Search results

75 results in 0.13s

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2550
Note: ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2550
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาในสังคมยุคปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Designs) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากเอกสารขั้นปฐมภูมิ และเอกสารตำราวิชาการ สอบถามกับกลุ่มตัวอย่างในคน 4 เจเนอเรชัน จำนวน 136 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำนวน 14 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ผู้เผยแผ่มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดคำสอนในพระพุทธศาสนาให้กับคนในสังคม ทั้งเทศน์สอนโดยตรงและสอนผ่านสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สื่อโซเชียลเนตเวิร์ค โดยที่ผู้เผยแผ่ต่างทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนตามแนวทางที่ตนเองถนัด ไม่ได้มีความร่วมมือในการเผยแผ่อย่างเป็นรูปธรรม 2) รูปแบบของการเผยแผ่มีหลากหลายรูปแบบทั้งหนังสือธรรมะ รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ คลิปวีดีโอ บทความ ข้อความสั้น ๆ ประกอบรูปภาพในสื่อโซเชียลเนตเวิร์ค รวมไปถึงการจัดกิจกรรมค่ายธรรมะด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบและช่องทางนั้นจะมีกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกันไปตามการเข้าถึงและเปิดรับสื่อนั้น ๆ อย่างไรก็ตามลักษณะของผู้เผยแผ่และผู้ฟังจะมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยแนวทางการสอนของผู้เผยแผ่จะดึงดูดกลุ่มผู้ฟังที่ชอบแนวทางนั้น ส่วนความสนใจของผู้ฟังนั้นมีส่วนในการกำหนดแนวทางการสอนและการเลือกเนื้อหาของผู้เผยแผ่ด้วย 3) รูปแบบการเผยแผ่คำสอนในพระพุทธศาสนาควรให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นผู้สอนที่ควรศึกษาคำสอนนำมาพัฒนาคุณธรรมของตน และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่ เนื้อหาคำสอนควรเป็นเนื้อหาที่ผู้ฟังสนใจ ปรับให้ง่ายเหมาะกับวุฒิภาวะของผู้ฟังในแต่ละเจเนอเรชัน ทำให้เกิดความประทับใจ คลายข้อสงสัยและสามารถนำหลักคำสอนไปใช้แก้ปัญหารวมถึงการพัฒนาชีวิตและจิตใจให้ดีขึ้น สื่อและวิธีการที่ใช้ควรเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย ไม่ซับซ้อน การเผยแผ่ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้เผยแผ่ที่รู้จักยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนทั้งสื่อและวิธีการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟัง ดังรูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน คือ EPIE Model
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาในสังคมยุคปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Designs) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากเอกสารขั้นปฐมภูมิ และเอกสารตำราวิชาการ สอบถามกับกลุ่มตัวอย่างในคน 4 เจเนอเรชัน จำนวน 136 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำนวน 14 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ผู้เผยแผ่มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดคำสอนในพระพุทธศาสนาให้กับคนในสังคม ทั้งเทศน์สอนโดยตรงและสอนผ่านสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สื่อโซเชียลเนตเวิร์ค โดยที่ผู้เผยแผ่ต่างทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนตามแนวทางที่ตนเองถนัด ไม่ได้มีความร่วมมือในการเผยแผ่อย่างเป็นรูปธรรม 2) รูปแบบของการเผยแผ่มีหลากหลายรูปแบบทั้งหนังสือธรรมะ รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ คลิปวีดีโอ บทความ ข้อความสั้น ๆ ประกอบรูปภาพในสื่อโซเชียลเนตเวิร์ค รวมไปถึงการจัดกิจกรรมค่ายธรรมะด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบและช่องทางนั้นจะมีกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกันไปตามการเข้าถึงและเปิดรับสื่อนั้น ๆ อย่างไรก็ตามลักษณะของผู้เผยแผ่และผู้ฟังจะมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยแนวทางการสอนของผู้เผยแผ่จะดึงดูดกลุ่มผู้ฟังที่ชอบแนวทางนั้น ส่วนความสนใจของผู้ฟังนั้นมีส่วนในการกำหนดแนวทางการสอนและการเลือกเนื้อหาของผู้เผยแผ่ด้วย 3) รูปแบบการเผยแผ่คำสอนในพระพุทธศาสนาควรให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นผู้สอนที่ควรศึกษาคำสอนนำมาพัฒนาคุณธรรมของตน และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่ เนื้อหาคำสอนควรเป็นเนื้อหาที่ผู้ฟังสนใจ ปรับให้ง่ายเหมาะกับวุฒิภาวะของผู้ฟังในแต่ละเจเนอเรชัน ทำให้เกิดความประทับใจ คลายข้อสงสัยและสามารถนำหลักคำสอนไปใช้แก้ปัญหารวมถึงการพัฒนาชีวิตและจิตใจให้ดีขึ้น สื่อและวิธีการที่ใช้ควรเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย ไม่ซับซ้อน การเผยแผ่ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้เผยแผ่ที่รู้จักยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนทั้งสื่อและวิธีการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟัง ดังรูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน คือ EPIE Model
The dissertation on “The Model of Buddhist Dissemination to Generation Groups inContemporary Society” aims to 1) study the state of Buddhist dissemination in contemporary society, 2) develop the pattern of Buddhist dissemination to generation groups, and 3) propose the model of Buddhist dissemination to generation groups in contemporary society. The mixed methods design was used. The tools for collecting data were primary source analysis from Buddhist Canon and academic documents, questionnaires administered to the sample groups of 4 generations consisting of 136 people, and in-depth interview with 14 Buddhist dissemination experts. The results of the research were as follows: 1) At present, both monks and lay people have responsibility for disseminating the Teachings of the Buddha to people in society. They give sermon in person or through available social media channels such as television, radio, social media networks. Without substantial collaboration, Dhamma distributors generally have their own way to perform their task of Dhamma dissemination. 2) Nowadays Buddhist dissemination employs various means including Dhamma books, TV programs, radio programs, VDO clips, articles, short texts incorporated with illustrations shared on social media, and Dhamma camps. Each type of means is compatible with different groups of receivers. However, characteristics of media senders and receivers mutually influence each other. The Dhamma distributors’ teaching styles attract particular group of receivers whereas the receivers’ preference partially directs Dhamma distributors’ teaching styles. 3) The model of Buddhist dissemination should emphasize on every factor. Dhamma distributors should learn Buddhist teachings to develop their own morals and improve their knowledge on technology essential for dissemination. The content should be relevant to audience interests, and adjusted to suit with the maturity of each generation. These would impress receivers, eliminate their doubts, and encourage them to apply Buddhist doctrines in real life to overcome obstacles and improve their mind and body. Media and methods used should be simple and easily accessed. The dissemination requires agile experience of Dhamma distributors, appropriate media channels, and methods to serve receivers’ needs according to EPIE Model which is the model of Buddhist dissemination to generation groups in today’s society.
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและสมัยปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและปัจจุบันเพื่อเข้าถึงเป้าหมาย หลักการและวิธีที่ใช้ประกาศพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ในฐานะธรรมราชา ทรงมีรูปแบบและวิธีการเผยแผ่ที่หลากหลาย และทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของนักเผยแผ่ผู้ยอดเยี่ยม โดยการคำนึงถึงประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนของผู้ฟังเป็นสำคัญ ทำให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยวิธีการเชิงรุก จากการศึกษาทรรศนะและวิธีการประกาศพระศาสนาของพระองค์นั้น พบว่ากระทำโดยคณะสงฆ์เป็นหลัก มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน เป็นผู้นำทัพธรรมพร้อมด้วยการสนับสนุนของเหล่าอุบาสกอุบาสิกา โดยมีองค์ประกอบของแนวทาง คือ เป้าหมาย เพื่อประกาศแบบแผนในการดำรงชีวิตที่ดีงามตามที่พระองค์ทรงค้นพบให้ชาวโลกได้รับรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข และเพื่อสันติภาพของมวลมนุษย์โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน หลักการเผยแผ่แยกเป็นสามส่วน คือ (1) หลักการแห่งพระธรรมวินัยทั้งมวล (2) หลักการเผยแผ่ และ (3) หลักการว่าด้วยคุณธรรมของผู้ทำการเผยแผ่ แม้ในสมัยหลังพุทธกาลถึงปัจจุบันพระธรรมกถึกก็ยังปฏิบัติตามหลักการเป็นนักเผยแผ่หลักธรรมคำสอนแบบเชิงรุกโดยการประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และให้ทันสมัยอยู่ทุกเมื่อจนเป็นที่ยอมรับของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกว่า เป็นการเผยแผ่เชิงรุกอย่างแท้จริง 2) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานที่ดำเนินตามกฎ ระเบียบ และคำสั่งของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก มีรูปแบบและวิธีการการเผยแผ่ที่หลากหลาย แต่ละรูปแบบก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไป ตามคตินิยม ความเชื่อสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ส่วนเนื้อหาหลักธรรมที่ใช้ในการเผยแผ่นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวซึ่งพระธรรมกถึกสามารถประยุกต์หลักธรรมมาใช้ในการเผยแผ่ได้ด้วยตัวเอง ส่วนเรื่อเทคนิควิธีการเผยแผ่ เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล และการหมั่นพัฒนาความสามรถในการเผยแผ่ของตนเอง และเทคนิควิธีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ฟัง 3) พระธรรมกถึกมีการใช้เนื้อหาหลักธรรมหลายหมวด รวมทั้งข้อคิดคำคมในสถานการณ์ปัจจุบันมาใช้ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับเพศ วัย อาชีพ สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง มีการใช้หลักธรรมร่วมกับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สื่อการสอนประกอบในการเผยแผ่ที่นำมาใช้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้ ความชำนาญของพระธรรมกถึกแต่ละรูป และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟัง ในส่วนของการได้รับประโยชน์และคุณค่านั้นโดยภาพรวม พบว่าผู้ฟังได้รับประโยชน์ทั้งด้านกายภาพ ด้านจิตภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมในระดับที่ดีขึ้น
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและสมัยปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลและปัจจุบันเพื่อเข้าถึงเป้าหมาย หลักการและวิธีที่ใช้ประกาศพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ในฐานะธรรมราชา ทรงมีรูปแบบและวิธีการเผยแผ่ที่หลากหลาย และทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของนักเผยแผ่ผู้ยอดเยี่ยม โดยการคำนึงถึงประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนของผู้ฟังเป็นสำคัญ ทำให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยวิธีการเชิงรุก จากการศึกษาทรรศนะและวิธีการประกาศพระศาสนาของพระองค์นั้น พบว่ากระทำโดยคณะสงฆ์เป็นหลัก มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน เป็นผู้นำทัพธรรมพร้อมด้วยการสนับสนุนของเหล่าอุบาสกอุบาสิกา โดยมีองค์ประกอบของแนวทาง คือ เป้าหมาย เพื่อประกาศแบบแผนในการดำรงชีวิตที่ดีงามตามที่พระองค์ทรงค้นพบให้ชาวโลกได้รับรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข และเพื่อสันติภาพของมวลมนุษย์โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน หลักการเผยแผ่แยกเป็นสามส่วน คือ (1) หลักการแห่งพระธรรมวินัยทั้งมวล (2) หลักการเผยแผ่ และ (3) หลักการว่าด้วยคุณธรรมของผู้ทำการเผยแผ่ แม้ในสมัยหลังพุทธกาลถึงปัจจุบันพระธรรมกถึกก็ยังปฏิบัติตามหลักการเป็นนักเผยแผ่หลักธรรมคำสอนแบบเชิงรุกโดยการประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และให้ทันสมัยอยู่ทุกเมื่อจนเป็นที่ยอมรับของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกว่า เป็นการเผยแผ่เชิงรุกอย่างแท้จริง 2) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานที่ดำเนินตามกฎ ระเบียบ และคำสั่งของศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก มีรูปแบบและวิธีการการเผยแผ่ที่หลากหลาย แต่ละรูปแบบก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไป ตามคตินิยม ความเชื่อสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ส่วนเนื้อหาหลักธรรมที่ใช้ในการเผยแผ่นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวซึ่งพระธรรมกถึกสามารถประยุกต์หลักธรรมมาใช้ในการเผยแผ่ได้ด้วยตัวเอง ส่วนเรื่อเทคนิควิธีการเผยแผ่ เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล และการหมั่นพัฒนาความสามรถในการเผยแผ่ของตนเอง และเทคนิควิธีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ฟัง 3) พระธรรมกถึกมีการใช้เนื้อหาหลักธรรมหลายหมวด รวมทั้งข้อคิดคำคมในสถานการณ์ปัจจุบันมาใช้ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับเพศ วัย อาชีพ สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง มีการใช้หลักธรรมร่วมกับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สื่อการสอนประกอบในการเผยแผ่ที่นำมาใช้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้ ความชำนาญของพระธรรมกถึกแต่ละรูป และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟัง ในส่วนของการได้รับประโยชน์และคุณค่านั้นโดยภาพรวม พบว่าผู้ฟังได้รับประโยชน์ทั้งด้านกายภาพ ด้านจิตภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมในระดับที่ดีขึ้น
The objectives of this thesis were : 1) to study the propagation of Buddhism in the Buddhist era and the present time 2) to study the propagation Buddhism of the Northeastern Phradhammakatuk Training Center (Preacher Training Center) at Wat Bueng Phra Lan Chai, Phra Aram Luang, Muang Roi Et District, Roi Et Province and 3) to analyze the pattern of Buddhism propagation of the Northeastern Phradhammakatuk Training Center at Wat Bueng Phra Lan Chai, Phra Aram Luang, Muang Roi Et District, Roi Et Province and use the data to analyze the contents. The results of the research found that: 1)The propagation of Buddhism in the Buddhist time and present time to approach the goal. Principles and methods used to preach the Dharma and discipline of Buddha as a Dharma Raja which had various forms and methods of propagation and possessed the qualities of a great missionary by considering to the sustainable benefits of listeners. Let us know that the Buddha preached his religion with an aggressive approach. From the study of his views and methods of preaching on his religion found that acts mainly by the clergy. The Buddha was a president, the leader of the Dharma Army with support with churchman and churchwoman. The elements of the approach were the goal for announcing the pattern of a good living as he discovered as he discovered for human to know and implement for the benefit, happiness, and peace of human, with the ultimate goal was Nirvana. The principle of propagation divided into 3 parts: (1) Principles of all disciplines, (2) principles of propagation and (3) principles of the whole morality of missionaries. Even in the post-Buddhist era until at present, Phradhammakatuk still following the principle of proactive doctrinal missionary principles by applying Buddhist doctrines to keep up with current events and to be up-to-date at all times until it is accepted by proactive Buddhist propaganda by applying Buddhist doctrines to keep up with current events. 2) Propagation of Buddhism at the Northeastern Phradhammakatuk Training Center Wat Bueng Phra Lan Chai, Phra Aram Luang, Muang Roi Et District, Roi Et Province was performed according to the rules, regulations and orders of the Pradhammakatuk Training Center. There were various forms and methods of propagation. It was different from each other based on ideology, beliefs, social environment, economy and politics. In part of the contents of the dharma principles used in propagating, there was no fixed form which the Phradhammakatuk could apply the dharma principles can be used to propagate by their own. In case of techniques of propagation, it was an individual ability and diligently developing the ability to propagate their own and modern techniques for the greatest benefit to the listeners. 3) Phradharmakatuek used the content of dharma principles in many categories. Including of thought and quotes in the current situation to use by considering gender suitability, age, occupation, economic environment, society and politics. The principles of dharma were used in conjunction with creative activities, teaching materials used in propagation differ depending on the knowledge, proficiency of each Phradhammakathuk, and depends on the environment in which the listener is involved. In terms of the benefits and values by are overall, It was found that the listeners benefited both physically, mentally, economically, and socially at a better level.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(กศ.ม)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2544
Note: ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(กศ.ม)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2544
หนังสือ

หนังสือ

    การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา และ2) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยการวิจัยนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยพระภิกษุสงฆ์ ในอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จำนวน 86 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ วิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า: 1. ผลการวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 2.94) ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับบ ( = 3.10) รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.05) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการเผยแผ่ธรรมะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 2.69) ตามลำดับ 2. ข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน พบว่า พระสงฆ์มีการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านวัยของพระสงฆ์ที่เป็นผู้สูงอายุ จึงควรได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งมีการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์ และจัดอบรมเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีให้เหมาะสมแก่พระสงฆ์เพราะความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การปรับตัวโดยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะสำคัญต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาบุคคลและคณะสงฆ์ให้อยู่ร่วมกับสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา และ2) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยการวิจัยนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยพระภิกษุสงฆ์ ในอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จำนวน 86 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ วิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า: 1. ผลการวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 2.94) ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับบ ( = 3.10) รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.05) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการเผยแผ่ธรรมะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 2.69) ตามลำดับ 2. ข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน พบว่า พระสงฆ์มีการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านวัยของพระสงฆ์ที่เป็นผู้สูงอายุ จึงควรได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งมีการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์ และจัดอบรมเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีให้เหมาะสมแก่พระสงฆ์เพราะความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การปรับตัวโดยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะสำคัญต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาบุคคลและคณะสงฆ์ให้อยู่ร่วมกับสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น
The objectives of this research were 1) to study the use of information technology for the Buddhist propagation of monks in the area of Bang Klam District, Songkhla province, and 2) to study the recommendations and guidelines for promoting the use of information technology for the propagation of Buddhism by monks in the area of Bang Klam district, Songkhla province. The researcher used a mixed method of research both quantitative and qualitative research. The population used in this research consisted of monks in Bang Klam district, Songkhla province for 86 persons and analyzed using a ready-made computer program. By using a statistical program frequency, percentage, mean, and standard deviation were analyzed. and qualitative research by in-depth interview with 5 key informants. The results showed that: 1) The results of the analysis of the use of information technology for Buddhism propagation of the monks in Bang Klam district, Songkhla province by overall were at a moderate level with an average of ( = 2.94) When considering each aspect it was found that the educational aspect had the highest mean score of ( = 3.10) The mean for protecting Buddhism was equal to ( = 3.05) and for propagating dharma the mean value was ( = 2.69). 2) Suggestions on guidelines for promoting the use of information technology for Buddhist propagation of monks in Bang Klam district, Songkhla province showed consistent opinions. It was found that the monks used technology at a moderate level. Due to the age limitation of the elderly monks, therefore, they should be encouraged to learn about using technology for the propagation of Buddhism. including budget support to set up a center for propagating Buddhism for the Sangha and organize training sessions to increase knowledge on how to use technology appropriately for monks because the change of the era is inevitable but the adaptation by learning and developing skills important to the use of information technology for communication. It is important to develop individuals and sangha to better coexist with a changing society.
หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่ธรรมะในสมัยพุทธกาลและปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาชีวิตและผลงานการเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกฺขุ) และ 3) เพื่อวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกฺขุ) ตามหลักประจักษ์นิยมนิยมในทางญาณวิทยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การเผยแผ่พุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลใช้วิธี “มุขปาฐะ” เป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นไปที่การเผยแผ่นั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล (หิตาย) เพื่อความสุข (สุขาย) และเพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก (โลกานุกัมปาย) ทั้งนี้เพราะชาวโลกหรือมนุษย์จำนวนมากยังเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ พระพรหมมังคลาจารย์หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ผู้เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาเถรวาท ท่านเป็นผู้บุกเบิกแหล่งศึกษาธรรมชื่อสวนโมกข์ ให้เป็นสถานที่ศึกษาธรรมจากคัมภีร์หลักคือพระไตรปิฎก ศึกษาธรรมะจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย โดยเฉพาะท่านมีความโดดเด่นด้านปาฐกถาธรรมและเทศนาธรรมในที่สาธารณะอย่างองอาจ จนกลายเป็นต้นแบบและสร้างแรงบันดาลใจแก่พระนักเผยแผ่ได้เป็นอย่างดี และท่านยังมีผลงานเชิงประจักษ์ เช่น หนังสือ คำบรรยายธรรม แผ่นซีดี และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก หากนำประจักษ์นิยมไปวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะของหลวงพ่อปัญญานันทภิกษุ จะเห็นว่า หลักการ วิธีการและแนวทางการเผยแผ่ธรรมะของท่านล้วนเกิดจากประสบการณ์ที่ท่านเดินทางไปจำพรรษาในภูมิภาคต่างๆ มีจังหวัดเชียงใหม่เป็นต้น ซึ่งทำให้ท่านกล้าเปลี่ยนการนั่งบนธรรมาสน์มาเป็นยืนบรรยายธรรมะบนโพเดียมต่อหน้าชาวพุทธ วิธีการเผยแผ่ธรรมะดังกล่าวจะตรงกับประจักษ์นิยม ที่เชื่อว่าประสบการณ์เป็นที่มาของความรู้ที่แท้จริงและถูกต้อง ซึ่งเกิดได้จากการรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัส โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในการกระทำต่อสิ่งต่างๆ กล้าคิด กล้าทำและกล้าเปลี่ยนแปลงวิธีการเผยแผ่ธรรมะ ล้วนเกิดจากประสบการณ์ตรงเชิงประจักษ์ตลอดชีวิตแห่งสมณเพศของท่าน
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่ธรรมะในสมัยพุทธกาลและปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาชีวิตและผลงานการเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกฺขุ) และ 3) เพื่อวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกฺขุ) ตามหลักประจักษ์นิยมนิยมในทางญาณวิทยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การเผยแผ่พุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลใช้วิธี “มุขปาฐะ” เป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นไปที่การเผยแผ่นั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล (หิตาย) เพื่อความสุข (สุขาย) และเพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก (โลกานุกัมปาย) ทั้งนี้เพราะชาวโลกหรือมนุษย์จำนวนมากยังเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ พระพรหมมังคลาจารย์หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ผู้เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาเถรวาท ท่านเป็นผู้บุกเบิกแหล่งศึกษาธรรมชื่อสวนโมกข์ ให้เป็นสถานที่ศึกษาธรรมจากคัมภีร์หลักคือพระไตรปิฎก ศึกษาธรรมะจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย โดยเฉพาะท่านมีความโดดเด่นด้านปาฐกถาธรรมและเทศนาธรรมในที่สาธารณะอย่างองอาจ จนกลายเป็นต้นแบบและสร้างแรงบันดาลใจแก่พระนักเผยแผ่ได้เป็นอย่างดี และท่านยังมีผลงานเชิงประจักษ์ เช่น หนังสือ คำบรรยายธรรม แผ่นซีดี และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก หากนำประจักษ์นิยมไปวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะของหลวงพ่อปัญญานันทภิกษุ จะเห็นว่า หลักการ วิธีการและแนวทางการเผยแผ่ธรรมะของท่านล้วนเกิดจากประสบการณ์ที่ท่านเดินทางไปจำพรรษาในภูมิภาคต่างๆ มีจังหวัดเชียงใหม่เป็นต้น ซึ่งทำให้ท่านกล้าเปลี่ยนการนั่งบนธรรมาสน์มาเป็นยืนบรรยายธรรมะบนโพเดียมต่อหน้าชาวพุทธ วิธีการเผยแผ่ธรรมะดังกล่าวจะตรงกับประจักษ์นิยม ที่เชื่อว่าประสบการณ์เป็นที่มาของความรู้ที่แท้จริงและถูกต้อง ซึ่งเกิดได้จากการรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัส โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในการกระทำต่อสิ่งต่างๆ กล้าคิด กล้าทำและกล้าเปลี่ยนแปลงวิธีการเผยแผ่ธรรมะ ล้วนเกิดจากประสบการณ์ตรงเชิงประจักษ์ตลอดชีวิตแห่งสมณเพศของท่าน
The objectives of this thesis were: 1) to study the Dharma Propagation in the Buddhist era and present time 2) to study the life and Dharma propagation performance of Phra Brahma Mangkalajarn (Panya Nanthaphikkhu) and 3) to analyze the Dharma propagation performance of Phra Brahma Mangkalajarn(Panya Nanthaphikkhu) based on Empiricism in Epistemology. This research was a qualitative research based on Buddhist scriptures, academic papers and related research using data analysis, the research results were then presented using a descriptive analysis method. The results of this research found that The Dharma propagation in the Buddhist era was mainly based on the method of "mukhapatha", focusing on propagating it for the benefit (hita), for happiness (sukha) and humanity assistance (Lokanukampai) because human beings were still born in samsara. Phra Brahma Mangkalajarn, or commony known better as Luang Phor Panyananthaphikku, a monk in Theravada Buddhism, the pioneer of the Dharma learning source, named Suan Mokkh as a place to learn Dharma from the main scriptures, the Tripitaka, study Dharma from nature. He was known as a monk who reformed the way of propagating Buddhism of Thai monks. Particularly, he had outstanding in Dhamma lecture and Dhamma sermon in public with dignity until becoming a model and inspiring the missionaries as well, altogether with a large number of empirical works such as books, lectures, CDs., and others. Provided that applying empiricism to analyze Dharma propagation of Luang Phor Panyananthaphikku, you could find that his principles, all methods and guidelines of the Dharma propagating obtained from his experiences on travelling to stay in Buddhist temple in other regions such as Chiang Mai province, which altering from sitting on the pulpit to standing for preaching on the podium in front of the Buddhists. The method of Dharma propagating was consistent with empiricism which believed that experience was the source of true and correct knowledge, caused by sensory perception, especially the knowledge and understanding of how to act on things, daring to think, act, and change the way of Dharma propagating. All were influenced by Empirical direct experience throughout his life of ascetic.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
Note: ฉบับอัดสำเนา, วิทยานิพนธ์ (ศน.ม) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551
หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ๓) เพื่อบูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า และ ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยพระธรรมทูตต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศาสนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑๓ รูป/คน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ และสุดท้ายทำการสังเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปรัชญาพื้นฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาในพระไตรปิฎกไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็คือ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งมาจากคำสอนในเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ หากขาดหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการนี้แล้ว การเผยแผ่พุทธศาสนาจะก่อให้เกิดการปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ หลักการ ๓ ได้แก่ (๑) การไม่ทำบาปทั้งปวง (๒) การทำกุศลให้ถึงพร้อม (๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์, อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ (๑) อดทน (๒) ไม่เบียดเบียน (๓) ความสงบ (๔) มุ่งนิพพาน, วิธีการ ๖ ได้แก่ (๑) ไม่ว่าร้าย (๒) ไม่ทำร้าย (๓) สำรวมในปาฏิโมกข์ (๔) รู้จักประมาณในการบริโภค (๕) อยู่ในที่สงบ (๖) ชำระจิตให้สงบ ๒) ปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในสมัยปัจจุบัน ได้ศึกษาถึงปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทใน ๕ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศศรีลังกา จากการศึกษาพบว่า แต่ละประเทศอาศัยบุคคลและองค์กรในการเผยแผ่ บุคคลและองค์กรที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และราชสกุล ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ราชบัณฑิต พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์หรือคณะธรรมทูต มหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล วัดหรือศาสนสถาน ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในงานเผยแผ่ด้วย ๓) บูรณาการปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนองค์กร มีการกำหนดนโยบายทางสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านพระธรรมทูตและการเผยแผ่ทางออนไลน์ ด้านการปกครองและกฎหมายให้อยู่ในหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (๒) ส่วนบุคคล ควรดำเนินงานด้านการเผยแผ่ด้วยหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และ วิธีการ ๖ ๔) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ชื่อว่า PGV Model เป็นรูปแบบปรัชญาการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทในทศวรรษหน้าที่มีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบภายใต้หลักคำสอนดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นสำหรับผู้เผยแผ่พุทธศาสนา ได้แก่ คำสอนเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ แม้ว่าจะเป็นคำสอนดั้งเดิมแต่ก็มีความเป็นสัมพัทธ์ที่สามารถปรับประยุกต์ และบูรณาการให้เข้ากับกระแสของยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎอนิจจัง ทั้งยังมีความเป็นสากล และมุ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายในทศวรรษหน้า
This dissertation has the following objectives;1) to study the propagation philosophy of Buddhism in the Tipitaka, 2) to study the propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern times, 3) to integrate the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, and 4) to present the model of Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade. The data of this documentary qualitative research were collected from the Tipitaka, documents, research works, and purposive in-depth interviews with 13 key-informants consisting of DhammadutaBhikkhus from foreign countries, Buddhism's experts, and officers of the National Office of Buddhism. The data were analyzed,categorized, synthesized, and presented in adescriptive method. The results of the research showed that; 1) The basic philosophy of Buddhist propagation in the Tipitaka is the 3 principles, the 4 ideologies and the 6 methods which are derived from the Principal Teaching. Without these principles, ideologies, and methods, Buddhist propagation will cause problems and not lead to the end of suffering. The 3 principles are: (1) Not to do any evils, (2) To do good, and (3) To purify the mind. The 4 ideologies are; (1) Patience, (2) Non-violence, (3) Peace, (4) Nibbana orientation, The 6 methods include; (1) not do evil in word, (2) not do evil in body, (3) restraint with regard to the monastic disciplinary code, (4) moderation in eating, (5) residing in a peaceful place, and (6) purifying the mind. 2) The propagation philosophy of Theravada Buddhism in modern timewas studied from the propagation philosophy of Theravada Buddhism in 5 countries; Thailand, Cambodia, Myanmar, Laos, and Sri Lanka. The study found that every country relied on individuals and organizations to propagate Buddhism.From the past to the present,monarchs, royal relatives, nobles, government officials, academics, monks, DhammadutaBhikkhus, Buddhist Universities, government, temples, and religious places had an important role in propagating Buddhism. Nowadays, digital technology is also used in Buddhist propagation. 3) Integrating Theravada Buddhist propagation philosophy in the next decade can be divided into 2 parts; (1) Organization, there should be social, cultural, educational, Dhammaduta monks, online propagation, administrative, and legal policies in line with Ovadapapatimokkha principles, and (2) Individual, the propagation should be based on the 3 principles, the 4 ideologies, and the 6 methods. 4) The new body of knowledge obtained from this research is called the PGV Model.It is a form of the propagation philosophy of Theravada Buddhism in the next decade, derived from the Principal Teaching which consists of 3 principles, 4 ideologies, and 6methods. Even it is the original teaching for Buddhist propagation, but it can be applied and integrated with the changing society because it is universal and life-quality oriented development.
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555
Note: ฉบับอัดสำเนา, ดุษฎีนิพนธ์ (ศน.ด) สาขาพุทธศาสน์ศึกษา--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555