Search results

2,196 results in 0.06s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(รศ.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(รศ.ม) รัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาวิชาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาวิชาสังคมวิทยา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา-มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา-มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) การบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์(ศน.ม.) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาหลักมิจฉาทิฏฐิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษามิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า: 1.มิจฉาทิฏฐิ ในพุทธศาสนา หมายถึง การยึดถือผิด คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผลการบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก 2.มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึงผู้เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความเสียหายก่อนที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติภูมิหลังและลักษณะอุปนิสัยส่วนบุคคลของพุทธสาวก มี 4 ประเภท คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอัตตกิลมถานุโยค 2) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทกามสุขัลลิกานุโยค 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทสัสสตทิฏฐิ และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคล ประเภทอุจเฉททิฏฐิ 3.มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1)เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความยึดมั่น กำหนัดพอใจในขันธ์ 5 ความยึดถือในอายตนะภายใน อวิชชา สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ อายตนะภายนอก การคบมิตรชั่วหรือปรโตโฆสะ ซึ่งเกิดจากความเชื่อโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองด้วยหลักโยนิโสมนสิการ 2)ผลของการเป็นมิจฉาทิฏฐิกบุคคล คือย่อมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติผิดทางซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการในทางพระพุทธศาสนาดำเนินตามทางสุดโต่ง 2 ทางนั้นเรียกว่า “อันตา” ได้แก่ ( 1 ) กามสุขัลลิกานุโยค และ ( 2 ) อัตตกิลมถานุโยค 3) หลักคำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิกบุคคล ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้ คือ1) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา อนัตตลักขณสูตร โมเนยยปฏิปทา 2) มิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ อนุปุพพิกถา อสุภกัมมัฏฐาน ธุดงค์ อัปปมาทธรรม 3) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทประเภทสัสสตทิฏฐิ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อนุปาทาน ตจปัญจกกรรมฐาน และ 4) มิจฉาทิฏฐิกบุคคลประเภทอุจเฉททิฏฐิ ได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร ปฏิจจสมุปบาท และโยนิโสมนสิการ
This thesis has the objectives as follows: 1) to study the principles of wrong view in Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy, 3) to analyze the wrong view individuals according to Theravada Buddhist Philosophy. The study is a documentary qualitative research. The results of the study indicated that: 1. The wrong view in Buddhism means to adhere with a wrong view or with ignorance that it is me, mine and myself. Furthermore, it is believed that giving is fruitless, worship is fruitless, sacrifice is fruitless, there are no results of action, there is no this world, there is next world, there is father, there is mother, there are no beings who were dead and born, there are no recluses and Brahmans who have a good practice, there are no recluses and Brahmans who obtained the realization with their wisdom and then revealed it to the others. 2. The wrong view individuals in Theravada Buddhists philosophy mean the individuals having their views different from or other than the righteousness and their views can deflect the attainment to the noblemanship. There are 4 types of the wrong view individuals depending their backgrounds and characteristics; 1) Individuals with self-mortification, 2) Individuals with self-indulgence, 3) Individuals with belief in eternalism, and 4) Individuals with belief in annihilation. 3. The wrong view individuals in Theravada Buddhist philosophy can be analyzed as follows: 1) The causes that make individuals have the wrong view are both internal and external. The internal causes consist of attachment at the Five Aggregates, attachment to internal sense, ignorance, contact, memory, worry and uncritical reflection. The external causes consist of external sense, accompany with false friends or Paratoghosa causing belief and consideration without critical reflection. 2) The results of being the wrong view individuals can cause the wrong practice from the principles of Buddhism to 2 extreme practices called “anta’; (1) Self-indulgence, and (2) Self-mortification. 3) The Buddhist principles that can withdraw the wrong view of each group are that; 1) Majjhimapatipada, Anattalakkhana Sutta, and Moneyapatipada are for the wrong view individuals with self-mortification, 2) Anupubbikatha, Asubhakammatthana, and Appamada Dhamma are for the wrong view individuals with self-indulgence, 3) The Three Common Characteristics, Anupandana, and Tacapanca Kammatthana are for the wrong view individuals with eternalism, and 4) Adittatapariyaya Sutta, Paticcasamuppada, and Yonosomanasokara are for the wrong view individuals with annihilation.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระ พุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ บรรพชิต 10 รูป ฆราวาส 10 คน (รวม 20 รูป/คน) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า : การเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยพระองค์เอง ต่อจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสาวกดำเนินเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ หลักประโยชน์ 3 หลักไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกันทั้งตนเองและผู้อื่น โดยพระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่พุทธศาสนิกชนจะได้รับเป็นหลักสำคัญที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธวิธีที่พระองค์ทรงสอนนั้นทรงเลือกใช้พุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลสถานที่กาลและกุศโลบายวิธี เพื่อให้ผู้ที่พระองค์ทรงสอนเกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิตประสบความสงบสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ดำเนินสู่มรรคผล คือ พระนิพพาน หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ มีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจนที่สุด คือ การแสดงธรรมเทศนา เพื่ออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์มีกุศโลบายในการสอนโดยสอดแทรกธรรมะผ่านวัตถุมงคลเรื่องคาถาต่างๆ เป้าหมายของการอบรมภาวนา คือ สอนวิธีทำใจให้สงบ ท่านไม่ได้สอนอะไรมากมายเพียงแต่สอนคนให้ภาวนาได้เท่านั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของใจการภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจต้องให้ใจสงบก่อนจึงจะก้าวสู่วิปัสสนาได้สมถะเป็นเหตุวิปัสสนาเป็นผล ท่านสอนให้เดินจิตให้ชำนาญให้คล่องตัวเกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออก เพื่อเป็นฐานของวิปัสสนาการพิจารณาค้นหาใจตนเองให้พบก่อนเป็นการค้นไปในจิตหากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่ และชำระสะสางออกไปจากจิตใจ ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะบรรยายอธิบายเรื่องทั้งหมดผ่านการแสดงธรรมตามวิธีสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ของพรโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ ไตรสิกขา อันหมายถึง การฝึกพฤติกรรมฝึกจิตใจและฝึกปัญญาผ่านรูปแบบการเจริญภาวนาด้วยทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญาโดยมีแนวทางที่เป็นสายกลาง คือ อริยมรรค มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ท่านได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งที่สร้างศรัทธาให้พุทธบริษัท และพุทธศาสนิกชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบการเผยแผ่ดังกล่าวและกุศโลบายต่างๆ นั้นเพื่อให้ได้เข้าถึงความดีงามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ด้วยตาคือ ผลงานด้านถาวรวัตถุ ทั้งที่แสดงให้เห็นด้วยใจ คือ แรงพลังศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนเข้าได้เข้ารับการอบรมสมาธิภาวนา มีทั้งแสดงให้เห็นด้วยปัญญา คือ หลักธรรมคำสอนที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดอันจะก่อเกิดความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง กล่าวคือมรรคผลนิพพาน
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระ พุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ บรรพชิต 10 รูป ฆราวาส 10 คน (รวม 20 รูป/คน) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า : การเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มแรกพระพุทธองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยพระองค์เอง ต่อจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสาวกดำเนินเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักคำสอนที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ หลักประโยชน์ 3 หลักไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกันทั้งตนเองและผู้อื่น โดยพระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่พุทธศาสนิกชนจะได้รับเป็นหลักสำคัญที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธวิธีที่พระองค์ทรงสอนนั้นทรงเลือกใช้พุทธวิธีการสอนให้เหมาะสมกับบุคคลสถานที่กาลและกุศโลบายวิธี เพื่อให้ผู้ที่พระองค์ทรงสอนเกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิตประสบความสงบสุขหลุดพ้นจากความทุกข์ดำเนินสู่มรรคผล คือ พระนิพพาน หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ มีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจนที่สุด คือ การแสดงธรรมเทศนา เพื่ออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิภาวนา เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์มีกุศโลบายในการสอนโดยสอดแทรกธรรมะผ่านวัตถุมงคลเรื่องคาถาต่างๆ เป้าหมายของการอบรมภาวนา คือ สอนวิธีทำใจให้สงบ ท่านไม่ได้สอนอะไรมากมายเพียงแต่สอนคนให้ภาวนาได้เท่านั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของใจการภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจต้องให้ใจสงบก่อนจึงจะก้าวสู่วิปัสสนาได้สมถะเป็นเหตุวิปัสสนาเป็นผล ท่านสอนให้เดินจิตให้ชำนาญให้คล่องตัวเกิดความชำนิชำนาญในการเข้าการออก เพื่อเป็นฐานของวิปัสสนาการพิจารณาค้นหาใจตนเองให้พบก่อนเป็นการค้นไปในจิตหากิเลส อาสวะที่หมักดองอยู่ และชำระสะสางออกไปจากจิตใจ ในท้ายที่สุดแล้ว ท่านจะบรรยายอธิบายเรื่องทั้งหมดผ่านการแสดงธรรมตามวิธีสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่ของพรโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) คือ ไตรสิกขา อันหมายถึง การฝึกพฤติกรรมฝึกจิตใจและฝึกปัญญาผ่านรูปแบบการเจริญภาวนาด้วยทาน ศีล ภาวนา จนเกิดปัญญาโดยมีแนวทางที่เป็นสายกลาง คือ อริยมรรค มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ท่านได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งที่สร้างศรัทธาให้พุทธบริษัท และพุทธศาสนิกชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาด้วยรูปแบบการเผยแผ่ดังกล่าวและกุศโลบายต่างๆ นั้นเพื่อให้ได้เข้าถึงความดีงามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ด้วยตาคือ ผลงานด้านถาวรวัตถุ ทั้งที่แสดงให้เห็นด้วยใจ คือ แรงพลังศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนเข้าได้เข้ารับการอบรมสมาธิภาวนา มีทั้งแสดงให้เห็นด้วยปัญญา คือ หลักธรรมคำสอนที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดอันจะก่อเกิดความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง กล่าวคือมรรคผลนิพพาน
ตามหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างประโยชน์ที่เกิดกับสังคมและหมู่คณะสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่นอีกด้วย
This research had the objectives to study; 1) Theravada Buddhist propagation, 2) the propagation of Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako), and 3) to analyze the propagation principles of Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako). The researcher collected and studied from text books and related documents including in-depth interview from 10 Buddhist monks and 10 Buddhist laymen. The results were as follows: In the preliminary of Buddhist propagation, the Buddha went to teach and propagate by himself. When he had the disciples, he allowed them to teach and propagated Buddhism till now. The core of Buddhist propagation is Ovada Patimokkha, The Principle of Advantage, Threefold Training, and the Principle of Dependent Origination to cease from all evil, to do what is good, and to purify the mind. The Buddha and his disciples had proper methods to teach the people with the goal to leave from suffering and to reach enlightenment. For Phrasophonvisutdhikhun (Bunpheng Kappako), he applied the Buddha’ methods to teach the people with four principle; transparency, motivation, brave, and happiness. He described, discussed, and answered Buddhist principles. The principles that he used to teach were Dhana, Sila, Panya because there were the factors of Anapanasati. Also, it was the way to resolve the problems that brought the happiness and calm. For the analytical of Phrasophonvisutdhikhun’s propagation and teaching, he applied the Principles of Threefold Training, the Eightfold Path to teach the people to reach enlightenment. He acted as the model for the people to strongly believe in Buddhism by builds, Buddhist estates and meditation. He practiced following the Buddha’s teaching for the benefit of the people to relief suffering and reach enlightenment and for the benefit of the Sangha in Khonkaen province.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาทของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 รูป ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาทคือ หลักจักรวรรดิวัตร 12หลักมหาโคปาล 11 ทศพิธราชธรรม 10 กัลยาณมิตร 7 สัปปุริสธรรม 7จักรวรรดิวัตร 5 เวสารัชชกรณธรรม 5สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 ภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครอง ด้านการศึกษาด้านสาธารณะสงเคราะห์ด้านสาธารณูปการด้านศึกษาสงเคราะห์ และด้านการเผยแผ่ มีหลักการ คือ ยึดพระธรรมวินัย ส่งเสริม สนับสนุน รักษา อุปถัมภ์ มีพรหมวิหาร เผยแผ่ธรรมวินัย เกื้อกูลสังคม หลักธรรม คือ มีพระธรรมวินัย ศีล สัปปุริสธรรมอปริหานิยธรรมพรหมวิหาร อิทธบาท สันโดษ ธรรมกถึก วิธีการ คือ ทำตนให้เป็นแบบอย่างเป็นที่พึ่งของคนอื่นไม่ทำเกินกำลัง สร้างปัญญาให้สังคม ยึดทางสายกลาง ทำให้ต่อเนื่อง และรู้จักสอน หลักการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครองด้วยการยึดพระธรรมวินัยด้านศาสนศึกษาด้วยการส่งเสริมการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงรุก ด้านการเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติและทำกิจกรรม ด้านสาธารณูปการด้วยการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นพุทธศาสนา และด้านสาธารณสงเคราะห์ด้วยการพัฒนาวัตถุ และพัฒนาจิตใจด้วยหลักธรรมวินัย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธปรัชญาเถรวาทของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 รูป ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า: หลักการพัฒนาภาวะผู้นำในพุทธศาสนาเถรวาทคือ หลักจักรวรรดิวัตร 12หลักมหาโคปาล 11 ทศพิธราชธรรม 10 กัลยาณมิตร 7 สัปปุริสธรรม 7จักรวรรดิวัตร 5 เวสารัชชกรณธรรม 5สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 ภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครอง ด้านการศึกษาด้านสาธารณะสงเคราะห์ด้านสาธารณูปการด้านศึกษาสงเคราะห์ และด้านการเผยแผ่ มีหลักการ คือ ยึดพระธรรมวินัย ส่งเสริม สนับสนุน รักษา อุปถัมภ์ มีพรหมวิหาร เผยแผ่ธรรมวินัย เกื้อกูลสังคม หลักธรรม คือ มีพระธรรมวินัย ศีล สัปปุริสธรรมอปริหานิยธรรมพรหมวิหาร อิทธบาท สันโดษ ธรรมกถึก วิธีการ คือ ทำตนให้เป็นแบบอย่างเป็นที่พึ่งของคนอื่นไม่ทำเกินกำลัง สร้างปัญญาให้สังคม ยึดทางสายกลาง ทำให้ต่อเนื่อง และรู้จักสอน หลักการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดมหาสารคามด้านการปกครองด้วยการยึดพระธรรมวินัยด้านศาสนศึกษาด้วยการส่งเสริมการศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงรุก ด้านการเผยแผ่ด้วยการปฏิบัติและทำกิจกรรม ด้านสาธารณูปการด้วยการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นพุทธศาสนา และด้านสาธารณสงเคราะห์ด้วยการพัฒนาวัตถุ และพัฒนาจิตใจด้วยหลักธรรมวินัย
The objectives of this thesis are: 1) to study the principles of leadership development in Theravada Buddhism 2) to study the leadership of the district primates in Mahasarakham Province and 3) to analyze the principles’ leadership development in Theravada Buddhist Philosophy of the district primates in Mahasarakham Province. The document and information are Tripitaka, commentary, related textbooks, data and the in-depth interviews from all 8 district primates. The received data were content analysis and an analysis of inductive conclusion’s structure. The results of research were found that: The principles of leadership development in Theravada Buddhism are as follows: the Empire 12, MahaKopal 11, Dharma of the King 10, True Friends 7, Sappurisadharmma 7, Empire 5, Wasadatchakondharm 5, Sangkhawang 4 and Itthibat 4. The leadership of the district primates in Mahasarakham province are in government, education, public welfare, public assistance, education welfare and propagation. The principles are following the Dharma discipline, stimulating, supporting, securing, patronizing, subliming states of mind, propagation Dharma disciplines and supportingsociety.Dharma principles are having Dharma disciplines, canon, Suppurisadharm, Apirihaniyadharm, Brahma 4, Achievement, and Monastic. Means are good behaviors for reliability, not overloading, creation of wisdom for society, being in the middle path, being continuous and khowing how to teach Dharma. Principles in leadership development of the district primates in Mahasarakham Province are in governmental aspect by following the Dharma disciplines. In religious study, they support the education. In education welfare, they follow the proactive approach. In propagation the religion, they do activities. In public assistance, they maintain identity as the Buddhists and in public welfare, they develop mind and objects for the public