Search results

26 results in 0.08s

หนังสือ

    วิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2555
Note: วิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2555
หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
Note: ฉบับอัดสำเนา, สารนิพนธ์ (ศน.ม.) สาขารัฐศาสตร์การปกครอง--มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556
หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากร ได้แก่ ประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4,037คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดและแบบปลายปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านฉันทะ(สุขภาพ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ = 2.75) รองลงมา ได้แก่ ด้านวิมังสา (สติปัญญา) (x ̅ = 2.70) ส่วนด้านจิตตะ (ความสัมพันธ์ทางสังคม) (x ̅ = 2.64) และด้านวิริยะ (อารมณ์) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x ̅ = 2.40) ตามลำดับ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ ประชาชนไม่ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนจัดขึ้น คนในชุมชนมีการเอารัดเอาเปรียบกัน ความไม่เสมอภาคในการอยู่ร่วมกัน เกิดความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารหลัก 5 หมู่ ที่ถูกต้อง ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ไม่ได้รับคำแนะนำเพื่อเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างถูกต้อง 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการสัมภาษณ์ พบว่าหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการพัฒนาคุณภาพชีวิตและหลักพุทธธรรมแก่ชุมชนทั้งในมิติด้านสุขภาพ ด้านอารมณ์ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านสติปัญญา โดยใช้แนวทางในการให้คำแนะนำการสนับสนุนส่งเสริมและการอบรมเพิ่มพูนปัญญาและคุณธรรม
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากร ได้แก่ ประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4,037คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดและแบบปลายปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านฉันทะ(สุขภาพ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ = 2.75) รองลงมา ได้แก่ ด้านวิมังสา (สติปัญญา) (x ̅ = 2.70) ส่วนด้านจิตตะ (ความสัมพันธ์ทางสังคม) (x ̅ = 2.64) และด้านวิริยะ (อารมณ์) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x ̅ = 2.40) ตามลำดับ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ ประชาชนไม่ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนจัดขึ้น คนในชุมชนมีการเอารัดเอาเปรียบกัน ความไม่เสมอภาคในการอยู่ร่วมกัน เกิดความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารหลัก 5 หมู่ ที่ถูกต้อง ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ไม่ได้รับคำแนะนำเพื่อเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างถูกต้อง 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในชุมชนท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการสัมภาษณ์ พบว่าหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการพัฒนาคุณภาพชีวิตและหลักพุทธธรรมแก่ชุมชนทั้งในมิติด้านสุขภาพ ด้านอารมณ์ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านสติปัญญา โดยใช้แนวทางในการให้คำแนะนำการสนับสนุนส่งเสริมและการอบรมเพิ่มพูนปัญญาและคุณธรรม
The objectives of this thesis are as follows: 1) To study Life quality Development according to Buddha dhamma of people in Thonglumgeak community, Chian Yai District, Nakhon Si Thammarat Province 2) to study the problems and obstacles in Life quality Development according to Buddha dhamma of people in Thonglumgeak community, Chian Yai District, Nakhon Si Thammarat Province. 3. To recommend Life quality Development according to Buddha dhamma of people in Thonglumgeak community, Chian Yai District, Nakhon Si Thammarat Province. This is the mixes method research, the quantitative research the samples are people in Thonglumgeak community. Chian Yai District, Nakhon Si Thammarat Province for 4,037 persons sample size by Krejcie and Morgan measurement, the samples were 375 persons. The data collection with both closed and open ended question. The statistics composed of frequency, percentage, mean, standard deviation and qualitative research composed of five key informants, using purposive sampling data collection by in depth interview with (non structure) and analysis by descriptive analysis. The results of research were found that : 1. The research results showed that the life quality development according to the Buddha dhamma of people in Thonglumgeak community, Chian Yai District, Nakhon Si Thammarat Province by overall was at a moderate level. When classified by aspect, it was found that the aspect of health (Chandha) is the highest mean (x ̅=2.75, and followed by the aspect of wisdom (Vimansa) (x ̅ = 2.70) and the aspect of social relation (Chitta) (x ̅ = 2.64) and the aspect of Emotion was the lowest mean (x ̅ = 2.40) respectively 2. Problems and obstacles in life quality development according to the Buddha dhamma of people in Thonglumgeak community, Chian Yai District, Nakhon Si Thammarat Province is that people are not make important in activities in community, selfish, unequal, untrusty each others, there are worry about safety in life and wealth, lake of knowledge in healthy food, lake of drinking water, without suggestion in skills and experiences and follow up the community environment changing as righteously. 3. Recommendations for life quality development according to the Buddha dhamma of people in Thonglumgeak community, Chian Yai District, Nakhon Si Thammarat Province by in depth interview found that; The government offices or concerning organization should have staffs for suggestion of life quality development and Buddha Dhamma principle in community in term of health emotion social relation and wisdom with support in promotion of wisdom and virtue.
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย,2549
Note: ฉบับอัดสำเนา,สารนิพนธ์(ศน.ม)--มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย,2549
หนังสือ

    ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(พธ.ด)--มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2552
ฉบับอัดสำเนา,วิทยานิพนธ์(พธ.ด)--มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2552
หนังสือ

หนังสือ

หนังสือ

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม เพราะคุณภาพชีวิตเริ่มต้นจากการการพัฒนาตนเอง และขวนขวายให้ได้มาด้วยตัวของมนุษย์เอง การพัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหา วิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและนำไปพัฒนาชีวิตที่มีคุณค่าและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา 2. อัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดีรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่งงดงามซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำคำพูดและการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอกแต่หากมีความตั้งใจดี ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง และผู้อื่นควบคู่กันไปกับการเป็นผู้ให้ ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จึงเป็นการทำให้เกิดความสามัคคีกัน ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้ขัดเกลาตนเอง เรียนรู้ภายใน และเกิดปัญญาได้ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักอัตถจริยาในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในด้านศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งได้มีการรู้จักพัฒนาตน การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ คือการทำประโยชน์ที่ดีแล้ว ย่อมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1) สัทธาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง 2) สีลสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้ประพฤติดีงาม 3) จาคสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเสียสละและ 4) ปัญญาสัมปทา คือ การช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีปัญญา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์มีชีวิตที่ประเสริฐ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน การพัฒนาชีวิตเพื่อการฝึกฝนทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการอบรมให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน การศึกษาชีวิตครอบครัว จึงทำให้สังคมดำเนินไปสู่ความสันติสุข
The objectives of this thesis were; 1) to study development of life quality, 2) to study the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy, and 3) to analyze development of life quality with Atthacariya principles in Theravada Buddhist philosophy. The data of this documentary qualitative study were collected from the Tipitaka, Commentaries, textbooks, documents and research works concerned. The results of the study found that: 1) The development of life quality is physical, mental and social development because the quality of life starts from self-development and struggle for everything by oneself. Social development is to make oneself honor, recognize, be a part of society and respect. The thinking development is to obtain a wish to learn and understand things, to have creative thinking and to find ways for problem solution in order to have ability in life development and push themselves to a desirable goal. 2) The principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy explains behaviors and ways of living that reveal goodness and benefits for others. Atthacariya is a decoration of life and it helps raise the life higher through action, speech and clothing. Although some people may not have wealth and property, but they have their internal goodness and ideal. So, they can be called the real wealthy. They emphasize learning themselves and others, and become the givers. Giving creates unity and reconciliation in living together. This is the process for self-refining, self-learning and creating wisdom. 3) The development of life quality with the principles of Atthacariya in Theravada Buddhist philosophy is beneficial to oneself and others. It is also beneficial to religion, tradition, custom, values and beliefs. The four principles of Atthacariya consist of; (1) Saddhasampada, to accomplish with the right faith, (2) Silasampada, to accomplish with good behaviors, (3) Cagasampada, to accomplish with charity and sacrifice, and (4) Pannasampada, to accomplish with wisdom. The aim of these principles is to encourage human beings live in sublime life and live together happily and peacefully. The life quality must be developed physically and mentally in order to achieve the success in education, occupation, family and living a life in society.