Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสังคมอุดมคติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสังคมอุดมคติตามหลักปรัชญาตะวันตก และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสังคมอุดมคติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาตะวันตก การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สังคมอุดมคติในพุทธปรัชญาเถรวาท นั้นเริ่มต้นจากพระพุทธเจ้าต้องการล้มเลิกระบบสังคมเดิมและสร้างระบบสังคมใหม่ขึ้นมาในอินเดียสมัยพุทธการ โดยวิธีการปฏิเสธระบบวรรณะในสังคมอินเดียที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมในสมัยนั้นอย่างชัดเจน โดยมีข้อสังเกตทีเด่นชัด คือ (1) การสร้างพระธรรมวินัยสงฆ์เพื่อเป็นทางเลือกในการปลดปล่อยตัวเองจากวรรณะต่ำทางสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ โดยหลักพระวินัยทั้งหมดจะเน้นความเสมอภาคในทุกด้านของสังคมสงฆ์ และ (2) การชี้นำมนุษย์ให้เข้าถึงสังคมแห่งพระศรีอริยเมตไตยที่มนุษย์อยู่ได้อย่างสงบสุขซึ่งทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวต่างก็เป็นสังคมมนุษย์ที่มีลักษณะการดำเนินชีวิตด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน 2) สังคมอุดมคติตามหลักปรัชญาตะวันตก ปรัชญาการเมืองของเพลโตก่อรูปแนวคิดขึ้นจากสภาพความปั่นป่วนทางการเมืองของเอเธนส์ และสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่อยู่ในสังคมชั้นสูง เพลโตมีทัศนะว่า อุดมรัฐเป็นสังคมอุดมคติที่ดีที่สุดมีจุดหมายทางการเมืองคือความยุติธรรม เพลโตให้ความสำคัญกับระบอบอภิชนาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองที่ใกล้เคียงกับอุตมรัฐมากที่สุดจึงมีความสำคัญกับบุคคลผู้ที่จะมาเป็นผู้นำรัฐ โดยเขาเชื่อว่าลักษณะผู้นำทางการเมืองที่ดีจะต้องเป็นผู้นำที่มีทั้งความรู้และคุณธรรมที่เรียกว่า ราชาปราชญ์ และแนวความคิดจินตนาการเกินความจริง ความเข้มแข็งทางการเมืองอยู่ที่การจัดตั้งองค์กรแบบมีส่วนร่วมอิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อการพัฒนาสังคมการเมืองก็คือการพัฒนาจิตและการพัฒนาการศึกษาที่ดีลักษณะสังคมของเพลโตจึงเป็นสังคมนิยม แต่เป็นสังคมนิยมที่เป็นไปเพื่อการเมือง ศีลธรรม และการศึกษา ส่วนสังคมนิยมทางเศรษฐกิจถูกนำมาใช้กับชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้พิทักษ์ สังคมอุดมคติของเพลโต เป็นสังคมปลายปิด คือมีรูปแบบจำกัดตายตัวและแน่นอนไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้อีก 3) เมื่อนำแนวคิดของพุทธทาสภิกขุและเพลโตมาเปรียบเทียบแล้วเห็นว่ามีประเด็นที่เหมือนกัน คือการปกครองที่ดีให้ถือตัวผู้ปกครองที่สมบูรณ์เป็นหลัก มีจุดมุ่งหมายของประโยชน์ของสังคมเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งสองท่านมีแนวคิดทางการเมืองแบบวิวัฒนาการเน้นที่การพัฒนาจิตใจ และคุณธรรมของผู้ปกครองหรือผู้นำทางการเมือง ซึ่งสังคมการเมืองที่ดีต้องเกิดจากผู้นำที่มีคุณธรรม ทั้งสองท่านปฏิเสธการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยแบบคนหมู่มาก และแตกต่างกันคือ เพลโตนำเสนอปรัชญาการเมืองที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากความเป็นจริง แต่ใช้วิธีการโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อเข้าถึงสังคมอุดมคติ ให้ความสำคัญรูปแบบการปกครองเผด็จการ ที่อำนาจอยู่กับชนชั้นปกครองเพียงกลุ่มเดียว และผู้ปกครองต้องผ่านการศึกษาที่กำหนดเท่านั้น ส่วนพุทธทาสภิกขุไม่ให้ความสำคัญกับระบอบปกครองใดๆ เป็นพิเศษแต่ยอมรับวิธีเผด็จการโดยธรรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่รวดเร็วในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมการเมืองเท่านั้น
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสังคมอุดมคติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสังคมอุดมคติตามหลักปรัชญาตะวันตก และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสังคมอุดมคติตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาตะวันตก การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สังคมอุดมคติในพุทธปรัชญาเถรวาท นั้นเริ่มต้นจากพระพุทธเจ้าต้องการล้มเลิกระบบสังคมเดิมและสร้างระบบสังคมใหม่ขึ้นมาในอินเดียสมัยพุทธการ โดยวิธีการปฏิเสธระบบวรรณะในสังคมอินเดียที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมในสมัยนั้นอย่างชัดเจน โดยมีข้อสังเกตทีเด่นชัด คือ (1) การสร้างพระธรรมวินัยสงฆ์เพื่อเป็นทางเลือกในการปลดปล่อยตัวเองจากวรรณะต่ำทางสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ โดยหลักพระวินัยทั้งหมดจะเน้นความเสมอภาคในทุกด้านของสังคมสงฆ์ และ (2) การชี้นำมนุษย์ให้เข้าถึงสังคมแห่งพระศรีอริยเมตไตยที่มนุษย์อยู่ได้อย่างสงบสุขซึ่งทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวต่างก็เป็นสังคมมนุษย์ที่มีลักษณะการดำเนินชีวิตด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน 2) สังคมอุดมคติตามหลักปรัชญาตะวันตก ปรัชญาการเมืองของเพลโตก่อรูปแนวคิดขึ้นจากสภาพความปั่นป่วนทางการเมืองของเอเธนส์ และสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่อยู่ในสังคมชั้นสูง เพลโตมีทัศนะว่า อุดมรัฐเป็นสังคมอุดมคติที่ดีที่สุดมีจุดหมายทางการเมืองคือความยุติธรรม เพลโตให้ความสำคัญกับระบอบอภิชนาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองที่ใกล้เคียงกับอุตมรัฐมากที่สุดจึงมีความสำคัญกับบุคคลผู้ที่จะมาเป็นผู้นำรัฐ โดยเขาเชื่อว่าลักษณะผู้นำทางการเมืองที่ดีจะต้องเป็นผู้นำที่มีทั้งความรู้และคุณธรรมที่เรียกว่า ราชาปราชญ์ และแนวความคิดจินตนาการเกินความจริง ความเข้มแข็งทางการเมืองอยู่ที่การจัดตั้งองค์กรแบบมีส่วนร่วมอิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อการพัฒนาสังคมการเมืองก็คือการพัฒนาจิตและการพัฒนาการศึกษาที่ดีลักษณะสังคมของเพลโตจึงเป็นสังคมนิยม แต่เป็นสังคมนิยมที่เป็นไปเพื่อการเมือง ศีลธรรม และการศึกษา ส่วนสังคมนิยมทางเศรษฐกิจถูกนำมาใช้กับชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้พิทักษ์ สังคมอุดมคติของเพลโต เป็นสังคมปลายปิด คือมีรูปแบบจำกัดตายตัวและแน่นอนไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้อีก 3) เมื่อนำแนวคิดของพุทธทาสภิกขุและเพลโตมาเปรียบเทียบแล้วเห็นว่ามีประเด็นที่เหมือนกัน คือการปกครองที่ดีให้ถือตัวผู้ปกครองที่สมบูรณ์เป็นหลัก มีจุดมุ่งหมายของประโยชน์ของสังคมเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งสองท่านมีแนวคิดทางการเมืองแบบวิวัฒนาการเน้นที่การพัฒนาจิตใจ และคุณธรรมของผู้ปกครองหรือผู้นำทางการเมือง ซึ่งสังคมการเมืองที่ดีต้องเกิดจากผู้นำที่มีคุณธรรม ทั้งสองท่านปฏิเสธการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยแบบคนหมู่มาก และแตกต่างกันคือ เพลโตนำเสนอปรัชญาการเมืองที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากความเป็นจริง แต่ใช้วิธีการโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อเข้าถึงสังคมอุดมคติ ให้ความสำคัญรูปแบบการปกครองเผด็จการ ที่อำนาจอยู่กับชนชั้นปกครองเพียงกลุ่มเดียว และผู้ปกครองต้องผ่านการศึกษาที่กำหนดเท่านั้น ส่วนพุทธทาสภิกขุไม่ให้ความสำคัญกับระบอบปกครองใดๆ เป็นพิเศษแต่ยอมรับวิธีเผด็จการโดยธรรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่รวดเร็วในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมการเมืองเท่านั้น
ท่านให้ประชาชนเป็นผู้เลือกผู้ปกครองที่มีคุณธรรมด้วยตัวเอง อุตมรัฐเป็นรูปแบบของสังคมนิยมแบบโบราณ ที่เน้นความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนกับสังคม ถือกรรมสิทธิ์ครอบครองแบบสาธารณะ แตกต่างจากธัมมิกสังคมนิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะ ที่ต้องการให้มนุษย์ดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแตกต่างจาก สังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์ที่ให้ความสำคัญกับผลผลิตและเศรษฐกิจ เป็นการปกครองที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง แนวคิดของพุทธทาสภิกขุและเพลโต คือการแก้ไขปัญหาของสังคมแบบพัฒนาการ และระบบจริยธรรมทางสังคม แนวคิดของพุทธทาสและเพลโตมีความเป็นอุดมคติเกินไปโดยที่ไม่ยอมรับระบบประชาธิปไตยแบบคนหมู่มาก ทั้งสองท่านเห็นความบกพร่องของระบบประชาธิปไตย โดยที่พุทธทาสภิกขุเห็นว่า ระบบประชาธิปไตยเป็นระบบที่ส่งเสริมให้แต่ละคนทำตามกิเลสของตนอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการเอาเปรียบและการขัดแย้งกัน เพราะประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็เป็นประเทศทุนนิยมเสรีด้วย โดยที่ผลสำเสร็จและร่ำรวยจะตกอยู่กับคนส่วนน้อย คนส่วนใหญ่จะได้ส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อยเพราะเป็นระบบที่ส่งเสริมให้ปัจเจกบุคคลกระทำตามความต้องการของตนเองอย่างเต็มที่และส่งเสริมทุนในการผลิตก่อให้เกิดการแบ่งชนชั้นขึ้นคือชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ เหมือนทัศนะเพลโตเชื่อว่าคนเราไม่ได้ถูกสร้างมาให้ทัดเทียมกัน การปกครองหรือการเมืองเป็นศิลปะ ซึ่งคนจำนวนน้อยที่มีคุณสมบัติทางด้านความเฉลียวฉลาดเท่านั้นเรียนรู้บุคคลหรือกลุ่มคนที่เรียนรู้และเข้าถึงศาสตร์ แห่งการปกครองเท่านั้นจึงสมควรที่จะเป็นผู้ปกครอง
The objectives of this thesis were : 1) to study the ideal based on the Theravada Buddhist Philosophy 2) to study the ideal society based on the Western Philosophy and 3) to compare the ideal society based on the Theravada Buddhist Philosophy and the Western Philosophy. This research was a qualitative research by studying from documents and research. The results of the research found that : 1) The beginning of Ideal society in Theravada Buddhist Philosophy was the Buddha’s needs to give up the old social system and created a new social system in India in the Buddhist era. By rejection of the caste system in Indian society that created social inequality at that time evidently with prominent observation were (1) the creation of the Dharma-Vinai Sangha for as to be an alternative to liberate themselves from low castes that cannot be denied with all disciplines emphasized equality in all aspects of monastic society, and (2) guiding human to reach the society of Phra Sri Ariyametai, which human still be alive peacefully, both issues were all were human society that having a life style with equality and parallelism. 2) An ideal society based on western philosophy, Plato's political philosophy was conceptualized from the political turmoil of Athens and the family environment in the high society. Plato views that the state was an idealistic society was the best, the political goal of justice. Plato emphasized the aristocratic regime that was the closet to the Republic. It was important to the one who will be the leader. He believed that a good political leader’s characteristics must be a leader with both of knowledge and morality, known as a philosopher, and the concept of imagination was exaggerated. Political strength lied in participatory organization, human influence on the development of socio-political was the development of the mind and the development of good education. Plato’s social character was socialism but it was socialism that was for politics, morality, and education. Economic socialism was applied to the ruling and guardian, a closed society. It was a form that was fixed and cannot be changed. 3) When comparing the concepts of Buddhadasa Bhikkhu and Plato, the same issue was a good governance, to hold the perfect ruler as the basis. The aim of the benefits of society was in the same direction; both of them had evolutionary political ideas, focusing on mental development, and the virtues of political leaders. A good political society must be born from a leader with virtue, Both of them rejected democratic regime, and the difference was, Plato presented a political philosophy that was not base on the truth. But using a rational argument to reach the ideal society. Pat attention to the form of dictatorship which power lies with only one ruling class and parents must pass the required education only. For as the different from the characteristic socialist theory that wanted humans to live dependent on each other and different from Marxist socialism focused on productivity and economy. It was the rule that arose from the conflict. The concept of Buddhadasa Bhikkhu and Plato were to solve problems of developmental society and social ethical systems. The ideas of Buddhadasa Bkikkhu and Plato were too ideological without accepting mass democracy. Both of them known the short comings of the democratic system. Most people got a small share because it was a system that encouraged the individual to act fully to his or her own desires and to promote capital in production, causing the division of classes into the bourgeoisie and the proletariat. Like Plato’s view, we weren’t created equal. Governance or politics was not art. In which only a small group of people with intelligence qualifications learn the individual or group of people who learn and gain access to science of the government only therefore deserved to be a ruler.