Search results

2 results in 0.03s

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปรัชญาปฏิรูปนิยม 2. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3. เพื่อเปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปรัชญาปฏิรูปนิยม สรุปว่า ปรัชญาปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการแนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมีปรัชญาว่า ปฏิรูปสังคม เพื่อชีวิตที่ชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของตนเองดีขึ้น 2. ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกระบวนการให้และการรับความรู้ ประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติการสร้างจิตสำนึก สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีปรัชญาว่า ชีวิตที่สุขเกษมดีงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่สมดุล ในสังคมที่สันติสุข 3. เปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปได้ดังนี้ 1) เปรียบเทียบหลักสูตรโดยทั้งสองปรัชญามุ่งเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางในด้านสังคม 2) เปรียบเทียบการบริหารการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาครูเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน 3) เปรียบเทียบบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารเป็นสำคัญ 4) เปรียบเทียบการจัดการสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นให้สถาบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 5) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสอนที่สอดคล้องกับสังคม 6) เปรียบเทียบทรัพยากรทางการศึกษา ปรัชญาทั้งสองลัทธิมุ่งเน้นทรัพยากรในการบริหารและทรัพยากรการศึกษาเป็นหลักสำคัญ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปรัชญาปฏิรูปนิยม 2. เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3. เพื่อเปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปรัชญาปฏิรูปนิยม สรุปว่า ปรัชญาปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการแนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมีปรัชญาว่า ปฏิรูปสังคม เพื่อชีวิตที่ชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของตนเองดีขึ้น 2. ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นกระบวนการให้และการรับความรู้ ประสบการณ์ การปรับเปลี่ยนทัศนคติการสร้างจิตสำนึก สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีปรัชญาว่า ชีวิตที่สุขเกษมดีงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่สมดุล ในสังคมที่สันติสุข 3. เปรียบเทียบปรัชญาปฏิรูปนิยมกับปรัชญาการศึกษาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สรุปได้ดังนี้ 1) เปรียบเทียบหลักสูตรโดยทั้งสองปรัชญามุ่งเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางในด้านสังคม 2) เปรียบเทียบการบริหารการศึกษามุ่งเน้นพัฒนาครูเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน 3) เปรียบเทียบบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้บริหารเป็นสำคัญ 4) เปรียบเทียบการจัดการสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นให้สถาบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 5) เปรียบเทียบกระบวนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสอนที่สอดคล้องกับสังคม 6) เปรียบเทียบทรัพยากรทางการศึกษา ปรัชญาทั้งสองลัทธิมุ่งเน้นทรัพยากรในการบริหารและทรัพยากรการศึกษาเป็นหลักสำคัญ
The objectives of this thesis were as follows; 1) to study Reconstructionism, 2) to study education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto), and 3) to compare Reconstructionism and education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto). The data of this documentary qualitative study were collected from the primary and secondary sources concerned. The results of the study found that: 1) The Reconstructionism is originated from the combination of pragmatism and progressivism by placing a focus on education for society. Its slogan is social reform for intellectual life and better environment. 2) The education philosophy of Somdet PhraPhutthaghosajahn (P.A. Payutto) is the process of giving and receiving experiences, attitude adjustment and building awareness in order to live a life in society appropriately. Its slogan is a good and happy life in balanced nature in a peaceful society. 3) It can be concluded from the comparison as follows: (1) In curriculum, both concepts place a focus on a specific excellence in society, (2) In educational administration, both concepts aim to develop teachers for problem solving in communities, (3) In educational personnel, education administrators are specially emphasized, (4) In educational institution management, both concepts accept educational institutes are the learning sources of communities, (5) In teaching and learning process and technology, student-centered learning and learning relevant to social contexts are focused, and (6) In educational resources, both philosophies emphasize administrative resources as well as educational resources.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำนวน 125 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ 3) การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การควบคุมตามแผนกลยุทธ์ และ 5) การประเมินแผนกลยุทธ์ 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับคนพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เท่ากับ 1.00 2) ด้านการวิเคราะห์แผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.99 3) ด้านการควบคุมตามแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.96 4) ด้านการประเมินและรับรอง เท่ากับ 0.90 และ 5) ด้านการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ เท่ากับ 0.89 ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน พบว่า มีการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ( = 4.27) อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
The purposes of this research were: 1) to study the elements of strategic management for the disabled in special education schools, 2) to establish a strategic management model for the disabled in special education schools, and 3) to assess and certify the strategic management model for the disabled in special education schools. The mixed research method was used in the study. The data were collected from 340 samples of 125 special education schools. The samples consisted of school directors, deputy directors and officials. The research instrument was a 5-level semi-structured questionnaire with confidential level at 0.98. The data were analyzed by descriptive statistics including frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis (EFA) and confirmatory factor analysis (CFA) through statistical computer package. The results of this research revealed that: 1.The elements of strategic management for the disabled in special education schools collected from concepts, theories, papers, texts, research works and related sources and then analyzed by Exploratory Factor Analysis (EFA) could be concluded into five main components; 1) strategic planning, 2) strategic plan analysis, 3) implementation of the strategic plan, 4) control of the strategic plan, and 5) evaluation of the strategic plan. 2. The results of establishing a strategic management model for the disabled in special education schools analyzed by Confirmatory Factor Analysis (CFA) found that the factor loading was 0.89-1.00, in descending order of element weight: 1) the implementation of the strategic plan was 1.00, 2) the strategic plan analysis was 0.99, 3) strategic plan control was 0.96, 4) evaluation and certification was 0.90, and 5) strategic planning was 0.89 respectively. The established model was consistent with the empirical data. 3. The results of assessment and approval of the model in terms of accuracy, suitability, possibility and benefits from 17 experts were at a high level with a figure at 4.27 (= 4.27). It could be concluded that the model was above the specified criteria and approved.