one of the Buddhist mindfulness widely popular hymns. 3) The values of Meditation Teaching in Satipatthana 4 Approach by Stressing the Teaching of Kamma of Phradhamsinghaburacariya (Charan Thitadhammo). : found valuable in disseminating the principles and doctrines. Values personality And values to behave as role models. It is considered particularly valuable has been widely popular with the practice of meditation all over the country. The practice of meditation is valuable and useful as you know from experience pastor and from the mood of the practice of meditation can be summarized three reasons :1) national memorial 2) the law of action and 3) the wisdom to solve life issues.
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความขัดแย้งภายในครอบครัว, ๒) เพื่อศึกษาหลักสังควัตถุตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักสังคหวัตถุเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า สังคมมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแบบแผนและมีแบบแผนก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้นโดยที่สังคมไทยแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน คือสังคมชนบทและสังคมเมือง แต่มีลักษณะที่สำคัญเหมือนกัน เช่น มีการรวมกลุ่มของคนในสังคมมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมหรือมีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางให้ยึดถือร่วมกัน และ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ เป็นต้น ดังนั้น เอกลักษณ์ของสังคม ไทยมีลักษณะโดดเด่น กล่าวคือ สังคมไทยรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เป็นสังคมเจ้านายสังคมไทย และเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็นต้น สังคหวัตถุหรือสังคหวัตถุธรรมถือว่าเป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นธรรมที่สามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต ประจำวัน ยิ่งการใช้ชีวิตอยู่รวมกันในสังคมหมู่มากแล้ว จะต้องยึดถือหลักธรรมะประจำใจ ไว้คอยประพฤติปฏิบัติ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความปลอดภัย และมีความสุข ดังนั้นจึงกล่าวโดยสรุป สังคหวัตถุ ๔ คือ คุณธรรม ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) ทาน คือ การรู้จักแบ่งปันสิ่งของ ๒) ปิยวาจา คือ การเจรจาด้วยวาจาสุภาพอ่อนโยน ๓) อัตถจริยา คือ ความประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๔) สมานัตตตา คือ ความปะพฤติปฏิบัติดีต่อผู้อื่นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ผลจากการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทแยกออกเป็นประเด็น ปัญหาต่างๆ โดย เริ่มที่ตัวสมาชิกทุกคน ซึ่งประกอบไปด้วย บิดา มารดา และบุตรธิดาด้วยหลักพระพุทธธรรมต่างๆ เช่น แก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการประพฤติปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของตน สามีก็ทำหน้าทีของสามี ภรรยาก็ทำหน้าที่ของภรรยา บุตรธิดาก็ทำหน้าที่ของบุตรธิดาให้สมบูรณ์นั่นเอง ส่วนปัญหาอื่น ก็สามารถแก้ได้ด้วยการประพฤติธรรมหมวดนั้นๆ เช่น ปัญหาการนอกใจนำไปสู่การหย่าร้างแก้ด้วยหลักอินทรีย์สังวร การสำรวมกาย วาจา ใจ หลักฆราวาส มีความซื่อสัตย์ต่อกัน มีการข่มใจมิให้หลงมัวเมา และเว้นขาดจากอบายมุข ๖ อันจะนำครอบครัวไปสู่ความล่มสลาย เป็นต้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความขัดแย้งภายในครอบครัว, ๒) เพื่อศึกษาหลักสังควัตถุตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท และ ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักสังคหวัตถุเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า สังคมมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแบบแผนและมีแบบแผนก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้นโดยที่สังคมไทยแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน คือสังคมชนบทและสังคมเมือง แต่มีลักษณะที่สำคัญเหมือนกัน เช่น มีการรวมกลุ่มของคนในสังคมมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมหรือมีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางให้ยึดถือร่วมกัน และ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ เป็นต้น ดังนั้น เอกลักษณ์ของสังคม ไทยมีลักษณะโดดเด่น กล่าวคือ สังคมไทยรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เป็นสังคมเจ้านายสังคมไทย และเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็นต้น สังคหวัตถุหรือสังคหวัตถุธรรมถือว่าเป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นธรรมที่สามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต ประจำวัน ยิ่งการใช้ชีวิตอยู่รวมกันในสังคมหมู่มากแล้ว จะต้องยึดถือหลักธรรมะประจำใจ ไว้คอยประพฤติปฏิบัติ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความปลอดภัย และมีความสุข ดังนั้นจึงกล่าวโดยสรุป สังคหวัตถุ ๔ คือ คุณธรรม ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) ทาน คือ การรู้จักแบ่งปันสิ่งของ ๒) ปิยวาจา คือ การเจรจาด้วยวาจาสุภาพอ่อนโยน ๓) อัตถจริยา คือ ความประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๔) สมานัตตตา คือ ความปะพฤติปฏิบัติดีต่อผู้อื่นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ผลจากการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทแยกออกเป็นประเด็น ปัญหาต่างๆ โดย เริ่มที่ตัวสมาชิกทุกคน ซึ่งประกอบไปด้วย บิดา มารดา และบุตรธิดาด้วยหลักพระพุทธธรรมต่างๆ เช่น แก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการประพฤติปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของตน สามีก็ทำหน้าทีของสามี ภรรยาก็ทำหน้าที่ของภรรยา บุตรธิดาก็ทำหน้าที่ของบุตรธิดาให้สมบูรณ์นั่นเอง ส่วนปัญหาอื่น ก็สามารถแก้ได้ด้วยการประพฤติธรรมหมวดนั้นๆ เช่น ปัญหาการนอกใจนำไปสู่การหย่าร้างแก้ด้วยหลักอินทรีย์สังวร การสำรวมกาย วาจา ใจ หลักฆราวาส มีความซื่อสัตย์ต่อกัน มีการข่มใจมิให้หลงมัวเมา และเว้นขาดจากอบายมุข ๖ อันจะนำครอบครัวไปสู่ความล่มสลาย เป็นต้น
This thesis serves the purposes: 1) to study Household life conflict, 2) to study on rule of good household life, and 3) to analyze the rule of good household life to solve household life conflict following Theravada Buddhist Philosophy. Using the document research method Is studying the Buddhist scriptures. Relevant research and other textbooks. The results of the research were found that: Thai society has changed forever. Both unconventional and conventional changes lead to both good and bad. The Thai society is divided into two parts, rural and urban. It has the same characteristics, such as the integration of people in society, the way to conduct the right or the rules, the rules, the way to hold together and change the movement, etc. So the identity of the society. Thailand has a distinctive feature: Thai society is centralized in the central. Thai society boss and a farming society. Sacred objects or sacred objects is considered a very important principle. It is considered fair to be able to bond with one another. Especially for use in daily life, the more living together in society, the more mass. I must adhere to the principles of morality. To behave Objective 4 is four virtues: 1. To eat is to share. 2. To speak verbally is to speak in a gentle, gentle way. 3. Attitude is behavior that is beneficial to others. 4. Smaratta is a good practice for others to persist. The results of the analysis of conflict resolution in the family of Theravada Buddhist philosophy is divided into issues, starting with all members. It consists of parents and children with various Buddhist principles. For example, resolve conflicts by behaving according to their roles and duties. The husband made her husband's face. Wife also serves his wife and the child is the daughter of the daughter. Other problems It can be solved by doing the wrong class, such as infidelity issues, leading to divorce, organic solstice, articulation, body language, spiritual secularism, loyalty to each other. There is no temptation to be obsessed. And abstain from the six swarms that will lead the family to collapse, etc.
หนังสือ

หนังสือ