Search results

264 results in 0.11s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยเรื่อง “บูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการทางศาสนาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักการทางปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 3) เพื่อบูรณาการหลักการ ทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่องบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักการทางศาสนาและปรัชญาจำนวน 15 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับ หลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1. ศาสนาถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทและความสำคัญ ต่อมนุษย์บนโลกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสังคมที่ทำหน้าที่อบรมขัดเกลาคน ในสังคมให้อยู่บนบรรทัดฐานเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจของคนโดยทั่วไป สามารถกำหนดรูปแบบแนวทางการแสดงออกของมนุษย์ได้ โดยส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมที่เป็นวิถีชีวิตที่มนุษย์ปฏิบัติในสังคม ส่วนหลักการพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ ไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา 2. ปรัชญาจะทำหน้าที่ศึกษา โลกและชีวิตไว้ทั้งหมดหาคำตอบที่เป็นความจริงที่เป็นนิรันดร ด้วยวิธีการทางตรรกวิทยาและจะเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคตามสมัยแล้วแต่ว่าจะสนใจที่จะศึกษาในเรื่องใดหรือปัญหาใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ สำหรับปรัชญาการศึกษาจะมี 5 สำนัก ได้แก่ 1) สารัตถนิยม 2) นิรันตรนิยม 3) พิพัฒนาการนิยม 4) ปฏิรูปนิยม และ5) อัตถิภาวนิยม 3. จุดมุ่งหมายของการศึกษา หลักสูตร วิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจและผู้เรียนผู้สอนในระบบการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามารถนำเอาหลักของพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ไตรสิกขา อันประกอบด้วยศีลสิกขา ที่ช่วยควบคุมทางกาย และวาจา สมาธิสิกขา ช่วยให้ผู้เรียนควบคุมจิตใจตนเองได้ และปัญญาสิกขา ช่วยทำให้ผู้เรียนที่พร้อมจะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ และปรัชญาการศึกษา 5 สำนัก ได้แก่ 1) สารัตถนิยม ส่งผลให้ผู้เรียนมีการสร้างวินัยในตนเองของผู้เรียน 2) นิรันตรนิยม สามารถนำความรู้จากศาสตร์อื่นมาเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ได้ตามเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ 3) พิพัฒนาการนิยม ปฏิบัติจนเกิดเป็นประสบการณ์มีประโยชน์การปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์จริง 4) ปฏิรูปนิยม ทำให้ผู้เรียนมีความคิดพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และ 5) อัตถิภาวนิยม ให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง กล้าตัดสินใจและกล้ายอมผิดชอบผลของของการกระทำนั้น ด้วยจิตใจที่กล้าหาญเสียสละ 4. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” ในครั้งนี้ได้แก่ “MWA Model”
การศึกษาวิจัยเรื่อง “บูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการทางศาสนาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักการทางปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 3) เพื่อบูรณาการหลักการ ทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่องบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักการทางศาสนาและปรัชญาจำนวน 15 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับ หลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1. ศาสนาถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทและความสำคัญ ต่อมนุษย์บนโลกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสังคมที่ทำหน้าที่อบรมขัดเกลาคน ในสังคมให้อยู่บนบรรทัดฐานเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจของคนโดยทั่วไป สามารถกำหนดรูปแบบแนวทางการแสดงออกของมนุษย์ได้ โดยส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมที่เป็นวิถีชีวิตที่มนุษย์ปฏิบัติในสังคม ส่วนหลักการพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ ไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา 2. ปรัชญาจะทำหน้าที่ศึกษา โลกและชีวิตไว้ทั้งหมดหาคำตอบที่เป็นความจริงที่เป็นนิรันดร ด้วยวิธีการทางตรรกวิทยาและจะเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคตามสมัยแล้วแต่ว่าจะสนใจที่จะศึกษาในเรื่องใดหรือปัญหาใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ สำหรับปรัชญาการศึกษาจะมี 5 สำนัก ได้แก่ 1) สารัตถนิยม 2) นิรันตรนิยม 3) พิพัฒนาการนิยม 4) ปฏิรูปนิยม และ5) อัตถิภาวนิยม 3. จุดมุ่งหมายของการศึกษา หลักสูตร วิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจและผู้เรียนผู้สอนในระบบการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามารถนำเอาหลักของพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ไตรสิกขา อันประกอบด้วยศีลสิกขา ที่ช่วยควบคุมทางกาย และวาจา สมาธิสิกขา ช่วยให้ผู้เรียนควบคุมจิตใจตนเองได้ และปัญญาสิกขา ช่วยทำให้ผู้เรียนที่พร้อมจะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ และปรัชญาการศึกษา 5 สำนัก ได้แก่ 1) สารัตถนิยม ส่งผลให้ผู้เรียนมีการสร้างวินัยในตนเองของผู้เรียน 2) นิรันตรนิยม สามารถนำความรู้จากศาสตร์อื่นมาเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ได้ตามเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ 3) พิพัฒนาการนิยม ปฏิบัติจนเกิดเป็นประสบการณ์มีประโยชน์การปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์จริง 4) ปฏิรูปนิยม ทำให้ผู้เรียนมีความคิดพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และ 5) อัตถิภาวนิยม ให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง กล้าตัดสินใจและกล้ายอมผิดชอบผลของของการกระทำนั้น ด้วยจิตใจที่กล้าหาญเสียสละ 4. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” ในครั้งนี้ได้แก่ “MWA Model”
The objectives of the research entitled “Integration of Religious and Philosophical Principles for Enhancing Education of Royal Police Cadet Academy” were as follows: 1) to study the religious principles for enhancing education of Thai Police Cadet Academy, 2) to study the philosophical principles for enhancing education of Thai Police Cadet Academy, 3) to integrate the religious and philosophical principles for enhancing education of Royal Police Cadet Academy, and 4) to present a new model of integration of religious and philosophical principles for enhancing education of Royal Police Cadet Academy. The data of this qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, related documents and in-depth interviews with 15 experts in religion and philosophy. The data were analyzed and presented for enhancing education of Royal Police Cadet Academy. The study results indicated as follows:- 1. Religion is an important institution of humans in this world as part of a culture and society that refines people to be on the basis of social norms and is the mental refuge. The religion generally can shape the human expressions and have and effect to their beliefs and values. The principle of Theravada Buddhist Philosophy that enhances education is the Threefold Training or Tisikkha. 2. Philosophy is responsible for the study of the world and life in order to find solutions to the eternal truths through a logical method and it will change over time depending on subject or problem beneficial to human beings. There are 5 schools of educational philosophy: 1) Essentialism, 2) Perennialism, 3) Progessivism, 4) Reconstructionism, and 5) Existentialism. 3. For the purpose of the study, the curriculum, the teaching method and the learners in the education system, Royal Police Cadet Academy can apply the principles of the Threefold Training by training physical and verbal actions by precept, mental action by concentration and confronting and solving problems by wisdom. Furthermore, Royal Police Cadet Academy can apply the philosophical principles of 5 schools of philosophy; 1) To train students in self-discipline with Essentialism, 2) To train students in integration and application of inter-disciplinary sciences with Perennialism, 3) To train students in practice for duty performance with Progressivism, 4) To train students in self-development and life-long learning with Reconstructionism, and 5) To train students in self-confidence, responsibility and bravery with Existentialism. 4. The new knowledge about “Integration of Religious and Philosophical Principles for Enhancing Education of Royal Police Cadet Academy” obtained from the study is “MWA Model”.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ๓) การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ และ ๔) การนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ (Qualitative research interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ๑) กระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในรูปแบบต่าง ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ด้วยการทำพระองค์เป็นแบบอย่าง ๒. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสกับสัจจะเกิดประสบการณ์ด้วยตนเอง ๓. การเผยแผ่ด้วยการแสดงธรรม ๔. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ฝังคิดหาเหตุผลด้วยตนเอง และกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดและคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีทั้งแบบ ประเพณี และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ตามประเพณีคณะสงฆ์และตามประเพณีไทย ๒. การเผยแผ่แบบปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ๓. การเผยแผ่แบบจัดเป็นคณะ หรือหน่วยงานเผยแผ่ ๔. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านคฤหัสถ์ มีการตั้งเป็นสมาคม ๒) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ในด้านการเทศน์ การปาฐกถา การเขียนหนังสือ การแปลหนังสือ บทกวีนิพนธ์ร้อยกรอง และในด้านปริศนาธรรมโรงมหรสพทางวิญญาณ ทั้ง ๔ ด้านนี้ ซึ่งในแต่ละด้านของกระบวนทัศน์นั้นมี ๓ วิธีการ แต่ละวิธีการมีประเด็นที่ศึกษา คือ (๑) วิธีคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และศึกษาวิธีการ (๒) วิธีปฏิบัติ ประกอบด้วย กระบวนวิธีการเรียนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง (๓) วิธีนำเสนอ ประกอบด้วย ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๓) สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ประกอบด้วย (๑)กระบวนวิธีการคิดวิเคราะห์ โดยใช้หลักอริยสัจ ในการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย ตลอดจนถึงวิธีการ และแบบวิภัชชวาท เป็นการจำแนกความจริง แยกส่วนประกอบ (๒) กระบวนวิธีปฏิบัติ ท่านเรียนให้รู้จากพระไตรปิฎก แล้วก็เอามาทำให้ดู ซึ่งปรากฏให้เห็นในวิถีความเป็นอยู่ของท่านแบบสวนโมกข์ ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใคร่ศึกษา และ (๓) กระบวนวิธีนำเสนอ สร้างความรู้ ประมวลความรู้ และเผยแพร่ความรู้ ด้วยการชี้แจงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง ๔) องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ได้แก่ “SWPD MODEL” S ย่อมาจาก SERMON ได้แก่ การแสดงพระธรรมเทศนา การปาฐกถา การบรรยายธรรม W ย่อมาจาก WRITING ได้แก่ งานเขียนหนังสือ แปลหนังสือ P ย่อมาจาก POETRY ได้แก่ บทกวีนิพนธ์ บทร้อยกรอง D ย่อมาจาก DHAMMA PUZZLE ได้แก่ ปริศนาธรรมในโรงมหรสพทางวิญญาณ SWPD MODEL จึงเป็น กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และประสบความสำเร็จ สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการเผยแผ่ทั้งวิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการปฏิบัติ และวิธีการนำเสนอ
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ๓) การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ และ ๔) การนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ (Qualitative research interview) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๒ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ๑) กระบวนทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในรูปแบบต่าง ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ด้วยการทำพระองค์เป็นแบบอย่าง ๒. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสกับสัจจะเกิดประสบการณ์ด้วยตนเอง ๓. การเผยแผ่ด้วยการแสดงธรรม ๔. การเผยแผ่ด้วยการให้ผู้ฝังคิดหาเหตุผลด้วยตนเอง และกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดและคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีทั้งแบบ ประเพณี และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ๑. การเผยแผ่ตามประเพณีคณะสงฆ์และตามประเพณีไทย ๒. การเผยแผ่แบบปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ๓. การเผยแผ่แบบจัดเป็นคณะ หรือหน่วยงานเผยแผ่ ๔. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านคฤหัสถ์ มีการตั้งเป็นสมาคม ๒) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ในด้านการเทศน์ การปาฐกถา การเขียนหนังสือ การแปลหนังสือ บทกวีนิพนธ์ร้อยกรอง และในด้านปริศนาธรรมโรงมหรสพทางวิญญาณ ทั้ง ๔ ด้านนี้ ซึ่งในแต่ละด้านของกระบวนทัศน์นั้นมี ๓ วิธีการ แต่ละวิธีการมีประเด็นที่ศึกษา คือ (๑) วิธีคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และศึกษาวิธีการ (๒) วิธีปฏิบัติ ประกอบด้วย กระบวนวิธีการเรียนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง (๓) วิธีนำเสนอ ประกอบด้วย ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๓) สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ประกอบด้วย (๑)กระบวนวิธีการคิดวิเคราะห์ โดยใช้หลักอริยสัจ ในการศึกษาปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย ตลอดจนถึงวิธีการ และแบบวิภัชชวาท เป็นการจำแนกความจริง แยกส่วนประกอบ (๒) กระบวนวิธีปฏิบัติ ท่านเรียนให้รู้จากพระไตรปิฎก แล้วก็เอามาทำให้ดู ซึ่งปรากฏให้เห็นในวิถีความเป็นอยู่ของท่านแบบสวนโมกข์ ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใคร่ศึกษา และ (๓) กระบวนวิธีนำเสนอ สร้างความรู้ ประมวลความรู้ และเผยแพร่ความรู้ ด้วยการชี้แจงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง ๔) องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ได้แก่ “SWPD MODEL” S ย่อมาจาก SERMON ได้แก่ การแสดงพระธรรมเทศนา การปาฐกถา การบรรยายธรรม W ย่อมาจาก WRITING ได้แก่ งานเขียนหนังสือ แปลหนังสือ P ย่อมาจาก POETRY ได้แก่ บทกวีนิพนธ์ บทร้อยกรอง D ย่อมาจาก DHAMMA PUZZLE ได้แก่ ปริศนาธรรมในโรงมหรสพทางวิญญาณ SWPD MODEL จึงเป็น กระบวนทัศน์ใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธทาสภิกขุ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และประสบความสำเร็จ สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการเผยแผ่ทั้งวิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการปฏิบัติ และวิธีการนำเสนอ
The objectives of the dissertation entitled “A New Paradigm in Buddhist Propagation According to Buddhadasa Bhikkhu” were as follows: 1) to study a paradigm in Buddhist propagation, 2) to the Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu, 3) to create a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu, and 4) to propose a new knowledge in “a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu”. The data of this qualitative research were collected from documents and in-depth interviews with 12 experts and then analyzed by content analysis. The study results were presented in a descriptive method. The result of this research found that: 1) The paradigm in Buddhist propagation is the teaching that the Buddha did in many methods. They are 1) To behave himself as the sample or model, 2) To have the audience earn experiences by themselves, 3) To give a sermon, and 4) To let the audience consider and find causes and results by themselves. The propagations of Buddhism of monks in the present are both traditional and improving according to the social contexts nowadays. They are 1) To follow the Sangha traditions and Thai festivals, 2) To improve the propagating methods suitable to the social contexts at present, 3) To propagate by team or by unit, and 4) To propagate by lay-people in the form of organization. 2) The Buddhist propagation of Buddhadasa Bhikkhu was on giving a sermon, speech, book writing, translation, poetry and Dhamma puzzle in the theater of Dhamma and soul. Each paradigm can be classified into 3 methods; (1) Analytical thinking method consisting of the study of problem, cause, purpose and approach, (2) Practice consisting of study and learn, learning by doing, and presenting the model, and (3) Presentation consisting of clear explanation, practical inspiration, confidence alertness, and pleasurable feeling. 3) The creation of a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu consist of; (1) Analytical thinking process based on the principles of the Four Noble Truths and classification system, (2) Practical process by referring to the sources in the Tipitaka and putting into practice in his temple as the sample, and (3) Presentation process consisting of accumulating knowledge, knowledge analysis and classification, and proposing the knowledge with clear explanation. 4) The body of knowledge on a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu can be concluded in “SWPD Model”. S stands for Sermon, W for Writing, P for Poetry, and D for Dhamma Puzzle. SWPD MODEL is a new paradigm in Buddhist propagation according to Buddhadasa Bhikkhu. The propagation has identity and is successful in practice. It can be used as a model in Buddhist propagation in 3 aspects; analytical thinking, practice and presentation.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ม) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานวิจัยในแต่ละขั้นตอน องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น และเพื่อนำเสนอผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย เลือกแบบเจาะจงโดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนา ได้แก่ ครูและบุคลากร จำนวน 10 รูป/คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 41 รูป รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 51 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิด แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบตรวจสอบหรือบันทึก การเก็บรวมรวมข้อมูลจากการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ ใน 2 วงจร 10 ขั้นตอน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเป็นระยะ ๆ ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ นำเสนอในรูปแบบอิงแนวคิดเชิงวิพากษ์ ผลการวิจัย พบว่า การเปลี่ยนแปลง องค์ความรู้ใหม่ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ เปลี่ยนจากเน้นครูเป็นศูนย์กลาง เป็นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนการสอน เป็นการจัดการเรียนรู้ เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหา เป็นเน้นกระบวนการเรียนรู้ เปลี่ยนจากเน้นบอกความรู้เป็นเน้นฝึกทักษะ เปลี่ยนบทบาทครูที่มีหน้าที่สอน เป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศ การเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี สำหรับผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหาวิชา การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ กลวิธีในการสอน หรือการจัดการเรียนรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เนื้อหาวิชา เวลา และกลุ่มเป้าหมาย (ผู้เรียน)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานวิจัยในแต่ละขั้นตอน องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น และเพื่อนำเสนอผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย เลือกแบบเจาะจงโดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนา ได้แก่ ครูและบุคลากร จำนวน 10 รูป/คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 41 รูป รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 51 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิด แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบตรวจสอบหรือบันทึก การเก็บรวมรวมข้อมูลจากการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ ใน 2 วงจร 10 ขั้นตอน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเป็นระยะ ๆ ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ นำเสนอในรูปแบบอิงแนวคิดเชิงวิพากษ์ ผลการวิจัย พบว่า การเปลี่ยนแปลง องค์ความรู้ใหม่ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ เปลี่ยนจากเน้นครูเป็นศูนย์กลาง เป็นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนการสอน เป็นการจัดการเรียนรู้ เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหา เป็นเน้นกระบวนการเรียนรู้ เปลี่ยนจากเน้นบอกความรู้เป็นเน้นฝึกทักษะ เปลี่ยนบทบาทครูที่มีหน้าที่สอน เป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศ การเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี สำหรับผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหาวิชา การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ กลวิธีในการสอน หรือการจัดการเรียนรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เนื้อหาวิชา เวลา และกลุ่มเป้าหมาย (ผู้เรียน)
This research article aims to : study the results of the changes from the research operations at each stage knowledge emerging Learning experiences that occur, and to present the development of Learning skills in the 21st century Rompothong Dhammawit School. a participatory workshop research methodology. specific audiences. select specific the criteria for the necessary requirements to develop are: teachers and staff 10 people. secondary school students 1st-6th 41 people, including 51 people. research tools include open-ended queries, scaling queries, observation, interviews, and audit or log. data collection from operations, activities in 2 10-phase cycles, and data analysis are used periodically, both qualitatively and quantitatively. presented in a critical concept. The results showed that: changes new knowledge and Learning experience is the result of the transition from teacher-centered to student-centered. turn teaching into Learning management change from focusing content to focused Learning process switch from emphasis to knowledge to focus on skill training. modify the Learning method to achieve important results is: strategies for teaching or managing Learning. building a community of Learning, creating an atmosphere the selection of modern technology, good interaction, and 21st century Learning skills development results showed a relative composition between learners. Instructors the key parts that result in the development are the strategies for teaching or Learning management, depending on the purpose of the activity. subject content, time and audience (learners)
หนังสือ

    การศึกษาวิจัยครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3. เพื่อประเมินตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ( Mixed Method Research) ขั้นแรกทำการศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคล จากการวิเคราะห์เอกสาร, ตำราที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา 5 คน ให้ได้ตัวแปรองค์ประกอบรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ในขั้นที่ 2 คือ การสร้างแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สำหรับเก็บข้อมูลความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลักกับองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 331 คน แล้วจึงทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนประชากรบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) คัดเลือกตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) มากกว่า 0.5 มาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อคัดเลือกตัวแปรในองค์ประกอบย่อย นำมาใช้ยกร่างรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วนำร่างรูปแบบดังกล่าวไปประเมินตรวจสอบยืนยันรูปแบบในขั้นที่ 3 โดยใช้แบบประเมินสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structure interview) ด้านความถูกต้อง (Accuracy) ความเหมาะสม (Propriety) ความเป็นไปได้ (Feasibility) และความเป็นประโยชน์ (Utility) นำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาทุกระดับชั้น จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า: 1. รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มี 7 องค์ประกอบคือ 1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3. การบริหารค่าตอบแทน 4. การให้สวัสดิการ 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน 6. การสรรหา 7. การคัดเลือก 2. รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีค่าความแปรปรวนของตัวแปร (eigenvalues) เท่ากับ 1 ขึ้นไป และองค์ประกอบทั้งหมด สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้เท่ากับร้อยละ 64.130 และเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์การคัดเลือกองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) ของแต่ละตัวแปร ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป และมีค่าแปรปรวนของตัวแปรมากกว่า 1 แต่ละองค์ประกอบที่มีตัวแปรสังเกตได้ (observed variable) ตั้งแต่ 3 ตัวแปรขึ้นไป พบว่ามีเพียง 7 องค์ประกอบ จำนวน 36 ตัวแปร ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกตัวแปรเข้าองค์ประกอบ เมื่อพิจารณาจากค่า Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy (KMO) = .783 (ซึ่งมากกว่า .5 และเข้าสู่ 1) สำหรับค่า Bartlett’s Test of Sphericity = 69045.639 df.= 6623 Sig.=.000 แสดงว่าเมทริกซ์ สหสัมพันธ์ของตัวแปรไม่เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์ (identity matrix) หมายความว่าตัวแปรที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลมีความเหมาะสมสามารถใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 3.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3. เพื่อประเมินตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ( Mixed Method Research) ขั้นแรกทำการศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคล จากการวิเคราะห์เอกสาร, ตำราที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา 5 คน ให้ได้ตัวแปรองค์ประกอบรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ในขั้นที่ 2 คือ การสร้างแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สำหรับเก็บข้อมูลความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลักกับองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 331 คน แล้วจึงทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนประชากรบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) คัดเลือกตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) มากกว่า 0.5 มาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อคัดเลือกตัวแปรในองค์ประกอบย่อย นำมาใช้ยกร่างรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วนำร่างรูปแบบดังกล่าวไปประเมินตรวจสอบยืนยันรูปแบบในขั้นที่ 3 โดยใช้แบบประเมินสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structure interview) ด้านความถูกต้อง (Accuracy) ความเหมาะสม (Propriety) ความเป็นไปได้ (Feasibility) และความเป็นประโยชน์ (Utility) นำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาทุกระดับชั้น จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า: 1. รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มี 7 องค์ประกอบคือ 1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3. การบริหารค่าตอบแทน 4. การให้สวัสดิการ 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน 6. การสรรหา 7. การคัดเลือก 2. รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีค่าความแปรปรวนของตัวแปร (eigenvalues) เท่ากับ 1 ขึ้นไป และองค์ประกอบทั้งหมด สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้เท่ากับร้อยละ 64.130 และเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์การคัดเลือกองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) ของแต่ละตัวแปร ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป และมีค่าแปรปรวนของตัวแปรมากกว่า 1 แต่ละองค์ประกอบที่มีตัวแปรสังเกตได้ (observed variable) ตั้งแต่ 3 ตัวแปรขึ้นไป พบว่ามีเพียง 7 องค์ประกอบ จำนวน 36 ตัวแปร ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกตัวแปรเข้าองค์ประกอบ เมื่อพิจารณาจากค่า Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy (KMO) = .783 (ซึ่งมากกว่า .5 และเข้าสู่ 1) สำหรับค่า Bartlett’s Test of Sphericity = 69045.639 df.= 6623 Sig.=.000 แสดงว่าเมทริกซ์ สหสัมพันธ์ของตัวแปรไม่เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์ (identity matrix) หมายความว่าตัวแปรที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลมีความเหมาะสมสามารถใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 3.
การประเมินตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากผู้ทรงคุณวุฒิฯ 17 คน พบว่า รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
This research study Defined objectives for 3 reasons. 1. To study the form of human resource management of schools under the Royal Thai Police 2. To develop a model for human resource management of schools under the Royal Thai Police, and 3. To assess, verify, and confirm the forms of human resource management of schools under the Royal Thai Police By using Mixed Method Research The first step is to study the components of the human resource management model. From document analysis, related texts And interviewing 5 experts and experts in human resource management in educational institutions to obtain appropriate variables, human resource management styles To be used in step 2 is to create a rating scale questionnaire For collecting the relationship between the main components and the sub-elements of the human resource management model of schools under the Royal Thai Police By collecting data from sample groups By opening the ready-made tables of Krejcie and Morgan, a total of 331 people, then sampling the landscape based on the proportion of the population of personnel in schools under the Royal Thai Police. And analyze the data with mean and standard deviation After that, the exploratory factor analysis selected the variables with the factor loading greater than 0.5 to analyze the relationship between the variables. To select variables in the sub-composition. To be used to draft the human resource management model of schools under the Royal Thai Police. Then bring the draft of the said form to be evaluated and verified The form in step 3 is to use the structure interview to assess the accuracy propriety feasibility and utility to interview the experts, experts and people who have the knowledge, ability and experience in working in schools at all levels. The results of research were found that: 1. The model of human resource management of the schools under the Royal Thai Police has 7 components which are 1. Human resource planning 2. Human resource development 3. Compensation management 4. Providing welfare 5. Evaluation of performance Jobs 6. Recruitment 7. Selection 2. The model of human resource management suitable for the schools under the Royal Thai Police consists of components with variance values. (eigenvalues) equal to 1 or more and all elements Can describe the cumulative variance equal to 64.130 percent and when considering the selection criteria for the factor loading of each variable from 0.5 or more and the variance of more than one of each element with the observable variable (observed variable) of 3 variables or more, it was found that only 7 elements, 36 variables, met the criteria for qualifying variables. Considering the value Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy (KMO) = .783 (which is greater than. 5 and enters 1) for Bartlett's Test of Sphericity = 69045.639 df. = 6623 Sig. =. 000 indicates that the matrix Correlation of variables is not an identity matrix, meaning that the variables used for elemental analysis are statistically significant. The data is appropriate, the composition analysis can be used. 3. The result of assessment and confirmation of human resource management styles of schools under the Royal Thai Police from 17 experts indicated that the human resource management model of the schools under the Royal Thai Police developed in this study was accurate, appropriate, possible and useful, and its average value was at a high level that could be implemented.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด.) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2558
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 340 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 680 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.8 – 1.0 มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.36 – 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (PATH) หรือ SEM (A STRUCTURAL EQUATION MODEL) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้ตัวแปรจำนวน 71 ตัวแปร และผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนดอยู่ในระดับมาก จึงมีความเหมาะสมในการคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง 2. ผลการศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (χ 2) = 11.63, df = 22, P-value = 0.97, χ 2/df = 0.53, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, CFI = 1.00, RMR = 0.00 และค่า RMSEA = 0.00 แสดงได้ว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 340 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 680 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.8 – 1.0 มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.36 – 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (PATH) หรือ SEM (A STRUCTURAL EQUATION MODEL) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับและความเหมาะสมของตัวแปรโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้ตัวแปรจำนวน 71 ตัวแปร และผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนดอยู่ในระดับมาก จึงมีความเหมาะสมในการคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง 2. ผลการศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (χ 2) = 11.63, df = 22, P-value = 0.97, χ 2/df = 0.53, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, CFI = 1.00, RMR = 0.00 และค่า RMSEA = 0.00 แสดงได้ว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.
ผลการศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย ดังนี้คือ ปัจจัยแรงจูงใจ มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ (มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.41 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และปัจจัยอัตมโนทัศน์ มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อมเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย คือ ปัจจัยแรงจูงใจ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีโดยมีตัวแปรส่งผ่านคือปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.09 อย่างไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 และมิอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีโดยมีตัวแปรส่งผ่านคือปัจจัยอัตมโนทัศน์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.06 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่า สัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม พบว่า ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวมของตัวแปรสาเหตุที่มี อิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมี โดยเรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหา น้อยดังนี้ ปัจจัยแรงจูงใจมีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.41 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และปัจจัยอัตตมโนทัศน์ (Self-concept) มีค่าอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.18 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีสัดส่วนความเชื่อถือได้ในตัวแปรภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีที่ อธิบายได้ด้วยปัจจัยเชิงสาเหตุได้ร้อยละ 77 4. ผลศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้น จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 รูป/คน พบว่า โมเดลสามารถนำไปสู่การปฏิบัติและปรับปรุงคุณภาพการบริหารงานโรงเรียนให้ได้มาตรฐานต่อไป
The objectives of this research were: 1) To study the level and suitability of the variables structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department, 2) To study harmony structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department by the researcher consistent with empirical data with criterion, 3) To study the magnitude, direct and indirect influences and the total influence of causal factors on charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department and, 4) to study suggestions for development guidance of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed. The study was a mixed research methodology. The simple was collected from 340 samples consisting of Phrapariyattidhamma schools, vice-directors, and teachers in 680 private Special Education Schools, The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires, and confirmation or certification forms through 5-rating scale questionnaires by IOC; 0.8-1.0 discriminatory power equal to 0.36-0.86 with reliability at 0.97. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis and confirmation composition analysis (CFA) and influence path analysis A Structural Equation Model (SEM) using. The results of the study were as follows: 1. The study level and suitability of the variables structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department was found 71 variables of faith leadership, charisma and pass the mean of skew values, the kudges are at a high level. Therefore, appropriate selection is defined in the structural relationship model. 2. The reason of study harmony structural equation model of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department by the researcher consistent with empirical data with criterion as follows : Chi-square (χ2) = 11.63, degrees of freedom (df) = 22, statistical significance (P-value) = 0.97, proportion value (χ2/df) = 0.53, goodness of fit index (GFI) = 1.00, adjusted goodness of fit index (AGFI) = 1.00, comparative fit index (CFI) = 1.00, root mean square residual (RMR) = 0.00, and root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.00, there was no statistical significance and the model is consistent with the empirical data based on the assumptions made. 3. To study the magnitude, direct and indirect influences and the total influence of causal factors on charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed as follows : The motivation for direct magnitude of 0.42 was statistically significant at 0.01 level, the creative for direct magnitude of 0.41 was statistically significant at 0.01 level and the self-concept for direct magnitude of 0.12 was statistically significant at 0.01 level. The indirect influences by the average from high to low that the motivation was influence of causal factors on charismatic leadership to variable passed creative factor has a coefficient of influence equal to 0.09 was statistically significant at 0.05 level, and the indirect influences of causal factors on charismatic leadership to variable passed by self-concept has a coefficient of influence equal to 0.06. was statistically significant at 0.05 level. The proportion in reliability coefficient of causal factor could explain the charismatic leadership for approximate 77% 4. To study the suggestions for development guidance of charismatic leadership for the Phrapariyattidhamma schools administrators, general education department developed. The verify results from 17 experts as follows : models can lead to practice and continue to improve the quality of school administration.
หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 199 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน รวม 696 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.34-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 19 องค์ประกอบ 105 ตัวแปร 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การจัดทำแผนงานวิชาการ 2) การจัดการเรียนรู้ 3) การปฏิบัติงาน 4) การมีส่วนร่วมทางการศึกษา และ 5) การติดตามผลการศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า รูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยองค์ประกอบหลักที่มีค่ามากที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ การติดตามผลการศึกษา การปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมทางการศึกษา และการจัดทำแผนงานวิชาการ ตามลำดับ และมีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 11.311, dF = 9, P-value = .255, GFI = .998, AGFI = .964 และ RMSER = .019 แสดงได้ว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 (X ̅ = 4.53) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนด คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 199 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน รวม 696 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.34-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า : 1. องค์ประกอบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างองค์ประกอบ 19 องค์ประกอบ 105 ตัวแปร 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า ได้ 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การจัดทำแผนงานวิชาการ 2) การจัดการเรียนรู้ 3) การปฏิบัติงาน 4) การมีส่วนร่วมทางการศึกษา และ 5) การติดตามผลการศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า รูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยองค์ประกอบหลักที่มีค่ามากที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ การติดตามผลการศึกษา การปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมทางการศึกษา และการจัดทำแผนงานวิชาการ ตามลำดับ และมีค่าสถิติทางไค-สแควร์ = 11.311, dF = 9, P-value = .255, GFI = .998, AGFI = .964 และ RMSER = .019 แสดงได้ว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. การประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 (X ̅ = 4.53) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนด คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
The purposes of this research were as follows : 1) to study the components of the academic administration model for phrapariyattidhamma school administrators, general education department, 2) to create an of the academic administration model for phrapariyattidhamma school administrators, and 3) to evaluate and affirm the of the academic administration model for phrapariyattidhamma school administratored. The mixed research methodology was used in the study. The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires and confirmation or certification forms through 5-rating scale questionnaires by IOC; 0.6-1.0 discriminatory power equal to 0.34-0.85 with reliability at 0.97, The data were consisting of school directors, vice-directors, and teachers in 199 phrapariyattidhamma schools. The analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis, and confirmatory factor analysis. The results of this research found that : 1. The components of an academic administration model for phrapariyattidhamma schools administration, general education department consist of 19 components and 105 variables. 2. The an academic administration model for phrapariyattidhamma schools administration, general education department from exploratory factor analysis (EFA) has 5 main components; 1) Academic planning 2) Learning management 3) Operations 4) Educational participation and 5) Academic monitoring. The results of confirmatory factor analysis (CFA) indicated that the highest value was on Learning management, followed by Academic monitoring, Operation, Educational participation and Academic planning respectively. The model of academic administration model for phrapariyattidhamma schools administration, general education department has a chi-square value = 11.311, DF = 9, P-value = .255, GFI = .998, AGFI = .964, and RMSER = .019. This result indicates that the model is consistent with the empirical data. 3. The evaluation and confirmation of the model from experts in its propriety, accuracy, feasibility, and utility is at 4.53 (X ̅ = 4.53), higher than the set criteria at  = 3.51. That means the model is approved.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) พุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557