Search results

1 results in 0.02s

หนังสือ

    ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาในสังคมยุคปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Designs) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากเอกสารขั้นปฐมภูมิ และเอกสารตำราวิชาการ สอบถามกับกลุ่มตัวอย่างในคน 4 เจเนอเรชัน จำนวน 136 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำนวน 14 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ผู้เผยแผ่มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดคำสอนในพระพุทธศาสนาให้กับคนในสังคม ทั้งเทศน์สอนโดยตรงและสอนผ่านสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สื่อโซเชียลเนตเวิร์ค โดยที่ผู้เผยแผ่ต่างทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนตามแนวทางที่ตนเองถนัด ไม่ได้มีความร่วมมือในการเผยแผ่อย่างเป็นรูปธรรม 2) รูปแบบของการเผยแผ่มีหลากหลายรูปแบบทั้งหนังสือธรรมะ รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ คลิปวีดีโอ บทความ ข้อความสั้น ๆ ประกอบรูปภาพในสื่อโซเชียลเนตเวิร์ค รวมไปถึงการจัดกิจกรรมค่ายธรรมะด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบและช่องทางนั้นจะมีกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกันไปตามการเข้าถึงและเปิดรับสื่อนั้น ๆ อย่างไรก็ตามลักษณะของผู้เผยแผ่และผู้ฟังจะมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยแนวทางการสอนของผู้เผยแผ่จะดึงดูดกลุ่มผู้ฟังที่ชอบแนวทางนั้น ส่วนความสนใจของผู้ฟังนั้นมีส่วนในการกำหนดแนวทางการสอนและการเลือกเนื้อหาของผู้เผยแผ่ด้วย 3) รูปแบบการเผยแผ่คำสอนในพระพุทธศาสนาควรให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นผู้สอนที่ควรศึกษาคำสอนนำมาพัฒนาคุณธรรมของตน และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่ เนื้อหาคำสอนควรเป็นเนื้อหาที่ผู้ฟังสนใจ ปรับให้ง่ายเหมาะกับวุฒิภาวะของผู้ฟังในแต่ละเจเนอเรชัน ทำให้เกิดความประทับใจ คลายข้อสงสัยและสามารถนำหลักคำสอนไปใช้แก้ปัญหารวมถึงการพัฒนาชีวิตและจิตใจให้ดีขึ้น สื่อและวิธีการที่ใช้ควรเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย ไม่ซับซ้อน การเผยแผ่ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้เผยแผ่ที่รู้จักยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนทั้งสื่อและวิธีการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟัง ดังรูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน คือ EPIE Model
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาในสังคมยุคปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Designs) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยจากเอกสารขั้นปฐมภูมิ และเอกสารตำราวิชาการ สอบถามกับกลุ่มตัวอย่างในคน 4 เจเนอเรชัน จำนวน 136 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำนวน 14 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ผู้เผยแผ่มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดคำสอนในพระพุทธศาสนาให้กับคนในสังคม ทั้งเทศน์สอนโดยตรงและสอนผ่านสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สื่อโซเชียลเนตเวิร์ค โดยที่ผู้เผยแผ่ต่างทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนตามแนวทางที่ตนเองถนัด ไม่ได้มีความร่วมมือในการเผยแผ่อย่างเป็นรูปธรรม 2) รูปแบบของการเผยแผ่มีหลากหลายรูปแบบทั้งหนังสือธรรมะ รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ คลิปวีดีโอ บทความ ข้อความสั้น ๆ ประกอบรูปภาพในสื่อโซเชียลเนตเวิร์ค รวมไปถึงการจัดกิจกรรมค่ายธรรมะด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบและช่องทางนั้นจะมีกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกันไปตามการเข้าถึงและเปิดรับสื่อนั้น ๆ อย่างไรก็ตามลักษณะของผู้เผยแผ่และผู้ฟังจะมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยแนวทางการสอนของผู้เผยแผ่จะดึงดูดกลุ่มผู้ฟังที่ชอบแนวทางนั้น ส่วนความสนใจของผู้ฟังนั้นมีส่วนในการกำหนดแนวทางการสอนและการเลือกเนื้อหาของผู้เผยแผ่ด้วย 3) รูปแบบการเผยแผ่คำสอนในพระพุทธศาสนาควรให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นผู้สอนที่ควรศึกษาคำสอนนำมาพัฒนาคุณธรรมของตน และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่ เนื้อหาคำสอนควรเป็นเนื้อหาที่ผู้ฟังสนใจ ปรับให้ง่ายเหมาะกับวุฒิภาวะของผู้ฟังในแต่ละเจเนอเรชัน ทำให้เกิดความประทับใจ คลายข้อสงสัยและสามารถนำหลักคำสอนไปใช้แก้ปัญหารวมถึงการพัฒนาชีวิตและจิตใจให้ดีขึ้น สื่อและวิธีการที่ใช้ควรเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย ไม่ซับซ้อน การเผยแผ่ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้เผยแผ่ที่รู้จักยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนทั้งสื่อและวิธีการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟัง ดังรูปแบบการเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนาตามช่วงวัยในสังคมยุคปัจจุบัน คือ EPIE Model
The dissertation on “The Model of Buddhist Dissemination to Generation Groups inContemporary Society” aims to 1) study the state of Buddhist dissemination in contemporary society, 2) develop the pattern of Buddhist dissemination to generation groups, and 3) propose the model of Buddhist dissemination to generation groups in contemporary society. The mixed methods design was used. The tools for collecting data were primary source analysis from Buddhist Canon and academic documents, questionnaires administered to the sample groups of 4 generations consisting of 136 people, and in-depth interview with 14 Buddhist dissemination experts. The results of the research were as follows: 1) At present, both monks and lay people have responsibility for disseminating the Teachings of the Buddha to people in society. They give sermon in person or through available social media channels such as television, radio, social media networks. Without substantial collaboration, Dhamma distributors generally have their own way to perform their task of Dhamma dissemination. 2) Nowadays Buddhist dissemination employs various means including Dhamma books, TV programs, radio programs, VDO clips, articles, short texts incorporated with illustrations shared on social media, and Dhamma camps. Each type of means is compatible with different groups of receivers. However, characteristics of media senders and receivers mutually influence each other. The Dhamma distributors’ teaching styles attract particular group of receivers whereas the receivers’ preference partially directs Dhamma distributors’ teaching styles. 3) The model of Buddhist dissemination should emphasize on every factor. Dhamma distributors should learn Buddhist teachings to develop their own morals and improve their knowledge on technology essential for dissemination. The content should be relevant to audience interests, and adjusted to suit with the maturity of each generation. These would impress receivers, eliminate their doubts, and encourage them to apply Buddhist doctrines in real life to overcome obstacles and improve their mind and body. Media and methods used should be simple and easily accessed. The dissemination requires agile experience of Dhamma distributors, appropriate media channels, and methods to serve receivers’ needs according to EPIE Model which is the model of Buddhist dissemination to generation groups in today’s society.