Search results

4 results in 0.04s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาประวัติและภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) และศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่างๆ ทั้งในภาพจิตรกรรม รูป สิ่งพิมพ์ เสียงบันทึก ในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า : พุทธจริยศาสตร์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เป็นหลักการ วิธีคิด และวิถีการปฏิบัติ เพื่อพัฒนามนุษย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติทางพุทธศาสนาเถรวาท โดยการปฏิบัติตามศีล 5 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับต้น การปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ 10 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับกลาง และการปฏิบัติตามมรรค 8 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับสูง ก่อให้เกิดความพฤติกรรมที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือนิพพาน ประวัติและภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ภาพจิตรกรรมแบบเล่าเรื่อง สุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างสรรค์ โดย เจ๊กเส็ง ช่างฝีมือชาวจีน โดยใช้เทคนิคการลงสีฝุ่น ภาพจิตรกรรมนี้ได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากตะวันตก ประยุกต์เข้ากับรูปแบบงานจิตรกรรมไทย และล้านนา จิตรกรได้หยิบยกวรรณกรรมที่นิยมของคนในสังคมยุคนั้น จึงเห็นได้ถึงอิทธิพลทางการเมือง การรับวัฒนธรรมต่างถิ่น การเลื่อนไหลของวัฒนธรรม วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า จิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดกปรากฏพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับ วิถีอัตลักษณ์ล้านนาในเนื้องานสามารถสะท้อนวิถีชีวิตผู้คนในอดีต ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมทางมโนธรรมสำนึก และแนวทางการปฏิบัติตามพุทธจริยศาสตร์ คุณค่า โทษของการละเมิดพุทธจริยศาสตร์ สร้างสำนึกทางจริยธรรม มีการพัฒนาชีวิตตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ก่อให้เกิดผลเชิงจริยธรรม และดึงดูดความสนใจธรรมะให้ควบคู่ไปกับงานศิลปะได้
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาประวัติและภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) และศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่างๆ ทั้งในภาพจิตรกรรม รูป สิ่งพิมพ์ เสียงบันทึก ในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า : พุทธจริยศาสตร์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เป็นหลักการ วิธีคิด และวิถีการปฏิบัติ เพื่อพัฒนามนุษย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติทางพุทธศาสนาเถรวาท โดยการปฏิบัติตามศีล 5 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับต้น การปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ 10 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับกลาง และการปฏิบัติตามมรรค 8 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับสูง ก่อให้เกิดความพฤติกรรมที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือนิพพาน ประวัติและภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ภาพจิตรกรรมแบบเล่าเรื่อง สุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างสรรค์ โดย เจ๊กเส็ง ช่างฝีมือชาวจีน โดยใช้เทคนิคการลงสีฝุ่น ภาพจิตรกรรมนี้ได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากตะวันตก ประยุกต์เข้ากับรูปแบบงานจิตรกรรมไทย และล้านนา จิตรกรได้หยิบยกวรรณกรรมที่นิยมของคนในสังคมยุคนั้น จึงเห็นได้ถึงอิทธิพลทางการเมือง การรับวัฒนธรรมต่างถิ่น การเลื่อนไหลของวัฒนธรรม วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า จิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดกปรากฏพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับ วิถีอัตลักษณ์ล้านนาในเนื้องานสามารถสะท้อนวิถีชีวิตผู้คนในอดีต ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมทางมโนธรรมสำนึก และแนวทางการปฏิบัติตามพุทธจริยศาสตร์ คุณค่า โทษของการละเมิดพุทธจริยศาสตร์ สร้างสำนึกทางจริยธรรม มีการพัฒนาชีวิตตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ก่อให้เกิดผลเชิงจริยธรรม และดึงดูดความสนใจธรรมะให้ควบคู่ไปกับงานศิลปะได้
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study Buddhist ethics In Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study history and background in the murals on Suwannasangkhajataka of Wat Phrasingh Waramahavihan, Chiang Mai province, and 3) to analyze Buddhist ethics and value in the murals on Suwannasangkhajataka of Wat Phrasingh Waramahavihan, Chiang Mai province. It was a qualitative research or documentary research implying in-depth interview and study from various documents including paintings, photographs, publications and sound recording in collecting data. The results of research were found that : Buddhist Ethics in Theravada Buddhism was found that it was a principle, a way of thinking and a way of practice to develop human beings into perfect humanity according to the ideals of Theravada Buddhism. The practice of 5 precepts led to achieve primary ethics, the practice of tenfold wholesome courses of action led to achieve intermediate ethics and the practice of Noble Eightfold Path led to achieving high ethics. These practices caused good behaviors for living together in a peaceful society with the ultimate aim as Nibbāna. History and background of Suwannasangkhajataka in Wat Phrasingh Waramahavihan, Chiang Mai province were found that story-telling paintings of Suwannana Sangkhachatok, Wat Phra Singh Woramahawihan, assumed that it was created by Jek Seng, a Chinese craftsman by using powder painting techniques. This painting had been influenced by western art by applying the styles of Thai and Lanna paintings. The painter brought up the popular literature of the people in that society. Therefore, the political influence, the acceptance of foreign cultures and the flow of culture could be seen here. Analysis of ethics and value in the murals Suwannasangkhajataka of Wat Phrasingh Waramahavihan, Chiang Mai province was found that Suwannasangkhajataka the Buddhist ethics appeared in the murals at all 3 levels. Lanna’s identity in the work could reflect the way of life of people in the past that caused a feeling of conscience and guidelines for the practice of Buddhist ethics, values and the penalty for violation of Buddhist ethics. It built ethical awareness with the development of life according to the Buddhist ethics creating ethical results and attracting the attention in Dhamma along with art work.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายและแนวคิดของบัณฑิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของบัณฑิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า: 1. บัณฑิตมีความหมายและแนวคิด คือ ผู้ทรงความรู้ นักปราชญ์ หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญามี 3 ขั้น คือ บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ส่วนบัณฑิตในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ผู้เป็นนักปราชญ์ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาคติในประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายภาคหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง แนวคิดของบัณฑิตในพุทธปรัชญาจะมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ เป็นผู้ประกอบด้วยกายสุจริต วาจาสุจริต และมโนสุจริต 2. คุณลักษณะของบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ไม่แนะนำสิ่งที่ไม่ดี แนะสิ่งที่ดี กล่าวตักเตือนไม่โกรธ รู้ระเบียบวินัย และคุณสมบัติ คือ ผู้ดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 กุศลกรรมบถ 10 หลักอริยบุคคล 8 และหน้าที่ของความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ประกอบด้วยหน้าที่ของบัณฑิตระดับตน ครอบครัว สังคม ชาติ และระดับโลก 3. วิเคราะห์มโนทัศน์ความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ความคนที่ฉลาด มีสติปัญญา ฉลาดในเหตุและผล ชุมชน ฉลาดในการแก้ปัญหา และชี้แนะแนวทางนั้นๆ เป็นอย่างดี เป็นผู้รู้ดี รู้ถูก รู้ชอบ เป็นผู้มีปกติคิดเรื่องที่ดีมีสาระ พูดเรื่องที่ดีมีสาระ ทำเรื่องที่ดีมีสาระ ผู้ประกอบด้วยญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา พร้อมกับเป็นผู้สามารถพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนจนถึงความเป็นพระอริยบุคคล กล่าวคือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายและแนวคิดของบัณฑิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของบัณฑิตตามพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า: 1. บัณฑิตมีความหมายและแนวคิด คือ ผู้ทรงความรู้ นักปราชญ์ หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญามี 3 ขั้น คือ บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ส่วนบัณฑิตในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ผู้เป็นนักปราชญ์ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาคติในประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายภาคหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง แนวคิดของบัณฑิตในพุทธปรัชญาจะมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ เป็นผู้ประกอบด้วยกายสุจริต วาจาสุจริต และมโนสุจริต 2. คุณลักษณะของบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ไม่แนะนำสิ่งที่ไม่ดี แนะสิ่งที่ดี กล่าวตักเตือนไม่โกรธ รู้ระเบียบวินัย และคุณสมบัติ คือ ผู้ดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 กุศลกรรมบถ 10 หลักอริยบุคคล 8 และหน้าที่ของความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ประกอบด้วยหน้าที่ของบัณฑิตระดับตน ครอบครัว สังคม ชาติ และระดับโลก 3. วิเคราะห์มโนทัศน์ความเป็นบัณฑิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ความคนที่ฉลาด มีสติปัญญา ฉลาดในเหตุและผล ชุมชน ฉลาดในการแก้ปัญหา และชี้แนะแนวทางนั้นๆ เป็นอย่างดี เป็นผู้รู้ดี รู้ถูก รู้ชอบ เป็นผู้มีปกติคิดเรื่องที่ดีมีสาระ พูดเรื่องที่ดีมีสาระ ทำเรื่องที่ดีมีสาระ ผู้ประกอบด้วยญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา พร้อมกับเป็นผู้สามารถพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนจนถึงความเป็นพระอริยบุคคล กล่าวคือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
The objectives of this thesis are as follows 1) to study the meaning and concept of being the Wise according to Theravada Buddhist philosophy, 2) to study the characteristics and qualifications of being the Wise according to Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze concept of being the Wise according to Theravada Buddhist philosophy. It is a qualitative research which focuses on documents analysis. The results of research were found that: 1. The meaning and concept of being the Wise are to be an expert, scholar, or those who graduated with any of these three graduate degrees: Bachelor’s degree, Master’s degree, and Doctorate degree, but being the Wise according to Theravada Buddhist philosophy means the Wise follow their lives with temporal welfare, spiritual welfare, and the final goal, i.e. Nibbana. A principle of being the Wise according to Buddhist philosophy has its own significance which is persons having good conduct in action (Kaya-sucarita), good conduct in word (Vaci-sucrita), and good conduct in thought (Mano-sucarita). 2. The characteristics of being the Wise according to Theravada Buddhist philosophy are not to advice the bad issues, to advice the good issues, not to get angry when others warn you, and to follow the discipline well. The qualifications of being the Wise according to Theravada Buddhist philosophy mean those who follow the five percepts (Sila), ten wholesome courses of action (Kusala-kammapatha), eight principles of being the Noble one (Ariya-puggala), and duty of being the Wise according to Theravada Buddhist philosophy comprises their responsibilities at the individual, family, social, national, and world level. 3. An analyze concept of being the Wise according to Theravada Buddhist philosophy is those who know the law, cause and effect, themselves, moderation, time and society. The Wise always have kind thoughts, kind words, and kind actions; consist of diagnosis as knowledge (Nata-parinna), diagnosis as judgment (Trana-parinna), and diagnosis as abandoning (Pahana-parinna); and develop themselves from the normal one to the noble one as a stream-enterer (Sotapanna), an Once-returner (Sakadagami), a non-returner (Anagami), and the worthy One (Arahanta).
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ 2. เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อเปรียบเทียบจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1.อิมมานูเอล คานท์ เสนอความคิดทางจริยศาสตร์ในเรื่องเกณฑ์ตัดสินความดี หลักสำคัญคือ การใช้เจตนาเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทำมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล ความดี เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องสอน เพียงแต่เขาใช้ปัญญาเขาจะเป็นคนดีได้ เจตนาของผู้กระทำ จริยศาสตร์ของคานท์มีลักษณะเป็นแบบแผนนิยม กล่าวคือ ความถูกต้องของการกระทำไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ เจตนาดีกับหน้าที่ ค่าทางศีลธรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาของปัจเจกชน ซึ่งแสดงออกมาและจะมีค่าทางศีลธรรมได้ก็ต้องเป็นการกระทำที่ทำจากหน้าที่ ในทัศนะของอิมานูเอล คานท์ เมื่อมีการกระทำหนึ่งๆ เกิดขึ้น แรงกระตุ้นของการกระทำมี 2 ประเภท คือ 1. การกระทำที่เกิดจากแรงโน้มของอารมณ์ 2.การกระทำที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่ คานท์ มีหลักแนวคิดที่น่าสนใจอื่นๆ อีก คือเกณฑ์การตัดสินความดี หลักของมนุษย์ในฐานะที่เป็นจุดหมายของตัวเอง กฎแห่งเสรีภาพ 2.พุทธจริยศาสตร์ มีรากฐานจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนา พุทธจริยศาสตร์เป็นหลักความประพฤติที่ดีงาม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) พุทธจริยศาสตร์ระดับต้น บัญญัติไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หลักธรรม คือ เบญจศีล เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม 2) พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง พุทธจริยธรรมระดับกลาง เพื่อให้บุคคลขัดเกลาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้น หลักธรรม คือ ศีล 8 หรือ อัฎฐศีล, กุศลกรรมบถ 10 3) พุทธจริยศาสตร์ระดับสูง เป็นจริยศาสตร์เพื่อพัฒนาตนเป็นอริยบุคคล หลักธรรม คือมรรค 8 หรือ เรียกว่ามัชฌิมปฏิปทา ทางสายกลาง 3.จากการศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ จริยศาสตร์ สามารถนำมาเปรียบเทียบในประเด็นต่างๆ ได้ 6 ข้อ คือ 1) เปรียบเทียบเกณฑ์การตัดสินความดี 2) เปรียบ เทียบกฎแห่งเสรีภาพ 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจ 4) เปรียบเทียบความเมตตากรุณา 5) เปรียบเทียบกฎแห่งศีลธรรม 6)เปรียบเทียบเป้าหมายสูงสุด
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ 2. เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อเปรียบเทียบจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1.อิมมานูเอล คานท์ เสนอความคิดทางจริยศาสตร์ในเรื่องเกณฑ์ตัดสินความดี หลักสำคัญคือ การใช้เจตนาเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทำมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล ความดี เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องสอน เพียงแต่เขาใช้ปัญญาเขาจะเป็นคนดีได้ เจตนาของผู้กระทำ จริยศาสตร์ของคานท์มีลักษณะเป็นแบบแผนนิยม กล่าวคือ ความถูกต้องของการกระทำไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ เจตนาดีกับหน้าที่ ค่าทางศีลธรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาของปัจเจกชน ซึ่งแสดงออกมาและจะมีค่าทางศีลธรรมได้ก็ต้องเป็นการกระทำที่ทำจากหน้าที่ ในทัศนะของอิมานูเอล คานท์ เมื่อมีการกระทำหนึ่งๆ เกิดขึ้น แรงกระตุ้นของการกระทำมี 2 ประเภท คือ 1. การกระทำที่เกิดจากแรงโน้มของอารมณ์ 2.การกระทำที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่ คานท์ มีหลักแนวคิดที่น่าสนใจอื่นๆ อีก คือเกณฑ์การตัดสินความดี หลักของมนุษย์ในฐานะที่เป็นจุดหมายของตัวเอง กฎแห่งเสรีภาพ 2.พุทธจริยศาสตร์ มีรากฐานจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนา พุทธจริยศาสตร์เป็นหลักความประพฤติที่ดีงาม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) พุทธจริยศาสตร์ระดับต้น บัญญัติไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หลักธรรม คือ เบญจศีล เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม 2) พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง พุทธจริยธรรมระดับกลาง เพื่อให้บุคคลขัดเกลาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้น หลักธรรม คือ ศีล 8 หรือ อัฎฐศีล, กุศลกรรมบถ 10 3) พุทธจริยศาสตร์ระดับสูง เป็นจริยศาสตร์เพื่อพัฒนาตนเป็นอริยบุคคล หลักธรรม คือมรรค 8 หรือ เรียกว่ามัชฌิมปฏิปทา ทางสายกลาง 3.จากการศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ จริยศาสตร์ สามารถนำมาเปรียบเทียบในประเด็นต่างๆ ได้ 6 ข้อ คือ 1) เปรียบเทียบเกณฑ์การตัดสินความดี 2) เปรียบ เทียบกฎแห่งเสรีภาพ 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจ 4) เปรียบเทียบความเมตตากรุณา 5) เปรียบเทียบกฎแห่งศีลธรรม 6)เปรียบเทียบเป้าหมายสูงสุด
The thesis objectives are as follows: 1. to study the ethics of Immanuel Kant, 2. to study Buddhist ethics, and 3. to compare the ethics of Immanuel Kant and Buddhist ethics. The data of this research were mainly collected from the relevant primary and secondary sources. The results of the research were as follows: 1.Immanuel Kant offers an ethical idea of the criterion of virtue, and the key is to use intention as a criterion of action. If only a human uses his wisdom, he can be a good person as the intention of the doer. Kant's ethics is conventionally defined, that is to say, the validity of an act is independent of its consequences, good intentions and duties. Moral value depends on the individual's intentions, and it will have moral value depending on the act of duty. In the view of Immanuel Kant, when an action occurs, there are two types of impulses of actions: 1. Actions caused by emotional forces and 2. Actions arise from a sense of duty. Kant has other interesting conceptual principles: the judging criteria, the principle of man as his own destiny, and the law of liberty. 2.Buddhist ethics is rooted in the teachings of Buddhism. Buddhist ethics is a principle of good behavior divided into 3 levels: 1) Basic Buddhist ethics provided for the peace of society, and the Dhamma principle consists of the Five Precepts and the Five Virtues, 2) Buddhist ethics at the middle level aiming to refine oneself to have a higher morality. The principle consists of the 8 precepts and the tenfold wholesome course of action, and 3) high level of Buddhist ethics, which is to develop oneself as a noble person through the Noble Eightfold Path. 3.The ethics of Immanuel Kant and Buddhism can be compared in 6 aspects: 1) the criteria of judging good, 2) the law of liberty, 3) motivation, 4) the benevolence, 5) the laws of morality, and 6) the highest goals.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง 2.เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท จำนวน 12 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง นิยมอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่และปลูกผักนานาชนิด และที่ทำจากเครื่องจักสานและการทอผ้าตีนจก เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของลาวครั่งไว้จำหน่ายที่ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าตีนจกมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของชนเผ่าในวาระงานสำคัญต่าง ๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน ส่วนประเพณีที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ได้แก่ การแห่ธงสงกรานต์ การไหว้ผีปู่ตาหรือผีเจ้านาย หรือผีบรรพบุรุษ การฟ้อนรำตามแบบฉบับของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ชุมชนทำการฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้ หลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตเปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ คอยประคับประครองให้ถึงจุดหมายปลายทางได้ การปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ที่ทำให้เกิดความสงบสุขของชุมชน ความสามัคคี และความเจริญอย่างมั่นคง ได้แก่ศีล 5 กุศลกรรมบท 10 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชุมชนเอาไว้ได้ โดยยึดหลักความกตัญญูกตเวทิตา และการปฏิบัติตามหลักของศีล 5 มีการไม่เบียดเบียนกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยู่ในทำนองคลองทำ พูดจามีประโยชน์ และไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย แม้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเพราะอิทธิพลของเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมได้สูญหายไปบ้างก็ตาม แต่ชุมชนก็มีการปรับตัวเองให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง 2.เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท จำนวน 12 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง นิยมอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่และปลูกผักนานาชนิด และที่ทำจากเครื่องจักสานและการทอผ้าตีนจก เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของลาวครั่งไว้จำหน่ายที่ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าตีนจกมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของชนเผ่าในวาระงานสำคัญต่าง ๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน ส่วนประเพณีที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ได้แก่ การแห่ธงสงกรานต์ การไหว้ผีปู่ตาหรือผีเจ้านาย หรือผีบรรพบุรุษ การฟ้อนรำตามแบบฉบับของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ชุมชนทำการฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้ หลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตเปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ คอยประคับประครองให้ถึงจุดหมายปลายทางได้ การปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ที่ทำให้เกิดความสงบสุขของชุมชน ความสามัคคี และความเจริญอย่างมั่นคง ได้แก่ศีล 5 กุศลกรรมบท 10 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชุมชนเอาไว้ได้ โดยยึดหลักความกตัญญูกตเวทิตา และการปฏิบัติตามหลักของศีล 5 มีการไม่เบียดเบียนกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยู่ในทำนองคลองทำ พูดจามีประโยชน์ และไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย แม้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเพราะอิทธิพลของเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมได้สูญหายไปบ้างก็ตาม แต่ชุมชนก็มีการปรับตัวเองให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
This research has the following objectives: 1. to study the lifestyles of Lao Khrang ethnic group, 2. to study Buddhist ethics, and 3. to analyze the lifestyles of Lao Khrang ethnic group according to Buddhist ethics. The populations in this research were 12 community leaders and the local learned in Nakhon Pathom province, Suphanburi province, Uthai Thani province and Chainat Province. The research results were found that: Lifestyles of Lao Khrang ethnic group are to live together in group, work in farming and growing a variety of vegetables and plants for wicker-work and weaving. The unique garments of Lao Khrang are available for sale at Tin Jok weaving Learning Center. Lao Khrang people usually wear their tribal costumes during important events, such as ordination, wedding, etc. The conserved traditions include Songkran flag parade, ancestors’ spirit worship, master ghost worship, and tribal traditional dance. Buddhist ethics is the key to life. Life is similar to a rudder of boat that can support the boat to reach its destination. To follow the ethic principles; the Five Precepts, the Tenfold Way of Good Action and the Eightfold Path, can create peace, happiness, and prosperity of community. Lifestyles of Lao Khrang ethnic group according to Buddhist ethics can still maintain important cultures and traditions of the community based on gratitude and the Five Precepts. They are non-violent, help each other, follow their traditional principles, say the truths and not concerned with drugs and illegal materials. Even now technology has influence to their ways of life and causes some traditional cultures disappear, but Lao Khrang people can adjust themselves to the changes.