Search results

108 results in 0.12s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้ในญาณวิทยา 2) เพื่อศึกษาความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1.ความรู้ในญาณวิทยา คือความรู้ที่ได้มาจากการค้นหาคำตอบเรื่องความรู้ที่แท้จริงคืออะไรความรู้ที่แท้จริงมีหรือไม่ อาจกล่าวได้ว่าความรู้เกิดจากแหล่งต่าง ๆ 3 แหล่งคือประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส การคิดหาเหตุผล และการหยั่งรู้ภายใน แนวคิดทางวัตถุนิยมถือว่า ความรู้เกิดจากประสาทสัมผัสคือการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และการสัมผัสสิ่งภายนอก แนวคิดทางจิตถือว่า ความรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องคิด คือเกิดกระบวนการทางจิตจึงจะรู้ว่า เห็นอะไร ได้ยินเสียงอะไร ได้กลิ่นอะไร เป็นต้น ประสาทสัมผัสเป็นแต่เพียงอุปกรณ์ของจิตเท่านั้น 2. ความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท ต้องอาศัยการจำได้หมายรู้ ซึ่งทำให้เกิดการคิดพิจารณาและสามารถลงมือทำหรือพิสูจน์ด้วยตนเอง บุคคลธรรมดาทั่วไปยังต้องอาศัยการศึกษา การฟังจากผู้อื่น ถึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงได้ยกเว้นคนที่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างพระพุทธเจ้าที่สามารถค้นพบสัจธรรมที่ไม่เคยมีคนค้นพบด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้ใครสั่งสอน 3. วิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่าสามารถแบ่ง 3 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบสอดคล้องกัน 2.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบเห็นต่างกัน 3.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบเห็นสอดคล้องกันในหลักการแต่แตกต่างกันในรายละเอียด
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้ในญาณวิทยา 2) เพื่อศึกษาความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1.ความรู้ในญาณวิทยา คือความรู้ที่ได้มาจากการค้นหาคำตอบเรื่องความรู้ที่แท้จริงคืออะไรความรู้ที่แท้จริงมีหรือไม่ อาจกล่าวได้ว่าความรู้เกิดจากแหล่งต่าง ๆ 3 แหล่งคือประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส การคิดหาเหตุผล และการหยั่งรู้ภายใน แนวคิดทางวัตถุนิยมถือว่า ความรู้เกิดจากประสาทสัมผัสคือการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และการสัมผัสสิ่งภายนอก แนวคิดทางจิตถือว่า ความรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องคิด คือเกิดกระบวนการทางจิตจึงจะรู้ว่า เห็นอะไร ได้ยินเสียงอะไร ได้กลิ่นอะไร เป็นต้น ประสาทสัมผัสเป็นแต่เพียงอุปกรณ์ของจิตเท่านั้น 2. ความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท ต้องอาศัยการจำได้หมายรู้ ซึ่งทำให้เกิดการคิดพิจารณาและสามารถลงมือทำหรือพิสูจน์ด้วยตนเอง บุคคลธรรมดาทั่วไปยังต้องอาศัยการศึกษา การฟังจากผู้อื่น ถึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงได้ยกเว้นคนที่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างพระพุทธเจ้าที่สามารถค้นพบสัจธรรมที่ไม่เคยมีคนค้นพบด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้ใครสั่งสอน 3. วิเคราะห์ความรู้ในญาณวิทยาที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่าสามารถแบ่ง 3 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบสอดคล้องกัน 2.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบเห็นต่างกัน 3.ส่วนที่ญาณวิทยาทั้งสองแบบเห็นสอดคล้องกันในหลักการแต่แตกต่างกันในรายละเอียด
The objectives of the thesis entitled “An Analytical Study of Epistemological Knowledge in Theravada Buddhist Philosophy” are as follows: 1) to study knowledge in Epistemology, 2) to study knowledge in Theravada Buddhist Philosophy, and 3) to analyze the epistemological knowledge in Theravada Buddhist Philosophy. The results of the study were found that: 1. The knowledge in Epistemology is the knowledge obtained from the search for the answers in what the true knowledge is and whether there is the true knowledge. It can be said that the knowledge is originated from 3 sources: sensual experiences, reasonable thinking, and intuition. In the concept of Materialism, the knowledge occurs from senses through seeing, hearing, smelling, tasting and touching. In Spiritualism, the knowledge is originated from thinking or thinking process that leads to what to see, what to hear, what to smell etc. Senses function as mental instrument only. 2. The knowledge in Theravada Buddhist Philosophy depends on memory, recognition, consideration and action by oneself. Individuals in general have to study and listen to the others to gain wisdom and realization. The exception is only for the one with special qualifications as the Buddha who is able to attain the ultimate truth without any guidance from the others. 3. The analysis of the epistemological knowledge in Theravada Buddhist Philosophy can be concluded into 3 aspects: 1) Two types of knowledge in Epistemology and in Theravada Buddhist Philosophy are consistent, 2) Two types of knowledge in Epistemology and in Theravada Buddhist Philosophy are different, and 3) Two types of knowledge in Epistemology and in Theravada Buddhist Philosophy are consistent in the main principles but different in details.
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ 3 ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครอง 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครองที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก 3) เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการปกครอง ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความซื่อสัตย์และยึดถือหลักคุณธรรมในการทำงาน สามารถเข้าถึงใจมวลชน บริหารประเทศได้โดยสามารถแก้ปัญหาทั้งปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความสามารถพิเศษในการใช้คนให้ถูกกับงาน ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีวิสัยทัศน์ และมีวุฒิภาวะในการทำงาน 2) ภาวะผู้นำการปกครองที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านคุณลักษณะได้แก่ คุณสมบัติของความเป็นผู้นำ 4 ประการ 2) ด้านการจัดการความมั่นคงภายในได้แก่ จักกวัตติวัตร 12 ประการ 3) ด้านการพัฒนาได้แก่ วิธีการปราบโจรผู้ร้าย 3 ประการ 4) ด้านพฤติกรรมได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 3) วิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะ และด้านพฤติกรรม มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา มีความเสียสละมีจิตสาธารณะในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม่ทุจริตคอรัปชั่น ยึดความถูกต้องในการบริหารงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยส่วนรวม
การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ 3 ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครอง 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการปกครองที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก 3) เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการปกครอง ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความซื่อสัตย์และยึดถือหลักคุณธรรมในการทำงาน สามารถเข้าถึงใจมวลชน บริหารประเทศได้โดยสามารถแก้ปัญหาทั้งปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความสามารถพิเศษในการใช้คนให้ถูกกับงาน ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีวิสัยทัศน์ และมีวุฒิภาวะในการทำงาน 2) ภาวะผู้นำการปกครองที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านคุณลักษณะได้แก่ คุณสมบัติของความเป็นผู้นำ 4 ประการ 2) ด้านการจัดการความมั่นคงภายในได้แก่ จักกวัตติวัตร 12 ประการ 3) ด้านการพัฒนาได้แก่ วิธีการปราบโจรผู้ร้าย 3 ประการ 4) ด้านพฤติกรรมได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 3) วิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าภาวะผู้นำการปกครองที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะ และด้านพฤติกรรม มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา มีความเสียสละมีจิตสาธารณะในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม่ทุจริตคอรัปชั่น ยึดความถูกต้องในการบริหารงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยส่วนรวม
The objectives of this qualitative research are as follows: 1) to study leadership and governance, 2) to study governance leadership in the Suttantapitaka, and 3) to analyze the benefits and values of governance leadership in the Suttantapitaka. The study results showed that 1) In leadership, leaders must be intelligent, honest and upholding moral principles in work, able to reach the hearts of the masses, manage the country by being able to solve both immediate and long-term problems with efficiency and effectiveness, able to put the right people for the right job, use resources efficiently and effectively, and have vision and work maturity. 2) The governance leadership found in the Suttantapitaka can be divided into 4 aspects as follows: 1) Features referring to four qualities of leadership, 2) The internal security management referring to 12 Chakkavattivattas, 3) The development aspect referring to 3 methods of suppressing criminal thieves, and 4) Behavioral aspect 10 Rajadhamma. 3) The benefits and values of governance leadership found in the Suttantapitaka indicated that leaders must be people who are well-equipped with morality, ethics, characters and behaviors, honesty, generous heart, and sympathy with their subordinates. The leaders should have sacrifice and a public mind in the service for the public, no corruption, adhere to the righteousness of administration for the benefit of the public in general.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 จำนวน 140 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) เมื่อพบข้อแตกต่างเป็นรายคู่จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe (Post Hoc) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสมานัตตตา อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทาน ด้านปิยวาจา และด้านอัตถจริยา อยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบ พบว่า พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4ของพนักงานธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีข้อเสนอแนะดังนี้1) ด้านทาน หากต้องการให้ช่วยเหลืออะไร เต็มใจและทำให้ได้เสมอ ยกเว้นเรื่องที่ผิด เสียสละเวลาส่วนตัวสอนงาน และให้ความรู้ใหม่ ๆ แก่พนักงานเสมอ และเวลาเพื่อนร่วมงานไม่เข้าใจในเรื่องงาน ก็จะคอยบอกและแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง 2) ด้านปิยวาจา การพูดจาให้รู้จักสุภาพ อ่อนน้อม เพื่อให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ด้วยวาจาที่สุภาพในการทำงานร่วมกัน และ พูดจาสุภาพต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน 3) ด้านอัตถจริยา ช่วยเหลือลูกค้าและเพื่อนพนักงาน เท่าที่ทำได้และไม่ผิดระเบียบปฏิบัติ เมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหา ควรให้ความช่วยเหลือ ไม่นิ่งเฉย และทุกคนควรมีน้ำใจต่อกันและกัน และ 4) ด้านสมานัตตตา ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในองค์กร ปฏิบัติตัวเสมอต้นเสมอปลาย เคารพผู้อาวุโส ให้เกียรติเพื่อนร่วมงานทุกคน และให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในกิจกรรมต่าง ๆ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 จำนวน 140 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-Way ANOVA) เมื่อพบข้อแตกต่างเป็นรายคู่จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe (Post Hoc) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสมานัตตตา อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทาน ด้านปิยวาจา และด้านอัตถจริยา อยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบ พบว่า พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4ของพนักงานธนาคารกสิกรไทยสำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีข้อเสนอแนะดังนี้1) ด้านทาน หากต้องการให้ช่วยเหลืออะไร เต็มใจและทำให้ได้เสมอ ยกเว้นเรื่องที่ผิด เสียสละเวลาส่วนตัวสอนงาน และให้ความรู้ใหม่ ๆ แก่พนักงานเสมอ และเวลาเพื่อนร่วมงานไม่เข้าใจในเรื่องงาน ก็จะคอยบอกและแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง 2) ด้านปิยวาจา การพูดจาให้รู้จักสุภาพ อ่อนน้อม เพื่อให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ด้วยวาจาที่สุภาพในการทำงานร่วมกัน และ พูดจาสุภาพต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน 3) ด้านอัตถจริยา ช่วยเหลือลูกค้าและเพื่อนพนักงาน เท่าที่ทำได้และไม่ผิดระเบียบปฏิบัติ เมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหา ควรให้ความช่วยเหลือ ไม่นิ่งเฉย และทุกคนควรมีน้ำใจต่อกันและกัน และ 4) ด้านสมานัตตตา ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในองค์กร ปฏิบัติตัวเสมอต้นเสมอปลาย เคารพผู้อาวุโส ให้เกียรติเพื่อนร่วมงานทุกคน และให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในกิจกรรมต่าง ๆ
The objectives of this research were: 1) to study the use of 4 principles of Sangahavutthu of Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45, 2) to compare the use of 4 principles of Sangahavutthu of Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45 based on their gender, age and years of employment, and 3) to analyze suggestions regarding the use of 4 principles of Sangahavutthu of Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45. The samples of the study were 140 officers of Kasikorn Bank in the Office of Service and Marketing 45 obtained by simple random sampling. The sample size (n = 220) was determined by using Krejcie and Morgan’s (1970) table of sample sizes, specifying a 5% margin of error. The experimental data were collected by questionnaire and summarized with descriptive statistics; frequency, percentage, mean and standard deviation, and compared groups by using independent-sample t-tests, F-tests and one-way analysis of variance (ANOVA). If the statistically significant difference between study groups was found (P< 0.05), it would be then tested by Scheffe (Post Hoc). All of the data was analyzed by statistics software. The results of the study were found that:: 1) The use of 4 principles of Sangahavutthu of Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45 was at a high level totally. When considering by aspects in descending order, the highest level was on Samanattata, followed by Dana, Piyavaca, and Atthacariya respectively. 2) In comparative studies, the statistically significant difference at 0.05 level in using the 4 principles of Sangahavatthu was not found among Kasikorn Bank officers in the Office of Service and Marketing 45 who had different gender, age, and years of employment. 3) The suggestions obtained from the study were as follows: 1) In giving; if there is something in need, they are ready to provide help willingly, except for the wrong doing, and they devote their personal time to supervise and teach employees and colleagues when they need, 2) In kindly speech; they use polite, humble and respectful expressions to each other, and they provide helpful advice to clients and colleagues, 3) In useful conduct; they help customers and fellow employees as much as possible in the scope of the organization regulations. When any colleague has a problem, they are helpful, not passive, and express hospitality to each other, and 4) In even and equal treatment; they help each other in the organization, behave consistently respect to the elderly, treat all colleagues honorably and cooperate and assist in various activities.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา 2) เพื่อศึกษาเกสปุตตสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัย พบว่า 1. การทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา เป็นการใช้สิ่งที่ไม่ใช่เหตุผลมาอ้างเป็นเหตุผล เป็นความบกพร่องในการอ้างเหตุผล แต่มิใช่ความบกพร่องที่เกิดจากเหตุผลไม่สมบูรณ์ หากแต่เป็นความบกพร่องที่เกิดจากการทิ้งเหตุผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. การทิ้งเหตุผลด้วยภาษา 2. การทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ 3. การทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา และ 4. การทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา 2. เกสปุตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้านำเอาหลักความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ปรากฏในสังคมอินเดียในสมัยนั้น มาตรัสเพื่อเตือนสติแก่ชาวกาลามชนในแคว้นโกศลสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อนั้น ไม่ได้แปลว่าไม่ให้เชื่อในหลักความเชื่อแบบดั้งเดิม 10 ประการแต่ก่อนที่จะปลงใจเชื่อควรใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนหรือยกย่อง ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นอกุศล ไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนก็ควรละเสีย แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นกุศล มีประโยชน์ บัณฑิตยกย่องก็ให้ถือปฏิบัติสืบต่อไป 3. การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร เป็นการให้ละทิ้งการอ้างสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุผลเพราะการอ้างสิ่งต่าง ๆ เพียงส่วนเดียวเป็นเหตุผลนั้นก็ดูจะเป็นการเชื่อที่เข้าหลักการทิ้งเหตุผลอย่างหนึ่ง เช่น การเชื่อตำรา การเชื่อด้วยการคิดตามแนวเหตุผล ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลด้วยภาษา การเชื่อด้วยเหตุผลทางตรรกะ การเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ การเชื่อด้วยการฟังตามกันมา การเชื่อการอนุมานการเชื่อเพราะมองจากรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องการทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา การเชื่อประเพณีการเชื่อการเล่าลือ การเชื่อเพราะเห็นเป็นครูอาจารย์ ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา 2) เพื่อศึกษาเกสปุตตสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัย พบว่า 1. การทิ้งเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา เป็นการใช้สิ่งที่ไม่ใช่เหตุผลมาอ้างเป็นเหตุผล เป็นความบกพร่องในการอ้างเหตุผล แต่มิใช่ความบกพร่องที่เกิดจากเหตุผลไม่สมบูรณ์ หากแต่เป็นความบกพร่องที่เกิดจากการทิ้งเหตุผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. การทิ้งเหตุผลด้วยภาษา 2. การทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ 3. การทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา และ 4. การทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา 2. เกสปุตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้านำเอาหลักความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ปรากฏในสังคมอินเดียในสมัยนั้น มาตรัสเพื่อเตือนสติแก่ชาวกาลามชนในแคว้นโกศลสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อนั้น ไม่ได้แปลว่าไม่ให้เชื่อในหลักความเชื่อแบบดั้งเดิม 10 ประการแต่ก่อนที่จะปลงใจเชื่อควรใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนหรือยกย่อง ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นอกุศล ไม่มีประโยชน์ บัณฑิตติเตียนก็ควรละเสีย แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นกุศล มีประโยชน์ บัณฑิตยกย่องก็ให้ถือปฏิบัติสืบต่อไป 3. การทิ้งเหตุผลที่ปรากฏในเกสปุตตสูตร เป็นการให้ละทิ้งการอ้างสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุผลเพราะการอ้างสิ่งต่าง ๆ เพียงส่วนเดียวเป็นเหตุผลนั้นก็ดูจะเป็นการเชื่อที่เข้าหลักการทิ้งเหตุผลอย่างหนึ่ง เช่น การเชื่อตำรา การเชื่อด้วยการคิดตามแนวเหตุผล ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลด้วยภาษา การเชื่อด้วยเหตุผลทางตรรกะ การเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางรูปแบบ การเชื่อด้วยการฟังตามกันมา การเชื่อการอนุมานการเชื่อเพราะมองจากรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องการทิ้งเหตุผลทางเนื้อหา การเชื่อประเพณีการเชื่อการเล่าลือ การเชื่อเพราะเห็นเป็นครูอาจารย์ ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการทิ้งเหตุผลทางจิตวิทยา
The objectives of this thesis were: 1) to study abandoning reason according to logic, 2) to study Kesaputta Sutta, and 3) to analyze abandoning reason in Kesaputta Sutta. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, textbooks, research works, and related documents and then analyzed and summarized into the findings. The results of the study were found that : 1. Abandoning reasons according to logic is the use of irrational things as reasons and is a defect in reasoning but not a defect caused by incomplete reasons. but by discarding reasons, which are divided into 4 types as follows: 1. Linguistic fallacy, 2. Formal or logical fallacy, 3. Material fallacy, and 4. Psychological fallacy. 2. Kesaputta Sutta is the sutta in which the Buddha brought the belief in ancient Indian society to remind the people in Kalama village of Kosala state. The Buddha did not forbid them from the belief as their ancestors did, but the Lord reminded them to consider that belief with wisdom whether that was wholesome or unwholesome, praised or condemned by the sages. If it is unwholesome and condemned be the sages, it should be discarded, and if it is wholesome and praised by the sages, it should be continued to practice. 3. Abandoning reason in Kesaputta Sutta is referred to discarding reasons based on things. It can be concluded into a kind of abandoning reason. A belief in texts and logical thinking is relevant to linguistic fallacy. A belief in logical reasoning and theoretical reason is in line with formal or logical fallacy. A belief up on repeated hearing and up on axiom is similar to material fallacy. A belief up on tradition and teachers is relevant to psychological fallacy.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกัน 3. เพื่อสัมภาษณ์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) จำนวน 196 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)ผู้ที่มีบทบาทสำคัญจำนวน 6 คน (Key Informants) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean; ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, S.D.) และทดสอบสมมติฐาน T-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 ลำดับ ได้ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, บทบาทการส่งเสริมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง รองลงมาคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีอายุและระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ผลจากการสัมภาษณ์แนวทางส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ความคิดเห็นสอดคล้องกันส่วนมาก คือ บทบาทการส่งเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนท้องถิ่นเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น, รองลงมาได้แก่บทบาทการส่งเสริมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง เรื่องได้มีการจัดให้ชุมชนเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น รองลงมาคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เรื่องแหล่งท่องเที่ยวยังคงอนุรักษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เรื่อง มีการจัดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวมีความปลอดภัยและเพียงพอต่อนักท่องเที่ยว
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกัน 3. เพื่อสัมภาษณ์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) จำนวน 196 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)ผู้ที่มีบทบาทสำคัญจำนวน 6 คน (Key Informants) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean; ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, S.D.) และทดสอบสมมติฐาน T-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 ลำดับ ได้ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, บทบาทการส่งเสริมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง รองลงมาคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีอายุและระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ผลจากการสัมภาษณ์แนวทางส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ความคิดเห็นสอดคล้องกันส่วนมาก คือ บทบาทการส่งเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนท้องถิ่นเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น, รองลงมาได้แก่บทบาทการส่งเสริมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง เรื่องได้มีการจัดให้ชุมชนเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น รองลงมาคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เรื่องแหล่งท่องเที่ยวยังคงอนุรักษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทการส่งเสริมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เรื่อง มีการจัดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวมีความปลอดภัยและเพียงพอต่อนักท่องเที่ยว
The objectives of this thesis are as follows: 1.To study the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province, 2. To compare the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province in the opinion of people with different gender, age, and educational level, and 3. To collect suggestions on ways to promote the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province. The mixed research method was used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 196 samples obtained by Taro Yamane’s formula. The qualitative data were collected by in-depth interviews with6 key informants. The statistics used in the research were frequency distribution, percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.), and hypothesis testing T-test, and F-test or ANOVA statistical value. The results showed that: 1. The role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province in all 4 aspects was at a high level. When considering each aspect, it was found that every aspect was at a high level. Sorted in 3-descending order from highest to lowest were as follows: the role of promoting natural resources and environment, the role of promoting social culture and security, followed by the role of promoting the physical environment, and the role of the promotion of facilities respectively. 2.The comparison resolts Personnel with different gender, age, education level and work experiences have different levels of opinions on the role of local governments in promoting tourism in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province with significantly statistic figure at the 0.05 level. The personnel with different age and educational levels have opinions on the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province indifferently. 3. Results from the most interviews on the guidelines for promoting the role of local government organizations in tourism promotion in Phra Pradaeng district of Samut Prakan province were on the role of promoting natural resources and the environment in the aspect of tourism made local communities more valued about the environment, followed by the role of promoting social, cultural and security in the aspect of arranging the community to attend a meeting to discuss environmental problems, the role of promoting the physical environment in the aspect that the tourist attraction is still preserved and it is a sustainable tourist destination, and the role in the promotion of facilities in the aspect of arrangement of tourist attractions with safety and sufficiency for tourists.
หนังสือ

    วิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช 2. เพื่อศึกษาการปกครองแบบธรรมวิชัย และ 3. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าและประโยชน์การปกครองตามแบบธรรมวิชัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ตำรา และงานเขียนทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงนำหลักการปกครองและแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นกุศโลบายในการปกครอง เพื่อสร้างความชอบธรรมและดำรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองให้มีเสถียรภาพมากที่สุด เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี จะต้องอาศัยธรรมเป็นหลักในการปกครอง สร้างบุคคลให้มี ธรรมราชาในจิตใจมีภาวะผู้นำทางการเมืองกับความเป็นธรรมราชามุ่งเน้นพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมือง คือ มุ่งพัฒนาตน ได้แก่ พัฒนาตัวของผู้นำเอง โดยใช้หลักแห่งความเข้าใจ และการมีฐานแห่งความเป็นธรรมที่สถิตอยู่ในใจ เป็นต้น มุ่งพัฒนาผู้ใต้การปกครอง คือด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ และด้านสติปัญญา พัฒนาองค์รวมของสังคม โดยยึดกรอบศีลธรรมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็กำหนดกฎหมายเป็นเครื่องส่งเสริมสนับสนุนศีลธรรม โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวคิดหลักในการปกครองบ้านเมือง มุ่งเน้นหลักปฏิบัติ โดยนำหลักธรรมดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติ เผยแผ่ สั่งสอน ประชาชนทั่วไป 2. การปกครองแบบธรรมวิชัย พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองบ้านเมืองโดย ใช้หลักพรหมวิหารธรรม 4 ไม่ขาดและไม่ทำลาย เป็นตัวอย่างแก่ผู้นำบริษัทและเจ้าขุนมูลนายทั้งสมัยโบราณกาลและสมัยปัจจุบันอย่างยิ่ง เป็นมหาราชในอุดมคติ พระองค์ทรงใช้ หลัก"ธรรมราชา"คือการปกครองบ้านเมืองโดยธรรม “ธรรมวิชัย”เป็นหลักการปกครอง พระมหากษัตริย์ต่างเมืองต่างประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบันได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง ทรงปกครองอาณา ประชาราษฎร์ประดุจ พ่อปกครองลูก หรือทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม ส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ สวัสดิการสังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การจัดบริการสาธารณประโยชน์ และสังคมสงเคราะห์ สร้างศิลาจารึกสื่อสารเสริมธรรม ประกาศหลักการแห่งเสรีภาพ แถลงเรื่องที่เป็นนโยบายของรัฐในทางธรรม ที่จะให้ผู้บริหารปกครองท้องถิ่นนำไปสั่งสอนประชาชน แต่งตั้ง ธรรมมหาอำมาตย์ เป็นทูตแห่งธรรมในการเผยแผ่ พระธรรม โดยพระองค์ก็เสด็จธรรมยาตราไปยัง พุทธสถานทุกแห่ง เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พบว่า บทบาทด้านทาน ทรัพย์และอำนาจเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ทำความดีงามและประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ตลอดจนให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงโปรดให้สร้างอารามวิหารไว้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 84,000 แห่ง และจารึก 3.
วิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช 2. เพื่อศึกษาการปกครองแบบธรรมวิชัย และ 3. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าและประโยชน์การปกครองตามแบบธรรมวิชัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ตำรา และงานเขียนทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงนำหลักการปกครองและแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นกุศโลบายในการปกครอง เพื่อสร้างความชอบธรรมและดำรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองให้มีเสถียรภาพมากที่สุด เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี จะต้องอาศัยธรรมเป็นหลักในการปกครอง สร้างบุคคลให้มี ธรรมราชาในจิตใจมีภาวะผู้นำทางการเมืองกับความเป็นธรรมราชามุ่งเน้นพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมือง คือ มุ่งพัฒนาตน ได้แก่ พัฒนาตัวของผู้นำเอง โดยใช้หลักแห่งความเข้าใจ และการมีฐานแห่งความเป็นธรรมที่สถิตอยู่ในใจ เป็นต้น มุ่งพัฒนาผู้ใต้การปกครอง คือด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ และด้านสติปัญญา พัฒนาองค์รวมของสังคม โดยยึดกรอบศีลธรรมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็กำหนดกฎหมายเป็นเครื่องส่งเสริมสนับสนุนศีลธรรม โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวคิดหลักในการปกครองบ้านเมือง มุ่งเน้นหลักปฏิบัติ โดยนำหลักธรรมดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติ เผยแผ่ สั่งสอน ประชาชนทั่วไป 2. การปกครองแบบธรรมวิชัย พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองบ้านเมืองโดย ใช้หลักพรหมวิหารธรรม 4 ไม่ขาดและไม่ทำลาย เป็นตัวอย่างแก่ผู้นำบริษัทและเจ้าขุนมูลนายทั้งสมัยโบราณกาลและสมัยปัจจุบันอย่างยิ่ง เป็นมหาราชในอุดมคติ พระองค์ทรงใช้ หลัก"ธรรมราชา"คือการปกครองบ้านเมืองโดยธรรม “ธรรมวิชัย”เป็นหลักการปกครอง พระมหากษัตริย์ต่างเมืองต่างประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบันได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง ทรงปกครองอาณา ประชาราษฎร์ประดุจ พ่อปกครองลูก หรือทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม ส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ สวัสดิการสังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การจัดบริการสาธารณประโยชน์ และสังคมสงเคราะห์ สร้างศิลาจารึกสื่อสารเสริมธรรม ประกาศหลักการแห่งเสรีภาพ แถลงเรื่องที่เป็นนโยบายของรัฐในทางธรรม ที่จะให้ผู้บริหารปกครองท้องถิ่นนำไปสั่งสอนประชาชน แต่งตั้ง ธรรมมหาอำมาตย์ เป็นทูตแห่งธรรมในการเผยแผ่ พระธรรม โดยพระองค์ก็เสด็จธรรมยาตราไปยัง พุทธสถานทุกแห่ง เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พบว่า บทบาทด้านทาน ทรัพย์และอำนาจเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ทำความดีงามและประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ตลอดจนให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงโปรดให้สร้างอารามวิหารไว้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 84,000 แห่ง และจารึก 3.
วิเคราะห์คุณค่าและประโยชน์การปกครองตามแบบธรรมวิชัย พบว่า พระองค์ทรงใช้ระบอบประชาธิปไตยเต็มที่ แต่เอนไป ทางด้านปิตาธิปไตย คือ ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ประดุจพ่อปกครองลูก และพระองค์ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม ทรงส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ สวัสดิการ สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การจัดบริการสาธารณประโยชน์ และสังคมสงเคราะห์ เช่น บ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง ปลูกสวน สงวนป่า ตั้งโอสถศาลา หรืออาโรคยาศาลา โรงพยาบาล สำหรับคนและสัตว์ทรงให้ขุดบ่อน้ำ ปลูกต้นไม้ สร้างถนนหนทางเชื่อมต่อให้กว้างขวางทั่วถึง สร้าง ที่พักคนเดินทาง สร้างอ่างเก็บน้ำ สร้างสถานพยาบาลคนและสัตว์ ให้การศึกษาแก่ประชาชน ทำศิลาจารึกประกาศธรรม แถลงเรื่องที่เป็นนโยบายของรัฐในทางธรรม ที่จะให้ผู้บริหารปกครอง ท้องถิ่นนำไปสั่งสอนประชาชน ด้วยการไม่เข่นฆ่าล้างผลาญสังหารเพื่อนมนุษย์ ตั้งตนอยู่ในธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัด แต่ตั้งธรรมมหาอำมาตย์เป็นทูตแห่งธรรมในการ เผยแผ่ พระธรรมคำ สั่งสอน โดยพระองค์ก็เสด็จ “ธรรมยาตรา” ไปยังพุทธสถานทุกหนทุกแห่งเพื่อศึกษา สืบค้น และเผยแผ่พระธรรมด้วยพระองค์เอง โดยมีข้าราชบริพาร มุขมนตรี และประชาชนจำนวน มากโดยเสด็จกันเป็นขบวนใหญ่อย่างเอิกเกริกอย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นราชประเพณีที่กษัตริย์ฝ่ายพุทธทุกพระองค์ทรงเจริญรอยตาม
The objectives of this research are as follows: 1. To study the governance of King Asoka the Great, 2.To study the Dharmavijaya governance, and 3.To analyze the values and benefits of the Dhammavijaya governance. The data of this qualitative research were collected from the Tipitaka, Commentaries, supreme supplications, textbooks and academic writings on Buddhism. The data were analyzed by content analysis and the study results were presented in a descriptive method. The study results showed that: 1. King Asoka the Great integrated the principles of governance and Buddhist concepts as a means of governing in order to create legitimacy and to maintain the most stable power of governance. The governance of the country must have the qualities of a good leader, rely on dharma as the principle of governance, create a person to have Dhammaraja in the mind, and have political leadership with fairness. Developing political leadership is to focus on self-improvement, i.e., the development of the leader himself, using the principles of understanding and having a foundation of justice in the heart. The aims to develop those under the ruling are to develop their behaviors, psychology, and intellectual. To develop the holistic society is by adhering to the moral framework. At the same time, the law was established to promote morality. By relying on the principles of Buddhism as the main idea of governing the country, focus was on bringing the aforementioned principles into practice, propagating and teaching the general public. 2. Dhammavijaya style of government that King Asoka the Great used to rule the country was based on Brahmavihara Dhamma. It is a great example for company leaders and lords in both ancient and modern times. An ideal maharaja He used was the principles of "Dhammaraja", to govern the country with justice, and Dhammavijaya" as the principle of governance. Foreign monarchs in foreign countries, both past and present, have followed him until their countries were prosperous. King Ashoka the Great ruled the kingdom like fathers and children or ruled the land with righteousness, promoted public utilities, social welfare, preserved arts and culture, public benefits, organization and social work, and built a stone inscription for communication to enhance the Dhamma. He declared the principle of liberty, stated the state's policy in a moral way by allowing local administrators to teach people as ambassadors of Dhamma. The king himself travelled to the holy places to study and practice Dhamma. The Dhammavijaya style of King Asoka the Great indicated that the role of alms, wealth and power is a tool for creating good deeds and benefiting the people.\ as well as giving patronage to Buddhism. King Asoka the Great ordered the construction of monasteries to contain 84,000 Buddha relics and inscriptions. 3. Analyzing the values and benefits of governance according to the Dhammavijaya style, it was found that His Highness fully utilized the democratic regime, but leaned towards the patriarchy, which was to rule the kingdom like a father and son and he ruled the land with righteousness. His Majesty promoted public utilities and social welfare, and preserved arts and culture, public benefits, organization and social welfare; such as wells, shelters for travelers, planting gardens, forest reserves, setting up medicine pavilion or Arogaya pavilion, hospitals for people and animals, to dig wells, plant trees, build extensive roads, build shelters for travelers, build reservoirs and hospitals for people and animals, educate people, make stone inscriptions, and proclaim the Dhamma. The king stated the state policy in a moral way by letting the administrators in the locals to teach people, not slaughtering and killing the fellow humans, set oneself in Dhamma, supporting Buddhism by building temples and set up the Dhamma patriarch as an ambassador of Dhamma in propagating the Dharma and teachings. His Highness went "Dhammayatra" to Buddhist places to study, search and propagate the Dhamma by himself accompanied by vassals, chief ministers and a number of people with great formal pomp which gave rise to a royal tradition which every Buddhist king has followed in his footsteps.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการปกครอง 3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการปกครองไทย งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอในลักษณะพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) การปกครองของไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันถูกแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน กล่าวคือ 1. การปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ใช้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีลักษณะการปกครองเหมือนการปกครองในยุคอยุธยาตอนปลาย 2. ปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนกลางเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบอบบริหารราชการ และได้นำวิทยาศาสตร์ความรู้ในด้านการปกครองและด้านต่าง ๆ นำมาใช้พัฒนาประเทศ 3. การปกครองในยุคประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลง และปัญหาหลัก ๆ ในแต่ละยุคสมัย 2) หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย คือ 1. หลักทศพิธราชธรรม ที่ว่าด้วยหลักแห่งการพัฒนาคนผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง 2. สัปปุริสธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาบ้านเมืองมุ่งเน้นที่ความเข้าใจและการส่งเสริมบุคคลให้มีประสิทธิภาพโดยเริ่มต้นจากผู้นำ 3. อปริหานิยธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำความเข้าใจกันพูดคุยและให้เกียรติในสิทธิของคน 4. สังคหวัตถุธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการสร้างความสามัคคีให้แก่กัน 3) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปกครองของไทย การปกครองในรัตนโกสินทร์ทั้ง 3 ยุค โดยพบปัญหา 4 ด้าน คือ 1.ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพในระบอบการปกครอง 2. ปัญหาพัฒนาการกระจายอำนาจ 3. ปัญหาการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตย และ4. ปัญหาการขาดความสามัคคีของประชาชนโดยยึดหลักธรรมทั้ง 4 ข้อดังต่อไปนี้ 1. หลักทศพิธราชธรรม 2. สัปปุริสธรรม 3. อปริหานิยธรรม 4. สังคหวัตถุธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแต่ละด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและความสามัคคีในการปกครองไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปกครองไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการปกครอง 3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการปกครองไทย งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอในลักษณะพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) การปกครองของไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันถูกแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน กล่าวคือ 1. การปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ใช้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีลักษณะการปกครองเหมือนการปกครองในยุคอยุธยาตอนปลาย 2. ปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนกลางเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบอบบริหารราชการ และได้นำวิทยาศาสตร์ความรู้ในด้านการปกครองและด้านต่าง ๆ นำมาใช้พัฒนาประเทศ 3. การปกครองในยุคประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลง และปัญหาหลัก ๆ ในแต่ละยุคสมัย 2) หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปกครองไทย คือ 1. หลักทศพิธราชธรรม ที่ว่าด้วยหลักแห่งการพัฒนาคนผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง 2. สัปปุริสธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาบ้านเมืองมุ่งเน้นที่ความเข้าใจและการส่งเสริมบุคคลให้มีประสิทธิภาพโดยเริ่มต้นจากผู้นำ 3. อปริหานิยธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำความเข้าใจกันพูดคุยและให้เกียรติในสิทธิของคน 4. สังคหวัตถุธรรม เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการสร้างความสามัคคีให้แก่กัน 3) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปกครองของไทย การปกครองในรัตนโกสินทร์ทั้ง 3 ยุค โดยพบปัญหา 4 ด้าน คือ 1.ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพในระบอบการปกครอง 2. ปัญหาพัฒนาการกระจายอำนาจ 3. ปัญหาการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตย และ4. ปัญหาการขาดความสามัคคีของประชาชนโดยยึดหลักธรรมทั้ง 4 ข้อดังต่อไปนี้ 1. หลักทศพิธราชธรรม 2. สัปปุริสธรรม 3. อปริหานิยธรรม 4. สังคหวัตถุธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแต่ละด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและความสามัคคีในการปกครองไทย
The objectives of this research were as follows: 1) to study Thai governance, 2) to study Buddhist principles used in governance, and 3) to apply Buddhist principles to Thai governance. This research is a qualitative research which focuses on document research by studying the Tipitaka and documents related to the governance. The data were analyzed by content analysis and presented in a descriptive manner. The results of the research were found that: 1) Thai governance from the Rattanakosin era to present is divided into 3 periods, namely: 1. The governance in the early Rattanakosin period that used an absolute monarchy regime and looked like the governance in the late Ayutthaya period. 2. The rule in the central Rattanakosin period had a major change in the bureaucratic regime and had brought science and knowledge in governance and various fields to develop the country. 3. Governance in the democratic era with the King was as Head of State since 1932 onwards by studying the changes and main problems in each period. 2) Buddhist principles related to Thai governance are: 1. Rajadhamma; the principles for development of people who are ruled and the rulers, 2. Sappurisadhamma; the principles of development of the country to be prosperous with the emphasis on understanding and effectiveness of people, starting with the leaders, 3. Aparihaniyadhamma; the principles for development of the country to be prosperous with the emphasis on understanding and empowering people to be effective, starting with the leaders, and 4. Raja-sangahavatthu; the principles for building unity. 3) The problems found from application of Buddhist principles in Thai governance in Rattanakosin period in 4 areas are as follows: 1. Instability in the regime, 2. Decentralization of power, 3. Democratic system development, and 4. Lack of unity of the people. These problems cam be solved by application of the following Dhamma principles: 1. Rajadhamma, 2. Sappurisadhamma, 3.Aparihaniya dhamma, and 4. Raja-sangahavatthu.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ที่มีเพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี จากจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาทั้ง 11 โรงเรียน ได้จำนวนประชากรทั้งหมด 4,698 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่า t – test (Independent Deviation) เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรอิสระที่มีจำนวนสองกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 6 คน ได้แก่ ตัวแทนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi – structure Interview) และโทรศัพท์มือถือ (mobile phone) เพื่อใช้บันทึกภาพ และเสียงระหว่างสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งห้าด้าน 2) ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอ ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ด้านคุณสมบัติของผู้สอน ปัญหา : พระสอนศีลธรรมพูดตรงเกินไปเวลาสอน ไม่ค่อยระมัดระวังคำพูด แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง และมักแอบสูบบุหรี่ในสถานศึกษา ข้อเสนอแนะ : ควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน และไม่ยุ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด (2) ด้านความสามารถในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมไม่สามารถกำหนดโครงสร้างหลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบเกี่ยวกับความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ที่มีเพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ต่างกัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี จากจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาทั้ง 11 โรงเรียน ได้จำนวนประชากรทั้งหมด 4,698 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ “ทาโร ยามาเน่” (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่า t – test (Independent Deviation) เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรอิสระที่มีจำนวนสองกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 6 คน ได้แก่ ตัวแทนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi – structure Interview) และโทรศัพท์มือถือ (mobile phone) เพื่อใช้บันทึกภาพ และเสียงระหว่างสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งห้าด้าน 2) ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอ ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และรายได้ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ด้านคุณสมบัติของผู้สอน ปัญหา : พระสอนศีลธรรมพูดตรงเกินไปเวลาสอน ไม่ค่อยระมัดระวังคำพูด แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง และมักแอบสูบบุหรี่ในสถานศึกษา ข้อเสนอแนะ : ควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน และไม่ยุ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด (2) ด้านความสามารถในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมไม่สามารถกำหนดโครงสร้างหลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
ยังใช้หลักสูตรของเดิมที่ไม่มีการพัฒนาให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน ข้อเสนอแนะ : ควรพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน (3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมยังขาดความรู้ ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสอน หรือใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการอธิบายเนื้อหาวิชาที่สอน ข้อเสนอแนะ : ควรมีการศึกษา และทำความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการอธิบายเนื้อหาวิชาที่สอน (4) ด้านทุนทรัพย์ในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมต้องทำรายงานการสอนในแต่ละเดือนจึงจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งบางครั้งต้องรอการอนุมัติเป็นรอบไตรมาส หรือเป็นรอบปีการศึกษา ซึ่งทำให้ไม่มีทุนทรัพย์ที่จะใช้ในการผลิตสื่อการสอนในระหว่างปีการศึกษา ข้อเสนอแนะ : สถาบันการศึกษาควรให้การสนับสนุนทุนทรัพย์บางส่วนเพื่อใช้ในการผลิตสื่ออุปกรณ์การสอนสำหรับเสริมทักษะการเรียนรู้ในแต่ละภาคการศึกษาของผู้เรียน และ (5) ด้านประโยชน์ที่ได้รับในการเผยแผ่ ปัญหา : พระสอนศีลธรรมขาดทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และไม่มีเทคนิคการสอนแบบหลากหลาย เนื้อหาในการเรียนมีมากไม่สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ทำการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะ : ควรเน้นการเรียนรู้ควบคู่กับการนำพาผู้เรียนปฏิบัติจริง เพื่อช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดสติ รู้จักควบคุมอารมณ์ และจิตใจของตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน
The objectives of this mixed method thesis are as follows: 1) to study the expectations of the state policy in Buddhist propagation among secondary school students in Si Maha Phot district of Prachinburi province, 2) to compare the expectations of the state policy of Buddhist propagation of secondary school students in Si Maha Phot district of Prachinburi province with different genders, ages, education level, residences and incomes, and 3) to suggest the development of state policies for Buddhist propagation in Si Maha Phot District of Prachinburi Province. The population and samples used in the research were secondary school students in 11 secondary schools in Si Maha Phot district of Prachinburi province. The total populations were 4,698, and the sample size obtained by using the formula of "Taro Yamane" was 400 people. The research instrument is a five – level estimation scale query. The total reliability value is 0.94. The statistics used in the data analysis are frequency, percentage, mean, and standard deviation, and test statistics, namely independent deviation, to test the differences of two groups of independent variables using a ready – made program. The qualitative data were collected by in – depth interviews with 6 key – Informants, selected by a purposive selection, including representatives of secondary school students in Si Maha Phot district, Prachinburi province. The instruments used in the interview were semi – structured interviews and mobile phones to record images and sounds during interviews. The results showed that: 1) expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha phot high schools in Prachinburi province were at a high level overall and in aspects. 2) The results of the hypothetical research test showed that people of different genders had different expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha Phot high schools of Prachinburi province with statistically significant figure at the 0.05 level, which was intertwined with the hypothesis. People of different ages, education levels, residences and incomes had expectations for the state policy of Buddhist propagation in Si Maha Phot high schools in Prachinburi province as a whole indifferently, which was irrelevant to the hypothesis. 3) The recommendations for development that obtained from the study include: (1) In qualifications of instructors, the problems are teacher – monks speak too direct when teaching, rarely careful with words, express aggressive behavior, lack of maturity to control their emotions, and often smoke in schools. The suggestion is to behave as a role model for youths and not being involved in any kind of addiction. (2) In missionary Ability, the problems are teacher – monks cannot define the curriculum structure in accordance with the goal of student – center – learning, and they use the curriculum that has not been developed to match the modern day. The suggestion is that the teaching process should be developed according to the curriculum structure that has been modernized to the current situation. (3) In the field of propagation materials, the problems are teacher – monks lack knowledge, and ability to apply technological media used in teaching or as an accessory for describing the contents of the subjects taught. The suggestion is that they should be educated and trained in the use of technology as an accessory for describing the subject contents taught. (4) Missionary Funding, the problems are teacher – monks must report their teaching loads each month to receive state support, which sometimes requires approval around quarters or around the academic year, and it causes the shortage of funding to be used to produce teaching materials during the academic year. (5) Benefits of missionary, the problems are teacher – monks lack knowledge transfer skills and do not have a wide range of teaching techniques. The contents of the study are very inconsistent with the time it takes to do the instruction. The suggestion is to focus on learning along with practicality of the learners to help make sure that the learners are conscious and to control their emotions and mind in their daily lives.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง แตกต่างกัน และ 3. เพื่อสัมภาษณ์ข้อเสนอแนะและแนวทางส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (T-test ) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA ) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) และวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงบรรยาย ผลของวิจัยพบว่า 1. บุคลากรทางการศึกษาในเขตบางแคที่มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง รองลงมาด้านความภราดรภาพ ด้านสิทธิเสรีภาพ และด้านความเสมอภาค อยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ 2. บุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ต่างกัน มีทัศนคติการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีทัศนคติต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3. จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 4 ด้าน ดังนี้ คนทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความภารดรภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการดำรงชีวิตของตนเอง มีสิทธิที่จะปกป้องตัวเองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของตนได้ มีสิทธิที่จะออกเสียงในการกระทำต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของตนและส่วนรวม ได้อยู่ภายใต้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของตนและกระทำการต่าง ๆ ได้ตามกฎหมายกำหนด สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขไม่มีปัญหาขัดแย้งต่อกันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง แตกต่างกัน และ 3. เพื่อสัมภาษณ์ข้อเสนอแนะและแนวทางส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานทางการศึกษา ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า (T-test ) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One-way ANOVA ) หากพบความแตกต่างทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé) และวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงบรรยาย ผลของวิจัยพบว่า 1. บุคลากรทางการศึกษาในเขตบางแคที่มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง รองลงมาด้านความภราดรภาพ ด้านสิทธิเสรีภาพ และด้านความเสมอภาค อยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ 2. บุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ต่างกัน มีทัศนคติการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีทัศนคติต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3. จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร มีทัศนคติต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 4 ด้าน ดังนี้ คนทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความภารดรภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการดำรงชีวิตของตนเอง มีสิทธิที่จะปกป้องตัวเองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของตนได้ มีสิทธิที่จะออกเสียงในการกระทำต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของตนและส่วนรวม ได้อยู่ภายใต้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของตนและกระทำการต่าง ๆ ได้ตามกฎหมายกำหนด สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขไม่มีปัญหาขัดแย้งต่อกันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
The objectives of this thesis are as follows: 1.To study the opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok towards democracy, 2. To compare the opinions towards democracy of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok with different gender, age, education level and position, and 3. To collect recommendations and guidelines for promoting democracy according to the opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok. The mixed research methods were used in the study. The sample group used in this research was 288 educational personnel in Bang Khae district of Bangkok. The data were collected by questionnaire and in-depth interviews with 9 key-informants. The statistics used in the data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and value. (T-test), one-way variances test (F-test or One-way ANOVA). If differences were found, test individually by Scheffé method. The interview data were analyzed by content analysis. The research results were found that: 1. The opinions of educational personnel in Bang Khae district of Bangkok towards democracy in all 4 aspects were at a low level. When considering each aspect, the highest average level was on political participation, followed by fraternity, rights and liberties, and equality respectively. 2. The educational personnel in Bang Khae district of Bangkok with different gender, education level and position had different opinions towards democracy with significantly statistic figure at the 0.05 level. There was no difference in opinion level among those with different age. 3. The results from the in-depth interviews are 4 as follows: Everyone has rights, liberties, equality, fraternity, political participation in their own life. Everyone has the rights to protect oneself from the infringement of others' rights; has the rights to vote in any action for the benefit of oneself and the public; is under the law that protects their rights and can act in accordance with the law, able to live together in society peacefully and happily.
หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการปกครอง 2) เพื่อศึกษาการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่า และประโยชน์ของพุทธวิธีการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรม สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา ในเรื่องพุทธวิธีการปกครองกับหลัก อปริหานิยธรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอเชิงพรรณาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธวิธีการปกครอง เป็นการปกครอง ควบคุม ดูแลหมู่คณะ โดยใช้หลักการหรือแนวคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของหมู่หรือของสังคมนั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก 2) อปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่เป็นนักปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร เมื่อนำมาใช้ในการปกครองคณะสงฆ์ จะสามารถดำเนินไปในทิศทางที่ดีไม่มีเสื่อม มีแต่ความเจริญก้าวหน้า 3) คุณค่าและประโยชน์ของพุทธวิธีการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ ได้แก่ การประชุมกันเนืองนิตย์ การประชุมพร้อมเพรียงกัน เมื่อเลิกประชุมก็เลิกพร้อมเพรียงกัน และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ การไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติไว้ และไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ด้วยการประพฤติมั่นอยู่ในธรรมครั้งโบราณ ตามที่ท่านบัญญัติไว้ในพุทธวิธีการปกครอง การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหลาย และให้ความสำคัญต่อถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนจึงเชื่อฟังในพุทธวิธีการปกครอง การไม่ข่มขืน บังคับปกครองสตรี ตามอำนาจของกิเลสตัณหา การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ สถานที่ควรเคารพ ทั้งภายในและภายนอก และไม่ลบล้างพิธีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้และเคยทำ และการถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ทะนุบำรุงผู้ทรงศีล หรือพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้ เช่น เกิดความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คณะ, คนที่อยู่รวมกัน ไม่กินแหนงแคลงใจกัน จะทำงานอะไรก็สำเร็จได้, บ้านเมืองสงบสุข, ความปกติสุขของชีวิต และอัตลักษณ์, เป็นความเจริญทั้งแก่ตนเองและหมู่คณะลดอัตตาความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง และได้รับมรดกทางภูมิปัญญาไม่เกิดความเสื่อมของสังคมยังความเจริญให้กับครอบครัว และประเทศช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของหมู่คณะสร้างความศรัทธา และความน่าเชื่อถือให้กับสถานที่ยังกุศล และความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น, ทำให้อรหันต์ที่ยังไม่มายังให้มา และ แก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้โดยง่าย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการปกครอง 2) เพื่อศึกษาการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่า และประโยชน์ของพุทธวิธีการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรม สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา ในเรื่องพุทธวิธีการปกครองกับหลัก อปริหานิยธรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทแล้วนำเสนอเชิงพรรณาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) พุทธวิธีการปกครอง เป็นการปกครอง ควบคุม ดูแลหมู่คณะ โดยใช้หลักการหรือแนวคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของหมู่หรือของสังคมนั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก 2) อปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่เป็นนักปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร เมื่อนำมาใช้ในการปกครองคณะสงฆ์ จะสามารถดำเนินไปในทิศทางที่ดีไม่มีเสื่อม มีแต่ความเจริญก้าวหน้า 3) คุณค่าและประโยชน์ของพุทธวิธีการปกครองตามแนวอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการ ได้แก่ การประชุมกันเนืองนิตย์ การประชุมพร้อมเพรียงกัน เมื่อเลิกประชุมก็เลิกพร้อมเพรียงกัน และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ การไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติไว้ และไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ด้วยการประพฤติมั่นอยู่ในธรรมครั้งโบราณ ตามที่ท่านบัญญัติไว้ในพุทธวิธีการปกครอง การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหลาย และให้ความสำคัญต่อถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนจึงเชื่อฟังในพุทธวิธีการปกครอง การไม่ข่มขืน บังคับปกครองสตรี ตามอำนาจของกิเลสตัณหา การสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ สถานที่ควรเคารพ ทั้งภายในและภายนอก และไม่ลบล้างพิธีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้และเคยทำ และการถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ทะนุบำรุงผู้ทรงศีล หรือพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้ เช่น เกิดความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คณะ, คนที่อยู่รวมกัน ไม่กินแหนงแคลงใจกัน จะทำงานอะไรก็สำเร็จได้, บ้านเมืองสงบสุข, ความปกติสุขของชีวิต และอัตลักษณ์, เป็นความเจริญทั้งแก่ตนเองและหมู่คณะลดอัตตาความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง และได้รับมรดกทางภูมิปัญญาไม่เกิดความเสื่อมของสังคมยังความเจริญให้กับครอบครัว และประเทศช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของหมู่คณะสร้างความศรัทธา และความน่าเชื่อถือให้กับสถานที่ยังกุศล และความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น, ทำให้อรหันต์ที่ยังไม่มายังให้มา และ แก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้โดยง่าย
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the Buddhist method of government 2) to study the rule of the abyss 3) to analyze the values and benefits of the Buddhist method of government according to the abysmal rule fair This thesis is a qualitative research. which focuses on document research by studying the Tripitaka and from documents related to Buddhism in the matter of Buddhism, methods of governance and the principle of aparihaniyadhamma by analyzing the content in context and then presenting it descriptively. The results of the research were found that: The results showed that 1) Buddhist methods of government It is the governance, control and supervision of the group by using principles or teachings in Buddhism in order to lead to the goals of that group or society for the benefit and happiness of the masses. teach Discipline is an order”, including the teachings of the Buddha called "Phra Dhamma Winai" is the rule of the Buddhist company, that is, His Highness gives decision-making power to the Sangha to consider. Judging in the management of the group or giving greatness to the Sangha by adhering to the principles of democracy 2) The principle of aparihaniyadhamma was found to be 7 principles that the Licchawi King brought to the constitution to rule the country. Dharma in Buddhism which the Supreme Lord Buddha taught when he came to Vajji for the first time According to the invocation of Chao Licchavi named Mahali, it is a principle related to those who are rulers of both the kingdom and the Buddhachakra. when used in the administration of the clergy will be able to proceed in a good direction without deterioration only progress. 3) Values and benefits of the Buddhist way of government according to the seven principles of paranoid dharma; meeting in unison At the end of the meeting, it was canceled at the same time. and ready to help each other do the things that should be done Failure to enact things that have not yet been stipulated and not withdraw what you have ordained with adherence to the Dharma of ancient times as he ordained in the Buddhist way of government, to pay homage to, to respect, to venerate, to worship the elders and gave importance to the words of those people as words of their own so they obeyed in the Buddhist way of governing, not rape, forced to rule over women According to the power of passion, worship, respect, revere, worship a stupa, a place to be respected inside and outside and does not negate the righteous rites that have been given and performed and offering protection, protection, and maintenance of the precepts or all arahants as well which has the following benefits, such as justice, unity among the group, people who live together Do not worry about each other Any work can be accomplished, the country is peaceful, the normalcy of life. and identity, being a prosperous one for oneself and a group, reducing ego Self-confidence and, inherited wisdom, does not cause the decline of society, promotes prosperity for the family and the country, helps to hold the minds of the group, builds faith and credibility to the place, benevolence and credibility to arise, make the Arhat who have not yet come yet to come and solve the problems of the country easily
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารสินทรัพย์ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารการบัญชี ด้านการตรวจสอบติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ด้านการจัดสรรงบประมาณ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r = .684) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารสินทรัพย์ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารการบัญชี ด้านการตรวจสอบติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ด้านการจัดสรรงบประมาณ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r = .684) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The objectives of this research were: 1) to study the school administrators’ leadership under the secondary educational service area office Bangkok 1, 2) to study the efficiency budget management in schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 and 3) to study the school administrators’ leadership and the efficiency budget management in schools under the secondary educational service area office Bangkok 1. A sample of 16 schools 352 people comprising. The instrument used in this study was questionnaires. The statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’ simple correlation coefficient. The results of the research ware as follows: 1) the school administrators’ leadership under the secondary educational service area office Bangkok 1 in overall was at a high level. The ranging by the average from high to low that aspect of having an ideological influence, inspiring and in regards to individuality respectively. 2) the efficiency budget management in schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 in overall was at a high level The ranging by the average from high to low that financial management, Asset Management and the preparation and proposing of the budget respectively. 3) the school administrators’ leadership and the efficiency budget management in schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 overall was at a high level was statistically significant at the 0.01 level. The correlation coefficient 0.684 was statistically significant at the 0.01 level.