Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาประวัติและภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) และศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่างๆ ทั้งในภาพจิตรกรรม รูป สิ่งพิมพ์ เสียงบันทึก ในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า : พุทธจริยศาสตร์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เป็นหลักการ วิธีคิด และวิถีการปฏิบัติ เพื่อพัฒนามนุษย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติทางพุทธศาสนาเถรวาท โดยการปฏิบัติตามศีล 5 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับต้น การปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ 10 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับกลาง และการปฏิบัติตามมรรค 8 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับสูง ก่อให้เกิดความพฤติกรรมที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือนิพพาน ประวัติและภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ภาพจิตรกรรมแบบเล่าเรื่อง สุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างสรรค์ โดย เจ๊กเส็ง ช่างฝีมือชาวจีน โดยใช้เทคนิคการลงสีฝุ่น ภาพจิตรกรรมนี้ได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากตะวันตก ประยุกต์เข้ากับรูปแบบงานจิตรกรรมไทย และล้านนา จิตรกรได้หยิบยกวรรณกรรมที่นิยมของคนในสังคมยุคนั้น จึงเห็นได้ถึงอิทธิพลทางการเมือง การรับวัฒนธรรมต่างถิ่น การเลื่อนไหลของวัฒนธรรม วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า จิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดกปรากฏพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับ วิถีอัตลักษณ์ล้านนาในเนื้องานสามารถสะท้อนวิถีชีวิตผู้คนในอดีต ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมทางมโนธรรมสำนึก และแนวทางการปฏิบัติตามพุทธจริยศาสตร์ คุณค่า โทษของการละเมิดพุทธจริยศาสตร์ สร้างสำนึกทางจริยธรรม มีการพัฒนาชีวิตตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ก่อให้เกิดผลเชิงจริยธรรม และดึงดูดความสนใจธรรมะให้ควบคู่ไปกับงานศิลปะได้
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาประวัติและภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) และศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่างๆ ทั้งในภาพจิตรกรรม รูป สิ่งพิมพ์ เสียงบันทึก ในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า : พุทธจริยศาสตร์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า เป็นหลักการ วิธีคิด และวิถีการปฏิบัติ เพื่อพัฒนามนุษย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติทางพุทธศาสนาเถรวาท โดยการปฏิบัติตามศีล 5 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับต้น การปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ 10 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับกลาง และการปฏิบัติตามมรรค 8 ทำให้บรรลุจริยศาสตร์ระดับสูง ก่อให้เกิดความพฤติกรรมที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข มีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือนิพพาน ประวัติและภูมิหลังของจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ภาพจิตรกรรมแบบเล่าเรื่อง สุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างสรรค์ โดย เจ๊กเส็ง ช่างฝีมือชาวจีน โดยใช้เทคนิคการลงสีฝุ่น ภาพจิตรกรรมนี้ได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากตะวันตก ประยุกต์เข้ากับรูปแบบงานจิตรกรรมไทย และล้านนา จิตรกรได้หยิบยกวรรณกรรมที่นิยมของคนในสังคมยุคนั้น จึงเห็นได้ถึงอิทธิพลทางการเมือง การรับวัฒนธรรมต่างถิ่น การเลื่อนไหลของวัฒนธรรม วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าในจิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดก วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า จิตรกรรมฝาผนังสุวัณณสังขชาดกปรากฏพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับ วิถีอัตลักษณ์ล้านนาในเนื้องานสามารถสะท้อนวิถีชีวิตผู้คนในอดีต ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมทางมโนธรรมสำนึก และแนวทางการปฏิบัติตามพุทธจริยศาสตร์ คุณค่า โทษของการละเมิดพุทธจริยศาสตร์ สร้างสำนึกทางจริยธรรม มีการพัฒนาชีวิตตามแนวทางพุทธจริยศาสตร์ก่อให้เกิดผลเชิงจริยธรรม และดึงดูดความสนใจธรรมะให้ควบคู่ไปกับงานศิลปะได้
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study Buddhist ethics In Theravada Buddhist Philosophy, 2) to study history and background in the murals on Suwannasangkhajataka of Wat Phrasingh Waramahavihan, Chiang Mai province, and 3) to analyze Buddhist ethics and value in the murals on Suwannasangkhajataka of Wat Phrasingh Waramahavihan, Chiang Mai province. It was a qualitative research or documentary research implying in-depth interview and study from various documents including paintings, photographs, publications and sound recording in collecting data. The results of research were found that : Buddhist Ethics in Theravada Buddhism was found that it was a principle, a way of thinking and a way of practice to develop human beings into perfect humanity according to the ideals of Theravada Buddhism. The practice of 5 precepts led to achieve primary ethics, the practice of tenfold wholesome courses of action led to achieve intermediate ethics and the practice of Noble Eightfold Path led to achieving high ethics. These practices caused good behaviors for living together in a peaceful society with the ultimate aim as Nibbāna. History and background of Suwannasangkhajataka in Wat Phrasingh Waramahavihan, Chiang Mai province were found that story-telling paintings of Suwannana Sangkhachatok, Wat Phra Singh Woramahawihan, assumed that it was created by Jek Seng, a Chinese craftsman by using powder painting techniques. This painting had been influenced by western art by applying the styles of Thai and Lanna paintings. The painter brought up the popular literature of the people in that society. Therefore, the political influence, the acceptance of foreign cultures and the flow of culture could be seen here. Analysis of ethics and value in the murals Suwannasangkhajataka of Wat Phrasingh Waramahavihan, Chiang Mai province was found that Suwannasangkhajataka the Buddhist ethics appeared in the murals at all 3 levels. Lanna’s identity in the work could reflect the way of life of people in the past that caused a feeling of conscience and guidelines for the practice of Buddhist ethics, values and the penalty for violation of Buddhist ethics. It built ethical awareness with the development of life according to the Buddhist ethics creating ethical results and attracting the attention in Dhamma along with art work.