Search results

8 results in 0.07s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561
หนังสือ

หนังสือ

    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง จำนวน 96 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน 4 ฝ่าย และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวน 486 คน และผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรองรูปแบบ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic inductive) ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและ ผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยมีสภาพการบริหารจัดการศึกษาด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนใช้แนวทางจากส่วนกลาง ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา และวิถีชีวิตของเด็ก 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า มี 7 องค์ประกอบย่อย คือ 1.1) บุคลากรของสถานศึกษาและผู้ปกครอง 1.2) การบริหารงานทั่วไป 1.3) การบริหารงานงบประมาณ 1.4) การบริหารงานวิชาการ 1.5) พันธกิจและนโยบายของรัฐ 1.6) การบริหารงานบุคคล และ 1.7) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของสถานศึกษา 2) กระบวนการ มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ 2.1) การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม 2.2) การคาดหวังต่อนักเรียนสูง 2.3) การจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง 2.4) การเสริมแรงและจูงใจ 2.5) การใช้หลักธรรมในการบริหารสถานศึกษา (พรหมวิหาร 4) และ 2.6) การสั่งการและควบคุม และ 3) ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 3.2) ประสิทธิภาพของการบริหารสถานศึกษา และ 3.3) คุณลักษณะและสมรรถนะของผู้เรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบเชิงระบบที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นอันรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง จำนวน 96 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างาน 4 ฝ่าย และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวน 486 คน และผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรองรูปแบบ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic inductive) ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและ ผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยมีสภาพการบริหารจัดการศึกษาด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนใช้แนวทางจากส่วนกลาง ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา และวิถีชีวิตของเด็ก 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมือง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า มี 7 องค์ประกอบย่อย คือ 1.1) บุคลากรของสถานศึกษาและผู้ปกครอง 1.2) การบริหารงานทั่วไป 1.3) การบริหารงานงบประมาณ 1.4) การบริหารงานวิชาการ 1.5) พันธกิจและนโยบายของรัฐ 1.6) การบริหารงานบุคคล และ 1.7) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของสถานศึกษา 2) กระบวนการ มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ 2.1) การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม 2.2) การคาดหวังต่อนักเรียนสูง 2.3) การจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง 2.4) การเสริมแรงและจูงใจ 2.5) การใช้หลักธรรมในการบริหารสถานศึกษา (พรหมวิหาร 4) และ 2.6) การสั่งการและควบคุม และ 3) ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 3.2) ประสิทธิภาพของการบริหารสถานศึกษา และ 3.3) คุณลักษณะและสมรรถนะของผู้เรียน 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบเชิงระบบที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นอันรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ
The objectives of this research were: 1) to study the state of school administration of administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students, 2) to develop an administrational model for school administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students, and 3) to evaluate and certify an administrational model for school administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students. The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected by questionnaire from 486 samples in 96 schools consisting of school directors/deputy directors, chief of school subdivision and heads of the school department. The qualitative data were collected by in-depth interviews with 5 experts in school administration. The model was evaluated and certified by 17 educational experts. The data were collected from August 2018 to November 2018 and then analyzed by percentage, mean and standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA), content analysis and analytic inductive. The results of research were found that: 1) An administrational model for school administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students consists of 3 main components: inputs, process and output. The state of school administration in learning contents and learning activities is obtained from Ministry of Education which is irrelevant to race, belief, culture, language, and way of life of students. 2) An administrational model for school administrators in primary schools having urban refugee and asylum seeker students consists of 3main components: 1) Input, consisting of 1.1) Educational Personnel and students’ parents, 1.2) General administration, 1.3) Budgeting administration, 1.4) Academic administration, 1.5) Mission and State Policy, 1.6) Human Resources administration, and 1.7) School Culture and Environment. 2) Process, consisting of 2.1) Multicultural educational administration, 2.2) High Expectation Teaching, 2.3) Qualified curriculums and Learning, 2.4) Reinforcement and Motivation, 2.5) Educational administration based upon 4 sublime states of mind, and 2.6) Command and Control. 3) Output, consisting of 3.1) Learning achievement, 3.2) Efficiency of School Administration, and 3.3) Desirable Characteristics and Performance of students. 3) The developed system model was evaluated and approved in accuracy, propriety, feasibility, and utility by the experts at the highest average standard level.
หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ระบุองค์ประกอบตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods Research) คือผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 205 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 615 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) การคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (coefficient of variation) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างโดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือมากกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% ผลการวิเคราะห์แยกออกเป็นแต่ละองค์ประกอบ คือ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ 4 ตัว การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยเมตตา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยกรุณา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยมุทิตา และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยอุเบกขา 2) องค์ประกอบการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยเมตตา การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยกรุณา การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยมุทิตา และการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยอุเบกขา 3) องค์ประกอบการกระตุ้นทางปัญญา อันประกอบด้วย พรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยเมตตา การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยกรุณา การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยมุทิตา และการกระตุ้นทางปัญญา อันประกอบด้วยอุเบกขา 4) องค์ประกอบ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยเมตตา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล อันประกอบด้วยกรุณา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยมุทิตา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยอุเบกขา 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทั้ง 4 โมเดล
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ระบุองค์ประกอบตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods Research) คือผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 205 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 615 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) การคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (coefficient of variation) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างโดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือมากกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% ผลการวิเคราะห์แยกออกเป็นแต่ละองค์ประกอบ คือ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ 4 ตัว การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยเมตตา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยกรุณา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยมุทิตา และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยอุเบกขา 2) องค์ประกอบการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยเมตตา การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยกรุณา การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยมุทิตา และการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยอุเบกขา 3) องค์ประกอบการกระตุ้นทางปัญญา อันประกอบด้วย พรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยเมตตา การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยกรุณา การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยมุทิตา และการกระตุ้นทางปัญญา อันประกอบด้วยอุเบกขา 4) องค์ประกอบ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยเมตตา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล อันประกอบด้วยกรุณา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยมุทิตา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยอุเบกขา 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทั้ง 4 โมเดล
พบว่า ทุกโมเดลตามสมมติฐานการวิจัยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก นอกจากนี้ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้มีนัยสำคัญทางสถิติทุกค่า แสดงว่าตัวบ่งชี้ทั้งหมดนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของโมเดล ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวบ่งชี้ทั้ง 16 ตัว มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p < .01) โดยตัวบ่งชี้ที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยกรุณาและการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยอุเบกขา คือ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.705 ส่วนตัวบ่งชี้ที่มีความสัมพันธ์กันน้อยที่สุดคือการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยมุทิตา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยกรุณาคือ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.140 4) ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลใน 4 องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นและมีการปฏิบัติรวมทั้งมีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรนำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทุกตัวไปปฏิบัติในการดำเนินงานจริง ซึ่งสอดคล้องหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลการวิจัย ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
The objectives of this research were: 1) to develop indicators and to model the structural relationship of indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration, 2) to test the coherence of the structural relationship model of the indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration with developed by empirical data, 3) to identify the indicator element and indicator behaviors with structural integrity or the element's weight value according to the specified criteria and, 4) to study the guidelines for Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration by the mixed methods research; qualitative research and quantitative research. The sample group used in the research was educational institutions under Bangkok Metropolitan Administration totaling 205 schools. The informants consist of school administration, academic supervisors and teachers totaling 615 persons. Two sets of data collection tools were: 1) the questionnaire on Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration, 2) structured interview form collected the data in 2020. The statistics used for data analysis are Mean, Standard deviation, Coefficient of Variation, Confirmatory Factor Analysis using a statistical package. The results of the research were as follows: 1) To develop the indicators and model the structural relationship of indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration. To selected for the structural relation model using the mean criterion equal to or greater than 3.00 and the distribution coefficient equal to or less than 20%. The result of separate element consists as 1) ideological influence with Brahmavihara. It consists of 4 indicators namely; ideological influence that consists of loving-kindness, ideological Influence with compassion, ideological influence consisting of sympathetic joy and, ideological influence consisting of equanimity. 2) inspirational components of Brahmavihara. It consists of 4 indicators namely; inspirational kindness, inspirational compassion, inspiration sympathetic joy and inspiration consisting of equanimity. 3) intellectual stimulation component consists of Brahmavihara. It consists of 4 indicators namely; the intellectual stimulation of kindness, intellectual stimulation of compassion, intellectual stimulation sympathetic joy and intellectual stimulation consists of equanimity. 4) The elements considering the individuality consists of Brahmavihara. It consists of 4 indicators namely; consideration of individual with kindness, consideration of the individual with compassion, consideration of the individuality with sympathetic joy, consideration of the individuality with equanimity. 2) The results of the confirmatory component analysis of the 4 models revealed to all models according to the research hypothesis were very consistent with the empirical data. In addition, the component weights of all indicators were statistically significant. It was shown that all of these indicators were important indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under the Bangkok Metropolitan Administration. 3) The results of the Pearson correlation coefficient analysis model. The indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration was found that all 16 indicators had a statistically significant positive correlation at the .01 level (p < .01). The highest correlation indicator was ideological influence with kindness and compassion having a correlation coefficient of 0.705, while the least correlation indicator was motivational with kindness and consideration of the individuality with compassion has a correlation coefficient of 0.140 4) The results obtained from the data analysis of 4 components mentioned above. The experts have opinions and practice as well as encouraging personnel to apply all components and indicators to practice in actual operations. It was consistent or in the same direction as the research results that researcher has developed.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อทดสอบโมเดลตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อระบุองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้และค่าน้ำหนักของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 379 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรักษาการ โรงเรียนละ 1 คน จำนวน 379 คน หัวหน้างานโรงเรียนละ 2 คน จำนวน 758 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,137 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 2)แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใน ปี พ.ศ.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อทดสอบโมเดลตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อระบุองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้และค่าน้ำหนักของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 379 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรักษาการ โรงเรียนละ 1 คน จำนวน 379 คน หัวหน้างานโรงเรียนละ 2 คน จำนวน 758 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,137 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 2)แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใน ปี พ.ศ.
2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของทุกตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.51 - 4.75 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ระหว่าง 3.15 – 19.40 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่มีความเหมาะสมสามารถคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างทุกตัวเนื่องจากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือมากกว่า3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า20 % 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทั้ง 4 โมเดล พบว่าโมเดลการวัดแต่ละองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลการวิจัยที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก และแสดงว่าองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์เชิงจริยธรรม การสร้างแรงบันดาลใจเชิงจริยธรรม การกระตุ้นทางปัญญาเชิงจริยธรรม และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลเชิงจริยธรรม เป็นโมเดลที่มีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) ขององค์ประกอบทุกองค์ประกอบมีค่าเป็นบวกตั้งแต่ค่าตั้งแต่ 0.91-0.95 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า เรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปหาน้อย คือ การกระตุ้นทางปัญญาเชิงจริยธรรม (SL) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.95 การสร้างแรงบันดาลใจเชิงจริยธรรม(ML) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.94 การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลเชิงจริยธรรม (CL) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.93 และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์เชิงจริยธรรม (IL) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.91 ซึ่งค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) ของทั้ง 4 องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า 4) ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลใน 4 องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษานำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา ด้วยมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลการวิจัยที่ได้พัฒนาขึ้น
The purposes of this study are 1) to study an appropriate indicator of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission. 2) to test the model of indicator of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission. 3) to identify the main and minor elements indicator and weighing of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission. 4) to study the guidelines developing primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission by using Mixed Methods Research. The samples of this study are 379 primary schools under the Office of the Basic Education Commission. The information providers in total are 1,137 consisting of 379 directors/ acting for directors, 1 for each school, and 758 supervisors 2 for each school. Research instruments are 1) questionnaires about primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission of which reliability is .98. 2) structured interviews of the year 2020, statistics used in data analysis are frequency, percentage, average, standard deviation (S.D.), and Confirmatory Factor Analysis: CFA by using statistic application. The research revealed that 1) the average of the indicator of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission is between 3.51 – 4.75 and the distribution coefficient is between 3.15 – 19.40 which showed that the appropriate indicator can be selected for all kinds of Structural Relationship Model because of the average is equal or over 3.00 and the distribution coefficient is equal or under 20%. 2) the result of all 4 models’ CFA showed that all models developed from the theory and the research result which well correspond to the empirical data and revealed that all 4 elements, Moral Idealized Influence, Moral Inspiration Motivation, Moral Intellectual Stimulation, and Moral Individualized Consideration, are Structural Relationship Model of primary school director’s moral change under the Office of the Basic Education Commission. 3) The factor loading of all elements is positive, 0.91-0.95, and showed that the statistical significance is at 0.1 level which is sorted from factor loading in descending order. First, Moral Intellectual Stimulation is 0.95. Second, Moral Inspiration Motivation is 0.94. Then, Moral Individualized Consideration is 0.93. And the last, Moral Idealized Influence is 0.91. The factor loading of all elements is positive with the statistical significance is at 0.1 level. 4) According to the results from data analysis above, the expert supported director to provide the elements and indicator in school management which correspond to the research results.
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อตรวจสอบเชิงสำรวจองค์ประกอบคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) คือ ผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหารและรองผู้บริหารสี่ฝ่าย สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 536 คน เครื่องมือที่ในการรวบรวมข้อมูล 1) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมของตัวแปรที่เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งดัชนีความสอดคล้องที่ค่าเฉลี่ย 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั้นเท่ากับ 0.923 แบบประเมินที่ใช้รวบรวมข้อมูล ปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory of Initial factor analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ .01 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 41-45 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ปริญญาโท ประการณ์ในการทำงานส่วนใหญ่ 10 ปีขึ้นไป องค์ประกอบคุณลักษณะคุณธรรมจริยธรรม พบว่า มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อตนเอง 2) ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อสังคม 3) ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 4) ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อองค์การ 2. ผลการตรวจสอบเชิงสำรวจองค์ประกอบคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรม สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านที่ 1) คุณธรรมจริยธรรมต่อตนเอง 12 ตัวแปร ด้านที่ 2) คุณธรรมจริยธรรมต่อสังคม 4 ตัวแปร ด้านที่ 3) คุณธรรมจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 10 ตัวแปร ด้านที่ 4) คุณธรรมจริยธรรมต่อองค์การ 5 ตัวแปร เมื่อทำการวิเคราะห์การทดสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ข้อความทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในขนาดที่เหมาะสม ความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีนัยสำคัญทางสถิติ 3.
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อตรวจสอบเชิงสำรวจองค์ประกอบคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) คือ ผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหารและรองผู้บริหารสี่ฝ่าย สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 536 คน เครื่องมือที่ในการรวบรวมข้อมูล 1) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมของตัวแปรที่เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งดัชนีความสอดคล้องที่ค่าเฉลี่ย 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั้นเท่ากับ 0.923 แบบประเมินที่ใช้รวบรวมข้อมูล ปีพุทธศักราช 2562 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory of Initial factor analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ .01 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 41-45 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ปริญญาโท ประการณ์ในการทำงานส่วนใหญ่ 10 ปีขึ้นไป องค์ประกอบคุณลักษณะคุณธรรมจริยธรรม พบว่า มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อตนเอง 2) ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อสังคม 3) ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 4) ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อองค์การ 2. ผลการตรวจสอบเชิงสำรวจองค์ประกอบคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรม สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านที่ 1) คุณธรรมจริยธรรมต่อตนเอง 12 ตัวแปร ด้านที่ 2) คุณธรรมจริยธรรมต่อสังคม 4 ตัวแปร ด้านที่ 3) คุณธรรมจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 10 ตัวแปร ด้านที่ 4) คุณธรรมจริยธรรมต่อองค์การ 5 ตัวแปร เมื่อทำการวิเคราะห์การทดสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ข้อความทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในขนาดที่เหมาะสม ความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีนัยสำคัญทางสถิติ 3.
แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านตนเอง ผู้บริหารฯ ต้องกำหนดนโยบายการส่งเสริมอย่างจริงจัง ในรูปของสโลแกน หรือ “สื่อสัญลักษณ์” จัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา ให้ความสำคัญปัญญาที่รอบรู้ตามเหตุปัจจัยรอบรู้ใน “อริยสัจสี่” และแนะนำให้ความรู้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความปรารถนาดี 2) ด้านสังคม ผู้บริหารฯ จัดสรรทรัพยากรเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม กับบุคคลในองค์การ สื่อสารสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวกับงานคุณธรรมจริยธรรมจัดทำโครงการเชิงวัฒนธรรมร่วมกับทางศาสนา 3) ด้านเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารฯ ส่งเสริมให้สมาชิกในองค์ร่วมกันคิดร่วมกันสร้างกระบวนการคุณภาพ กำหนดคุณธรรมจริยธรรมหลักใช้ในการดำเนินชีวิตในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง 4) ด้านองค์การ ผู้บริหารฯ ปฏิบัติตนตามหลักกัลยาณธรรมช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้อื่นมีความสุข สามารถติดต่อสื่อสารการมีส่วนร่วม เอาใจใส่ไม่ทอดธุระในคำพูดต่อการประกอบกิจกรรมต่างๆ ปฏิบัติกิจที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมตามสมควรตามสถานการณ์โดยไม่หวังผลตอบแทน
This thesis intended for 1) Study, analyze and determine the elements of moral and ethical characteristics of educational institution administrators. in Bangkok 2) To examine the survey on the composition of moral and ethical characteristics of educational institution administrators in Bangkok 3) Propose guidelines to promote moral and ethical characteristics of educational institution administrators in Bangkok using mixed research methodology (Mixed Methods Research) is a combination of qualitative research methods and quantitative research methods (Quantitative Research) The samples used in the research Executives and four deputy executives in Bangkok, 536 people Tools for collecting information 1) Qualified interview form 2) An opinion questionnaire on the behavior of the variables related to moral and ethical characteristics of the school administrators. The mean consistency index of 0.67-1.00 has a confidence value of 0.923. The assessment form used to collect data, year 2019. Statistics used for data analysis, frequency (Frequency), percentage (Percentage), Standard Deviation (SD), Exploratory of Initial factor analysis, and Content Analysis using the software package. Statistics .01 The results of the research found that Results of a study on morality and ethics of educational institution administrators in the Bangkok Metropolitan Administration found that the respondents mostly female Most of the ages ranged from 41-45 years. Most of the education levels are master's degrees. Most of the work experience is 10 years or more. The composition of moral and ethical attributes found that there were 4 aspects, 1) morality and ethics towards oneself 2) morality and ethics towards society 3) morality and ethics towards colleagues 4) morality and ethics towards organizations 2. The results of an exploratory examination of the composition of moral and ethical attributes in Bangkok Metropolitan Administration found that 1) Moral and ethics towards oneself, 12 variables, aspect 2) Moral and ethics towards society, 4 variables, 3) Morality and ethics towards colleagues, 10 variables, 4) Morality and ethics towards the organization, 5 variables. When analyzing the experiments with the empirical data, it was found that every component of the statement correlated at an appropriate size. Model congruence with empirical data statistically significant 3. Guidelines for promoting moral and ethical characteristics of educational institution administrators consist of 4 aspects 1) On their own, the executives must seriously formulate the promotion policy. In the form of a slogan or “symbol media” organized moral and ethical training in educational institutions Give importance to wisdom that is wise according to the factors of knowledge in the "Four Noble Truths" and recommend knowledge to help others with good intentions. 2) On social aspect, the management allocates resources for the participation process. with people in the organization Communicate relationships with external agencies regarding moral and ethical work, create cultural projects in conjunction with religion. 3) Colleagues, executives encourage members of the organization to think together to create a quality process. Determine the principles of morality and ethics to use in life in the changing era 4) As for the organization, the executives act according to the principles of good morals, helping and helping others to be happy. can communicate participation Pay attention not to entrust in words to the activities Carry out activities that are beneficial to the community and society as appropriate under the circumstances without expecting any compensation.
หนังสือ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รวม 437 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างตัวแปร 135 ตัวแปร 2. ผลพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า ได้ 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ คือ (1) ด้านคุณธรรมและจรรยาบรรณ (2) ด้านทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยี (3) ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (4) ด้านการตัดสินใจ (5) ด้านการสร้างแรงจูงใจ และ (6) ด้านการเสียสละและการอุทิศตน 3. ผลการประเมินและรับรองตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินและรับรองรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 (X ̅ = 4.56) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนด คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินและรับรองตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รวม 437 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้ร่างตัวแปร 135 ตัวแปร 2. ผลพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า ได้ 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ คือ (1) ด้านคุณธรรมและจรรยาบรรณ (2) ด้านทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยี (3) ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (4) ด้านการตัดสินใจ (5) ด้านการสร้างแรงจูงใจ และ (6) ด้านการเสียสละและการอุทิศตน 3. ผลการประเมินและรับรองตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ผลการประเมินและรับรองรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 (X ̅ = 4.56) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองที่ผู้วิจัยกำหนด คือ ต้องมีค่ามากกว่า 3.51 จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
The purposes of this research were : 1) to study the components of desirable characteristic indicators for school administrators under the bangkok metropolitan administration 2) to create an of the desirable characteristic indicators for school administrator under the bangkok metropolitan administration and 3) to evaluate and affirm the of desirable characteristic indicators for school administrators under the bangkok metropolitan administration. The mixed research methodology was used in the data were consisting of school directors simple 437. The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires and confirmation or certification forms through 5-rating scale questionnaires by IOC; 0.6-1.0 discriminatory power equal to 0.33-0.89 with reliability at 0.95, The analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis. The results of this research was found that : 1. The components of desirable characteristic indicators for school administrators under the bangkok metropolitan dministration components and 135 variables. 2. The an desirable characteristic indicators for school administrators under the bangkok metropolitan administration, general education department from exploratory factor analysis (EFA) has 6 main components; (1) morality and ethics, (2) communication and technology skills, (3) conservation of local wisdom, (4) decision making, (5) motivation, and (6) sacrifice and dedication. 3. The evaluation and confirmation of the Indicators from experts in its propriety, accuracy, feasibility, and utility is at 4.56 (X ̅ = 4.56), higher than the set criteria at = 3.51. That means the model is approved.