Search results

7 results in 0.04s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด)พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์(ศน.ด)พุทธศาสนาและปรัชญา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสอน ๒) เพื่อศึกษานวังคสัตถุศาสน์ ๓) เพื่อบูรณาการ การสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสารชั้นปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถา และเอกสารชั้นทุติยภูมิอื่น ๆ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งด้านการสอนและด้านพระพุทธศาสนา จำนวน ๑๗ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนทางการศึกษาในโลกโดยมากใช้รูปแบบอนุกรมวิธานของบลูม (Bloom’s Taxonomy) เป็นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ๓ ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสามารถทางปัญญา ๖ ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ด้านจิตพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทางใจ ๕ ระดับ ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างค่านิยม การจัดรวบรวม และการสร้างลักษณะนิสัย ด้านทักษะพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ๕ ระดับ ได้แก่ การเลียนแบบ การทำตามข้อกำหนด การทำอย่างมีคุณภาพ การผสมผสาน และการปรับตัว ปัจจุบันได้มีปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนมาเป็นทักษะการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ มุ่งพัฒนาทักษะผู้เรียน ๕ ด้าน คือ การรู้หนังสือ การคิด การทำงาน การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ และการใช้ชีวิต เนื้อหาทางการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาทั้งระบบ เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ เป็นลักษณะการเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง ๙ ประการ คือ สุตตะ (บรรยาย) เคยยะ (ท่วงทำนอง) เวยยากรณะ (แจกแจง) คาถา (กวี) อุทานะ (เปล่งออกมาจากความรู้สึก) อิติวุตตกะ (อ้างอิง) ชาตกะ (อดีตชาติ) อัพภูตธรรมะ (อัศจรรย์) และเวทัลละ (ถามตอบ) แต่ละลักษณะมุ่งให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบ เนื้อหา ถ้อยคำการสื่อสาร และความพร้อมของผู้เรียนที่เกี่ยวกับบุคคล เวลา และสถานที่ การสอน ในพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้เรียนได้เข้าใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน การบูรณาการการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ สามารถบูรณาการใน ๔ มิติ คือ ๑) โครงสร้างองค์รวม เป็นการเรียนรู้คำสอนเชิงโครงสร้างแบบบรรยาย บรรยายประกอบกวี และบทกวี เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะทั้งการบรรยายและกวี ๒) สารัตถธรรม เป็นการเรียนรู้เนื้อหาคำสอน ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกื้อกูลกันในสังคม รักษากฎเกณฑ์ทางสังคม ฝึกฝนอบรมจิตใจให้เข้มแข็งและรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว ๓) นิรุกติศาสตร์ เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางภาษาและ การสื่อสาร รู้จักวิธีตีความคำสอนให้เป็นไปตามนัยที่พระพุทธเจ้ามุ่งหมายและเป็นการใช้ภาษา ให้เหมาะกับบุคคลและกาลเทศะ ๔) ความพร้อมของบุคคล เป็นการพัฒนาให้รู้จักสังเกตความพร้อมของผู้เรียนทั้งปัจจัยภายใน คือ ความเชื่อมั่น ขยัน สนใจ ตั้งใจ และตื่นตัว และปัจจัยภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่พร้อมทำงานเต็มที่ จากการบูรณาการทั้ง ๔ ด้านนี้ย่อมสร้างความสมดุล ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทั้งด้านศาสตร์ คือ ความรู้ในหลักวิชาและหลักปฏิบัติ (มัชเฌนธรรมและมัชฌิมาปฏิปทา) ด้านศิลป์ คือ ความรู้สึกและความประพฤติที่งดงาม (สันติธรรมและสุนทรียธรรม)
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสอน ๒) เพื่อศึกษานวังคสัตถุศาสน์ ๓) เพื่อบูรณาการ การสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์” ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสารชั้นปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถา และเอกสารชั้นทุติยภูมิอื่น ๆ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งด้านการสอนและด้านพระพุทธศาสนา จำนวน ๑๗ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนทางการศึกษาในโลกโดยมากใช้รูปแบบอนุกรมวิธานของบลูม (Bloom’s Taxonomy) เป็นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ๓ ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสามารถทางปัญญา ๖ ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ด้านจิตพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทางใจ ๕ ระดับ ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างค่านิยม การจัดรวบรวม และการสร้างลักษณะนิสัย ด้านทักษะพิสัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ๕ ระดับ ได้แก่ การเลียนแบบ การทำตามข้อกำหนด การทำอย่างมีคุณภาพ การผสมผสาน และการปรับตัว ปัจจุบันได้มีปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนมาเป็นทักษะการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ มุ่งพัฒนาทักษะผู้เรียน ๕ ด้าน คือ การรู้หนังสือ การคิด การทำงาน การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ และการใช้ชีวิต เนื้อหาทางการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาทั้งระบบ เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ เป็นลักษณะการเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง ๙ ประการ คือ สุตตะ (บรรยาย) เคยยะ (ท่วงทำนอง) เวยยากรณะ (แจกแจง) คาถา (กวี) อุทานะ (เปล่งออกมาจากความรู้สึก) อิติวุตตกะ (อ้างอิง) ชาตกะ (อดีตชาติ) อัพภูตธรรมะ (อัศจรรย์) และเวทัลละ (ถามตอบ) แต่ละลักษณะมุ่งให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบ เนื้อหา ถ้อยคำการสื่อสาร และความพร้อมของผู้เรียนที่เกี่ยวกับบุคคล เวลา และสถานที่ การสอน ในพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้เรียนได้เข้าใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน การบูรณาการการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ สามารถบูรณาการใน ๔ มิติ คือ ๑) โครงสร้างองค์รวม เป็นการเรียนรู้คำสอนเชิงโครงสร้างแบบบรรยาย บรรยายประกอบกวี และบทกวี เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะทั้งการบรรยายและกวี ๒) สารัตถธรรม เป็นการเรียนรู้เนื้อหาคำสอน ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกื้อกูลกันในสังคม รักษากฎเกณฑ์ทางสังคม ฝึกฝนอบรมจิตใจให้เข้มแข็งและรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว ๓) นิรุกติศาสตร์ เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางภาษาและ การสื่อสาร รู้จักวิธีตีความคำสอนให้เป็นไปตามนัยที่พระพุทธเจ้ามุ่งหมายและเป็นการใช้ภาษา ให้เหมาะกับบุคคลและกาลเทศะ ๔) ความพร้อมของบุคคล เป็นการพัฒนาให้รู้จักสังเกตความพร้อมของผู้เรียนทั้งปัจจัยภายใน คือ ความเชื่อมั่น ขยัน สนใจ ตั้งใจ และตื่นตัว และปัจจัยภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่พร้อมทำงานเต็มที่ จากการบูรณาการทั้ง ๔ ด้านนี้ย่อมสร้างความสมดุล ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถทั้งด้านศาสตร์ คือ ความรู้ในหลักวิชาและหลักปฏิบัติ (มัชเฌนธรรมและมัชฌิมาปฏิปทา) ด้านศิลป์ คือ ความรู้สึกและความประพฤติที่งดงาม (สันติธรรมและสุนทรียธรรม)
ทั้งนี้ต้องอาศัยรูปแบบทางนวัตกรรมทางการศึกษาและการรวมลงสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น เพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญารู้ทันและรู้แก้ปัญหาในชีวิต จากการสังเคราะห์ผลวิจัยจึงได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรูปแบบบูรณาการการสอนพระพุทธศาสนาตามแนวนวังคสัตถุศาสน์ คือ การเรียนการสอนพระพุทธศาสนาที่สร้างทักษะทางศาสตร์และศิลป์ อาศัยนวัตกรรมและการปล่อยวางเพื่อความสุขในชีวิต เรียกว่า SAINP Model
The objectives of the dissertation entitled “Buddhist Teaching Methods according to Navangasatthussana” were as follows: 1) to study the concept and theory of teaching, 2) to study Navangasatthussana, 3) to integrate the teaching methods according to Navangasatthussana, and 4) to propose a guideline in building the new body of knowledge regarding the model of integrating the Buddhist teaching method according to Navangasatthussana”. The research employed the documentary qualitative methodology collecting data from the primary source, Tipitaka and Commentaries, other related secondary sources, and in-depth interviews with 17 key-informants in teaching and in Buddhism. The research results found that: Bloom’s Taxonomy model was used in most teaching methods as a learning psychological base with the focus on the development of learners’ three domains; cognitive domain to develop learners’ intellectual abilities in six skills including knowledge, understanding, implementation, analysis, synthesis and evaluation, affective domain to develop learners’ mental abilities in five skills including perception, response, creating values, organizing and creating character traits, and psychomotor domain to develop learners’ skills in five levels including imitation, following the requirements, quality doing, integration and adjustment. Nowadays the teaching model has been changed to learning skills in the 21st century with the aim to develop learners’skills in five areas: literacy, thinking, working, information technology, and living. Navangasatthussana is a characteristic of learning the Buddha’s teachings in nine aspects; Sutta (descriptive), Geyya (melody), Veyykarana (enumerating), Gth (poem), Udna (proclaiming by deep feeling), Itivuttaka (reference), Jtaka (previous birth), Abbhtadhamma (miracle), and Vedalla (question and answer). Each characteristic aims at understanding the form, content, words, communication, and readiness of the learners regarding person, time and place. Buddhist teaching focuses on learners’ understanding and internal change. Integration of Buddhist teaching in accordance with Navangasatthussana could be done in four dimensions; 1) the holistic structure, learning in the descriptive, descriptive and poetry, and the poetry structure in order to improve learners’ skills in both description and poetry, 2) the essence of Dhamma, learning the Buddhist contents for helping each other in society, preserving social rules, training mind to control defilements, and being aware of events occurring around, 3)hermeneutics, to develop learners with skills in languages and communication, interpreting the Buddha’s teachings correctly, and using language suitable to person, space and time, and 4) the readiness of the person, developing and observing the readiness of the learners in both internal factors; confidence, diligence, interest, intention and alertness, and external factors; eyes, ears, nose, tongue, and body. The integration of the four aspects will create a balance in the development of learners’ ability in both science or knowledge in both principles and practices (Majjhenadhamma and Majjhimpatipadh), and arts or good feeling and good behaviors (Santidhamma and Sundhariyadhamma). Both sides need to gain encouragement from an education innovation and non-attachment in order to accomplish the wisdom and solution of life problems. The new body of knowledge about Buddhist teaching methods according to Navangasatthussana synthesized from the study is to learn and teach Buddhism for creating skills in arts and science through educational innovation and non-attachment for happiness in life, and that can be concluded into a SAINP Model.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553