Search results

2 results in 0.03s

หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียน จำนวน 121 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 460 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จากการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2561) ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่าน โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ วิชาภาษาไทยวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ ตามลำดับ 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.607 (R = 0.607) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ร้อยละ 36.8 (R^2= 0.368) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียน จำนวน 121 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 460 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จากการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2561) ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่าน โดยการจัดอันดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ วิชาภาษาไทยวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ ตามลำดับ 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.607 (R = 0.607) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ร้อยละ 36.8 (R^2= 0.368) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
The objectives of this research were: 1) to study academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2, 2) to study learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2, and 3) to study academic affairs administration of administrators affecting the learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2. The data were collected from 460 informants from 92 schools out of 121 schools by using questionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple regressions. The results of the study were found that: 1) The academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 was at a high level overall. In ranging order, the highest level was on learning innovation and technology development, followed by internal quality assurance assessment, evaluation, measurement and transfer of credits, curriculum development, learning process development, education supervision, and educational quality development research respectively. 2) The learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 from National Institute of Educational Testing Service (2561) was at a passed level in total. The highest average level was on Thai language, followed by Science, English and Mathematics respectively. 3) The academic affairs administration of administrators affecting the learning achievement of students in schools under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 was at a statistic significant level at 0.01. The most significant level was on educational quality development research and learning process development with a statistic figure at 0.01 and multiple correlation coefficient at 0.607 (R = 0.607) which can explain the variance of academic affairs administration of school administrators under Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2 at 36.8% (R^2= 0.368). It can be written in predicting equations as follows: The predicting equation of raw score (Y) Y= 7.923 + 1.988 (x4) + 2.394 (x2) (R^2= 0.368) The predicting equation of standard score (Zy) Zy= 0.385 (x4) + 0.298 (x4) (R^2= 0.368)
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษา 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการนิเทศ 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ การพัฒนาหลักสูตรควรจัดเนื้อหาและประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชุมชนและความต้องการของชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีระบบนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ ประเมินผลและสรุปผลแผนงาน โครงการกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการจัดการศึกษาต่อไป
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษา 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการนิเทศ 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ การพัฒนาหลักสูตรควรจัดเนื้อหาและประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชุมชนและความต้องการของชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีระบบนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ ประเมินผลและสรุปผลแผนงาน โครงการกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการจัดการศึกษาต่อไป
The objectives of the research were 1) to study the situation of the academic affairs administration based on the threefold training to develop learners in private school promotion groups under kalasin provincial education office 2) to compare the academic affairs administration based on the threefold training to develop learners in private school promotion groups under kalasin provincial education office, classified by gender, job experience and education, and 3) to collect the related recommendations as suggested by the returned responses. The samples were 327 staff members of the schools as mentioned and the device used for data collection was the 5-rating scale questionnaire with content validity as high as 0.67 – 1.00, and reliability at .93. The research results were as follows: 1) The situation of the academic affairs administration based on the threefold training to develop learners in private school promotion groups under kalasin provincial education office, was, in both overall and individual aspects, found to stand at the ‘MUCH’ level. The aspect that stand at the top of the scale in terms of mean was curriculum and curricular development, followed by evaluation and assessment, class management and supervision, respectively. 2) The comparison of the academic affairs administration based on the threefold training to develop learners in private school promotion groups under kalasin provincial education office, classified by gender, job experience and education, was, in both overall and individual aspects, found to display no statistically significant difference. 3) The recommendations suggested by the returned responses are as follows: (1) The contents of curriculum should be designed to meet with the community needs. (2) Extracurricular activities should be drawn up as student-centered programs. (3) Regular supervision and follow-up should be implemented. (4) All plans and projects require evaluation and assessment in order that the weakness might be revised and the strengths might be promoted for the sake of the most effective management of education.