Search results

33,640 results in 0.15s

หนังสือ

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 338 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F – test หากพบว่าความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจะทําการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison Test) ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านจริยธรรม (Ethics) รองลงมาคือด้านจิตวิญญาณ (Spirituality) ด้านวิสัยทัศน์ (Vision) และด้านการใฝ่บริการ (Service Mind) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสมรรถนะ (Competency) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตำแหน่งประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้บริหารสร้างวิสัยทัศน์ต้องมีความชัดเจน เผยแพร่วิสัยทัศน์ให้บุคลากรและบุคคลภายนอกทราบ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (2) การให้เกียรติและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความจริงใจคอยให้ความช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมบริหารกิจกรรมนักเรียน (3) การให้ความรักและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมงาน ทุ่มเทเสียสละการทำงานในหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงออกทางกาย วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ (4) รับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการนำองค์กรไปสู่การพัฒนา มีความรอบรู้ รู้กว้าง รู้ไกล ช่างสังเกต รู้จักฟังอยู่เสมอ (5) ผู้บริหารต้องบริหารสถานศึกษาอย่างโปร่งใส ยึดถือคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน วางใจเป็นกลางเพื่อรักษาความยุติธรรม
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 338 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F – test หากพบว่าความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจะทําการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison Test) ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านจริยธรรม (Ethics) รองลงมาคือด้านจิตวิญญาณ (Spirituality) ด้านวิสัยทัศน์ (Vision) และด้านการใฝ่บริการ (Service Mind) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสมรรถนะ (Competency) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตำแหน่งประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) แนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้บริหารสร้างวิสัยทัศน์ต้องมีความชัดเจน เผยแพร่วิสัยทัศน์ให้บุคลากรและบุคคลภายนอกทราบ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (2) การให้เกียรติและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความจริงใจคอยให้ความช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมบริหารกิจกรรมนักเรียน (3) การให้ความรักและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมงาน ทุ่มเทเสียสละการทำงานในหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงออกทางกาย วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ (4) รับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการนำองค์กรไปสู่การพัฒนา มีความรอบรู้ รู้กว้าง รู้ไกล ช่างสังเกต รู้จักฟังอยู่เสมอ (5) ผู้บริหารต้องบริหารสถานศึกษาอย่างโปร่งใส ยึดถือคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน วางใจเป็นกลางเพื่อรักษาความยุติธรรม
The objectives of the research were 1) to study leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Surin, 2) to compare leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of school administrators classified by positions, education and working experiences and, 3) to find out the guidelines for development leadership based on the seven principles of Kalayanamittadhamma of the said schools. Samples were the administrators and teachers, totally 338 in number and 10 interviews. The instrument for collecting the data was the questionnaire, with its reliability value at 0.98 and quality-verified interview. The data collected were analyzed by the computer program, and the statistical devices composed of Frequency, percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.) The hypothesis was tested with t-test and One-way ANOVA F-test. The research results were as follows: 1) The leadership based on the seven principles of Kalyanamittadhamma of school administrators under the Secondary Educational Service Office Surin was found, in both overall and individual aspects, to stand at a 'MUCH' level. The leading aspect was that of ethics, followed by spirituality, vision, service mind and competency, respectively. 2) The comparison of the leadership of the school administrator in mention classified by education was found to show no difference in both overall and individual dimensions. The statistically significant difference of .05 was found in the comparison in terms of position and job experiences. 3) The guidelines for developing the leadership as suggested by the responses were (1) The executive vision should be designed clearly, made own to the staff members and could be brought into practice. (2) The honor and merit system together with participatory management should be followed. (3) The administrators should be fair and sincere to colleagues, work hard and faithfully, and be a good example for the staff members to follow suit. (4) The administrators should always keep fresh his competency and knowledge to ensure the progressive development of the school. (5) The principle of transparency, integrity and honesty should be implemented in school management to maintain impartiality.
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น ๓) เพื่อบูรณาการการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิจัยเอกสาร และโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) และให้มีการทำการเสวนากลุ่ม และให้มีการทำการเสวนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และยืนยีนผลการวิจัย เป็นเครื่องมือใน การรวบรวมข้อมูล โดยค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการทั่วไป ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการให้บริการ จำนวน ๑๑ รูป/คน เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าหน่วยงานบริการ การสนทนากลุ่ม จำนวน ๑๑ คน ผลการวิจัยพบว่า : ๑. การให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น ในปัจจุบันหลายพื้นที่จัดการบริการในเรื่องต่อไปนี้ - นำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริการได้รวดเร็ว - สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook)/ไลน์ (LINE) - เว็บไซต์ (Website) เข้าถึงสะดวก ใช้งานง่าย ข้อมูลชัดเจนเป็นปัจจุบัน จัดสถานที่ให้ความสะดวกสบาย สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ มีช่องทางรับฟังปัญหา/ข้อร้องเรียน/ข้อคิดเห็นที่หลากหลาย ได้รับการแก้ไขหรือตอบสนองอย่างรวดเร็ว เป็นที่พึ่งพาได้เวลาเกิดปัญหา มีการเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ชุมชนเป็นที่ที่น่าอยู่ ๒. หลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น คือ สัปปุริสธรรม ๗ หลักธรรมสำหรับสร้างจิตสำนึกรู้หน้าที่ในการให้บริการให้เหมาะสมกับงาน สังคหวัตถุ ๔ หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น หลักพรมวิหาร ๔ หลักธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม ธรรมประจำอันประเสริฐ อิทธิบาท ๔ ข้อธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความสำเร็จในหน้าที่การงาน กัลยาณมิตร ๕ ประการ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญา ๓. บูรณาการการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นด้วยหลักพุทธธรรม คือ งานบริการที่ประกอบด้วย ๑) จุดหมายมโนสำนึก (Common Sense) ๒) คุณธรรม (Moral) ๓) จริยธรรม (Ethics) ๔) วิธีคิด (Think) และ ๕) บริการมีเป้าหมาย (Service) นำมาวิเคราะห์หาข้อดีข้อเสีย นำข้อดีมาเพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนข้อเสียแล้วบูรณาการด้วยหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาไปสู่เป้าหมาย ความสำคัญของการบริการโดยใช้แรงขับเคลื่อนด้วยขบวนการ คือ ๑) หลักพุทธธรรม ๒) จิตสาธารณะ ๓) จิตสำนึก และ ๔) หลักการที่เป็นหัวใจของการบริการ ๔.
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น ๓) เพื่อบูรณาการการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น” ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิจัยเอกสาร และโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) และให้มีการทำการเสวนากลุ่ม และให้มีการทำการเสวนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และยืนยีนผลการวิจัย เป็นเครื่องมือใน การรวบรวมข้อมูล โดยค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการทั่วไป ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการให้บริการ จำนวน ๑๑ รูป/คน เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าหน่วยงานบริการ การสนทนากลุ่ม จำนวน ๑๑ คน ผลการวิจัยพบว่า : ๑. การให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น ในปัจจุบันหลายพื้นที่จัดการบริการในเรื่องต่อไปนี้ - นำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริการได้รวดเร็ว - สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook)/ไลน์ (LINE) - เว็บไซต์ (Website) เข้าถึงสะดวก ใช้งานง่าย ข้อมูลชัดเจนเป็นปัจจุบัน จัดสถานที่ให้ความสะดวกสบาย สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ มีช่องทางรับฟังปัญหา/ข้อร้องเรียน/ข้อคิดเห็นที่หลากหลาย ได้รับการแก้ไขหรือตอบสนองอย่างรวดเร็ว เป็นที่พึ่งพาได้เวลาเกิดปัญหา มีการเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ชุมชนเป็นที่ที่น่าอยู่ ๒. หลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น คือ สัปปุริสธรรม ๗ หลักธรรมสำหรับสร้างจิตสำนึกรู้หน้าที่ในการให้บริการให้เหมาะสมกับงาน สังคหวัตถุ ๔ หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น หลักพรมวิหาร ๔ หลักธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม ธรรมประจำอันประเสริฐ อิทธิบาท ๔ ข้อธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความสำเร็จในหน้าที่การงาน กัลยาณมิตร ๕ ประการ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญา ๓. บูรณาการการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นด้วยหลักพุทธธรรม คือ งานบริการที่ประกอบด้วย ๑) จุดหมายมโนสำนึก (Common Sense) ๒) คุณธรรม (Moral) ๓) จริยธรรม (Ethics) ๔) วิธีคิด (Think) และ ๕) บริการมีเป้าหมาย (Service) นำมาวิเคราะห์หาข้อดีข้อเสีย นำข้อดีมาเพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนข้อเสียแล้วบูรณาการด้วยหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาไปสู่เป้าหมาย ความสำคัญของการบริการโดยใช้แรงขับเคลื่อนด้วยขบวนการ คือ ๑) หลักพุทธธรรม ๒) จิตสาธารณะ ๓) จิตสำนึก และ ๔) หลักการที่เป็นหัวใจของการบริการ ๔.
รูปแบบบรูณาการการเสริมสร้างมโนสำนึกในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นด้วยหลักพุทธธรรม เป็นทฤษฎี Comets MODEL ได้แก่ Co – Common Sense คือจุดหมายในสำนึกของเจ้าหน้าที่ที่ให้กับประชาชนทุกคนที่มาขอรับบริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นให้ได้ประโยชน์สูงสุด Moral คือคุณธรรม ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของมโนสำนึก Ethics คือจริยธรรมที่เป็นหลักในการแก้ปัญหาต่าง ๆ Think คือการใช้วิธีคิดเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ ที่ทุ่มเทเพื่อการปฏิบัติงานแสดงออกถึงการให้เกียรติหรือความนับถือผู้มาขอรับบริการที่มีความรับผิดชอบในการบริการด้วยความคิดที่ดี คำพูดที่ดีไพเราะเสนาะหู และ การกระทำที่ดี สุภาพอ่อนน้อม ไม่หยิ่งทะนงตนว่าเป็นข้าราชการ ไม่สูงกว่าประชาชนโดยทั่วไป Service คือการบริการที่นำไปสู่การบริการที่ประกอบด้วยมโนสำนึก
The objectives of this dissertation were as follows: 1) to study the service state of the local registry office, 2) to study the Buddhist principles that support and strengthen the conscience in services of the local registry office, 3) to integrate the awareness of the services of the local registry office with Buddhist principles that support and strengthen the conscience in services of the local registry office, and 4) to present guidelines and create knowledge on "A model for enhancing consciousness in services of the local registry office. The data of this documentary qualitative research were collected from documents and in-depth interviews with 11 service experts and service recipients and focus group discussions with 11 chiefs of service department. The research results were found that: 1. Services of the local registry office cover and manage service as follows: the use of technology and social media for the comfortable and easy accession of people, for clear and up-to-date information, providing a comfortable, clean and tidy place to facilitate the service recipients, and providing two-way channels for problem complaints and improvement suggestions. There is an enhancement and development of the well-being of the community and encouragement of people to participate and develop an environment for the community. 2. The Buddhist principles for reinforcement of service mind of the local registration office are Sappurisadhamma for duty and service realization, Sangahavatthu for mental relationship, Brahmaviharadhamma for sublime states of mind, Iddhipada for duty and work achievement, and 5 Kalyanamitta for the accomplishment of faith, morality, listening, giving and wisdom. 3. The integration of building the service conscience of the local registry office with the Buddhist principles are that: The service work that consists of 1) Common Sense, 2) Moral, 3) Ethics, 4) Thinking and Service goal is brought to analysis for its advantages and disadvantages. The advantages are brought to develop and the disadvantages are brought to modify in order to integrate with the Buddhist principles to develop towards the service goal. The important factors of the service driven by this process are 1) Buddhadhamma, 2) Public mind, 3) Consciousness, and 4) Main principles of service. 4. The integrated form of reinforcement of service mind with Buddhadhamma of the local registry office can be concluded into COMETS MODEL consisting of Co – Common Sense for the consciousness of the staff to fulfill the purpose of services, Moral for the anchor of service conscience, Ethics for the basis for solving problems, Think for the ways in performing duty, and Service for the sake of services accomplished with conscientiousness.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการทำบุญในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำบุญแซนโฎนตาของชาวจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำบุญแซนโฎนตาของชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า: ที่มาด้านความเชื่อของชุมชนที่มีต่อประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและพลังลึกลับ โดยเฉพาะความเชื่อต่อดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ว่ายังมีการวนเวียนและดูแลครอบครัวและสมาชิก และเชื่อว่าดวงวิญญาณของบรรพบุรุษนี้สามารถให้คุณและโทษได้แก่ครอบครัวและสมาชิกได้ และมีการยอมรับนับถือนี้ได้เป็นบ่อเกิดที่มาของประเพณีของชุมชนจนมาถึงปัจจุบัน พิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร ตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี เมื่อถึงช่วงเวลาสำคัญของประเพณี ครอบครัวและลูกหลาน พี่น้อง เครือญาติมักให้ความสำคัญกับการจัดพิธีแซน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) การจัดในบริเวณบ้านของตนเอง (2) การจัดในชุมชนเพื่อประกอบพิธีกรรม และ(3) การจัดการทำบุญในวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลตามแบบทางพระพุธศาสนามีขั้นตอน ได้แก่ (1) การสื่อสารถึงลูกหลานเพื่อบอกกล่าวล่วงหน้า (2) การกำหนดสถานที่ประกอบพิธี (3) เตรียมสิ่งของเพื่อเซ่นไหว้ (4) ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศล มีรูปแบบ ได้แก่ การเซ่นไหว้มักเป็นการรวมตัวกับสมาชิกครอบครัวและเครือญาติเพื่อประกอบพิธีกรรมในวัน เวลา ดังกล่าว และลักษณะในการประกอบพิธีกรรมและมีรูปแบบในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อทำบุญอุทิศตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะมีสมาชิกในครอบครัวร่วมกันไปทำบุญอุทิศ และทำพิธีกรรมชักผ้าบังสุกุลให้กับผู้ตาย มีความเชื่อว่าผลบุญที่ทำจะส่งถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษให้มีความสุขและปราศจากความหิวโหยและคุณค่าจากประเพณีแซนโฎนตา จะให้ความสำคัญทางด้านจิตใจ และการควบคุมจิตและประพฤติกรรมของชุมชนและสังคม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการทำบุญในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำบุญแซนโฎนตาของชาวจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำบุญแซนโฎนตาของชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า: ที่มาด้านความเชื่อของชุมชนที่มีต่อประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและพลังลึกลับ โดยเฉพาะความเชื่อต่อดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ว่ายังมีการวนเวียนและดูแลครอบครัวและสมาชิก และเชื่อว่าดวงวิญญาณของบรรพบุรุษนี้สามารถให้คุณและโทษได้แก่ครอบครัวและสมาชิกได้ และมีการยอมรับนับถือนี้ได้เป็นบ่อเกิดที่มาของประเพณีของชุมชนจนมาถึงปัจจุบัน พิธีกรรมแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร ตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี เมื่อถึงช่วงเวลาสำคัญของประเพณี ครอบครัวและลูกหลาน พี่น้อง เครือญาติมักให้ความสำคัญกับการจัดพิธีแซน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) การจัดในบริเวณบ้านของตนเอง (2) การจัดในชุมชนเพื่อประกอบพิธีกรรม และ(3) การจัดการทำบุญในวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลตามแบบทางพระพุธศาสนามีขั้นตอน ได้แก่ (1) การสื่อสารถึงลูกหลานเพื่อบอกกล่าวล่วงหน้า (2) การกำหนดสถานที่ประกอบพิธี (3) เตรียมสิ่งของเพื่อเซ่นไหว้ (4) ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศล มีรูปแบบ ได้แก่ การเซ่นไหว้มักเป็นการรวมตัวกับสมาชิกครอบครัวและเครือญาติเพื่อประกอบพิธีกรรมในวัน เวลา ดังกล่าว และลักษณะในการประกอบพิธีกรรมและมีรูปแบบในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อทำบุญอุทิศตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะมีสมาชิกในครอบครัวร่วมกันไปทำบุญอุทิศ และทำพิธีกรรมชักผ้าบังสุกุลให้กับผู้ตาย มีความเชื่อว่าผลบุญที่ทำจะส่งถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษให้มีความสุขและปราศจากความหิวโหยและคุณค่าจากประเพณีแซนโฎนตา จะให้ความสำคัญทางด้านจิตใจ และการควบคุมจิตและประพฤติกรรมของชุมชนและสังคม
The objectives of this thesis were : 1) to study the beliefs and rituals of making merit in Buddhism, 2) to study the Sandonta merit-making of people in Surin Province and 3) to analyze the beliefs and rituals of Sandonta making of people in Surin Province. It was qualitative research by studying the Tipitaka, commentary, books, documents, and related research, collecting data and then presented the research results by descriptive analysis. The results of this research found that On the side of the community’s beliefs towards Sandota tradition of Thai -Khmer people which belief in supernatural and mystical powers. Especially the belief in ancestral spirits, there were still having a circulation of spirit and taking care of all members in the family. And it was also believed that this ancestral spirit can give you both of benefit and blame your family and members. This recognition has been the resource of community traditions until the present-day. Sandonta rituals of Thai -Khmer people is corresponds to the 14th of waning day on every year. When it comes to the important moment of the cultures, family, and relatives often attaches importance to the arrangement of the sanctuary, divided into 3 features: (1) arrangement in the area of your own home, (2) organizing in the community for ceremonies and (3) philanthropy in temple to dedicate a charity according to the Buddhist religion included of 4 steps as follows: (1) communicating to the descendants in advance notification, (2) determining the place of worship, (3) preparing items for worship, and (4) making merit at the temple to dedicate the merit as follows : offerings were usually a gathering with family members and relatives to perform ceremonies such date and time. Including the characteristics in performing rituals and having a form of organizing Buddhist activities to make merit in accordance with the Buddhist guidelines with having family members together to make merit and perform are requisition ceremony for the deceased. There was a belief that the good. There is a belief that the merit had done will send the souls of the ancestors to be happy and free from hunger together with the value of Sandonta rituals will pay attention to psychological, mental control and behavior of community and society.
หนังสือ

    รายงานเล่มนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
Note: รายงานเล่มนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562
หนังสือ

    รายงานเล่มนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2563
Note: รายงานเล่มนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2563
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่ง บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 2) ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 132 รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้สถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า : 1. ภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่ง บุคลากรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้บริหารควรจัดทำแผนงาน/โครงการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของบุคลากร ให้กำลังใจ ยกย่อง เชิดชูบุคลากรตามสมควรแก่โอกาส 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ : จักขุมา ควรมีนโยบายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 2) ด้านการมีเป้าหมายการบริหารอย่างชัดเจน : วิธูโร ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนบริหารสถานศึกษา 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ : นิสสยสมฺปนฺโน ควรนำเทคโนโลยี การสื่อสารมาใช้ในการบริหารช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุเป้าหมาย
The objectives of this thesis were 1) to study the Buddhism-based leadership of administrators of the General Education Section Phrapariyattidhamma School in Kalasin province, 2) to compare the General Buddhism-based leadership of administrators of the school in mention, classified by gender, position, and work experiences and 3) to explore the suggestions and the leadership development guidelines for the administrators of the so-said schools in Kalasin province. The samples used in this research were 132 administrators and teachers of the schools as mentioned, together with 10 interviews. The tools used for data collection were a 5-rating scale questionnaire with content validity between 0.67-1.00 , and reliability at 0.94, and a semi-structured interviews. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. Statistics used to test the hypothesis were t-tests and One Way ANOVA using F-test statistics. The results found can be summarized as follows: 1) The Buddhism-Based Leadership of Administrators of the Education Section Section Phrapariyattidham School in Kalasin Province was in an overall dimension found to be at a high level. In terms of individual aspects as sorted from the highest to the lowest average, it was found that human relationship (Nissayasampanno) stood on top of the scale, followed by vision (Cakkhuma)), with the clearly fixed management goal (Vidhuro) being at the bottom. 2) The comparison of opinions about the Buddhism-based leadership of the administrators in the so-said schools, classified by gender, position and job experiences, was found that the comparison in terms of sex showed a statistically significant difference at the 0.5 level, while the comparison classified by position and work experiences displayed no statistically significant difference. 3) The suggestions as suggested by the respondents were as follows: 1) The administers should organize training plans or projects to implant discipline, morality, and ethics into students’ hearts so as to correct undesirable behaviors. 2) The strategies, missions and target should be established and brought into practiced effectively and efficiently. 3) The administrators were advised to realize the problems lying in the ways to achievement as well as their solutions. 4) The measures to encourage, promote and reward the saff members should be set up appropriately. 4) The leadership development guidelines as recommended by constructed interviews comprised:1) For vision (Jakkhuma), there should be a policy to encourage the staff members to work with dedication. 2) Regarding administrative technics (Vidhuro), the management goal should be mutually set up, and any plan for school administration should be relied on sufficient and reliable information. 3) As for human relationship (Nissayasampanno), information and communication technology should be implemented in order to achieve goals as set.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า : 1. ทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ (เมตตา) รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม (กรุณา) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางเทคโนโลยี และการใช้ดิจิทัล (กรุณา) 2. การเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม วางแผนจัดสรรงบประมาณ กำหนดแนวทาง การสืบค้นสื่อ การใช้สื่อ การพัฒนาและการส่งเสริมสื่อของครูให้ตรงกับตัวชี้วัด ใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยจากหลากหลาย ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างของเพื่อนร่วมทีม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า : 1. ทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ (เมตตา) รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม (กรุณา) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางเทคโนโลยี และการใช้ดิจิทัล (กรุณา) 2. การเปรียบเทียบทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม วางแผนจัดสรรงบประมาณ กำหนดแนวทาง การสืบค้นสื่อ การใช้สื่อ การพัฒนาและการส่งเสริมสื่อของครูให้ตรงกับตัวชี้วัด ใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยจากหลากหลาย ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างของเพื่อนร่วมทีม
The objects of this thesis were 1) to study the administrative skills based on Four Sublime States of Mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakham 2) to compare the administrative skills based on four sublime states of mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakham, classified in educational level, work experience, and the size of the school 3) to suggest guidelines for Administrative Skill development based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham. The sample group used in this research was the 323 of school administrators and instructors of the secondary educational service area office Mahasarakham. The instruments used for data collection was a 5-level estimation scale questionnaire with content accuracy of 0.67 – 1.00, a confidence level of 0.89, and a semi-structured interview. The target group was 5 participants. The results showed that 1.Administrative skills based on four sublime states of mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakam. Overall, it was at a high level, considering from each side in order from the highest to the lowest average were human relations skills (merciful), followed by the team work skills (kindly), whereas the lowest was Technology skills and digital usage (kindly). 2.Comparison the Administrative skills based on four sublime states of mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakam, classified by educational level, work experience, and the size of the school. By overall was a statistically significant difference at the 0.05 level. 3.Guidelines for Administrative Skill development based on four sublime states of mind of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakam. Budget allocation planning, guideline determination for media search, media usage, developing and promoting teachers’ media to match the indicators, usage an up-to-date information from variety of sources, including accepting the different opinions of team works.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัย 2) การเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีการวางแผนกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและการแต่งตั้งบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่ต้องให้เป็นไปตามคำสั่ง สพฐ. สนับสนุนส่งเสริมในการทำงาน กำกับติดตามการนิเทศงาน ให้คำชี้แนะให้อยู่ในระเบียบวินัย ควรให้ความรู้การปฏิบัติงานตามระเบียบราชการ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวินัยและการรักษาวินัย 2) การเปรียบเทียบระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีการวางแผนกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและการแต่งตั้งบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่ต้องให้เป็นไปตามคำสั่ง สพฐ. สนับสนุนส่งเสริมในการทำงาน กำกับติดตามการนิเทศงาน ให้คำชี้แนะให้อยู่ในระเบียบวินัย ควรให้ความรู้การปฏิบัติงานตามระเบียบราชการ
The objectives of this thesis were as follows 1) to study the levels of Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office 2) to compare the levels of Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office, classified by educational level, work experience, and school size 3) to study guidelines for Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office. The sample group used in this research was 342 of the secondary school instructors under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office. The instrument used for data collection was a 5-level estimation scale questionnaire with content accuracy of 0.67 – 1.00, a confidence level of 0.98, and interview. The results showed that: 1) The levels of Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office. Overall, it was at a high level, considering from each side in order from the highest to the lowest average. It was found that the highest average was enhancing operational efficiency (kindly), followed by the positioning planning (prosperity), whereas the lowest was the discipline and the maintenance of discipline (merciful), respectively. 2) A comparison of the levels of Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office, classified by educational level, work experience, and school size. There was a statistically significant difference at the 0.05 level. 3) Guidelines for Personnel Administration based on Four Sublime States of Mind of School Administrators under the Roi Et Secondary Educational Service Area Office were Position planning, Personnel recruitment, and Personnel appointment to perform duties need to be in accordance with the Office of the Basic Education Commission Order (OBEC), work supporting and promoting, following up supervision, and giving advice about disciplined and providing knowledge of the operation according to government regulations.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษา พบว่า พญานาคเป็นสัตว์กึ่งเทพ เสวยทิพย์สมบัติบนสวรรค์วิมานดุจดั่งเทวดาถ้าปรากฏในลักษณะกึ่งเทพก็จะมีลักษณะเป็นมนุษย์ ถ้าปรากฏในลักษณะเป็นสัตว์ก็เป็นงูที่แผ่พังพานมีขนาดยาวใหญ่กว่างูธรรมดา มีกายสีต่างกันตามตระกูล เช่น ตระกูลวิรูปักษ์ เป็นนาคมีผิวกายสีทองเป็นราชาของนาคทั้งสี่ประเภท พญานาคแบ่งตามหน้าที่ออกเป็น 4 พวก คือ (1) นาคสวรรค์ มีหน้าที่เฝ้าวิมานของเทวดา (2) นาคกลางหาว มีหน้าที่ให้ลมให้ฝน (3) นาคโลกบาล มีหน้าที่รักษาแม่น้ำลำธาร และ (4) นาครักษาขุมทรัพย์ มีหน้าที่รักษาขุมทรัพย์ในดินและป่าไม้ พญานาคแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ (1) กามรูปีพญานาค พญานาคที่เสวยกามคุณ และ (2) อพามรูปีพญานาค พญานาคที่ไม่เสวยกามคุณ นอกจากนี้ยังได้แบ่งพญานาคออกเป็นตระกูลย่อยๆ ออกไปอีกถึง 1,024 ชนิด 2. ความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านด่านและประชาชนที่อาศัยในแถบลุ่มน้ำโขงเคารพบูชาพญานาคว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรให้ป้องกันภัย ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และขอโชคลาภ จากความเชื่อดังกล่าว ทำให้สังคมไทยแถบลุ่มน้ำโขง เกิดแนวคิดใหม่ในพิธีกรรม ศิลปกรรมประเพณีกรรม เช่น การปล่อยเรือไฟบูชาแม่น้ำและเจ้าแห่งน้ำ คือพญานาคพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวควบคู่กันไป พญานาคก็ยังคงเป็นสิ่งที่คนไทยเคารพเชื่อถือเป็นเครื่องร้อยรัดคนไทยเข้ากับความเชื่อที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด 3. วิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านด่าน เชื่อในความมีอยู่จริง และความมีอิทธิฤทธิ์ของพญานาค เพราะเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น รอยแยกตัวของผิวถนนขึ้น มีผู้ถ่ายภาพรอยถนนแยกไว้ เป็นภาพประหลาดคลายหลังพญานาค ปรากฏการณ์รอยประหลาดที่เกิดขึ้นริมฝั่งโขงและอีกรอยบนหน้ารถของชาวบ้านที่จอดหน้าวัดสุมังคลาราม บ้านด่าน ส่งผลให้ชาวบ้านด่านบูชาพญานาคเพื่อของฝนขอน้ำมาทำการเกษตรและบูชาเพื่อโชคลาภจากพญานาคตามสมัยนิยมในสังคมไทยปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านด่านเคารพพญานาคในฐานะของเทพผู้มีอิทธิฤทธิ์และบันดาลสิ่งที่พวกเขาต้องการให้สำเร็จได้ มากกว่าฐานะที่เป็นสัตว์เดรัจฉานกึ่งเทพที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดเช่นมนุษย์ และผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนายอมรับนับถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และค่อยดูแลปกป้องพระพุทธสาสนาตามหน้าที่ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษา พบว่า พญานาคเป็นสัตว์กึ่งเทพ เสวยทิพย์สมบัติบนสวรรค์วิมานดุจดั่งเทวดาถ้าปรากฏในลักษณะกึ่งเทพก็จะมีลักษณะเป็นมนุษย์ ถ้าปรากฏในลักษณะเป็นสัตว์ก็เป็นงูที่แผ่พังพานมีขนาดยาวใหญ่กว่างูธรรมดา มีกายสีต่างกันตามตระกูล เช่น ตระกูลวิรูปักษ์ เป็นนาคมีผิวกายสีทองเป็นราชาของนาคทั้งสี่ประเภท พญานาคแบ่งตามหน้าที่ออกเป็น 4 พวก คือ (1) นาคสวรรค์ มีหน้าที่เฝ้าวิมานของเทวดา (2) นาคกลางหาว มีหน้าที่ให้ลมให้ฝน (3) นาคโลกบาล มีหน้าที่รักษาแม่น้ำลำธาร และ (4) นาครักษาขุมทรัพย์ มีหน้าที่รักษาขุมทรัพย์ในดินและป่าไม้ พญานาคแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ (1) กามรูปีพญานาค พญานาคที่เสวยกามคุณ และ (2) อพามรูปีพญานาค พญานาคที่ไม่เสวยกามคุณ นอกจากนี้ยังได้แบ่งพญานาคออกเป็นตระกูลย่อยๆ ออกไปอีกถึง 1,024 ชนิด 2. ความเชื่อเรื่องพญานาคของชาวบ้านด่าน ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านด่านและประชาชนที่อาศัยในแถบลุ่มน้ำโขงเคารพบูชาพญานาคว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรให้ป้องกันภัย ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และขอโชคลาภ จากความเชื่อดังกล่าว ทำให้สังคมไทยแถบลุ่มน้ำโขง เกิดแนวคิดใหม่ในพิธีกรรม ศิลปกรรมประเพณีกรรม เช่น การปล่อยเรือไฟบูชาแม่น้ำและเจ้าแห่งน้ำ คือพญานาคพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวควบคู่กันไป พญานาคก็ยังคงเป็นสิ่งที่คนไทยเคารพเชื่อถือเป็นเครื่องร้อยรัดคนไทยเข้ากับความเชื่อที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด 3. วิเคราะห์ความเชื่อในพญานาคตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ของชาวบ้านด่าน ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านด่าน เชื่อในความมีอยู่จริง และความมีอิทธิฤทธิ์ของพญานาค เพราะเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น รอยแยกตัวของผิวถนนขึ้น มีผู้ถ่ายภาพรอยถนนแยกไว้ เป็นภาพประหลาดคลายหลังพญานาค ปรากฏการณ์รอยประหลาดที่เกิดขึ้นริมฝั่งโขงและอีกรอยบนหน้ารถของชาวบ้านที่จอดหน้าวัดสุมังคลาราม บ้านด่าน ส่งผลให้ชาวบ้านด่านบูชาพญานาคเพื่อของฝนขอน้ำมาทำการเกษตรและบูชาเพื่อโชคลาภจากพญานาคตามสมัยนิยมในสังคมไทยปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านด่านเคารพพญานาคในฐานะของเทพผู้มีอิทธิฤทธิ์และบันดาลสิ่งที่พวกเขาต้องการให้สำเร็จได้ มากกว่าฐานะที่เป็นสัตว์เดรัจฉานกึ่งเทพที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดเช่นมนุษย์ และผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนายอมรับนับถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และค่อยดูแลปกป้องพระพุทธสาสนาตามหน้าที่ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา
The objectives of this thesis were as follows : 1) to study the belief on King Nagas according to the Theravada Buddhist philosophy, 2) to study the belief on King Nagas of Ban Dan villagers, Sam Yaek Sub-district, Loeng Nok Tha District, Yasothon Province and 3) to analyze the belief on King Nagas according to the Theravada Buddhist Philosophy of Ban Dan villagers, Sam Yaek Sub-district, Loeng Nok Tha District, Yasothon Province. This study was a qualitative research study and using the data obtained in inductive descriptive analysis. The results of research found that : 1. Belief in the Naga according to Theravada Buddhist Philosophy, The results of the study revealed that King Nagas were a semi-divine animal, eat the heavenly treasures like angels. When they appeared in a semi-divine form, they would look like human beings. When they appeared in the form of an animal, it would be a snake that spread a rooster with a length larger than a normal snake. Having a different body colors according to their species, such as the Virupaksa, a King Naga with a golden skin is the king of the four types of King Nagas. King Nagas were divided according to their duties into 4 groups: (1) the heavenly King Nagas were responsible for guarding the heavens of the deity, (2) King Nagas in the middle of the hail were responsible for the wind and rain, (3) the Nagalokaban Nagas were responsible for protecting rivers and streams and (4) the treasure preservation King Nagas were responsible for maintaining treasures in the soil and forests. King Nagas divided into 2 major types: (1) Kama Rupee Naga, having sensual for pleasures and (2) Apama Rupee King Naga who is without having sensual for pleasures. In addition, the King Nagas divided into sub-families of up to 1,024 species. 2. The results of a study on beliefs in the King Nagas of Ban Dan villagers found that the villagers of Ban Dan and people living in the Mekong region worship the King Nagas as sacred. Pray for safety from danger, abundance and fortune. From such beliefs, it was occurred a new idea for rituals traditional arts to Thai society in the Mekhong region such as light boat flowing to worship the river and lord of river, namely the King Nagas which evolved into tourism concurrently. The serpent is still something that Thai people respect and trust as a string tying the Thai people in line with the belief that has always occurred. 3. To analysis of beliefs in the King Nagas based on Theravada Buddhist Philosophy of Ban Dan villagers, Sam Yaek Sub-district, Loeng Nok Tha District, Yasothon Province. The results found that the villagers believed in the story of the King Nagas and their power cause of various events such as the fissure in the road which someone took them which looked like the King Nagas’ back. The phenomenon of strange occurred along the Mekong’s banks, and another marks on front of the villagers’car parked in front of Wat Sumangkhalaram, Ban Dan, Yasothon Province. As a result, villagers worship the King Nagas to request for rain for as to get some water for farming and worship for fortune from the King Nagas according to the current popular in Thai society. So Ban Dan villagers respected the King Naga as a magical powerful God which enable to inspire what they wanted to be accomplished rather than being a demigod that had to rebirth a human being, and those who believes in Buddhism, respecting the Triple Gem, took care and protected the Buddhism in accordance with the duties of those who believed in Buddhism.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกความงามเชิงสุนทรียศาสตร์หอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์ของหอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธรการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ การศึกษาพบว่า หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบพม่า สร้างโดยช่างลาวที่อพยพมาครั้งตั้งหมู่บ้าน ตัวอาคารสร้างด้วยไม้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หลังคามุงด้วยไม้ซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น บานประตูแกะสลักลวดลาย ความงามของหอไตรมิได้เกิดขึ้นโดยตัวอาคารตามลำพังหากมีแต่สภาพแวดล้อมหนองน้ำด้วย 2. แนวคิดและทฤษฎีความงามทางสุนทรียศาสตร์ การศึกษาพบว่า สุนทรียศาสตร์คือศาสตร์ที่แสวงหาความจริงเกี่ยวกับความงาม และเกณฑ์ตัดสินความงาม คือ เกณฑ์ตัดสินความงาม 3 ทฤษฎี 1) ทฤษฎีจิตวิสัยนิยม 2) ทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม และ 3) ทฤษฎีสัมพัทธนิยม 3. วิเคราะห์ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์ของหอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ผลการวิเคราะห์พบว่า ความงาม ตามทฤษฎีจิตวิสัยนิยม เป็นความงามเมื่อได้เห็นหอไตรนี้แล้วจะมีความรู้สึกว่าสะดุดตาด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่า ที่ตั้งโดดเด่นอยู่กลางน้ำทำให้เกิดความรู้สึกแปลกตา แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นว่าหอไตรนี้งามทุกคน บางคนอาจจะบอกว่าหอไตรนี้ก็เป็นอาคารธรรมดาหลังหนึ่ง ไม่มีอะไรโดดเด่นหรือพิเศษอะไร ความงามของหอไตรตามทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม พบว่า ความงามเกิดจาวัสดุที่นำมาสร้างที่เป็นไม้ ล้วนเป็นไม้ที่ถูกคัดสรรค์เอาไม้ที่มีคุณภาพทำให้ได้ไม้ที่ตามที่ต้องการมีความทนทานมีความสวยงามตามธรรมชาติของไม้เหล่านั้น ความงามของหอไตรตามทฤษฎีสัมพัทธนิยม พบว่า หอไตรนี้มีความงามตามเกณฑ์ตัดสินของสัมพัทธนิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า หอไตรนี้โดดเด่นอยู่กลางสระน้ำ ทั้งวัสดุที่ใช้ในการสร้างคือไม้ที่ได้คุณภาพทำให้ได้ไม้ที่ทนทานและเนื้อไม้ที่งามตามธรรมชาติ และเหตุผลที่สำคัญคือการนำเอาความเชื่อด้านศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านนาเวียงมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินความงามนี้ด้วย จากการวิเคราะห์ความงามของหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง จังหวัดยโสธร ด้วยทฤษฎีจิตวิสัยนิยม ทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม และทฤษฎีสัมพัทธนิยม ผลการวิเคราะห์จากทฤษฎีทั้ง 3 ทฤษฎีที่เหมาะสมที่จะใช้ตัดสินความงามของหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ คือ ทฤษฎีสัมพัทธนิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า ทฤษฎีนี้ใช้สภาพแวดล้อมคือ ความเชื่อด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ของสังคมนั้นมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินความงามทางสุนทรียศาสตร์ของศิลปะนั้นๆ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกความงามเชิงสุนทรียศาสตร์หอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์ของหอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธรการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ การศึกษาพบว่า หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบพม่า สร้างโดยช่างลาวที่อพยพมาครั้งตั้งหมู่บ้าน ตัวอาคารสร้างด้วยไม้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หลังคามุงด้วยไม้ซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น บานประตูแกะสลักลวดลาย ความงามของหอไตรมิได้เกิดขึ้นโดยตัวอาคารตามลำพังหากมีแต่สภาพแวดล้อมหนองน้ำด้วย 2. แนวคิดและทฤษฎีความงามทางสุนทรียศาสตร์ การศึกษาพบว่า สุนทรียศาสตร์คือศาสตร์ที่แสวงหาความจริงเกี่ยวกับความงาม และเกณฑ์ตัดสินความงาม คือ เกณฑ์ตัดสินความงาม 3 ทฤษฎี 1) ทฤษฎีจิตวิสัยนิยม 2) ทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม และ 3) ทฤษฎีสัมพัทธนิยม 3. วิเคราะห์ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์ของหอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ผลการวิเคราะห์พบว่า ความงาม ตามทฤษฎีจิตวิสัยนิยม เป็นความงามเมื่อได้เห็นหอไตรนี้แล้วจะมีความรู้สึกว่าสะดุดตาด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่า ที่ตั้งโดดเด่นอยู่กลางน้ำทำให้เกิดความรู้สึกแปลกตา แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นว่าหอไตรนี้งามทุกคน บางคนอาจจะบอกว่าหอไตรนี้ก็เป็นอาคารธรรมดาหลังหนึ่ง ไม่มีอะไรโดดเด่นหรือพิเศษอะไร ความงามของหอไตรตามทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม พบว่า ความงามเกิดจาวัสดุที่นำมาสร้างที่เป็นไม้ ล้วนเป็นไม้ที่ถูกคัดสรรค์เอาไม้ที่มีคุณภาพทำให้ได้ไม้ที่ตามที่ต้องการมีความทนทานมีความสวยงามตามธรรมชาติของไม้เหล่านั้น ความงามของหอไตรตามทฤษฎีสัมพัทธนิยม พบว่า หอไตรนี้มีความงามตามเกณฑ์ตัดสินของสัมพัทธนิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า หอไตรนี้โดดเด่นอยู่กลางสระน้ำ ทั้งวัสดุที่ใช้ในการสร้างคือไม้ที่ได้คุณภาพทำให้ได้ไม้ที่ทนทานและเนื้อไม้ที่งามตามธรรมชาติ และเหตุผลที่สำคัญคือการนำเอาความเชื่อด้านศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านนาเวียงมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินความงามนี้ด้วย จากการวิเคราะห์ความงามของหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง จังหวัดยโสธร ด้วยทฤษฎีจิตวิสัยนิยม ทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม และทฤษฎีสัมพัทธนิยม ผลการวิเคราะห์จากทฤษฎีทั้ง 3 ทฤษฎีที่เหมาะสมที่จะใช้ตัดสินความงามของหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ คือ ทฤษฎีสัมพัทธนิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า ทฤษฎีนี้ใช้สภาพแวดล้อมคือ ความเชื่อด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ของสังคมนั้นมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินความงามทางสุนทรียศาสตร์ของศิลปะนั้นๆ
The objectives of this thesis were : 1) to study the aesthetic beauty of Hor Trai wat Sa Trai Nurak 2) to study the concept and aesthetic theory 3. to analyze the aesthetic beauty of Hor Trai Wat Sa Trai Nurak, Ban Na Wiang, Na Wiang Sub-district, Sai Mun District, Yasothon Province. This research is a qualitative research using the data obtained for descriptive analysis. The results of the research found that : 1. Aesthetic beauty of Hor Trai wat Sa Trai Nurak. From the study found that Hor Trai wat Sa Trai Nurak was built by Burmese architecture, Lao craftsmen who migrated to establish the village, the building was made of wood, facing to the west. The roof made of 4 tiered wooden cascades, the door panels were carved in patterns. The beauty of Hor Trai was not only the building but also the swamp environment. 2. Concept and theory of aesthetic beauty. From the study found that Aesthetics was the science that sought for the truth about beauty and the criteria for judging the beauty were 3 theories the criteria for determining the beauty : 1) theory of psychology, 2) the theory of materialism and 3) theory of relativity. 3. Analysis of the aesthetic beauty of Hor Trai wat Sa Trai Nurak, Ban Na Wiang, Na Wiang Sub-district, Sai Mun District, Yasothon Province.From the analysis found that the beauty of the theory of Psychology were the beauty when seeing this Hor Tri, you felt eye-catching with the style of Burmese architecture. The prominent location in the middle of the water created a strange feeling. But not everyone will agree with it was beautiful. Someone said that this it was a only a simple building, nothing particular outstanding. The beauty of Hor Trai according to materialistic theory found that beauty derived from the wood used for building. All of them were selected from a quality wood to create the wood to be as beautiful as we desired, durable, with natural beauty of woods. The beauty of Hor Trai according to the theory of relativity found that this tower had beauty according to the criteria of relativism for the reason that it stood out in the middle of the swamp. All materials used for construction were a good quality, durable and built of beauty natural wood and one of the important reason was to take the religious beliefs, culture, traditions of the Na Wiang villagers as an important portion in determining the beauty. From the analysis of the beauty of Wat Sa Trai Nurak Temple at Ban Na Wiang, Na Wiang Sub-district, Yasothon Province with the theory of idealism, materialistic theory and the theory of relativity. The result of analysis from the three theories that appropriated to determine the beauty of Wat Sa Trai Nurak was the theory of relativity for the reason that this theory used the environment religious beliefs, cultures, and traditions of the society were important portions in determining the aesthetic beauty of arts.