Search results

104 results in 0.09s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกความงามเชิงสุนทรียศาสตร์หอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์ของหอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธรการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ การศึกษาพบว่า หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบพม่า สร้างโดยช่างลาวที่อพยพมาครั้งตั้งหมู่บ้าน ตัวอาคารสร้างด้วยไม้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หลังคามุงด้วยไม้ซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น บานประตูแกะสลักลวดลาย ความงามของหอไตรมิได้เกิดขึ้นโดยตัวอาคารตามลำพังหากมีแต่สภาพแวดล้อมหนองน้ำด้วย 2. แนวคิดและทฤษฎีความงามทางสุนทรียศาสตร์ การศึกษาพบว่า สุนทรียศาสตร์คือศาสตร์ที่แสวงหาความจริงเกี่ยวกับความงาม และเกณฑ์ตัดสินความงาม คือ เกณฑ์ตัดสินความงาม 3 ทฤษฎี 1) ทฤษฎีจิตวิสัยนิยม 2) ทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม และ 3) ทฤษฎีสัมพัทธนิยม 3. วิเคราะห์ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์ของหอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ผลการวิเคราะห์พบว่า ความงาม ตามทฤษฎีจิตวิสัยนิยม เป็นความงามเมื่อได้เห็นหอไตรนี้แล้วจะมีความรู้สึกว่าสะดุดตาด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่า ที่ตั้งโดดเด่นอยู่กลางน้ำทำให้เกิดความรู้สึกแปลกตา แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นว่าหอไตรนี้งามทุกคน บางคนอาจจะบอกว่าหอไตรนี้ก็เป็นอาคารธรรมดาหลังหนึ่ง ไม่มีอะไรโดดเด่นหรือพิเศษอะไร ความงามของหอไตรตามทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม พบว่า ความงามเกิดจาวัสดุที่นำมาสร้างที่เป็นไม้ ล้วนเป็นไม้ที่ถูกคัดสรรค์เอาไม้ที่มีคุณภาพทำให้ได้ไม้ที่ตามที่ต้องการมีความทนทานมีความสวยงามตามธรรมชาติของไม้เหล่านั้น ความงามของหอไตรตามทฤษฎีสัมพัทธนิยม พบว่า หอไตรนี้มีความงามตามเกณฑ์ตัดสินของสัมพัทธนิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า หอไตรนี้โดดเด่นอยู่กลางสระน้ำ ทั้งวัสดุที่ใช้ในการสร้างคือไม้ที่ได้คุณภาพทำให้ได้ไม้ที่ทนทานและเนื้อไม้ที่งามตามธรรมชาติ และเหตุผลที่สำคัญคือการนำเอาความเชื่อด้านศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านนาเวียงมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินความงามนี้ด้วย จากการวิเคราะห์ความงามของหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง จังหวัดยโสธร ด้วยทฤษฎีจิตวิสัยนิยม ทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม และทฤษฎีสัมพัทธนิยม ผลการวิเคราะห์จากทฤษฎีทั้ง 3 ทฤษฎีที่เหมาะสมที่จะใช้ตัดสินความงามของหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ คือ ทฤษฎีสัมพัทธนิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า ทฤษฎีนี้ใช้สภาพแวดล้อมคือ ความเชื่อด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ของสังคมนั้นมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินความงามทางสุนทรียศาสตร์ของศิลปะนั้นๆ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกความงามเชิงสุนทรียศาสตร์หอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์ของหอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธรการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ การศึกษาพบว่า หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบพม่า สร้างโดยช่างลาวที่อพยพมาครั้งตั้งหมู่บ้าน ตัวอาคารสร้างด้วยไม้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หลังคามุงด้วยไม้ซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น บานประตูแกะสลักลวดลาย ความงามของหอไตรมิได้เกิดขึ้นโดยตัวอาคารตามลำพังหากมีแต่สภาพแวดล้อมหนองน้ำด้วย 2. แนวคิดและทฤษฎีความงามทางสุนทรียศาสตร์ การศึกษาพบว่า สุนทรียศาสตร์คือศาสตร์ที่แสวงหาความจริงเกี่ยวกับความงาม และเกณฑ์ตัดสินความงาม คือ เกณฑ์ตัดสินความงาม 3 ทฤษฎี 1) ทฤษฎีจิตวิสัยนิยม 2) ทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม และ 3) ทฤษฎีสัมพัทธนิยม 3. วิเคราะห์ความงามเชิงสุนทรียศาสตร์ของหอไตร วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ผลการวิเคราะห์พบว่า ความงาม ตามทฤษฎีจิตวิสัยนิยม เป็นความงามเมื่อได้เห็นหอไตรนี้แล้วจะมีความรู้สึกว่าสะดุดตาด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่า ที่ตั้งโดดเด่นอยู่กลางน้ำทำให้เกิดความรู้สึกแปลกตา แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นว่าหอไตรนี้งามทุกคน บางคนอาจจะบอกว่าหอไตรนี้ก็เป็นอาคารธรรมดาหลังหนึ่ง ไม่มีอะไรโดดเด่นหรือพิเศษอะไร ความงามของหอไตรตามทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม พบว่า ความงามเกิดจาวัสดุที่นำมาสร้างที่เป็นไม้ ล้วนเป็นไม้ที่ถูกคัดสรรค์เอาไม้ที่มีคุณภาพทำให้ได้ไม้ที่ตามที่ต้องการมีความทนทานมีความสวยงามตามธรรมชาติของไม้เหล่านั้น ความงามของหอไตรตามทฤษฎีสัมพัทธนิยม พบว่า หอไตรนี้มีความงามตามเกณฑ์ตัดสินของสัมพัทธนิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า หอไตรนี้โดดเด่นอยู่กลางสระน้ำ ทั้งวัสดุที่ใช้ในการสร้างคือไม้ที่ได้คุณภาพทำให้ได้ไม้ที่ทนทานและเนื้อไม้ที่งามตามธรรมชาติ และเหตุผลที่สำคัญคือการนำเอาความเชื่อด้านศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านนาเวียงมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินความงามนี้ด้วย จากการวิเคราะห์ความงามของหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์บ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง จังหวัดยโสธร ด้วยทฤษฎีจิตวิสัยนิยม ทฤษฎีวัตถุวิสัยนิยม และทฤษฎีสัมพัทธนิยม ผลการวิเคราะห์จากทฤษฎีทั้ง 3 ทฤษฎีที่เหมาะสมที่จะใช้ตัดสินความงามของหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ คือ ทฤษฎีสัมพัทธนิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า ทฤษฎีนี้ใช้สภาพแวดล้อมคือ ความเชื่อด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ของสังคมนั้นมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินความงามทางสุนทรียศาสตร์ของศิลปะนั้นๆ
The objectives of this thesis were : 1) to study the aesthetic beauty of Hor Trai wat Sa Trai Nurak 2) to study the concept and aesthetic theory 3. to analyze the aesthetic beauty of Hor Trai Wat Sa Trai Nurak, Ban Na Wiang, Na Wiang Sub-district, Sai Mun District, Yasothon Province. This research is a qualitative research using the data obtained for descriptive analysis. The results of the research found that : 1. Aesthetic beauty of Hor Trai wat Sa Trai Nurak. From the study found that Hor Trai wat Sa Trai Nurak was built by Burmese architecture, Lao craftsmen who migrated to establish the village, the building was made of wood, facing to the west. The roof made of 4 tiered wooden cascades, the door panels were carved in patterns. The beauty of Hor Trai was not only the building but also the swamp environment. 2. Concept and theory of aesthetic beauty. From the study found that Aesthetics was the science that sought for the truth about beauty and the criteria for judging the beauty were 3 theories the criteria for determining the beauty : 1) theory of psychology, 2) the theory of materialism and 3) theory of relativity. 3. Analysis of the aesthetic beauty of Hor Trai wat Sa Trai Nurak, Ban Na Wiang, Na Wiang Sub-district, Sai Mun District, Yasothon Province.From the analysis found that the beauty of the theory of Psychology were the beauty when seeing this Hor Tri, you felt eye-catching with the style of Burmese architecture. The prominent location in the middle of the water created a strange feeling. But not everyone will agree with it was beautiful. Someone said that this it was a only a simple building, nothing particular outstanding. The beauty of Hor Trai according to materialistic theory found that beauty derived from the wood used for building. All of them were selected from a quality wood to create the wood to be as beautiful as we desired, durable, with natural beauty of woods. The beauty of Hor Trai according to the theory of relativity found that this tower had beauty according to the criteria of relativism for the reason that it stood out in the middle of the swamp. All materials used for construction were a good quality, durable and built of beauty natural wood and one of the important reason was to take the religious beliefs, culture, traditions of the Na Wiang villagers as an important portion in determining the beauty. From the analysis of the beauty of Wat Sa Trai Nurak Temple at Ban Na Wiang, Na Wiang Sub-district, Yasothon Province with the theory of idealism, materialistic theory and the theory of relativity. The result of analysis from the three theories that appropriated to determine the beauty of Wat Sa Trai Nurak was the theory of relativity for the reason that this theory used the environment religious beliefs, cultures, and traditions of the society were important portions in determining the aesthetic beauty of arts.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหน้าที่ของอาจารย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหน้าที่ของศิษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์หน้าที่ของอาจารย์และศิษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า หน้าที่ของอาจารย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของตนต่อศิษย์ ดังนี้ 1) การแนะนำดี 2) ให้เรียนดี 3) บอกศิษย์ด้วยดีด้วยศิลปวิทยาทั้งหมด 4) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง และ 5) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย หน้าที่ของศิษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของตนต่อครูอาจารย์ ดังนี้ 1) ลุกขึ้นต้อนรับ 2) เข้าไปคอยรับใช้ใกล้ชิด 3) เชื่อฟังคำสั่งสอน 4) ปรนนิบัติรับใช้ และ 5) ศึกษาหรือเรียนศิลปวิทยาด้วยความเคารพ ผลการวิเคราะห์หน้าที่ของอาจารย์และศิษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์และศิษย์ที่ดีตามหน้าที่ในทางพระพุทธศาสนา ต้องเป็นผู้ที่มีความเสียสละเวลาที่เป็นส่วนตัวของตนเอง พร้อมยอมมอบเวลาให้กับศิษย์ได้ตลอดเวลา ด้วยความรักความเมตตากรุณาต่อศิษย์ อยากเห็นศิษย์ของตนเองสำเร็จการศึกษาและนำวิชาความรู้ที่ได้รับนั้นไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านอาชีพการงานที่ใช้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ทั้งในส่วนของกิริยามารยาทในการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม ทั้งศิษย์ต้องมีความกตัญญูรู้คุณของครูอาจารย์ ด้วยการประพฤติตัวเป็นคนดีมีความรู้คู่คุณธรรมของสังคมด้วย
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหน้าที่ของอาจารย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหน้าที่ของศิษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์หน้าที่ของอาจารย์และศิษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า หน้าที่ของอาจารย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของตนต่อศิษย์ ดังนี้ 1) การแนะนำดี 2) ให้เรียนดี 3) บอกศิษย์ด้วยดีด้วยศิลปวิทยาทั้งหมด 4) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง และ 5) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย หน้าที่ของศิษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของตนต่อครูอาจารย์ ดังนี้ 1) ลุกขึ้นต้อนรับ 2) เข้าไปคอยรับใช้ใกล้ชิด 3) เชื่อฟังคำสั่งสอน 4) ปรนนิบัติรับใช้ และ 5) ศึกษาหรือเรียนศิลปวิทยาด้วยความเคารพ ผลการวิเคราะห์หน้าที่ของอาจารย์และศิษย์ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์และศิษย์ที่ดีตามหน้าที่ในทางพระพุทธศาสนา ต้องเป็นผู้ที่มีความเสียสละเวลาที่เป็นส่วนตัวของตนเอง พร้อมยอมมอบเวลาให้กับศิษย์ได้ตลอดเวลา ด้วยความรักความเมตตากรุณาต่อศิษย์ อยากเห็นศิษย์ของตนเองสำเร็จการศึกษาและนำวิชาความรู้ที่ได้รับนั้นไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านอาชีพการงานที่ใช้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ทั้งในส่วนของกิริยามารยาทในการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม ทั้งศิษย์ต้องมีความกตัญญูรู้คุณของครูอาจารย์ ด้วยการประพฤติตัวเป็นคนดีมีความรู้คู่คุณธรรมของสังคมด้วย
The objectives of this thesis were : 1) to study the duty of teachers in Theravada Buddhist philosophy, 2) to study the duty of students in Theravada Buddhist philosophy and 3) to analyze the duty of teachers and students in Theravada Buddhist philosophy which was a qualitative research by studying the Tripitaka, commentaries, books, documents, related research and another. The results of research found that 1) The duty of teachers in Theravada Buddhist philosophy were to perform their duty to their students as follows: 1) giving good advice, 2) studying well, 3) teaching students well with all the arts, 4) praising them to their friends and 5) making defenses in all directions. 2) The duty of the disciples in Theravada Buddhist philosophy was to perform their duty to teachers as follows: 1) getting up to welcome, 2) serving closely, 3) obeying the instruction, 4) serving and 5) studying all the arts with respect. 3) The results of an analysis of the duty of teachers and students in Theravada Buddhist philosophy were who known as good teachers and students according to their duties in Buddhism must be a person who has sacrificed their own private time at any time with love and kindness towards the disciples. Yearning to appreciate the achievements of the disciples and be able to apply the knowledge gained in daily life. Both in terms of career that were used to support themselves and their families, the etiquette of social coexistence, gratitude to the teachers by behaving a good person with knowledge and morality of society. Keywords : Duty, Teachers and students, Theravada Buddhist philosophy
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและสมัยปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและปัจจุบันเพื่อเข้าถึงเป้าหมาย หลักการและวิธีที่ใช้ประกาศพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ในฐานะธรรมราชา ทรงมีรูปแบบและวิธีการเผยแผ่ที่หลากหลาย และทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของนักเผยแผ่ผู้ยอดเยี่ยม โดยการคำนึงถึงประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนของผู้ฟังเป็นสำคัญ ทำให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยวิธีการเชิงรุก จากการศึกษาทรรศนะและวิธีการประกาศพระศาสนาของพระองค์นั้น พบว่ากระทำโดยคณะสงฆ์เป็นหลัก มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน เป็นผู้นำทัพธรรมพร้อมด้วยการสนับสนุนของเหล่าอุบาสกอุบาสิกา โดยมีองค์ประกอบของแนวทาง คือ เป้าหมาย เพื่อประกาศแบบแผนในการดำรงชีวิตที่ดีงามตามที่พระองค์ทรงค้นพบให้ชาวโลกได้รับรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข และเพื่อสันติภาพของมวลมนุษย์โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน หลักการเผยแผ่แยกเป็นสามส่วน คือ (1) หลักการแห่งพระธรรมวินัยทั้งมวล (2) หลักการเผยแผ่ และ (3) หลักการว่าด้วยคุณธรรมของผู้ทำการเผยแผ่ แม้ในสมัยหลังพุทธกาลถึงปัจจุบันพระธรรมกถึกก็ยังปฏิบัติตามหลักการเป็นนักเผยแผ่หลักธรรมคำสอนแบบเชิงรุกโดยการประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และให้ทันสมัยอยู่ทุกเมื่อจนเป็นที่ยอมรับของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกว่า เป็นการเผยแผ่เชิงรุกอย่างแท้จริง 2) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานที่ดำเนินตามกฎ ระเบียบ และคำสั่งของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก มีรูปแบบและวิธีการการเผยแผ่ที่หลากหลาย แต่ละรูปแบบก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไป ตามคตินิยม ความเชื่อสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ส่วนเนื้อหาหลักธรรมที่ใช้ในการเผยแผ่นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวซึ่งพระธรรมกถึกสามารถประยุกต์หลักธรรมมาใช้ในการเผยแผ่ได้ด้วยตัวเอง ส่วนเรื่อเทคนิควิธีการเผยแผ่ เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล และการหมั่นพัฒนาความสามรถในการเผยแผ่ของตนเอง และเทคนิควิธีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ฟัง 3) พระธรรมกถึกมีการใช้เนื้อหาหลักธรรมหลายหมวด รวมทั้งข้อคิดคำคมในสถานการณ์ปัจจุบันมาใช้ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับเพศ วัย อาชีพ สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง มีการใช้หลักธรรมร่วมกับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สื่อการสอนประกอบในการเผยแผ่ที่นำมาใช้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้ ความชำนาญของพระธรรมกถึกแต่ละรูป และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟัง ในส่วนของการได้รับประโยชน์และคุณค่านั้นโดยภาพรวม พบว่าผู้ฟังได้รับประโยชน์ทั้งด้านกายภาพ ด้านจิตภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมในระดับที่ดีขึ้น
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและสมัยปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและปัจจุบันเพื่อเข้าถึงเป้าหมาย หลักการและวิธีที่ใช้ประกาศพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ในฐานะธรรมราชา ทรงมีรูปแบบและวิธีการเผยแผ่ที่หลากหลาย และทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของนักเผยแผ่ผู้ยอดเยี่ยม โดยการคำนึงถึงประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนของผู้ฟังเป็นสำคัญ ทำให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยวิธีการเชิงรุก จากการศึกษาทรรศนะและวิธีการประกาศพระศาสนาของพระองค์นั้น พบว่ากระทำโดยคณะสงฆ์เป็นหลัก มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน เป็นผู้นำทัพธรรมพร้อมด้วยการสนับสนุนของเหล่าอุบาสกอุบาสิกา โดยมีองค์ประกอบของแนวทาง คือ เป้าหมาย เพื่อประกาศแบบแผนในการดำรงชีวิตที่ดีงามตามที่พระองค์ทรงค้นพบให้ชาวโลกได้รับรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข และเพื่อสันติภาพของมวลมนุษย์โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน หลักการเผยแผ่แยกเป็นสามส่วน คือ (1) หลักการแห่งพระธรรมวินัยทั้งมวล (2) หลักการเผยแผ่ และ (3) หลักการว่าด้วยคุณธรรมของผู้ทำการเผยแผ่ แม้ในสมัยหลังพุทธกาลถึงปัจจุบันพระธรรมกถึกก็ยังปฏิบัติตามหลักการเป็นนักเผยแผ่หลักธรรมคำสอนแบบเชิงรุกโดยการประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และให้ทันสมัยอยู่ทุกเมื่อจนเป็นที่ยอมรับของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกว่า เป็นการเผยแผ่เชิงรุกอย่างแท้จริง 2) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานที่ดำเนินตามกฎ ระเบียบ และคำสั่งของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก มีรูปแบบและวิธีการการเผยแผ่ที่หลากหลาย แต่ละรูปแบบก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไป ตามคตินิยม ความเชื่อสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ส่วนเนื้อหาหลักธรรมที่ใช้ในการเผยแผ่นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวซึ่งพระธรรมกถึกสามารถประยุกต์หลักธรรมมาใช้ในการเผยแผ่ได้ด้วยตัวเอง ส่วนเรื่อเทคนิควิธีการเผยแผ่ เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล และการหมั่นพัฒนาความสามรถในการเผยแผ่ของตนเอง และเทคนิควิธีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ฟัง 3) พระธรรมกถึกมีการใช้เนื้อหาหลักธรรมหลายหมวด รวมทั้งข้อคิดคำคมในสถานการณ์ปัจจุบันมาใช้ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับเพศ วัย อาชีพ สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง มีการใช้หลักธรรมร่วมกับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สื่อการสอนประกอบในการเผยแผ่ที่นำมาใช้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้ ความชำนาญของพระธรรมกถึกแต่ละรูป และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟัง ในส่วนของการได้รับประโยชน์และคุณค่านั้นโดยภาพรวม พบว่าผู้ฟังได้รับประโยชน์ทั้งด้านกายภาพ ด้านจิตภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมในระดับที่ดีขึ้น
The objectives of this thesis were : 1) to study the propagation of Buddhism in the Buddhist era and the present time 2) to study the propagation Buddhism of the Northeastern Phradhammakatuk Training Center (Preacher Training Center) at Wat Bueng Phra Lan Chai, Phra Aram Luang, Muang Roi Et District, Roi Et Province and 3) to analyze the pattern of Buddhism propagation of the Northeastern Phradhammakatuk Training Center at Wat Bueng Phra Lan Chai, Phra Aram Luang, Muang Roi Et District, Roi Et Province and use the data to analyze the contents. The results of the research found that: 1)The propagation of Buddhism in the Buddhist time and present time to approach the goal. Principles and methods used to preach the Dharma and discipline of Buddha as a Dharma Raja which had various forms and methods of propagation and possessed the qualities of a great missionary by considering to the sustainable benefits of listeners. Let us know that the Buddha preached his religion with an aggressive approach. From the study of his views and methods of preaching on his religion found that acts mainly by the clergy. The Buddha was a president, the leader of the Dharma Army with support with churchman and churchwoman. The elements of the approach were the goal for announcing the pattern of a good living as he discovered as he discovered for human to know and implement for the benefit, happiness, and peace of human, with the ultimate goal was Nirvana. The principle of propagation divided into 3 parts: (1) Principles of all disciplines, (2) principles of propagation and (3) principles of the whole morality of missionaries. Even in the post-Buddhist era until at present, Phradhammakatuk still following the principle of proactive doctrinal missionary principles by applying Buddhist doctrines to keep up with current events and to be up-to-date at all times until it is accepted by proactive Buddhist propaganda by applying Buddhist doctrines to keep up with current events. 2) Propagation of Buddhism at the Northeastern Phradhammakatuk Training Center Wat Bueng Phra Lan Chai, Phra Aram Luang, Muang Roi Et District, Roi Et Province was performed according to the rules, regulations and orders of the Pradhammakatuk Training Center. There were various forms and methods of propagation. It was different from each other based on ideology, beliefs, social environment, economy and politics. In part of the contents of the dharma principles used in propagating, there was no fixed form which the Phradhammakatuk could apply the dharma principles can be used to propagate by their own. In case of techniques of propagation, it was an individual ability and diligently developing the ability to propagate their own and modern techniques for the greatest benefit to the listeners. 3) Phradharmakatuek used the content of dharma principles in many categories. Including of thought and quotes in the current situation to use by considering gender suitability, age, occupation, economic environment, society and politics. The principles of dharma were used in conjunction with creative activities, teaching materials used in propagation differ depending on the knowledge, proficiency of each Phradhammakathuk, and depends on the environment in which the listener is involved. In terms of the benefits and values by are overall, It was found that the listeners benefited both physically, mentally, economically, and socially at a better level.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเลี้ยงดูบุตรธิดาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเลี้ยงดูบุตรธิดาที่มีความต้องการพิเศษของบิดามารดา 3) เพื่อหาแนวทางการเลี้ยงดูบุตรธิดาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท กลุ่มเป้าหมาย คือ บิดามารดาที่เลี้ยงดูบุตรธิดาที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 15 ครอบครัว ที่เลี้ยงดูบุตรธิดาที่เป็นออทิสติก โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1) การเลี้ยงดูบุตรธิดาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า หลักธรรมในพุทธศาสนาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัว เพื่อการเลี้ยงดูบุตรธิดา คือ พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ฆราวาสธรรม 4 เบญจศีล ทิศ 6 และไตรสิกขา 3 2) การเลี้ยงดูบุตรธิดาที่มีความต้องการพิเศษของบิดามารดา พบว่า บิดามารดาปฏิบัติตามแนวทางการเลี้ยงดูเด็กพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โดยเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการที่บกพร่องให้เป็นไปตามหลักพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน คือ ด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคม 3) แนวทางการเลี้ยงดูบุตรธิดาที่มีความต้องการพิเศษตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทพบว่า บิดามารดา ได้นำแนวทางการเลี้ยงดูเด็กพิเศษมาเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ด้วยความตั้งใจ และความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตรธิดา พร้อมศึกษาหาแนวทางในการเลี้ยงดูบุตรธิดาทุกระยะ ซึ่งหลักการปฏิบัติของบิดามารดา ตรงกับหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท ในหลักไตรสิกขา 3 คือ การมี อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเลี้ยงดูบุตรธิดาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเลี้ยงดูบุตรธิดาที่มีความต้องการพิเศษของบิดามารดา 3) เพื่อหาแนวทางการเลี้ยงดูบุตรธิดาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท กลุ่มเป้าหมาย คือ บิดามารดาที่เลี้ยงดูบุตรธิดาที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 15 ครอบครัว ที่เลี้ยงดูบุตรธิดาที่เป็นออทิสติก โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1) การเลี้ยงดูบุตรธิดาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า หลักธรรมในพุทธศาสนาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัว เพื่อการเลี้ยงดูบุตรธิดา คือ พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ฆราวาสธรรม 4 เบญจศีล ทิศ 6 และไตรสิกขา 3 2) การเลี้ยงดูบุตรธิดาที่มีความต้องการพิเศษของบิดามารดา พบว่า บิดามารดาปฏิบัติตามแนวทางการเลี้ยงดูเด็กพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โดยเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการที่บกพร่องให้เป็นไปตามหลักพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน คือ ด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคม 3) แนวทางการเลี้ยงดูบุตรธิดาที่มีความต้องการพิเศษตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทพบว่า บิดามารดา ได้นำแนวทางการเลี้ยงดูเด็กพิเศษมาเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ด้วยความตั้งใจ และความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตรธิดา พร้อมศึกษาหาแนวทางในการเลี้ยงดูบุตรธิดาทุกระยะ ซึ่งหลักการปฏิบัติของบิดามารดา ตรงกับหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท ในหลักไตรสิกขา 3 คือ การมี อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study the raising of children according to Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study the guidelines for raising children with special needs of parents, 3) to find guidelines for raising children according to Theravada Buddhist philosophy. The target group was parents of 15 families raising their children with special needs who were raising their children with autism by purposive selection from Rajanagarindra Institute of Child Development, Mae Rim district, Chiang Mai. The instrument used for data collection was an in-depth interview and data were analyzed by descriptive method. The results of research were found that: 1) In raising children according to Theravada Buddhist philosophy, it was found that Buddhist principles could be applied in families for raising children, namely, 4 Brahmavihārās, 4 Saṅgahavatthus, 4 Gharāvāsadhammas, 5 Sīlas, 6 Disas and 3 Sikkhās. 2) In raising children with special needs of parents, it was found that parents followed the guidelines for raising special children from specialists in treating and promoting the development of special children from Rajanagarindra Institute of Child Development by raising and promoting developmental defects in accordance with the principles of child development in 4 areas; physical, mental, emotional and social. 3) The guidelines for raising children with special needs according to Theravada Buddhist philosophy was found that parents had continually adopted special childcare guidelines as a guideline with intention and discipline, responsibility for raising children. They were ready to study and find guidelines to raise children at every stage and the principles of conduct of parents corresponded to the Buddhist principles in Theravada Buddhist philosophy as 3 Sikkhās, namely, the upholding of Sīlasikkhā, Cittasikkhā and Paññāsikhā.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการทำสมาธิในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค รวมทั้งเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาธิในพุทธศาสนา คือการมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์มี 3 ระดับ คือ ขนิกสมาธิเป็นสมาธิขั้นต้นสำหรับบุคคลทั่วไป อุปจารสมาธิเป็นสมาธิขั้นระงับเป็นการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบจนตั้งมั่นเป็นสมาธิ อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิดำรงอยู่นานสงบนิ่งแน่วแน่เป็นเอกัคคตา และวิปัสสนากรรมฐานเป็นข้อปฏิบัติในการฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งในรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ 2) การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านเน้นการปฏิบัติจริง ไม่เน้นความเข้าใจในหลักปริยัติ เน้นการปฏิบัติที่สมบูรณ์ในไตรสิกขา มีคำบริกรรม “พุทโธ” กำกับในอิริยาบถต่างๆ โดยกำหนดลมหายใจตามหลักอานาปานสติกัมมัฏฐาน และเน้นการปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนา เพื่อช่วยบุคคลทั้งหลายให้มีการดำเนินชีวิตอย่างปกติ 3) หลวงปู่มั่นเน้นเรื่องการพิจารณากายหรือกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน เริ่มจากมูลกัมมัฏฐานหรือกัมมัฏฐาน 5 คือ ผม ขน เล็บ ฟัน และหนัง ใช้อสุภกัมมัฏฐานพิจารณาให้เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลของน่าเกลียด การปฏิบัติดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติเพื่อทำจิตให้บริสุทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา นั่นคือการ ฝึกหัดจิตให้พิจารณากาย เมื่อพิจารณากายเห็นแจ้งประจักษ์ดังนี้ จิตของแต่ละบุคคลก็จะพ้นจากสมมติและอยู่ในวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากความทุกข์)
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการทำสมาธิในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค รวมทั้งเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาธิในพุทธศาสนา คือการมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์มี 3 ระดับ คือ ขนิกสมาธิเป็นสมาธิขั้นต้นสำหรับบุคคลทั่วไป อุปจารสมาธิเป็นสมาธิขั้นระงับเป็นการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบจนตั้งมั่นเป็นสมาธิ อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิดำรงอยู่นานสงบนิ่งแน่วแน่เป็นเอกัคคตา และวิปัสสนากรรมฐานเป็นข้อปฏิบัติในการฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งในรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ 2) การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านเน้นการปฏิบัติจริง ไม่เน้นความเข้าใจในหลักปริยัติ เน้นการปฏิบัติที่สมบูรณ์ในไตรสิกขา มีคำบริกรรม “พุทโธ” กำกับในอิริยาบถต่างๆ โดยกำหนดลมหายใจตามหลักอานาปานสติกัมมัฏฐาน และเน้นการปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนา เพื่อช่วยบุคคลทั้งหลายให้มีการดำเนินชีวิตอย่างปกติ 3) หลวงปู่มั่นเน้นเรื่องการพิจารณากายหรือกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน เริ่มจากมูลกัมมัฏฐานหรือกัมมัฏฐาน 5 คือ ผม ขน เล็บ ฟัน และหนัง ใช้อสุภกัมมัฏฐานพิจารณาให้เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลของน่าเกลียด การปฏิบัติดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติเพื่อทำจิตให้บริสุทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา นั่นคือการ ฝึกหัดจิตให้พิจารณากาย เมื่อพิจารณากายเห็นแจ้งประจักษ์ดังนี้ จิตของแต่ละบุคคลก็จะพ้นจากสมมติและอยู่ในวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากความทุกข์)
The objectives of this thesis were : 1) to study meditation in Buddhism, 2) to study the Buddho meditation of Luang Pu Mun Phuritatto, and 3) to analyze the Buddho meditation of Luang Pu Mun Phuritatto, based on Theravada Buddhist philosophy. This thesis is a documentary research by studying and analyzing data from Buddhist scriptures such as the Tripitaka, Commentary and Pakorn Vises Visuddhimagga including academic papers and related research and then presented with an analytical description. The results of the research found that: 1) Mediation in Buddhism included of 3 levels of emotional confidence namely momentary concentration(Khanikasamadhi)which means to an initial meditation for the general people, proximate concentration (Upacarasamadhi) means to calming mediation that trains the mind to be calm until it developed to concentrated, fixed concentration (Uppanasamadhi) means to a long-standing meditation, calm and firm was one-pointedness of mind, and Vipassana meditation means to the practice of training to develop wisdom to achieve enlightenment in the noun by the three characteristics(Ti-lakkhana). 2) The Buddho meditation of Luang Pu Mun Phuritatto, emphasized practicality, not focus on understanding the rules, emphasis on complete practice in threefold training (Ti-Sikkha), with the blessing of "Buddho" directed in various gestures by setting the breath according to the principle of the Anapanasati Meditation (Three fold training) and emphasized the practice in alms, precepts, and prays to help people to live a normal life. 3) Luang Pu Mun emphasizes on physical considerations, or Kayanupassana mindfulness starting from 5 Mulakammathanas included of hair, fur, nails, teeth, and skin. He uses the undesirable nature for considering to the sewage. This practice is to consistent with the practice of purifying the mind in Buddhism which is how to train the mind to consider the body. Whenever considering the enlightened body, the mind of the individual will be freed from the assumption and in liberation (free from the suffering).
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสังคมอุดมคติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสังคมอุดมคติตามหลักปรัชญาตะวันตก และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสังคมอุดมคติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาตะวันตก การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สังคมอุดมคติในพุทธปรัชญาเถรวาท นั้นเริ่มต้นจากพระพุทธเจ้าต้องการล้มเลิกระบบสังคมเดิมและสร้างระบบสังคมใหม่ขึ้นมาในอินเดียสมัยพุทธการ โดยวิธีการปฏิเสธระบบวรรณะในสังคมอินเดียที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมในสมัยนั้นอย่างชัดเจน โดยมีข้อสังเกตทีเด่นชัด คือ (1) การสร้างพระธรรมวินัยสงฆ์เพื่อเป็นทางเลือกในการปลดปล่อยตัวเองจากวรรณะต่ำทางสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ โดยหลักพระวินัยทั้งหมดจะเน้นความเสมอภาคในทุกด้านของสังคมสงฆ์ และ (2) การชี้นำมนุษย์ให้เข้าถึงสังคมแห่งพระศรีอริยเมตไตยที่มนุษย์อยู่ได้อย่างสงบสุขซึ่งทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวต่างก็เป็นสังคมมนุษย์ที่มีลักษณะการดำเนินชีวิตด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน 2) สังคมอุดมคติตามหลักปรัชญาตะวันตก ปรัชญาการเมืองของเพลโตก่อรูปแนวคิดขึ้นจากสภาพความปั่นป่วนทางการเมืองของเอเธนส์ และสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่อยู่ในสังคมชั้นสูง เพลโตมีทัศนะว่า อุดมรัฐเป็นสังคมอุดมคติที่ดีที่สุดมีจุดหมายทางการเมืองคือความยุติธรรม เพลโตให้ความสำคัญกับระบอบอภิชนาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองที่ใกล้เคียงกับอุตมรัฐมากที่สุดจึงมีความสำคัญกับบุคคลผู้ที่จะมาเป็นผู้นำรัฐ โดยเขาเชื่อว่าลักษณะผู้นำทางการเมืองที่ดีจะต้องเป็นผู้นำที่มีทั้งความรู้และคุณธรรมที่เรียกว่า ราชาปราชญ์ และแนวความคิดจินตนาการเกินความจริง ความเข้มแข็งทางการเมืองอยู่ที่การจัดตั้งองค์กรแบบมีส่วนร่วมอิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อการพัฒนาสังคมการเมืองก็คือการพัฒนาจิตและการพัฒนาการศึกษาที่ดีลักษณะสังคมของเพลโตจึงเป็นสังคมนิยม แต่เป็นสังคมนิยมที่เป็นไปเพื่อการเมือง ศีลธรรม และการศึกษา ส่วนสังคมนิยมทางเศรษฐกิจถูกนำมาใช้กับชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้พิทักษ์ สังคมอุดมคติของเพลโต เป็นสังคมปลายปิด คือมีรูปแบบจำกัดตายตัวและแน่นอนไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้อีก 3) เมื่อนำแนวคิดของพุทธทาสภิกขุและเพลโตมาเปรียบเทียบแล้วเห็นว่ามีประเด็นที่เหมือนกัน คือการปกครองที่ดีให้ถือตัวผู้ปกครองที่สมบูรณ์เป็นหลัก มีจุดมุ่งหมายของประโยชน์ของสังคมเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งสองท่านมีแนวคิดทางการเมืองแบบวิวัฒนาการเน้นที่การพัฒนาจิตใจ และคุณธรรมของผู้ปกครองหรือผู้นำทางการเมือง ซึ่งสังคมการเมืองที่ดีต้องเกิดจากผู้นำที่มีคุณธรรม ทั้งสองท่านปฏิเสธการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยแบบคนหมู่มาก และแตกต่างกันคือ เพลโตนำเสนอปรัชญาการเมืองที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากความเป็นจริง แต่ใช้วิธีการโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อเข้าถึงสังคมอุดมคติ ให้ความสำคัญรูปแบบการปกครองเผด็จการ ที่อำนาจอยู่กับชนชั้นปกครองเพียงกลุ่มเดียว และผู้ปกครองต้องผ่านการศึกษาที่กำหนดเท่านั้น ส่วนพุทธทาสภิกขุไม่ให้ความสำคัญกับระบอบปกครองใดๆ เป็นพิเศษแต่ยอมรับวิธีเผด็จการโดยธรรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่รวดเร็วในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมการเมืองเท่านั้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสังคมอุดมคติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสังคมอุดมคติตามหลักปรัชญาตะวันตก และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสังคมอุดมคติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาตะวันตก การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สังคมอุดมคติในพุทธปรัชญาเถรวาท นั้นเริ่มต้นจากพระพุทธเจ้าต้องการล้มเลิกระบบสังคมเดิมและสร้างระบบสังคมใหม่ขึ้นมาในอินเดียสมัยพุทธการ โดยวิธีการปฏิเสธระบบวรรณะในสังคมอินเดียที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมในสมัยนั้นอย่างชัดเจน โดยมีข้อสังเกตทีเด่นชัด คือ (1) การสร้างพระธรรมวินัยสงฆ์เพื่อเป็นทางเลือกในการปลดปล่อยตัวเองจากวรรณะต่ำทางสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ โดยหลักพระวินัยทั้งหมดจะเน้นความเสมอภาคในทุกด้านของสังคมสงฆ์ และ (2) การชี้นำมนุษย์ให้เข้าถึงสังคมแห่งพระศรีอริยเมตไตยที่มนุษย์อยู่ได้อย่างสงบสุขซึ่งทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวต่างก็เป็นสังคมมนุษย์ที่มีลักษณะการดำเนินชีวิตด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน 2) สังคมอุดมคติตามหลักปรัชญาตะวันตก ปรัชญาการเมืองของเพลโตก่อรูปแนวคิดขึ้นจากสภาพความปั่นป่วนทางการเมืองของเอเธนส์ และสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่อยู่ในสังคมชั้นสูง เพลโตมีทัศนะว่า อุดมรัฐเป็นสังคมอุดมคติที่ดีที่สุดมีจุดหมายทางการเมืองคือความยุติธรรม เพลโตให้ความสำคัญกับระบอบอภิชนาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองที่ใกล้เคียงกับอุตมรัฐมากที่สุดจึงมีความสำคัญกับบุคคลผู้ที่จะมาเป็นผู้นำรัฐ โดยเขาเชื่อว่าลักษณะผู้นำทางการเมืองที่ดีจะต้องเป็นผู้นำที่มีทั้งความรู้และคุณธรรมที่เรียกว่า ราชาปราชญ์ และแนวความคิดจินตนาการเกินความจริง ความเข้มแข็งทางการเมืองอยู่ที่การจัดตั้งองค์กรแบบมีส่วนร่วมอิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อการพัฒนาสังคมการเมืองก็คือการพัฒนาจิตและการพัฒนาการศึกษาที่ดีลักษณะสังคมของเพลโตจึงเป็นสังคมนิยม แต่เป็นสังคมนิยมที่เป็นไปเพื่อการเมือง ศีลธรรม และการศึกษา ส่วนสังคมนิยมทางเศรษฐกิจถูกนำมาใช้กับชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้พิทักษ์ สังคมอุดมคติของเพลโต เป็นสังคมปลายปิด คือมีรูปแบบจำกัดตายตัวและแน่นอนไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้อีก 3) เมื่อนำแนวคิดของพุทธทาสภิกขุและเพลโตมาเปรียบเทียบแล้วเห็นว่ามีประเด็นที่เหมือนกัน คือการปกครองที่ดีให้ถือตัวผู้ปกครองที่สมบูรณ์เป็นหลัก มีจุดมุ่งหมายของประโยชน์ของสังคมเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งสองท่านมีแนวคิดทางการเมืองแบบวิวัฒนาการเน้นที่การพัฒนาจิตใจ และคุณธรรมของผู้ปกครองหรือผู้นำทางการเมือง ซึ่งสังคมการเมืองที่ดีต้องเกิดจากผู้นำที่มีคุณธรรม ทั้งสองท่านปฏิเสธการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยแบบคนหมู่มาก และแตกต่างกันคือ เพลโตนำเสนอปรัชญาการเมืองที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากความเป็นจริง แต่ใช้วิธีการโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อเข้าถึงสังคมอุดมคติ ให้ความสำคัญรูปแบบการปกครองเผด็จการ ที่อำนาจอยู่กับชนชั้นปกครองเพียงกลุ่มเดียว และผู้ปกครองต้องผ่านการศึกษาที่กำหนดเท่านั้น ส่วนพุทธทาสภิกขุไม่ให้ความสำคัญกับระบอบปกครองใดๆ เป็นพิเศษแต่ยอมรับวิธีเผด็จการโดยธรรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่รวดเร็วในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมการเมืองเท่านั้น
ท่านให้ประชาชนเป็นผู้เลือกผู้ปกครองที่มีคุณธรรมด้วยตัวเอง อุตมรัฐเป็นรูปแบบของสังคมนิยมแบบโบราณ ที่เน้นความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนกับสังคม ถือกรรมสิทธิ์ครอบครองแบบสาธารณะ แตกต่างจากธัมมิกสังคมนิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะ ที่ต้องการให้มนุษย์ดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแตกต่างจาก สังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์ที่ให้ความสำคัญกับผลผลิตและเศรษฐกิจ เป็นการปกครองที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง แนวคิดของพุทธทาสภิกขุและเพลโต คือการแก้ไขปัญหาของสังคมแบบพัฒนาการ และระบบจริยธรรมทางสังคม แนวคิดของพุทธทาสและเพลโตมีความเป็นอุดมคติเกินไปโดยที่ไม่ยอมรับระบบประชาธิปไตยแบบคนหมู่มาก ทั้งสองท่านเห็นความบกพร่องของระบบประชาธิปไตย โดยที่พุทธทาสภิกขุเห็นว่า ระบบประชาธิปไตยเป็นระบบที่ส่งเสริมให้แต่ละคนทำตามกิเลสของตนอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการเอาเปรียบและการขัดแย้งกัน เพราะประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็เป็นประเทศทุนนิยมเสรีด้วย โดยที่ผลสำเสร็จและร่ำรวยจะตกอยู่กับคนส่วนน้อย คนส่วนใหญ่จะได้ส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อยเพราะเป็นระบบที่ส่งเสริมให้ปัจเจกบุคคลกระทำตามความต้องการของตนเองอย่างเต็มที่และส่งเสริมทุนในการผลิตก่อให้เกิดการแบ่งชนชั้นขึ้นคือชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ เหมือนทัศนะเพลโตเชื่อว่าคนเราไม่ได้ถูกสร้างมาให้ทัดเทียมกัน การปกครองหรือการเมืองเป็นศิลปะ ซึ่งคนจำนวนน้อยที่มีคุณสมบัติทางด้านความเฉลียวฉลาดเท่านั้นเรียนรู้บุคคลหรือกลุ่มคนที่เรียนรู้และเข้าถึงศาสตร์ แห่งการปกครองเท่านั้นจึงสมควรที่จะเป็นผู้ปกครอง
The objectives of this thesis were : 1) to study the ideal based on the Theravada Buddhist Philosophy 2) to study the ideal society based on the Western Philosophy and 3) to compare the ideal society based on the Theravada Buddhist Philosophy and the Western Philosophy. This research was a qualitative research by studying from documents and research. The results of the research found that : 1) The beginning of Ideal society in Theravada Buddhist Philosophy was the Buddha’s needs to give up the old social system and created a new social system in India in the Buddhist era. By rejection of the caste system in Indian society that created social inequality at that time evidently with prominent observation were (1) the creation of the Dharma-Vinai Sangha for as to be an alternative to liberate themselves from low castes that cannot be denied with all disciplines emphasized equality in all aspects of monastic society, and (2) guiding human to reach the society of Phra Sri Ariyametai, which human still be alive peacefully, both issues were all were human society that having a life style with equality and parallelism. 2) An ideal society based on western philosophy, Plato's political philosophy was conceptualized from the political turmoil of Athens and the family environment in the high society. Plato views that the state was an idealistic society was the best, the political goal of justice. Plato emphasized the aristocratic regime that was the closet to the Republic. It was important to the one who will be the leader. He believed that a good political leader’s characteristics must be a leader with both of knowledge and morality, known as a philosopher, and the concept of imagination was exaggerated. Political strength lied in participatory organization, human influence on the development of socio-political was the development of the mind and the development of good education. Plato’s social character was socialism but it was socialism that was for politics, morality, and education. Economic socialism was applied to the ruling and guardian, a closed society. It was a form that was fixed and cannot be changed. 3) When comparing the concepts of Buddhadasa Bhikkhu and Plato, the same issue was a good governance, to hold the perfect ruler as the basis. The aim of the benefits of society was in the same direction; both of them had evolutionary political ideas, focusing on mental development, and the virtues of political leaders. A good political society must be born from a leader with virtue, Both of them rejected democratic regime, and the difference was, Plato presented a political philosophy that was not base on the truth. But using a rational argument to reach the ideal society. Pat attention to the form of dictatorship which power lies with only one ruling class and parents must pass the required education only. For as the different from the characteristic socialist theory that wanted humans to live dependent on each other and different from Marxist socialism focused on productivity and economy. It was the rule that arose from the conflict. The concept of Buddhadasa Bhikkhu and Plato were to solve problems of developmental society and social ethical systems. The ideas of Buddhadasa Bkikkhu and Plato were too ideological without accepting mass democracy. Both of them known the short comings of the democratic system. Most people got a small share because it was a system that encouraged the individual to act fully to his or her own desires and to promote capital in production, causing the division of classes into the bourgeoisie and the proletariat. Like Plato’s view, we weren’t created equal. Governance or politics was not art. In which only a small group of people with intelligence qualifications learn the individual or group of people who learn and gain access to science of the government only therefore deserved to be a ruler.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กระบวนการพยาบาลด้านการส่งเสริม การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟู ตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยการรักษาสิทธิผู้ป่วย โดยยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ มีการพัฒนาคุณภาพ โดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีการวางแผนร่วมกับทีมสุขภาพ ด้วยความรัก ความสามัคคี มีเมตตา ให้อภัย และมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้ป่วย มีการบันทึกและรายงานการพยาบาลและผดุงครรภ์ อย่างครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพ 2. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด มีการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก ความพอใจ ภาคภูมิใจในวิชาชีพ ด้วยความขยัน ไม่ย่อท้อ เอาใจใส่ มีจิตจดจ่ออยู่กับภารกิจนั้น ๆ ด้วยความมุ่งมั่น ใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์อย่างรอบคอบและแยบยล 3. แนวทางปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด ควรมีความรักความศรัทธา ความภาคภูมิใจในวิชาชีพ มีความขยันในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ ไม่ย่อท้อ มีการทบทวนและตรวจสอบภารกิจอย่างจดจ่อ รอบครอบ ด้วยความมุ่งมั่นอย่างมีสติ โดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองก่อนการปฏิบัติหน้าที่ ขณะปฏิบัติหน้าที่ และหลังปฏิบัติหน้าที่อย่างบูรณาการ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า: 1. การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กระบวนการพยาบาลด้านการส่งเสริม การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟู ตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยการรักษาสิทธิผู้ป่วย โดยยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ มีการพัฒนาคุณภาพ โดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีการวางแผนร่วมกับทีมสุขภาพ ด้วยความรัก ความสามัคคี มีเมตตา ให้อภัย และมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้ป่วย มีการบันทึกและรายงานการพยาบาลและผดุงครรภ์ อย่างครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพ 2. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด มีการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก ความพอใจ ภาคภูมิใจในวิชาชีพ ด้วยความขยัน ไม่ย่อท้อ เอาใจใส่ มีจิตจดจ่ออยู่กับภารกิจนั้น ๆ ด้วยความมุ่งมั่น ใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์อย่างรอบคอบและแยบยล 3. แนวทางปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของพยาบาลห้องผ่าตัด ควรมีความรักความศรัทธา ความภาคภูมิใจในวิชาชีพ มีความขยันในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ ไม่ย่อท้อ มีการทบทวนและตรวจสอบภารกิจอย่างจดจ่อ รอบครอบ ด้วยความมุ่งมั่นอย่างมีสติ โดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองก่อนการปฏิบัติหน้าที่ ขณะปฏิบัติหน้าที่ และหลังปฏิบัติหน้าที่อย่างบูรณาการ
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study performing duties according to professional standards of nurses in operation room of Nakhon Phing hospital, Maerim district, Chiang Mai province, 2) to study performing duties according to 4 iddhipadas of nurses in operation room of Nakhon Phing hospital, Maerim district, Chiang Mai province, and 3) to propose guidelines for performing duties according to 4 iddhipadas of nurses in operation room of Nakhon Phing hospital, Maerim district, Chiang Mai province. It was a qualitative research with the target of 17 nurses in operation room of Nakhon Phing hospital, Chiang Mai province. The data were collected through interview, focus group discussion and participant observation. The analysis and research results were presented in descriptive manner. The results of research were found that: 1.Performing duties according to professional standards of nurses in operation room of Nakhon Phing hospital, Maerim district, Chiang Mai province enclosed performing duties with the process of nursing in the fields of promotion, disease prevention, treatment, and rehabilitation according to professional standards by maintaining patient’s rights by adhering to ethical principles and professional ethics. Nursing and midwifery practice required quality development based on the patient-centered principle and planning with health team with love, unity, compassion, forgiveness and a focus on patient’s benefits. Nursing and midwifery were fully recorded and reported in accordance with professional standards. 2. Performing duties according to 4 iddhipadas of nurses in operation room enclosed performing duties with love, satisfaction, pride in profession, diligence, indomitableness and mental concentration on mission with determination as well as application of wisdom with careful and wise consideration. 3. Guidelines for performing duties according to 4 Iddhipadas of nurses in operating room should include love, faith, pride in profession, diligence in performing duties with responsibility, indomitableness, careful and thoughtful review and examination of the mission with conscious determination as well as application of wisdom to consider and reflect before and after performing duties in integrated manner.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการความรู้ ด้านภาวะผู้นำร่วมการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชนการปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน ด้านการแบ่งปันบทเรียนส่วนบุคคล ด้านการจัดการสภาพเอื้ออำนวย ด้านการเปิดรับการชี้แนะในการปฏิบัติงาน ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านชุมชนกัลยาณมิตรและด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ตามลำดับ 2. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านพื้นฐานการเรียนรู้สาระวิชาหลัก (3R) ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ด้านความรู้เชิงบูรณาการสำหรับศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ด้านคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 และด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ตามลำดับ 3 การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน (X10) ด้านการจัดการความรู้ (X8) ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ (X2) ด้านการแบ่งปันบทเรียนส่วนบุคคล (X7) และด้านวิสัยทัศน์ร่วม (X1) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.842 ประสิทธิภาพในการทำนายเท่ากับ 0.709 โดยภาพรวม (Ytot) ได้ร้อยละ 71 ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้ว (Adjusted R Square) เท่ากับ .704 โดยภาพรวม (Ytot) ที่มีการปรับแล้ว ได้ร้อยละ 70 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ .1743 สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Ytot) = -1.859 + 0.728 (X10) + 0.408 (X8) + 0.239 (X2) + 0.480 (X7) + -0.432 (X1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตราฐาน (Zy) (Zy) = 0.602 (X10) + 0.225 (X8) + 0.239 (X2) + 0.457 (X7) + -0.422 (X1)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการความรู้ ด้านภาวะผู้นำร่วมการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชนการปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน ด้านการแบ่งปันบทเรียนส่วนบุคคล ด้านการจัดการสภาพเอื้ออำนวย ด้านการเปิดรับการชี้แนะในการปฏิบัติงาน ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านชุมชนกัลยาณมิตรและด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ตามลำดับ 2. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านพื้นฐานการเรียนรู้สาระวิชาหลัก (3R) ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ด้านความรู้เชิงบูรณาการสำหรับศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ด้านคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 และด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ตามลำดับ 3 การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน (X10) ด้านการจัดการความรู้ (X8) ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ (X2) ด้านการแบ่งปันบทเรียนส่วนบุคคล (X7) และด้านวิสัยทัศน์ร่วม (X1) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.842 ประสิทธิภาพในการทำนายเท่ากับ 0.709 โดยภาพรวม (Ytot) ได้ร้อยละ 71 ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้ว (Adjusted R Square) เท่ากับ .704 โดยภาพรวม (Ytot) ที่มีการปรับแล้ว ได้ร้อยละ 70 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ .1743 สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Ytot) = -1.859 + 0.728 (X10) + 0.408 (X8) + 0.239 (X2) + 0.480 (X7) + -0.432 (X1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตราฐาน (Zy) (Zy) = 0.602 (X10) + 0.225 (X8) + 0.239 (X2) + 0.457 (X7) + -0.422 (X1)
The objectives of this research were 1) to study the management of professional learning communities of administrators of educational institutions under the Bangkok Secondary Education Service Area Office 1 2) to study the development of learning management in the 21st century of educational institutions. Study under the Bangkok Secondary Education Service Area Office, Region 1 3) to study the management of professional learning communities of administrators affecting the development of learning management in the 21st century of educational institutions under the Bangkok Secondary Education Service Area Office 1, the sample groups were administrators and teachers of educational institutes under the Bangkok Secondary Education Service Area Office 1, 67 schools the tools used in this research were research questionnaires. Data analysis uses software packages. The statistics used to analyze the data are: Percentage, Frequency, Mean, Standard Deviation The correlation coefficient and multiple regression analysis were used. by using a stepwise regression analysis method. The results showed that 1. Community Management of professional learning Under the Bangkok secondary education eervice area office 1 the overall level was at the highest level. When considering each aspect by sorting the arithmetic mean value from highest to lowest as follows knowledge management Leadership in learning and professional development on the structural aspect it supports a community of practices that share a common goal for student learning. supporting conditions personal lesson sharing management of favorable conditions openness for guidance in operation shared vision for the community of friends and for the team together, respectively. 2. The development of learning management in the 21st century under the Bangkok Secondary Education Service Area Office 1 as a whole is at the highest level when considering each side by sorting the arithmetic mean from highest to lowest as follows Fundamentals of learning the main subject (3R) information, media and technology skills integrated knowledge for the 21st century life and career skills. 21st century attributes and learning skills and innovations, respectively. 3. The management of professional learning communities of administrators had a statistically significant effect on the development of learning management in the 21st century of educational establishments under the Bangkok secondary education service area office 1 at the . 01 ranked in order of importance, they are having support conditions (X10) knowledge management (X8) teamwork (X2) individual lesson sharing (X7) and shared vision (X1) respectively. statistically significant at the .01 level. The multiple correlation coefficient was 0.842. The predictive efficiency was 0.709. Overall (Ytot) was 71%. The adjusted prediction efficiency (Adjusted R Square) was .704. Overall (Ytot) adjusted 70%, the standard error for prediction was .1743. It can be written as a regression analysis equation as follows. Forecast equations in raw score form (Ytot) = -1.859 + 0.728 (X10) + 0.408 (X8) + 0.239 (X2) + 0.480 (X7) + -0.432 (X1) Forecast equation in standard score form (Zy) (Zy) = 0.602 (X10) + 0.225 (X8) + 0.239 (X2) + 0.457 (X7) + -0.422 (X1)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อศึกษาประโยชน์ของการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง (เป้าหมาย) จำนวน 73 คน โดยการเลือกเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ที่แต่งงานไม่เกิน 2 ปี 8 คู่ ผู้ที่แต่งงานมากกว่า 10 ปี 24 คู่ และผู้ที่หย่าร้าง 8 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า: 1. ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากได้ครองเรือนตามหลักฆราวาสธรรม แต่มีบางส่วนในกลุ่มเป้าหมายผู้ที่หย่าร้างไม่ได้นำหลักฆราวาสธรรม 4 ไปประยุกต์ใช้ในการครองเรือน หรือบางคนนำเอาหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่งไปประยุกต์ใช้ในการครองเรือน 2. ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากส่วนมากได้ประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือน และได้ผลประโยชน์ต่อการครองเรือนอย่างชัดเจน และนำเอาผลประโยชน์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีแก่บุตรหลาน 3. ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการครองเรือนตามประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออย่างเจาะจงซึ่ง ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับหลักฆราวาสธรรม และสามารถเอาไปเป็นแบบเรือน (อย่าง) ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อที่จะทำให้ชีวิตการครองเรือนเกิดพัฒนาดี และสามารถเป็นแบบดีแก่คนข้าง ๆ เพื่อความสงบสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อศึกษาประโยชน์ของการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง (เป้าหมาย) จำนวน 73 คน โดยการเลือกเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ที่แต่งงานไม่เกิน 2 ปี 8 คู่ ผู้ที่แต่งงานมากกว่า 10 ปี 24 คู่ และผู้ที่หย่าร้าง 8 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า: 1. ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากได้ครองเรือนตามหลักฆราวาสธรรม แต่มีบางส่วนในกลุ่มเป้าหมายผู้ที่หย่าร้างไม่ได้นำหลักฆราวาสธรรม 4 ไปประยุกต์ใช้ในการครองเรือน หรือบางคนนำเอาหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่งไปประยุกต์ใช้ในการครองเรือน 2. ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากส่วนมากได้ประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือน และได้ผลประโยชน์ต่อการครองเรือนอย่างชัดเจน และนำเอาผลประโยชน์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีแก่บุตรหลาน 3. ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการครองเรือนตามประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออย่างเจาะจงซึ่ง ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับหลักฆราวาสธรรม และสามารถเอาไปเป็นแบบเรือน (อย่าง) ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อที่จะทำให้ชีวิตการครองเรือนเกิดพัฒนาดี และสามารถเป็นแบบดีแก่คนข้าง ๆ เพื่อความสงบสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคม
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study the application of Gharãvãsadhamma in household life of Tai Lue people in Xishuangbanna Autonomous Region, People's Republic of China, 2) to study the benefits of applying Gharãvãsadhamma in household life of Tai Lue people in Xishuangbanna Autonomous Region, The People's Republic of China 3) to study recommendations for applying Gharãvãsadhamma in household life of Tai Lue people in Xishuangbanna Autonomous Region, People's Republic of China. It was a qualitative research by studying relevant documents and purposive in-depth interviews. A target group of 73 people that was selected by purposive sampling consisted of 8 couples who were married for less than 2 years, 24 couples who were married for more than 10 years, and 8 couples who were divorced. Research tools included relevant papers and researches as well as purposive in-depth interview. The results of research were found that: 1. Most of Tai Lue people in Jiang Ha village held their household life according to Gharãvãsadhamma. But, there were some in the target group of divorced people who did not apply 4 principles of Gharãvãsadhamma in their household life, or some people applied one principle in their household life. 2. Most of Tai Lue people in Jiang Ha village applied Gharãvãsadhamma in their household life and they clearly got benefits in their household life. They took benefits from the application in life to become a good example for their children. 3. Most of Tai Lue people in Jiang Ha Village gave their opinions and suggestions on how to have household life on the basis of their specific experiences. The suggestions were consistent with the principles of Gharãvãsadhamma and could be taken as a model in everyday life in order to make better develop the household life. They could be a good model for the people for peace of co-existence in society.
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ