Search results

1 results in 0.03s

หนังสือ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ระบุองค์ประกอบตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods Research) คือผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 205 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 615 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) การคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (coefficient of variation) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างโดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือมากกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% ผลการวิเคราะห์แยกออกเป็นแต่ละองค์ประกอบ คือ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ 4 ตัว การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยเมตตา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยกรุณา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยมุทิตา และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยอุเบกขา 2) องค์ประกอบการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยเมตตา การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยกรุณา การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยมุทิตา และการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยอุเบกขา 3) องค์ประกอบการกระตุ้นทางปัญญา อันประกอบด้วย พรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยเมตตา การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยกรุณา การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยมุทิตา และการกระตุ้นทางปัญญา อันประกอบด้วยอุเบกขา 4) องค์ประกอบ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยเมตตา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล อันประกอบด้วยกรุณา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยมุทิตา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยอุเบกขา 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทั้ง 4 โมเดล
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ระบุองค์ประกอบตัวบ่งชี้ และพฤติกรรมบ่งชี้ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods Research) คือผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 205 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 615 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในปีพุทธศักราช 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) การคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (coefficient of variation) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และกำหนดโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างโดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือมากกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20% ผลการวิเคราะห์แยกออกเป็นแต่ละองค์ประกอบ คือ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ 4 ตัว การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยเมตตา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยกรุณา การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยมุทิตา และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยอุเบกขา 2) องค์ประกอบการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยเมตตา การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยกรุณา การสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยมุทิตา และการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยอุเบกขา 3) องค์ประกอบการกระตุ้นทางปัญญา อันประกอบด้วย พรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยเมตตา การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยกรุณา การกระตุ้นทางปัญญาอันประกอบด้วยมุทิตา และการกระตุ้นทางปัญญา อันประกอบด้วยอุเบกขา 4) องค์ประกอบ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยพรหมวิหาร ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยเมตตา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล อันประกอบด้วยกรุณา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยมุทิตา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยอุเบกขา 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทั้ง 4 โมเดล
พบว่า ทุกโมเดลตามสมมติฐานการวิจัยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก นอกจากนี้ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้มีนัยสำคัญทางสถิติทุกค่า แสดงว่าตัวบ่งชี้ทั้งหมดนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของโมเดล ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพรหมวิหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวบ่งชี้ทั้ง 16 ตัว มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p < .01) โดยตัวบ่งชี้ที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยกรุณาและการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อันประกอบด้วยอุเบกขา คือ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.705 ส่วนตัวบ่งชี้ที่มีความสัมพันธ์กันน้อยที่สุดคือการสร้างแรงบันดาลใจอันประกอบด้วยมุทิตา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอันประกอบด้วยกรุณาคือ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.140 4) ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลใน 4 องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นและมีการปฏิบัติรวมทั้งมีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรนำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทุกตัวไปปฏิบัติในการดำเนินงานจริง ซึ่งสอดคล้องหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลการวิจัย ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
The objectives of this research were: 1) to develop indicators and to model the structural relationship of indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration, 2) to test the coherence of the structural relationship model of the indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration with developed by empirical data, 3) to identify the indicator element and indicator behaviors with structural integrity or the element's weight value according to the specified criteria and, 4) to study the guidelines for Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration by the mixed methods research; qualitative research and quantitative research. The sample group used in the research was educational institutions under Bangkok Metropolitan Administration totaling 205 schools. The informants consist of school administration, academic supervisors and teachers totaling 615 persons. Two sets of data collection tools were: 1) the questionnaire on Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration, 2) structured interview form collected the data in 2020. The statistics used for data analysis are Mean, Standard deviation, Coefficient of Variation, Confirmatory Factor Analysis using a statistical package. The results of the research were as follows: 1) To develop the indicators and model the structural relationship of indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration. To selected for the structural relation model using the mean criterion equal to or greater than 3.00 and the distribution coefficient equal to or less than 20%. The result of separate element consists as 1) ideological influence with Brahmavihara. It consists of 4 indicators namely; ideological influence that consists of loving-kindness, ideological Influence with compassion, ideological influence consisting of sympathetic joy and, ideological influence consisting of equanimity. 2) inspirational components of Brahmavihara. It consists of 4 indicators namely; inspirational kindness, inspirational compassion, inspiration sympathetic joy and inspiration consisting of equanimity. 3) intellectual stimulation component consists of Brahmavihara. It consists of 4 indicators namely; the intellectual stimulation of kindness, intellectual stimulation of compassion, intellectual stimulation sympathetic joy and intellectual stimulation consists of equanimity. 4) The elements considering the individuality consists of Brahmavihara. It consists of 4 indicators namely; consideration of individual with kindness, consideration of the individual with compassion, consideration of the individuality with sympathetic joy, consideration of the individuality with equanimity. 2) The results of the confirmatory component analysis of the 4 models revealed to all models according to the research hypothesis were very consistent with the empirical data. In addition, the component weights of all indicators were statistically significant. It was shown that all of these indicators were important indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under the Bangkok Metropolitan Administration. 3) The results of the Pearson correlation coefficient analysis model. The indicators Brahmavihara changing leadership of school administrators under Bangkok Metropolitan Administration was found that all 16 indicators had a statistically significant positive correlation at the .01 level (p < .01). The highest correlation indicator was ideological influence with kindness and compassion having a correlation coefficient of 0.705, while the least correlation indicator was motivational with kindness and consideration of the individuality with compassion has a correlation coefficient of 0.140 4) The results obtained from the data analysis of 4 components mentioned above. The experts have opinions and practice as well as encouraging personnel to apply all components and indicators to practice in actual operations. It was consistent or in the same direction as the research results that researcher has developed.