Search results

1 results in 0.05s

หนังสือ

    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อ เสนอแนะการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู ครูอาสาสมัครฯ และครู กศน.ตำบล จำนวน 187 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่า กับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 ผลการวิจัยพบว่า: 1. สภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร ของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ด้านการจัดกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน และด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยรวมและด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษา โดย รวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด สถานศึกษาควรมีการบริหารจัดการที่ดี ให้การดำเนินงานด้านการบริหารงานถูกต้องรวดเร็วเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ควรมีการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนของครูให้ครูมีความพร้อมในการใช้หลักสูตร ควรการบริหารและการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรแบบให้เห็นผลจริง และสถานศึกษามีการจัดการตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงศึกษาอย่างต่อเนื่อง
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อ เสนอแนะการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู ครูอาสาสมัครฯ และครู กศน.ตำบล จำนวน 187 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่า กับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 ผลการวิจัยพบว่า: 1. สภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร ของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ด้านการจัดกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน และด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยรวมและด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษา โดย รวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด สถานศึกษาควรมีการบริหารจัดการที่ดี ให้การดำเนินงานด้านการบริหารงานถูกต้องรวดเร็วเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ควรมีการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนของครูให้ครูมีความพร้อมในการใช้หลักสูตร ควรการบริหารและการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรแบบให้เห็นผลจริง และสถานศึกษามีการจัดการตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงศึกษาอย่างต่อเนื่อง
The purposes of this study were to 1) study the educational management based on sufficiency economy philosophy in schools under Roi et informal and non-formal education promotion office 2) compare the educational managementbased on sufficiency economy philosophy in schools under Roi et informal and non-formal education promotion office, classified by gender, education background, and work experience 3) study on suggestions about the educational management based on sufficiency economy philosophy in schools under Roi et informal and non-formal education promotion office. The sample group used in this research was 187 of administrators, teachers, volunteer teachers, and non-formal education teachers. The instrument used for data collection was a 5 rating scale questionnaire with content validity equal to0.67-1.00 and the confidence was 0. 91. The results of this study found that 1. The educational management conditions based on sufficiency economy philosophy in schools under Roi et informal and non-formal education promotion officetotally was a high level. When considering each side, arranged from the highest to the lowest, with personnel development of the school, school management, completeness, organizing student development activities, and the curriculum and learning management. 2. Comparison of opinion levels on Educational management conditions based on sufficiency economy philosophy in schools under Roi et inform and non-formal promotionoffice, classified by sex,school management,differences were statistically significant at 0.5 leveltotally, and other aspects were not different. By education background totally, and each aspect was not different. Classified according to work experience overall and schoolmanagement, curriculum and learning management, personnel development of the school, and completeness, differences were statistically significant at the .05 level, and no differences in organizing student development activities. 3. Suggestions about the education management based on sufficiency economyPhilosophy in schools under Roi et informal and non-informal education promotion office were educational institutions should have a good management for as administrative operation were accurate, convenient, and in accordance with good governance. And furthermore, Teachers’ willingness of the curriculum management, standard and quality of education in compliancewith quality assurance, personnel development with real result, and organization of educational institutions according to the principles of the sufficiency economy philosophy incessantly.